เห็น, ดู. เพ่ง
อรรถของธาตุ
เปกฺขเน
ตัวอย่าง
ทกฺขติ ปสฺสติ ทิสฺสติ ปทิสฺสติ ทสฺเสติ ทสฺสนํ วิปสฺสนา ทสฺเสตา ทกฺขิตาเย ญาณทสฺสนํ ฯเปฯ
- ทกฺขติ ปสฺสติ อาเทส ทิส เป็น ทกฺข และ ปสฺส และประกอบเป็นรูปอื่นๆ ได้ทุกรูป
- ทิสฺสติ ปทิสฺสติ ก. ปรากฏ (เป็น อกมฺม - ส.)
- ทสฺเสติ ก. (เหตุกตฺตุ) 'ให้เห็น,' แสดง, ชี้แจง, เทศนา.
- ทสฺสนํ กน. ทัสสนะ, ความเห็น, ความดู.
- วิปสฺสนา กน. วิปัสสนา, ความเห็นแจ้ง [วิ+ทิส].
- ทสฺเสตา ค. ผู้แสดง, 'ผู้ให้เห็น.'
- ทกฺขิตาเย เพื่อจะเห็น, เพื่อจะดู.
อา. อาคตมฺห อิมํ ธมฺมสมยํ ทกฺขิตาเยว อปราชิตสงฆํ ข้าพเจ้า ท. มาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อจะดูหมู่ผู้ไม่ปราชัย. ทกฺขิตาเย* ในที่นี้ '=ทสสนตฺถาย หรือ ปสฺสิตุํ' - ส. - ญาณทสฺสนํ กน. ญาณทัสสนะ, 'ความรู้ความเห็น.' มีความหมายตามทางธรรมได้หลายนัย:-
- ทิพยจักษุญาณ ดังบาลีว่า อปปมตฺโต สมาโนปิ ญาณทสฺสนํ อาราเธติ.
- วิปัสสนาญาณ ดังบาลีว่า ญาณทสฺสนาย จิตฺตํ อภินีรหติ.
- มรรค ดังบาลีว่า อภพฺพา เต ญาณทสฺสนาย.
- ผล ดังบาลีว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม อลมริยญาณทสฺสนวิเสโส.
- ปัจจเวกขณญาณ ดังบาลีว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ อกุปฺปา เม เจโตวิมุตฺติ.
- สัพพัญญุตญาณ ดังบาลีว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ สตฺตาหกาลกโต อาลาโร กาลาโม - ส.
* นอกจาก ตุํ ปัจจัย ซึ่งหมายความว่า เพื่อ… แล้ว ลางแห่งกล่าวว่า ยังมีปัจจัยเก่าที่นิยมใช้ในคัมภีร์พระเวท คือ ตเว, ตุเย และ ตาเย หมายความว่า เพื่อ… อีกด้วย เช่น ปหาตเว, เหตุเย, ทกฺขิตาเย. (แต่มติสัททนีติว่าเป็น เหตุเย เพราะอาเทศ ตุํ หรือ ตเว เป็น ตุเย ดูหน้า 438)
หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
396
ที่มา
ธป
Comments