สารบัญ
ชีทประกอบการศึกษา:
นาม(ศัพท์)
ความหมาย
นาม (นาม-นาม-name) แปลว่า ชื่อ
ศัพท์ (สทฺท-ศพฺท-sound) แปลว่า เสียง
ในทางภาษา ศัพท์ หมายถึง เสียง (หรือ ตัวหนังสือ ที่ใช้แทนเสียงนั้น) ที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน ใช้พูดหรือเขียนสื่อสารกันได้
ประเภท
นาม/นามศัพท์ ในภาษาบาลี แบ่งเป็น 3 คือ
- นามนาม
- คุณนาม
- สัพพนาม
* นาม(ศัพท์) เป็นชื่อเรียกรวมของนามทั้ง 3
1. นามนาม หมายถึง นามหรือชื่อที่ใช้เรียกคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ, สภาวะ ต่างๆ แบ่งเป็น 2 คือ
- สาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกได้ทั่วไป ไม่เจาะจง สำหรับเรียกคน, สัตว์, สถานที่, สภาวะ ต่างๆ เป็นต้น เช่น
มนุสฺโส มนุษย์ ใช้เรียกมนุษย์ได้ทุกคน, ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน, นครํ เมือง, สนฺติ ความสงบ เป็นต้น ก็เช่นกัน - อสาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกเฉพาะเจาะจง ไม่ทั่วไป เช่น
ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ* ใช้เรียกเฉพาะกุมารที่ชื่อว่า ทีฆาวุ, เอราวโณ ช้างชื่อเอราวัณ, สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถี เป็นต้น ก็เช่นกัน
* กุมารชื่อทีฆาวุ … เมืองชื่อสาวัตถี เป็นการแปลเป็นไทย แบบเพิ่มสาธารณนามเข้ามากำกับอสาธารณนาม เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นเป็นอะไร เป็นคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ให้ชัดเจนขึ้น ถ้าเป็นที่รู้กันแล้ว จะไม่แปลเพิ่มเข้ามาก็ได้ เช่น สาวตฺถึ คโต ไปแล้ว สู่สาวัตถี
2. คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม* ให้รู้ว่าดีหรือชั่ว เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
- ชั้นปกติ แสดงลักษณะของนามนามอย่างปกติ เช่น ดี, ชั่ว, สูง (ไม่เปรียบเทียบกับอะไร)
- ชั้นวิเสส แสดงลักษณะของนามนาม พิเศษกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ เช่น ดีกว่า, ชั่วกว่า, สูงกว่า
ในภาษาบาลี ใช้ อติ นำหน้า หรือใช้ ตร อิย อิยิสฺสก ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ - ชั้นอติวิเสส แสดงลักษณะของนามนาม พิเศษมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ เช่น ดีที่สุด, ชั่วที่สุด, สูงที่สุด
ในภาษาบาลี ใช้ อติวิย นำหน้า หรือใช้ ตม อิฏฺฐ ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ
* รวมทั้งปุริสสัพพนาม
3. สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก ซึ่งไม่เพราะหู เป็นต้น แบ่งเป็น 2 คือ
- ปุริสสัพพนาม
- วิเสสนสัพพนาม
นามนาม (และปุริสสัพพนาม) มี ลิงค์ และ การันต์ เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละศัพท์ เช่น
คำว่า ปุริส (ผู้ชาย) ลงท้ายด้วยสระ อ เป็น อการันต์ ปุงลิงค์ (เพศชาย)
คำว่า อิตฺถี (ผู้หญิง) ลงท้ายด้วยสระ อี เป็น อีการันต์ อิตถีลิงค์ (เพศหญิง)
ลิงค์
ลิงค์ แปลว่า เพศ หมายถึง เพศของคำ(นาม)
ลิงค์แบ่งเป็น 3 (ประเภท) คือ
- ปุงลิงค์ เพศชาย
- อิตถีลิงค์ เพศหญิง
- นปุงสกลิงค์ ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง
ลิงค์ของนามนาม
- นามนามเป็นลิงค์เดียว คือศัพท์เดียว เป็นได้ลิงค์เดียว เช่น
ปุริโส บุรุษ เป็นปุงลิงค์ได้อย่างเดียว,
อิตฺถี หญิง เป็นอิตถีลิงค์ได้อย่างเดียว,
กุลํ ตระกูล เป็นนปุงสกลิงค์ได้อย่างเดียว เป็นต้น - นามนามเป็น 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์)
- ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์ เช่น
อกฺขร: อกฺขโร (ปุ.) อกฺขรํ (นปุ.) อักขระ,
มน: มโน (ปุ.) มนํ (นปุ.) ใจ - นามนามมีมูลศัพท์อย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุดศัพท์เป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กัน
(โดยลง อา อี อินี ปัจจัย เครื่องหมายอิตถีลิงค์) เช่น
ราช: ราชา (ปุ.), ราชินี (อิต.);
อุปาสก: อุปาสโก (ปุ.), อุปาสิกา (อิต.) เป็นต้น
- ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์ เช่น
ลิงค์ของคุณนามและสัพพนาม
คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์
ลิงค์ของคุณนาม
คุณนามเป็นได้ 3 ลิงค์ (เปลี่ยนลิงค์ตามนามที่มันไปขยาย)
ถูโล เถโร ปุ.; ถูลา เถรี อิต.; ถูลํ กุลํ นปุ.
ลิงค์ของสัพพนาม
ปุริสสัพพนาม: ต (เขา) เป็น 3 ลิงค์ ตุมฺห/อมฺห เป็น 2 ลิงค์ (ปุ. อิต.)
วิเสสนสัพพนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ (เปลี่ยนลิงค์ตามนามที่มันไปขยาย)
ตัวอย่าง นามนามเป็นลิงค์เดียว
ปุงลิงค์ | อิตถีลิงค์ | นปุงสกลิงค์ | |||
อมโร | เทวดา | อจฺฉรา | นางอัปสร | องฺคํ | องค์ |
อาทิจฺโจ | พระอาทิตย์ | อาภา | รัศมี | อารมฺมณํ | อารมณ์ |
ตัวอย่าง นามนามศัพท์เดียว มีรูปเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์
ศัพท์เดิม | ปุงลิงค์ | นปุงสกลิงค์ | คำแปล |
อกฺขร | อกฺขโร | อกฺขรํ | อักขระ, อักษร |
อคาร/อาคาร | อคาโร/อาคาโร | อคารํ/อาคารํ | เรือน, อาคาร |
อุตุ | อุตุ | อุตุ | ฤดู |
ทิวส | ทิวโส | ทิวสํ | วัน |
มน | มโน | มนํ | ใจ |
สํวจฺฉร | สํวจฺฉโร | สํวจฺฉรํ | ปี |
ตัวอย่าง นามนามมีมูลศัพท์เป็นอย่างเดียว เปลี่ยนสระท้ายศัพท์* เป็น 2 ลิงค์
(โดยการลง อา อี อินี ปัจจัย - ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ - อิตถีโชตกปัจจัย)
ศัพท์เดิม | ปุงลิงค์ | อิตถีลิงค์ | คำแปล |
อรหนฺต | อรหา อรหํ | อรหนฺตี | พระอรหันต์ |
อาชีวก | อาชีวโก | อาชีวิกา | นักบวช |
อุปาสก | อุปาสโก | อุปาสิกา | อุบาสก, อุบาสิกา |
กุมาร | กุมาโร | กุมารี/กุมาริกา | เด็ก |
ขตฺติย | ขตฺติโย | ขตฺติยานี/ขตฺติยา | กษัตริย์ |
โคณ | โคโณ | คาวี | โค |
โจร | โจโร | โจรี | โจร |
ญาตก | ญาตโก | ญาติกา | ญาติ |
ตรุณ | ตรุโณ | ตรุณี | ชายหนุ่ม, หญิงสาว |
เถร | เถโร | เถรี | พระเถระ, พระเถรี |
ทารก | ทารโก | ทาริกา | เด็กชาย, เด็กหญิง |
เทว | เทโว | เทวี | พระเจ้าแผ่นดิน พระราชเทวี |
นร | นโร | นารี | คน (ชาย - หญิง) |
ปริพฺพาชก | ปริพฺพาชโก | ปริพฺพาชิกา | นักบวช (ชาย - หญิง) |
ภิกฺขุ | ภิกฺขุ | ภิกฺขุนี | ภิกษุ, ภิกษุณี |
ภวนฺต | ภวํ | โภตี | ผู้เจริญ |
มนุสฺส | มนุสฺโส | มนุสฺสี | มนุษย์ (ชาย – หญิง) |
ยกฺข | ยกฺโข | ยกฺขี ยกฺขินี | ยักษ์, ยักษิณี |
ยุว | ยุวา | ยุวตี | ชายหนุ่ม, หญิงสาว |
ราช | ราชา | ราชินี | พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี |
สข | สขา | สขี | เพื่อน (ชาย - หญิง) |
หตฺถี | หตฺถี | หตฺถินี | ช้างพลาย, ช้างพัง |
การจัดลิงค์
การจัดลิงค์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
- จัดตามกำเนิด คือ จัดลิงค์ของคำให้ตรงตามกำเนิดเดิมของสิ่งนั้น เช่น
ผู้ชาย กําเนิดเป็นเพศชาย กําหนดให้คําว่า ปุริโส (ผู้ชาย) เป็นปุงลิงค์
ผู้หญิง กําเนิดเป็นเพศหญิง กําหนดให้คําว่า อิตฺถี (ผู้หญิง) เป็นอิตถีลิงค์
จิต กำเนิดไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง กําหนดให้คําว่า จิตฺตํ (จิต) เป็นนปุงสกลิงค์ - จัดตามสมมุติ คือ จัดลิงค์ตามสมมุติของภาษา ไม่ตรงตามกำเนิดเดิมของสิ่งนั้น เช่น
เมีย กําเนิดเป็นเพศหญิง แต่สมมุติให้คําว่า ทาโร (เมีย) เป็นปุงลิงค์ (เพศชาย)
ประเทศ กำเนิดไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง แต่สมมุติให้คําว่า ปเทโส (ประเทศ) เป็นปุงลิงค์ (เพศชาย)
แผ่นดิน กำเนิดไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง แต่สมมุติให้คําว่า ภูมิ (แผ่นดิน) เป็นอิตถีลิงค์ (เพศหญิง)
การันต์
การันต์ คือ อักขระที่สุดแห่งศัพท์* (สระท้ายศัพท์, สระท้ายคำ. การ–อักษร, อนฺต–ที่สุด)
การันต์ มี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู
การันต์จําแนกตามลิงค์ ดังนี้
ปุงลิงค์ | มีการันต์ 5 คือ | อ | อิ | อี | อุ | อู |
อิตถีลิงค์ | มีการันต์ 5 คือ | อา | อิ | อี | อุ | อู |
นปุงสกลิงค์ | มีการันต์ 3 คือ | อ | อิ | อุ |
การันต์พิเศษบางศัพท์
โค (วัว) | = คฺ + โอ | โอการันต์ | ปุงลิงค์ | ไม่เจาะจงว่าตัวผู้หรือตัวเมีย |
สา (หมา) | = สฺ + อา | อา การันต์ | ปุงลิงค์ | ไม่เจาะจงว่าตัวผู้หรือตัวเมีย |
กึ (หรือ, อะไร) | = กฺ + อิ+ ํ | นิคคหิตการันต์ | 3 ลิงค์ | เป็นสัพพนาม (หรือเป็นอัพยยศัพท์ ไม่มีลิงค์) |
* เรียกว่า สระที่สุดแห่งศัพท์ ก็ได้ เพราะในภาษาบาลี คำต้องลงท้ายด้วยสระเท่านั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะไม่ได้ (ยกเว้น 'พยัญชนะพิเศษ' คือ นิคคหิต ตัวอย่างเช่น กึ - กิํ)
ต่างจากภาษาสันสกฤต ที่ลงท้ายคำด้วยพยัญชนะได้ เช่นคำว่า วสี–วศินฺ ผู้มีอำนาจ, ปุริส–ปุรุษฺ บุรุษ, วิชฺชุ-วิทฺยุตฺ สายฟ้า, พุทฺธํ-พุทฺธมฺ
วิภัตติ
วิภัตติ แปลว่า แจก, จำแนก,
วิภัตติ หมายถึง สิ่งที่ใช้จำแนกคำ (นามศัพท์) ไปตามหน้าที่ (การก) ต่างๆ ในประโยค และตามวจนะ ที่ต้องการ
โดยลงวิภัตตินั้นที่ท้ายศัพท์ แล้วเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไปต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ในลิงค์ และการันต์ นั้นๆ
(การที่ลงวิภัตติท้ายนามศัพท์แล้ว มักเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไปต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สำหรับลิงค์ และการันต์ นั้นๆ
ฉะนั้น จึงสังเกตลิงค์ของศัพท์ ได้จากศัพท์ที่ลงวิภัตติแล้วนั่นเอง
โดยเฉพาะรูปศัพท์ที่ไม่มี/ไม่ค่อยมีในลิงค์อื่นๆ เช่น แม้ไม่ทราบมาก่อนว่า ศัพท์ว่า โอทน อิทฺธิ วตฺถ เป็นลิงค์อะไร
แต่เมื่อเห็นศัพท์ โอทโน ก็คาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นปุงลิงค์, อิทฺธิยา น่าจะเป็นอิตถีลิงค์ และ วตฺถานิ น่าจะเป็นนปุงสกลิงค์ เป็นต้น)
วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น เอกวจนะ 7 พหุวจนะ 7 ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ | ชื่อเรียกวิภัตติตามอรรถกถา-ฎีกา | |||
ปฐมา | ที่ 1 | สิ | โย | ปจฺจตฺตวจนํ | |
ทุติยา | ที่ 2 | อํ | โย | อุปโยควจนํ | |
ตติยา | ที่ 3 | นา | หิ | กรณวจนํ | |
จตุตฺถี | ที่ 4 | ส | นํ | สมฺปทานวจนํ | |
ปญฺจมี | ที่ 5 | สฺมา | หิ | นิสฺสกฺกวจนํ | |
ฉฏฺฐี | ที่ 6 | ส | นํ | สามี/สามิวจนํ | |
สตฺตมี | ที่ 7 | สฺมึ | สุ | ภุมฺมวจนํ | |
(อาลปนะ) | (สิ | โย) |
(ดู แบบท่องวิภัตตินาม และอายตนิบาต)
อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้
นามศัพท์ เมื่อลงวิภัตติแล้ว ก็มีความหมายต่อเนื่องกับคำอื่นได้
คำแปลไทยเชื่อมต่อความหมายระหว่างศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทยโดยมาก)
อายตนิบาต
อายตนิบาต คือ คําแปลไทย เชื่อมต่อความหมายระหว่างศัพท์ มีดังนี้
วิภัตติฝ่ายเอกวจนะ | วิภัตติฝ่ายพหุวจนะ | |
---|---|---|
ปฐมา | อ. (อันว่า)* | *อ. - ท. (อันว่า … ทั้งหลาย) |
ทุติยา | ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ | ซึ่ง-ท., … ยัง-ท. |
ตติยา | ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง | ด้วย-ท., … อัน-ท. |
จตุตฺถี | แก่, เพื่อ, ต่อ | แก่-ท., … ต่อ-ท. |
ปญฺจมี | แต่, จาก, กว่า, เหตุ, เพราะ | แต่-ท., … เพราะ-ท. |
ฉฏฺฐี | แห่ง, ของ, เมื่อ | แห่ง-ท., … เมื่อ-ท. |
สตฺตมี | ใน, ใกล้, ที่, ณ, บน, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ | ใน-ท., … ในเพราะ-ท. |
อาลปนะ | แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ | แน่ะ-ท., … ข้าแต่-ท. |
* อ. (อันว่า) และ ท. (ทั้งหลาย) ใช้เฉพาะแปลโดยพยัญชนะ. ส่วนการแปลโดยอรรถ ปฐมาวิภัตติ ไม่ต้องมีคำอะไรนำหน้า และคำว่าทั้งหลาย ให้เขียนเต็ม ไม่ย่อ.
ปฐมาวิภัตติ และอาลปนะ ไม่มีสำเนียงอายตนิบาตคำเชื่อมต่อ แต่ใช้คำว่า ‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตวิภัตติ
ความจริง “อันว่า” ไม่ใช่อายตนิบาต เพราะไม่ได้เชื่อมต่อคำใดๆ เข้าด้วยกัน ไม่มีในแบบไวยากรณ์ แต่ภายหลังมีการกำหนดให้แปลเพิ่มเข้ามาด้วย
(ดู แบบท่องวิภัตตินาม และอายตนิบาต)
ปฐมาวิภัตติ ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
- เป็นประธาน
เป็นประธาน(ในประโยค1)ที่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า สยกตฺตา เช่น
อานนฺโท ธมฺมํ เทเสติ พระอานนท์ ย่อมแสดง ซึ่งธรรม.
เป็นประธาน(ในประโยค2)ที่ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า ลิงฺคตฺถ เช่น
มหาปญฺโญ อานนฺโท พระอานนท์ ผู้มีปัญญามาก. - เป็นอาลปนะ คำสำหรับร้องเรียก
อานนฺท, เอหิ. ดูก่อนอานนท์ เธอ จงมา.
1 หมายถึง ประโยคในวาจกทั้ง 5 ซึ่งต้องมีกิริยาคุมพากย์ (กิริยาใหญ่) เสมอ
2 หมายถึง ประโยคทางสัมพันธ์ ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกิริยาคุมพากย์ และไม่อยู่ในประเภทของประโยคทั้ง 5 นั้น
ลิงฺคตฺถ เป็นชื่อเรียกประธานของ ประโยคทางสัมพันธ์ ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกิริยาคุมพากย์
(ลิงฺค-อตฺถ อรรถแห่งลิงค์ คือบอกเพียงว่าเป็นนามนามนั้น เป็นลิงค์ใด มิได้บอกว่าเป็นประธานของกิริยาใดๆ - เพราะไม่ได้ทำกิริยา)
สยกัตตา (ผู้ทำเองเป็นประธาน) เหตุกัตตา (ผู้ใช้ให้ทำเป็นประธาน) วุตตกัมม (กรรมเป็นประธาน)
กิริยาคุมพากย์ = กิริยาคุมประโยค = กิริยาใหญ่ = กิริยาหลัก
พากย์ (วากฺยํ) = ประโยค พากยางค์ (วากฺย+องฺค) = ส่วนของประโยค, วลี
วจนะ
วจนะ แปลว่า คำ, คำพูด
ในทางไวยากรณ์ วจนะ แบ่งเป็น 2 คือ
- เอกวจนะ สำหรับเรียกของสิ่งเดียว
- พหุวจนะ สำหรับเรียกของมากกว่าสิ่งเดียว (คือ ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป)
วจนะทั้ง 2 นี้ รู้ได้จากวิภัตติที่ลงท้ายศัพท์นั้นๆ เช่น
ปุริโส ชายคนเดียว, กุลํ ตระกูลเดียว เป็นเอกวจนะ
ปุริสา ชายหลายคน, กุลานิ ตระกูลหลายตระกูล เป็นพหุวจนะ
นามศัพท์ ทั้ง 3 นี้ เมื่อจะนำไปใช้ในประโยค ย่อมประกอบด้วย ลิงค์ * (การันต์) วิภัตติ วจนะ
การนำนามศัพท์ไปใช้ในประโยค
นามนาม ที่ประกอบด้วย ลิงค์ และ การันต์ นี้ เมื่อจะนำไปใช้ในประโยค ให้ลง วิภัตติ ท้ายคำ ตามหน้าที่และตาม วจนะ ที่ต้องการ เช่น
คำว่า ปุริส (ผู้ชาย) เป็น อการันต์ ปุงลิงค์ | ลงวิภัตติท้ายคํา | เป็น | แปลงรูปเป็น | แปลว่า | ตัวอย่างประโยค | |
เมื่อทำหน้าที่เป็นประธาน | ให้ลงปฐมาวิภัตติ | ฝ่ายเอกวจนะ คือ สิ | ปุริสสิ | ปุริโส | ‘ผู้ชาย(คนเดียว)’ | ปุริโส นิสีทติ. ผู้ชาย นั่งอยู่. |
ฝ่ายพหุวจนะ คือ โย | ปุริสโย | ปุริสา | ‘ผู้ชาย(หลายคน)’ | ปุริสา นิสีทนฺติ. ผู้ชาย ท. (ทั้งหลาย) นั่งอยู่. | ||
เมื่อทำหน้าที่เป็นกรรม | ให้ลงทุติยาวิภัตติ | ฝ่ายเอกวจนะ คือ อํ | ปุริสํ | ‘ซึ่งผู้ชาย(คนเดียว)’ | โส ปุริสํ ปสฺสติ. เขาเห็น (ซึ่ง)ผู้ชาย. | |
ฝ่ายพหุวจนะ คือ โย | ปุริสโย | ปุริเส | ‘ซึ่งผู้ชาย(หลายคน)’ | โส ปุริเส ปสฺสติ. เขาเห็น (ซึ่ง)ผู้ชาย ท. | ||
เมื่อใช้แสดงความเป็นเจ้าของ | ให้ลงฉัฏฐีวิภัตติ | ฝ่ายเอกวจนะ คือ ส | ปุริสส | ปุริสสฺส | ‘ของผู้ชาย(คนเดียว)’ | ปุริสสฺส รโถ. รถ ของผู้ชาย. |
ฝ่ายพหุวจนะ คือ นํ | ปุริสนํ | ปุริสานํ | ‘ของผู้ชาย(หลายคน)’ | ปุริสานํ รโถ. รถ ของผู้ชาย ท. |
ในการประกอบศัพท์หรือแปลบาลี หากนักศึกษายังต้องลงวิภัตติแล้วแปลงตามกฎเกณฑ์ทีละศัพท์ๆ เช่นนี้ ย่อมไม่สะดวกแน่นอน
ฉะนั้น การท่องแบบแจกวิภัตติให้ได้คล่องแคล่วเสียก่อนจึงจําเป็นมาก
วิธีแจกนามนาม (ด้วยวิภัตติ)
การแจกวิภัตติ คือการลงวิภัตติท้ายนามศัพท์* พร้อมทั้งแปลงรูปศัพท์ไปต่างๆ ตามกฎเกณฑ์การแปลงในการันต์และลิงค์นั้นๆ
ตั้งแต่ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ (สิ) จนถึงอาลปนวิภัตติ พหุวจนะ (โย)
ทำให้ได้รูปศัพท์ที่พร้อมใช้งานในประโยค ครบทุกวิภัตติ และเมื่อท่องจำได้ ก็สามารถประกอบศัพท์และแปลได้สะดวก
* นามศัพท์ทุกศัพท์ ลงวิภัตติ สิ จนถึง โย เหมือนกันหมดทุกศัพท์ ไม่แตกต่าง ที่ต่างกันคือการแปลงรูปศัพท์หลังลงวิภัตติแล้ว
วิภัตตินั้น แจก (แปลง/ผันรูปศัพท์) ตามการันต์และลิงค์
ศัพท์ที่การันต์และลิงค์ เหมือนกัน ให้แจก/แปลง เป็นแบบเดียวกัน
เช่น นามนามที่เป็น อการันต์ ปุงลิงค์ ให้แจก/แปลง เหมือนกับศัพท์คือ ชน หรือ ปุริส (ซึ่งมีรูปศัพท์สำเร็จที่ท่านแจกไว้เป็นตัวอย่างแล้ว)
ที่เป็น อิการันต์ ปุงลิงค์ ให้แจกอย่าง มุนิ,
ที่เป็น อาการันต์ อิตถีลิงค์ ให้แจกอย่าง กญฺญา,
ที่เป็น อการันต์ นปุงสกลิงค์ ให้แจกอย่าง กุล เป็นต้น
(ดู แบบแจกนามนามใน 3 ลิงค์ และตัวอย่างนามนาม)
กติปยศัพท์
กติปยศัพท์ หมายถึง ศัพท์นามนามจำนวนเล็กน้อย มี
12 ศัพท์: อตฺต-พฺรหฺม-ราช ภควนฺตุ-อรหนฺต-ภวนฺต สตฺถุ-ปิตุ-มาตุ มน-กมฺม-โค
และ 6 ศัพท์: มฆวา ปุมา ยุวา สขา สา อทฺธา
มีวิธีแจกวิภัตติแตกต่างกัน เป็นของตนเองโดยเฉพาะ ไม่ได้แจกอย่างศัพท์ทั่วๆ ไป
จึงเรียกว่า ปกิณณกศัพท์ ศัพท์เรี่ยราย เบ็ดเตล็ด
(ดู แบบแจกกติปยศัพท์)
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||||
1. | อตฺต | ตน | อตฺตา | - | - | ใช้เอกวจนะอย่างเดียว |
2. | พฺรหฺม | พรหม | พฺรหฺมา | - | - | |
3. | ราช | พระราชา | ราชา | ราชินี * | - | |
4. | ภควนฺตุ | พระผู้มีพระภาค | ภควา | - | - | |
5. | อรหนฺต | พระอรหันต์ | อรหํ อรหา | อรหนฺตี * | - | |
6. | ภวนฺต | ผู้เจริญ | ภวํ | โภตี * | - | |
7. | สตฺถุ | พระศาสดา | สตฺถา | - | - | |
8. | ปิตุ | บิดา | ปิตา | - | - | |
9. | มาตุ | มารดา | - | มาตา | - | |
10. | มน | ใจ | มโน | - | มนํ ** | |
11. | กมฺม | กรรม | - | - | กมฺมํ | |
12. | โค | วัว | อลิงค์ | ไม่เจาะจง ตัวผู้-ตัวเมีย |
* แจกอย่าง นารี ** แจกอย่าง มน ปุ. ยกเว้น ป. ทุ. อา. แจกอย่าง กุล
อตฺต [ตน - self] ปุงลิงค์ ใช้เอกวจนะอย่างเดียว
- แจกได้ทั้ง 2 วจนะ แต่มีใช้ในเอกวจนะอย่างเดียว และเป็นปุงลิงค์เท่านั้น
- กรณีกล่าวถึงนามศัพท์ พหุวจนะ หลายคนหลายสิ่ง
ถ้าต้องการแสดงว่า แต่ละคนแต่ละสิ่งนั้น ทำหรือได้รับผลเช่นเดียวกันทั้งหมด เป็นต้น ให้เขียนไว้คู่กัน 2 บท
(เป็นการกล่าวซ้ำเพื่อให้แผ่ไปในทุกที่ เรียกว่า วิจฉาโยค) เช่น
พาลา อตฺตโน อตฺตโน กมฺเมหิ ตปฺปนฺติ.
คนพาล ท. ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรม ท. ของตนๆ. (คนพาลแต่ละคน ทุกคน เดือดร้อนเพราะกรรม(ชั่ว) ของตน)
ภิกฺขู อตฺตโน อตฺตโน ปตฺตจีวรํ อาทาย อคมํสุ.
ภิกษุ ท. ถือเอาบาตรและจีวรของตนๆ ได้ไปแล้ว. (ภิกษุแต่ละรูป ทุกรูป มีบาตรและจีวรของตน) - อตฺต ศัพท์อยู่หน้า ชน ธาตุ ที่ลง กฺวิ ปัจจัย แปลง ต เป็น ร เช่น
มาตาปิตโร จ นิจฺจํ อตฺรชํ ปุตฺตกํ รกฺขนฺติ. (อตฺต-ชน-กฺวิ)
ก็ มารดาและบิดา ท. ย่อมรักษา ซึ่งบุตรน้อย ผู้เกิดในตน เป็นนิตย์ (หรือ จากตน) - สยํ สามํ เป็น นิบาต แปลว่า เอง, ด้วยตนเอง (=อตฺตนา)
เอกจฺโจ สยํ ทานํ เทติ ปรํ น สมาทเปติ. คนบางคนให้ทานเอง (แต่) ไม่ชักชวนผู้อื่น.
มยา สามํ อกฺขีหิ ทิฏฺฐํ. รูปนั้น อันเรา เห็นแล้ว ด้วยนัยน์ตา ท. เอง
ส สก เป็น คุณนาม แปลว่า อันเป็นของตน (=อตฺตโน) (ปุ. โส สโก อิต. สา สกา นปุ. สํ สกํ)
พาโล เสหิ กมฺเมหิ ตปฺปติ. คนพาล ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรม ท. อันเป็นของตน.
มนุสฺสา สกานิ ฐานานิ คจฺฉนฺติ. มนุษย์ ท. ย่อมไป สู่ที่ ท. อันเป็นของตน.
พฺรหฺม [พรหม - Brahma] ปุงลิงค์
- ศัพท์บางศัพท์ แปลง สฺมึ วิภัตติเป็น นิ ได้ เช่น จมฺมนิ ในหนัง, มุทฺธนิ บนยอด เป็นต้น
ตย. มุทฺธนิ เตลกํ น้ำมัน(สำหรับทา)บนศีรษะ, อุปริมุทฺธนิ อากิริตฺวา พ่นลงบนกระหม่อม… - พฺรหฺม แม้มีศัพท์อื่นนำหน้า ก็คงแจกเช่นเดิม เช่น มหาพฺรหฺมา
ราช [พระราชา - king] ทวิลิงค์ (ปุ. อิต.)
ใน ปุ. แจกตามแบบของตน
ใน อิต. ลง อินี ปัจจัย เป็น ราชินี แจกอย่าง นารี
- ราช ศัพท์ เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น แจกอย่าง ชน
ต่างกันเฉพาะ ป.เอก. มหาราชา พหุ. มหาราชาโน อา.พหุ. มหาราชาโน - ราช ศัพท์ แม้เข้าสมาสแล้ว จะแจกอย่าง ราช ศัพท์ ตามเดิมก็ได้
(เฉพาะวิเสสนบุพบท และวิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส เท่านั้น)
ภควนฺตุ [พระผู้มีพระภาค - Bhagavantu] ปุงลิงค์
- ภควนฺตุ ศัพท์ มาจากศัพท์นามนามคือ ภค (ภาค, ส่วน, โชค, สิริ ฯลฯ) ลง วนฺตุ ปัจจัย (ในตทัสสัตถิตัทธิต) สำเร็จเป็น ภควนฺตุ แปลว่า ผู้มีภาค เป็นต้น เป็นคุณนาม แต่ใช้เป็นนามนาม ปุงลิงค์ อย่างเดียว แปลว่า พระผู้มีพระภาค หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ใช้เป็นคุณนามของศัพท์อื่น
ศัพท์ที่แจกอย่าง ภควนฺตุ
อายสฺมนฺตุ (อายสฺมา) | คนมีอายุ |
คุณวนฺตุ (คุณวา) | คนมีคุณ |
จกฺขุมนฺตุ (จกฺขุมา) | คนมีจักษุ |
ชุติมนฺตุ (ชุติมา) | คนมีความโพลง |
ธนวนฺตุ (ธนวา) | คนมีทรัพย์ |
ธิติมนฺตุ (ธิติมา) | คนมีปัญญา |
ปญฺญวนฺตุ (ปญฺญวา) | คนมีปัญญา |
ปุญฺญวนฺตุ (ปุญฺญวา) | คนมีบุญ |
พนฺธุมนฺตุ (พนฺธุมา) | คนมีพวกพ้อง |
สติมนฺตุ (สติมา) | คนมีสติ |
- ศัพท์ที่ลงท้ายด้วย วนฺตุ มนฺตุ อิมนฺตุ ปัจจัย ในตัทธิต สำเร็จเป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์
ใน ปุงลิงค์ แจกอย่าง ภควนฺตุ
ใน อิตถีลิงค์ ลง อี ปัจจัย ได้รูปเป็น คุณวนฺตี คุณวตี แจกอย่าง นารี
ใน นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง ภควนฺตุ ต่างกันเฉพาะ
ป. คุณวนฺตํ คุณวํ คุณวนฺตานิ
ทุ. คุณวนฺตํ คุณวนฺตานิ
อา. คุณว คุณวนฺตานิ
วนฺตุ ปัจจัย ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อ การันต์
มนฺตุ ปัจจัย ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์
อิมนฺตุ ปัจจัย ใช้ประกอบกับศัพท์ได้ทั่วไป - ศัพท์ที่ลง อนฺต ปัจจัย ใน ปุ. แจกอย่าง ภควนฺตุ ได้ เช่น มหนฺต ลภนฺต (เว้น ป. เอก. ปุ. นปุ. เป็นรูป -อํ เช่น ลภํ)
- อายสฺมนฺตุ (ผู้มีอายุ อายุ-มนฺตุ แปลง อุ ที่ อายุ เป็น อสฺ)
เป็น คุณนาม เช่น อายสฺมา สารีปุตฺโต พระสารีบุตร ผู้มีอายุ (แปลโดยอรรถว่า ท่านพระสารีบุตร)
เป็น นามนาม ปุงลิงค์ เช่น อายสฺมา ท่านผู้มีอายุ, คนมีอายุ, ท่าน (ใช้คล้าย ตุมฺห ศัพท์) - เฉพาะ สิริมนฺตุ (ผู้มีสิริ) อิตถีลิงค์มีรูปเป็น สิริมา แจกอย่าง กญฺญา
อรหนฺต [พระอรหันต์ - arahanta, saint] เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุ. แจกเหมือน ภควนฺตุ เว้นแต่ ป. เอก. เป็น อรหา อรหํ เท่านั้น
ใน อิต. ลง อี ปัจจัย เป็น อรหนฺตี แจกอย่าง นารี
คำว่า อรหา ใช้กับพระอรหันต์ทั่วไป ส่วนคำว่า อรหํ ใช้กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ภวนฺต [ผู้เจริญ] ทวิลิงค์ (ปุ., อิต.)
ใน ปุ. แจกตามแบบของตน
ใน อิต. แปลงเป็น โภต ลง อี ปัจจัย เป็น โภตี แจกอย่าง นารี
สตฺถุ [ผู้สอน, ศาสดา; พระศาสดา - teacher] ปุงลิงค์
- ถ้าเป็นเอกวจนะ หมายถึง พระพุทธเจ้าเท่านั้น แปลว่า พระศาสดา
- ถ้าเป็นพหุวจนะ หมายถึง
2.1 ครูสอนลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา (พาหิรคณาจารย์ เช่น ครูทั้ง 6 มีปูรณกัสสปะเป็นต้น - ปูรณกสฺสปาทโย ฉ สตฺถาโร)
2.2 พระพุทธเจ้าในอดีต หรือ อนาคต เพราะต้องการเรียกหลายพระองค์รวมกัน อาจมีศัพท์บอกกาล กำกับอยู่ เช่น อตีเต ปุพฺเพ อนาคเต - ศัพท์นามกิตก์ ที่ประกอบด้วย ตุ ปัจจัย แจกอย่าง สตฺถุ
(ยกเว้น ปิตุ มาตุ แจกเฉพาะตน, ชนฺตุ สัตว์(เกิด), ผู้เกิด แจกอย่าง ครุ)
กตฺตุ ผู้ทำ | วตฺตุ ผู้กล่าว |
ญาตุ ผู้รู้ | โสตุ ผู้ฟัง |
ทาตุ ผู้ให้ | ขตฺตุ ผู้ขุด |
นตฺตุ หลาน | หนฺตุ ผู้ฆ่า |
เนตุ ผู้นำไป | ภตฺตุ ผู้เลี้ยง, ผัว |
ปิตุ [บิดา - father] ปุงลิงค์
- ในอาลปนะ ใช้ ตาต แทน ปิตา ตาตา แทน ปิตโร เสมอ (เอก. ตาต พหุ. ตาตา) มีวิธีใช้ดังนี้
2.1 ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกบุตร เช่น
พฺราหฺมโณ ปุตฺตํ อาห ‘ตาต, ตฺวํ คจฺฉาติ. พราหมณ์ กล่าวแล้ว กะบุตร ว่า ‘ดูก่อนพ่อ เจ้า จงไป’ ดังนี้.
2.2 ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกบิดา เช่น
อุปฺปลวณฺณา ปิตรํ อาห ‘ตาต, อหํ ปพฺพชิสฺสามี’ติ. นางอุบลวรรณา กล่าวแล้ว กะบิดา ว่า ‘ข้าแต่พ่อ, ฉัน จักบวช’ ดังนี้.
2.3 ใช้เรียกผู้ชายที่ คุ้นเคย นับถือกัน เช่น
มหาปาโล กนิฏฺฐํ อาห ‘ตาต, ตฺวํ ตํ ธนํ ปฏิปชฺชาหี’ติ. มหาปาละ กล่าวแล้ว กะน้องชาย ว่า ‘ดูก่อนพ่อ, เจ้า จงปฏิบัติ ซึ่งทรัพย์ นั้น’ ดังนี้.
อาจริโย สิสฺเส อาห ‘ตาตา, ตุมฺเห อิมํ เอฬกํ นทึ เนถา’ติ. อาจารย์ กล่าวแล้ว กะศิษย์ ท. ว่า ‘ดูก่อนพ่อ ท. เจ้า ท. จงนำไป ซึ่งแกะ นี้ สู่แม่น้ำ ดังนี้. - ตาต ศัพท์ ที่เป็นอาลปนะ ใช้เรียกได้ทั้งบิดาทั้งบุตร ถ้าเป็นวิภัตติอื่น เป็นชื่อของบิดาอย่างเดียว
- ภาตุ พี่ชายน้องชาย ชามาตุ ลูกเขย 2 ศัพท์นี้ แจกอย่าง ปิตุ
ภาตุ ใช้ ภาติก แทนได้ และแจกอย่าง ชน
มาตุ [มารดา - mother] อิตถีลิงค์
- ในอาลปนะ ใช้ อมฺม แทน มาตา อมฺมา แทน มาตโร เสมอ (เอก. อมฺม พหุ. อมฺมา)
มีวิธีใช้ดังนี้
1.1 ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกธิดา
1.2 ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกมารดา
1.3 ใช้เรียกหญิงที่คุ้นเคย นับถือกัน - ธีตุ ธิดา แจกอย่าง มาตุ
- ในตัปปุริสสมาส ใช้อาลปนะเป็น มาเต, ธีเต เช่น ติสฺสมาเต ดูก่อนแม่ติสสะ,
เทวมาเต ดูก่อนแม่เทวะ, เทวธีเต ดูก่อนแม่เทพธิดา
ปิตุ มาตุ ศัพท์
- ปิตุ มาตุ ถ้าลง โต ปัจจัย หรือลงท้ายด้วย ภร ปกฺข สญฺญา ศัพท์ ให้แปลง อุ เป็น อิ เช่น
ปิติโต ข้างบิดา-ฝ่ายบิดา, มาติโต ข้างมารดา-ฝ่ายมารดา,
มาตาเปตฺติภโร ผู้เลี้ยงดูมารดาบิดา, ปิติปกฺโข ข้างบิดา-ฝ่ายบิดา
แม้ศัพท์อื่นที่คล้ายกัน ก็ทำเช่นเดียวกันได้ เช่น ภาติโต ข้างพี่น้องชาย - ถ้าต้องการจะเรียกรวมทั้งบิดามารดา ใช้ว่า อมฺมตาตา ดูก่อนแม่และพ่อ ท.
- ในศัพท์สมาส เมื่อลง ตติยาถึงสัตตมีวิภัตติ เอก. แปลง อุ เป็น อา แปลงวิภัตติเป็น ยา ได้บ้าง เช่น ราชมาตาย, กาณมาตาย, นนฺทมาตาย, โกฬิยธีตาย.
(แม้ไม่เข้าสมาสก็มีรูปเช่นนี้บ้าง เช่น ธีตาย ทินฺนทาเนน) - ในภาษาบาลี ศัพท์สมาส มักวางศัพท์เพศหญิงไว้หน้าศัพท์เพศชาย เช่น
มาตาปิตโร มารดาและบิดา ท.
ชายปติกา เมียและผัว ท.
ภคินีภาตโร พี่น้องหญิงและพี่น้องชาย ท.
สสฺสุสสุรา แม่ผัวและพ่อผัว ท.,
ทาสีทาสา ทาสีและทาส ท.
(ยกเว้น ปุตฺตธีตโร บุตรและธิดา ท. ปุตฺตทารา-รํ บุตรและธิดา (ท.))
มน [ใจ - mind] ทวิลิงค์ (ปุ., นปุ.)
เป็น อ การันต์ แจกอย่าง ชน หรือ กุล ต่างกันเฉพาะ 5 วิภัตติ คือ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก. เท่านั้น
คือ แปลง นา และ สฺมา เป็น อา, ส ทั้งสองเป็น โอ, สฺมึ เป็น อิ แล้วลง ส อาคม เป็น สา, เป็น โส, เป็น สิ.
แจก มน ศัพท์ ปุงลิงค์ อ การันต์
เอก. | พหุ. | |
ป. | มโน | มนา |
ทุ. | มนํ (มโน) | มเน |
ต. | มนสา | มเนหิ |
จ. | มนโส | มนานํ |
ปญฺ. | มนสา | มเนหิ |
ฉ. | มนโส | มนานํ |
ส. | มนสิ | มเนสุ |
อา. | มน | มนา |
ในนปุงสกลิงค์ แจกเหมือนในปุงลิงค์ ยกเว้น ป. ทุ. อา. แจกอย่าง กุล
มน ศัพท์ ใช้ได้ทั้ง 2 วจนะ แต่ยังไม่พบที่ใช้เป็นพหุวจนะ
- ศัพท์พวก มน ซึ่งแจกอย่าง มน เรียกว่า มโนคณศัพท์ มีทั้งหมด 12 ศัพท์ คือ
มน | ใจ | ตป | ความร้อน |
เจต | ใจ | ตม | ความมืด |
วย | วัย | ปย | น้ำนม |
สิร | หัว | อย | เหล็ก |
อุร | อก | ยส | ยศ |
วจ | วาจา | เตช | เดช |
เฉพาะ มน ศัพท์ เป็น ปุ. นปุ. นอกนั้นเป็น ปุ. อย่างเดียว |
- บทที่ลงทุติยาวิภัตติ ที่ใช้เป็นกรรม แปลง อํ เป็น โอ ได้ เช่น
อทาเน กุรุเต มโน. (=ชโน อทาเน มนํ กโรติ.) ชน ย่อมทำ ซึ่งใจ ในการไม่ให้.
ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย. (=ชโน ยสํ ลภิตฺวา น มชฺเชยฺย.) ชน ได้แล้ว ซึ่งยศ ไม่พึงเมา. - เมื่อเป็นบทสมาส หรือตัทธิต เอา อ การันต์เป็น โอ ได้ เช่น
มน-คณ | มโนคโณ | หมู่แห่งมนศัพท์ |
มน-เสฏฺฐ | มโนเสฏฺฐา | มีใจประเสริฐที่สุด |
มน-มย | มโนมยา | อันสำเร็จด้วยใจ (มย ปัจ. ตัท.) |
มน-ธาตุ | มโนธาตุ | ธาตุคือใจ |
เตช-ธาตุ | เตโชธาตุ | ธาตุคือไฟ |
ตม-นุท | ตโมนุโท | ผู้บรรเทาความมืด |
อย-มย | อโยมยํ | อันทำด้วยเหล็ก (มย ปัจ. ตัท.) |
- ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์ เข้าสมาสแล้ว เอา อ การันต์เป็น โอ ได้บ้าง เช่น
อโห อหํ วัน, รโช รชํ ฝุ่น ธุลี, วาโย ลม, อาโป น้ำ, สรโท ฤดูกาล
อห-รตฺติ | อโหรตฺติ | วันและคืน |
รช-หรณํ | รโชหรณํ | ผ้าเช็ดฝุ่น |
วาย-ธาตุ | วาโยธาตุ | ธาตุคือลม |
อาป-ธาตุ | อาโปธาตุ | ธาตุคือน้ำ |
สรท-สต | สรโทสตํ | ร้อยฤดูกาล (ร้อยปี) |
- ศัพท์ที่แปลง สฺมา ถึง สฺมึ วิภัตติ ได้เหมือน มน ศัพท์ มี 8 ศัพท์ คือ
พลํ กำลัง | มุขํ หน้า | ทโม การฝึก |
พิลํ ช่อง, โพรง | ถาโม กำลัง | ปทํ ปโท รอยเท้า |
วาโห เกวียน | ชโร ชรา ความแก่ |
- ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์ ถ้าเป็น อ การันต์ ก็แปลงเช่นนี้ได้บ้าง
เอา นา วิภัตติ เป็น โส บ้าง เช่น
สุตฺตโส โดยสูตร พฺยญฺชนโส โดยพยัญชนะ ถามโส โดยเรี่ยวแรง
อุปายโส โดยอุบาย ฐานโส โดยฐานะ
เอา สฺมา วิภัตติ เป็น โส บ้าง เช่น
ทีฆโส จากส่วนยาว อุรโส จากอก
กมฺม [กรรม - kamma, karma] นปุงสกลิงค์
แจกอย่าง กุล เฉพาะ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก. แจกอย่างนี้ก็ได้
ต. | กมฺมุนา |
จ. | กมฺมุโน |
ปญฺ. | กมฺมุนา |
ฉ. | กมฺมุโน |
ส. | กมฺมนิ |
โค [วัว - cow] อลิงค์
โค ศัพท์ ใช้ไม่เจาะจงว่าวัวตัวผู้หรือตัวเมีย
ถ้าเป็นตัวผู้ ใช้ โคณ ปุงลิงค์ แจกอย่าง ชน ตัวเมีย ใช้ คาวี อิตถีลิงค์ แจกอย่าง นารี
กติปยศัพท์ อีก 6 ศัพท์
ศัพท์ 6 ศัพท์ เหล่านี้ มีที่ใช้เฉพาะปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ คือ มฆวา, ปุมา, ยุวา, สขา, สา และ อทฺธา ใช้เฉพาะเอกวจนะ
ปุ. ปฐมา. เอก. | อิต. | |
มฆว (ชื่อพระอินทร์) | มฆวา | - |
ปุม (ชาย) | ปุมา | - |
ยุว (ชายหนุ่ม) | ยุวา | ยุวตี แจกอย่าง นารี |
สข (เพื่อน) | สขา | สขี แจกอย่าง นารี |
สา (หมา) | สา อลิงค์ (ไม่เจาะจง ตัวผู้-ตัวเมีย) (สุนโข ตัวผู้ สุนขี ตัวเมีย) | - |
อทฺธา (กาลยาวนาน, หนทางไกล) | ปุ. เอก. (บางวิภัตติ) ป. อทฺธา ทุ. อทฺธานํ ต. อทฺธุนา จ. ฉ. อทฺธุโน ส. อทฺธาเน | - |
* อทฺธา ที่เป็นนิบาต แปลว่า แน่แท้, แน่นอน
ความคิดเห็น