สารบัญ
ความหมาย |
- ชีทประกอบการศึกษา: แบบอัพยยศัพท์
อัพยยศัพท์ (indeclinable) คือ ศัพท์ที่ไม่ได้แจกด้วยวิภัตติทั้ง 7 อย่างนามศัพท์ คงรูปอยู่อย่างเดียว แบ่งเป็น 3 คือ
อุปสัค
อุปสัค ใช้นำหน้านามนาม คุณนาม และกิริยา ให้พิเศษขึ้น
- เมื่อนำหน้านาม อุปสัคนั้นมีอาการคล้ายคุณนาม
- เมื่อนำหน้ากิริยา อุปสัคนั้นมีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ
ขยายนามนาม เช่น อติปณฺฑิโต เป็นบัณฑิตยิ่ง อธิสกฺกาโร สักการะยิ่ง
ขยายคุณนาม เช่น อติสุนฺทโร ดียิ่ง สุคนฺโธ มีกลิ่นดี (หอม) ทุคฺคนฺโธ มีกลิ่นชั่ว (เหม็น)
ขยายกิริยา เช่น อติกฺกมติ ย่อมก้าวล่วง อธิเสติ ย่อมนอนทับ อปคโต ไปปราศแล้ว
อุปสัคมี 20 ตัว คือ
อติ | ยิ่ง; เกิน, ล่วง | อุป | เข้าไป, ใกล้; มั่น |
อธิ | ยิ่ง, ใหญ่; ทับ | นิ | เข้า, ลง |
อภิ | ยิ่ง, ใหญ่; เฉพาะ; ข้างหน้า | นิ | ไม่มี, ออก |
อนุ | น้อย; ภายหลัง, ตาม | ป | ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน; ออก |
อป | ปราศ, หลีก | ปฏิ | เฉพาะ; ตอบ, ทวน, กลับ |
อปิ ปิ | ใกล้, บน | ปริ | รอบ |
อุ | ขึ้น, นอก | วิ | วิเศษ, แจ้ง, ต่าง |
อว โอ | ลง | สํ | พร้อม, กับ, ดี |
ปรา | กลับความ | สุ | ดี, งาม; ง่าย |
อา | ทั่ว, ยิ่ง; กลับความ | ทุ | ชั่ว, ยาก |
เมื่อประกอบอุปสัคหน้าธาตุ หน้าศัพท์ ทำให้ความหมายของธาตุนั้น ศัพท์นั้เน เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนไป คือ
- ไม่เปลี่ยนความหมายของธาตุ ความหมายคงเดิม เช่น
สิจ ธาตุ ‘รด, ราด’ | ลง อา อุปสัค | เป็น อาสิญฺจติ | แปลว่า ‘รด, ราด’ |
มส ธาตุ ‘จับ, ต้อง’ | ลง อา อุปสัค | เป็น อามสติ | แปลว่า ‘จับ, ต้อง’ |
- เปลี่ยนความหมายของธาตุไป จนไม่เหลือเค้าความหมายเดิม เช่น
ภู ธาตุ ‘มี เป็น’ | ลง อนุ อุปสัค | เป็น อนุโภติ | แปลว่า ‘เสวย’ |
ภู ธาตุ ‘มี เป็น’ | ลง อภิ อุปสัค | เป็น อภิภวติ | แปลว่า ‘ครอบงำ’ |
หร ธาตุ ‘นำไป’ | ลง ป อุปสัค | เป็น ปหรติ | แปลว่า ‘ประหาร, ทุบ, ตี’ |
จิ ธาตุ ‘สั่งสม’ | ลง นิ โอ อุปสัค | เป็น วินิจฺฉยติ โอจินาติ | แปลว่า ‘ตัดสิน’ |
- เปลี่ยนความหมายของธาตุไป มากบ้าง น้อยบ้าง
หรือกลับความหมายให้เป็นตรงกันข้าม แต่ก็ยังเห็นเค้าความหมายเดิมของธาตุนั้นได้อยู่ เช่น
คห ธาตุ ‘รับ จับ’ | ลง ปฏิ อุปสัค | เป็น ปฏิคฺคณฺหาติ | แปลว่า ‘รับเฉพาะ, รับประเคน’ |
หุ ธาตุ ‘มี เป็น’ | ลง ป อุปสัค | เป็น ปโหติ | แปลว่า ‘มีทั่ว, เพียงพอ’ |
คม ธาตุ ‘ไป’ | ลง อา อุปสัค | เป็น อาคจฺฉติ | แปลว่า ‘มา’ |
ชิ ธาตุ ‘ชนะ’ | ลง ปรา อุปสัค | เป็น ปราชยติ | แปลว่า ‘แพ้’ |
กม ธาตุ ‘ก้าวไป’ | ลง ปฏิ อุปสัค | เป็น ปฏิกฺกมติ | แปลว่า ‘ก้าวกลับ’ |
การใช้ นิ อุปสัค
นิ มีอยู่ 2 ศัพท์ คือ
นิ ที่แปลว่า เข้า, ลง
นิ ที่แปลว่า ไม่มี, ออก
นิ 'เข้า, ลง' เช่น
นิวาโส | ความเข้าอยู่ |
นิมุคฺโค | ดำลงแล้ว |
นิคจฺฉติ | ย่อมเข้าถึง |
นิกุชฺชติ | ย่อมก้มลง, งอลง |
นิทหติ | ย่อมตั้งลง, ฝัง, เก็บ |
นิ 'ไม่มี, ออก' มักซ้อนพยัญชนะ หรือ ลง ร อาคม เช่น
นิรนฺตราโย | ไม่มีอันตราย |
นิพฺภโย | ไม่มีภัย |
นิกฺขนฺโต | ก้าวออกแล้ว |
นิกฺกฑฺฒติ | ย่อมคร่าออก |
ถ้าอยู่หน้า ร หรือ ห ไม่ซ้อนพยัญชนะ หรือ ลง ร อาคม แต่ให้ทีฆะ อิ เป็น อี เช่น
นีหรณํ | การนำออก |
นีรโส | ไม่มีรส |
นีโรโค | ไม่มีโรค |
ตัวอย่างศัพท์ที่ลงอุปสัค
อติ ยิ่ง เกิน ล่วง | |||
อติสุนฺทโร ดียิ่ง, ดีเกิน | อติกฺกมติ ย่อมก้าวล่วง. | ||
อธิ ยิ่ง ใหญ่ ทับ | |||
อธิสกฺกาโร สักการะยิ่ง | อธิปติ นายใหญ่ | อธิเสติ นอนทับ. | |
อภิ ยิ่ง ใหญ่ เฉพาะ ข้างหน้า | |||
อภิปฺปสนฺโน เลื่อมใสยิ่ง | อภิภู ผู้เป็นใหญ่ | อภิชฺฌา ความเพ่งเฉพาะ, โลภ | |
อภิกฺกโม ความก้าวไปข้างหน้า. | |||
อนุ น้อย ภายหลัง ตาม | |||
อนุนายโก นายกน้อย | อนุโช ผู้เกิดในภายหลัง, น้อง | อนุคจฺฉติ ไปตาม. | |
อป ปราศ หลีก | |||
อปเนติ นำปราศ | อปคจฺฉติ หลีกไป. | ||
อปิ ปิ ใกล้ บน | |||
อปิกจฺโฉ ใกล้รักแร้ | อปิกณฺโณ ใกล้หู | ปิทหติ วางข้างบน, ปิด | |
อปิธานํ เครื่องวางข้างบน, ฝาปิด | |||
* อปิ หรือ ปิ ศัพท์นี้ ไม่มีที่ใช้ในภาษามคธนัก เห็นมีแต่คำว่า อปิธานํ และ ปิทหติ เท่านั้น | |||
อุ ขึ้น นอก | |||
อุคฺคจฺฉติ ขึ้นไป | อุปฺปโถ นอกทาง. | ||
อว โอ ลง | |||
อวํสิโร มีหัวลง | โอตรติ หยั่งลง. | ||
ปรา กลับความ | |||
ปราชโย ความแพ้ (ชโย ความชนะ) | ปราภโว ความฉิบหาย (ภโว ความเจริญ) | ||
อา ทั่ว ยิ่ง กลับความ | |||
อาปูรติ เต็มทั่ว | อาภาติ สว่างยิ่ง | ||
อาคจฺฉติ มา (คจฺฉติ ไป) | อาเนติ นำมา (เนติ นำไป) | ||
อุป เข้าไป ใกล้ มั่น | |||
อุปจินาติ เข้าไปสั่งสม | อุปคจฺฉติ ไปใกล้ | อุปาทิยติ ถือมั่น. | |
นิ เข้า ลง | |||
นิคจฺฉติ เข้าถึง | นิกุชฺฌติ งอเข้า | นิขนติ ขุดลง | |
นิทหติ ตั้งลง, ฝัง. | |||
นิ ไม่มี ออก | |||
นิรนฺตราโย ไม่มีอันตราย | นิกฺกฑฺฒติ ฉุดออก. | ||
ป ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก | |||
ปชานาติ รู้ทั่ว | ปาเชติ (ขับ)ไปข้างหน้า | ปภวติ เกิดก่อน, มีก่อน | |
ปคฺฆรติ ไหลออก | |||
ปฏิ เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ | |||
ปติฏฺฐาติ ตั้งเฉพาะ | ปฏิวจนํ คำตอบ | ปฏิโสตํ ทวนกระแส | |
ปจฺจาคจฺฉติ กลับมา. | |||
ปริ รอบ | |||
ปริญฺญา ความรอบรู้ | ปริพฺภมติ หมุนรอบ | ||
วิ วิเศษ แจ้ง ต่าง | |||
วิชานาติ รู้แจ้ง รู้วิเศษ | วิวิโธ มีอย่างต่างๆ | วิวรติ เปิด (สํวรติ ปิด, กั้น) | |
สํ พร้อม กับ ดี | |||
สญฺจรติ เที่ยวไปพร้อม, เที่ยวไปกับ | สญฺฉวี มีผิวดี | ||
สุ ดี งาม ง่าย | |||
สุนกฺขตฺตํ ฤกษ์ดี | สุเนตฺโต คนมีตางาม | สุกรํ ทำง่าย | |
ทุ ชั่ว ยาก | |||
ทุคฺคนฺโธ กลิ่นชั่ว | ทุกฺกรํ ทำยาก |
นิบาต
นิบาต ใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง เพื่อบอก
|
|
นิบาตบอกอาลปนะ
ยคฺเฆ | ขอเดชะ |
ภนฺเต ภทนฺเต | ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่) |
ภเณ | พนาย (คนผู้ดีเรียกคนใช้) |
อมฺโภ | แน่ะผู้เจริญ (ใช้เรียกชายด้วยวาจาสุภาพ) |
อาวุโส | ดูก่อนผู้มีอายุ (พระพรรษาแก่ เรียกพระพรรษาอ่อน, พระเรียกคฤหัสถ์) |
เร อเร; เห | เว้ย, โว้ย; เฮ้ย. (ใช้เรียกคนเลวทราม) |
เช | แม่ (ใช้เรียกสาวใช้) |
นิบาตบอกกาล
ทิวา | (ในเวลากลาง)วัน | ปาโต | ในเวลาเช้า |
หิยฺโย หีโย1 | ในวันวาน, เมื่อวาน | สายํ | ในเวลาเย็น |
ปรหิยฺโย ปเร | ในวันซืน, เมื่อวานซืน | อถ อโถ | ครั้งนั้น, ลำดับนั้น |
เสฺว สุเว2 | ในวันพรุ่ง | อภิกฺขณํ | เนืองๆ |
ปรเสฺว ปรสุเว | ในวันมะรืน | สมฺปติ | บัดเดี๋ยวนี้ |
‘สุเว สุเว’2 | ในวัน(หนึ่ง)ๆ (=ทุกวัน) | อายตึ | ต่อไป |
เทวสิกํ | ทุกวัน |
1 หิยฺโย/หีโย ออกเสียงเหมือนกันว่า ฮี-โย (hīyo)
2 สุเว คำเดียว หมายถึง ในวันพรุ่ง(นี้) เช่น โก ชญฺญา มรณํ สุเว. ใครพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง
สุเว สุเว คู่กัน แปลว่า ในวัน(หนึ่ง)ๆ หมายถึงทุกวัน =เทวสิกํ เช่น
กาฬปกฺเข ยถา จนฺโท หายเตว สุเว สุเว ในกาฬปักษ์ พระจันทร์ย่อมเสื่อมลงทุกวันๆ ฉันใด
นิบาตบอกที่
อุทฺธํ อุปริ | เบื้องบน | โอรํ | ฝั่งใน |
อโธ | เบื้องต่ำ | ปารํ | ฝั่งนอก |
เหฏฺฐา | ภายใต้ | หุรํ | โลกอื่น |
อนฺโต อพฺภนฺตรํ อชฺฌตฺตํ | ภายใน | สมฺมุขา | ต่อหน้า |
ติโร พหิ พหิทฺธา พาหิรา-รํ1 | ภายนอก | ปรมฺมุขา | ลับหลัง |
อนฺตรา-เร | ระหว่าง | รโห | ที่ลับ |
1 พหิรา ใน ธอ ไม่พบ, ใน ไตร. พบ 1 แห่ง
นิบาตบอกปริจเฉท
กีว | เพียงไร | สมนฺตา1 | โดยรอบ | |
ยาว | เพียงใด | – | ตาว | เพียงนั้น |
ยาวเทว | เพียงใดนั่นเทียว | – | ตาวเทว | เพียงนั้นนั่นเทียว |
ยาวตา | มีประมาณเพียงใด | – | ตาวตา | มีประมาณเพียงนั้น |
กิตฺตาวตา2 | มีประมาณเท่าไร | – | เอตฺตาวตา | มีประมาณเท่านั้น |
* คำที่มีพื้นหลังสีเทา คือ ใช้เป็นคำถาม
1 สมนฺตา แปลว่า โดยรอบ เช่น สมนฺตา อารกฺขํ คณฺหถ. จงถือเอา ซึ่งการอารักขา โดยรอบ.
ที่แปลว่า รอบคอบ เป็นภาษาเก่า เช่น ในบทสวด "มาป้องกันห้อมล้อมรอบคอบทั่ว อนันตา"
(รอบคอบ คือ โดยรอบ, อนันตา คือ ไม่มีที่สุด)
2 กิตฺตาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าไร เป็นคำถาม
ย ใด และศัพท์ที่เนื่องด้วย ย แปลว่า "-ใด" ไม่ใช้เป็นคำถาม
กึ -ไร และศัพท์ที่เนื่องด้วย กึ แปลว่า "-ไร" ใช้เป็นคำถาม
นิบาตบอกอุปมาอุปไมย
ยถา เสยฺยถาปิ1 | (แม้)ฉันใด | วิย | ราวกะ |
ตถา เอวํ | ฉันนั้น | อิว; ยถา2 (ใช้ในคาถา) | เพียงดัง |
1 เสยฺยถา มี ปิ ต่อท้ายเสมอ ใน ไตร. ธอ. เป็น เสยฺยถาปิ เท่านั้น
ยถา แปลว่า ฉันใด เสยฺยถาปิ แปลว่า แม้ฉันใด
2 ยถา เช่น จนฺโท ปณฺณรโส ยถา.
นิบาตบอกประการ
ยถา | โดยประการใด | ตถา เอวํ | โดยประการนั้น |
กถํ | โดยประการไร |
• ในหนังสืออรรถกถาธรรมบทแปลโดยพยัญชนะที่ใช้กันอยู่
นิบาตบอกประการ แปลว่า “โดย…” ไม่ได้แปลว่า "ด้วย…"
และไม่มีคำว่า "ยถา" ใน "แบบ" ในหัวข้อนิบาตบอกประการ
นิบาตบอกปฏิเสธ
น โน | ไม่ | อลํ | พอ(ละ), อย่าเลย |
มา | อย่า | ว | เทียว |
วินา อญฺญตฺร | เว้น | เอว | นั่นเทียว |
นิบาตบอกความได้ยินคำเล่าลือ
กิร ขลุ สุทํ ได้ยินว่า
นิบาตบอกปริกัป
เจ | หากว่า | ‘อปฺเปว นาม’ | ชื่อแม้ไฉน |
สเจ อถ | ถ้าว่า | ยนฺนูน | กระไรหนอ |
ยทิ | ผิว่า |
นิบาตบอกความถาม
กึ1 | หรือ, ทำไม, อย่างไร | กจฺจิ2 | แลหรือ, บ้างหรือ |
นุ | หนอ | อปิ | บ้างหรือ |
นนุ | มิใช่หรือ | กถํ | อย่างไร |
อุทาหุ อาทู | หรือว่า | เสยฺยถีทํ | อย่างไรนี้ |
1 กึ นิบาต แปลว่า หรือ, ทำไม, อย่างไร
กึ สัพพนาม แปลว่า ใคร, อะไร, ไหน
2 กจฺจิ แลหรือ (แปลโดยอรรถ: บ้างหรือ, บ้างไหม)
เพิ่ม อปิ บ้างหรือ (แปลโดยอรรถ: บ้างไหม) (วาง อปิ ไว้ต้นประโยค)
• ปิ อปิ ใกล้, บน อุปสัค มีใช้เพียง อปิธานํ และ ปิทหติ
ปิ อปิ แม้, บ้าง นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยค เช่น เอวมฺปิ, เวชฺเชนาปิ
อปิ บ้างหรือ นิบาตบอกความถาม วาง อปิ ไว้ต้นประโยค เช่น อปิ ภนฺเต กิญฺจิ ลทฺธํ?
นิบาตบอกความรับ
อาม อามนฺตา เออ (ครับ, ค่ะ, จ๊ะ, ใช่ ...)
นิบาตบอกความเตือน
อิงฺฆ | เชิญเถิด | หนฺท ตคฺฆ | เอาเถิด |
นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยค
ปน ตุ | ก็, ส่วนว่า, แต่ว่า | ปิ อปิ | แม้, บ้าง |
หิ | ก็, จริงอยู่, เพราะว่า | อปิจ | เออก็, อีกอย่างหนึ่ง |
จ | ก็, จริงอยู่, อนึ่ง; ด้วย | อถวา อโถ | อีกอย่างหนึ่ง, อนึ่ง |
วา | หรือ; บ้าง, ก็ดี, ก็ตาม |
นิบาตสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม
นุ, วต | หนอ | เว, หเว | เว้ย, แล | สุ | สิ |
โข | แล | โว | โว้ย, แล |
นิบาตมีเนื้อความต่างๆ
ปุน | อีก | สห สทฺธึ | กับ, พร้อม |
ปุนปฺปุนํ | บ่อยๆ | สยํ สามํ | เอง |
ภิยฺโย | ยิ่ง | นูน | แน่ |
ภิยฺโยโส | โดยยิ่ง | อทฺธา อวสฺสํ | แน่แท้ |
สกฺกจฺจํ | โดยเคารพ | อญฺญทตฺถุ | โดยแท้ |
สมฺมา | โดยชอบ | เตนหิ | ถ้าอย่างนั้น |
มิจฺฉา | ผิด | มญฺเญ | เห็นจะ |
มุสา | เท็จ | ปจฺฉา | ภายหลัง |
อลิกํ | เท็จ, ไม่จริง, เหลาะแหละ | ปฏฺฐาย ปภูติ | ตั้งแต่, จำเดิม |
มุธา | เปล่า | ปุถุ | มาก, ต่างหาก |
อุจฺจํ | สูง | โถกํ อีสกํ | นิดหน่อย, เล็กน้อย |
นีจํ | ต่ำ | กฺวจิ | บ้าง |
สกึ | คราวเดียว | อารา | ไกล |
สตกฺขตฺตุํ | ร้อยคราว | อาวี สจฺฉิ | แจ้ง |
สณิกํ | ค่อยๆ, เบาๆ, ช้า | ปาตุ | ปรากฏ |
ขิปฺปํ, สหสา | พลัน, โดยพลัน | นานา | ต่างๆ |
สีฆํ สีฆสีฆํ | เร็ว, พลัน | วิสุํ | แยก, เฉพาะ, ต่างหาก |
ลหุ ลหุํ ลหุโส | เร็ว, พลัน, เบา | กิญฺจาปิ | แม้ก็จริง, แม้โดยแท้ |
อจิรํ | ไม่นาน, เร็ว | ตาว | ก่อน |
จิรํ จิรสฺสํ | นาน | ปฐมํ | ก่อน, ทีแรก, ครั้งแรก |
เอวํ อิติ อิตฺถํ | อย่างนี้, ด้วยประการฉะนี้ |
สาธุ | ดีละ, ดังข้าพเจ้าขอโอกาส (ชมเชย, ขอโอกาส) |
สาธุ สุฏฺฐุ | ดีแล้ว (อนุโมทนา, พลอยยินดี) |
ทุฏฺฐุ | ไม่ดี, น่ารังเกียจ |
อโห | โอ (น่าอัศจรรย์; สรรเสริญ/ติเตียน; ปรารถนา) |
นาม | ชื่อ, ชื่อว่า, ธรรมดา, ธรรมชาติ |
อิติ | เพราะเหตุนั้น, ว่า...ดังนี้, ด้วยประการฉะนี้, ชื่อว่า |
ปัจจัย
สำหรับลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิภัตติ
สำหรับลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาและวิภัตติ
ปัจจัยอัพยยศัพท์นี้ มีทั้งหมด 22 ตัว แบ่งเป็น 5 พวก คือ
ปัจจัย | ใช้ลงท้าย | เป็นเครื่องหมาย | |
---|---|---|---|
1. โต | 1 | นามนาม สัพพนาม | ตติยาวิภัตติ (ข้าง โดย) - ปัญจมีวิภัตติ (จาก แต่ ...) |
2. ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว | 9 | สัพพนาม | สัตตมีวิภัตติ (ใน) |
3. ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ | 7 | สัพพนาม | สัตตมีวิภัตติ (ใน) ใช้เฉพาะเรื่องกาลเวลา |
4. ตเว ตุํ | 2 | ธาตุ | ปฐมาวิภัตติ (การ) - จตุตถีวิภัตติ (เพื่อการ) |
5. ตูน ตฺวา ตฺวาน | 3 | ธาตุ | อัพยยกิริยา (แล้ว) |
ลงท้ายนามศัพท์
1) โต ปัจจัย ใช้ลงท้ายนามนามและสัพพนาม
- เป็นเครื่องหมาย ตติยาวิภัตติ แปลว่า ข้าง โดย
- เป็นเครื่องหมาย ปัญจมีวิภัตติ แปลว่า จาก แต่ ...
ยโต | แต่…ใด | เอกโต2 | ข้างเดียว |
ตโต | แต่…นั้น | อุภโต | ข้างทั้งสอง |
เอตฺโต อโต1 | แต่…นั่น, ข้างนั่น | ปรโต | ข้างอื่น, ข้างหน้า |
อิโต | แต่…นี้, ข้างนี้ | อปรโต | ข้างอื่นอีก |
อมุโต | แต่…โน้น | ปุรโต | ข้างหน้า |
อญฺญโต | แต่…อื่น | ปจฺฉโต | ข้างหลัง |
อญฺญตรโต | แต่…อันใดอันหนึ่ง | ทกฺขิณโต | ข้างขวา, ข้าง(ทิศ)ใต้ |
สพฺพโต | แต่…ทั้งปวง | วามโต | ข้างซ้าย |
กุโต | แต่…ไหน | อุตฺตรโต | ข้างซ้าย, ข้าง(ทิศ)เหนือ |
กตรโต | แต่…อะไร | อธรโต | ข้างล่าง |
อิตรโต | แต่…นอกนี้ |
1 เอโต ไม่พบที่ใช้ ใน ไตร.
เอตฺโต วา อิโต วา ข้างโน้น (นั่น) หรือ ข้างนี้,
อิโต จิโต จ ข้างโน้นและข้างนี้ (ข้างนี้และข้างนี้)
2 เอกโต แปลว่า "โดยความเป็นอันเดียวกัน" (โดยความเป็นหนึ่ง) =เอก(ภาว)โต
• โต ปัจจัย ลงท้ายนามนาม เช่น
ตติยา: วิตฺถารโต โดยพิสดาร, อสุภโต (ปสฺสโต เห็นอยู่) โดย(ความเป็นของ)ไม่งาม (=อสุภ(ภาว)โต),
ปัญจมี: อาทิโต (ปฏฺฐาย จำเดิม) แต่ต้น, นครโต จากเมือง, ปุริมปูวโต (มหนฺตตโร ใหญ่กว่า) กว่าขนมอันมีในก่อน, สิกฺขนโต เพราะการศึกษา
2) ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว ปัจจัย
ใช้ลงท้ายสัพพนาม เป็นเครื่องหมาย สัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน
ตฺร | ตฺถ | หึ หํ | ห ธ ธิ หิญฺจนํ ว | |
ยตฺร | ยตฺถ | ยหึ ยหํ | ใน…ใด | |
ตตฺร | ตตฺถ | ตหึ ตหํ | ใน…นั้น | |
อตฺร | อตฺถ เอตฺถ | อิธ อิห | ใน…นี้ | |
อญฺญตฺร | อญฺญตฺถ | ใน…อื่น | ||
กตฺร | กตฺถ | กุหึ กหํ | กุหิญฺจนํ กฺว | ใน…ไหน * |
กตฺถจิ | ในที่ไหนๆ, ในที่บางแห่ง | |||
สพฺพตฺร | สพฺพตฺถ | สพฺพธิ | ใน…ทั้งปวง | |
เอกตฺร | เอกตฺถ | ใน…เดียว | ||
อุภยตฺร | อุภยตฺถ | ใน…สอง | ||
อมุตฺร | ใน...โน้น |
3) ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ ปัจจัย
ใช้ลงท้ายสัพพนาม เป็นเครื่องหมาย สัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน ลงในกาลอย่างเดียว
ยทา | ในกาลใด, เมื่อใด | อธุนา | ในกาลนี้, เมื่อกี้ |
ตทา | ในกาลนั้น, เมื่อนั้น | กุทาจนํ | ในกาลไหนๆ |
เอกทา | ในกาลหนึ่ง, บางที | อชฺช | ในวันนี้ |
สพฺพทา สทา | ในกาลทั้งปวง, ในกาลทุกเมื่อ | สชฺชุ | ในวันมีอยู่, ในวันนี้ |
กทา | ในกาลไร, เมื่อไร | ปรชฺชุ | ในวันอื่น |
กทาจิ กรหจิ | ในกาลไหนๆ, บางคราว | อปรชฺชุ | ในวันอื่นอีก |
อิทานิ เอตรหิ | ในกาลนี้, เดี๋ยวนี้ |
ลงท้ายธาตุ
1) ตเว ตุํ ปัจจัย ในนามกิตก์ ใช้ลงท้ายธาตุ*
- เป็นเครื่องหมายปฐมาวิภัตติ แปลว่า อ.อัน, อ.การ
- เป็นเครื่องหมายจตุตถีวิภัตติ แปลว่า เพื่ออัน, เพื่อการ
กาตเว เพื่อการทำ
กาตุํ เพื่อการทำ, อ.การทำ
2) ตูน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย (กับทั้งปัจจัยที่อาเทศออกจาก ตฺวา) ในกิริยากิตก์
ใช้ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมาย อัพยยกิริยา (คือแจกด้วยวิภัตติไม่ได้)
- กาตูน กตฺวา กตฺวาน ทำแล้ว
เปรียบเทียบบางศัพท์
อญฺญตฺร (นิบาต) เว้น, แยก*
อญฺญตฺร (สัพพนาม) ใน…อื่น (=อญฺญสฺมึ)
อญฺญตร (สัพพนาม) คนใดคนหนึ่ง
* ในหนังสือพจนานุกรม มคธ-ไทย (พันตรี ป. หลงสมบุญ) เป็น อญฺญตฺตร (ต เกินมา 1 ตัว)
ยโต = ยสฺมา
ยตฺร = ยสฺมึ
ยทา = ยสฺมึ กาเล
ความคิดเห็น2
ดีมาก
ดีมาก
วงษ์เสถียร
ดีมากค่ะ