สมาส

สารบัญ
ความหมาย
กิจที่ทำเมื่อเข้าสมาส 
ประเภทของสมาส 
1. กัมมธารยะ- นบุพพบท กัมมธารยะ
2. ทิคุ 
3. ตัปปุริสะ 
4. ทวันทวะ 
5. อัพยยีภาวะ 
6. พหุพพิหิภินนาธิกรณพหุพพิหิ 
- ฉัฏฐีอุปมาบุพบทพหุพพิหิ 
- นบุพบทพหุพพิหิ 
- สหบุพบทพหุพพิหิ
สมาสซ้อน/สมาสท้อง 

ชีทประกอบการศึกษา:  • รูปวิเคราะห์สมาสรูปวิเคราะห์สมาส 2 ไม่มีคำแปลวิเคราะห์ • ข้อสังเกตลักษณะของสมาสแต่ละประเภท และตัวอย่างสมาสเปรียบเทียบสมาส-สนธิ-ตัทธิต-นามกิตก์

 

สมาส

สมาส หมายถึง นามศัพท์* ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน 
(เทียบกับภาษาไทย เช่น อย่าทำซึ่งบาป ย่อเป็น อย่าทำบาป,  สัตว์เกิดในน้ำ ย่อเป็น สัตว์น้ำ)

*  ศัพท์ประเภทอื่นก็เข้าสมาสได้. อัพยยศัพท์ เช่น สมมาทิฏฺฐิ, อุปนครํ,  กิริยากิตก์ (ใช้เป็นคุณนาม) เช่น กตปุญฺโญ, อาขยาต (แต่จัดเป็นนิบาต) เช่น อตฺถิภาโว-นตฺถิภาโว, อโหสิกมฺมํ.

 

เมื่อนำศัพท์มาต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ เรียกว่า สมาส  มักลบวิภัตติของบทหน้า อันเป็นกิจที่ทำเมื่อเข้าสมาส 

สมาส ว่าโดยกิจ

ฉะนั้น สมาส ว่าโดยกิจ  มี 2 อย่าง  คือ

1. ลุตตสมาส  คือ สมาสที่ลบวิภัตติของบทหน้า  เช่น

กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํผ้าเพื่อกฐิน
รญฺโญ ธนํ ราชธนํทรัพย์ของพระราชา

2. อลุตตสมาส คือ สมาสที่ไม่ได้ลบวิภัตติของบทหน้า  เช่น

ทูเร นิทานํ ยสฺส, ตํ ทูเรนิทานํ (วตฺถุ)(เรื่อง) มีนิทานในที่ไกล
อุรสิ โลโม ยสฺส, โส อุรสิโลโม (พฺราหฺมโณ)(พราหมณ์) มีขนที่อก
กาเมสุ มิจฺฉาจาโร กาเมสุมิจฺฉาจาโรการประพฤติผิดในกาม
เทวานํ อินฺโท เทวานมินฺโทจอมแห่งเทพ

 

เมื่อเข้าสมาสสำเร็จแล้ว (โดยลบวิภัตติ/ไม่ลบวิภัตติ) จะทำสนธิอีกก็ได้  เช่น

อานนฺโท เถโรอานนฺทเถโรพระเถระชื่อว่าอานนท์สนธิ - สมาส
 อานนฺทตฺเถโร สนธิ - สนธิ - ซ้อน ตฺ
พุทฺโธ อาทิจฺโจ อิว พุทฺธอาทิจฺโจพระพุทธเจ้าเพียงดังพระอาทิตย์สนธิ - สมาส
 พุทฺธาทิจฺโจ สนธิ - ลบสระหน้า

 

สมาส ว่าโดยชื่อ

สมาส ว่าโดยชื่อ   มี 6 อย่าง  (สมาสมี 6 ประเภท)  คือ

1. กัมมธารยะ- นบุพพบท กัมมธารยะ
2. ทิคุ 
3. ตัปปุริสะ 
4. ทวันทวะ 
5. อัพยยีภาวะ 
6. พหุพพิหิ- ภินนาธิกรณพหุพพิหิ 
- ฉัฏฐีอุปมาบุพบทพหุพพิหิ 
- นบุพบทพหุพพิหิ 
- สหบุพบทพหุพพิหิ

 

1. กัมมธารยสมาส

 

นามศัพท์ 2 บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน   
บทหนึ่งเป็นประธาน คือเป็นนามนาม   บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม   
หรือเป็นวิเสสนะทั้ง 2 บท  มีบทอื่นเป็นประธาน   ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน   ชื่อว่า กัมมธารยสมาส    มี 6 คือ

  1. วิเสสนบุพบท
  2. วิเสสนุตตรบท
  3. วิเสสโนภยบท
  4. วิเสสโนปมบท
  5. สัมภาวนบุพบท
  6. อวธารณบุพบท

1) วิเสสนบุพบท   มีบทวิเสสนะอยู่หน้า  บทประธานอยู่หลัง   เช่น

มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโสบุรุษใหญ่
ขตฺติยา กญฺญา ขตฺติยกญฺญานางผู้กษัตริย์
นีลํ อุปฺปลํ นีลุปฺปลํดอกอุบลเขียว
นหานํ ติตฺถํ นหานติตฺถํท่าเป็นที่อาบ
อุปฏฺฐานา สาลา อุปฏฺฐานสาลาศาลาเป็นที่บำรุง
พลวา โกโธ พลวโกโธความโกรธมีกำลัง
โก สทฺโท กึสทฺโทเสียงอะไร
#กึโอภาโส กึพนฺธนานิ 

สมาสที่เอา มหนฺต ศัพท์  เป็น  มหา   เช่น

มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโสบุรุษใหญ่
มหตี ธานี มหาธานีเมืองใหญ่
มหนฺตํ นครํ มหานครํนครใหญ่
มหนฺตํ ภยํ มหพฺภยํภัยใหญ่ (รัสสะ เป็น มห, ซ้อน พฺ)

ลบอักษรตัวหลังของบทวิเสสนะ เหลือไว้แต่อักษรตัวหน้า   เช่น

สนฺโต ปุริโส สปฺปุริโสบุรุษผู้สงบแล้ว, สัตบุรุษ, คนดี
สปฺปุริสสฺส ธมฺโม สทฺธมฺโมธรรมของสัตบุรุษ, สัทธรรม (เป็น ฉ. ตัป.)
ปธานํ วจนํ ปาวจนํคำอันเป็นประธาน, ปาพจน์
กุจฺฉิตา ทิฏฺฐิ กุทิฏฺฐิทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียดแล้ว, ทิฏฐิชั่ว
กุจฺฉิโต ปุริโส กาปุริโสบุรุษอันบัณฑิตเกลียดแล้ว, บุรุษชั่ว
วิสิฏฺโฐ กปฺโป วิกปฺโปกัปวิเศษ
วิวิธา มติ วิมติความคิดอย่างต่างๆ, ความสงสัย
#กุปุตฺโต, กุทาโส, กุพฺราหฺมโณ, กุนฺนที, กาปุปฺผํ, กาลวณํ, กทนฺนํ, กทสนํ, กทริโย

 

ศัพท์ที่ทำหน้าที่เป็นวิเสสนะได้ เช่น คุณนามแท้; ปกติสังขยา, ปูรณสังขยา …

คุณนามแท้พหุ ชโน  พหุชโนชนมาก
 เสตํ ฉตฺตํ  เสตฉตฺตํร่มขาว, เศวตฉัตร
ปกติสังขยาตีณิ ปิฏกานิ  ติปิฏกํปิฎก 3  (เป็น ทิคุสมาส)
ปูรณสังขยาทุติโย วาโร  ทุติยวาโรวาระที่ 2
วิเสสนสัพพนามอญฺญตโร ปุริโส  อญฺญตรปุริโสบุรุษคนใดคนหนึ่ง
อุปสัคอธิกํ สีลํ อธิสีลํศีลยิ่ง
นิบาตสมฺมา ทิฏฐิ สมฺมาทิฏฐิความเห็นชอบ
กิริยากิตก์นิสินฺโน สามเณโร นิสินฺนสามเณโรสามเณรผู้นั่งแล้ว
 กตํ กมฺมํ กตกมฺมํกรรมอันบุคคลทำแล้ว
นามกิตก์ทายโก ปุคฺคโล ทายกปุคฺคโลบุคคลผู้ให้
 กรโณ กาโล กรณกาโลกาลเป็นที่ทำ
ตัทธิตพลวา ปุริโส พลวปุริโสบุรุษมีกำลัง
สมาสสลฺลวิทฺโธ สตฺโต สลฺลวิทฺธสตฺโตสัตว์อันลูกศรแทงแล้ว

2) วิเสสนุตตรบท  มีบทวิเสสนะอยู่หลัง บทประธานอยู่หน้า  เช่น

สตฺโต วิเสโส สตฺตวิเสโสสัตว์วิเศษ
นโร วโร นรวโรนระประเสริฐ
มนุสฺโส ทลิทฺโท มนุสฺสทลิทฺโทมนุษย์ผู้ขัดสน
สารีปุตฺโต เถโร สารีปุตฺตตฺเถโรพระสารีบุตร ผู้(เป็น)เถระ (ซ้อน ตฺ)
เทโว ราชา เทวราชาเทพผู้พระราชา
อมฺพํ ปกฺกํ อมฺพปกฺกํมะม่วงสุก
ลาโภ อคฺโค ลาภคฺโคลาภอันเลิศ

3) วิเสสโนภยบท มีบททั้ง 2 เป็นวิเสสนะ มีบทอื่นเป็นประธาน  เช่น

สีตญฺจ สมฏฺฐญฺจ สีตสมฏฺฐํ (ฐานํ)(ที่) ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง
อนฺโธ จ พธิโร จ อนฺธพธิโร (ปุริโส)*(บุรุษ) ทั้งบอดทั้งหนวก
สิตฺตญฺจ สมฺมฏฺฐญฺจ สิตฺตสมฺมฏฺฐํ (ฐานํ)(ที่) (อันเขา) ทั้งราดแล้วทั้งกวาดแล้ว
ขญฺโช จ ขุชฺโช จ ขญฺชขุชฺโช (ปุริโส)(บุรุษ) ทั้งกระจอกทั้งค่อม
สีตญฺจ อุณฺหญฺจ สีตุณฺหํ (ฐานํ)(ที่) ทั้งเย็นทั้งร้อน
อุจฺจญฺจ อวจญฺจ อุจฺจาวจํ (กมฺมํ)(กรรม) ทั้งสูงทั้งต่ำ
คิลาโน จ วุฏฺฐิโต จ คิลานวุฏฺฐิโต (ปุริโส)(บุรุษ) ทั้งเป็นไข้ทั้งหายแล้ว
กตญฺจ อกตญฺจ กตากตํ (กิจฺจํ)(กิจ) อัน(อันตน)ทั้งทำแล้วทั้งไม่ทำแล้ว 
(กิจ) อัน (อันตน) ทำแล้วด้วย ไม่ทำแล้วด้วย ชื่อว่า อัน(อันตน)ทั้งทำแล้วทั้งไม่ทำแล้ว
คตญฺจ ปจฺจาคตญฺจ คตปจฺจาคตํ (ยานํ/วาหนํ)(ยาน/พาหนะ) ทั้งไปแล้วทั้งกลับมาแล้ว 
(ยาน/พาหนะ) ไปแล้วด้วย กลับมาแล้วด้วย ชื่อว่า ทั้งไปแล้วทั้งกลับมาแล้ว

* ไม่พบ วธิร  พบแต่ พธิร

 

4) วิเสสโนปมบท  มีบทวิเสสนะเป็นอุปมา  จัดเป็น 2 ตามที่บทวิเสสนะอยู่หน้าหรืออยู่หลัง

ก. อุปมาอยู่หน้า เรียกว่า อุปมาบุพบท   เช่น

สงฺขํ อิว ปณฺฑรํ สงฺขปณฺฑรํ (ขีรํ)(น้ำนม) ขาวเพียงดังสังข์
กาโก อิว สูโร กากสูโร (นโร)(คน) กล้าเพียงดังกา
ทิพฺพํ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ *จักษุเพียงดังทิพย์

*  เขียนเต็มว่า ทิพฺพํ จกฺขุ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ  จักษุเพียงดังจักษุอันเป็นทิพย์  
ตาที่สามารถมองเห็นได้เหมือนตาของเหล่าเทวดา

 

ข. อุปมาอยู่หลัง เรียกว่า อุปมานุตตรบท   เช่น

นโร สีโห อิว นรสีโหนระเพียงดังสีหะ
ญาณํ จกฺขุ อิว ญาณจกฺขุญาณเพียงดังจักษุ
ปญฺญา ปาสาโท อิว ปญฺญาปาสาโทปัญญาเพียงดังปราสาท
พุทฺโธ อาทิจฺโจ อิว พุทฺธาทิจฺโจพระพุทธเจ้าเพียงดังพระอาทิตย์
มุขํ จนฺโท อิว มุขจนฺโทหน้าเพียงดังพระจันทร์
# มุนิวสโภ, มุนิปุงฺคโว, มุนิสีโห, มุนิกุญฺชโร, พุทฺธนาโค, สทฺธมฺมรํสิ

5) สัมภาวนบุพบท  มีบทหน้าประกอบด้วย อิติ ศัพท์   บทหลังเป็นประธาน   เช่น

ขตฺติโย (อหํ) อิติ มาโน ขตฺติยมาโนมานะว่า (เรา) เป็นกษัตริย์
สตฺโต อิติ สญฺญา สตฺตสญฺญาความสำคัญว่าเป็นสัตว์
สมโณ (อหํ) อิติ ปฏิญฺญา สมณปฏิญฺญาปฏิญญาว่า(เรา)เป็นสมณะ
สมโณ (อหํ) อิติ สญฺญา สมณสญฺญาความสำคัญว่า(เรา)เป็นสมณะ
อตฺตา อิติ ทิฏฺฐิ อตฺตทิฏฺฐิความเห็นว่าเป็นตัวตน
สตฺโต อิติ สงฺขาโต สตฺตสงฺขาโตอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าสัตว์

6) อวธารณบุพบท  มีบทหน้าประกอบด้วย เอว ศัพท์ (เพื่อห้ามเสียซึ่งเนื้อความอื่น) บทหลังเป็นประธาน   เช่น

ปญฺญา เอว ปโชโต ปญฺญาปโชโต (ปทีโป)(ประทีป) อันโพลงทั่วคือปัญญา
พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํรัตนะคือพระพุทธเจ้า
สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํทรัพย์คือศรัทธา
จกฺขุ เอว อินฺทฺริยํ จกฺขุนฺทฺริยํอินทรีย์คือจักษุ
รูปํ เอว อารมฺมณํ รูปารมฺมณํอารมณ์คือรูป
วสนํ เอว ภาโว วสนภาโวความเป็นคืออันอยู่
อิทฺธิ เอว ปาฏิหาริยํ อิทฺธิปาฏิหาริยํปาฏิหาริย์คือฤทธิ์

น บุพบท กัมมธารยสมาส  (หรือ อุภยตัปปุริสสมาส)

สมาสนี้มีคำแปลว่า  มิใช่..., ไม่ใช่...;  เป็น...หามิได้, ไม่เป็น...  
เมื่อ น อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง  ให้แปลง น เป็น    เช่น

น พฺราหฺมโณ อพฺราหฺมโณ (อยํ ชโน)(ชนนี้) มิใช่พราหมณ์
น วสโล อวสโล (อยํ ชโน)(ชนนี้) มิใช่คนถ่อย
น กุสลํ อกุสลํ (อิทํ กมฺมํ)(กรรมนี้) มิใช่กุศล
น มนุสฺโส อมนุสฺโส (อยํ สตฺโต)(สัตว์นี้) มิใช่มนุษย์
น สมโณ อสฺสมโณ (อยํ ชโน)(ชนนี้) มิใช่สมณะ
น การณํ อการณํ (อิทํ ธมฺมชาตํ)(ธรรมชาตนี้) มิใช่เหตุ

เมื่อ น อยู่หน้า  สระอยู่หลัง  ให้แปลง น เป็น อน   เช่น

น อสฺโส อนสฺโส (อยํ สตฺโต)(สัตว์นี้) มิใช่ม้า
น อริโย อนริโย (อยํ ชโน)(ชนนี้) มิใช่พระอริยะ


หมายเหตุกัมมธารยสมาส

1) การตั้งวิเคราะห์กัมมธารยสมาส ให้แยกออกมาลงปฐมาวิภัตติ และให้มีวจนะตรงกัน  
    เฉพาะ วิเสสนบุพบท วิเสสนุตตรบท วิเสสโนภยบท  ต้องให้มีลิงค์ตรงกันด้วย 
2) การแปลวิเคราะห์  ให้แปลบทนามนามก่อน  แล้วจึงแปลบทคุณนาม   
    แต่ถ้าเป็นคุณนามทั้งสองบท  ให้แปลอัญญบทเป็นตัวประธาน

  1. การแปลวิเสสนบุพบท และ วิเสสนุตตรบท มีคำว่า “ผู้...”   (บางครั้งก็ไม่มี)
  2. วิเสสโนภยบท แปลว่า “ทั้ง...ทั้ง...”   มาจาก จ ศัพท์ ในวิเคราะห์
  3. วิเสสโนปมบท แปลว่า “...เพียงดัง...”   มาจาก อิว ศัพท์ ในรูปวิเคราะห์
  4. สัมภาวนบุพบท แปลว่า “ว่า...”   มาจาก อิติ ศัพท์ ในวิเคราะห์
  5. อวธารณบุพบท แปลว่า “คือ...”    มาจาก เอว ศัพท์ ในวิเคราะห์

วิธีตั้งวิเคราะห์ในกัมมธารยสมาสทั้ง 6 นั้น เป็นแบบที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคิดย่อให้สั้นเข้า เพื่อสะดวกในการท่องจำและการแปล     
ส่วนในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ทั้งหลาย ท่านตั้งวิเคราะห์ ดังนี้

วิเสสนบุพบท 
มหนฺโต จ โส ปุริโส จาติ มหาปุริโสบุรุษนั้นด้วย ใหญ่ด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า บุรุษใหญ่
วิเสสนุตตรบท 
สตฺโต จ โส  วิเสโส จาติ  สตฺตวิเสโสสัตว์นั้นด้วย วิเศษด้วย  เหตุนั้น ชื่อว่า สัตว์วิเศษ
วิเสสโนภยบท 
สีตญฺจ  ตํ  สมฏฺฐญฺจาติ  สีตสมฏฺฐํ (ฐานํ)ที่นั้น เย็นด้วย เกลี้ยงด้วย  เหตุนั้น ชื่อว่า ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง

ส่วนอีก 3 สมาส ตั้งวิเคราะห์เหมือนแบบข้างต้น

 

2. ทิคุสมาส

กัมมธารยสมาส มีปกติสังขยานำหน้า ชื่อว่า ทิคุสมาส   มี 2  คือ

1. สมาหารทิคุ  คือ ทิคุที่รวมนามศัพท์มีเนื้อความเป็นพหุวจนะ ทำให้เป็นเอกวจนะ นปุงสกลิงค์  เช่น

ตโย โลกา ติโลกํโลก 3
จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสํทิศ 4
ปญฺจ อินฺทฺริยานิ ปญฺจินฺทฺริยํอินทรีย์ 5
ฉ อายตนานิ สฬายตนํอายตนะ 6  (แปลง ฉฺ เป็น สฺ, ลง รฺ อาคม, ใช้ ฬฺ แทน รฺ)
เทฺว องฺคุลิโย ทฺวงฺคุลํนิ้ว 2  (แปลง อิ ที่ ลฺ เป็น อ)
ตีณิ ปิฏกานิ ติปิฏกํปิฎก 3
ตีณิ รตนานิ ติรตนํรตนะ 3, ไตรรัตน์

2. อสมาหารทิคุ คือ ทิคุที่ไม่ได้ทำให้เป็นเอกวจนะ นปุงสกลิงค์  เช่น

เอโก ปุคฺคโล เอกปุคฺคโลบุคคลผู้เดียว
จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสาทิศ 4 ท.
ปญฺจ พลานิ ปญฺจพลานิกำลัง 5 ท.
ตีณิ รตนานิ ติรตนานิรตนะ 3 ท.

หมายเหตุทิคุสมาส

ก. ปกติสังขยาคุณนาม (1 ถึง 98) นำหน้านาม เป็น ทิคุสมาส 
ข. ปกติสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) นำหน้านามนาม ไม่เป็นทิคุสมาส แต่เป็น วิเสสนบุพบท กัมมธารยสมาส (ที่มีฉัฏฐีพหุพพิหิสมาสเป็นท้อง) เช่น

ปญฺจสตภิกฺขู (=ปญฺจสตปมาณภิกฺขู)ภิกษุมีร้อยห้าเป็นประมาณ ท.
สหสฺสปุริสา (=สหสฺสปมาณปุริสา)บุรุษมีพันเป็นประมาณ ท.

ค. ปกติสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) ตามหลัง มีนามนามอยู่หน้า  เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสเท่านั้น  เช่น

ภิกฺขูนํ สตํ ภิกฺขุสตํร้อยแห่งภิกษุ
ปุริสานํ สหสฺสานิ ปุริสสหสฺสานิพันแห่งบุรุษ ท.

ง. ปูรณสังขยานำหน้านามนาม เป็นวิเสสนบุพบท กัมมธารยสมาส เช่น

ทุติโย วาโร ทุติยวาโรวาระที่ 2

   แต่ถ้ามีบทอื่นเป็นประธาน เป็น ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ  เช่น   
     นวมสามเณโร (สงฺโฆ)     (สงฆ์) มีสามเณรเป็นที่ 9

 

สมาสที่รูปเดียว แต่เป็นได้หลายประเภท เช่น

อาคตสมโณสมณะผู้มาแล้ววิ. บุพ. กัม.
อาคตสมโณ (อาราโม)(อาราม) มีสมณะมาแล้วทุ. พหุพ.
เตวิชฺชาวิชชา 3 ท.อสมา. ทิคุ.
เตวิชฺชา (ภิกฺขุนี)(ภิกษุณี) ผู้มีวิชชา 3จตุ. พหุพ.
กลฺยาณธมฺโมธรรมอันงามวิ. บุพ. กัม.
กลฺยาณธมฺโม (อุปาสโก)(อุบาสก) ผู้มีธรรมอันงามจตุ. พหุพ.

 

3. ตัปปุริสสมาส

นามศัพท์มี อํ วิภัตติ เป็นต้น ในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส 
(ศัพท์นามนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ  สมาสเข้ากับบทหลัง  ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส) 
ตัปปุริสสมาส  บทหน้าที่เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติใด ให้แยกออกมาประกอบวิภัตตินั้น 

1) ทุติยาตัปปุริส

สุขํ ปตฺโต สุขปฺปตฺโต (ปุริโส)(บุรุษ) ถึงแล้วซึ่งสุข
คามํ คโต คามคโต (ปุริโส)(บุรุษ) ไปแล้วสู่บ้าน
สพฺพรตฺตึ โสภโณ สพฺพรตฺติโสภโณ (จนฺโท)(พระจันทร์) งามตลอดราตรีทั้งปวง
โสตํ อาปนฺโน โสตาปนฺโน (ชโน)(ชน) ผู้ถึงทั่วแล้วซึ่งกระแส (แห่งพระนิพพาน)
ธมฺมํ นิสฺสิตํ ธมฺมนิสฺสิตํ (คีตํ)(เพลงขับ) อันอาศัยแล้วซึ่งธรรม
อตฺถํ นิสฺสิโต อตฺถนิสฺสิโต (ธมฺโม)(ธรรม) อันอาศัยแล้วซึ่งอรรถ
นิโรธํ สมาปนฺโน นิโรธสมาปนฺโน (ชโน)(ชน) ผู้เข้าถึงแล้วซึ่งนิโรธ
คพฺภสฺส ปาตนํ คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ)(เภสัช) เป็นเครื่องยังครรภ์ให้ตกไป
มิคํ มารณํ มิคมารณํการยังเนื้อให้ตาย

2) ตติยาตัปปุริส

อสฺเสน (ยุตฺโต) รโถ อสฺสรโถรถเทียมแล้วด้วยม้า
สลฺเลน วิทฺโธ สลฺลวิทฺโธ (ชนฺตุ)(สัตว์) อันลูกศรแทงแล้ว
อสินา กลโห อสิกลโหความทะเลาะเพราะดาบ
สีเลน สมฺปนโน สีลสมฺปนฺโน (ภิกฺขุ)ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
ปุญฺเญน อตฺถิโก ปุญฺญตฺถิโก (ชโน)ผู้มีความต้องการด้วยบุญ
โรเคน ปีฬิโต โรคปีฬิโต (ชโน)อันโรคเบียดเบียนแล้ว
อิจฺฉาย อปกโต อิจฺฉาปกโต (ชโน)อันความอยากครอบงำแล้ว
ญาเณน สมฺปยุตฺตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ (จิตฺตํ)อันสัมปยุตแล้วด้วยญาณ
อคฺคินา ทฑฺโฒ อคฺคิทฑฺโฒ (ชโน)อันไฟไหม้แล้ว
วิญฺญูหิ ครหิโต วิญฺญุครหิโต (ธมฺโม)(ธรรม) อันวิญญูชนติเตียนตรัสแล้ว (รัสสะ อู เป็น อุ)
พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโต (ธมฺโม)(ธรรม) อันพระพุทธเจ้าตรัสแล้ว
พุทฺเธน ทินฺโน พุทฺธทตฺโต (ภิกฺขุ)(ภิกษุ) อันพระพุทธเจ้าให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต)
เทเวน ทินฺโน เทวทตฺโต (ปุตฺโต)(บุตร) อันเทวดาให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต)
ปเรหิ ทินฺนํ ปรทตฺตํ (ทานํ)(ทาน) อันบุคคลอื่นให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต เช่น ปรทตฺตูปชีวี เปรตผู้อาศัยทานอันบุคคลอื่นให้แล้วเป็นอยู่)
เอเกน (อุตฺตรํ) สตํ เอกสตํร้อยเกินด้วยหนึ่ง, 101 (ถ้า 100 เขียนว่า สตํ ไม่มี เอก ข้างหน้า)

3) จตุตถีตัปปุริส

กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํผ้าเพื่อกฐิน
อาคนฺตุกสฺส ภตฺตํ อาคนฺตุกภตฺตํภัตรเพื่อผู้(จร)มา
คมิกสฺส ภตฺตํ คมิกภตฺตํภัตรเพื่อผู้(จะเดินทาง)ไป
ยาคุยา ตณฺฑุลา ยาคุตณฺฑุลาข้าวสารเพื่อข้าวต้ม
คิลานสฺส เภสชฺชํ คิลานเภสชฺชํยาเพื่อคนไข้
โลกสฺส หิโต โลกหิโต (อตฺโถ)ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก
พุทฺธสฺส เทยฺยํ พุทฺธเทยฺยํ (วตฺถุ)อันบุคคลพึงถวายแด่พระพุทธเจ้า
ทาตุํ กาโม ทาตุกาโม (ชโน)*(ชน) ผู้ใคร่เพื่ออันให้  (ลบนิคคหิต)

*   หรือตั้งเป็นนามกิตก์  วิ. ทาตุํ กาเมตีติ ทาตุกาโม  ณ ปัจ.

 

4) ปัญจมีตัปปุริส

โจรมฺหา ภยํ โจรภยํภัยแต่โจร
ราชโต ภยํ ราชภยํภัยแต่พระราชา
มรณสฺมา ภยํ มรณภยํความกลัวแต่ความตาย
ปาปโต ภีรุโก ปาปภีรุโก (ชโน)ผู้กลัวแต่บาป
สาสนา จุโต สาสนจุโต (ภิกฺขุ)ผู้เคลื่อนแล้วจากศาสนา
เมถุนสฺมา อเปโต เมถุนาเปโต (ภิกฺขุ)ผู้ไปปราศแล้วจากเมถุนธรรม
พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต (สตฺโต)(สัตว์) พ้นแล้วจากเครื่องผูก

5) ฉัฏฐีตัปปุริส

รญฺโญ ปุตฺโต ราชปุตฺโตบุตรแห่งพระราชา
รญฺโญ ปุริโส ราชปุริโสบุรุษแห่งพระราชา
ธญฺญานํ ราสิ ธญฺญราสิกองแห่งข้าวเปลือก
รุกฺขสฺส สาขา รุกฺขสาขากิ่งแห่งต้นไม้
เทวานํ ราชา เทวราชาราชาแห่งเทพ
ชินสฺส วจนํ ชินวจนํพระดำรัสแห่งพระชินเจ้า
พุทธสฺส รูปํ พุทธรูปํพระรูปแห่งพระพุทธเจ้า
กายสฺส ลหุตา กายลหุตาความเบาแห่งกาย
ภิกฺขูนํ สตํ ภิกฺขุสตํร้อยแห่งภิกษุ
ปุริสานํ สหสฺสานิ ปุริสสหสฺสานิพันแห่งบุรุษ ท.
ปรสฺส ทาโร ปรทาโรเมียของบุคคลอื่น
วนสฺส ปติ วนปฺปติ (รุกฺโข)(ต้นไม้) อันเป็นเจ้าแห่งป่า (ซ้อน ปฺ)
กหาปณานํ คพฺโภ กหาปณคพฺโภห้องแห่งกหาปณะ
รตนานํ ตยํ รตนตฺตยํหมวดสามแห่งรตนะ, รัตนตรัย (ซ้อน ตฺ)

แม้แปลหักฉัฏฐีวิภัตติเป็นทุติยาวิภัตติ (คือแปลเป็นกรรม ว่า ‘ซึ่ง’) ด้วยอำนาจปัจจัยนามกิตก์ (คือ ณ ณฺวุ ตุ ยุ) ก็ยังเรียกว่า ฉัฏฐีตัปปุริส  (เรียกตามวิภัตติที่ลง ไม่ได้เรียกตามคำแปล)

ธมฺมสฺส เทสนา ธมฺมเทสนาการแสดงซึ่งธรรม
ธมฺมสฺส สวนํ ธมฺมสฺสวนํการฟังซึ่งธรรม
อาจริยสฺส ปูชโก อาจริยปูชโก (ชโน)(ชน) ผู้บูชาซึ่งอาจารย์
มรณสฺส สติ มรณสฺสติการระลึกถึงซึ่งความตาย (ซ้อน สฺ)
กหาปณานํ (อุคฺคหโณ) คพฺโภ กหาปณคพฺโภห้องเป็นที่เก็บซึ่งกหาปนะ

6) สัตตมีตัปปุริส

รูเป สญฺญา รูปสญฺญาความสำคัญในรูป
สํสาเร ทุกฺขํ สํสารทุกฺขํทุกข์ในสงสาร
วเน จรตีติ วนจโร วเนจโร (ชโน)ผู้เที่ยวไปในป่า
วเน ปุปฺผํ วนปุปฺผํดอกไม้ในป่า
อรญฺเญ วาโส อรญฺญวาโสการอยู่ในป่า
ธมฺเมสุ คารโว ธมฺมคารโวความเคารพในธรรม
ธมฺเม รโต ธมฺมรโต (ภิกฺขุ)ผู้ยินดีแล้วในธรรม
ธมฺเม รุจิ ธมฺมรุจิความยินดีในธรรม
ถเล ติฏฺฐตีติ ถลฏฺโฐผู้ยืนบนบก
อิตฺถีสุ ธุตฺโต อิตฺถีธุตฺโตนักเลงในหญิง
วิกาเล โภชนํ วิกาลโภชนํการบริโภคในสมัยมีกาลไปปราศ
ปุพฺเพ (กาเล) กมฺมํ ปุพฺพกมฺมํกรรมในกาลก่อน
กาเมสุ อวจรํ กามาวจรํ (จิตฺตํ)(จิต) อันเที่ยวลงในกาม

อุภยตัปปุริส 
อุภยตัปปุริสสมาส ก็คือ น บุพบท กัมมธารยสมาส ที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น

โลปตัปปุริส

1) มัชเฌโลปตัปปุริส

มัชเฌโลปะ แปลว่า ลบในท่ามกลาง  (มชฺเฌ-โลโป - อลุตตสมาส) 
ตัปปุริสสมาสบางสมาส ในรูปวิเคราะห์ มี 3 ศัพท์  แต่เมื่อเข้าสมาสแล้ว ลบศัพท์ที่อยู่ตรงกลางศัพท์หนึ่งออก (จึงเรียกว่า “มัชเฌโลปะ”)   
ดังนั้นเมื่อจะแปลบทสมาสประเภทนี้ ก็ให้เพิ่มศัพท์ที่ลบไปนั้นเข้ามาแปล เพื่อให้ได้ใจความ

ศัพท์ที่ใช้ในมัชเฌโลปตัปปุริส และตัวอย่าง  เช่น

ยุตฺต นิยุตฺต ประกอบแล้วอสฺเสน (นิยุตฺโต) รโถ  อสฺสรโถ   รถเทียมแล้วด้วยม้า
 มคฺเคน (ยุตฺตํ)  จิตฺตํ  มคฺคจิตฺตํ  จิตอันประกอบแล้วด้วยมรรค
สงฺขต ปรุงแล้วมุทฺทิกาย (สงฺขตํ) ปานํ  มุทฺทิกปานํ น้ำเป็นเครื่องดื่มอันบุคคลปรุงแล้วด้วยผลจันทน์ 
มธุนา (สงฺขโต) ปายาโส  มธุปายาโส ข้าวปายาสอันบุคคลปรุงแล้วด้วยน้ำผึ้ง
สนฺนิสฺสิต อาศัยแล้วจกฺขุมฺหิ (นิสฺสิตํ) วิญฺญาณํ จกฺขุวิญฺญาณํ  วิญญาณอันอาศัยแล้วในจักษุ
มิสฺสก เจือ, ระคน, ผสมมธุนา (มิสฺสโก) ปายาโส  มธุปายาโส  ข้าวปายาสอันเจือด้วยน้ำผึ้ง
สํสฏฺฐ ระคนคุเฬน (สํสฏฺโฐ) โอทโน  คุโฬทโน  ข้าวสุกอันระคนแล้วด้วยน้ำอ้อย
ชาต เกิดแล้วฌานสฺมา (ชาตํ) สุขํ  ฌานสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากฌาน 
กาเมหิ (ชาตํ) สุขํ  กามสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากกาม 
รชฺชสฺมา (ชาตํ) สุขํ  รชฺชสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากความเป็นแห่งพระราชา
กต (อันบุคคล) ทำแล้ว 
ปกต (อันบุคคล) ทำทั่วแล้ว
สุวณฺเณน (กตา) ปาติ  สุวณฺณปาติ  ถาดอันบุคคลทำแล้วด้วยทอง, ถาดทอง 
กาเยน (กตํ) กมฺมํ กายกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางกาย 
วาจาย (กตํ) กมฺมํ วจีกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางวาจา 
มนสา (กตํ) กมฺมํ มโนกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางใจ
วิการ เป็นวิการสุวณฺณสฺส (วิการา) ปาติ  สุวณฺณปาติ ถาดอันเป็นวิการแห่งทอง, ถาดทอง
กาตพฺพ (อันบุคคล) พึงทำอาจริยสฺส (กาตพฺพํ) วตฺตํ  อาจริยวตฺตํ  วัตรอันศิษย์พึงทำแก่อาจารย์ 
อุปชฺฌายวตฺตํ วัตรอันสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌาย์ 
อาคนฺตุกวตฺตํ วัตรอันบุคคลพึงทำแก่ผู้(จร)มา 
หตฺเถน (กาตพฺพํ) กมฺมํ  หตฺถกมฺมํ  กรรมอันบุคคลพึงทำด้วยมือ
ทาตพฺพ (อันบุคคล) พึงให้สงฺฆสฺส (ทาตพฺพํ) ทานํ  สงฺฆทานํ  ทานอันบุคคลพึงถวายแก่สงฆ์
ทินฺน (อันบุคคล) ให้แล้ว 
โธวน เป็นเครื่องชำระมุขสฺส (โธวนํ) อุทกํ  มุโขทกํ  น้ำเป็นเครื่องล้างซึ่งหน้า 
ทนฺตกฏฺฐํ ไม้เป็นเครื่องชำระซึ่งฟัน
อาหรณ เป็นเครื่องนำมาสุขสฺส (อาหรณา) กถา สุขกถา  ถ้อยคำอันเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุข

 

2) อาทิโลปตัปปุริส ลบศัพท์ต้น  เช่น 

เทเวน ทตฺโต ทตฺโต (ชโน)(ชน) อันเทวดาให้แล้ว

3) อันตโลปตัปปุริส ลบศัพท์ท้าย  เช่น 

รูปสฺส ภโว รูปํรูปภพ
อรูปสฺส ภโว อรูปํอรูปภพ

 

กัมมธารยะ กับ ตัปปุริสะ  ต่างกันดังนี้

  1. กัมมธารยะ  ในรูปวิเคราะห์  บททั้งสองประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ    บทหนึ่งเป็นประธาน บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ    หรือเป็นวิเสสนะทั้งสองบท  มีวิภัตติ วจนะ เสมอกัน 
    ตัปปุริสะ  ในรูปวิเคราะห์  บทหน้าลงวิภัตติตั้งแต่ ทุติยา ถึง สัตตมี   ส่วนบทหลังนิยมลงปฐมาวิภัตติ
  2. ตัปปุริสะ แปลบทหลังก่อนจึงแปลบทหน้า   ส่วน กัมมธารยะ แปลบทหลังก่อนก็มี  แปลบทหน้าก่อนก็มี

 

4. ทวันทวสมาส

นามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อ ทวันทวสมาส   มี 2  คือ

1) สมาหารทวันทวะ

สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํสมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ชื่อ สมถะและวิปัสสนา
สงฺโข จ ปณโว จ สงฺขปณวํสังข์ด้วย บัณเฑาะว์ด้วย ชื่อ สังข์และบัณเฑาะว์
ปตฺโต จ จีวรญฺจ ปตฺตจีวรํบาตรด้วย จีวรด้วย ชื่อ บาตรและจีวร
หตฺถี จ อสฺโส จ รโถ จ ปตฺติโก จ หตฺถีอสฺสรถปตฺติกํช้างด้วย ม้าด้วย รถด้วย คนเดินด้วย ชื่อ ช้างและม้าและรถและคนเดิน
จกฺขุญฺจ โสตญฺจ จกฺขุโสตํจักษุด้วย โสตด้วย ชื่อ จักษุและโสต, ตาและหู
ปุตฺโต จ ทาโร จ ปุตฺตทารํบุตรด้วย เมียด้วย ชื่อ บุตรและเมีย
ธมฺโม จ วินโย จ ธมฺมวินโยธรรมและวินัย  (ไม่เป็น นปุ.)
ลาโภ จ สกฺกาโร จ ลาภสกฺกาโรลาภและสักการะ  (ไม่เป็น นปุ.)

2)อสมาหารทวันทวะ

จนฺทิมา จ สุริโย จ จนฺทิมสุริยาพระจันทร์ด้วย พระอาทิตย์ด้วย ชื่อ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ท.
สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณาสมณะด้วย พราหมณ์ด้วย ชื่อ สมณะและพราหมณ์ ท.
ปณฺณญฺจ ปุปฺผญฺจ ผลญฺจ ปณฺณปุปฺผผลานิใบไม้ด้วย ดอกไม้ด้วย ผลด้วย ชื่อ ใบไม้และดอกไม้และผล ท.
สารีปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานาพระสารีบุตรด้วย พระโมคคัลลานะด้วย ชื่อ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท.
ปุตฺโต จ ทาโร จ ปุตฺตทาราบุตรด้วย เมียด้วย ชื่อ บุตรและเมีย ท.

ทวันทวสมาส กับ วิเสสโนภยบท กัมมธารยะ  ต่างกันดังนี้

วิเสสโนภยบท เป็นบทวิเสสนะทั้งสองบท    ส่วน ทวันทวสมาส เป็นบทประธานทั้งสิ้น

 

เอกเสสทวันทวะ 
ทวันทวสมาส ที่ลบบางศัพท์ทิ้ง  เหลือแต่ศัพท์หน้าหรือศัพท์หลัง เพียงศัพท์เดียว  มี 2  คือ

1) ปุพเพกเสส  ลบศัพท์หลัง  เหลือศัพท์หน้า  เช่น

สารีปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สารีปุตฺตาพระสารีบุตรด้วย พระโมคคัลลานะด้วย ชื่อว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท.
อุปาสโก จ อุปาสิกา จ อุปาสกาอุบาสกด้วย อุบาสิกาด้วย ชื่อว่า อุบาสกและอุบาสิกา ท.
วาเสฏฺโฐ จ ภารทฺวาโช จ วาเสฏฺฐาวาเสฏฐะด้วย ภารัทวาชะด้วย ชื่อว่า วาเสฏฐะและภารัทวาชะ ท.

2) ปเรกเสส  ลบศัพท์หน้า  เหลือศัพท์หลัง  เช่น

มาตา จ ปิตา จ ปิตโรมารดาด้วย บิดาด้วย ชื่อว่า มารดาและบิดา ท.

5. อัพยยีภาวสมาส

สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่หน้า เรียกว่า อัพยยีภาวสมาส  

อัพยยีภาวสมาส มีนิบาตหรืออุปสัคเป็นบทหน้า และเป็นประธาน  (และแปลก่อนนามนามที่อยู่ข้างหลัง เพราะมุ่งแสดงเนื้อความของอัพยยศัพท์นั้นๆ)   บทหลังเป็นนามนาม

อัพยยีภาวสมาส เป็นนามนาม นปุงสกลิงค์* เอกวจนะ  
รูปสำเร็จเป็นปฐมาวิภัตติ  ในประโยคต่างๆ ใช้ทุติยาวิภัตติ (สู่)  ปัญจมีวิภัตติ (จาก)  สัตตมีวิภัตติ (ใน)  โดยมาก  แจกวิภัตติดังนี้

     เอก. 
ป. อนฺโตนครํ 
ทุ. อนฺโตนครํ 
ต. อนฺโตนครํ, อนฺโตนคเรน 
จ. อนฺโตนครํ 
ป. อนฺโตนครา 
ฉ. อนฺโตนครํ, อนฺโตนครสฺส 
ส. อนฺโตนครํ, อนฺโตนครสฺมึ, อนฺโตนคเร

 

อัพยยีภาวสมาส มี 2  คือ

1. อุปสัคคปุพพกะ  มีอุปสัคเป็นบทหน้า  บทหลังเป็นนามนาม  เวลาตั้งวิเคราะห์ ให้เอานามนามมาเรียงไว้หน้า 
แล้วลงวิภัตติตามคำแปล  ส่วนอุปสัค มักใช้ศัพท์อื่นแทน  โดยให้มีคำแปล เหมือนหรือใกล้เคียงกับอุปสัคนั้น    เช่น

สมีปํ   อ.ที่ใกล้แทน  อุป
อภาโว  อ.ความไม่มีแทน  นิ
อนุวตฺตติ   ย่อมเป็นไปตามแทน  อนุ
อธิวตตฺติ  ย่อมเป็นไปทับแทน  อธิ
อติวตฺตติ  ย่อมเป็นไปแทน  อติ
ปฏิวตฺตติ  ย่อมเป็นไปทวนตอบแทน  ปฏิ

  

อุป:นครสฺส สมีปํ  อุปนครํที่ใกล้ แห่งเมือง ชื่อว่า ใกล้เมือง
 คงฺคาย สมีปํ อุปคงฺคํที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา
 กุมฺภสฺส สมีปํ อุปกุมฺภํที่ใกล้ แห่งหม้อ ชื่อว่า ใกล้หม้อ
 คงฺคาย สมีปํ อุปคงฺคํที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา
 คงฺคาย สมีเป วตฺตตีติ อุปคงฺคํวัตถุใด ย่อมเป็นไป ในที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา
อนุ:วนสฺส อนุ อนุวนํที่ใกล้ แห่งป่า ชื่อว่า ใกล้ป่า   (อนุ=สมีป)
 คงฺคํ อนุคตา อนุคงฺคํไปตาม ซึ่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ตามแม่น้ำคงคา 
 ตีรํ อนุคตา อนุตีรํไปตาม ซึ่งฝั่ง ชื่อว่า ตามฝั่ง
 รูปสฺส โยคฺคํ อนุรูปํความสมควร แก่รูป ชื่อว่า สมควรแก่รูป
 รถสฺส อนุ อนุรถํ เบื้องหลัง แห่งรถ ชื่อว่า หลังรถ  (อนุ=ปจฺฉา)
 วาตํ อนุวตฺตตีติ อนุวาตํวัตถุใด ย่อมเป็นไปตาม ซึ่งลม เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ตามซึ่งลม, ตามลม
 อฑฺฒมาสํ อนุวตฺตตีติ อนฺวฑฺฒมาสํวัตถุใด ย่อมเป็นไปตาม ซึ่งเดือนด้วยทั้งกึ่ง เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ทุกกึ่งเดือน
 อทฺธมาสํ อนุวตฺตตีติ อนฺวทฺธมาสํทุกกึ่งเดือน
 เชฏฺฐานํ อนุปุพฺโพ อนุเชฏฺฐํลำดับ แห่งผู้เจริญ ท. ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ
นิ:ทรถานํ อภาโว นิทฺทรถํความไม่มี แห่งความกระวนกระวาย ท. ชื่อว่า ความไม่มีแห่งความกระวนกระวาย
 มกฺขิกานํ อภาโว นิมฺมกฺขิกํความไม่มี แห่งแมลงวัน ชื่อว่า ความไม่มีแห่งแมลงวัน
 มกสานํ อภาโว นิมฺมกสํความไม่มี แห่งยุง ชื่อว่า ความไม่มีแห่งยุง
 มสกานํ อภาโว นิมฺมสกํความไม่มี แห่งยุง ชื่อว่า ความไม่มีแห่งยุง
 ติณานํ อภาโว นิตฺติณํความไม่มี แห่งหญ้า ชื่อว่า ความไม่มีแห่งหญ้า
อธิ:อตฺตานํ อธิวตฺตตีติ อชฺฌตฺตํสิ่งใด ย่อมเป็นไปทับ ซึ่งตน เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า เป็นไปทับซึ่งตน, เป็นไปในภายใน
 อตฺตานํ อธิกิจฺจ ปวตฺตา อชฺฌตฺตํธรรม ท. อันอาศัยแล้ว ซึ่งตน เป็นไป ชื่อว่า อาศัยตนเป็นไป, เป็นไปภายในตน
ปฏิ:วาตสฺส ปฏิวตฺตตีติ ปฏิวาตํวัตถุใด ย่อมเป็นไปทวนตอบ แก่ลม เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ทวนตอบแก่ลม
 อตฺตานํ ปฏิวตฺตตีติ ปจฺจตฺตํสิ่งใด ย่อมเป็นไปเฉพาะ ซึ่งตน เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า เป็นไปเฉพาะซึ่งตน, เฉพาะตน
 อตฺตานมตฺตานํ ปติ ปจฺจตฺตํเฉพาะ ซึ่งตนๆ ชื่อว่า เฉพาะซึ่งตน, เฉพาะตน
 วาตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิวาตํทวนลำดับ แห่งลม ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งลม, ทวนลม
 โสตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิโสตํทวนลำดับ แห่งกระแส ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งกระแส, ทวนกระแส
 ปถสฺส ปฏิโลมํ ปฏิปถํทวนลำดับ แห่งทาง ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งทาง, สวนทาง
ปริ:ปพฺพตสฺส ปริ ปริปพฺพตํรอบ แห่งเขา ชื่อว่า รอบแห่งเขา, รอบเขา

2. นิปาตปุพพกะ  มีนิบาตเป็นบทหน้า  เรียงนามนามไว้หลัง  เวลาตั้งวิเคราะห์ ให้เอานามนามมาเรียงไว้หน้า แล้วลงวิภัตติตามคำแปล  ส่วนนิบาต (หรือศัพท์ที่แทนนิบาต) ให้เรียงไว้หลัง  เช่น

ปรภาโค ส่วนอื่นแทน  ติโร
ปฏิปาฏิ  ลำดับแทน  ยถา
เย เย  ใด ใดแทน  ยถา
ยตฺตโก ปริจฺเฉโท กำหนดมีประมาณเท่าใดแทน  ยาว
ติโร:ปพฺพตสฺส ติโร ติโรปพฺพตํภายนอก แห่งภูเขา ชื่อว่า ภายนอกแห่งภูเขา, นอกภูเขา
 ปพฺพตสฺส ปรภาโค ติโรปพฺพตํส่วนอื่น แห่งภูเขา ชื่อว่า ภายนอกแห่งภูเขา, นอกภูเขา
 ปาการสฺส ติโร ติโรปาการํภายนอก แห่งกำแพง ชื่อว่า ภายนอกแห่งกำแพง, นอกกำแพง
 กุฑฺฑสฺส ติโร ติโรกุฑฺฑํภายนอก แห่งฝา ชื่อว่า ภายนอกแห่งฝา(เรือน), นอกฝา(เรือน)
พหิ:นครสฺส พหิ พหินครํภายนอก แห่งเมือง ชื่อว่า ภายนอกแห่งเมือง, นอกเมือง
 คามสฺส พหิ พหิคามํภายนอก แห่งหมู่บ้าน ชื่อว่า ภายนอกแห่งหมู่บ้าน, นอกหมู่บ้าน
 สาณิยา พหิ พหิสาณิภายนอก แห่งม่าน ชื่อว่า ภายนอกแห่งม่าน, นอกม่าน
อนฺโต:นครสฺส อนฺโต อนฺโตนครํภายใน แห่งเมือง ชื่อว่า ภายในแห่งเมือง, ในเมือง
 วสฺสสฺส อนฺโต อนฺโตวสฺสํภายใน แห่งกาลฝน ชื่อว่า ภายในแห่งกาลฝน, ภายในพรรษา
 ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํภายใน แห่งปราสาท ชื่อว่า ภายในแห่งปราสาท, ในปราสาท
 วสฺสสฺส อนฺโต อนฺโตวสฺสํภายใน แห่งฤดูฝน ชื่อว่า ภายในแห่งฤดูฝน, ในฤดูฝน
 อวีจิโน อนฺโต อนฺโตอวีจิภายใน แห่งอเวจี ชื่อว่า ภายในแห่งอเวจี, ในอเวจี
ยถา:สตฺติยา ปฏิปาฏิ ยถาสตฺติลำดับ แห่งความสามารถ ชื่อว่า ตามความสามารถ (ปฏิปาฏิ อิต. ลำดับ)
 พลสฺส ปฏิปาฏิ ยถาพลํลำดับ แห่งกำลัง ชื่อว่า ตามกำลัง (ไตร. ใช้คู่กันเสมอ เช่น ยถาสตฺติ ยถาพลํ)
 กมสฺส ปฏิปาฏิ ยถากฺกมํลำดับ แห่งการดำเนินไป ชื่อว่า ตามลำดับ
 สุขสฺส ปฏิปาฏิ ยถาสุขํลำดับ แห่งความสบาย/สุข ชื่อว่า ตามความสบาย, ตามสบาย
 อภิรนฺตสฺส ปฏิปาฏิ ยถาภิรนฺตํลำดับ แห่งความพอใจ ชื่อว่า ตามความพอใจ
 วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ ยถาวุฑฺฒํลำดับแห่งผู้เจริญ ท. ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ
 เย เย วุฑฺฒา ยถาวุฑฺฒํผู้เจริญ ท. ใด ใด ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ
 สตฺตึ อนติกฺกมิตฺวา ยถาสตฺติไม่เกินแล้ว ซึ่งความสามารถ ชื่อว่า ตามความสามารถ
 พลํ อนติกฺกมิตฺวา ยถาพลํไม่เกินแล้ว ซึ่งกำลัง ชื่อว่า ตามกำลัง
 กมํ อนติกฺกมิตฺวา ยถากฺกมํไม่ข้ามแล้ว ซึ่งลำดับ ชื่อว่า ตามลำดับ
ยาว:ชีวสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวชีวํการกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งชีวิต ชื่อว่า กำหนดเพียงไรแห่งชีวิต, ตลอดชีวิต
 ตติยวารสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวตติยํการกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งวาระที่สาม ชื่อว่า การกำหนดเพียงไรแห่งวาระที่สาม, จนถึงสามครั้ง
 ยตฺตเกน อตฺโถ ยาวทตฺถํความต้องการ (ด้วยวัตถุ) มีประมาณเพียงไร ชื่อว่า ตามความต้องการ
ยาวตา:อายุสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวตายุกํการกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งอายุ ชื่อว่า กำหนดเพียงไรแห่งอายุ, ตลอดอายุ
อุปริ:ปาสาทสฺส อุปริ อุปริปาสาทํเบื้องบน แห่งปราสาท ชื่อว่า เบื้องบนแห่งปราสาท
 มญฺจสฺส อุปริ อุปริมญฺจํเบื้องบน แห่งเตียง ชื่อว่า เบื้องบนแห่งเตียง
เหฏฺฐา:มญฺจสฺส เหฏฺฐา เหฏฺฐามญฺจํภายใต้ แห่งเตียง ชื่อว่า ภายใต้แห่งเตียง, เบื้องล่างแห่งเตียง
 ปาสาทสฺส เหฏฺฐา เหฏฺฐาปาสาทํภายใต้ แห่งปราสาท ชื่อว่า ภายใต้แห่งปราสาท, เบื้องล่างแห่งปราสาท
ปจฺฉา:ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํภายหลัง แห่งภัตร ชื่อว่า ภายหลังแห่งภัตร (เวลาหลังภัตร, หลังอาหาร)
ปุเร:ภตฺตสฺส ปุเร ปุเรภตฺตํก่อน แห่งภัตร ชื่อว่า ก่อนแห่งภัตร (ก่อนภัตร, เวลาก่อนภัตร, ก่อนอาหาร)
 ภตฺตา ปุเร ปุเรภตฺตํก่อน แต่ภัตร ชื่อว่า ก่อนแต่ภัตร (ก่อนภัตร, เวลาก่อนภัตร, ก่อนอาหาร)
 อรุณา ปุเร ปุรารุณํก่อน แต่อรุณ ชื่อว่า ก่อนแต่อรุณ (ก่อนอรุณ, เวลาก่อนอรุณ)
อนฺตรา:มคฺคสฺส อนฺตรา อนฺตรามคฺคํระหว่าง แห่งหนทาง ชื่อว่า ระหว่างแห่งหนทาง, ระหว่างทาง
 วีถิยา อนฺตรา อนฺตรวีถิระหว่าง แห่งวิถี ชื่อว่า ระหว่างแห่งวิถี, ระหว่างถนน
 ฆรานํ อนฺตรา อนฺตรฆรํระหว่าง แห่งบ้าน ท. ชื่อว่า ระหว่างแห่งบ้าน, ระหว่างบ้าน

 

6. พหุพพิหิสมาส

สมาสอย่างหนึ่งมีบทอื่นเป็นประธาน ชื่อ พหุพพิหิ 
(สมาสอื่นๆ เมื่อจำแนกแยกย่อยแล้ว  เป็นสมาสนามอย่างเดียวบ้าง เป็นได้ทั้งสมาสนามและสมาสคุณบ้าง  แต่พหุพพิหินี้เป็นสมาสคุณอย่างเดียวเท่านั้น)

ตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

สมาสนี้ ในรูปวิเคราะห์ บทแรกเป็นคุณนาม บทที่สองเป็นนามนาม (หรือกลับกันบ้าง)   
เพราะบททั้ง 2 นี้มีลิงค์ วิภัตติ วจนะ เสมอกัน (ตุลฺย) จึงเรียกว่า “ตุลยาธิกรณ” 
เมื่อสำเร็จเป็นบทสมาสแล้วเป็นสมาสคุณนามอย่างเดียว  โดยมีนามนามอื่น (อัญญบท) มาเป็นประธานของสมาส   
มี 6 ชนิด (ตามวิภัตติที่เชื่อมกับอัญญบท) คือ

1) ทุติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

อาคตา สมณา ยํ, โส อาคตสมโณ (อาราโม) 
สมณา อาคตา ยํ, โส สมณอาคโต (อาราโม)
สมณะ ท. มาแล้วสู่อารามใด อารามนั้น ชื่อว่า มีสมณะมาแล้ว
ตัวอย่างลิงค์อื่นๆ  เช่น อาคตสมณา (สาวตฺถี), อาคตสมณํ (เชตวนํ)
รุฬฺหา ลตา ยํ, โส รุฬฺหลโต (รุกฺโข)เครือวัลย์ ขึ้นแล้ว สู่ต้นไม้ ใด ต้นไม้นั้น ชื่อว่า มีเครือวัลย์ขึ้นแล้ว
สมฺปตฺตา ภิกฺขู ยํ, โส สมฺปตฺตภิกฺขุ (อาวาโส)ภิกษุ ท. ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งอาวาสใด อาวาสนั้น ชื่อว่า มีภิกษุถึงพร้อมแล้ว
ปฏิปนฺนา อทฺธิกา ยํ, โส ปฏิปนฺนทฺธิโก (ปโถ)คนเดินทางไกล ท. ดำเนินแล้ว สู่ทางใด ทางนั้น ชื่อว่า มีคนเดินทางไกลดำเนินแล้ว
อภิรุฬฺหา วาณิชา ยํ, สา อภิรุฬฺหวาณิชา (นาวา)พ่อค้า ท. ขึ้นแล้ว สู่เรือใด เรือนั้น ชื่อว่า มีพ่อค้าขึ้นแล้ว

2) ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

ชิตานิ อินฺทฺริยานิ เยน, โส ชิตินฺทฺริโย (สมโณ)อินทรีย์ ท. อันสมณะใด ชนะแล้ว สมณะนั้น ชื่อว่า มีอินทรีย์ชนะแล้ว
กตํ ปุญฺญํ เยน, โส กตปุญฺโญ (ปุริโส)บุญ อันบุรุษใด ทำแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีบุญอันทำแล้ว
อาหิโต อคฺคิ เยน, โส อาหิตคฺคิ (พฺราหฺมโณ) 
อคฺคิ อาหิโต เยน, โส อคฺยาหิโต* (พฺราหฺมโณ)
ไฟ อันพราหมณ์ใด บูชาแล้ว พราหมณ์นั้น ชื่อว่า มีไฟอันบูชาแล้ว 
(เอา อิ เป็น ยฺ, พยัญชนะซ้อนกัน 3 ตัว ลบพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันได้ 1 ตัว)
วิสํ ปีตํ เยน, โส วิสปีโต (สโร)ยาพิษ อันลูกศรใด ดื่มแล้ว ลูกศรนั้น ชื่อว่า มียาพิษอันดื่มแล้ว
วิชิตา มารา เยน, โส วิชิตมาโร (ภควา)มาร ท. อันพระผู้มีพระภาคใด ชนะแล้ว พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีมารอันชนะแล้ว
ทิฏฺโฐ ธมฺโม เยน, โส ทิฏฺฐธมฺโม (ภิกฺขุ)ธรรม อันภิกษุใด เห็นแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว
กตํ กิจฺจํ เยน, โส กตกิจฺโจ (ปุริโส)กิจ อันบุรุษใด ทำแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีกิจอันทำแล้ว
ปฏิวิทฺโธ ธมฺโม เยน, โส ปฏิวิทฺธธมฺโม (สมโณ)ธรรม อันสมณะใด แทงตลอดแล้ว สมณะนั้น ชื่อว่า มีธรรมอันแทงตลอดแล้ว

3) จตุตถีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

ทินฺโน สุงฺโก ยสฺส, โส ทินฺนสุงฺโก (ราชา)ส่วย (อันชาวเมือง ท.) ถวายแล้ว แก่พระราชาใด พระราชานั้น ชื่อว่า มีส่วยอันชาวเมืองถวายแล้ว
กตํ ทณฺฑกมฺมํ ยสฺส, โส กตทณฺฑกมฺโม (สิสฺโส)ทัณฑกรรม (อันอาจารย์) ทำแล้ว แก่ศิษย์ใด ศิษย์นั้น ชื่อว่า มีทัณฑกรรมอันอาจารย์ทำแล้ว
สญฺชาโต สํเวโค ยสฺส, โส สญฺชาตสํเวโค (ชโน)ความสังเวชเกิดพร้อมแล้ว แก่ชนใด ชนนั้น ชื่อว่า มีความสังเวชเกิดพร้อมแล้ว
อุปนีตํ โภชนํ ยสฺส, โส อุปนีตโภชโน (สมโณ)โภชนะ อันบุคคลน้อมเข้าใกล้แล้ว แก่สมณะใด สมณะนั้น ชื่อว่า มีโภชนะอันบุคคลน้อมเข้าใกล้แล้ว
อุปหโฏ พลิ ยสฺส, โส อุปหฏพลิ (ยกฺโข)พลี อันบุคคลนำเข้าใกล้แล้ว แก่ยักษ์ใด ยักษ์นั้น ชื่อว่า มีพลีอันบุคคลนำเข้าใกล้แล้ว
ฉนฺโท ชาโต ยสฺส, โส ฉนฺทชาโต (ภิกฺขุ)ฉันทะ เกิดแล้ว แก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีฉันทะเกิดแล้ว
ชาโต ฉนฺโท ยสฺส, โส ชาตจฺฉนฺโท (ภิกฺขุ) 

4) ปัญจมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

นิคฺคตา ชนา ยสฺมา, โส นิคฺคตชโน (คาโม)ชน ท. ออกไปแล้ว จากบ้านใด บ้านนั้น ชื่อว่า มีชนออกไปแล้ว
ปติตานิ ผลานิ ยสฺมา, โส ปติตผโล (รุกฺโข)ผล ท. หล่นแล้ว จากต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น ชื่อว่า มีผลหล่นแล้ว
วีโต ราโค ยสฺมา, โส วีตราโค (ภิกฺขุ)ราคะ ไปปราศแล้ว จากภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีราคะไปปราศแล้ว
วิคตํ สมํ ยสฺมา, ตํ วิสมํ (ฐานํ)ความเสมอ ไปปราศแล้ว จากที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า มีความเสมอไปปราศแล้ว
อเปตํ วิญฺญาณํ ยสฺมา, โส อเปตวิญฺญาโณ (มตกาโย)วิญญาณ ไปปราศแล้ว จากกายอันตายแล้วใด กายอันตายแล้วนั้น ชื่อว่า มีวิญญาณไปปราศแล้ว
อปคตํ ภยเภรวํ ยสฺมา, โส อปคตภยเภรโว (อรหา)ความสะดุ้งเพราะความกลัว ไปปราศแล้ว จากพระอรหันต์ใด พระอรหันต์นั้น ชื่อว่า มีความสะดุ้งเพราะความกลัวไปปราศแล้ว
นิคฺคโต อโย ยสฺมา, โส นิรโย (โลโก)ความเจริญ ออกไปแล้ว จากโลกใด โลกนั้น ชื่อว่า มีความเจริญออกไปแล้ว
นิคฺคโต อโย อสฺมาติ นิรโย (โลโก)ความเจริญ ออกไปแล้ว จากโลกนั้น เหตุนั้น โลกนั้น ชื่อว่า มีความเจริญออกไปแล้ว
นิคฺคตา กิเลสา ยสฺมา, โส นิกฺกิเลโส (ภิกฺขุ)กิเลส ท. ออกไปแล้ว จากภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีกิเลสออกไปแล้ว
นิคฺคโต กิเลโส เอตสฺมาติ นิกฺกิเลโส (ภิกฺขุ)กิเลส ออกไปแล้ว จากภิกฺขุนั้น เหตุนั้น ภิกฺขุนั้น ชื่อว่า มีกิเลสออกไปแล้ว

5) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

ขีณา อาสวา ยสฺส, โส ขีณาสโว (ภิกฺขุ)อาสวะ ท. ของภิกษุใด สิ้นแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว
สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส, โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ)จิต ของภิกษุใด ระงับแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีจิตระงับแล้ว
ฉินฺนา หตฺถา ยสฺส, โส ฉินฺนหตฺโถ (ปุริโส) 
หตฺถา ฉินฺนา ยสฺส, โส หตฺถจฺฉินฺโน (ปุริโส)
มือ ท. ของบุรุษใด ขาดแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีมือขาดแล้ว
ปริปุณฺโณ สงฺกปฺโป ยสฺส, โส ปริปุณฺณสงฺกปฺโป (ปุริโส)ความดำริ ของบุรุษใด เต็มรอบแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีความดำริเต็มรอบแล้ว
วีโต ราโค ยสฺส, โส วีตราโค (ภิกฺขุ)ราคะ ของภิกษุใด ไปปราศแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีราคะไปปราศแล้ว
จตฺตาริ ปทานิ ยสฺส, โส จตุปฺปโท (สตฺโต)เท้า ท. 4 ของสัตว์ใด (มีอยู่) สัตว์นั้น ชื่อว่า มีเท้า 4 (ปโท ปทํ เท้า)
เทฺว ปทา ยสฺส, โส ทฺวิปโท (สตฺโต)เท้า ท. 2 ของสัตว์ใด (มีอยู่) สัตว์นั้น ชื่อว่า มีเท้า 2 (ปโท ปทํ เท้า)
กึ นามํ ยสฺส, โส กึนาโม/กินฺนาโม (ปุริโส)ชื่อ ของบุรุษใด อะไร บุรุษนั้น ชื่อว่า มีชื่ออะไร #กึนามา/กินฺนามา (อิตฺถี)
กึ มูลํ ยสฺส, ตํ กึมูลํ (ภณฺฑํ)มูลค่า/ราคา ของสิ่งของใด อย่างไร สิ่งของนั้น ชื่อว่า มีค่าอย่างไร
สมฺปนฺนํ สีลํ, ยสฺส โส สมฺปนฺนสีโล (ภิกฺขุ)ศีล ของภิกษุใด ถึงพร้อมแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลถึงพร้อมแล้ว #สีลสมฺปนฺโน
นว องฺคานิ ยสฺส, ตํ นวงฺคํ (สตฺถุสาสนํ)องค์ ท. 9 ของสัตถุศาสน์ใด (มีอยู่) สัตถุศาสน์นั้น ชื่อว่า มีองค์ 9
วิคตํ มลํ ยสฺส, โส วิมโล (กาโย)มลทิน ของกายใด ไปปราศแล้ว กายนั้น ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว
ทุฏฺโฐ มโน ยสฺส, โส ทุมฺมโน (ชโน)ใจ ของชนใด อันโทษประทุษร้ายแล้ว ชนนั้น ชื่อว่า มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว
ทุฏฺฐํ สีลํ ยสฺส, โส ทุสฺสีโล (ชโน)ศีล ของชนใด อันโทษประทุษร้ายแล้ว ชนนั้น ชื่อว่า มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว
มหตี ปญฺญา ยสฺส, โส มหาปญฺโญ (ปุริโส)ปัญญา ของบุรุษใด มาก บุรุษนั้น ชื่อว่า มีปัญญามาก
ทีฆา ชงฺฆา ยสฺส, โส ทีฆชงฺโฆ (ปุริโส)แข้ง ท. ของบุรุษใด ยาว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีแข้งยาว
ตโจ ปญฺจโก ยสฺส, ตํ ตจปญฺจกํ (กมฺมฏฺฐานํ)หนัง เป็นที่ 5 ของกัมมัฏฐานใด กัมมัฏฐานนั้น ชื่อว่า มีหนังเป็นที่ 5
ฉนฺโท ชาโต ยสฺส, โส ฉนฺทชาโต (ภิกฺขุ) 
ชาโต ฉนฺโท ยสฺส, โส ชาตจฺฉนฺโท (ภิกฺขุ)
ฉันทะ ของภิกษุใด เกิดแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีฉันทะเกิดแล้ว

 

อันตโลปพหุพพิหิ  ลบศัพท์ท้าย  เช่น 

ปญฺจสตานิ ปมาณานิ เยสํ, เต ปญฺจสตา (ภิกฺขู)มีร้อย 5 เป็นประมาณ  (=ปญฺจสตปมาณา)
ร้อย 5 ท. เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีร้อย 5 เป็นประมาณ
สหสฺสํ ปมาณํ เยสํ, เต สหสฺสา (ภิกฺขู)มีพันเป็นประมาณ (=สหสฺสปฺปมาณา)
พัน เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ
สหสฺสํ มตฺตํ ยสฺส, ตํ สหสฺสํ (ธนํ)มีพันเป็นประมาณ (=สหสฺสมตฺตํ)
พัน เป็นประมาณ แห่งทรัพย์ ใด ทรัพย์นั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ
ปมาณ มตฺต มักลบทิ้ง

 

สมาสที่มีศัพท์เหล่านี้คือ อาทิ เภท ปริวาร ปมาณ มตฺต ปมุข มักเป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส

สีลํ อาทิ เยสํ, โส สีลาทโย (คุณา)ศีล เป็นต้น แห่งคุณ ท. เหล่าใด คุณ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีศีลเป็นต้น
ขนฺธาทิ เภโท ยสฺส, โส ขนฺธาทิเภโท (ธมฺโม)ธรรมมีขันธ์เป็นต้น เป็นประเภท แห่งธรรม ใด ธรรมนั้น ชื่อว่า มีธรรมมีขันธ์เป็นต้นเป็นประเภท
ภิกฺขู ปริวารา ยสฺส, โส ภิกฺขุปริวาโร (ภควา)ภิกษุ ท. เป็นบริวาร แห่งพระผู้มีพระภาค ใด พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีภิกษุเป็นบริวาร
สหสฺสํ ปมาณํ เยสํ, เต สหสฺสปฺปมาณา (ภิกฺขู)พัน เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ
พุทฺโธ ปมุโข ยสฺส, โส พุทฺธปฺปมุโข (สงฺโฆ)พระพุทธเจ้า เป็นประมุข แห่งสงฆ์ ใด สงฆ์นั้น ชื่อว่า มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
สหสฺสํ มตฺตํ ยสฺส, ตํ สหสฺสมตฺตํ (ธนํ)พัน เป็นประมาณ แห่งทรัพย์ ใด ทรัพย์นั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ

มตฺต  ถ้าแปลว่า สักว่า  เป็น สัมภาวนบุพบท กัมมธารยสมาส 
ยาปนํ อิติ มตฺตํ ยาปนมตฺตํ (วตฺถุ)  (วัตถุ) สักว่าเครื่องยังอัตตภาพให้เป็นไป

ยาปนํ อิติ มตฺตํ ยาปนมตฺตํ (วตฺถุ)(วัตถุ) สักว่าเครื่องยังอัตตภาพให้เป็นไป

เภท  ถ้าแปลว่า ต่าง  เป็น ตติยาตัปปุริสสมาส

สีลาทิคุเณน เภโท สีลาทิคุณเภโท (ธมฺโม)(ธรรม) อันต่างด้วยคุณมีศีลเป็นต้น

 

6) สัตตมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ

สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺมึ, โส สมฺปนฺนสสฺโส (ชนปโท)ข้าวกล้า ท. ในชนบทใด ถึงพร้อมแล้ว ชนบทนั้น ชื่อว่า มีข้าวกล้าถึงพร้อมแล้ว
พหู นทิโย ยสฺมึ, โส พหุนทิโก (ชนปโท)แม่น้ำ ท. ในชนบทใด มาก ชนบทนั้น ชื่อว่า มีแม่น้ำมาก
ฐิตา สิริ ยสฺมึ, โส ฐิตสิริ (ชโน)ศรี ตั้งอยู่แล้ว ในชนใด ชนนั้น ชื่อว่า มีศรีตั้งอยู่แล้ว
สุลโภ ปิณฺโฑ ยสฺมึ, โส สุลภปิณฺโฑ (ปเทโส)ก้อนข้าว อันบุคคลหาได้โดยง่าย ในประเทศใด ประเทศนั้น ชื่อว่า มีก้อนข้าวหาได้โดยง่าย
อากิณฺณา มนุสฺสา ยสฺสํ, สา อากิณฺณมนุสฺสา (ราชธานี)มนุษย์ ท. เกลื่อนกล่นแล้ว ในราชธานีใด ราชธานีนั้น ชื่อว่า มีมนุษย์เกลื่อนกล่นแล้ว
พหโว ตาปสา ยสฺมึ, โส พหุตาปโส (อสฺสโม)ดาบส ท. มากในอาศรมใด อาศรมนั้น ชื่อว่า มีดาบสมาก
อุปจิตํ มํสโลหิตํ ยสฺมึ, ตํ อุปจิตมํสโลหิตํ (สรีรํ)เนื้อและเลือด สะสมแล้ว ในสรีระใด สรีระนั้น ชื่อว่า มีเนื้อและเลือดสะสมแล้ว

ภินนาธิกรณพหุพพิหิ

ในรูปวิเคราะห์แห่งสมาสนี้  บททั้ง 2 เป็นนามนาม และมีวิภัตติต่างกัน (ภินฺน)  จึงเรียกสมาสนี้ว่า “ภินนาธิกรณ”  
มีประเภทเดียว คือ ฉัฏฐีภินนาธิกรณ  เช่น

เอกรตฺตึ วาโส อสฺสาติ เอกรตฺติวาโส (ชโน)การอยู่ สิ้นราตรีหนึ่ง ของชนนั้น เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า มีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง
อุรสิ โลมานิ ยสฺส, โส อุรสิโลโม (พฺราหฺมโณ)ขน ท. ที่อก ของพราหมณ์ใด (มีอยู่) พราหมณ์นั้น ชื่อว่า มีขนที่อก
วชิรํ ปาณิมฺหิ ยสฺส, โส วชิรปาณิ (อินฺโท)วชิระ ในมือ ของพระอินทร์ใด (มีอยู่) พระอินทร์นั้น ชื่อว่า มีวชิระในมือ
มณิ กณฺเฐ ยสฺส, โส มณิกณฺโฐ (นาคราชา)แก้ว ที่คอ ของนาคราชใด (มีอยู่) นาคราชนั้น ชื่อว่า มีแก้วที่คอ
ทณฺโฑ หตฺเถ ยสฺส, โส ทณฺฑหตฺโถ (ราชา)อาชญา ในพระหัตถ์ ของพระราชาใด (มีอยู่) พระราชานั้น ชื่อว่า มีอาชญาในพระหัตถ์
สทฺธมฺเม คารโว ยสฺส, โส สทฺธมฺมคารโว (ภิกฺขุ)ความเคารพ ในพระสัทธรรม ของภิกษุใด (มีอยู่) ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีความเคารพในพระสัทธรรม
สมาเนน ชเนน สทฺธึ วาโส ยสฺส, โส สมานวาโส (ปุริโส)การอยู่ กับ ด้วย ชนผู้เสมอกัน ของบุรุษใด (มีอยู่) บุรุษนั้น ชื่อว่า มีการอยู่กับด้วยชนผู้เสมอกัน
อสิ หตฺเถ ยสฺส, โส อสิหตฺโถ (โยโธ)ดาบ ในมือ ของทหารใด (มีอยู่) ทหารนั้น ชื่อว่า มีดาบในมือ
ฉตฺตํ ปาณิมฺหิ ยสฺส, โส ฉตฺตปาณิ (ปุริโส)ร่ม ในมือ ของบุรุษใด (มีอยู่) บุรุษนั้น ชื่อว่า มีร่มในมือ
ทาเน อชฺฌาสโย ยสฺส, โส ทานชฺฌาสโย (ชโน)อัธยาศัย ในทาน ของชนใด (มีอยู่) ชนนั้น ชื่อว่า มีอัธยาศัยในทาน
อุภโต (ปกฺขโต) พฺยญฺชนํ ยสฺส, โส อุภโตพยญฺชนโก (ปุคฺคโล) (ก สกตฺถ)เพศ (แต่ข้าง) ทั้งสอง ของบุคคลใด (มีอยู่) บุคคลนั้น ชื่อว่า มีเพศ(แต่ข้าง)ทั้งสอง
อุภโต (ปกฺขโต) ปวตฺตํ พฺยญฺชนํ ยสฺส อตฺถีติ อุภโตพยญฺชนโก (ปุคฺคโล)เพศ เป็นไปแล้ว แต่ข้างทั้งสอง ของบุคคลใด (มีอยู่) บุคคลนั้น ชื่อว่า มีเพศ(เป็นไปแล้วแต่ข้าง)ทั้งสอง

ตั้งวิเคราะห์เป็นรูปพหุวจนะบ้างก็ได้   เช่น

กตํ กุสลํ เยหิ, เต กตกุสลา (ชนา)กุศล อันชน ท. เหล่าใด ทำแล้ว ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีกุศลอันทำแล้ว
อาวุธา หตฺเถสุ เยสํ, เต อาวุธหตฺถา (โยธา)อาวุธ ท. ย่อมมี ในมือ ท. ของทหาร ท. เหล่าใด ทหาร ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีอาวุธในมือ

 

ฉัฏฐีอุปมาบุพบทพหุพพิหิ

ในรูปวิเคราะห์แห่งสมาสนี้  บททั้ง 2 เป็นนามนาม (และมีวิภัตติต่างกัน)  บทหน้าลงฉัฏฐีวิภัตติ  บทหลังเป็นอุปมา

สุวณฺณสฺส วณฺโณ อิว วณฺโณ ยสฺส, โส สุวณฺณวณฺโณ (ภควา)วรรณะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง วรรณะ แห่งทอง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง
พฺรหฺมุโน สโร อิว สโร ยสฺส, โส พฺรหฺมสฺสโร (ภควา)เสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง เสียง แห่งพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม
สีหสฺส คติ อิว คติ ยสฺส, โส สีหคติ (ภควา)การไป ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง การไป แห่งสีหะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีการไปเพียงดังการไปแห่งสีหะ
สีหสฺส หนุ อิว หนุ ยสฺส, โส สีหหนุ (ภิกฺขุ)คาง ของภิกษุใด เพียงดัง คาง แห่งสีหะ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีคางเพียงดังคางแห่งสีหะ
สีหสฺส วิย อสฺส หนูติ สีหหนุ (ภิกฺขุ)คาง ของภิกษุนั้น ดุจ คางแห่งสีหะ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีคางเพียงดังคางแห่งสีหะ
สีหสฺส วิกฺกโม อิว วิกฺกโม ยสฺส, โส สีหวิกฺกโม (ภิกฺขุ)ความแกล้วกล้า ของภิกษุใด เพียงดัง ความแกล้วกล้า แห่งสีหะ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีความแกล้วกล้าเพียงดังความแกล้วกล้าแห่งสีหะ
นิโคฺรธสฺส ปริมณฺฑโล อิว ปริมณฺฑโล ยสฺส, โส นิโคฺรธปริมณฺฑโล (ภควา)ปริมณฑล ของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดัง ปริมณฑล ของต้นนิโครธ พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีปริมณฑลเพียงดังปริมณฑลของต้นนิโครธ
หตฺถิโน ลิงฺคํ อิว ลิงฺคํ ยสฺส, โส หตฺถิลิงฺโค (สกุโณ)เพศ แห่งนกใด เพียงดัง เพศ แห่งช้าง นกนั้น ชื่อว่า มีเพศเพียงดังเพศแห่งช้าง

นบุพบท พหุพพิหิ

มีคำแปลว่า “มี...หามิได้” หรือ  “ไม่มี...”  (ต่างกับ นบุพบท กัมมธารยสมาส ที่แปลว่า  มิใช่..., ไม่ใช่...;  เป็น...หามิได้, ไม่เป็น...) 
(นบุพบทพหุพพิหิ ปฏิเสธว่า ไม่มีสิ่งนั้น  นบุพบทกัมมธารยะ ปฏิเสธว่า ไม่ใช่สิ่งนั้น หรือ ไม่ได้เป็นสิ่งนั้น)  เช่น

นตฺถิ ตสฺส ปุตฺโตติ อปุตฺตโก (ปุริโส)บุตร ของบุรุษนั้น ไม่มี เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า มีบุตรหามิได้, ไม่มีบุตร (ลง ก ปัจจัย)
นตฺถิ ตสฺส สโมติ อสโม (ภควา)(พระผู้มีพระภาค) มีผู้เสมอหามิได้, ไม่มีผู้เสมอ
นตฺถิ ตสฺส อุตฺตโรติ อนุตฺตโร (ภควา)(พระผู้มีพระภาค) มีผู้ยิ่งกว่าหามิได้, ไม่มีผู้ยิ่งกว่า
นตฺถิ ตสฺส อาลโยติ อนาลโย (ภิกฺขุ) 
นตฺถิ อาลโย ตสฺสาติ อนาลโย (ภิกฺขุ)
(ภิกษุ) มีอาลัยหามิได้, ไม่มีอาลัย
นตฺถิ อนฺโต ตสฺสาติ อนนฺโต (จกฺกวาโฬ)(จักรวาล) มีที่สุดหามิได้, ไม่มีที่สุด
นตฺถิ ตสฺส เหตูติ อเหตุโก (ธมฺโม)(ธรรม) มีเหตุหามิได้, ไม่มีเหตุ (ลง ก ปัจจัย สกัตถะ)
นตฺถิ วุฏฺฐิ เอตฺถาติ อวุฏฺฐิโก (ชนปโท)(ชนบท) มีฝนหามิได้, ไม่มีฝน (ลง ก ปัจจัย)
นตฺถิ ภิกฺขู เอตฺถาติ อภิกฺขุโก (วิหาโร)(วิหาร) มีภิกษุหามิได้, ไม่มีภิกษุ (ลง ก ปัจจัย)

เปรียบเทียบ นบุพบท พหุพพิหิ  กับ นบุพบท กัมมธารยะ

นตฺถิ ตสฺส อสฺโส อนสฺโส (ชโน)ม้า ของชนนั้น ไม่มี เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ไม่มีม้า, มีม้าหามิได้
น อสฺโส อนสฺโส (อยํ สตฺโต)สัตว์นี้ มิใช่ม้า, เป็นม้าหามิได้

สหบุพบท พหุพพิหิ

สมาสที่มี สห เป็นบทหน้า เรียกว่า สหบุพบทพหุพพิหิสมาส  มีคำแปลว่า  “เป็นไปกับด้วย...” 
(แปลโดยอรรถว่า "พร้อมด้วย..., พร้อมทั้ง..., มี...")

สห ปุตฺเตน โย วตฺตตีติ สปุตฺโต (ปุริโส – ปิตา)เป็นไปกับด้วยบุตร 
บุรุษ ใด ย่อมเป็นไป กับ ด้วยบุตร เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า เป็นไปกับด้วยบุตร คือ บิดา
สห รญฺญา ยา วตฺตตีติ สราชิกา (ปริสา)เป็นไปกับด้วยพระราชา (ลง ก ปัจจัย สกัตถะ)
สห มจฺเฉเรน ยํ วตฺตตีติ สมจฺเฉรํ (จิตฺตํ)เป็นไปกับด้วยความตระหนี่
สห ปริวาเรน โย วตฺตตีติ สปริวาโร, สหปริวาโร (ภิกฺขุ)เป็นไปกับด้วยบริวาร (บทหลังไม่ลบ ห)
สห ปิติยา เย วตฺตนฺตีติ สปฺปิติกา (ธมฺมา)เป็นไปกับด้วยปีติ (ลง ก ปัจจัย, ซ้อน ปฺ)
สห เหตุนา โย วตฺตตีติ สเหตุ, สเหตุโก (ธมฺโม)เป็นไปกับด้วยเหตุ (บทหลังลง ก ปัจจัย)
สห กมฺมุนา ยา วตฺตตีติ สกมฺมา, สกมฺมกา (ธาตุ)เป็นไปกับด้วยกรรม, สกัมมธาตุ (บทหลังลง ก ปัจจัย)
สห กมฺมุนา ยา วตฺตตีติ สกมฺมา, สกมฺมกา (กิริยา)เป็นไปกับด้วยกรรม, สกัมมกิริยา (บทหลังลง ก ปัจจัย)
สห เทเวหิ โย วตฺตตีติ สเทวโก (โลโก)เป็นไปกับด้วยเทวดา, พร้อมทั้งเทวโลก (ลง ก ปัจจัย) #สมารโก สพฺรหฺมโก

 

สมาสซ้อน/สมาสท้อง

หมายถึง สมาสตั้งแต่ 2 สมาส ขึ้นไป ย่อเป็นบทเดียวกัน

ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก  (ภควา)  (พระผู้มีพระภาค) ผู้มีจักรคือธรรมอันบวรอันให้เป็นไปแล้ว 
เป็น (1) ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส  
มี (2) อวบุพพบท กัมมธารยสมาส  และ (3) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน

วิ. ธมฺโม เอว จกฺกํ  ธมฺมจกฺกํจักรคือธรรมอว. บุพ.(2)
วิ. ปวรํ ธมฺมจกฺกํ  ปวรธมฺมจกฺกํจักรคือธรรมอันบวรวิ. บุพ. กัม.(3)
วิ. ปวตฺติตํ ปวรธมฺมจกฺกํ เยน,  โส ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก (ภควา)ผู้มีจักรคือธรรมอันบวร อันให้เป็นไปแล้วตติ. ตุล.(1)

คนฺธมาลาทิหตฺถา (มนุสฺสา) 
เป็น (1) ฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพพิหิสมาส  
มี (2) อสมาหาร ทวันทวสมาส  (3) วิเสสนบุพบท กัมธารยสมาส  และ (4) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน

วิ. คนฺโธ จ มาลา จ  คนฺธมาลาของหอมและระเบียบ ท.อส. ทวัน.(2)
วิ. คนฺธมาลา อาทโย เยสํ, ตานิ คนฺธมาลาทีนิ (วตฺถูนิ)(วัตถุ ท.) มีของหอมและระเบียบเป็นต้น 
(ของหอมและระเบียบ ท. เป็นต้น ของวัตถุ ท. เหล่าใด  วัตถุ ท. นั้น ชื่อว่า มีของหอมและระเบียบเป็นต้น)
ฉ. ตุล. พหุพ.(3)
วิ. คนฺธมาลาทีนิ วตฺถูนิ  คนฺธมาลาทิวตฺถูนิวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น ท.วิ. บุพ. กัม.(4)
วิ. คนฺธมาลาทิวตฺถูนิ หตฺเถสุ เยสํ, เต คนฺธมาลาทิหตฺถา (มนุสฺสา)   (ลบ วตฺถุ)(มนุษย์ ท.) มีวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้นในมือ 
(วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น ท. มี ในมือ ท. ของมนุษย์ ท. เหล่าใด  มนุษย์ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้นในมือ)
ฉ. ภินน. พหุพ.(1)

อสีติโกฏิธนํ  ทรัพย์มีโกฏิ 80 เป็นประมาณ 
เป็น (1) อสมาหาร ทิคุสมาส  
มี (2) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส และ (3) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน

วิ. อสีติ โกฏิโย อสีติโกฏิโยโกฏิ 80 ท.อส. ทิคุ.(2)
วิ. อสีติโกฏิโย ปมาณา ยสฺส,  ตํ อสีติโกฏิปมาณํ อสีติโกฏิ (ธนํ)(ทรัพย์) มีโกฏิ 80 เป็นประมาณฉ. ตุล. พหุพ.(3)
วิ. อสีติโกฏิ ธนํ อสีติโกฏิธนํทรัพย์มีโกฏิ 80 เป็นประมาณวิ. บุพ. กัม.(1)

เตภูมิกวฏฺฏํ  วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 
เป็น (1) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส  อสมาหาร ทิคุสมาส 
มี (2) อสมาหาร ทิคุสมาส  และ (3) ณิก ปัจจัย ตรัตยาทิตัทธิต เป็นภายใน

วิ. ติสฺโส ภูมิโย ติภูมิโยภูมิ 3 ท.อส. ทิคุ.(2)
วิ. ติภูมีสุ ปวตฺตํ  เตภูมิกํ (วฏฺฏํ)(วัฏฏะ) อันเป็นไปในภูมิ 3ณิก ตรัต. ตัท.(3)
วิ. เตภูมิกํ วฏฺฏํ  เตภูมิกวฏฺฏํวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3วิ. บุพ. กัม.(1)

ความคิดเห็น2

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.

Anan Werapun (not verified)

5 months 3 weeks ago

1)เกิดจากสมาสหรือสนธิ ครับ
สมาสใช้วิธีใด
สนธิใช้วิธีใด
2) ทำไม ไม่เป็น อสุขมทุขํ ครับ

1) ประมาณนีั
วิ. น ทุกฺขา อทุกฺขา (เวทนา)  นบุพ. กัม.
วิ. น สุขา อสุขา (เวทนา)  นบุพ. กัม.
วิ. อทุกฺขา จ อสุขา จ อทุกฺขมสุขา (เวทนา)  วิเสสโนภย. กัม.

อทุกฺขาอสุขา (เวทนา)   สมาส
อทุกฺอสุขา    รัสสสรสนธิ
อทุกฺขอสุขา    อาคมนิคคหิตสนธิ
อทุกฺขมฺอสุขา    แปลงนิคคหิตเป็น มฺ เพราะสระอยู่หลัง อาเทสนิคคหิตสนธิ
อทุกฺขมสุขา

2) ความเห็น: ท่านคงเห็นว่าทุกข์เป็นของจริง ส่วนสุขเป็นเพียงทุกข์ที่ลดลง จึงวาง ทุกฺข ไว้ก่อน