หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต

ภาษาบาลี

ภาษาสันสกฤต

1. สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

1. สระมี 14 ตัว  เพิ่มจากบาลี 6 ตัว  คือ  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา  (แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)

2. มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)

2. มีพยัญชนะ 35 ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว  คือ  ศ ษ  (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้)

3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา  อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น

3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น

4. นิยมใช้  ฬ  เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีฬา-บาลี)

4. นิยมใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีฑา-สันสกฤต)

5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น

5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น

6. นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น

6. นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น

เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ

ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร

7.  นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์

หรือ  ณ  นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา

7. นิยม  "เคราะห์"  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น

เรื่องน่ารู้

  1. ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ   คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น
  2. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี  5  ตัว  คือ  ย  ล  ว  ส  ฬ  เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น
  3. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก 2 ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น

ข้อควรจำ  ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน  เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน  เช่น  ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ

ผู้เขียน: อรุณรัชช์ แสงพงษ์

ที่มา: เรียนภาษาไทย...ง่ายๆ...สไตล์ครูอ๊อฟ

 

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.