สารบัญ
- ค้นหาศัพท์ในหน้านี้ ได้อย่างรวดเร็ว โดยการกด Ctrl+F แล้วพิมพ์อักษร/คำ ที่ต้องการค้นหา, กดปุ่ม Home เพื่อมายังต้นเอกสาร
- คำไทยบางคำที่มีรูปคล้ายมาจากบาลีสันสกฤต เช่น กาชาด/กากบาท, เกษียน/เกษียร
- ดูเพิ่มเติม 1) คำไทยที่มาจากภาษาอื่นๆ 2) บาลี/สันสกฤต และอังกฤษ ที่มีรูปคล้ายกัน
ปรับปรุงล่าสุด 27 มี.ค.66 (~1,312 ศัพท์)
ก
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
กฐิน | กฐิน | กฐิน | ผ้าที่ถวายพระที่จำพรรษาแล้ว |
กฎ | กฏ | กฤต | ทำแล้ว. (ไทย) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม, ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ |
กฏุมพี | กุฏุมฺพี | กุฎุมฺพินฺ | คนมั่งมี. (ไทย) คนเลว |
กนิษฐา | กนิฏฺฐ | ขนิษฺฐ | "ผู้น้อยที่สุด", น้อง; นิ้วก้อย |
กบฏ | กปฏ | กปฏ | ความทรยศ |
กมล | กมล | กมล | ดอกบัว; ใจ |
กมลาสน์ (กะ-มะ-ลาด) | กมล+อาสน | กมล+อาสน | ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง (หมายถึง พระพรหม). กมล ‘บัว’ + อาสน ‘ที่นั่ง’. |
กร, กรณ์ | กร กรณ | กรณ | ทำ |
กรกฎาคม | กกฺกฎ+อาคม | กรกฏ+อาคม | (กรกฏ ปู, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 7 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ |
กรณีย์ | กรณีย | กรณีย | (กิจ) ควรทำ |
กรรดึก | กตฺติกา | กฺฤตฺติกา | (เก่า) เดือนสิบสอง, ดาวลูกไก่ |
กรรม | กมฺม | กรฺมนฺ | การกระทำ |
กรรมการ | กมฺมกโร | กรฺมการ | ผู้ทำการงาน. (ไทย) ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ |
กระจก | กาจ | กาจมฺ | กระจก En. glass |
กระษาปณ์ | กหาปณ | กรฺษาปณ | เหรียญ |
กรินทร์ | กรี+อินฺท | กรี+อินฺทฺร | ช้าง |
กริยา | กิริยา, กฺริยา | กฺริยา | ชนิดของคำที่แสดงการกระทำ อาการ |
กรีฑา | กีฬา | กรีฑา | เล่น. (ไทย) การแข่งขันประเภทลู่และประเภทลาน |
กรุณา | กรุณา | กรุณา | ความเห็นใจคิดช่วยให้พ้นทุกข์ |
กฤษฎีกา | กติกา | (ไทย) แผลงมาจาก กติกา | |
กล | กล | กล | การนับ, ส่วน. (ไทย) แบบ |
กลึงค์ กลิงค์ | กลิงฺค | เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์ มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์ | |
กเลวระ กเฬวราก | กเลวร กเลวฬ กเลพร | กลเวร | ร่างกาย, ซากศพ. (ไทย) โดยนัย หมายถึงคนไร้ประโยชน์ คนเลว น่ารังเกียจหมือนซากศพ |
กษัย | ขย | กฺษย | ความเสื่อม สิ้น, โรคซูบผอม, กระษัย |
กสิกรรม | กสิ+กมฺม | กฺฤษิ+กรฺม | การทำนา, ทำไร่ |
กักขฬะ | กกฺขล กกฺขฬ | กฐร | แข็ง, กระด้าง, หยาบ |
กัจฉา | กจฺฉา | กกฺษ กกฺษฺยา | รักแร้ |
กัญญา, กันยา | กญฺญา | กนฺยา กนฺยกา | หญิงสาว |
กันยายน | กญฺญา+อายน | กนฺยา+อายน | (กนฺยา หญิงสาว, อายน การมา) ชื่อเดือนที่ 9 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกันย์ |
กัณฐ์ | กณฺฐ | กณฺฐ กรฺณ | คอ เช่น ทศกัณฐ์ ผู้มี 10 คอ (หัว). |
กัณฑ์ | กณฺฑ | กาณฺฑ | ลูกธนู, ก้าน |
กัณหา, กฤษณา | กณฺห | กฺฤษฺณ | ดำ, ความชั่ว, บาป |
กัป กัลป์ | กปฺป | กลฺป | 1) กำหนดอายุของโลก. 2) กำหนดอายุของสัตว์ =อายุกัป เช่น 100 ปี |
กัมปนาท | กมฺป+นาท | กมฺป+นาท | เสียงกึกก้อง |
กัมพล | กมฺพล | กมฺพล | ผ้าขนสัตว์ |
กัมพู | กมฺพุ | กมฺพุ | หอยสังข์ |
กัลบก | กปฺปก | กลฺปก | ช่างตัดผม |
กัลปาวสาน | กปฺป+อวสาน | กลฺป+อวสาน | จุดจบ คือที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา 4.32 พันล้านปีมนุษย์ |
กากณึก | กากณิกา | กากิณิกา | ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด |
กากบาท (กา-กะ-บาด) | กาก+ปาท | กาก+ปาท | ตีนกา, เครื่องหมายเป็นรูปตีนกา (กาก=กา, ปาท=เท้า) |
กาชาด | - | - | เครื่องหมายรูปกากบาท ( + ) สีแดงชาดบนพื้นขาว. กา (ขีด) +ชาด (สีแดง) |
กาญจน์, กาญจนา | กาญฺจน | กาญฺจน | ทอง, ทองคำ |
กาญจนบุรี | กาญฺจน+ปุรี | กาญฺจน+ปุรี | เมืองทอง |
กานดา | กนฺตา | กานฺตา | งาม, ผู้หญิง, หญิงงาม |
กาพย์ | กพฺพ กาพฺย | กาวฺย | คำประพันธ์ |
กาม | กาม | กาม | รัก, ใคร่, อยาก, ต้องการ. |
การ | การ | การ | การกระทำ, ผู้ทำ, หน้าที่ |
การบูร | กปฺปุร | กฺรบูร | ต้นชนิดหนึ่ง กลั่นน้ำมันกลิ่นฉุนร้อน ใช้ทํายา |
การเวก | กรวิก กรวีก | กรวีก | นกการเวก |
การุญ, การุณย์ | การุญฺญ | การุณฺย | ความกรุณา |
การุณยฆาต | การุญฺญฆาต | การุณฺยฆาต | การฆ่าด้วยความกรุณา |
กาลี | กาลี กาฬี | กาลี กาฬี | ดำ, หญิงคนชั่ว, ปางหนึ่งของพระอุมาเทวี |
กิจจะลักษณะ | กิจฺจ+ลกฺขณ | กิจฺจ+ลกฺษณ | (ไทย) เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ลักษณะของกิจ) |
กิริยา | กิริยา กฺริยา | กฺริยา | การกระทำ, อาการที่แสดงออกมาด้วยกายมารยาท |
กีฬา | กีฬา | กฺรีฑา | การเล่น. (ไทย) การเล่นออกกำลังกาย |
กุญแจ | กุญฺจิกา | กุญฺจิกา | ลูกกุญแจ |
กุญชร | กุญฺชร | กุญฺชร | ช้าง |
กุมภ | กุมฺภ | กุมฺภ | หม้อ |
กุมภาพันธ์ | กุมฺภ+อาพนฺธ | กุมฺภ+อาพนฺธ | (กุมฺภ หม้อน้ำ, อาพนฺธ ผูก) ชื่อเดือนที่ 2 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกุมภ์ |
กุมภีล์ | กุมฺภีล | กุมฺภีร | จระเข้ |
กุมาร | กุมาร | กุมาร | เด็กชาย |
กุมารี | กุมารี | กุมารี | เด็กหญิง |
กุลสตรี | กุล+อิตฺถี | กุล+สฺตรี | หญิงแห่งสกุล |
เกศ, เกศา | เกส | เกศ | ผม |
เกษตร | เขตฺต | เกฺษตฺร | นา, ไร่ |
เกษตราธิการ | เขตฺต+อธิการ | เกฺษตฺร+อธิการ | กษัตริย์ |
เกษม | เขม | เกฺษม | ปลอดภัย, สุขสบาย |
เกษียณ | ขีณ | กฺษีณ | สิ้นไป เช่น เกษียณอายุราชการ |
เกษียน | - | - | เขียน (เขียน แผลงเป็น เกษียน เลียนแบบสันสกฤต) |
เกษียร | ขีร | กฺษีร | น้ำนม เช่น เกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) |
เกียรติ | กิตฺติ | กีรฺติ | คำสรรเสริญ, คำเล่าลือ |
โกกนุท | โกกนท | โกกนท | บัวแดง |
โกญจา | โกญฺจ โกญฺจา | เกราญฺจ | นกกระเรียน |
โกมล | โกมล | โกมล | อ่อน, ละเอียด, อ่อนนุ่ม |
โกมุท | โกมุท, โกมุทฺท | บัวแดง, แสงจันทร์ | |
โกลาหล | โกลาหล | โกลาหล | เสียงเอิกเกริก |
โกสุม | กุสุม | กุสุม | ดอกไม้ |
โกหก | กุหก | กุหก | พูดเท็จ, พูดปด |
ไกรลาส | ไกลาศ | ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ไทย) เติม ร. |
ข
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ขณะ | ขณ | กฺษณ | ชั่วเวลาหนึ่ง |
ขนิษฐา | กนิฏฺฐ | กนิษฺฐ | น้อง |
ขบถ | กปฏ | กปฏ | ความทรยศ |
ขมา | ขมา | กฺษมา | อดทน, อดโทษ (ไม่เอาโทษ, ยกโทษ), ษมา, สมา |
ขรรค์ | ขคฺค | ขฑฺค | มีดปลายแหลมสองคม |
ขลาด | ขลฺลาต | ขลาดกลัว | |
ขัณฑสกร | ขณฺฑสกรา | น้ำตาลกรวด | |
ขัณฑสีมา | ขณฺฑ+สีมา | ขณฺฑ+สีมา | เขตแดน |
ขัตติยะ, กษัตริย์ | ขตฺติย | กฺษตฺริย | พระเจ้าแผ่นดิน |
ขันที | ขณฺฑี | ขณฺฑี | (ไทย) ชายที่ถูกตอน (ถูกตัดอวัยวะเพศ); "ผู้(มีอวัยวะเพศ)ขาด?". |
ขันธ์, สกนธ์ | ขนฺธ | สฺกนฺธ สฺกนฺท | ร่างกาย |
ขีดขินธ์ | เสาหลักเมือง, เมืองขีดขินธ์ ชื่อเมืองของพาลีในเรื่องรามเกียรติ์, อีกชื่อว่า กิษกินธ์ | ||
เขต | เขตฺต | เกฺษตฺร | เขตแดน, ขอบเขต, ไร่, นา |
เขฬะ | เขฬ | เขฏ | น้ำลาย |
เข้ารีต | -จาริตฺต | -จาริตฺร | เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น, เช่นเปลี่ยนไปถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
ค
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
คงคา | คงฺคา | คงฺคา | แม่น้ำคงคา (Ganges). (ไทย) แม่น้ำ. |
คงคาลัย | คงฺคา+อาลย | คงฺคา+อาลย | แม่น้ำคงคา |
คดี | คติ | คติ | ที่ไป. (ไทย) ข้อสอนใจ, เรื่อง, มักใช้ประกอบศัพท์อื่น เช่น วรรณคดี สารคดี; เรื่องฟ้องร้องกันทางกฎหมาย คดีอาญา คดีปกครอง. |
คนโท | กุณฺฑ | กุณฺฑ | หม้อ, กระถาง. (ไทย) ภาชนะใส่น้ำดื่ม |
คนธรรพ์ | คนฺธพฺพ | คนฺธรฺว | เทพจำพวกหนึ่ง |
ครรภ์ | คพฺภ | ครฺภ | ท้อง, ลูกในท้อง |
ครู | ครุ | คุรุ | ครู. En. guru |
คฤหัสถ์ | คหฏฺฐ | คฺฤหสฺถ | ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส |
คาถา | คาถา | คาถา | คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ 4 บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง. (ไทย) คาถาอาคม, คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์. |
คาม | คาม | คฺราม | บ้าน, หมู่บ้าน |
คาวี | คาวี | แม่วัว. En. cow | |
คำนวณ | คุณ | คุณ | กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข. |
คีต | คีต | คีต | เพลงขับ, การขับร้อง |
คีรี | คิริ | คิริ | ภูเขา |
คุณ | คุณ | คุณ | ความดี, ชั้น; สายธนู. (ไทย) ความดี, คำนำหน้าชื่อ, อาถรรพ์, ชั้น (คูณ). |
คูณ | คุณ | คุณ | ชั้น. (ไทย) เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ. |
คูหา | คุหา | คุหา | ถ้ำ |
เคราะห์ | คห | คฺรห | การจับ ยึด บังคับ. (ไทย) สิ่งที่นำผลให้โดยมิได้คาดหมาย |
เคารพ | คารว | เคารว | ความเคารพ |
โค | โค | โค | วัว |
โคดม | โคตม | โคตม | พระโคตรของพระพุทธเจ้า (พระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 4 ใน 5 พระองค์ ในภัทรกัปนี้), พระอาทิตย์ |
โคตร (โคด) | โคตฺต | โคตฺร | วงศ์, สกุล, เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย เช่น โคตมโคตร. (ไทย ภาษาพูด) มาก เช่น โคตรเก่ง. |
โคตรภู (โคด-ตฺระ-พู) | โคตฺรภู | โคตฺรภู | บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค คือกำลังก้าวล่วงพ้นความเป็นปุถุชน เข้าสู่ความเป็นอริยะ = โคตรภูบุคคล; ภิกษุสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีวัตรปฎิบัติห่างจากธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องแสดงเพศภาวะอยู่ เช่น ผ้าเหลืองพันคอ (กาสาวกณฺฐา) เป็นต้น ถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์/โคตรภูภิกษุ, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา |
ฆ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฆราวาส | ฆราวาส | คฺฤห+อาวาส | การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช |
ฆาน | ฆาน | ฆฺราณ | จมูก |
โฆษ | โฆส | โฆษ | เสียงดัง, เสียงกึกก้อง |
โฆษณา | โฆสนา | โฆษณา | โห่ร้อง, ป่าวร้อง, กึกก้อง. (ไทย) เผยแพร่ข้อความแก่สาธารณชน |
จ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
จงกรม | จงฺกม | จงฺกฺรม | เดินกลับไปกลับมา |
จตุ-, จตุร- | จตุ | จตุร | สี่ |
จตุรงค์ | จตุร+องฺค | จตุร+องฺค | มีองค์ 4 |
จริต | จริต | จริต | ความประพฤติ. (ไทย) บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต |
จราจร | จราจร | จราจร | การเคลื่อนที่ไปมา |
จริยา | จริย | จรฺย | ความประพฤติ |
จลาจล | จลาจล | จลาจล | ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ |
จักร | จกฺก | จกฺร | วงกลมมีเฟืองรอบ, ล้อ |
จักรยาน | จกฺกยาน | จกฺรยาน | ยานมีล้อ |
จักรี | จกฺกี | จกฺรินฺ | ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์. (ไทย) พระราชา ตามที่เชื่อกันว่าเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา. |
จักรพรรดิ (จัก-กะ-พัด) | จกฺกวตฺติ | จกฺรวรฺตินฺ | (พระราชา) ผู้ยังจักรให้เป็นไป, พระราชาจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ 7, จักรพรรดิราช. (ไทย) ประมุขของจักรวรรดิ = emperor. |
จักรวรรดิ (จัก-กะ-หฺวัด) | จกฺกวตฺติ | จกฺรวรฺตินฺ | (ไทย) รัฐหรือสหภาพของรัฐต่างๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตย การปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ = empire. |
จักษุ | จกฺขุ | จกฺษุ | ตา |
จัตวา | จตุ | จตุ | (ไทย) [จตุ เอา อุ เป็น วฺ เป็น จตฺวา] สี่; เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรี ว่า ชั้นจัตวา; เครื่องหมายวรรณยุกต์รูป "+" |
จัณฑ์ | จณฺฑ | จณฺฑ | ดุร้าย. (ไทย) น้ำจัณฑ์ = เหล้า "กินแล้วดุ". |
จัณฑาล | จณฺฑาล | จณฺฑาล | ตํ่าช้า; ลูกที่เกิดจากคนต่างวรรณะกัน เช่น ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ |
จันทน์ | จนฺทน | จนฺทน | ต้นจันทน์, ผลจันทน์ |
จันทร์ | จนฺท | จนฺทฺร | ดวงจันทร์, ดวงเดือน; ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์ |
จาบัล, จาบัลย์ | จาปลฺย | จาปลฺย | ความหวั่นไหว |
จาม | จมฺม | จรฺมนฺ | หนังสัตว์ |
จาริก | จาริก | จาริก | เดินไป, เที่ยวไป |
จารีต | จาริตฺต | จาริตฺร | ความประพฤติ, ความสมสู่. (ไทย) ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. |
จิต, จินตนา, เจตนา | จิต, จินฺต | จิต, จินฺต | คิด |
จุณ | จุณฺณ | จูรฺณ | ละเอียด |
จุมพิต | จุมฺพ | จุมฺพ | จูบ |
จุล | จุลฺล, จูล, จูฬ | กฺษุลฺล | น้อย |
จุฬา, จุฑา | จูฬา | จูฑา | จุกบนหัว |
เจดีย์ | เจติย | ไจตฺย | สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ |
เจษฎา | เชฏฺฐ | เชฺยษฺฐ | "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่ |
เจรจา (เจน-ระ-) | จรฺจา | พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ, จำนรรจา | |
เจียร | จิร | จิร | ช้านาน, ยืนนาน |
แจตร์ | ไจตฺร | เดือนห้า | |
โจทย์ | โจทน | โจทฺย | (ไทย) คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น |
โจร | โจร | โจร, เจาร | โจร |
โจรี | โจรี | โจรี | โจรผู้หญิง |
ฉ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฉลาก | สลากา | ศลากา | สลาก |
ฉันทะ | ฉนฺท | ฉนฺทสฺ | ความพอใจ |
ฉันทาคติ | ฉนฺท+อคติ | ฉนฺทสฺ+อคติ | ความลำเอียงเพราะรักชอบ พอใจ |
ฉันทามติ | ฉนฺท+มติ | ฉนฺทสฺ+มติ | (ไทย บัญญัติ) คำนี้ไม่มีในพจนานุกรม, และหากจะใช้ ควรเขียนว่า ฉันทมติ แปลตามศัพท์ว่า ความเห็น(ที่เกิดจาก)ความพอใจ(ร่วมกัน), ความเห็นร่วมกันด้วยความพอใจ. เข้าใจว่าบัญญัติขึ้นให้ตรงกับคำว่า consensus ที่หมายถึง ความคิดเห็นของส่วนใหญ่ (ที่สอดคล้องกันลงรอยกัน), มติมหาชน. = ฉันทานุมัติ (ฉันท+อนุ+มติ) |
ฉายา | ฉายา | ฉายา | เงา(มืด), ร่ม, เงา(สะท้อน เช่น เงาในกระจก ในน้ำ); รูปเปรียบ(กับตัวจริง), ชื่อ, ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท. (ไทย) ชื่อที่ตั้งให้กันอย่างไม่เป็นทางการ ตามลักษณะที่ปรากฏ. |
ฉิมพลี | สิมฺพลี, สิมฺพโล | ศาลฺมลี | ไม้งิ้ว |
ช
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ชงฆ์ | ชงฺฆา | ชงฺฆา | แข้ง |
ชฎา | ชฏา | ชฎา | เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย |
ชน | ชน | ชน | เกิด |
ชนก | ชนก | ชนก | พ่อ |
ชนบท | ชนปท | ชนปท | ประเทศ, จังหวัด, บ้านนอก, พลเมือง (ชาวชนบท). (ไทย) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. |
ชมพู่ | ชมฺพุ | ชมฺพุ | หว้า, ชมพู่ |
ชมพูนุท | ชมฺพุนท | ชามฺพุนท | ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ |
ชลี | อญฺชลิ อญฺชุลิ | อญฺชลิ | กระพุ่มมือไหว้. (ไทย) อัญชลี ตัด อัญ, เป็น ชุลี บ้าง. |
ชวาล, ชาล | ชาล | ชาล | ข่าย |
ชันษา (ชัน-นะ-) | ชนวสฺส | ชนฺมวรฺษ | ชนมพรรษา [ชน-มะ-พัน-สา] อายุ. ขวบปีที่เกิดมา. (ไทย) ลบ ม |
ชัย | ชย | ชย | ชนะ |
ชาคริต | ชาคริต | ชาคริตวตฺ | ผู้ตื่น |
ชาตา | ชาต | ชาต | เกิด. (ไทย) เวลาเกิดของคน เป็นต้น ที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า. |
ชาติ | ชาติ | ชาติ | การเกิด. (ไทย) การเกิด; ชนิด, จําพวก; ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, |
ชานุ | ชานุ | ชานุ | เข่า |
ชิวหา | ชิวฺหา | ชิวฺหา | ลิ้น |
ชี | ชี | นักบวช เช่น ชีปะขาว (กร่อนมาจาก ชีผ้าขาว); คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผม ถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. สันสกฤต ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง. | |
ชีวประวัติ | ชีว+ปวตฺติ | ชีว+ปฺรวฤตฺติ | ประวัติของชีวิต |
เชษฐา | เชฏฺฐ | เชฺยษฺฐ | "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่ En. chief |
เชตุพน | เชตุ+วน | เชตุ+วน | สวนเจ้าเชต, (ไทย) วัดพระเชตุพน |
โชดึก | โชติก | โชฺยติก | ผู้มีความรุ่งเรือง |
โชติ | โชติ | โทฺยติสฺ โชฺยติสฺ | ความรุ่งเรือง, ความสว่าง |
ไชย | เชยฺย | เชฺยย ชฺยายสฺ | ดีกว่า, เจริญกว่า |
ฌ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฌาน | ฌาน | ธฺยาน | การเพ่ง, พิจารณา, ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่ |
ญ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ญาณ | ญาณ | ชฺญาน | ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจากอํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ |
ญาติกา | ญาติกา | ชฺญาติกา | ญาติผู้หญิง |
ญาติธรรม | ญาติ+ธมฺม | ชฺญาต+ธรฺม | ญาติธรรม (ยา-ติ-ทำ) ธรรมของญาติ(ที่พึงปฏิบัติต่อกัน) แปลจากหลังไปหน้า. (ไทย) ญาติธรรม (ยาด-ทำ) บุคคลที่ถือเป็นญาติทางธรรม. แปลจากหน้าไปหลัง (ไม่ควรอ่านว่า ยาด-ติ-ทำ เพราะจะกลายเป็นศัพท์สมาส ยกเว้น ญาติพี่น้อง (ยาด-ติ-พี่น้อง เพราะเป็นภาษาปาก) |
ฎ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฎีกา | ฏีกา | คําอธิบายขยายความ, คัมภีร์อธิบายอรรถกถา. (ไทย) หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ ฯลฯ |
ฐ ฐ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฐาน | ฐาน | สฺถาน | ที่ตั้ง, ที่รองรับ |
ฐาปนิก | ฐาปนิก | สฺถาปนิก | ผู้ก่อสร้าง, ผู้ออกแบบก่อสร้าง |
ฐิติ | ฐิติ | สฺถิติ | การยืน, การตั้งมั่น |
ณ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ณัฏฐ์ | ณฏฺฐ (ญาณ+ฐ) | ผู้ตั้งอยู่ในความรู้, นักปราชญ์ |
ด
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ดนตรี | ตนฺติ | ตนฺตฺรินฺ | แบบแผน, ระเบียบ, สาย, เส้นด้าย, แผ่ไป, สายพิณ, พุทธวจนะ, แถว, บาลี. (ไทย) ลำดับเสียงอันไพเราะ. |
ดนยา | ตนยา | ตนยา | ลูกสาว |
ดนัย | ตนย | ตนย | ลูกชาย |
ดนู | ตนุ | ตนุ | น้อย |
ดรรชนี, ดัชนี | ตชฺชนี | ตรฺชนี | นิ้วชี้, บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือ (index) |
ดรุณ | ตรุณ | ตรุณ | หนุ่ม |
ดรุณี | ตรุณี | ตรุณี | สาว, อ่อน, รุ่น |
ดัสกร | ตกฺกร | ตสฺกร | โจร, ขโมย. (ไทย) ข้าศึก, ศัตรู. |
ดาบส | ตาปส | ตาปส | นักบวช |
ดารา | ตารา | สฺตาร | ดาว. En. star |
ดาวดึงส์ | ตาวตึส | ตฺรยสฺตฺรึศตฺ | ชื่อสวรรค์ชั้นที่สอง |
ดิฉัน ดีฉัน ดีฉาน | ติรจฺฉาน | คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ. มาจาก ดิรัจฉาน ใช้พูดถ่อมตนเมื่อพูดกับพระสงฆ์ (ปัจจุบันใช้เฉพาะสตรีเรียกตนเอง) | |
ดิถี | ติถิ | ติถิ | การนับวันตามจันทรคติ |
ดิเรก | อติเรก | อติเรก | เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ). (ไทย) อดิเรก ตัด อ. |
ดีบุก | ติปุ | ตฺรปุ | ดีบุก (tin) |
ตุ๊ | สาธุ | สาธุ | (ไทย) คำสำหรับเรียกพระภิกษุ ทางภาคเหนือ กร่อนมาจาก สาธุ |
ดุรงค์ | ตุรงฺค | ตุรงฺค | ม้า "ไปเร็ว" |
ดุลย์ | ตุลย | ตุลฺย | ตราชั่ง,ู คันชั่ง; คล้าย, เช่นกัน |
ตุลาการ | ตุลา+การ | ตุลา+การ | ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ในทางกฎหมาย (ตัดสินเที่ยงตรงดุจตราชั่ง) |
ตุลาคม | ตุล+อาคม | ตุล+อาคม | (ตุลา คันชั่ง, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 10 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีตุลย์ |
ดุษฎี | ตุฏฺฐิ | ตุษฺฏิ | ความยินดี, ความชื่นชม. (ไทย) ดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก, ผู้ได้รับปริญญาเอก |
ดุษณี | ตุณฺหี | ตุษฺณีมฺ | อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ไทย) โดยดุษณีภาพ |
ดุสิต | ตุสิต | ตุษิต | สวรรค์ชั้นดุสิต |
เดช เดโช | เตช | เตช | อำนาจ, ไฟ, ความร้อน |
เดรัจฉาน | ติรจฺฉาน | ติรศฺจีน | "ผู้เป็นไปโดยขวาง", สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย. เดียรัจฉาน |
เดียงสา | เดียง+ภาสา | +ภาษา | รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา. เดียง ‘รู้’ (คำเขมร - ฎึง) +ภาสา ‘ภาษา’ = รู้ภาษา (ลบ ภา) |
ต
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ตติยะ | ตติย | ตฺฤตีย | ที่สาม |
ตถาคต | ตถาคต | ตถาคต | ผู้ไปแล้วอย่างนั้น (พระพุทธเจ้า) |
ตน | ตนุ | ตนุ | เบาบาง, น้อย, ห่าง; ละเอียด; ตน. (ไทย) ตน. |
ตบะ | ตป | ตปสฺ | ความร้อน, ธรรมเครื่องเผาบาป |
ตมะ | ตม | ตมสฺ | มืด |
ตรรก | ตกฺก | ตกฺร | คิด, ตรึก |
ตระกูล | กุล | กุล | วงศ์, เชื้อสาย. (ไทย) เติม ตระ- |
ตรัยตรึงศ์ | เตตฺตึส | ตฺรยสฺตฺรึศตฺ | สามสิบสาม |
ตรี | ติ | ตฺริ | สาม |
ตรีภูมิ | ติ+ภูมิ | ตฺริ+ภูมิ | ภูมิสาม |
ตรีโลก | ติ+โลก | ตฺริ+โลก | โลกสาม |
ตรุ | ตรุ | ตรุ | ต้นไม้ En. tree |
ตฤณ, ติณ | ติณ | ตฤณ | หญ้า |
ตักษัย | ชีวิตกฺขย | ชีวิตกฺษย | สิ้นชีวิต, ตาย. (ไทย) ตัดพยางค์ ชีวิ ออก. |
ตัณหา | ตณฺหา | ตฺฤษฺณา | ความยาก |
ตาล | ตาล | ตาล | ลูกตาล, ลูกกุญแจ |
ตาว | ตาว | ตาวตฺ | เพียงนั้น |
ตุลา | ตุลา | ตุลา | คันชั่ง |
เตโช | เตช | เตช | อำนาจ, ไฟ, ความร้อน |
ไตร | ติ, เต | ตฺริ ไตฺร ตฺรย | สาม. En. three, tri(cycle) |
ไตรยางศ์ | ติ+อํส | ตฺริ+อํส, ตฺรยํศ | ประกอบ 3 อย่าง, มี 3 ส่วน เช่น บัญญัติไตรยาศ์ (rule of three) |
ไตรสรณคมน์, -าคมน์ | ติ+สรณ+คมน | ไตฺร+สรณ+คมน | การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก. |
ถ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ถัน | ถน | สฺตน | นม (อวัยวะ), เต้านม |
ถาวร, สถาพร | ถาวร | สฺถาวร | มั่นคง, แข็งแรง. En. stand |
เถน | เถน | เสฺตน | ลัก, ขโมย; สมัยก่อน คนไทยใช้เป็นคำอุทาน/ด่า เช่น ไอ้เถน!. En. steal |
เถระ, เถรี | เถร, เถรี | สฺถวิร, สฺถวิรา | คนแก่, ผู้เฒ่า, ผู้มั่นคง, พระที่มีพรรษา 10 ขึ้นไป |
ท
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ทรกรรม | ทุร+กมฺม | ทุสฺ+กรฺม | การทำให้ลำบาก |
ทรชน ทุรชน | ทุรชน | ทุสฺ+ชน | คนชั่ว |
ทรพิษ | ทุร+วิส | ทุสฺ+วิษ | "พิษชั่ว", ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า. |
ทรยศ ทุรยศ | ทุรยส | ทุสฺ+ยศสฺ | เกียรติชั่ว (กบฏ) |
ทรยุค | ทุร+ยุค | ทุสฺ+ยุค | ยุคชั่ว |
ทรราช ทุรราช | ทุ-ราช | ทุสฺ+ราชนฺ | พระราชาชั่ว, ผู้ปกครองชั่ว. En. tyrant. การปกครองเช่นนั้น เรียกว่า (ระบบ) ทรราชย์. En. tyranny. (ไทย) ทุ เมื่ออยู่หน้าอักษรต่ำ แปลง ทุ เป็น ทร ทุร |
ทรลักษณ์ | ทุร+ลกฺขณ | ทุสฺ+ลกฺษณ | ลักษณะชั่ว, เครื่องหมายชั่ว |
ทรหน | ทุ+ | ทุสฺ+ | ทางลำบาก, ทางกันดาร |
ทรัพย์ | ทพฺพ | ทฺรวฺย | ของมีค่า |
ทฤษฎี | ทิฏฺฐิ | ทฺฤษฺฏิ | ความเห็น. (ไทย) หลักที่นักปราชญ์วางไว้. |
ทวาร | ทฺวาร | ทฺวาร | ประตู (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d). En. door |
ทวีป | ทีป | ทฺวีป | เกาะ |
ทหาร | ทหร | ทหร | คนหนุ่ม. (ไทย) ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ |
ทักษิณ | ทกฺขิณ | ทกฺษิณ | ทิศใต้, ขวา. |
ทั้งเพ | สพฺพ | สรฺว | ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ทั้ง + |
ทัณฑ์ | ทณฺฑ | ทณฺฑ | ไม้ตะบอง, ไม้เท้า; การลงอาญา, การลงโทษ. (ไทย) การลงอาญา, การลงโทษ.. |
ทัณฑฆาต | ทณฺฑ+ฆาต | ทณฺฑ+ฆาต | ชื่อเครื่องหมาย |
ทนต์ | ทนฺต | ทนฺต | ฟัน (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. dental |
ทวิ- | ทฺวิ, ทิ, ทุ, โท | ทฺวิ | สอง. En. two, twice |
ทศ | ทส | ทศ | สิบ. En. ten; decimal |
ทัศนะ, ทรรศนะ | ทสฺสน | ทรฺศน | ความคิดเห็น |
ทัศนีย์ | ทสฺสนีย | ทรฺศนีย, ทฺฤศฺ | ควรดู, น่าดู |
ทาน | ทาน | ทาน | การให้ |
ทาน | ปทาน | ปฺรทาน | กิน (ไทย ภาษาพูด) กร่อนมาจากคำว่า รับประทาน. (ไม่ควรใช้ในภาษาเขียน และยังไปพ้องกับคำว่า ทาน ที่แปลว่าการให้) |
ทายก | ทายก | ทายก | ผู้ให้ |
ทารก | ทารก | ทารก | เด็กผู้ชาย |
ทาริกา | ทาริกา | ทาริกา | เด็กหญิง |
ทิฐิ | ทิฏฺฐิ | ทฺฤษฺฏิ | ความเห็น. (ไทย) ความดื้อรั้นในความเห็น; ความถือดี =มานะ. En. theory |
ทิด | ปณฺฑิต | ปณฺฑิต | คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด. อาจจะกร่อนจากคำว่า (บัณ)ฑิต |
ทิพย์ | ทิพฺพ | ทิพฺย | เป็นทิพย์ |
ทิพโลก | ทิพฺพโลก | ทิพฺยโลก | โลกสวรรค์ |
ทิพากร | ทิวากร | ทิวากร | ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์ |
ทิวงคต | ทิวงฺคต | ทิวมฺคต | ไปสู่สวรรค์ (ตาย) |
ทิวากร | ทิวา+กร | ทิวา+กร | ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์ |
ทิวากาล | ทิวากาล | ทิวา+กาล | (เวลา) กลางวัน |
ทิวาราตรี | ทิวารตฺติ | ทิวาราตฺรมฺ | กลางวันและกลางคืน |
ทีป | ทีป | ทีป | แสงไฟ |
ทีปังกร | ทีปงฺกร | ทฺวีป+กร | ผู้ที่ทำที่พึ่ง, พระนามของพระพุทธเจ้า |
ทุคติ | ทุคฺคติ | ทุสฺ+คติ | ที่ไปชั่ว, ที่ไปไม่ดี (เปรต นรก อสุรกาย เดรัจฉาน). (มักเขียนผิดเป็น ทุกข์คติ) |
ทุจริต | ทุจฺจริต | ทุสฺ+จริต | ประพฤติชั่ว |
ทุติยะ | ทุติย | ทฺวิตีย | ที่สอง |
ทุนนิมิต | ทุนฺนิมิตฺต | ทุสฺ+นิมิตฺต | ฝันร้าย, นิมิตไม่ดี |
ทุพพล ทุรพล | ทุพฺพล | ทุสฺ+พล | มีกำลังน้อย |
ทุพภิกขภัย | ทุพฺภิกฺขภย | ทุสฺ+ภิกฺษา+ภย | ภัยจากอาหารหายาก |
ทุรชล | ทุรชล | ทุสฺ+ชล | น้ำร้าย |
ทุรชาติ | ทุรชาติ | ทุสฺ+ชาติ | ชาติชั่ว |
ทุรนิมิต | ทุนฺนิมิตฺต | ทุสฺ+นิมิตฺต | ลางร้าย |
ทุรมาน, ทรมาน | ทุรมาน | ทุสฺ+มาน | ไม่มีการถือตัว |
ทุรวาท | ทุรวาท | ทุสฺ+วาท | คำชั่ว |
ทูต | ทูต | ทูต | ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย. (มักเขียนผิดเป็น ฑูต) |
เทพินทร์ | เทวี+อินฺท | เทวี+อินฺทฺร | จอมเทพี |
เทวโลก | เทวโลก | เทวโลก | สวรรค์ |
เทวษ | โทส | เทฺวษ | เศร้าโศกเสียใจ |
เทวะ | เทว | เทว | ฝน; เทพ, เทวดา; ราชา (สมมติเทพ). (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. divine |
เทวินทร์ | เทว+อินฺท | เทว+อินฺทฺร | จอมเทพ |
เทวี | เทวี | เทวี | พระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง |
เท่ห์ | เทห | เทห | ร่างกาย |
เทาะห์ | ฑห | ทห | เผา |
แทตย์ | ไทตฺย | ยักษ์ | |
โท | [ทฺวิ ทิ ทุ] | [ทฺวิ] | สอง. (ฮินดี) โท. En. two |
โทรศัพท์ | ทูร+สทฺท | ทูร+ศพฺท | โทรศัพท์. ทูร-tele (ไกล) + สทฺท-sound (เสียง) En. tele- |
โทษ | โทส | โทษ | ความไม่ดี, ความผิด |
โทสะ | โทส | โทษ | ความโกรธ |
ไทย | เทยฺย | เทย | ควรให้ |
ไทยธรรม | เทยฺยธมฺม | เทยธรฺม | "ของที่ควรให้", ของทําบุญต่างๆ, ของถวายพระ. |
ไทยทาน | เทยฺยทาน | เทยทาน | ของอันพึงให้ |
ธ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ธช ธวัช | ธช | ธฺวชฺ | ธง |
ธนาณัติ | ธน+อาณตฺติ | ธน+อาชฺญาปฺติ | เงินที่ส่งตามสั่ง |
ธนิต | ธนิต | ธฺวนิต | แข็ง, หนัก |
ธรณี | เทหนี | ธรณีประตู | |
ธรรมะ | ธมฺม | ธรฺม | ธรรมะ |
ธรรมยุต | ธมฺม+ยุตฺต | ธรฺม+ยุกฺต | ประกอบด้วยธรรม. (ไทย) ธรรมยุต ชื่อพระสงฆ์ไทยนิกายหนึ่ง แยกตนออกมาจากสงฆ์ไทย เดิม, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก. (สงฆ์เดิม จึงได้ชื่อว่า มหานิกาย เพราะมีจำนวนมากกว่า – ประมาณ 90:10) |
ธรรมศาสตร์ | ธมฺม+สตฺถ | ธรฺม+ศสฺตฺร | คัมภีร์หลักกฎหมาย |
ธรรมิก | ธมฺมิก | ธารฺมิก | ผู้ตั้งอยู่ในธรรม, ผู้ประพฤติธรรม |
ธัญญะ | ธญฺญ | ธนฺย | ข้าวเปลือก |
ธันวาคม | ธนุ+อาคม | ธนุสฺ+อาคม | (ธนุ ธนู, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 12 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู |
ธุดงค์ | ธุต+องฺค | ธุต+องฺค | องค์คุณเครื่อง[ช่วย]กําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี 13 อย่าง เช่น การอยู่ป่า การอยู่โคนไม้. มักเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า การที่ภิกษุจาริกเที่ยวไป (แม้จะเป็นในป่าเขาก็ตาม) คือการปฏิบัติธุดงค์แล้ว, ธุดงค์ไม่ใช่ศีล ภิกษุใดรักษาธุดงค์ข้อใดหรือหลายข้อแล้วกิเลสเบาบางลง คุณธรรมเจริญขึ้น ควรรักษา หากเป็นตรงกันข้าม ก็(ยัง)ไม่ควรรักษา. |
ธุรการ | ธุร+การ | ธุร+การ | (ไทย บัญญัติ) การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งานวิชาการ |
ธุระ, ธุร | ธุร | ธุร | แอก; หน้าที่, กิจการ |
เธียร | ธีร | ธีร | นักปราชญ์ |
น
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
นพ | นว | นวนฺ | เก้า; ใหม่. En. nine; new, novate |
นพเคราะห์ | นวคห | นวคฺรห | (โหร) ดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
นโยบาย | นย+อุปาย | นย+อุปาย | "วิธีเป็นเครื่องนำไป", หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการเพื่อนำไป[สู่เป้าหมาย]. |
นรินทร์ | นร+อินฺท | นร+อินฺทฺร | จอมคน, ผู้เป็นใหญ่กว่าชน (พระเจ้าแผ่นดิน) |
นริศวร, นเรศวร | นร+อิสฺสร | นร+อีศฺวร | พระราชา, ผู้เป็นใหญ่กว่าชน (พระเจ้าแผ่นดิน) |
นฤดม | นร+อุตฺตม | นร+อุตฺตม | คนผู้สูงสุด |
นฤบดี | นร+ปติ | นร+ปติ | เจ้าแห่งคน (พระราชา) |
นฤมล | นิร+มล | ไม่มีมลทิน | |
นักษัตร, นักขัต | นกฺขตฺต | นกฺษตฺร | ดาว |
นังคัล | นงฺคล | ลางฺคล | ไถ |
นัย | นย | นย | ผู้นำไป |
นาฏ | นาฏ | นาฏ | การฟ้อนรำ, นางงาม, สิ่งที่ให้ความบันเทิงใจ |
นาที | นาฬิ | นาฑี | ก้าน (เข็มนาที?). (ไทย) ชื่อหน่วยเวลา. |
นานา | นานา | นานา | ต่างๆ |
นานาประการ, นานัปการ | นานปฺปการ | นานา+ปฺรการ | มีประการต่างๆ |
นาภี | นาภิ นาภี | นาภิมฺ | สะดือ, ท้อง, ศูนย์กลาง. (ไทย) สะดือ En. navel |
นาม | นาม | นามนฺ | ชื่อ. En. name |
นายก | นายก | นายก | ผู้นำ |
นาวา | นาวา | เนา, นาว | เรือ. En. navy |
นาวิก | นาวิก | นาวิก | ผู้ขี่เรือ, คนขับเรือ, เกี่ยวกับเรือ |
นาสา | นาสา | นาสา | จมูก. En. nose, nasal |
นิกร | นิกร | นิกร | หมู่, พวก, ประชุม, ฝูง |
นิคหะ | นิคฺคห | นิคฺรห | การข่ม, การปราบปราม |
นิคหิต | นิคฺคหิต | นิคฺฤหีต | เครื่องหมายวงกลม ( ํ) เขียนไว้เหนือพยัญชนะไทย |
นิคาหก | นิคฺคาหก | นิคฺราห+ก | ผู้ข่มขี่. (ไทย) ?? ผู้มีวาจาหยาบ (ขอทาน) |
นิตย์ | นิจฺจ | นิตฺย | นิจ, เที่ยง, เนืองๆ, ทุกเมื่อ, สมํ่าเสมอ. |
นิติ | นิติ | เครื่องนำไป, แบบแผน | |
นิทรา | นิทฺทา | นิทฺรา | การหลับ. (ไทย) หลับ |
นิทาน | นิทาน | นิทาน | ที่มา (ของเรื่อง), เหตุ. (ไทย) เรื่องเล่าที่สมมุติขึ้น |
นิธาน | นิธาน | นิธาน | การฝังไว้, เก็บไว้ |
นิธิ | นิธิ | นิธิ | ขุมทรัพย์ |
นินทา | นินฺทา | นินฺทา | ติเตียน. (ไทย) ติเตียนลับหลัง. |
นินนาท | นินฺนาท | นินาท | เสียงกึกก้อง |
นิบาต | นิปาต | นิปาต | ตกลง (ชื่อคัมภีร์และคำในไวยากรณ์) |
นิพพาน | นิพฺพาน | นิรฺวาณ | ดับสิ้นเชื้อ |
นิพัทธ์ | นิพทฺธ | นิพทฺธ | เนื่องกัน, เนืองๆ, เสมอ |
นิภา | นิภา | นิภา | สว่างออก (รัศมี) |
นิมนต์ | นิมนฺต | นิมนฺตฺรณ | เชื้อเชิญ. (ไทย) เชิญพระภิกษุ |
นิมมาน | นิมฺมาน | นิรฺมาณ | สร้าง, ทำ |
นิมิต | นิมฺมิต | นิรฺมิต | สร้าง, ทำ |
นิมิต | นิมิตฺต | นิมิตฺต | เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; อวัยวะสืบพันธุ์. |
นิยม | นิยม | นิยม | แน่นอน, กำหนด. (ไทย) ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย |
นิยาม | นิยาม | นิยาม | กําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. |
นิรคุณ | นิรคุณ | นิรฺคุณ | ไม่มีลักษณะดี |
นิรโฆษ | นิรโฆส | นิรฺโฆษ | เสียงก้องออก; ไม่มีเสียง |
นิรทุกข์ | นิรทุกฺข | นิรฺทุกฺข | ไม่มีความทุกข์ |
นิรเทศ | นิรเทส | นิรฺเทส | ไม่มีถิ่นที่ |
นิรนาม | นิรนาม | นิรนามนฺ | ไม่มีชื่อ |
นิรภัย | นิพฺภย | นิรฺภย | ไม่มีภัย |
นิรมล | นิมฺมล | นิรฺมล | ไม่มีมลทิน, ไม่หมองมัว |
นิรมิต | นิมฺมิต | นิรฺมิต | สร้าง, ทำ, เนรมิต. (ไทย) บันดาลให้เกิดขึ้น. |
นิรวาณ | นิพฺพาน | นิรฺวาณ | ความดับไม่มีเหลือ |
นิรันดร, นิรันตร | นิรนฺตร | นิรนฺตร | ไม่มีระหว่างคั่น |
นิรานุช | นิร+อนุช | นิรฺ+อนุช | ไปจากนุช, ปราศจากนุช |
นิราพาธ | นิร+อาพาธ | นิรฺ+อาพาธ | ไม่มีความเจ็บป่วย |
นิรามิษ | นิร+อามิส | นิรฺ+อามิษ | ไม่มีเครื่องล่อ, ไม่มีเหยื่อ |
นิราลัย | นิร+อาลย | นิสฺ+อาลย | ไม่มีที่อยู่, ไม่มีที่ห่วงใย |
นิราศ | นิร+อาสา | นิสฺ+อาศา | ไม่ความหวัง, ไม่มีความต้องการ, ไปจาก |
นิรุทก | นิร+อุทก | นิสฺ+อุทก | ไม่มีน้ำ |
นิล | นีล | นีล | สีเขียวแก่, สีขาบ (สีนํ้าเงินแก่อมม่วง), สีน้ำเงิน. (ไทย) พลอยชนิดหนึ่งมีสีดำ, เขียว |
นิวัติ | นิวตฺติ | นิวฺฤตฺติ | เป็นไปกลับ (การกลับ) |
นิเวศน์ | นิเวสน | นิเวศน | การเข้าอยู่, ที่อยู่ |
นิศากร, นิสากร | นิสา+กร | นิศา+กร | ดวงจันทร์ "ผู้ทำซึ่งกลางคืน" |
นิสิต | นิสฺสิต | นิ+ศฺริต | ผู้อาศัย(อาจารย์). (ไทย) ผู้เรียนในมหาวิทยาลัย. |
นุกูล | อนุกูล | ตามเกื้อหนุน. (ไทย) อนุกูล ตัด อ. | |
นุช | อนุช | อนุ+ช | ผู้เกิดภายหลัง, น้อง. (ไทย) ตัด อ พยางค์หน้าออก. |
เนตร | เนตฺต | เนตฺร | ตา |
เนรเทศ | นิรเทส | นิรฺเทศ | ให้ออกนอกประเทศ |
เนรนาถ | นิร+นาถ | นิรฺ+นาถ | ไม่มีที่พึ่ง |
เนรมิตร | นิมฺมิต | นิรฺมิต | สร้าง, ทำ, นิรมิต. (ไทย) สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหารให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. |
บ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
บงกช | ปงฺกช | ปงฺกช | บัว "เกิดในตม" |
(เรือ)บด | โปต | โปต | เรือเล็กของเรือกำปั่น; เรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายเรียว หรือ เรือกรรเชียงท้ายตัด. En. boat |
บรม | ปรม | ปรม | อย่างยิ่ง, ที่สุด |
บรรจถรณ์ | ปจฺจตฺถรณ | ปฺรตฺยาสฺตรณ | เครื่องลาด, เครื่องปู |
บรรณ | ปณฺณ | ปรฺณ | ใบไม้, หนังสือ |
บรรพชิต | ปพฺพชิต | ปฺรวฺรชิต | นักบวชพุทธ |
บรรพต | ปพฺพต | ปรฺวต | ภูเขา |
บรรยาย | ปริยาย | ปรฺยาย | ความเป็นไปรอบ, ลำดับ. (ไทย) การสอน, การเล่าเรื่อง |
บรรลัย | ปลย | ฉิบหาย, วอดวาย, สิ้นกัป, ประลัย | |
บรรสาร | ปริ+สาร | ปริ+สาร | เที่ยวไปรอบ (คลี่ออก) |
บรรหาร | ปริหาร | ปริหาร | นำไปรอบ (เฉลย, กล่าว, แก้, สั่ง) |
บริกร | ปริ+กร | ปริ+กร | ผู้รับใช้ "ทำรอบๆ" |
บริการ | ปริ+การ | ปริ+การ | การรับใช้, ช่วยเหลือ |
บริขาร | ปริกฺขาร | ปริษฺการ | เครื่องใช้ของพระสงฆ์ |
บริจาค | ปริจฺจาค | ปริตฺยาค | สละให้ |
บริบท | ปริปท | ปริปท | คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย |
บริบาล | ปริปาล | ปริปาล | คุ้มครองรอบ (ดูแล, รักษา, เลี้ยงดู) |
บริบูรณ์ | ปริปุณฺณ | ปริปูรฺณ | เต็มรอบ |
บริภาษณ์ | ปริภาส | ปริภาษ | การด่า |
บริโภค | ปริโภค | ปริโภค | การกิน |
บริรักษ์ | ปริรกฺข | ปริรกฺษ | รักษารอบ (ดูแล, ปกครอง, รักษา) |
บริวาร | ปริวาร | ปริวาร | ผู้แวดล้อม |
บริษัท | ปริสา | ปริษทฺ | ผู้นั่งรอบ |
บริหาร | ปริหาร | ปริหาร | รับผิดชอบจัดการ |
บวช | ป+วช | ปฺร+วฺรช | บวช "เว้นทั่ว" |
บวร | ป+วร | ปฺร+วร | ประเสริฐ, ล้ำเลิศ |
บังสุกุล | ปํสุกูล | ปางสุกูล | ผ้าเปื้อนฝุ่น ดิน. ผ้าที่ชักออกจากศพหรือจากสายสิญจ์ที่โยงจากศพ (มักพูด/เขียนผิดเป็น บังสกุล) |
บัญชี | ปญฺชิ | สมุดบันทึกรายการ | |
บัณฑิต | ปณฺฑิต | ปณฺฑิต | ผู้รู้, ผู้ทรงความรู้, คนฉลาด |
บัณฑุกัมพล | ปณฺฑุ+กมฺพล | ปาณฺฑุ+กมฺพล | ผ้าขนสัตว์สีเหลือง |
บัณเฑาะก์ | ปณฺฑก | ปณฺฑก | กะเทย |
บัณเฑาะว์ | ปณฺฑว | กลอง | |
บัลลังก์ | ปลฺลงก | ปรฺยงฺก | แท่น |
บาป | ปาป | ปาป | ความชั่ว, ความมัวหมอง |
บารมี | ปารมี ปารมิตา | ปารมิตา | คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา |
บาลี | ปาลิ | ปาลิ | ภาษา, แถว, แนว, เส้น, เขต |
(ลูก)บาศก์ | ปาสก | ปาศก | ลูกเต๋า, ลูกสกา. |
บิดา | ปิตา | ปีตฺฤ | พ่อ |
บุญ | ปุญฺญ | ปุณฺย | ความดี, คุณความดี |
บุญฤทธิ์ | ปุญฺญ+อิทฺธิ | ปุณฺย+ฤทฺธิ | ความสำเร็จด้วยบุญ |
บุตร | ปุตฺต | ปุตฺร | ลูกชาย |
บุนนาค | ปุนฺนาค | ปุนฺนาค | ไม้บุนนาค, พิกุล |
บุปผา | ปุปฺผ | ปุษฺป | ดอกไม้; ระดู. |
บุพ, บุพพ, บูรพ, บูรพา | ปุพฺพ | ปูรฺว | ก่อน, แรก, แต่ก่อน, เบื้องต้น |
บุพเพสันนิวาส | ปุพฺเพสนฺนิวาส | ปูรฺวสนฺนิวาส | การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อนๆ |
บุรุษ | ปุริส | ปุรุษฺ | ผู้ชาย. En. person |
บุษราคัม | ปุษฺปราค | พลอยสีเหลือง | |
เบญจ | ปญฺจ | ปญฺจนฺ | ห้า. En. penta(gon) |
เบญจเพส | ปญฺจวีส | ปญฺจวีศ | ยี่สิบห้า. (ไม่เกี่ยวกับเพศชายหญิง) |
เบียดเบียน (เบียฑเบียฬ) | ปีฑปีฬ | ทำให้เดือดร้อน | |
โบกขร, บุษกร | โปกฺขรํ | ปุษฺกร | สระบัว |
โบราณ | โปราณ | เปาราณ | มีมาแล้วช้านาน |
โบสถ์ | อุโปสถ | อุปวสถ, อุโปษธ | (ไทย) อุโบสถ (ตัด อุ พยางค์หน้าออก) สถานที่สงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต; อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. |
ป
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ปกติ, ปรกติ | ปกติ | ปฺรกฺฤติ | ธรรมดา |
ปกรณ์ | ปกรณ | ปฺรกรณ | ทำทั่ว, คัมภีร์ |
ปกิณกะ | ปกิณฺณก | ปฺรกีรฺณก | เกลื่อนกล่นทั่ว (เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด) |
ปฏิการ | ปฏิการ | ปฺรติการ | การทำตอบ (การตอบแทน, สนองคุณ) |
ปฏิกิริยา | ปฏิกิริยา | ปฺรติกฺริยา | กิริยาสะท้อนกลับ |
ปฏิญญา | ปฏิญฺญา | ปฺรติชฺญา | ข้อตกลงยืนยัน |
ปฏิทิน | ปฏิทิน | ปฺรติทิน | เฉพาะวัน |
ปฏิปักษ์ | ปฏิปกฺข | ปฺรติปกฺษ | ฝ่ายตรงข้าม |
ปฏิพจน์ | ปฏิวจน | ปฺรติวจน | คำตอบ |
ปฏิพากย์ | ปฏิวากฺย | ปฺรติวากฺย | พูดตอบ |
ปฏิภาค | ปฏิภาค | ปฺรติภาค | ส่วนตอบ (ส่วนเปรียบ) |
ปฏิมา | ปฏิมา | ปฺรติมา | รูปเปรียบ |
ปฏิวัติ | ปฏิ+วตฺติ | ปฺรติ+วฤตฺติ. | หมุนกลับ |
ปฏิเวธ | ปฏิเวธ | ปฺรติเวธ | เข้าใจตลอด |
ปฏิสนธิ | ปฏิสนฺธิ | ปฺรติสํธิ | การเกิด |
ปาฏิหาริย์ | ปาฏิหาริย | ปฺราติหารฺย | ความเป็นไปเฉพาะ, สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์ |
ปฐม | ปฐม | ปฺรถม | ที่หนึ่ง |
ปฐวี | ปฐวี ปถวี | ปฺฤถิวี, ปฺฤถฺวี | แผ่นดิน |
ปรอท | ปราท | ปราท | ธาตุปรอท |
ปรสิต | ปร-สิต | (บัญญัติ) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยกินอยู่ในร่างกายคนและสัตว์อื่นๆ หรืออยู่กับพืชอื่นๆ เช่น พยาธิ, กาฝาก En. parasite | |
ประกฤต | ปกต | ปฺรกฺฤต | ทำทั่ว (ทำมาก) |
ประการ | ปการ | ปฺรการ | การทำทั่ว (อย่าง, ชนิด) |
ประกาศ | ปกาส | ปฺรกาศ | ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ |
ประชวร | ป+ชร | ปฺร+ชฺวร | เจ็บป่วย |
ประชาชาติ | ปชา+ชาติ | ปฺรชา+ชาติ | หมู่คน |
ประชาบาล | ปชา+ปาล | ปฺรชา+ปาล | ผู้รักษาประชาชน |
ประณต | ปณต | ปฺรณต, ปฺร+นมฺ | เอียง, น้อม, นอบน้อมไหว้ (การน้อมไหว้) |
ประณาม | ปณาม | ปฺรณาม | การน้อม, การน้อมไหว้; การขับ, ผลัก, การติเตียน |
ประดิษฐ์ | ปติฏฺฐ | ปฺรติษฺฐ | การตั้งไว้. (ไทย) การสร้างขึ้น. |
ประดิษฐาน | ปติฏฺฐาน | ปฺรติษฺฐาน | การตั้งไว้ |
ประติมากรรม | ปฏิมา+กมฺม | ปฺรติมา+กรฺม | การทำรูปเปรียบ. รูปปั้น, รูปแกะสลัก |
ประทีป | ปทีป | ปฺรทีป | สว่างทั่ว (ตะเกียง, โดม) |
ประปา | ปปา | ปฺรปา | น้ำดื่ม, โรงสำหรับไว้น้ำดื่ม, บ่อน้ำ |
ประพฤติ | ปวุตฺติ | ปฺรวฺฤตฺติ | ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, เหตุต้นเค้า. ปฏิบัติ |
ประเพณี | ปเวณิ | ปฺรเวณิ | เชื้อสาย. (ไทย) สิ่งที่ถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา |
ประภัสสร | ปภสฺสร | ปฺรภาสฺวร | รัศมีที่แล่นออกไป (สีเลื่อมพราย) |
ประเภท | ปเภท | ปฺรเภท | ความแตกต่าง |
ประมาท | ปมาท | ปฺรมาท | มัวเมา, เลินเล่อ. |
ปรามาส (ปะ-) | ปรามาส | ปรามาส | การจับต้อง, การลูบคลำ. |
ปรามาส (ปฺรา-) | ปรามาส | ปรามาส | (ไทย) ดูถูก, หมิ่นประมาท (แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น) ในความหมายนี้ อาจเพี้ยนมาจากคำว่า ปรามาส พูดจาแตะต้องกระทบผู้อื่น |
ประยุกต์ | ปยุตฺต | ปฺรยุกฺต ปฺร+ยุชฺ | ประกอบแล้ว |
ประโยชน์ | ปโยชน | ปฺรโยชน | ความขวนขวาย |
ประวัติ | ปวตฺติ | ปฺรวฤตฺติ | ความเป็นไปทั่ว (เรื่องราว, ข่าวคราว) |
ประวัติศาสตร์ | ปวตฺติ+สตฺถ | ปฺรวฤตฺติ+ศาสฺตฺร | (ไทย บัญญัติ) วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้น ตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน. |
ประเวณี | ปเวณิ | ปฺรเวณิ | เชื้อสาย. (ไทย) การเสพสังวาส |
ประเวศ, ประเวศน์ | ปเวส, ปเวสน | ปฺรเวศ, ปฺรเวศน | การเข้าไป |
ประสก | อุปาสก | (ภาษาพูด) ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. | |
ประสงค์ | ปสงฺค | ปฺรสงฺค | ต้องการ, อยากได้; มุ่งหมาย, มุ่ง |
ประสบ | พบ, พบเห็น เช่น ประสบการณ์ ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทําหรือได้พบเห็นมา. (มักเขียนผิดเป็น ประสพการณ์) | ||
ประสพ | ปสว | ปฺรสว | การเกิดผล |
ประสิทธิ์ | ปสิทฺธิ | ปฺรสิทฺธิ | ความสำเร็จ |
ประสูติ | ปสูติ | ปฺรสูติ | การเกิด |
ปรัชญา | ปญฺญา | ปฺรชฺญา | ปัญญา. (ไทย) วิชาที่ว่าด้วยความจริง. |
ปรัตยักษ์ | ปจฺจกฺข | ปฺรตฺยกฺษ | ประจักษ์ "เห็นกับตา" |
ปรัมปรา | ปรมฺปรา | ปรมฺปรา | สืบๆ กันมา |
ปรัศว์, ปลัด | ปสฺส | ปารฺศฺว | ข้าง |
ปรากฏ | ปากต | ปฺรกฏ | การทำไปทั่ว, แสดงทั่ว (เห็น) |
ปราจีน | ปาจีน | ปฺราจีน | ทิศตะวันออก |
ปราชัย | ปราชย | ปราชย | แพ้ |
ปราณ | ปาณ | ปฺราณ | ลมหายใจ; ผู้มีลมหายใจ, สัตว์, คน |
ปราณี | ปาณี | ปฺราณินฺ | "ผู้มีลมหายใจ", ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน |
ปรานี (ปฺรา-) | (ไทย) เอ็นดูด้วยความสงสาร | ||
ปราบดาภิเษก | ปตฺต+อภิเสก | ปฺราปฺต+อภิเษก | "ถึงการรดเฉพาะ". พิธีอภิเษกของพระราชาซึ่งได้สมบัติด้วยการรบชนะข้าศึก |
ปรามาส (ปฺรา-) | ปรามาส | ปรามรฺศ | ยึดถือ; ลูบคลำ, จับต้อง. (ไทย) ดูถูก |
ปราโมทย์ | ปาโมชฺช | ปฺรโมท+ย | ความบันเทิงทั่ว |
ปรารถนา | ปตฺถนา | ปฺรารฺถนา | ความต้องการ |
ปรารภ | ป+อา+รภ | ปฺร+อา+รภ | เริ่มทั่ว (ตั้งต้น, กล่าวถึง, ดำริ) |
ปรารมภ์ | ป+อา+รมฺภ | ปฺร+อา+รมฺภ | เริ่มทั่ว (เริ่มแรก, รำพึง, ครุ่นคิด) |
ปราศรัย | ปฺรศฺรย | พูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คําปรารภ. | |
ปราษณี | ปณฺหิ ปาสณิ | ปารฺษฺณิ | ส้นเท้า |
ปราสาท | ปาสาท | ปฺราสาท | เรือนสี่เหลี่ยมจตุรัส. ที่อยู่ของพระราชา |
ปริเฉท, ปริจเฉท | ปริจฺเฉท | ปริจฺเฉท | ตัด, แบ่ง, การตัดรอบ (การกำหนด, ตอน, หมวด) |
ปริญญา | ปริญฺญา | ปริชฺญา | รอบรู้ |
ปริณายก | ปรินายก | ปริณายก | ผู้นำไปรอบ (ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่) |
ปริภาษ | ปริภาส | ปริภาษ | การติเตียน |
ปริมณฑล | ปริมณฺฑล | ปริมณฺฑล | วงกลม |
ปริยัติ | ปริยตฺติ | ปรฺยาปฺติ | การเล่าเรียน |
ปริยาย | ปริยาย | ปรฺยาย | ทาง, นัยทางอ้อม, ความเป็นไปรอบ, ลำดับ. |
ปรีดี (ปฺรี-) | ปิติ | ปฺรีติ | ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี |
ปักษ์ | ปกฺข | ปกฺษ | ข้าง, ฝ่าย, ปีก |
ปัจจุบัน | ปจฺจุปฺปนฺน | ปรตฺยุตฺปนฺน | ขณะนี้, "เกิดขึ้นเฉพาะหน้า" |
ปัจเจก | ปจฺเจก ปฏิ+เอก | ปฺรตฺเยก | เฉพาะบุคคลเดียว |
ปัจเจกชน | ปจฺเจกชน | ปฺรตฺเยกชน | คนหนึ่งเฉพาะ |
ปัจฉิมนิเทศ | ปจฺฉิมนิทฺเทส | ปศฺจิมนิรฺเทศ | การชี้แนะครั้งสุดท้าย (ก่อนจบการศึกษา เป็นต้น) |
ปัจฉิมวัย | ปจฺฉิมวย | ปศฺจิมวฺยย | วัยสุดท้ายของชีวิตก่อนตาย |
ปัจฉิมโอวาท | ปจฺฉิม+โอวาท | ปศฺจิม+อววาท | คำสั่งสอนสุดท้าย |
ปัจนึก | ปจฺจนีก | ปฺรติยนีก | ข้าศึก, ศัตรู |
ปัญญา | ปญฺญา | ปฺรชฺญา | ความรอบรู้ |
ปัญหา, ปริศนา | ปญฺห | ปฺรศฺน | คำถาม |
ปั้ดโธ่, พุทโธ่ | พุทฺโธ | (ไทย) คำอุทาน | |
ปัตตานึก | ปตฺตานีก | ปตฺติ+อนีก | กองทัพราบ, พลเดินเท้า |
ปัทมา, ปทุม | ปทุม | ปทฺม | บัว |
ปัทมากร | ปทุม+อากร | ปทฺม+อากร | สระ (บ่อเกิดแห่งบัว) |
ปัปผาสะ | ปปฺผาส | ปอด | |
ปัสสาวะ | ปสฺสาว | ปฺรสฺราว | เยี่ยว |
ปัสสาสะ | ปสฺสาส | ปฺร+ศฺวาส | การหายใจออก |
ปราจีน | ปาจีน | ปฺราจีน | ทิศตะวันออก |
ปาฏิบท | ปาฏิปท | ปฺริปทฺ | ค่ำหนึ่ง, (ไทย) บทเฉพาะ |
ปาฐก | ปาฐก | ปาฐก | ผู้พูด |
ปาราชิก | ปาราชิก | ปาราชิก | ผู้พ่ายแพ้ |
ปิติ | ปิติ | ปฺรีติ | ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี |
ปิตุจฉา | ปิตุจฺฉ | ปีตฺฤษฺวสฺฤ | ป้า, น้า |
ปิตุเรศ | ปิตุ+อิสฺสร | ปีตฺฤ+อีศฺวร | บิดา |
ปิยะ, เปีย | ปิย | ปฺรย | ที่รัก |
ปิเยารส, ปิโยรส | ปิย+โอรส | ปฺรย+เอารส | โอรสที่รัก |
ปุจฉา | ปุจฺฉา | ปฺฤจฺฉา | คำถาม |
บีฑา | ปีฬ | ปีฑ | ตี, เบียดเบียน, ทำร้าย. En. beat |
ปุถุชน | ปุถุชฺชน | ปฺฤถคฺชน | ประชาชน |
ปุโรหิต, ปโรหิต, ประโรหิต | ปุโรหิต | ปุโรหิต | ที่ปรึกษาของพระราชา |
เปตพลี | เปตพลี | เปฺรตพลี | การเซ่นสรวงที่ทําให้ผู้ตายไปแล้ว |
เปรต | เปต | เปฺรต | ผู้ที่ตายไปแล้ว, สัตว์อบายประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด |
เปรม | เปม | เปฺรม | ความรัก |
เปรมปรีดิ์ (เปฺรม-ปฺรี) | เปม+ปีติ | เปฺรม+ปฺรีติ | ความรัก + ความอิ่มใจ (ไทย) อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ |
ไปยาล | เปยฺยาลํ | เปยาล | เครื่องหมายละข้อความ |
ไปรษณีย์ | เปสนีย | เปฺรษณีย | สิ่งที่ควรส่งไป. (ไทย) การส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของเป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง |
ผ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ผลิตผล | ผลิต+ผล | ผลิต+ผล | ผลที่ผลิตออกมาแล้ว |
ผลึก | ผลิก, ผลิกา | สฺผฎิก | ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีขาวใส |
ผัสสะ | ผสฺส | การกระทบ, การถูกต้อง | |
ผาณิต | ผาณิต | ผาณิต | น้ำอ้อย, (น้ำตาล), น้ำอ้อยงบ |
ผาล | ผาล | ผาล | ผาล ชื่อเหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ |
ผาสุก | ผาสุ, ผาสุก | ความอิ่มใจ |
พ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
พงศาวดาร | วํส-อวตาร | วงฺศ-อวตาร | (ไทย) เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือกษัตริย์ ในเชิงตำนาน |
พจนีย์ | วจนีย | วจนีย | ที่ตั้งแห่งการพูด, ควรพูด, น่าสรรเสริญ |
พธู | วธู | วธู | หญิงสาว |
พนัสบดี | วนปฺปติ | วนสฺปติ | ไม้ใหญ่ที่สุดในป่า |
พยัคฆ์ | วฺยคฺฆ | วฺยาฆฺร | เสือ, เสือโคร่ง |
พยัญชนะ | วฺยญฺชน, พฺยญฺชน | วฺยญฺชน | ตัวหนังสือ |
พยากรณ์ | พฺยากรณ | วฺยากรณ | การแก้, การเฉลย, "ทำให้แจ้ง". (ไทย) ทำนาย |
พยาธิ | พฺยาธิ, วฺยาธิ | วฺยาธิ | (พะ-ยา-ทิ) ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ. (ไทย) (พะ-ยาด) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น พยาธิไส้เดือน |
พยาบาท | พฺยาปาท | วฺยาปาท | ผูกใจเจ็บ |
พยาบาล | วฺยา+ปาล | วฺยา+ปาล | (ไทย) ดูแลรักษาผู้ป่วย |
พยายาม | วายาม | วฺยายาม | พยายาม, ความเพียร |
พยุหยาตฺรา | พฺยูหยาตฺรา | วฺยูหยาตฺรา | การเดินไปเป็นหมู่, การเดินทัพ |
พยูห-, พยู่ห์ | วฺยูห, พฺยูห | วฺยูห | กระบวน, หมู่, ประชุม, กองทัพ |
พร | วร | วร | คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเองตามประสงค์ |
พรรษา | วสฺส | วรฺษ | ฝน |
พรหมจรรย์ | พฺรหฺมจริย | พฺรหฺมจรฺย | ความประพฤติอันประเสริฐ, การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น |
พรหมจารี | พฺรหฺมจารี, พฺรหฺมจาริณี | พฺรหฺมนฺ+จารินฺ | ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐ. (ไทย) หญิงที่ยังบริสุทธิ์ ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น. |
พฤกษ์ | รุกฺข | วฺฤกฺษ | ต้นไม้ |
พฤศจิกายน | วิจฺฉิก+อายน | วฺฤศฺจิก+อายน | (วฺฤศฺจิก แมงป่อง, อายน การมา) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีแมงป่อง |
พฤษภาคม | อุสภ+อาคม | วฺฤษภ+อาคม | (วฺฤษภ วัว, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีพฤษภ์ |
พฤหัสบดี | วิหปฺปติ | วฺฤหสฺปติ | ดาวพฤหัสบดี; ชื่อวันที่ 5 ของสัปดาห์. |
พละ | พล | พล | กำลัง, (ไทย) กำลังทหาร, ทหาร |
พสก | วสค | วศค | พลเมือง, ชาวเมือง. ผู้อยู่ในอํานาจ เช่น พสกนิกร (หมู่ของ~) |
พสุธา | วสุธา | วสุธา | แผ่นดิน |
พหุ, พหู | พหุ | พหุ | มาก |
พหูสูต | พหุสฺสุต | พหุ+ศฺรุต | ฟังมามาก |
พักตร์ | วตฺต | วกฺตร | หน้า, ปาก |
พัฒนา | วฑฺฒน | วรฺธน | การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดี |
พันธะ | พนฺธ | พนฺธ | การผูก, มัด, รัด. En. bond |
พัสตรา | วตฺถ | วสฺตฺร | ผ้า |
พาชี | วาชี | วาชี | ม้า |
พาณิช | วาณิช | วาณิช | พ่อค้า |
พาที | วาที | วาทินฺ | พูดจา |
พายุ | วาย วายุ | วายุ | ลม. (ไทย) ลมที่พัดรุนแรง |
พาล | พาล | พาล | อ่อน เขลา. (ไทย) คนชั่วร้าย, คนเกเร. |
พ่าห์ พาหะ | วาห | วาห | ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ตัวนำ(โรค) |
พาหนะ | วาหน | วาหน | เครื่องพาไป |
พาหา | พาหา | พาหา | แขน |
พาหุรัด | ภารต | (ไทย) ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่มีชาวอินเดียมาอาศัยอยู่มาก เข้าใจว่า เสียงเพี้ยนมาจากคำว่า ภารต (Bharata อินเดีย); เครื่องประดับที่ใช้สวมรัดต้นแขน=ทองต้นแขน. | |
พาเหียร | พาหิร พาหิรา | พหฺย พหิสฺ | ภายนอก |
พิกุล | วกุล | วกุล | ดอกพิกุล |
พิจารณา | วิจารณ วิจารณา | วิจารณา | ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน |
พิชิต | วิชิต | วิชิต | ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว |
พิณ | วีณา | วีณา | เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง |
พิทักษ์ | วิ+ทกฺข | วิ+ทกฺษ | ทักษะ, ขยัน, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ. (ไทย) ดูแลคุ้มครอง. |
พิธี | วิธิ | วิธิ | งานที่จัดขึ้นตามลัทธิเพื่อความขลัง |
พิมาน | วิมาน | วิมาน | ที่อยู่ของเทวดา |
พิมพ์ | พิมฺพ | พิมฺพ | แบบ (รูป), รูปดวงจันทร์; รูปเปรียบ. (ไทย) ถ่ายแบบ เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่างๆ หรือทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใดๆ. |
พิรุณ | วรุณ | วรุณ | ฝน |
พิศวาส | วิสฺสาส | วิศฺวาส | ความคุ้นเคย, ความวางใจ, ความรักใคร่ |
พิเศษ | วิเสส | วิเศษ | ยิ่งกว่าปกติ, แปลกกว่าสามัญ |
พิสดาร | วิตฺถาร | วิสฺตาร | กว้างขวาง, ละเอียด |
พิสุทธิ์ | วิสุทฺธิ | วิศุทฺธิ | สะอาด, บริสุทธิ์, ใส, ขาว |
พืช | พีช | พีช | พืช, พันธุ์ไม้ |
พุทธ | พุทฺธ | พุทฺธ | ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้ |
พุธ | พุธ | พุธ | ผู้รู้; ดาวพุธ; พุธวาร ชื่อวันที่ 4 แห่งสัปดาห์. |
พุทธันดร | พุทฺธ+อนฺตร | พุทฺธ+อนฺตร | ในระหว่าง(สมัย, กาล ของ)พระพุทธเจ้า(พระองค์หนึ่งๆ) |
พุทธางกูร | พุทฺธ+องฺกุร | พุทฺธ+องฺกุร | เชื้อสายของพระพุทธเจ้า (องฺกุร หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย) |
พุทรา (พุด-ซา) | พทร | พทร | ผลไม้ชนิดหนึ่ง. (ไทย) เติมสระอุ (และสระอา) |
เพชฌฆาต | วชฺฌ+ฆาต | วธฺย+ฆาต | ผู้ประหารชีวิตนักโทษ |
เพชร | วชิร | วชฺร | เพชร |
เพดาน | วิตาน | วิตาน | สิ่งที่ดาดเบื้องบนในห้อง |
เพ็ดทูล | วจน+ทูล | วจน+ทูล | คำบอก (แก่พระเจ้าแผ่นดิน). วจน 'คำ' > ปึ๊จ (สำเนียงเขมร) + ทูล 'บอก' (เขมร) |
เพลา | เวลา | เวลา | เวลา. (ไทย) แกนที่สอดในดุมล้อรถ/เกวียน ให้หมุนได้; เบาลง, เบาพอประมาณ. |
แพทย์ | เวชฺช | ไวทฺย | หมอ |
แพศย์ | เวสฺส | ไวศฺย | พ่อค้า; วรรณะพ่อค้า (ในวรรณะ 4) |
แพศยา | เวสิยา | เวศฺยา | โสเภณี |
โพธิ์ | โพธิ | โพธิ | รู้ |
ไพฑูรย์ | เวฬุริย | ไวฑูรฺย | แก้วชนิดหนึ่ง |
ไพบูลย์ | เวปุลฺลํ | ไวปุลฺย | ความเต็มเปี่ยม, ความกว้างขวาง |
ไพรี, ไพริน | เวรี | ไวรินฺ | ผู้มีเวร, ศัตรู |
ไพศาล | วิสาล | วิศาล | กว้างวิเศษ (กว้างขวาง) |
ภ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ภมร, ภุมรา | ภมร | ภฺรมร | แมลงผึ้ง |
ภรรยา, ภริยา | ภริยา | ภรฺยา | เมีย |
ภักษา | ภกฺข | ภกฺษ | อาหารการกิน |
ภัณฑุปกรณ์ | ภณฺฑ+อุปกรณ | ภาณฺฑ+อุปกรณ | อุปกรณ์คือสิ่งของ |
ภัทร | ภทฺท ภทฺร | ภทฺร | เจริญ |
ภัศดา | ภตฺตา | ภรฺตฺฤ | ผัว ‘ผู้เลี้ยง’ |
ภราดา | ภาตา (ภาตุ) | ภฺราตฺฤ | พี่น้องชาย En. brother |
ภาพ | ภาว | ภาว | ความมี, ความเป็น เช่น ภราดรภาพ ความเป็นพี่น้องกัน. (ไทย) รูปที่ปรากฏเห็น, รูปที่วาดขึ้น |
ภาค | ภาค | ภาค | ส่วน |
ภาคภูมิ | ภาค+ภูมิ | (ไทย) มีสง่า, ผึ่งผาย. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ส่วนแห่งแผ่นดิน, แผ่นดินที่เป็นภาคหรือเป็นส่วนๆ) | |
ภาคิไนย | ภาคิเนยฺย | ภาคิเนย | หลาน |
ภาวนา | ภาวนา | ภาวนา | ทำให้มี, ให้เป็น |
ภาวะ | ภาว | ภาว | ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ |
ภาษา | ภาสา | ภาษา | เสียงใช้พูดกัน |
ภิกขุ | ภิกฺขุ | ภิกฺษุ | ภิกษุ |
ภิญโญ | ภิยฺโย ภีโย | ภูยสฺ | ยิ่ง, ยิ่งขึ้นไป |
ภิรมย์ | อภิรมฺม | อภิ+รมฺย | ยินดียิ่ง, ดีใจยิ่ง. (ไทย) อภิรมย์ ตัด อ. |
ภีม | ภีม | ภีษฺม | อันน่ากลัว |
ภูธร | ภูธร | ภูธร | พระราชา; ภูเขา ‘ทรงไว้ซึ่งแผ่นดิน’. (ไทย) ตำรวจภูธร คือตํารวจทำหน้าประจำนอกกรุงเทพฯ |
ภูมิ | ภูมิ | ภูมิ | แผ่นดิน. (ไทย) + (พูม) พื้น, ชั้น, พื้นเพ, ความรู้ เช่น อวดภูมิ/อมภูมิ; สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย เช่น วางภูมิ. |
ภูมิใจ | ภูมิ+ | ภูมิ+ | (ไทย) กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ. |
ภูมิฐาน | ภูมิ+ฐาน | ภูมิ+ | (ไทย) มีสง่า, ผึ่งผาย. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ส่วนแห่งแผ่นดิน, แผ่นดินที่เป็นภาคหรือเป็นส่วนๆ) |
ภูมิภาค | ภูมิ+ภาค | ภูมิ+ภาค | ส่วนของแผ่นดิน, ภาคพื้น. (ไทย) หัวเมือง; (ภูมิศาสตร์) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมืองคล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ. |
ม
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
มกราคม | มกร+อาคม | มกร+อาคม | (มกร มังกร, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 1 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีมังกร |
มงกุฎ | มกุฏ | มกุฎ, มุกุฎ | เครื่องสวมศีรษะ. (ไทย) มกุฏ เติม ง. |
มงคล | มงฺคล | มงฺคล | เป็นความดีงาม |
มณฑก | มณฺฑูก | มณฺฑูก | กบ |
มณฑป | มณฺฑป | มณฺฑป | เรือนยอด |
มณฑล | มณฺฑล | มณฺฑล | กลม, รูปดวงจันทร์. (ไทย) บริเวณ. |
มณเฑียร มนเทียร | มนฺทิร มณฺฑิร | มนฺทิร | เรือน, เรือนหลวง, เมือง, เมืองหลวง |
มติ | มติ | มติ | ความเห็น |
มนต์, มนตร์ | มนฺต | มนฺตฺร | บทสำหรับสวด |
มนุษย์ | มนุสฺส | มนุษฺย | คน. En. man (มนู) |
มนุษยชาติ | มนุสฺสชาติ | มนุษฺยชาติ | มนุษย์ |
มโนภาพ | มน+ภาว | มนสฺ+ภาว | (ไทย บัญญัติ) ภาพที่เกิดทางใจ, ความคิดเห็นที่เกิดเป็นภาพขึ้นในใจ |
มโนรถ | มโนรถ | มโนรถ | ความปรารถนาแห่งใจ, ความประสงค์ |
มโนรม | มโนรม | มโนรม | เป็นที่ชอบใจ, งาม |
มรณะ | มรณ | มรณ | การตาย, ความตาย. (ไทย) มักนำไปใช้เขียนบอกวันเกิด-ตาย ในงานศพ เช่น ชาตะ-มรณะ (แปลว่า เกิดแล้ว-การตาย) ความจริง ควรใช้ว่า ชาตะ-มตะ (แปลว่า เกิดแล้ว-ตายแล้ว) เพราะเป็นศัพท์กิริยาเช่นเดียวกัน. En. mortal (มต) |
มรรค | มคฺค | มารฺค | หนทาง |
มรรคนายก | มคฺคนายก | มารฺคนายก | ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. |
มฤธุ | มธุ | มฤธุ | น้ำผึ้ง |
มวย | มว | มวฺยฺ | ผูก, มัด |
มหรรณพ | มหา+อณฺณว | มหา+อรฺณว | ห้วงน้ำใหญ่ |
มหัศจรรย์ | มหา+อจฺฉริย | มหา+อาศฺจรฺย | แปลกประหลาดมาก |
มหาผล | มหาผล | มหาผล | ผลใหญ่ |
มหาราชา | มหา+ราช | มหา+ราชนฺ | พระราชาใหญ่ |
มหินทร์ | มหา+อินฺท | มหา+อินฺทฺร | ผู้ยิ่งใหญ่ |
มเหสี | มเหสี | มหิษี | นางกษัตริย์, มเหสี; เทวี, ชายาพระเจ้าแผ่นดิน. |
มเหาฬาร, มโหฬาร | มหา+โอฬาร | ยิ่งใหญ่ | |
มโหสถ | มหา+โอสถ | มหา+โอสธ | ยาอันวิเศษ |
มไหศูรย์ | มหา+อิสฺสร | มหา+อีศฺวร | ความเป็นใหญ่มาก |
มัคคุเทศก์ | มคฺค+อุทฺเทส | มารฺค+อุทฺเทศ | ผู้นำทาง, ผู้นำแสดง |
มัคนายก | มคฺคนายก | มรฺคนายก | (คฤหัสถ์) ผู้นำทาง ชี้แจงทางบุญทางกุศล โดยเฉพาะในวัด |
มังกร | มกร | มกร | ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง. (ไทย) มกร เติม ง สะกด. |
มังสะ | มํส | มามฺส | เนื้อ |
มัจจุ, มฤตยู | มจฺจุ | มฺฤตฺยุ | ความตาย |
มัจฉา, มัศยา | มจฺฉ | มตฺสฺย | ปลา |
มัชช, ประมาท, มาทน์ | มชฺช ปมาท มทน | มทฺย ปฺรมาท มทน | เมา, ประมาท |
มัชฌิม, มัธยม | มชฺฌิม | มธฺยม | กลาง. En. media, medium |
มัธยฐาน | มชฺฌ+ฐาน | มธฺย+สฺถาน | เส้นแบ่งครึ่งฐาน. (คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลางของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น. |
มัธยัสถ์ | มชฺฌ+ฐา | มธฺยสฺถ | ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ปานกลาง. (ไทย) ใช้จ่ายอย่างประหยัด. |
มาตุรงค์ | มาตุ+? | แม่, (มาตุลุงฺโค มะงั่ว) | |
มานะ | มาน | มาน | ความถือตัว (เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง มี 16 อย่าง เช่น ถือตัวว่าดีกว่าเขา เสมอกับเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น). (ไทย) มีความอดทน. |
มานุษยวิทยา | มานุส-วิชฺชา | มานุษฺย-วิทฺยา | วิชาว่าด้วยเรื่องมนุษย์ มนุษย์ในสังคม |
มายา | มายา | มายา | การลวง, การแสร้งทํา. |
มายาคติ | มายา+คติ | มายา+คติ | (ไทย บัญญัติ) คติความเชื่อหรือทัศนคติที่ไม่เป็นความจริง (myth) |
มายูร | มายุร | มายูร | ฝูงนกยูง |
มารดา (มาน-ดา) | มาตา (มาตุ) | มาตฺฤ | แม่. (ไทย) เติม ร. |
มารยา (มาน-ยา) | มายา | มายา | การลวง, การแสร้งทํา. (ไทย) มายา เติม ร. |
มารยาท | มริยาทา | มรฺยาทา | ขอบเขต, เขตแดน. (ไทย) กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพถูกกาลเทศะ ไม่เกินขอบเขตมาตรฐานที่กำหนด |
มาลา | มาลา | มาลา | ระเบียบดอกไม้, มาลัย |
มาลี | มาลี | มาลินฺ | ระเบียบ, ดอกไม้ |
มิจฉา | มิจฺฉา | มิถฺยา | ผิด. En. mis- |
มิติ | มิต | มิต | (ไทย) การวัด, การนับ |
มีนาคม | มีน+อาคม | มีน+อาคม | (มีน ปลา, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 3 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีมีน |
มิสสกวัน | มิสฺสกวน | มิศฺรวน | ชื่อป่าหรือสวนของพระอินทร์ มีไม้ต่างๆ ระคนกัน. En. mixed forest |
มุกดา | มุตฺตา | มุกฺตา | แก้วมุกดา |
มุข | มุข | มุข | หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า, หัวข้อ. (ไทย) ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า; มุขตลก เรื่องตลก (gag) |
มุทิตา | มุทิตา | มุทิตา | ความเป็นผู้พลอยยินดี |
มุนินทร์ | มุนิ+อินฺท | มุนิ+อินฺทฺร | จอมมุนี, จอมปราชญ์ |
มุนี | มุนิ | มุนิ | ผู้รู้, นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์ |
มุสาวาท | มุสาวาท | มฺฤษา+วาท | กล่าวเท็จ |
มิตร | มิตฺต | มิตฺร | เพื่อน, มิตร |
มิถุนายน | มิถุน+อายน | มิถุน+อายน | (มิถุน คู่ชายหญิง, อายน การมา) ชื่อเดือนที่ 6 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีมิถุน |
เมตตา ไมตรี | เมตฺตา | ไมตฺร ไมตฺรี | ความเป็นเพื่อน, ความเป็นมิตร |
เมรัย | เมรย | ไมเรย | เหล้าหมัก |
เมรุ (เมน), เมรุ- (เม-) | เมรุ | เมรุ | ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่. (ไทย) ที่เผาศพเลียนแบบเขาพระสุเมรุ. |
เมษายน | เมณฺฑ+อายน | เมษ+อายน | (เมษ แกะ, อายน การมา) ชื่อเดือนที่ 4 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีเมษ |
โมกษะ, โมกข์ | โมกฺข | โมกฺษ | ความหลุดพ้น |
โมลี, เมาลี | โมลิ | เมาลิ | ผม, มวยผม, ส่วนที่สูง |
โมโห | โมห | โมห | โมหะ, หลง, เขลา, โง่. (ไทย) โกรธ. |
ย
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ยถา | ยถา | ยถา | ฉันใด, ตาม... |
ยนต์, ยนตร์ | ยนฺต | ยนฺตฺร | เคลื่อนไหวด้วยกลไก |
ยศ | ยส | ยศสฺ | ยกย่องนับถือเกียรติของตน, ฐานันดรที่ตั้งให้แก่บุคคล มีสูงต่ำตามลำดับ. |
ยโส | ยส | ยศสฺ | ดู ยศ. (ไทย) เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ ฯลฯ. |
ยโสธร | ยโสธร | ยศสฺ+ธร | ผู้ทรงไว้ซึ่งยศ, ทรงยศ |
ยาจก | ยาจก | ยาจก | ผู้ขอ. (ไทย) เติม กระ- เป็น กระยาจก บ้าง. |
ยาตรา | ยาตฺรา | ยาตฺรา | การเลี้ยงชีวิต, การยังชีวิตให้เป็นไป; การเดิน, การเดินทัพ |
ยุติ | ยุตฺติ | ยุกฺติ | ชอบ, ถูกต้อง. (ไทย) ตกลง, จบ, เลิก. |
ยุติธรรม | ยุตฺติ+ธมฺม | ยุกฺติ+ธรฺม | ชอบธรรม, ความถูกต้อง. (ไทย) ความเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง. |
ยุทธภูมิ | ยุทฺธ+ภูมิ | ยุทฺธ+ภูมิ | สนามรบ |
ยุพเรศ | ยุว+อิสฺสร | ยุวนฺ+อีศวร | (ไทย) ชายหนุ่มหญิงสาว (ผู้เป็นใหญ่), นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย |
เยาว์ | ยุว | ยุวนฺ | หนุ่ม, รุ่น. En. youth, young |
เยาวเรศ | ยุว+อิสฺสร | ยุวนฺ+อีศวร | (ไทย) ชายหนุ่มหญิงสาว (ผู้เป็นใหญ่), นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย |
โยค, โยชน์ | โยค, โยชน | โยค, โยชน | ประกอบ. En. yoke |
โยธา | โยธ โยธี | โยธ โยธินฺ | นักรบ, ทหาร, (ไทย) นักรบ, งานที่ใช้กําลังกายก่อสร้าง |
ร
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
รณรงค์ | รณ+รงฺค | การรบ; สนามรบ, ต่อสู้. (ไทย) โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น รณรงค์หาเสียง. ลบ ร เหลือ ณรงค์ ก็มี (=campaign) | |
รถยา, รัจฉา | รจฺฉา | รถฺยา | ทางเดิน, ถนน, ตรอก |
รถานึก | รถานีก | รถานีก | กองทัพรถ, พลรถ |
รมย์ | รมฺม | รมฺย | ยินดี, รื่นรมย์ |
รวี, รพี | รวิ | รวิ | พระอาทิตย์ |
รหัส | รโห | รหสฺ | ความลับ. (ไทย) เครื่องหมายหรือสัญญาณลับ … |
รโหฐาน | รโห+ฐาน | รหสฺ+สฺถาน | ที่ลับ. (ไทย มักเข้าใจผิดว่าแปลว่า ใหญ่โต โดยนึกว่ามากจากคำว่า ใหญ่โตรโหฐาน แต่จริงๆ เป็น ใหญ่โตมโหฬาร) |
รักษา, รักขา | รกฺข | รกฺษ | คุ้มครองป้องกัน |
รังสี | รํสิ รสฺมิ | รศฺมิ | แสง, แดด; เชือก. (ไทย) ลำแสง (=ray). |
รัชดาภิเษก | รชต+อภิเสก | รชต+อภิเษก | พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติครบ 25 ปี. |
รัฐ | รฏฺฐ | ราษฺฏร | แคว้น |
รัฐบุรุษ | รฏฺฐ+ปุริส | ราษฺฏร+ปุรุษ | คนสำคัญของประเทศ |
รัตนะ | รตน | รตฺน | แก้ว |
รัศมี | รํสิ รสฺมิ | รศฺมิ | แสง, แดด; เชือก. (ไทย) ลำแสง (=ray). |
ราชูปโภค | ราช+อุปโภค | ราชนฺ+อุปโภค | เครื่องใช้สอยของพระราชา |
รามเกียรติ์ | ราม+กิตฺติ | ราม+กีรฺติ | ชื่อเสียงของพระราม; เรื่องที่ดัดแปลงจากวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย ที่ชื่อว่า รามายณะ (แปลว่า เรื่องราวของพระราม) |
ราษฎร | รฏฺฐ | ราษฺฏร | ผู้อยู่ในแคว้น, ชาวเมือง |
รำไพ | รวิ | รวิ | ดวงอาทิตย์. (ไทย) งามผุดผ่อง |
ริษยา | อิสฺสา | อีรฺษฺยา | ความรู้สึกไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี |
รีต | ดู จารีต | ||
รุกข์, พฤกษ์ | รุกฺข | วฺฤกฺษ | ต้นไม้ |
รุจี | รุจิ | รุจิ | ความรุ่งโรจน์ |
โรค, โรคา | โรค | โรค | สิ่งที่เบียดเบียน |
ฤ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฤกษ์ (เริก) | ฤกฺษ | หมี; ดาวจรเข้, ดาวนพเคราะห์. (ไทย) คราวหรือเวลาที่กําหนดหรือคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย; ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง. | |
ฤดู, อุตุ | อุตุ | ฤตุ | ฤดู, ดินฟ้าอากาศ. (ไทย ปาก) +สบาย เช่น นอนหลับอุตุ. |
ฤทธิ | อิทฺธิ | ฤทฺธิ | ฤทธิ์, อิทธิ |
ฤทัย | หทย | หฺฤทย | หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห, ตัด หฤ เช่น พระทัย. En. heart |
ฤษี ฤๅษี | อิสิ | ฤษิ | นักบวชผู้อยู่ในป่า |
ล
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ลัคนา | ลคฺคน | ลคฺน | เกี่ยวข้อง, (โหร) เกี่ยวข้อง |
ลัดดา | ลตา | ลตา | ไม้เลื้อย, เถาวัลย์ |
ลามก | ลามก | หยาบช้าต่ำทราม. (ไทย) สิ่งที่ดูสกปรกหยาบคาย โดยเฉพาะในเรื่องเพศ | |
ลิขสิทธิ์ | ลิข+สิทฺธิ | (บัญญัติ) สิทธิแต่ผู้เดียวในสิ่งที่ตนได้คิดเขียนขึ้นมาเอง ลิขสิทธิ์ในสิ่งนั้นๆ เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องมีดำเนินการใดๆ ทางกฎหมายเสียก่อน แต่การคุ้มครองตามกฎหมายก็มีเงื่อนไข ระยะเวลา กำหนดไว้ด้วย. En. copyright | |
ลีลา | ลีลา | ลีลา | เยื้องกราย, ทำนองงาม, ท่าทางอันงาม เช่น พุทธลีลา ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง. |
ลีลาศ | ลีลา | ลีลา | (ไทย) เติม ศ, เต้นรําแบบตะวันตกบางชนิด. |
ลึงค์ | ลิงฺค | ลิงฺค | เพศ, เครื่องหมายเพศ |
เลข, เลขา | เลขา | เลขา | รอยขีดเขียน |
เลขานุการ | เลขา+อนุการ | เลขา+อนุการ | ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ จดหมายโต้ตอบ ในสำนักงาน หรืออื่นๆ |
เล่ห์ | ลิหฺ (เลีย) | กลอุบาย | |
โลก, โลกย, โลกีย์ | โลก โลกิย | โลก เลากฺย | เห็น |
โลกันต์ | โลกนฺต | โลกนฺต | ที่สุดแห่งโลก |
โลกาภิวัตน์ | โลก+อภิวตฺตน | การแพร่กระจายไปทั่วโลก. En. globalization | |
โลภ | ลุภ โลภ | โลภ | รัก, อยากได้, กำหนัด, โลภ. En. love |
ว
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
วงกต | วงก วงฺกต | วกฺร | ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้นๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี |
วชิราวุธ | วชิร+อาวุธ | วชฺร+อายุธ | อาวุธคือสายฟ้า (ของพระอินทร์) |
วนาดร | วน+อนฺตร | ในป่า. (ไทย) วนาดอน ป่าสูง = วนา+ดอน. พนาดร ก็ว่า | |
วนิดา | วนิตา | วนิตา | หญิงสาว |
วรรค, พรรค | วคฺค | วรฺค | ตอน, พวก, หมู่ |
วม วมน | วมน | อาเจียน. En. vomit | |
วรรณ, พรรณ | วณฺณ | วรฺณ | สี, ผิว |
วรวิหาร | วร+วิหาร | วร+วิหาร+ย | ที่อยู่อันประเสริฐ. (ไทย) คำต่อท้ายชื่อวัด บอกว่าเป็นพระอารามหลวง ประเภทหนึ่ง. |
วโรกาส | วร+โอกาส | วร+โอกาศ | โอกาสอันประเสริฐ |
วสันต์ | วสนฺต | วสนฺต | ฤดูใบไม้ผลิ |
วัฏฏะ, วัฏ | วฏฺฏ | วฺฤตฺต | กลม, วน, หมุน |
วัฒนา | วฑฺฒน | วรฺธน | ความเจริญ |
วัณโรค | วณ+โรค | โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น. (วณ แผล, ฝี) | |
วัลลภ | วลฺลภ | วลฺลภ | คนคุ้นเคย, คนสนิท; คนน่ารัก น่าเอ็นดู; คนดูแลกิจการ |
วาจา | วาจา | วาจา | คำพูด |
วานร | วานร | วานร | ลิง |
วาระ | วาร | วาร | ผู้กำหนด, ปิดกั้น |
วาสนา (วาด-สะ-หฺนา) | วาสนา | วาสนา | อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล สั่งสมมานานจนเคยชินเป็นบุคคลิกเฉพาะ เช่น คำพูดติดปาก การเดินเร็วๆ หรือล่อกแล่ก. (ไทย) อำนาจบุญเก่า, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี มีพ่อแม่ร่ำรวย. ดู วาสนา |
วิกฤต วิกฤติ (วิ-กฺริด) | วิกติ | วิกติ | ทำให้แปลก, ทำให้วิเศษ, ทำให้หลากหลาย, การเปลี่ยนแปลง. (ไทย) อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย. |
วิกล | วิกล | วิกล | ขาดแคลน, (ไทย) ผิดแบบ |
วิการ | วิการ | วิกาล | ผิดหน้าที่ |
วิกาล | วิกาล | วิกาล | ผิดเวลา |
วิเคราะห์ | วิคฺคห | วิคฺรห | "ถือแยก" แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้เห็นชัดเป็นต้น. (เทียบ สงเคราะห์ "ถือรวม" รวบรวม) |
วิจัย | วิจย | วิจย | การรวบรวมข้อมูลเพื่อลงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง |
วิจารณ์ | วิจารณ วิจารณา | วิจารณา | ตรอง, ใคร่ครวญ, พินิจ. (ไทย) ติชม |
วิจิตร | วิจิตฺต | วิจิตฺร | งดงาม |
วิชชุ | วิชฺชุ | วิทฺยุตฺ | สายฟ้า, ฟ้าแลบ |
วิชัย | วิชย | วิชย | ชนะ "ชนะวิเศษ" |
วิชา | วิชฺชา | วิทฺยา | ความรู้ |
วิเชียร | วชิร | วชฺร | เพชร, สายฟ้า |
วิญญาณ | วิญฺญาณ | วิชฺญาน | ความ รับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา. (ไทย) สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ (ขัดกับหลักพระพุทธศาสนา) |
วิญญู, วิญญชน | วิญฺญู | วิชฺญ | ผู้รู้, ผู้รู้แจ้ง |
วิตก | วิตกฺก | วิตรฺก | ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ไทย) เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล |
วิตถาร พิสดาร | วิตฺถาร | วิสฺตาร | กว้าง, กว้างขวาง. (ไทย) แปลก, นอกทาง. |
วิถี | วีถิ | วีถี | ถนน |
เวท | เวท | เวท | ญาณ, ความรู้, คัมภีร์หลักของพราหมณ์ฮินดู |
วิทย์, วิทยา | วิชฺชา | วิทฺยา | ความรู้ |
วิทยุ | วิชฺชุ | วิทฺยุตฺ | สายฟ้า. (ไทย บัญญัติ) เครื่องรับและส่งเสียงหรือรูปด้วยกระแสไฟฟ้า |
วิธี | วิธิ | วิธิ | ทำนองหรือวิธีที่จะทำ |
วินัย | วินย | วินย | หลักนำความประพฤติของบุคคล |
วินาศ | วินาส | วินาศ | พินาศ, ความป่นปี้, ความฉิบหาย |
วินิจ | วินิจฺฉย | วินิศฺจย | ตรวจดูอย่างละเอียด |
วิบาก | วิปาก | วิปาก | ผล, ผลกรรมดีชั่วที่มาให้ผล. (ไทย) ลำบาก |
วิบูล | วิปุล | วิปุล | กว้างขวาง, มาก, เต็มวิเศษ, พรั่งพร้อม, ไพบูลย์ |
วิปโยค | วิปฺปโยค | วิปฺรโยค | ความพลัดพราก |
วิปริต | วิปรีต | วิปรีต | ผิดปกติ |
วิปลาส (วิบ-ปะ-ลาด) | วิปลฺลาส วิปริยาส | วิปรฺยาส | คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส อักขรวิปลาส สัญญาวิปลาส. (ไทย) มักใช้ในความหมายว่า บ้า. |
วิปัสสนา | วิปสฺสนา | วิปศฺยนา, วิทรฺศนา | ความเห็นแจ้ง |
วิภาค | วิภาค | วิภาค | การแบ่ง, การจำแนก, ส่วน |
วิมุข | วิมุข | วิมุข | ข้างหลัง |
วิริยะ | วิริย | วีรฺย | ความเพียร |
วิโรฒ, วิรุฬห์ | วิรุฬฺห | วิรูฒ | เจริญ, งอกงาม |
วิวัฒน์ | วิ+วฑฺฒน | วิ+วรฺธน | เจริญ, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ |
วิวาห์ | วิวาห | วิวาห | วิวาหะ, งานบ่าวสาว |
วิเวก | วิเวก | วิเวก | ความสงัด |
วิเศษ | วิเสส | วิเศษ | ยอมเยี่ยม, เลิศลอย, มีฤทธิ์ |
วิสัญญี | วิสญฺญี | วิสญฺชฺณินฺ | หมดความรู้สึก (สิ้นสติ, สลบ) |
วิสามัญ | วิสามญฺญ | วิสามานฺย | ไม่ใช่ปรกติ, ไม่ธรรมดา |
วิสาสะ | วิสฺสาส | วิศฺวาสิก | ความคุ้นเคย |
วิหค | วิหค | วิหค | นก |
วุฒิ | วุฑฺฒิ | วฺฤทฺธิ | ผู้เฒ่า, ผู้เจริญ; แก่ เป็นไปในอรรถคือ 1.เถร (คนแก่) 2.ปณฺฑิต (ผู้รู้) ความเจริญ, ความเป็นผู้ใหญ่. (ไทย) +ภูมิรู้; |
เวทนา | เวทนา | ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์. (ไทย) ความสงสาร. | |
เวที | เวที | เวที | แท่นที่วางเครื่องสักการะ, ที่บูชา, ที่ยกพื้นทั่วไปเพื่อการแสดงต่างๆ |
เวที | เวที | เวทินฺ | ผู้รู้, นักปราชญ์ |
เวไนย | เวเนยฺย | ไวเนย | ผู้แนะนำได้ |
เวโรจน์, วิโรจน์ | วิโรจน | วิเรจน | รุ่งเรืองวิเศษ (สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง) |
เวสสันดร | เวสฺสนฺตร | ไวศฺยานฺตร, วิศฺวานฺตร | ผู้ข้ามซึ่งตรอกพ่อค้า, นามพระโพธิสัตว์ชาติที่ 10 ในทศชาติ, โดยปริยาย (โดยอ้อม) หมายถึง ผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด |
เวฬุ | เวฬุ | เวณุ | ไม้ไผ่ |
ไวยากรณ์ | เวยฺยากรณ | วฺยากรณ | ตำราไวยากรณ์ |
ศ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ศก | สก | ศก | ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปีๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เช่น รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปีหนึ่งๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 1 2 ... หรือ 0 เช่น ถ้าลงท้ายด้วย 1 เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย 2 เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ภาษาพูด) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. |
ศพ | สว | ศว | ร่างคนตาย |
ศรี | สิริ, สิรี | ศฺรี | สิริ, สิริมงคล |
ศรีสะเกษ | สีส/สิรส+เกส | ศิรฺษ+เกศ | ชื่อจังหวัด. เดิมชื่อจังหวัดขุขันธ์ เปลี่ยนเป็น ศีร์ษะเกษ (ศรีษะ+ผม) แล้วกลายมาเป็น ศรีสะเกษ. บ้างว่ามาจาก ศรีสระเกศ (สระน้ำ) ศรีสะเกษ (สระผม) |
(พระ)ศรีอารยเมตไตรย | สิริอริยเมตฺเตยฺย | ศฺรีอารฺยเมไตรฺย | เมตเตยยะ พระนามพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จอุบัติเป็นพระองค์ที่ 5 ต่อจากพระพุทธเจ้าโคตมะของเรา ในภัททกัปนี้. (ปาก) พระศรีอารย์. |
ศักดานุภาพ | สตฺติ+อานุภาว | ศกฺติ+อานุภาว | อานุภาพแห่งอำนาจ |
ศักดิ์ ศักดา | สตฺติ | ศกฺติ | หอก, อำนาจ |
ศักย์, ศักยะ | สกฺก | ศกฺย, ศกฺต | อาจ; สมควร, เหมาะสม. (ไทย ไฟฟ้า) พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์. |
ศัพท์ | สทฺท | ศพฺท | เสียง. En. sound |
ศัลย- | สลฺล | ศลฺย | ลูกศร, ของมีปลายแหลม. เช่น ศัลยกรรม การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด |
ศัสตรา (สัด-ตฺรา) ศัสตราวุธ | สตฺถ | ศสฺตฺร | มีด, หอก, อาวุธ. |
ศาลา | สาลา | ศาลา | โรง, เรือน, ศาลา. (ไทย) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรืออื่นๆ. |
ศาสดา | สตฺถา [สตฺถุ] | ศาสฺตา ศาสตฺฤ | ผู้สอน, ครู; ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง 6 (สตฺถาโร), คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา (สตฺถา). |
ศาสตร์ | สตฺถ | ศาสฺตฺร | หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา. (ไทย) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์. |
ศาสตรา (สาด-ตฺรา) | สตฺถ | ศสฺตฺร | มีด, หอก, อาวุธ. |
ศาสตราจารย์ (สาด-ตฺรา-, สาด-สะ-ตฺรา-) | สตฺถาจริย | ศาสตฺราจารฺย | อาจารย์ผู้มีความรู้ในคัมภีร์ ตำรา ศาสตร์. (ไทย บัญญัติ.) ตําแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา. (มักออกเสียงผิดเป็น สาด-สะ-ดา-จาน) |
ศาสน- ศาสนา | สาสน | ศาสน | คำสอน, คำสั่งสอน; (ไทย) ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์. |
ศาสนิก | สาสนิก | ศาสนิก | ผู้นับถือศาสนา |
ศิระ | สิร | ศิรสฺ | ศีรษะ, หัว |
ศิโรราบ | สิร+"ราบ" | ศิรสฺ+"ราบ" | (ไทย) กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม, ยอมแพ้และอยู่ใต้อำนาจ, "หัวก้มราบลงไป". |
ศิโรเวฐน์ | สิร+เวฐน | ศิรสฺ+เวษฺฏฺ | ผ้าโพกหัว |
ศิลปะ | สิปฺป | ศิลฺป | ฝีมือทางช่าง |
ศิษย์ | สิสฺส | ศิษฺย | ผู้เรียนด้วย |
ศีรษะ | สีส | ศีรฺษ | หัว, สีสะ |
ศีลธรรม | สีล+ธมฺม | ศีล+ธรฺม | (ไทย) ความประพฤติที่ดีที่ชอบ. |
ศึกษา | สิกฺขา | ศิกฺษา | การฝึกฝนอบรม, สิกขา. (ไทย) การเล่าเรียน. |
ศุกร์ | สุกฺก | ศุกฺร | ดาวศุกร์; ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์ |
ศูนย์ | สุญฺญ | ศูนฺย | ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) เลขศูนย์, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม |
เศรษฐี | เสฏฺฐี | เศฺรษฐี | คนมีเงิน(มาก), "ผู้ประเสริฐ/เลิศ(ด้วยทรัพย์สินเงินทอง)" |
เศรษฐกิจ | เสฏฺฐ+กิจฺจ | เศฺรษฺฐ+กฺฤตฺย | (ไทย) การผลิตการบริโภค |
เศวต | เสต | เศฺวต | ขาว, สีขาว |
เศวตคช, คชเศวต | เสตคช, คชเสต | เศฺวตจฺคช | ช้างสีขาว, ช้างเผือก |
เศวตฉัตร | เสตฉตฺต | เศฺวตจฺฉตฺร | ร่มสีขาว, ฉัตรขาว |
เศียร | สิร | ศิรสฺ | หัว |
โศก | โสก | โศก | ความทุกข์, ความเศร้า. (ไทย) ต้นอโศก ตัดพยางค์หน้า เป็น โศก, สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก. |
ส
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
สกนธ์ | ขนฺธ | สฺกนฺธ | ขันธ์; คอ; ตัว, กาย |
สกุณา | สกุณ | ศกุน | นก |
สกุล | กุล | กุล | วงศ์, เชื้อสาย, เชื้อชาติผู้ดี |
สงกร, สังกร | สงฺกร | สํกร | "ทำพร้อม" (การปะปน, การคาบเกี่ยว) |
สงกรานต์ | สงฺกนฺต | สงฺกฺรานฺติ | วันเคลื่อนย้ายราศีของดวงอาทิตย์. เทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างเก่า กำหนดตามสุริยคติ |
สงกา | สงฺกา | ศงฺกา | สงสัย |
สงฆ์ | สงฺฆ | สํฆ | หมู่ |
สงสัย | สํสย | สํศย | สงสัย |
สงสาร | สํสาร | สํสาร | การวนเวียน(ตายเวียนเกิด), การท่องเที่ยว(ตายเกิดในภพ 3). (ไทย) เห็นใจ ในความเดือดร้อนความทุกข์ของผู้อื่น=กรุณา. |
สงเคราะห์ | สงฺคห | สํคฺรห | สงเคราะห์, อนุเคราะห์, ช่วยเหลือ; "ถือพร้อม", รวบรวม, ย่อ. (เทียบ วิเคราะห์ "ถือแยก" แยกให้เห็นชัด) |
สดมภ์ | ถมฺภ | สฺตมฺพ สฺตมฺภ | เสา, หลัก. (สะดม เขมร =การปล้นโดยวางยาให้หลับ) |
สดุดี | ถุติ | สฺตุติ | การยกย่อง, สรรเสริญ |
สตรี | อิตฺถี | สฺตรี | หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ |
สตางค์ | สต+องฺค | ศต+องฺค | ประกอบด้วยร้อย. En. centi+ |
สติ, สมฤดี (สม-รึ-) | สติ | สฺมฺฤติ | ความระลึกได้. (ไทย) เติม ป เป็น สมปฤดี บ้าง. |
สถล | ถล | สฺถล, สฺถลี | ทางบก |
สถาบัน | ฐาปน | สฺถาปน | (ไทย สังคม) สิ่งซึ่งสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ และจําเป็นแก่วิถีชีวิต เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา. |
สถาปนา | ฐาปน | สฺถาปน | การตั้งไว้ |
สถิติ | ฐิติ | สฺถิติ | การตั้งอยู่. (ไทย) หลักฐานที่รวบรวมเป็นตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบ |
สถุล | ถูล | สฺถูล | อ้วน, หยาบ. (ไทย ใช้เป็นคำด่า เช่น ถ่อยสถุล) |
สถูป | ถูป | สฺตูป | สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น |
สนเทศ, สันเทศ | สนฺเทส | สนฺเทศ | แสดง. (ไทย) คำสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก. |
สนเท่ห์ | สนฺเทห | สนฺเทห | ความฉงน, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, สนเท่ห์. |
สนธยา | สนฺธฺยา | เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก | |
สนธิ | สนฺธิ | สนฺธิ | การต่อ |
สนิท | สินิทฺธ | สฺนิคฺธ | ใกล้ชิด |
สบถ | สปถ | ศปถ | คำด่า คำแช่ง |
สบาย | |||
สมญา | สมญฺญา | สมาชฺญา | ชื่อ. ดู สมัญญา. (ไทย) สมัญญา ตัด ญฺ |
สมณเพศ | สมณเวส | ศฺรมณเวศ | เพศสมณะ |
สมณศักดิ์ | สมณสกฺก | สมณศกฺย | (ไทย บัญญ้ติ) ยศของพระ |
สมถะ | สมถ | ศมถ | การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. (ไทย) มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย |
สมบัติ | สมฺปตฺติ | สมฺปตฺติ | ความถึงพร้อม, เต็มที่. (ไทย) ของที่มีค่า หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้น ที่มีอยู่ |
สมพงศ์ | สํ+วํส | สมฺ+วํศ | ร่วมวงศ์ |
สมเพช (สม-เพด) | สํเวชน | สํเวชน | ดู สังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่; (ปาก) กล่าวถึงการกระทำของผู้อื่นในเชิงเย้ยหยัน ดูหมิ่นดูแคลน ว่าไม่น่าทำเช่นนั้น เช่น น่าสมเพชจัง! ทำตัวแบบนี้. |
สมร | สมร | สมร | การรบ, สงคราม. |
สมร | สมร | สฺมร (กามเทพ) | หญิงงาม, นางงามซึ่งเป็นที่รัก |
สมัคร | สมคฺค | สมคฺร | ผู้พร้อมเพรียง. (ไทย) เต็มใจ, ปลงใจ, ยินยอมเข้าด้วย |
สมัชชา | สมชฺชา | สมชฺยา | การประชุม |
สมัญญา | สมญฺญา | สมาชฺญา | ชื่อเครื่องรู้เสมอ, นาม, ชื่อ; ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ |
สมาคม | สํ+อาคม | สมฺ+อาคม | การมาพร้อมกัน |
สมาทาน | สมาทาน | สมาทาน | การถือเอาพร้อม (การถือ, การตั้งใจ) |
สมาน | สมาน | สมาน | เสมอกัน, เท่ากัน. (ไทย) [สะ-หฺมาน] เชื่อม, ผูกพัน |
สมานฉันท์ | สมาน+ฉนฺท | สมาน+ฉนฺทส | ความพอใจร่วมกัน หรือความเห็นพ้องกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ที่ประชุมมีความเห็นเป็นสมานฉันท์ในการเพิ่มค่าแรงคนงาน. (ไทย) ช่วงหลังความหมายของคำเริ่มถูกกลืนหายไปรวมในคำว่า "สามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์" ความจริง ความปรองดองสามัคคี ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน (สมานฉันท์) ในทุกเรื่อง (ก็ยังรักสามัคคีกันได้อยู่) |
สมาบัติ | สมาปตฺติ | สมาปตฺติ | การถึงพร้อม, การเข้า (ฌาน) |
สมุทัย | สมุทย | สมุทย | เกิดขึ้นพร้อม (ต้นเหตุ, ที่เกิด) |
สยมภู, สยัมภู | สยมฺภู | สฺวยมฺภู | พระผู้เป็นเอง (พระอิศวร, พระพุทธเจ้า) |
สยัมพร, สยุมพร | สยํวร | สยํวร | การเลือกคู่เอาเอง |
สยาม | สาม | ศฺยาม | ดำ, (สี)น้ำตาล |
สรรพาวุธ | สพฺพ+อาวุธ | สฺรว+อายุธ | อาวุธทุกชนิด |
สโรช | สโรช | สโรช | ดอกบัว "เกิดในสระ" |
สวรรค์ (สะ-หฺวัน) | สคฺค | สฺวรฺค | โลกของเทวดา |
สวัสดี | โสตฺถิ (สุ+อตฺถิ) | สฺวสฺติ (สุ+อสฺติ) | "มี (สิ่ง)ดี ดีงาม". (ไทย) คำทักทาย |
สวัสติกะ | (โสตฺถิก) | สฺวสฺติกา | [สะ-หฺวัด-ติ-กะ] สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา เช่น ที่รู้จักกัน เป็นสัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซีเยอรมัน ต่างจากแห่งอื่นเพราะเอียง 45 องศา |
สวาท | สาทุ | สฺวาทุ | น่าใคร่, น่าปรารถนา, หวาน, อร่อย. En. sweet |
สวาหะ | สฺวาห (สุ+อาห) | สฺวาห (สุ+อาห) | กล่าวดีแล้ว (บทสุดท้ายของคำเสกเป่า) |
สหชาติ | สหชาติ | สหชาติ | เกิดร่วมกัน |
สหประชาชาติ | สห+ปชา+ชาติ | สห+ปฺรชา+ชาติ | รวมชาติต่างๆ |
สหศึกษา | สห+สิกฺขา | สห+ศิกฺษา | ศึกษาร่วมกัน. (ไทย) โรงเรียนที่นักเรียนชายหญิง เรียนร่วมกัน |
สักการะ | สกฺการ | สตฺการ | "กระทำโดยเคารพ", บูชา |
สังกัป | สงฺกปฺป | สํกลฺป | คิด. (ไทย) วิตก. |
สังเกต | สงฺเกต | สํเกต | กำหนดพร้อม (กำหนดไว้, หมายไว้) |
สังขยา | สงฺขฺยา | สํขฺยา | การนับ, การคำนวณ. (ไทย) ชื่อขนม. |
สังขาร | สงฺขาร | สํสฺการ | ร่างกาย, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารทรุดโทรม; ความคิด เป็นขันธ์ 1 ในขันธ์ 5. |
สังเขป | สงฺเขป | สํเกฺษป | รวบรวม, โดยย่อ |
สังคม | สงฺคม | สํคม | ไปพร้อม, ไปร่วมกัน, ไปด้วยกัน (สมาคมกัน) |
สังคหะ, สังเคราะห์ | สงฺคห | สํคฺรห | การรวบรวม, การย่อ, "ถือพร้อม". (ไทย) สังเคราะห์, (เคมี) ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ |
สังคีต | สงฺคีต | สํคีต | ขับร้อง |
สังโยค | สํโยค | สํโยค | ประกอบกัน, "ประกอบพร้อม", การสะกดตัวหนังสือ |
สังวร | สํวร | สํวร | ระวัง, สำรวม "กั้นพร้อม" |
สังเวช | สํเวชน | สํเวชน | ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ และนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ไม่ประมาท เพียรทำความดี หากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ ไม่ใช่ความสังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่ |
สังสรรค์ | สํสคฺค | สํสรฺค | คลุกคลี. (ไทย) พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม. |
สังหรณ์ | สํหรณ | สํหรณ | นำไปพร้อม. (ไทย) ดลใจ |
สังหาร | สํหาร | สํหาร | นำไปพร้อม, การรวบรวม, ย่อ. (ไทย) ทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญ. (สมฺปหาร การสู้รบกัน) |
สัจ, สัตย์ | สจฺจ | สตฺย | ความจริง |
สัญจร | สญฺจร | สญฺจร | ผ่านไปมา |
สัญชาติ | สญฺชาติ | สํชาติ | เกิดพร้อม, เกิดดี |
สัญญา | สญฺญา | สํชฺญา | ความจำ "รู้พร้อม", 1 ในขันธ์ 5. (ไทย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป |
สัญญี | สญฺญี | สํชฺญินฺ | มีความรู้สึก |
สัณฑ์ | สณฺฑ | ษณฺฑ | แนว |
สัตบุรุษ สัปปุรุษ | สปฺปุริส | สตฺปุรุษฺ | คนดี |
สัตยาบัน | สจฺจ+อาปนฺน | สตฺย+อาปนฺน | การถึงความสัตย์จริง. (กฎหมาย) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้ |
สันดาน | สนฺตาน | สํตาน | สืบต่อ, อุปนิสัยที่สืบต่อมาหลายภพชาติ. (ไทย) อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด มักใช้ไปในทางไม่ดี. |
สันดาป | สนฺตาป | สํตาป | การเผาไหม้, ความเร่าร้อน |
สันโดษ | สนฺโตส | สํโตษ | ความยินดีในสิ่งที่ตนมีหรือได้มา(โดยสุจริต ไม่โลภจนต้องแสวงหาโดยทุจริต). (ไทย) มักน้อย. (บาลี ความมักน้อย=อัปปิจฉตา) |
สันถวไมตรี | สนฺถวมิตฺต | สูสฺตว+มิตฺร | ไมตรีอันดีต่อกัน |
สันธาน | สนฺธาน | สนฺธาน | การต่อพร้อม (การเกี่ยว, การเชื่อม) |
สันนิบาต | สนฺนิปาต | สนฺนิปาต | ที่ประชุม |
สันนิวาส | สนฺนิวาส | สนฺนิวาส | การอยู่ร่วมกัน |
สันนิษฐาน | สนฺนิฏฺฐาน | สํ+นิ+สฺถาน | คาดเดา, คาดคะเน |
สับปะรด | สพฺพรส | สรฺวรส | "รสทุกอย่าง". (ไทย) ผลไม้ชนิดหนึ่ง |
สัปดาห์ | สตฺตาห | สปฺตาห | เจ็ดวัน |
สัพเพเหระ | สพฺพ- | สรฺว | (ไทย ภาษาพูด) ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ |
สัมปทา | สมฺปทา | สมฺปทา | ความถึงพร้อม |
สัมปทาน | สมฺปทาน | สมฺปทาน | การมอบให้ |
สัมผัส | สมฺผสฺส | สํสฺปรฺศ | แตะต้อง |
สัมพันธ์ | สมฺพนฺธ | สํ+พนฺธ | สัมพันธ์ |
สัมพุทธ | สมฺพุทฺธ | สมฺพุทฺธ | ผู้รู้พร้อม |
สัมภวะ, สมภพ | สมฺภว | สมฺภว | การเกิด |
สัมภเวสี | สมฺภเวสี | สมฺภเวษินฺ | ผู้แสวงหาที่เกิด |
สัมมา | สมฺมา | สมฺยกฺ | จริง, แท้โดยชอบ |
สัมโมทนียกถา | สมฺโมทนียกถา | สมฺโมทนีย+กถา | ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ |
สัมฤทธิ์ | สมิทฺธิ | สมฺฤทฺธิ | ความสำเร็จ. (ไทย) โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์หรือ ทองบรอนซ์ (bronze) ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด. |
สากล | สกล | สกล | ทั่วไป, ทั้งหมด, เป็นที่นิยมของมนุษย์ |
สาไถย | สาเถยฺย | ศาฐย | แสร้งทำให้หลงเข้าใจผิด |
สาโท | สาท | สฺวาท | หวาน, อร่อย. (ไทย) น้ำเมาที่ได้จากการหมัก ยังไม่ได้กลั่น เช่น น้ำขาว อุ กะแช่. |
สาธยาย | สชฺฌาย | สฺวาธฺยาย | สวด, ท่อง |
สาธารณ์, สาธารณะ | สาธารณ | สาธารณ | ทั่วไป. (ไทย) เพื่อประชาชนทั่วไป; ต่ำ, เลว. |
สาธารณูปโภค | สาธารณ+อุปโภค | สาธารณ+อุปโภค | เครื่องใช้สอยทั่วไป |
สาธิต | สาธิต | ให้สําเร็จ. (ไทย) แสดงเป็นตัวอย่าง | |
สาธุ | สาธุ | สาธุ | ดีแล้ว, ชอบแล้ว; ความดี, คนดี |
(ไหว้)สา(ธุ) | สาธุ | สาธุ | การยกมือไหว้พร้อมกับเปล่งเสียง สาธุ แต่ออกเสียง "ธุ" เบาจนไม่ได้ยิน เหลือเพียง "ไหว้สา" ใช้ในภาษาถิ่นภาคเหนือ เมื่อไหว้กราบบุคคลที่เป็นที่เคารพ |
สานุศิษย์ | สิสฺสานุสิสฺส | ศิษฺยานุศิษฺย | ศิษย์น้อยใหญ่ (ศิษย์+อนุศิษย์). (ไทย) ลบ สิส- พยางค์หน้าออก. |
สาบาน | สปน | ศปน | ด่า, แช่ง. (ไทย) กล่าวคําปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน |
สาป | สาป | ศาป | ด่า, แช่ง. |
สามเณร | สามเณร | ศฺรามเณร | เหล่ากอ เชื้อสาย ลูกหลาน แห่งสมณะ |
สามัญ | สามญฺญ | สามานฺย | ปกติ, ธรรมดา |
สามานย์ | สามญฺญ | สามานฺย | ปกติ, ธรรมดา. (ไทย) ชั่วช้า เลวทราม |
สามารถ | สมตฺถ | สมรฺถ | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ |
สายัณห์ | สายณฺห | สายาหฺน | เวลาเย็น |
สาร | สาร | สาร | สาระ, แก่น, เนื้อแท้, สำคัญ เช่น แก่นสาร; กำลัง เช่น ช้างสาร. (ไทย) ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น ส่งสาร, สื่อสาร, นิตยสาร; ข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว (ข้าวสาน) |
สารพัด | สพฺพ | สรฺว | ทั้งปวง, ทุกแห่ง, ทั้งหมด, ทุกอย่าง |
สารวัตร | - | สรฺว+ | ผู้ตรวจงานทั่วไป/ทุกอย่าง |
สาโรช | สโรช | สโรช | ดอกบัว "เกิดในสระ" |
สาลิกา | สาลิกา | ศาริกา | นกสาลิกา |
สาโลหิต | สาโลหิต | ส+โลหิต | ผู้มีสายเลือดร่วมกัน (ร่วมท้อง). มักพูดเคลื่อนเป็น สายโลหิต |
สาวก | สาวก | ศฺราวก | ผู้ฟัง, ศิษย์ของศาสดา |
สาสน-, สาสน์ (สาด) | สาสน | ศาสน | คำสั่งสอน เช่น สาสนธรรม, พุทธสาสน์ |
สาสน์ (สาน), สาสน์ (สาด) | สาสน | จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เช่น พระราชสาส์น/พระราชสาสน์, สมณสาสน์ ฯลฯ | |
สิกขาบท | สิกฺขาปท | ศิกฺษาปท | ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (คำว่า ลาสิกขา มักใช้ผิด เป็น ลาสิกขาบท) |
สิงขร | สิขร | ศิขร | จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ไทย) เพิ่ม ง. |
สิงห์ | สีห | สิงฺห | สิงโต, ราชสีห์ |
สิงหาคม | สีห+อาคม | สิงฺห+อาคม | (สิงฺห สิงโต, อาคม การมา) ชื่อเดือนที่ 8 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีสิงห์ |
สิญจน์ | สิญฺจน | การรดน้ำ | |
สิทธัตถะ | สิทฺธตฺถ | สิทฺธารฺถ | "ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว", พระราชกุมารนามว่าสิทธัตถะ (ทรงสถานะเป็นพระมหาโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้, จึงไม่ควรใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" หากถือเคร่งครัด) ผู้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง; เมล็ดพันธุ์ผักกาด (สาสป). |
สินธพ | สินฺธว | ไสนฺธว | ม้า |
เสโท | เสท | เสฺวท | เหงื่อ. En. sweat |
สิริลักษณ์ | สิริ+ลกฺขณ | ศฺรี+ลกฺษณ | ลักษณะสวย, คุณภาพดี |
สีกา | อุปาสิกา | (ภาษาพูด) คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก. | |
สุกร | สุกร, สูกร | สุกร | หมู, "(ถูกเขา)ทำได้ง่าย, ผู้มีมือ(เท้า)งาม" |
สุขี | สุขี | สุขินฺ | มีความสุข |
สุขุม | สุขุม | สูกฺษม | ละเอียด, ประณีต, ฉลาด. (ไทย) ละเอียดประณีตทางความคิด. |
สุโขทัย | สุข+อุทย | สุข+อุทยฺ | การตั้งขึ้นแห่งความสุข |
สุคต | สุคต | สุคต | ไปดีแล้ว |
สุคติ | สุคติ | สุคติ | ที่ไปดี (นอกจากอบาย). (ไทย) สวรรค์. (มักเขียนผิดเป็น สุขคติ) |
สุคนธ์ | สุคนฺธ | สุคนฺธ | (มี)กลิ่นหอม |
สุจริต | สุจริต | สุจริต | (มีความ)ประพฤติดี |
สุจิต | สุ+จิต สุ+จิตฺต | มีจิตดี, มีการสั่งสมดี | |
สุชน | สุชน | สุชน | คนดี |
สุชาติ | สุชาติ | สุชาติ | มีกำเนิดดี |
สุณิสา | สุณิสา | สฺนุษา | สะใภ้ |
สุดา | สุตา | ลูกสาว (สุต ลูกชาย). (ไทย) ผู้หญิง. | |
สุทโธทนะ | สุทฺธ+โอทน | ศุทฺธ+โอทน | ชื่อพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ "ข้าวสุกหมดจด" |
สุทรรศน์ | สุทสฺสน | สุทรฺศน | การเห็นดี (สวย, งาม) |
สุธารส | สุธา+รส | สุธา+รส | รสอันสะอาด บริสุทธิ์. (ไทย) น้ำดื่ม |
สุนทรพจน์ | สุนฺทรวจน | สุนฺทรวจน | คำพูดที่ไพเราะ |
สุนัข | สุนข | ศุนก | หมา, "มีเล็บงาม" |
สุนันท์ | สุนนฺท | สุนนฺท | บันเทิงดี |
สุบรรณ | สุปณฺณ | สุปรฺณ | ครุฑ "ผู้มีปีกงาม" |
สุบิน | สุปิน | สฺวปฺน | ความฝัน |
สุปาณี | สุปาณี | สุปาณี | ฝีมือดี |
สุพจน์ | สุ+วจน | สุ+วจน | (ผู้มี)ถ้อยคำอันดี |
สุพรรณ | สุวณฺณ | สุวรฺณ | ผิวดี, ทองคำ |
สุพรรณราช | สุวณฺณ+ราช | สุวรฺณ+ราชนฺ | "ราชาแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนใหญ่, "ทองของพระราชา?" |
สุพรรณศรี | สุวณฺณ+สิริ | สุวรฺณ+ศฺรี | "สิริแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนเล็ก, "ศรีของพระราชา?" |
สุภาพ | สุภาว | สุภาว | ภาวะอันดี. (ไทย) เรียบร้อย, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม. |
สุภาษิต | สุภาสิต | สุภาษิต | คำพูดดี |
สุมา(เต๊อะ) | ขมา | กฺษมา | ขอโทษ(เถอะ) |
สุเมธ | สุเมธ | สุเมธสฺ | ผู้มีปัญญาดี, นักปราชญ์ |
(เขาพระ)สุเมรุ (-เมน) | สิเนรุ สุเมรุ | สุเมรุ | เขาสิเนรุ, ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่ |
สุรา | สุรา | สุรา | เหล้า |
สุรางค์ | สุร+องฺค | สุร+องฺค | ประกอบด้วยความกล้า |
สุวรรณ | สุวณฺณ | สุวรฺณ | ทอง "มีสีงาม" |
สุวาน | สา สฺวาน, สุวาน | ศฺวน | หมา |
สุสาน | สุสาน | ศฺมศาน | ป่าช้า |
สุริย | สุริย | สูรฺย | พระอาทิตย์, สูรย์, สุรีย์, สุริยัน, สุริยน. En. sol, solar |
สูญ | สุญฺญ | ศูนฺย | ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) หายสิ้นไป, ทําให้หายสิ้นไป. En. zero |
เสถียร | ถิร | สฺถิร | ยั่งยืน, มั่นคง |
เสน่ห์ | สิเนห, เสฺนห | เสฺนห | ความรัก. (ไทย) ลักษณะที่ชวนให้รัก เช่น เธอเป็นคนมีเสน่ห์; วิธีการทางไสยศาสตร์ที่ทำให้คนอื่นรัก เช่น เขาถูกเสน่ห์. เสน่ห์ปลายจวัก (สำ) น. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส. |
เสนา | เสนา | เสนา | กองทัพ, ทหาร |
เสนีย์ | เสนา+อิย | ผู้อยู่ในกองทัพ, ทหาร | |
เสมหะ | เสมฺห | เศฺลษฺมนฺ | เสลด |
เสมา | สีมา | สีมา | เครื่องหมายบอกเขตสำหรับสงฆ์ทำสังฆกรรม |
แสนยานุภาพ | เสนา+อานุภาว | ไสนฺย+อานุภาว | อํานาจทางทหาร. |
เสาวคนธ์ | สุคนฺธ | สุคนฺธ | กลิ่นดี, กลิ่นหอม. |
เสารภย์, เสาวรภย์ | สุรภี | เสาวรภฺย | ยินดีด้วยดี (กลิ่นหอม, เครื่องหอม) |
เสาร์ | โสร | โสร | ชื่อวันที่ 7 ของสัปดาห์; ดาวเสาร์ |
เสาวภา | โสภา | เสาวภา | สวย, งาม "มีรัศมีดี" |
เสาวภาคย์ | โสภคฺค | เสาวภาคฺย | ความเจริญดี, โชคดี |
เสาวรส | สุรส | สุรส | รสดี (รสอร่อย) |
เสาวลักษณ์ | สุลกฺขณ | สุลกฺษณ | ลักษณะดี, ลักษณะงาม |
โสตถิ โสตถี | โสตฺถิ, สุวตฺถิ | สฺวสฺติ | ความเจริญ, มีดี (ความสวัสดี, ความเจริญ) |
โสภา | โสภา | งาม | |
โสมนัส | โสมนสฺส | เสามนสฺย | ใจดี |
โสรจ (โสด) | โสจ | เศาจ | อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (เขมร โสฺรจ) |
ไสยา | เสยฺยาสน | ศยฺยา | การนอน |
ไสยาสน์ | เสยฺยาสน | ศยฺยาสน | ที่นอน, (ไทย) การนอน |
ห
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
หทัย, หฤทัย | หทย | หฺฤทย | หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห เช่น ฤทัย, ตัด หฤ เช่น พระทัย. En. heart |
หรดี | หรตี | ไนรฺฤติ | ทิศตะวันตกเฉียงใต้ |
หฤหรรษ์ (หะ-รึ-หัน) | หทย+หาส | หฤทย+หรฺษ | หฤทัยหรรษ์, ความรื่นเริงยินดีแห่งหัวใจ. (ไทย) ลบ ทัย. |
หัตถ์ | หตฺถ | หสฺต | มือ. En. hand |
หัตถาจารย์ | หตฺถาจริย | หสฺตาจารฺย | ควาญช้าง (หตฺถี+อาจริย) |
หัตถานึก, หัสดานึก | หตฺถานีก | หสฺตานีก | กองทัพช้าง, พลช้าง (หตฺถี+อนีก) |
หัสดาภรณ์ | หตฺถาภรณ | หสฺตาภรณ | เครื่องประดับของช้าง (หตฺถี+อาภรณ) |
หินชาติ | หีนชาติ | หีนชาติ | มีกำเนิดต่ำ |
หิรัญ | หิรญฺญ | หิรณฺย | เงิน |
หิงสา | หึสา | หึสา | ความเบียดเบียน |
เหตุการณ์ | เหตุ+การณ | เหตุการณ์ | |
เหรัญญิก | เหรญฺญิก | หิรณฺย+อิก | เจ้าหน้าที่การเงิน |
โหร (โหน) | โหรา | โหรา | ผู้รู้วิชาโหรา, ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์ และพยากรณ์โชคชะตาราศี |
อ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
อกตัญญู | อกตญฺญู | อ+กฺฤตชฺญ | ผู้ไม่รู้(คุณที่เขา)ทำ(ให้แก่ตน)แล้ว |
อกุศล | อกุสล | อกุสล | ความชั่ว |
องคชาต | องฺคชาต | องฺคชาต | อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง. (ไทย) อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. |
อดิเรก | อติเรก | อติเรก | เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ) |
อดิศร, อดิศวร | อติสฺสร | อติ+อีศฺวร | ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง |
อดิศัย | อติสย | อติศย | ดียิ่ง, เลิศ, ประเสริฐ |
อธิกมาส | อธิกมาส | อธิกมาส | เดือนเกิน, เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ |
อธิกรณ์ | อธิกรณ | อธิกรณ | การกระทำยิ่ง (เหตุ, โทษ, คดี) |
อธิการ | อธิการ | อธิการ | การกระทำยิ่ง (อำนาจ, การปกครอง, สิทธิ, หน้าที่) |
อธิบาย | อธิปฺปาย | อภิปฺราย | ขยายความ, ชี้แจง, ความประสงค์ |
อธิราช | อธิราช | อธิราชนฺ | พระราชายิ่งใหญ่ |
อธิษฐาน (อะ-ทิด-ถาน) | อธิฏฺฐาน | อธิษฐาน | ตั้ง(ใจ)มั่น(ในการกระทำให้สำเร็จ). (ไทย) ตั้งจิตปรารถนาผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
อธึก | อธิ+ก | อธิก | ยิ่ง, มาก, เลิศ |
อนงค์ | น+องฺค | อนงฺค | ไม่มีตัว, ไม่มีรูป (น+องฺค=อนงฺค); ชื่อกามเทพ เทวดาผู้แผลงศรแห่งความรักไปถูกพระอิศวรเมื่อทรงตบะอยู่ จึงถูกพระอิศวรเผาไหม้เป็นจุณไป จึงได้ชื่อว่า อนงค์ คือ ไม่มีตัว; คำว่า อนงค์ คือกามเทพซึ่งเป็นเทวบุตรรูปงามนี้ ยังเอามาใช้ในความหมายว่า หญิง, หญิงงาม |
อนัตตา | น+อตฺตา | อนฺ+อาตฺมนฺ | ไม่ใช่ตัวตน |
อนัตถ์, อนรรถ | น+อตฺถ | อนรฺถ | ไม่มีประโยชน์, หาประโยชน์มิได้ |
อนันต์ | น+อนฺต | อนฺ+อนฺต | ไม่มีที่สุด |
อนาคต | น+อาคต | อนาคต | ยังไม่มาถึง |
อนาจาร | น+อาจาร | อนฺ+อาจาร | ประพฤติชั่ว |
อนาถ | น+นาถ | อ+นาถ | ไม่มีที่พึ่ง. (ไทย) น่าสังเวช, น่าสลดใจ |
อนาทร | น+อาทร | อนฺ+อาทร | ไม่เอาใจใส่, ไม่เอื้อเฟื้อ |
อนามัย | น+อามย | อนฺ+อามย | ไม่มีทุกข์, ไม่มีโรค |
อนาลัย | น+อาลย | อนฺ+อาลย | ไม่มีความห่วงใยพัวพัน; ไม่มีที่อยู่ |
อนุกูล | อนุ+กูล | ตามเกื้อหนุน | |
อนุชน | อนุ+ชน | อนุชน | ชนรุ่นหลัง |
อนุชา | อนุ+ช | อนุ+ช | ผู้เกิดภายหลัง, น้องชาย |
อนุชาติ | อนุชาติ | อนุชาติ | การเกิดภายหลัง |
อนุชิต | อนุชิต | ชนะเนืองๆ | |
อนุตร | น+อุตฺตร | อนุตฺตร | ไม่มีสิ่งใดสูงยิ่งกว่า |
อนุบาล | อนุ+ปาล | อนุปาล | ตามเลี้ยง, ตามรักษา |
อนุปาทาน | น+อุปาทาน | อนุปาทาน | การไม่เข้าไปยึดถือ |
อนุภรรยา | อนุ+ภริยา | อนุภรฺยา | เมียน้อย |
อนุมาน | อนุ+มาน | (ไทย บัญญัติ) กำหนดตาม (ความคาดคะเน) | |
อนุโมทนา | อนุ+โมทนา | อนุโมทน | ความยินดีตาม (ความพลอยยินดี) |
อนุรักษ์ | อนุ+รกฺข | อนุ+รกฺษฺ | ตามรักษา (ระวัง, ป้องกัน) |
อนุราช | อนุ+ราช | อนุราชนฺ | พระราชาน้อย, พระราชารอง |
อนุโลม | อนุ+โลม | อนุโลมนฺ | ตามขน (ทำตาม, คล้อยตาม) |
อนุสรณ์ | อนุ+สรณ | อนุศรณ | ความระลึกตาม (ความระลึกถึง) |
อเนก | น+เอก | อเนก | ไม่ใช่หนึ่ง (มากมาย) |
อเนจอนาถ | -อนาถ | (ไทย) สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (อนาถ=ไม่มีที่พึ่ง) | |
อโณทัย | อรุโณทย (อรุณ+อุทย) | อรุโณทยฺ | อรุโณทัย. การขึ้นไปแห่งอรุณ. (ไทย) ลบ รุ ออก. |
อโนดาต | น+โอตตฺต | อนุ+อวตปฺต | "ไม่ร้อน", ชื่อสระน้ำ |
อโนทก | น+โอทก | ไม่มีน้ำ | |
อเปหิ อัปเปหิ | อเปหิ | จงหลีกไป (ขับไล่) | |
อพยพ | อวยว | อวยว | อวัยวะ. (ไทย) เคลื่อนย้าย. |
อภัย | อภย | อภย | ไม่มีภัย. (ไทย) ยกโทษให้. |
อภิชน | อภิชน | อภิชน | ชนผู้ยิ่งใหญ่ |
อภิชัย | อภิชย | อภิชย | ชนะยิ่ง |
อภิญญา | อภิญฺญา | อภิชฺญา | รู้ยิ่ง |
อภิธรรม | อภิธมฺม | อภิธรฺม | ธรรมยิ่ง |
อภินันท์ | อภินนฺท | อภินนฺท | ยินดียิ่ง |
อภิปราย | อธิปฺปาย | อภิปฺราย | แสดงความคิดเห็นร่วมกัน |
อภิรดี | อภิรติ | อภิรติ | ยินดียิ่ง |
อภิรมย์ | อภิรมฺม | อภิ+รมฺย | ยินดียิ่ง, ดีใจยิ่ง |
อภิรักษ์ | อภิรกฺข | อภิรกฺษ | รักษายิ่ง, ป้องกันยิ่ง |
อภิวันท์ | อภิวนฺท | อภิวนฺท | ไหว้ยิ่ง, กราบยิ่ง |
อภิวาท | อภิวาท | อภิวาท | กล่าวยิ่ง (การกราบไหว้) |
อภิสิทธิ | อภิสิทฺธิ | อภิสิทฺธิ | สำเร็จยิ่ง. (ไทย) สิทธิพิเศษ, ข้อได้เปรียบ (privilege). |
อมนุษย์ | อมนุสฺส | อมนุษฺย | ไม่ใช่มนุษย์ |
อมตะ | อมต | อมฤต | ผู้ไม่ตาย. En. immortal |
อมร, อมรา | อมร | อมร | ผู้ไม่ตาย |
อยุธยา | อโยธฺยา | ชื่อเมืองหลวงเก่าของไทย ยืมมาจากคำว่า "อโยธยา Ayodhya" ซึ่งแปลว่า "รบไม่แพ้" ในวรรณคดีเป็นชื่อเมืองของพระรามในเรื่อง รามเกียรติ์/รามายณะ ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย (สมัยโบราณเรียกว่า เมืองสาเกต) ปัจจุบันฮินดูและมุสลิมต่างก็อ้างสิทธิ์ในเมืองนี้; ในอดีต พม่าเคยเรียก อยุธยา (Ayudhya/Ayodhya อโยเดีย) ว่า "โยเดีย Yodia" ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องการให้มีความหมายว่า "รบแพ้" หรืออาจเป็นเพราะเสียงพูดที่กร่อนไปเองก็ได้ | |
อรพินท์ | อรวินฺท | อรวินฺท | ดอกบัว; ทองแดง |
อรรฆ | อคฺฆ | อรฺฆ | มีค่า |
อรรณพ | อณฺณว | อรฺณว | ทะเล, ห้วงน้ำ |
อรรถ | อตฺถ | อรฺถ | เนื้อความ |
อรัญ | อรญฺญ | อรณฺย | ป่า |
อรัญญิก | อารญฺญิก | อารณฺยิก | ผู้อยู่ในป่า, ผู้เที่ยวในป่า |
อริยะ, อารยะ | อริย | อารย | เจริญ |
อลงกต | อลงฺกต | อลงฺกฺฤต | ทำให้พอ (ตกแต่งแล้ว) |
อลงกรณ์ | อลงฺกรณ | อลงฺกรณ | เครื่องประดับตกแต่ง |
อวกาศ | โอกาส อวกาส | อวกาศ | บริเวณที่อยู่นอก, บรรยากาศของโลก |
อวชาต | อวชาต | อวชาต | เกิดต่ำ, เกิดเลว |
อวตาร | อวตาร | อวตาร | ข้ามลง, หยั่งลง; การแบ่งภาคมาเกิดในโลก ของพระนารายณ์; ในศาสนาฮินดูมีการสร้างความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอีกอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ (เป็นความพยายามในการกลืนศาสนา) En. avatar |
อวสาน | อวสาน โอสาน | อวสาน | จบลง |
อโศก | อโสก | อโศก | ไม่เศร้าโศก; ต้นอโศก; พระเจ้าอโศกมหาราช. |
อสงไขย | อสงฺเขยฺย | อสํเขฺยย | ไม่พึงนับ, (มากจน) นับไม่ถ้วน, จำนวนที่มากมาย; (ทางคณิตศาสตร์ เท่ากับจำนวน โกฏิ20 = 10,000,00020 = 10140) |
อสนีบาต | อสนิ อสนี+ปาต | อศนิปาต | การตกลงของสายฟ้า, ฟ้าผ่า, ไทยเขียนเป็น อสุนีบาต ก็มี |
อหิงสา | อหึสา | อหึสา | ความไม่เบียดเบียน |
อโหสิ | อโหสิ | ได้เป็นแล้ว. (ไทย) ยกโทษให้. | |
อักขิ, อักษิ | อกฺขิ | อกฺษิ | ดวงตา |
อักโข, | อกฺโขภิณี | อกฺเษาหิณี | (ไทย) มาก, หลาย. อักโขภิณี ตัด ภิณี. มากโข = มาก |
อักโขภิณี, อักโขเภณี | อกฺโขภิณี | อกฺเษาหิณี | จํานวนนับอย่างสูง คือ 1 มีศูนย์ตาม 42 ตัว (1042); กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกําหนด. |
อักษะ | อกฺก | อกฺษ | เพลารถ, สกา |
อัคคี, อัคนี | อคฺคิ | อคฺนิ | ไฟ |
อัคยาคาร | อคฺยาคาร | อคฺนฺยาคาร | เรือนไฟ |
อัคร (อัก-คฺระ) | อคฺค | อคฺร | เลิศ |
อังกูร | องฺกุร | องฺกุร | หน่อ, เชื้อ |
อังคณา | องฺคณ | องฺคณ | เนิน, กิเลสเพียงดังเนิน |
อังคาร | องฺคาร | องฺคาร | ดาวอังคาร; ชื่อวันที่ 3 ของสัปดาห์; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว |
อังสะ | อํส | อํส | บ่า |
อัจฉรา, อัปสร | อจฺฉรา | อปฺสรสฺ | นางฟ้า |
อัจฉริยะ | อจฺฉริย | อาศฺจรฺย | น่าพิศวง, น่าอัศจรรย์; มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก, "(ดีจน)สมควรดีดนิ้วมือ(ให้)" |
อัชชะ | อชฺช | อทฺย | วันนี้ |
อัชฌาสัย, อัธยาศัย | อชฺฌาสย | อธฺยาศย | นิสัยใจคอ |
อัญชลี | อญฺชลิ อญฺชุลิ | อญฺชลิ | กระพุ่มมือไหว้ |
อัญชัน | อญฺชน | อญฺชนํ | ยาสำหรับหยอด (ตา). (ไทย) ดอกอัญชัน, แร่พลวง?? |
อัญมณี | อญฺญ+มณิ | "แก้วมณีอื่นๆ". (ไทย) รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่นๆ นอกจากเพชรพลอย | |
อัฐ | อฏฺฐ | อษฺฏนฺ | แปด. En. eight |
อัฐิ | อฏฺฐิ | อสฺถิ | กระดูก |
อัฒ, อรรธ | อฑฺฒ | อรฺธ | ครึ่ง |
อัฒจันทร์ | อฑฺฒจนฺท | อรฺธจนฺทฺร | พระจันทร์ครึ่งดวง. (ไทย) ที่นั่งในสนามกีฬาเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง |
อัณฑะ | อณฺฑ | อณฺฑ | ไข่(เป็ด, ไก่ ฯลฯ). (ไทย) ส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศชาย. |
อัตโนมัติ | อตฺตโนมติ | ความเห็นของตน, อัตโนมติ. (ไทย) เป็นไปได้ด้วยตนเอง เช่น รถวิ่งได้เองโดยอัตโนมัติ (automatic) (แต่ศัพท์ที่แปลว่าเป็นไป คือ วตฺติ/วัติ) | |
อันตรธาน | อนฺตรธาน | อนฺตรฺธาน | สูญหายไป, ลับไป |
อันตราย | อนฺตราย | อนฺตราย | 'มาในระหว่าง', อุปสรรค, การขัดขวาง, สิ่ง~. |
อันธพาล | อนฺธพาล | อนฺธพาล | คนพาลดุจตาบอด (คือ อ่อน ด้วยปัญญา ที่จะรู้อะไรควรไม่ควร รู้ผิดชอบชั่วดี = โง่ อย่างมืดบอด. (ไทย) คนเกะกะระราน. |
อัปภาคย์ | อปฺปภาคฺย | อลฺป+ภาคฺย | ปราศจากโชค |
อัปมงคล อปมงคล | อปมงฺคล | อลฺปมงฺคล | ปราศจากมงคล (ไม่เจริญตา, ลางร้าย) |
อัปยศ | อปยส | อลฺปยศ | ปราศจากยศ (เสื่อมชื่อเสียง, ขายหน้า) |
อัปรีย์ (อับ-ปฺรี) | อปฺปิย | อปฺริย | ไม่เป็นที่รัก. (ไทย) ระยํา, เลวทราม, ตํ่าช้า |
อัปลักษณ์ | อปลกฺขณ | อลฺปลกฺษณ | ปราศจากลักษณะ (ชั่ว, เลวทราม) |
อัมพร | อมฺพร | อมฺพร | ท้องฟ้า |
อัมพุช | อมฺพุช | อมฺพุช | ผู้เกิดในน้ำ, ปลา, บัว |
อัศวานึก | อสฺสานีก | อศฺวานีก | กองทัพม้า, พลม้า |
อัศวิน | อสฺสวี | อศฺวินฺ | อัศวิน, "ผู้มีม้า" |
อัษฎางค์ | อฏฺฐงฺค | อษฺฏ+องฺค | องค์ 8, มีองค์ 8 |
อัสดง, อัสดงคต | อตฺถงฺคต | อสฺตมฺคต | (พระอาทิตย์) ตก, "ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้" |
อัสดร | อสฺสตร | อสฺวตร | ม้าดีกว่าม้าทั่วไป. (ไทย) ม้าทั่วไป. |
อัสสานึก | อสฺสานีก | อศฺวานีก | กองทัพม้า, พลม้า |
อัสสุ | อสฺสุ | อศฺรุ | น้ำตา |
อัสสุชล | อสฺสุชล | อศฺรุชล | น้ำตา |
อากร | อากร | อากร | บ่อเกิด, ที่เกิด |
อาการ | อาการ | อาการ | ภาวะ, ลักษณะ, วิธี. (ไทย) ความเป็นไป, สภาพ |
อากาศ | อากาส | อากาศ | ที่ว่าง |
อากาศยาน | อากาส+ยาน | อากาศ+ยาน | อากาศยาน, เครื่องบิน |
อาเกียรณ์ | อากิณฺณ | อากีรฺณ | เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด |
อาคเนย์ | อาคฺเนย | ทิศตะวันออกเฉียงใต้. (ส. ว่า ทิศที่พระอัคนีรักษา) | |
อาคม | อาคม | อาคม | มา |
อาจิณ | อาจิณฺณ | อาจิรฺณ | เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอๆ, เนืองๆ. (ไม่ใช่ อาจินต์) |
อาชา | อาชาเนยฺย | อา+ชฺญา, อา+ชนฺ+ย | ม้า. (ไทย) ลบ ไนย. ดู อาชาไนย. |
อาชาไนย | อาชาเนยฺย | อา+ชฺญา, อา+ชนฺ+ย | "อาจสามารถในความรู้ทั่ว". (ไทย) กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็นม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. |
อาดูร | อาตุร | อาตุร | ทนทุกข์เวทนาทั้งกายและใจ |
อาทิตย์ | อาทิจฺจ | อาทิตฺย | ดวงอาทิตย์; ชื่อวันที่ 1 ของสัปดาห์ |
อาภัพ | อภพฺพ | อภวฺย | ไม่ควร, ไม่สมควร. (ไทย) ไม่เหมาะสม; ตกอับ, ไร้โชค |
อาภา | อาภา | อาภา | สว่างทั่ว |
อารมณ์ | อารมฺมณ | อาลมฺพน | อารมณ์ |
อารยะ, อริยะ | อริย | อารฺย | เจริญ |
อารัมภบท | อารมฺภปท | อารมฺภปท | คำกล่าวเริ่มต้น |
อาวรณ์ | อาวรณ | อาวรณ | เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ไทย) ห่วงใย, คิดกังวลถึง. เช่น อาลัยอาวรณ์. |
อาวุโส | อาวุโส | อายุษฺมตฺ | คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย; คําที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า เรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า, คำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์. ใช้คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า เรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า, คำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์. (ไทย - ความหมายกลับตรงกันข้าม) ผู้ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส; ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน. |
อาศรม | อสฺสม | อาศฺรม | ที่อยู่ของนักบวช |
อาศัย | อาสย | อาศฺรย | ฉันทะเป็นที่มานอน (อัธยาศัย), อัธยาศัย, ความมุ่งหมาย, ที่อาศัย. (ไทย) พักพิง, พึ่ง; อ้างถึง เช่น อาศัยความตามมาตราที่... . |
อาสา | อาสา | อาศา | ความหวัง, ความปรารถนา. (ไทย) ทำโดยเต็มใจ, สมัครใจ, เสนอตัวทำให้. |
อำมาตย์ | อมจฺจ | อมาตฺย | ขุนนางผู้ใหญ่. (ไทย) อมาตฺย แปลง อ เป็น อำ. |
อิจฉา | อิจฺฉา | อิจฺฉา | ความอยาก, ต้องการ. (ไทย) ความรู้สึกไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี=ริษยา |
อิฐ | อิฏฺฐกา | อิษฺฏกา | ก้อนอิฐ |
อินทรธนู (-ทะ-นู) | อินฺทธนุ | อินฺทฺรธนุ | รุ้งกินน้ำ "ธนูของพระอินทร์". (ไทย) เครื่องประดับบ่าเพื่อแสดงยศ; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก. |
อินทรีย์ (อิน-ซี) | อินฺทฺริย (อิน-ทฺริ-ยะ) | อินฺทฺริย | ความเป็นใหญ่, เรียกอายตนะภายใน แต่ละอย่าง (มี 6 อย่าง) ว่า อินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในการทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตาเป็นใหญ่ในการดู, หู เป็นใหญ่ในการได้ยิน ฯลฯ. (ไทย) ร่างกาย(และจิตใจ); สิ่งมีชีวิต. (ส่วน อินทรี เป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง ออกเสียงว่า อิน-ซี เหมือนกัน แต่เขียนไม่มี ย์) |
อิริยาบถ | อิริยาปถ | อีรฺยาปถ | อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (มักเขียนผิดเป็น อิริยาบท) |
อิศวร | อิสฺสร | อีศวร | ผู้เป็นใหญ่, เทพเจ้า, พระอิศวร |
อิสระ | อิสฺสร | อีศวร | ผู้เป็นใหญ่. (ไทย) เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่ใคร, อิสระ |
อุโฆษ | อุคฺโฆส | อุทฺโฆษ | กึกก้อง, ป่าวร้อง |
อุชุ | อุชุ | ฤชุ | ตรง, ซื่อตรง |
อุตพิด | อติวิส | ชื่อไม้ล้มลุกมีหัว ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ; ชะเอมต้น? | |
อุตริ (อุด-ตะ-หฺริ) | อุตฺตริ | อุตฺตริ | ยิ่ง. (ไทย) นอกคอก, นอกทาง, นอกรีต. |
อุตส่าห์ | อุสฺสาห | อุตฺสาห | ความพยายาม |
อุทธบาท | อุทฺธปาท | อูรฺธฺวมฺ+ปาท | มีเท้าขึ้น, เท้าชี้ฟ้า |
อุทธรณ์ | อุทฺธรณ | อุทฺธรณ | การยกขึ้น, การรื้อฟื้น |
อุทยาน | อุยฺยาน | อุทฺยาน | สวน |
อุทัย | อุทย | อุทย | การขึ้น, การตั้งขึ้น |
อุบล | อุปล อุปฺปล | อุตฺปล | ดอกบัว |
อุโบสถ | อุโปสถ | อุโปษณ อุโปษธ | การเข้าอยู่รักษาศีล 8 (จำศีล), ศีล 8=ศีลอุโบสถ, วันอุโบสถ (อุโปสถทิน) =วันพระ. (ไทย) มักหมายถึงสถานที่สงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม. ดู โบสถ์ |
อุปจาร | อุปจาร | อุปจาร | การเข้าใกล้ |
อุปถัมภ์ | อุปตฺถมฺภ | อุปสฺตมฺภน | การเข้าไปค้ำจุน (เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ) |
อุปทาน | อุป+ทาน | (ไทย บัญญัติ) supply, สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ | |
อุปโลกน์ | อปโลกน | การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน หรือขอความเห็นชอบร่วมกัน ในกิจบางอย่างของส่วนรวม. (ไทย) ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. | |
อุปาทาน | อุปาทาน | อุปาทาน | การถือมั่น, การยึดมั่น |
อุปนายก | อุปนายก | อุปนายก | รองนายก |
อุปโภค | อุปโภค | อุปโภค | เข้าไปใช้สอย (ใช้สอย, เสพ) |
อุปสงค์ | อุป+สงฺค | อุป+สงฺค | (ไทย บัญญัติ) demand, ความต้องการและความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ |
อุปสมบท | อุปสมฺปทา | การบวชเป็นภิกษุ, "เข้าถึงพร้อม" | |
อุปัชฌาย์ | อุปชฺฌาย | อุปาธฺยาย | พระเถระผู้รับรองบุคคลเข้ามาบวชในท่ามกลางสงฆ์ (สงฆ์ในที่นั้นเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันยอมรับให้เข้าหมู่เป็นภิกษุด้วยกันได้) และดูแลอบรมหลังจากบวชแล้ว, “ผู้เพ่งดูอยู่ใกล้ๆ” |
อุปัฏฐาก | อุปฏฺฐาก | อุปสฺถายก | ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, "ผู้ยืนใกล้(เพื่อรับใช้)" |
อูฐ | โอฏฐ | อุษฺฎร | สัตว์ชนิดหนึ่ง |
เอก | เอก | เอก | หนึ่ง |
เอกฉันท์ (เอก-กะ-) | เอกฉนฺท | เอกฉนฺทสฺ | มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด |
เอกมัย | เอกมย | เอกมย | สำเร็จด้วยบุคคลหรือสิ่งของเดียว |
เอกอุ | เอก+อุตฺตม | เอกอุดม (ไทย ลบ ดม) เอกเป็นเลิศ. มากมาย, หนักหนา. | |
เอราวัณ | เอราวณ | ไอราวณ | ช้างพาหนะของพระอินทร์. En. elephant |
เอาฬาร | โอฬาร | เอาทาร | ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต |
ไอยรา | เอราวณ | ไอราวณ | ช้าง. (ไทย) เติม ย ลบ วณ. ดู เอราวัณ |
โอกาส | โอกาส | อวกาศ | โอกาส, ที่แจ้ง, ที่ว่าง |
โอชะ, โอชา | โอชา | อูรฺชา | รสอาหารที่ซึมซาบเลี้ยงร่างกาย, อร่อย |
โอม | โอม | คำที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ฮินดู (พราหมณ์) หมายถึง พระเจ้าทั้ง 3 คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; นับถือเป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนต์. | |
โอรส | โอรส | เอารส | ลูกชาย "เกิดแต่อก" |
โอษฐ์ | โอฏฺฐ | โอษฺฐ | ปาก |
โอสถ | โอสถ | โอสธ | ยารักษาโรค |
โอฬาร | โอฬาร | เอาทาร | ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต |
ไอศวรรย์, อิสสริย | อิสฺสริย | ไอศฺวรฺย | ความยิ่งใหญ่ |
อ้างอิง: ปรับปรุงเพิ่มเติมจากเอกสาร "ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย.doc" ซึ่งรวบรวมโดย อ.ธนูชัย สืบทิม (2554), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ผนวก: บาลี/สันสกฤต และอังกฤษ ที่มีรูปคล้ายกัน
(บาลี สันสกฤต อังกฤษ ลาติน เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน คือ ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน)
ปรับปรุงล่าสุด 1 เม.ย.66 (69 ศัพท์)
ไทย | บาลี | สันสกฤต | อังกฤษ | ความหมาย |
---|---|---|---|---|
กระจก | กาจ | กาจมฺ | glass | กระจก |
ครู | ครุ | คุรุ | guru | ครู |
คาวี | คาวี | cow | แม่วัว | |
เชษฐา | เชฏฺฐ | เชฺยษฺฐ | chief, chef | "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่, หัวหน้า. (CEO - chief executive officer, chef หัวหน้าพ่อครัว) |
ดารา | ตารา | สฺตาร | star | ดาว |
ตรุ | ตรุ | ตรุ | tree | ต้นไม้ |
ไตร | ติ, เต | ตฺริ ไตฺร ตฺรย | three, tri(cycle) | สาม |
ถาวร, สถาพร | ถาวร | สฺถาวร | stand | มั่นคง, แข็งแรง |
เถน | เถน | เสฺตน | steal | ลัก, ขโมย; สมัยก่อน คนไทยใช้เป็นคำอุทาน/ด่า เช่น ไอ้เถน!. |
ทนต์ | ทนฺต | ทนฺต | dental | ฟัน (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) |
ทวิ- | ทฺวิ, ทิ, ทุ, โท | ทฺวิ | two, twice | สอง |
ทมะ | ทม | ทม | tame | ฝึก, ทำให้เชื่อง |
ทศ | ทส | ทศ | ten; decimal | สิบ, (decem-ber) |
ทิฐิ | ทิฏฺฐิ | ทฺฤษฺฏิ | theory | ความเห็น. (ไทย) ความดื้อรั้นในความเห็น; ความถือดี =มานะ |
โท | [ทฺวิ ทิ ทุ] | [ทฺวิ] | two | สอง. (ฮินดี) โท |
โทรศัพท์ | ทูร+สทฺท | ทูร+ศพฺท | tele- | โทรศัพท์. ทูร-tele (ไกล) + สทฺท-sound (เสียง) |
เทวะ | เทว | เทว | divine | ฝน; เทพ, เทวดา; ราชา (สมมติเทพ). (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) |
น โน | no | ไม่ | ||
นพ | นว | นวนฺ | nine | เก้า (novem-ber) |
นว | นวนฺ | new | ใหม่ (innovate ทำให้ใหม่(ขึ้น), renovate) | |
นาภี | นาภิ นาภี | นาภิมฺ | navel | สะดือ, ท้อง, ศูนย์กลาง. (ไทย) สะดือ |
นาม | นาม | นามนฺ | name | ชื่อ |
นาวา | นาวา | เนา, นาว | navy | เรือ |
นาสา | นาสา | นาสา | nose, nasal | จมูก |
(เรือ)บด | โปต | โปต | boat | เรือเล็กของเรือกำปั่น; เรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายเรียว หรือ เรือกรรเชียงท้ายตัด |
บุรุษ | ปุริส | ปุรุษฺ | person | ผู้ชาย |
เบญจ | ปญฺจ | ปญฺจนฺ | penta- | ห้า, (penta-gon ห้าเหลี่ยม) |
บีฑา | ปีฬ | ปีฑ | beat | ตี, เบียดเบียน, ทำร้าย |
ปรสิต | ปร-สิต | parasite | (บัญญัติ) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยกินอยู่ในร่างกายคนและสัตว์อื่นๆ หรืออยู่กับพืชอื่นๆ เช่น พยาธิ, กาฝาก | |
(ฟุต)บาท | -ปถ | (foot)path | ทางเท้า | |
พันธะ | พนฺธ | พนฺธ | bond | การผูก, มัด, รัด |
ภราดา | ภาตา (ภาตุ) | ภฺราตฺฤ | brother | พี่น้องชาย |
มานพ | มานว (มนุ) | มนุษฺย | (hu)man | คน |
มน | มนสฺ | mind | ใจ | |
มรณะ | มรณ | มรณ | mortal (มต) | การตาย, ความตาย. (ไทย) มักนำไปใช้เขียนบอกวันเกิด-ตาย ในงานศพ เช่น ชาตะ-มรณะ (แปลว่า เกิดแล้ว-การตาย) ความจริง ควรใช้ว่า ชาตะ-มตะ (แปลว่า เกิดแล้ว-ตายแล้ว) เพราะเป็นศัพท์กิริยาเช่นเดียวกัน |
มัชฌิม, มัธยม | มชฺฌิม | มธฺยม | media, medium | กลาง |
มิจฉา | มิจฺฉา | มิถฺยา | mis- | ผิด |
มิสสกวัน | มิสฺสกวน | มิศฺรวน | mixed forest | ชื่อป่าหรือสวนของพระอินทร์ มีไม้ต่างๆ ระคนกัน |
เยาว์ | ยุว | ยุวนฺ | youth, young | หนุ่ม, รุ่น |
โยค, โยชน์ | โยค, โยชน | โยค, โยชน | yoke | ประกอบ |
รตฺต | รกฺต | red | แดง | |
ฤทัย | หทย | หฺฤทย | heart | หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห, ตัด หฤ เช่น พระทัย |
ลส | ลษ, ลสฺ | lust | ใคร่, อยากได้ | |
ลกฺขี | lucky | โชคดี; ศรี, สมบัติ | ||
โลภ | ลุภ โลภ | โลภ | love | รัก, อยากได้, กำหนัด, โลภ |
วม วมน | วมน | vomit | อาเจียน | |
ศัพท์ | สทฺท | ศพฺท | sound | เสียง |
สตปที | centipede | ตะขาบ "มีร้อยขา". (กิ้งกือ millipede "พันขา") | ||
สตางค์ | สต+องฺค | ศต+องฺค | centi+ | ประกอบด้วยร้อย |
สต+มตฺต | ศต+มาตฺร | centimetre | "ประมาณร้อย" เซนติเมตร | |
สวาท | สาทุ | สฺวาทุ | sweet | น่าใคร่, น่าปรารถนา, หวาน, อร่อย |
สกฺขรา | ศรฺกรา | sugar | น้ำตาล | |
สตฺต | สปฺต | seven | เจ็ด, (septem-ber) | |
สปฺป | สรฺป | serpent | งู | |
เสโท | เสท | เสฺวท | sweat | เหงื่อ |
สิว | สีวฺ | sew | เย็บ | |
สูป | สูป | soup | แกง, ซุป | |
สุริย | สุริย | สูรฺย | sol, solar | พระอาทิตย์, สูรย์, สุรีย์, สุริยัน, สุริยน |
หทัย, หฤทัย | หทย | หฺฤทย | heart | หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห เช่น ฤทัย, ตัด หฤ เช่น พระทัย |
หัตถ์ | หตฺถ | หสฺต | hand | มือ |
อมตะ | อมต | อมฤต | immortal | ผู้ไม่ตาย |
อวตาร | อวตาร | อวตาร | avatar | ข้ามลง, หยั่งลง; การแบ่งภาคมาเกิดในโลก ของพระนารายณ์; ในศาสนาฮินดูมีการสร้างความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอีกอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ (เป็นความพยายามในการกลืนศาสนา) |
อัคร (อัก-คฺระ) | อคฺค | อคฺร | arch (เลิกใช้) | เลิศ, สำคัญ. archbishop อาชบิชอป |
อัฐ | อฏฺฐ | อษฺฏนฺ | eight | แปด, (octo-ber, octo-gon แปดเหลี่ยม, octo-pus แปด 'แขน') |
อนฺตรา | อนฺตร | inter- | ระหว่าง international ระหว่างประเทศ | |
อันติม- | อนฺติม | ultimate | ที่สุด. | |
อีส อีสก | easy | ง่าย, นิดหน่อย | ||
เอราวัณ | เอราวณ | ไอราวณ | elephant | ช้างพาหนะของพระอินทร์ |
ความคิดเห็น2
มีปนะโยชน์ฟุ๊ตๆๆๆๆ
มีปนะโยชน์ฟุ๊ตๆๆๆๆ
ขอบคุณความรู้ครับ
ขอบคุณความรู้ครับ