ศัพท์บาลีที่มักเขียนผิด อ้างที่มาผิด และการใช้ราชาศัพท์บางคำ

การอ้างที่มาผิด

ธรรมภาษิต คือ ภาษิตธรรมะ
พุทธสาสนสุภาษิต คือ สุภาษิตในพระพุทธศาสนา
พุทธภาษิต คือ ภาษิต คำพูดของพระพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ พระพุทธวจนะ พระพุทธดำรัส

สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ.
(สตึ สพฺพตฺถิกํ วทามิ.)
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
(สํ. ม. 19/572/158)
พระพุทธพจน์
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา.  สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา.  เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก. 
มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ. ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ.
นิสฺสมฺม กรณํ เสยฺโย.  ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ว.ว.)
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา.
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี.
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.

สมเด็จพระสังฆราช (สา)  (ส.ส.)

ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร.
ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์.
สวดมนต์ฉบับหลวง (ส.ม.)
การเขียนสะกดผิด
คำที่ถูกต้อง มักเขียนผิดเป็น 
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ. (ปัญจมีตัปปุริสสมาส)
สุข อื่นจากความสงบ ไม่มี. (พยัญชนะ)
สุขอื่นนอกจากความสงบ ไม่มี. (อรรถ)
ไม่มีความสุข [อันแท้จริง] อื่น นอกจากความสงบ. (อรรถ)
นตฺถิ สนฺติ ปรํสุขํ.
นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ.
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา. (ตติยาตัปปุริสสมาส)
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา.
นิพฺพานปจฺจโย โหตุ. (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส)
ขอ (กุศลกรรมนี้) จงเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน เถิด.
(ไม่พบที่มา)
นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ.
อาโรคฺยปรมา ลาภา. (ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส)
ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง. - แปลตามตัวอักษร (พยัญชนะ)
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง. - แปลเอาความหมาย (อรรถ)
อาโรคฺยา ปรมา ลาภา.
อโรคฺยา ปรมา ลาภา.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
ตนนั่นแหละ เป็นที่พึ่ง ของตน.
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ.
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ.
ธรรม ย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรม.
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี.

 

 

 

การใช้ราชาศัพท์

การเขียนที่ถูก

ตรัส:

  • พระพุทธองค์ตรัส  (=พูด)

เสด็จ:

  • พระพุทธองค์เสด็จแต่พระองค์เดียว  (=ไป)
  • พระพุทธองค์เสด็จไป/เสด็จมา/เสด็จกลับ/เสด็จดำเนิน/เสด็จเดินทาง/เสด็จขึ้น/เสด็จลง/เสด็จจาริก/  (ใช้ เสด็จ นำหน้ากริยาทั้งสามัญและราชาศัพท์ได้)

ประทับ:

  • พระพุทธองค์(เสด็จ)ประทับ ณ พระคันธกุฎี  (ประทับ =อยู่(ที่)…, อยู่กับที่)
  • พระพุทธองค์(เสด็จ)ประทับ บนอาสนะ  (ประทับ =นั่ง)
    = ทรงนั่งบนอาสนะ (ใช้ ทรง นำหน้ากริยาสามัญ)

ทรง:

  • พระพุทธองค์ทรงยืนใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์  (ประทับยืน ยืนและนั่งพร้อมกันไม่ได้)
  • พระราชาทรงรับสั่ง ให้อำมาตย์เข้าเฝ้า  (สั่ง  ไม่ใช่รับคำสั่ง)

อื่นๆ:

  • พระพุทธองค์ประชวร  (ป่วย)
  • พระพุทธองค์บรรทม  (นอน) 
  • พระพุทธองค์เสวย  (กิน) 
    (คำว่า เสวย ที่ไม่ใช่ราชาศัพท์ แปลว่า ได้รับ, ประสบ, เช่น  เสวยทุกขเวทนา, เสวยสิทธิ์ (ได้รับประโยชน์),   พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหากบิลวานร,  พระเทวทัตเสวยกรรมอย่างสาหัส)
  • เจ้าชายนันทะประสูติ  (เกิด)
  • พระราชาโปรด  (รัก, ชอบ)

กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส เสด็จ ประทับ เสวย กริ้ว โปรด ประสูติ ฯลฯ  ไม่ต้องใช้คำว่า ทรง นำหน้าอีก  ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช

การเขียนที่ผิด

  • พระพุทธองค์ทรงตรัส  / ทรงเสด็จ / ทรงประทับ / ประทับนั่ง/ประทับยืน / ทรงเสวย

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.