การประกอบศัพท์ในหมวดธาตุต่างๆ

บทที่  1  ภูวาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุ มี ภู  ธาตุเป็นต้น  มี อ  เป็นวิกรณปัจจัย มีลักษณะและการทำตัวรูปสำเร็จ  ดังนี้

1.  รูปสำเร็จของกริยาศัพท์ในหมวด  ภู  ธาตุ  ส่วนมากจะสังเกตได้ไม่ยาก  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ทั่วไปบางประการที่ควรจำ  ดังนี้

-   ธาตุบางตัวลง  อ ปัจจัยแล้ว  คง อ ไว้  ไม่ต้องวุทธิสระต้นธาตุ  เช่น

  • ตุท +อ+ติ  =  ตุทติ    นุท+อ+ติ  = นุทติ    ป-วิส+อ+ติ  = ปวิสติ
  • ลิข+อ+ติ   =  ลิขติ    ผุส+อ+ติ   =  ผุสติ    อุ-ทิส+อ+ติ  =  อุทฺทิสฺสติ

-   ธาตุสระเดียว  เช่น ชิ, นี, สุ, ภู เป็นต้น  ให้วุทธิ  อิ, อี เป็น เอ  และ อุ, อู เป็น โอ หรือ อว บ้าง  เช่น

  • ชิ +อ+ติ = เชติ         นี+อ+ติ  =  เนติ
  • สุ+อ+ติ  =  สวติ        ภู+อ+ติ  =  ภวติ, โภติ

-   ให้วุทธิธาตุสระเดียว คือ ธาตุที่มีสระ อิ, อี หรือ เอ เป็น อย บ้าง เช่น

  • ธิ + อ+ติ =  ธยติ        นี+อ+ติ  =  เนติ, นยติ
  • สี+อ+อติ =  เสติ, สยติ    เท+อ+ติ  =  ทยติ

-  ให้วุทธิสระ อิ และ อุ ต้นธาตุ อักษร 2 ตัว ไม่มีสังโยค  เป็น เอ และ โอ บ้าง  เช่น

  • อิฎ+อ+ติ = อิฏติ, เอฏติ    ภิส+อ+ติ =  ภิสติ, เภสติ
  • รุท+อ+ติ  = รุทติ, โรทติ    อา+กุส+อ+ติ = อกฺโกสติ

-  ธาตุบางตัว ลง อ ปัจจัยแล้ว  อาเทส อ ปัจจัย เป็น เอ บ้าง เช่น วเทติ, วชฺเชติ  แต่มีใช้น้อย.

2.  นอกจากการทำตัวรูปสำเร็จตามหมวด  ภู  ธาตุ  โดยทั่วไปแล้ว  ยังมีการแปลงรูปเฉพาะธาตุบางตัวได้ด้วย  ดังจะได้แสดงไว้พอสังเขป ดังนี้

  • เอาที่สุดของ คมุ, อิสุ, ยมุ และ อาส ธาตุเป็น จฺฉ บ้าง   เช่น  คจฺฉติ, อิจฺฉติ, ยจฺฉติ และ อจฺฉติ.
  • เอา คมุ ธาตุ เป็น ฆมฺม และ คคฺฆ บ้าง   เช่น ฆมฺมติ, คคฺฆติ.
  • เอา ฐา ธาตุ  เป็น ติฏฺฐ บ้าง   เช่น ติฏฺฐติ, ติฏฺฐตุ, ติฏฺเฐยฺย, ติฏฺเฐยฺยํ.
  • เอา ฐา ธาตุ ที่อยู่หลัง อุปสัค เป็น ฐห บ้าง   เช่น สณฺฐหติ, ปติฏฺฐหติ.
  • เอา ปา ธาตุ เป็น ปิว บ้าง   เช่น ปิวติ, ปิวตุ, ปิเวยฺย, ปิเวยฺยํ.
  • เอา ชร ธาตุ เป็น ชีร, ชิยฺย และเอา มร ธาตุเป็น มิยฺย บ้าง   เช่น ชีรติ, ชิยฺยติ, มิยฺยติ.
  • เอา ทิส ธาตุ เป็น ปสฺส และ ทกฺข บ้าง   เช่น ปสฺสติ, ทกฺขติ.
  • เอา สท ธาตุ เป็น สีท บ้าง   เช่น สีทติ, นิสีทติ, ปสีทติ.
  • เอา วท ธาตุ เป็น วชฺช บ้าง   เช่น วชฺชติ, วชฺเชติ, วชฺชามิ, วชฺเชยฺย.
  • เฌ  ธาตุ  เมื่อลง อ ปัจจัยแล้ว ให้อาเทศ เอ ที่ เฌ เป็น อาย   เช่น ฌายติ เป็นต้น.
  • เอา หน ธาตุ เป็น วธ บ้าง เช่น วธติ.
  • เอา ทา ธาตุ เป็น ทชฺช บ้าง เช่น ทชฺชติ, ทชฺเชยฺย.

3.   เฉพาะ ภู ธาตุ เอง ยังสามารถทำตัวด้วยปัจจัยในหมวด  จุราทิ และ สวาทิ ได้อีกด้วย

 
บทที่ 2 รุธาทิคณิกธาตุ

1. หมวดธาตุมี รุธ ธาตุเป็นต้น มี เป็นวิกรณปัจจัย และนิคคหิตอาคม

2. นอกจากนั้นแล้ว สัททนีติ และ ปทรูปสิทธิ ได้กล่าวเพิ่มอีกว่า หมวดธาตุมี รุธ ธาตุเป็นต้น มี อ, อิ, อี, เอ, โอ ปัจจัย เป็นวิกรณปัจจัย และลงนิคคหิตอาคมที่พยัญชนะตัวถัดจากพยัญชนะที่สุดธาตุ แล้วแปลงนิคคหิตอาคมเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะที่สุดธาตุ ดังนี้

  • รุนฺธติ มาจาก รุธ+อ+ติ ลงนิคคหิตอาคมเป็น รุํธ+อ+ติ และแปลงนิคคหิตเป็น น ซึ่งเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของ ธ สำเร็จรูปเป็น รุนฺธติ.
  • ส่วนที่ลง อิ, อี, เอ, โอ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น รุนฺธิติ, รุนฺธีติ, รุนฺเธติ, รุนฺโธติ
  • นอกจาก รุธ ธาตุแล้ว ยังมีธาตุอื่น เช่น

ฉิทิ ธาตุ (ฉินฺทติ)    ยุช ธาตุ (ยุญฺชติ)
ภิทิ ธาตุ (ภินฺทติ)    ภุช ธาตุ (ภุญฺชติ)

  • อนึ่ง เฉพาะ รุธ ธาตุ ยังสามารถทำตัวด้วยปัจจัยในหมวด ทิวาทิ ได้อีกด้วย
 
บทที่ 3 ทิวาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุมี ทิวุ ธาตุเป็นต้น มี เป็นวิกรณปัจจัยในกัตตุวาจก เมื่อลงแล้วมีอำนาจดังนี้

1. มีหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ลง ย ปัจจัยหลังธาตุที่มีสระเดียวให้คง ย ไว้ เช่น

ขี+ย+ติ = ขียติ.         ฆา+ย+ติ = ฆายติ.     วา+ย+ติ = วายติ.
ตา+ย+ติ = ตายติ.    ฌา+ย+ติ = ฌายติ.     ยา+ย+ติ = ยายติ.

2. เมื่อลง ย ปัจจัยท้าย ชน ธาตุ  เอาพยัญชนะที่สุดธาตุ เป็น อา  เช่น ชายติ.
3. เมื่อลง ย ปัจจัยแล้ว   ย จะเปลี่ยนรูปตามพยัญชนะที่อยู่หน้า   สำหรับธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ต้องทำ เทฺวภาว (คือซ้อนอักษร) โดยทำนองเดียวกับในกัมมวาจกและภาววาจกด้วย (แต่ไม่ต้อง ลง อิ อาคม) มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • แปลง ย ปัจจัย กับที่สุดธาตุซึ่งเป็นอักษร ใน กวรรค, ฏวรรค และ ปวรรค เป็นอักษรเหมือนกันกับพยัญชนะที่สุดธาตุของวรรคทั้ง 3 ดังกล่าวนั้น และเอาพยัญชนะอัพภาสซึ่งเป็นพยัญชนะที่ 2 และ 4 เป็นพยัญชนะที่ 1 และที่ 3 ของวรรคนั้นๆ ดังนี้
วรรค ก        
ก+ย = กฺก
(สก+ย+ติ = สกฺกติ)
ข+ย = กฺข * ค+ย = คฺค * ฆ+ย = คฺฆ * ง+ย (ไม่มี)
วรรค ฏ        
ฏ+ย = ฏฺฏ
(ลุฏ+ย+ติ = โลฏฺฏติ)
ฐ+ย = ฏฺฐ * ฑ+ย = ฑฺฑ * ฒ+ย = ฑฺฒ * ณ+ย = ญฺญ *
วรรค ต        
ป+ย = ปฺป
(ตป+ย+ติ = ตปฺปติ)
ผ+ย = ปฺผ * พ+ย = พฺพ * ภ+ย = พฺภ
(ลุภ+ย+ติ =ลุพฺภติ)
ม+ย = มฺม
(สมุ+ย+ติ = สมฺมติ)
* ไม่พบอุทาหรณ์        
  • แปลง ย ปัจจัย กับที่สุดธาตุซึ่งเป็นอักษรใน จวรรค, ตวรรค เป็นอักษรเหมือนกันกับพยัญชนะที่สุดธาตุของวรรค จ และเอาพยัญชนะอัพภาสซึ่งเป็นพยัญชนะที่ 2 และ ที่ 4 เป็นพยัญชนะที่ 1 และที่ 3 ดังนี้
วรรค จ        
จ+ย = จฺจ
(ปจ+ย+ติ = ปจฺจติ)
ฉ+ย = จฺฉ * ช+ย = ชฺช
(ลุช+ย+ติ = ลุชฺชติ)
ฌ+ย = ชฺฌ * ญ+ย = ญฺญ *
วรรค ต        
ต+ย = จฺจ
(นต+ย+ติ = นจฺจติ)
ถ+ย = จฺฉ * ท+ย = ชฺช (ปท+ย+ติ = ปชฺชติ) ธ+ย = ชฺฌ
(พุธ+ย+ติ = พุชฺฌติ)
น+ย = ญฺญ
(หน+ย+ติ = หญฺญติ)
* ไม่พบอุทาหรณ์        
  • และซ้อนพยัญชนะเศษวรรค คือ ร, ล, ว, ส, ห เช่น
ร+ย = ยฺย เช่น ปูรี+ย+ติ = ปุยฺยติ
ล+ย = ลฺล เช่น ปิล+ย+ติ = ปิลฺลติ
ว+ย = พฺพ เช่น ทิวุ+ย+ติ = ทิพฺพติ
ส+ย = สฺส เช่น มุส+ย+ติ = มุสฺสติ
ห+ย = ยฺห เช่น นห+ย+ติ = นยฺหติ
  • นอกจากนี้แล้วเฉพาะ  ทิวุ ธาตุ ยังทำตัวรูปสำเร็จด้วยวิกรณปัจจัยในหมวด  จุราทิ ได้ด้วย
 
บทที่  4  สวาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุมี สุ ธาตุเป็นต้น  ลง ณุ, ณา และ อุณา ปัจจัย เมื่อลงแล้วมีอำนาจดังนี้

1.  มีหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ณุ ณา และ อุณา ปัจจัยเหล่านี้ซึ่งเป็นปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ แต่ก็ไม่มีอำนาจในการวุทธิธาตุ เหมือนปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ อื่นๆ  แต่ทำวุทธิสระที่ตัว ณุ ปัจจัยได้บ้าง คือ

  • เมื่อลง ณุ วิกรณปัจจัยแล้ว  ทำวุทธิ อุ ที่ ณุ เป็น โอ บ้าง เช่น สุโณติ (สุ+ณุ+ติ), สํวุโณติ (สํ-วุ+ณุ+ติ) เป็นต้น
  • ส่วน ณา, อุณา ปัจจัย เมื่อลงแล้วคงไว้ เช่น สุณาติ, สํวุณาติ, ปาปุณาติ.

2. ธาตุบางตัวที่มีวิธีเฉพาะตัว  ต่างจากหลักเกณฑ์ในข้อ  1 ดังนี้

  • สุ ธาตุ เมื่อลง อัชชตนี, ภวิสสันติ และ กาลาติปัตติวิภัตติ ให้ลบ ณา ปัจจัย, ทำวุทธิ อุ ที่ สุ ธาตุเป็น โอ,  แล้วทำเทวภาวะ  ส, สำเร็จเป็น อสฺโสสิ, อสฺโสสึสุ, โสสฺสติ, โสสฺสนฺติ, อสฺโสสฺสา, อสฺโสสฺสํสุ เป็นต้น.
  • สก ธาตุ ทำเทฺวภาวะเป็น สกฺก ลบ อุณา ปัจจัย  สำเร็จเป็น สกฺกุณาติ, สกฺกุณนฺติ  และเมื่อลง อัชชตนีวิภัตติ เป็นต้น  เอา ที่สุดธาตุเป็น , ลบ อุณา ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น อสกฺขิ, อสกฺขึสุ, สกฺขิสฺสติ, สกฺขิสฺสนฺติ, สกฺขิสฺส, อสกฺขิสฺสํสุ เป็นต้น.
  • มิ ธาตุ เมื่อลง ณุ ปัจจัยแล้ว แปลง ณ เป็น น, สำเร็จเป็น มิโนติ, มินนฺติ.
  • ปาปุณาติ สำเร็จมาจาก อป ธาตุ มี เป็นบทหน้า ลง อุณา ปัจจัยแล้วทำทีฆะ ที่ต้นธาตุ.

3. สำหรับ สุ ธาตุเป็นอเนกคณิกธาตุ ทำตัวรูปสำเร็จด้วยปัจจัยใน ภูวาทิ  และ กิยาทิ ได้ด้วย


บทที่  5   กิยาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุมี กี ธาตุเป็นต้น มี นา เป็นวิกรณปัจจัย เมื่อลงแล้วมีอำนาจดังนี้

  1. โดยทั่วไป เมื่อลง นา ปัจจัยแล้วให้คงไว้ เช่น ชินาติ, จินาติ, มุนาติ เป็นต้น.
  2. เมื่อลง นา ปัจจัยแล้ว ให้รัสสะสระที่สุดธาตุ เช่น กิณาติ, ลุนาติ, ลีนาติ, ธุนาติ เป็นต้น
  3. สำหรับ กี ธาตุ เมื่อลง นา ปัจจัยแล้ว ให้รัสสะ อี เป็น อิ  แล้วแปลง นา เป็น ณา  เช่น กิณาติ, วิกฺกิณาติ เป็นต้น
  4. สำหรับ มา ธาตุ เมื่อลง นา ปัจจัยแล้ว  เอาสระที่สุดของ  มา ธาตุเป็น อิ สำเร็จเป็น มินาติ.
  5. ในเพราะ นา ปัจจัย มีการอาเทส ญา ธาตุ เป็น ชา, ชํ  และ นา บ้าง ดังนี้
  • จะอาเทส ญา ธาตุ เป็น ชา ได้ ต้องลง  นา ปัจจัยเท่านั้น เช่น  ชานาติ, ชาเนยฺย เป็นต้น.
  • ในที่มี ญา ซึ่งแปลงมาจาก เอยฺย วิภัตติเท่านั้น ให้แปลง ญา ธาตุเป็น ชํ,  ลบ นา ปัจจัย, สำเร็จรูปเป็น ชญฺญา.
  • บางแห่งแปลง  นา ปัจจัย เป็น ย  เช่น ญายติ  และบางแห่งยังแปลง ญา ธาตุ เป็น นา  เช่น นายติ, นายเร เป็นต้น.
  1. สำหรับ เฉพาะ  กี ธาตุ เป็น อเนกคณิกธาตุ  ประกอบปัจจัยในหมวด สวาทิ ได้ด้วย.
 
บทที่   6  คหาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุมี คห ธาตุเป็นต้น  มี ปฺป, ณฺหา เป็นวิกรณปัจจัย  เมื่อลงแล้วมีอำนาจดังนี้

การทำตัวรูปสำเร็จ ตามหมวด คห ธาตุ  มีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ควรจำ  ดังนี้

  • เมื่อลง ณฺหา ปัจจัยแล้ว ลบ ที่ คห ธาตุ เสมอ เช่น คณฺหาติ.
  • เมื่อลงวิภัตติหมวด ปโรกขา, อัชชตนี, ภวิสสันติ และ กาลาติปัตติ  ให้ลบวิกรณปัจจัย, แปลง อิ อาคม เป็น เอ, แล้วลง ส อาคม สำเร็จรูปเป็น อคฺคเหสิ, อคฺคเหสุอคฺคหิ, อคฺคหึสุ, อคฺคหุ. อคฺคยฺหิตฺถ, อคฺคยฺหิ เป็นต้น.
  • เมื่อลง ปฺป ปัจจัยหลัง คห ธาตุ ให้แปลง คห เป็น เฆ สำเร็จรูปเป็น เฆปฺปติ.

อนึ่ง คห ธาตุนี้  ในคัมภีร์ไวยากรณ์บางคัมภีร์  เช่น ปทรูปสิทธิ  เป็นต้น  ท่านไม่จัดเป็นหมวดคหาทิคณะ ไว้เป็นหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ได้นับรวมไว้ใน กิยาทิคณะ  เพราะแม้ตัว คห ธาตุเองก็ยังมีรูปที่สำเร็จด้วยวิกรณปัจจัยในหมวด ภูวาทิ  และหมวด จุราทิ ได้ด้วย  ส่วนใน กัจจายนะ ได้จัดไว้เป็นอีกหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ  ด้วยสูตรว่า “คหาทิโต ปฺปณฺหา”  ซึ่ง สัททนีติ  ก็สนับสนุนมตินี้ด้วยเช่นกัน.

 
บทที่  7  ตนาทิคณิกธาตุ

หมวดธาตุมี ตนุ ธาตุเป็นต้น  มี โอ, ยิร เป็น วิกรณปัจจัย (สำหรับ ยิร ปัจจัยนี้ ท่านให้ลงหลัง กร ธาตุเท่านั้น)  และเมื่อลงปัจจัยเหล่านี้แล้วมีหลักเกณฑ์ต่างๆ  ดังนี้

1. การทำตัวรูปสำเร็จธาตุในหมวด  ตนุ ธาตุ  มีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ควรจำ  คือ

  • หลัง ตนุ ธาตุเป็นต้น เอา โอ ปัจจัยเป็น อุ บ้าง เช่น ตนุเต, ฆนุเต, สนุเต เป็นต้น

2. การทำตัวรูปสำเร็จเฉพาะ  กร  ธาตุ มีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบ  ดังนี้

  • กร ธาตุ  ลง โอ ปัจจัยเป็น กโรติ บ้าง
  • แปลง  โอ ปัจจัยเป็น อุ, เอาสระ อ ที่ ก เป็น อุ  แล้วเอา  อุ, ลบที่สุดธาตุ  สำเร็จเป็น กุรุเต, กุรุเส, กุรุเวฺห, กุรุเมฺห  ดังนี้บ้าง.
  • ในพหุวจนะ ให้แปลง โอ ปัจจัยเป็น อุ, เอาสระ ที่ ก เป็น อุ, แล้วเอา อุ ที่แปลงมาจาก โอ ปัจจัยเป็น , ลบที่สุดธาตุ, ทำเทวภาวะเป็น วฺว  แล้วแปลงเป็น พฺพ,  สำเร็จเป็น กุพฺพนฺติ, กุพฺพนฺเต.
  • เอา ตุ, อนฺตุ วิภัตติเป็น ตํ, อนฺตํ  บ้าง เช่น กุรุตํ, กยิรตํ, กุพฺพนฺตํ เป็นต้น.
  • เมื่อลง ยิร ปัจจัย  มีอำนาจให้แปลง เอยฺย และ เอ ของ เอถ วิภัตติเป็น อา, สำเร็จเป็น กยิรา, กยิราถ.  นอกจากนี้ให้ลบ เอยฺย ของ เอยฺยุ, เอยฺยาสิ วิภัตติ สำเร็จรูปเป็น กยิรุํ, กยิราสิ.
  • ในหมวด หิยัตตนี  แปลง กร เป็น กา, ลบสระ อา และ โอ ปัจจัยบ้างเช่น อกา, อกรา, อกรู, อกโร, อกตฺถ, อกโรตฺถ. อกํ, อกรํ, อกมฺห. อกตฺถ. อกรึ, อกรมฺหเส.
  • ในหมวด อัชชตนี แปลง กร เป็น กา, ลบ โอ ปัจจัย, ลง ส อาคมบ้าง  เช่น อกาสิ, อกาสุํ. อกาสิตฺถ. อกาสึ, อกาสิมฺห.
  • ในหมวด ภวิสสันติ  มีการอาเทส กร และ โอ ปัจจัยเป็น กาห, ลบ สฺส ที่ สฺสติ วิภัตติ เป็นต้น  สำเร็จเป็น กาหติ, กาหนติ.  กาหสิ, กาหถ.  กาหามิ, กาหาม. และที่ลง อิ อาคม เป็น กาหิติ, กาหินฺติ เป็นต้น.
  • ในเพราะ ยิร ปัจจัย มีอำนาจให้ลบ ร อักษรที่สุดของ กร ธาตุ  เป็น กยิรติ, กยิรนฺติ เป็นต้น.
  • ในกัมมวาจกเป็น กรียฺยเต, กริยฺยติ, กรียนฺติ. กยฺยติ, กยฺยนฺติ.
  • ในกัมมวาจกมีรูปสำเร็จที่เป็น กยิรติ, กยิรนฺติ  ด้วยเช่นกัน แต่สำเร็จมาจาก กร+อิ+ย+ติ (กร ธาตุ+ย ปัจจัย+อิอาคม+ติวิภัตติ = กริยติ)  ทำการสลับ รย  อักษร เป็น ยร  สำเร็จเป็น กยิรติ (อันเขาย่อมกระทำ) เป็นต้น.
  • เมื่อมี สํ เป็นบทหน้า ให้อาเทส กร ธาตุ เป็น ขร เช่น อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.
  • สำหรับ ตนุ ธาตุ เป็นอเนกคณิกธาตุ  ทำตัวด้วยปัจจัยในหมวด  ภูวาทิ และจุราทิ ได้ด้วย.
 
บทที่  8  จุราทิคณิกาธาตุ

หมวดธาตุมี จุร ธาตุเป็นต้น  มี เณ, ณย เป็นวิกรณปัจจัย  เมื่อลงแล้วมีอำนาจดังนี้

1. การทำตัวรูปสำเร็จตามหมวด จุร ธาตุ  เมื่อเป็นกัตตุวาจก ให้ลง เณ, ณย  ปัจจัย  แล้ว

  • ลบ ณ อนุพันธ์  มีวิธีการวุทธิเหมือน  เณ, ณย ในการิตปัจจัย  ส่วนมากจะสังเกตได้ไม่ยาก  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ทั่วไปบางประการที่ควรจำ  ดังนี้
  • เมื่อลงปัจจัยแล้วมีอำนาจให้ทำการวุทธิสระต้นธาตุจาก อิ, อี เป็น เอ  จาก อุ, อู เป็น โอ  หรือจาก อ เป็น  อา  โดยรูปสำเร็จ  เมื่อประกอบด้วย  เณ  ปัจจัยจะมีรูปเป็น  โจเรติ, โจเรนฺติ.  โจเรสิ, โจเรถ.  โจเรมิ, โจเรม.  เมื่อประกอบด้วย ณย ปัจจัยจะมีรูปเป็น  โจรยติ, โจรยนฺติ, โจรยสิ, โจรยถ.  โจรยาม.
  • ธาตุที่เป็นทีฆะหรือมีสังโยค ไม่มีการทำวุทธิสระต้นธาตุ  เช่น  ปาเลติ  (ปาล+เณ+ติ), สูจยติ  (สูจ+ณย+ติ), จินฺเตติ  (จินฺต+เณ+ติ), มนฺตยติ  (มนฺต+ณย+ติ)  เป็นต้น.
  • ธาตุที่มีสระ อิ เป็นที่สุดธาตุ  ให้ลงนิคคหิตอาคมหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ  ตามกฎเกณฑ์ที่ว่า  อิการนฺเต  นิคฺคหีตํ  นิจฺจํ  ภูวาทิจุราทิเก  แล้วแปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคจัดเป็นสังโยคด้วยจึงไม่มีการวุทธิ  เช่น  ผฑิ ธาตุ สำเร็จเป็น ผณฺเฑติ, ผณฺเฑติ.  ภชิ ธาตุ สำเร็จเป็น ภญฺเชติ, ภญฺชยติ เป็นต้น.
  • ธาตุบางตัวถึงแม้เป็นรัสสะ ก็ไม่ต้องทำวุทธิสระต้นธาตุ  เช่น  คณ ธาตุเป็น คเณติ, คณยติ.  ฆฏ  ธาตุ  ฆเฏติ, ฆฏยติ.  มห ธาตุ มเหติ, มหยติ.  กถ ธาตุ กเถติ, กถยติ เป็นต้น.
  • นอกจากนี้เฉพาะ  จุร  ธาตุยังสามารถทำตัวรูปสำเร็จด้วยปัจจัยในหมวด ภูวาทิ ได้ด้วย.

2. สำหรับ จุราทิคณะ เมื่อจะลงการิตปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก ให้ลงได้เพียง ณาเป และ ณาปย ปัจจัย  ๒  ตัวเท่านั้น  ส่วน เณ และ  ณย เป็นปัจจัยที่ลงในกัตตุวาจก.

 
บทที่  9  อเนกคณิกธาตุ

อเนกคณิกธาตุ  คือ  ธาตุที่เป็นได้ตั้งแต่ 2  คณะขึ้นไป โดยการจำแนกตามวิกรณปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยประจำหมวดธาตุ  และด้วยอำนาจของวิกรณปัจจัยนี้เอง  ที่ทำให้รูปสำเร็จหรือกริยาศัพท์ที่ประกอบมาจากธาตุนั้นๆ มีรูปและความหมายต่างกัน  มีธาตุจำนวนมากที่สามารถประกอบกับปัจจัยประจำหมวดธาตุได้มากกว่า 1 หมวด  และมีรูปสำเร็จตามคุณลักษณะของปัจจัยประจำหมวดธาตุนั้นๆ เช่น  อกิ ธาตุ ในความ “ไป, ถึง, บรรลุ; ทำเครื่องหมาย”  ประกอบกับวิกรณปัจจัยได้  2 คณะ คือ  อ ปัจจัยใน ภูวาทิคณะ สำเร็จรูปเป็น องฺกติ  และถ้าประกอบกับ เณ  หรือ ณย ปัจจัยใน จุราทิคณะ จะสำเร็จรูปเป็น องฺเกติ หรือ องฺกยติ   กิริยาศัพท์ทั้ง 3 นั้นมีความหมายหรือคำแปลเหมือนกัน  คือ อาจจะแปลว่า ย่อมไป, ย่อมถึง, ย่อมบรรลุ หรือ แปลว่า ย่อมทำเครื่องหมายก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ  เพราะธาตุทั้งหลายมีอรรถมากมายและยังประกอบกับปัจจัยประจำหมวดธาตุได้หลายหมวดหลายคณะ  จึงมีรูปต่างๆ

ที่มา: พจนานุกรมธาตุ ภาษาบาลี, 2541. พระมหาปราโมทย์ ปโมทิโต วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี.

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.