กลัว, ขลาด
อรรถของธาตุ
ภเย
ตัวอย่าง
ภายติ ภยํ ภยานโก ภีโม ภีรุ ภีรุกชาติโก
คมฺภีโร คภีโร การิต-ภาเยติ ภายาเปติ
- ภยํ น. ภัย, 'น่ากลัว.
- ภยานโก ค. น่ากลัว, น่าหวาดเสียว.
- ภีโม ป. ยักษ์, 'น่ากลัว;' คนดุร้าย.
- ภีรุ ภีรุกชาติโก น. คนขลาด.
- คมฺภีโร คภีโร ค. คัมภีร์*; คภีร์; ลึก, ซึ้ง, 'ไปน่ากลัว.' [ค-คจฺฉนฺตา ไป, ภ=ภายนฺติ กลัว, อีร ปัจ. - สูจิ].
* คำนี้ตามที่มีใช้ในบาลีเป็นดังนี้:- น้ำลึก แผ่นดินลึก เป็นต้น ใช้ศัพท์ คัมภีร์ คภีร์ ได้. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามือรรถละเอียดสุขุมลุ่มลึก ท่านก็ใช้ศัพท์ทั้ง 2 นี้. น่าจะเป็นโดยนัยหลังนี้ จึงเลือนมาหมายความว่า เป็นสมุดหรือตำหรับในภาษาไทย แต่ถ้าจะแปลคำว่า สมุด หรือ ตำหรับ ในภาษาไทยเป็นบาลีว่า คมฺภีโร ไม่ได้เป็นอันขาด มีคำอื่นในบาลีซึ่งใช้อยู่แล้ว เช่น คนฺถ โปตฺถก เป็นต้น. คำที่เรียกว่า พระคัมภีร์ ก็เท่ากับเรียกว่า 'พระลึก.' (ผู้แต่ง)
หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
365
ที่มา
ธป
Comments