รักษา, เลี้ยง
อรรถของธาตุ
รกฺขเน
ตัวอย่าง
ปาเลติ ปาลยติ ปาลโก ปาลิโต ปาลนํ ปาลิ
- ปาลโก ค. ผู้รักษา, ผู้เลี้ยง.
- ปาลนํ กน. ความรักษา, ความเลี้ยง.
ศัพท์เป็นปริยายของความรักษา คือ รกฺขนํ ตาณํ โคปนํ อวนํ ปาลนํ รกฺขา อาวรณํ คุตฺติ - ส. - ปาลิ อิ. บาลี. แปลได้ 3 นัย ;-
- พระบาลี คือ พระปริยัตติธรรม รักษาอรรถ; ดุจขอบสระใหญ่ เพราะรักษาน้ำคืออรรถไว้ภายใน
และอีกนัย แยก ป+อาลิ 'ระเบียบคำที่พุทธาทิบัณฑิตประกาศ' (ป=ปกาสิต) แปลง ล เป็น ฬ ได้บ้าง.* - ขอบ, ปาก (ของสระเป็นต้น) ดังบาลีว่า มหโต ตฬากสฺส ปาลิ ขอบของสระใหญ่.
- แถว, แนว, ลำดับ ดังบาลีว่า ปาลิยา นิสีทึสุ นั่งเป็นแถว หรือ นั่งเป็นระเบียบ - ส.
- พระบาลี คือ พระปริยัตติธรรม รักษาอรรถ; ดุจขอบสระใหญ่ เพราะรักษาน้ำคืออรรถไว้ภายใน
* ที่ปราชญ์โบราณเขียนเป็น ปาฬิ ก็โดยได้นัยจากตำราศัพทศาสตร์ ที่บอกให้แปลง ล เป็น ฬ ดังนี้. ว่าทางเหตุผลก็อาจเป็นว่า ปาลิ เป็นคำธรรมดา เมื่อเป็นชื่อของพระปริยัตติธรรม คือพระพุทธพจน์ ก็แปลงเป็น ฬ เสีย หมายให้เป็นที่เคารพ หรือเป็นพิเศษ คล้ายคำ อฏฺฐกถา ซึ่งที่จริงก็ อตฺถกถา นั่นแล แต่แปลงเป็น ฏฺฐ เสีย ก็เพื่อให้เป็นพิเศษแปลกจากคำธรรมดา ซึ่งในบัดนี้ก็ยังใช้เช่นนั้น เทียบในภาษาอังกฤษ คำที่เป็นอสาธารณนาม เขาก็ใช้อักษรใหญ่เหมือนกัน. แต่ปราชญ์ชาวตะวันตกนิยมใช้ตามรูปเดิม คือ ปาลิ ถึงได้แต่งดิกชันนารี เรียกว่า Pali Dictionary เป็นต้น; ปราชญ์ในเมืองไทยก็อนุโลมตาม จึงกลับใช้เป็น ปาลิ เพื่อให้สม่ำเสมอกัน หรือที่เรียกว่าเป็นแบบสากล แลก็ไม่ควรกลับใช้เป็น ปาฬิ อีก (ผู้แต่ง).
หมวดธาตุ
จุร (เณ ณย)
คาถา/หน้า
497
ที่มา
ธป
Comments