กูช

อรรถของธาตุ
อวฺยตฺเต สทฺเท

ร้อง, ส่งเสียง (สำหรับสัตว์)

ตัวอย่าง

กูชติ-กุชฺชติ 

ธาตุนี้ ธป. มีโนตว่าเป็น กุช บ้าง. แลให้ดูเทียบ กุชิ ในธาตุปฺ. เล่มก่อน.

โมรจฺฉาโปว กูชติ ร้องอยู่ดุจลูกอ่อน แห่งนกยูง หรือ ดุจลูกนกยูง ชาอ. 2/439=4/208 ไทยเป็น กุชฺชติ.

วิกูชติ-วิกุชฺชติ [วิ+กูช หรือ กุช] ก. ร้องก้อง, ส่งเสียงก้อง. อุปนทนฺตีติ วิกูชนฺติ เปตวตฺถุอ. 189 (ยังไม่มีฉบับพิมพ์ไทยสอบ) ในที่นี้หงส์ร้อง.

วิกูชนฺต [จาก วิกูชติ] กค. ร้องก้องอยู่, ส่งเสียงก้องอยู่. สกุณสงฺฆา มธุรสฺสเรน วิกูชนฺตา ฝูงสกุณร้องก้องอยู่ด้วยเสียงไพเราะ ชาอ. 1/83.

วิกูชมาน-วิกุชฺชมาน [จาก วิกูชติ-วิกุชฺชติ] กค. ร้องก้องอยู่, ส่งสำเนียงก้องอยู่, นวกา ภิกฺขู … มุฏฺฐสฺสตี อสมฺปชานมานา นคฺคา วิกุชฺชมานา กากจฺฉมานา เสยฺยํ กปฺเปนฺติ เหล่านวกภิกษุ…เผลอสติ ไม่รู้สึก นอนเปลือยกาย ส่งเสียงพึมพำ -ละเมอแลกรนอยู่ วิน. 2/171 (วิกูช-กุชฺช นี้ตามธรรมดา ใช้สำหรับสัตว์ร้อง ในที่นี้เห็นจะเป็นอาการคล้ายสัตว์ จึงใช้ศัพท์นี้) วิกุชฺชมาน=วิปฺปลปมาน ละเมอ-เพ้อ, กากจฺฉมาน กรน =นาสาย กากสทฺทํ วิย นิรตฺถสทฺทํ มุญฺจมาน วินอ. 2/293.

อภิกูชิต-อภิกุชฺชิต [อภิ+กูช หรือ กุช] กค. ส่งสำเนียงก้องแล้ว (สำหรับ นก), เห่าก้องแล้ว (สำหรับ สุนัข). ปิงฺคเลนาภิกุชฺชิตํ (ในที่นี้ หมายเอาสุนัขเห่าก้อง) ชาอ. 8/59 ยุโรป เป็น -ภินิกูชิตํ.

อุปกูชิต-อุปกุชฺชิต [อุป+กูช หรือ กุช] กค. ร้องระเบงเซ็งแซ่แล้ว. อิมา ตา โปกขรณิโย รมฺมา จากวากูปกุชฺชิตา สระโปกขรณีเหล่านี้นั้น เป็นที่รื่นรมย์ อันเหล่านกจากพรากร้องระเบงเซ็งแซ่แล้ว ชาอ. 6/360.

หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
ธป. ธม.
ที่มา
ธป

Comments

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.