กุถ

อรรถของธาตุ
ปาเก; ปูติภาเว; สํเกฺลสเน จ

หุง, ต้ม, สุก, เดือด; บูด, เน่า, เปื่อย; เศร้าหมอง

ตัวอย่าง

กุถติ

กุถนฺต [จาก กุถติ] กค. สุกอยู่, เดือดอยู่. ทสฺเสสิ มาตลิ … เวตรณึ นทึ กุถนฺตึ มาตลี แสดงแม่น้ำเวตรณี (ในนรก) อันกำลังเดือด (แด่พระเจ้าเนมิราช) ชาอ. 6/105 =9/178. ไทยเป็น กุฏฺฐิต เดือดแล้ว

กุถิต [จาก กุถติ] กค. สุกแล้ว, เดือดแล้ว พหลกุถิตลาขารสวณฺณํ มีวรรณดุจรสแห่งครั่งอันสุกแล้วหรือต้มแล้ว หนา ขุทฺทกปาฐอ. 62-66 ไทยเป็น พหลกุฏฺฐิต-. กุฏฺฐิตปนสตจสฺส อพฺภนฺตรสทิสํ เช่นกับภายในแห่งเปลือกแห่งลูกขนุนอันสุกแล้ว. วิสุทฺธิมคฺค 1/40.

ฉบับไทยเป็น กุฏฺฐิต ทั้งสิ้น ในอรรถเช่นนี้ จะว่าๆ กุถ ธาตุนี้เป็น กุฐ บ้าง ก็ไม่ชอบ เพราะเทียบธาตุสํสกฤตได้ว่า กฺวถ ซึ่งมีอรรถเค้าเดียวกัน น่าจะว่าๆ กุถ นี้แล ถ กลายเป็น ฐ แล้วสํโยค ซึ่งพอจะเทียบกับคำอื่นได้บ้าง.

ยังมีคำ ปกฺกุฏฺฐิต อีกคำหนึ่ง ซึ่งแเปลว่า เดือดพล่านแล้ว เช่น ปกฺกุฏฺฐิตํ อุณฺโหทกํ น้ำร้อนเดือดพล่านแล้ว ธมฺอ. 1/117. แล ปกฺกุฏฺฐิตโลหิโต มีโลหิตเดือดพล่านแล้ว ธมฺอ. 2/163 ในที่เหล่านี้ ยุโรปกลับเป็น ปกฺกฏฺฐิต ไปหมด ไม่มี ปกฺกุ- เลย (Dh A. 1/126, 179, 2/5) ข้าพเจ้ารู้สึกว่า คำเหล่านี้ติดจะฟั่นเผือพอใช้ ในระหว่างไทยกับยุโรป เชิญท่านผู้รู้ทั้งหลายลองวิจารดูบ้าง.

ปกฺกุฏฺฐิต นั้น ถ้าจะแยก ก็ควรเป็น ป+กุฏฺฐิต (ซึ่งกลายมาจาก กุถิต ) แต่ถ้าจะแยกว่า ปกฺก+อุฏฺฐิต ในเมื่อไม่มีคำ กุฏฺฐิต เฉยๆ ยันอยู่ ก็พอจะฟังไปได้ แต่เมื่อได้หลักเช่นนี้แล้ว นับว่าฟังไม่ขึ้น.

ปกฺกฏฺฐิต นั้น ก็เลือนมากลายมาจาก ป+กุถ นี้เอง.

หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
ธม.
ที่มา
ธป

Comments

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.