แบบอัพยยศัพท์

หมายเหตุ พื้นสีเทา คือ คำที่ใช้เป็นคำถาม

หมายเหตุหน้า 1

ในแบบไวยากรณ์ เดิม ในชีทนี้
 

นิบาต ใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง  เพื่อบอก อาลปนะ (ภนฺเต), กาล (หิยฺโย), ที่ (อนฺโต), ...

การท่อง:  นิบาต ใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง  เพื่อบอก อาลปนะ, กาล, ที่ ...
คำในวงเล็บ ไม่ต้องท่อง ลงไว้เพื่อให้เห็นตัวอย่างศัพท์

นิบาตบอกกาล  
หิยฺโย วันวาน หิยฺโย หีโย ในวันวาน, เมื่อวาน

การท่อง: ฮีโย ในวันวาน เมื่อวาน  
หิยฺโย/หีโย ออกเสียงเหมือนกันว่า ฮี-โย (hīyo)

สุเว ในวัน   ...   เสฺว วันพรุ่ง เสฺว, สุเว ในวันพรุ่ง
  • สุเว คำเดียว หมายถึง ในวันพรุ่ง(นี้)  เช่น โก ชญฺญา มรณํ สุเว. ใครพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง
  • สุเว สุเว คู่กัน แปลว่า ในวัน(หนึ่ง)ๆ หมายถึงทุกวัน =เทวสิกํ  เช่น
    กาฬปกฺเข ยถา จนฺโท  หายเตว สุเว สุเว
    ในกาฬปักษ์  พระจันทร์ย่อมเสื่อมลงทุกวันๆ ฉันใด
นิบาตบอกที่  
ติโร ภายนอก
พหิ ภายนอก
พหิทฺธา ภายนอก
พาหิรา ภายนอก
ติโร, พหิ, พหิทฺธา, พาหิรา-รํ ภายนอก
การท่อง: ติโร พหิ พหิทฺธา พาหิรา พาหิรํ ภายนอก

(พหิรา ใน ธอ ไม่พบ, ใน ไตร. พบ 1 แห่ง)

อนฺตรา  ระหว่าง อนฺตรา-เร  ระหว่าง
การท่อง: อนฺตรา อนฺตเร ระหว่าง
ในแบบไวยากรณ์ เดิม ในชีทนี้
นิบาตบอกปริจเฉท  
... สมนฺตา รอบคอบ

การท่อง:
กีว เพียงไร
ยาว เพียงใด  –  ตาว เพียงนั้น
ยาวเทว เพียงใดนั่นเทียว   –   ตาวเทว เพียงนั้นนั่นเทียว
ยาวตา มีประมาณเพียงใด  –   ตาวตา มีประมาณเพียงนั้น
กิตฺตาวตา มีประมาณเท่าไร  –   เอตฺตาวตา มีประมาณเท่านั้น

แล้วจบด้วย  สมนฺตา โดยรอบ

สมนฺตา แปลว่า โดยรอบ  เช่น สมนฺตา อารกฺขํ คณฺหถ. จงถือเอา ซึ่งการอารักขา โดยรอบ.
ที่แปลว่า รอบคอบ เป็นภาษาเก่า เช่น ในบทสวด "มาป้องกันห้อมล้อมรอบคอบทั่ว อนันตา"
(รอบคอบ คือ โดยรอบ,  อนันตา คือ ไม่มีที่สุด)

กิตฺตาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าไร
ย ใด  และศัพท์ที่เนื่องด้วย ย แปลว่า "-ใด" ไม่ใช้เป็นคำถาม
กึ -ไร  และศัพท์ที่เนื่องด้วย กึ แปลว่า "-ไร" ใช้เป็นคำถาม

นิบาตบอกอุปมาอุปไมย  
ยถา ฉันใด  
เสยฺยถา  แม้ฉันใด
ยถา, เสยฺยถาปิ (แม้)ฉันใด

การท่อง:  ยถา เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด ... 
(ยถา แปลว่า ฉันใด   เสยฺยถาปิ แปลว่า แม้ฉันใด)
เสยฺยถา มี ปิ ต่อท้ายเสมอ   ใน ไตร. ธอ. เป็น เสยฺยถาปิ เท่านั้น
ยถา แปลว่า ฉันใด   เสยฺยถาปิ แปลว่า แม้ฉันใด

วิย ราวกะ 
อิว เพียงดัง
วิย   ราวกะ
อิว; ยถา (ในคาถา)  เพียงดัง

การท่อง:  วิย ราวกะ   อิว ยถา เพียงดัง
(ยถา เช่น  จนฺโท ปณฺณรโส ยถา)
นิบาตบอกประการ  
เอวํ ด้วยประการนั้น   กถํ ด้วยประการไร 
ตถา ด้วยประการนั้น
ยถา โดยประการใด    ตถา, เอวํ โดยประการนั้น
กถํ โดยประการไร

นิบาตบอกประการ แปลว่า “โดย…”  ไม่ได้แปลว่า "ด้วย…"
และไม่มีคำว่า "ยถา" ใน "แบบ" ในหัวข้อนิบาตบอกประการ

นิบาตบอกความถาม  
กึ หรือ, อะไร กึ หรือ, ทำไม, อย่างไร
กึ นิบาต  แปลว่า  หรือ, ทำไม, อย่างไร
กึ สัพพนาม  แปลว่า  ใคร, อะไร, ไหน
กจฺจิ แลหรือ กจฺจิ แลหรือ (แปลโดยอรรถ บ้างหรือ, บ้างไหม)
เพิ่ม อปิ บ้างหรือ (แปลโดยอรรถ บ้างไหม)  (วาง อปิ ไว้ต้นประโยค)
  ปิ อปิ ใกล้, บน  อุปสัค  มีใช้เพียง อปิธานํ และ ปิทหติ
ปิ อปิ แม้, บ้าง   นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยค เช่น เอวมฺปิ, เวชฺเชนาปิ
อปิ บ้างหรือ   นิบาตบอกความถาม  วาง อปิ ไว้ต้นประโยค  เช่น  อปิ ภนฺเต กิญฺจิ ลทฺธํ?

หมายเหตุหน้า 2

ในแบบไวยากรณ์ เดิม ในชีทนี้
ปัจจัยนั้น ลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิภัตติบ้าง
ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาบ้าง
ปัจจัย ลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิภัตติ   
ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาและวิภัตติ

อัพยยปัจจัย ลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายวิภัตติ เช่น
กาตุํ  กาตเว ลง ตเว ตุํ ปัจจัย  เป็นเครื่องหมายปฐมาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ

  ตฺร อ่านว่า ตฺระ / ตฺร๊ะ  (ควบกล้ำ เช่น ตระกูล)
ตฺถ อ่านว่า ตฺ-ถะ  (ตะ ออกเสียงสั้นๆ)
ยตฺร อ่านว่า ยัด-ตฺระ/ตฺร๊ะ  (ควบกล้ำ)
อตฺร อ่านว่า อัด-ตฺระ/ตฺร๊ะ  (ควบกล้ำ)
เอตฺถ อ่านว่า เอ็ด-ถะ  (เอ ที่มีตัวสะกด ออกเสียงสั้น)
กฺว อ่านว่า กฺวะ/กฺว๊ะ  (ควบกล้ำ เช่น ไม้กวาด)
  เพิ่ม:  กตฺถจิ กฺวจิ ในที่ไหนๆ, ในที่บางแห่ง
กทาจิ ในกาลไหน, บางคราว กทาจิ ในกาลไหนๆ, บางคราว

กึ มี จิ ต่อท้าย ไม่ใช่คำถาม.  แปลว่า กาลไหนๆ

กุทาจนํ ในกาลไหน กุทาจนํ ในกาลไหน  เป็นบทท้ายของหลายคาถา
ไม่ใช้เป็นคำถาม (อาจจะมาจากรูป กทาจิ กุทาจิ)

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.