ดำริ, คิด, นึก; ทำ, สำเร็จ; ต้ด, โกน; กำหนด, หมาย
อรรถของธาตุ
วิตกฺเก; วิธิมฺหิ; เฉทเนสุ จ
ตัวอย่าง
กปฺเปติ กปฺปยติ ปกปฺเปติ สํกปฺเปติ กปฺปิโต
กปฺโป (น.). [กปฺป ธาตุ] มีอุปสัคบ้าง ไม่มีบ้าง แปลได้หลายอย่าง:-
- ดำริ, คิด ‘=วิตกฺก’ ดังบาลีว่า เนกุขมมสํกปฺโป อพฺยาปาทสํกปฺโป.
- ทำให้ยิ่ง, จัดแจงยิ่ง ‘=อธิกวิธาน’ ดังบาลีว่า จีวเรปิ วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย.
- เปรียบ, เช่น, เหมือน ‘=ปฏิภาค=สทิส’ ดังบาลีว่า สตฺถุกปฺเปน วต โภ สาวเกน สทฺธึ มนฺตยมานา น ชานิมฺหา.
- นาม, ชื่อ, ชื่อที่ตั้ง ‘=ปญฺญตฺติ’ ดังบาลีว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป.
- กาล, เวลา, สมัย ‘=กาล’ ดังบาลีว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ วิหรามิ.
- อายุอย่างสูงของคนในยุคนั้นๆ ‘=ปรมายุ’ ดังบาลีว่า อากงฺขมาโน อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา.
- กล่าว, พูด, บอก ‘=โวหาร’ ดังบาลีว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ.
- รอบด้าน ‘=สมนฺตภาว’ ดังบาลีว่า เกวลกปฺปํ เวฬุวนํ โอภาเสตฺวา.
- เชื่อ, เชื่อถือ ‘=อภิสทฺทหน=สทฺธา’ ดังบาลีว่า สทฺธา สทฺทหนา โอกปฺปนา อภิปฺปสาโท.
- ตัด, โกน, ปลง ‘=เฉทน’ ดังบาลีว่า อลงฺกโต กปฺปิตเกสมสฺสุ.
- สัมฤทธิผล, บังเกิดผล, บันดาลให้เป็นผล ‘=วินิโยค’ ดังบาลีว่า เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ.
- วินัยกรรม, ทำ หรือ ประพฤติตามที่บัญญัติไว้ ‘=วินัยกิริยา’ ดังบาลีว่า กปฺปกเตน อกปฺปกตํ สํสิพฺพิตํ โหติ.
- เลส, เหตุนิดหน่อย ‘=เลส’ ดังบาลีว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ หนฺทาหํ นิปชฺชามิ.
- กัปเป็นระหว่างๆ, อันตรกัป ‘=อนฺตรกปฺป’ ดังบาลีว่า อาปายิโก เนรยิโก กปฺปฏฺโฐ สงฺฆเภทโก กปฺปํ นิรยมฺหิ ติฏฺฐติ.
- ตัณหา, ทิฏฐิ, กิเลส, ความชั่ว ‘=ตณฺหา, ทิฏฺฐิ’ ดังบาลี ตณฺหากปฺโป ทิฏฺฐิกปฺโป.
- อสงไขยกัป, กัปนับไม่ถ้วน ‘=อสงฺเขยฺยกปฺป’ ดังบาลีว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป อเนเกปิ วิวฏฺฏกปฺเป.
- มหากัป, กัปใหญ่ ‘=มหากปฺป’ ดังบาลีว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว กปฺปสฺส อสงฺเขยฺยานิ.
- กำหนด, ประมาณ, วัด, หมาย ‘=วิกปฺป’ ดังบาลีว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป - ส.
สํกปฺโป สํกปฺปนํ (น.) ดำริ, คิด, นึก, พิจารณา, ใคร่ครวญ [สํ+กปฺป].
วิกปฺโป (น.) กำหนด, ประมาณ, วัด หมาย; เก็บไว้, มอบไว้, ฝากไว้ [วิ+กปฺป].
กปฺปโก (น.) ช่างตัดผม, ช่างกัลบก [กปฺป-เฉทเน ณฺวุ ปัจ - สูจิ]
หมวดธาตุ
จุร (เณ ณย)
คาถา/หน้า
487
ที่มา
ธป
Comments