สิ้น, เสื่อม, เปลี่ยน, แปลง
อรรถของธาตุ
ขเย
ตัวอย่าง
พฺยเยติ พฺยยติ อพฺยโย อพฺยยํ อพฺยยีภาโว
- อพฺยโย ค. คงที่ อยู่ที่, 'ไม่สิ้น, ไม่เสื่อม, เปลี่ยนไม่ได้, แปลงไม่ได้' [อ+พฺยย].
- อพฺยยํ นป. อพฺยย, คำที่ไม่เปลี่ยน, คำที่คงที่. ในไวยากรณ์ ได้แก่จำพวก อุปสัค นิบาต ปัจจัย.
- อพฺยยีภาโว ภน. อพฺยยีภาว, ความเป็นของไม่สิ้น, ไม่เสื่อม, ไม่เปลี่ยน, หรือ เปลี่ยนไม่ได้, แปลงไม่ได้, ความเป็นของคงที่, อยู่ที่; เป็นชื่อของสมาสในไวยากรณ์อย่าง 1 เรียก อัพยยีภาวสมาส ซึ่งมีอุปสัค หรือ นิบาต อยู่ข้างหน้า.
คำว่า อพฺยโย อพฺยยํ ส. ไม่ได้วางไว้โดยตรง แต่วางคำว่า อพฺยยีภาโว ไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับแสดงคำทั้ง 2 นั้นไว้ด้วย ข้าพเจ้าจึงเติมลง แต่ตามมติข้าพเจ้าเห็นว่า อพฺยย ออกจาก อิ แยกดังนี้ อ+วิ+อิ. ทำ วิ เป็น วฺย, อิ เป็น อย, เป็น วฺยย ประกอบ อ เป็น อวฺยย 'ไม่เป็นไปต่างๆ' แปลง ว เป็น พ จึงเป็น อพฺยย. เมื่อเช่นนี้ ได้ศัพท์อีก 2 คือ อวฺยโย อวฺยยํ (ความเหมือนกับ อพฺยโย อพฺยยํ) แต่ ส. มาตั้งเป็น พฺยย ธาตุเสียทีเดียว และในอธิการของ อิ ธาตุ ไม่ได้แสดงไว้.
หมวดธาตุ
จุร (เณ ณย)
คาถา/หน้า
494
ที่มา
ธป
Comments