โรย, โปรย, เรี่ยราย, กระจาย
กิรติ
ธาตุนี้ รูปสัมฤทธิเฉพาะตัวธาตุ มีที่ใช้น้อย ที่พบโดยมาก มักประกอบอุปสัค แลใช้มากในหนังสือทั้งปวง จักนำมาพอสมควร ดังต่อไปนี้.
อพฺภุกฺกิรติ (อภิ เป็น อพภ+อุ+กิร] ก. ราดลงเฉพาะ, ขว้างไป, สาดไป, ซัดไป.
- กุณฺฑิกาหิ อุทกํ คเหตฺวา ปายาสํ อพฺภุกฺกิริตฺวา ถือน้ำด้วยกุณฑี ท. แล้วราดข้าวปายาสลง ชาอ. 8/294.
- …มหาสุทสฺสโน…ทกฺขิเณน หตฺเถน จกฺกรตนํ อพฺภุกฺกิริ มหาสุทัสสนะ ทรงขว้างไปซึ่งจักรรัตนะ ด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา ที. 2/213 (ฉบับไทยเป็น อพฺพุก. ยุโรปเป็น อพฺภุก.
เรื่อง อพฺพ. อพฺก. ในธาตุนี้ น่าวินิจฉัยอยู่ เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น เป็นดังต่อไปนี้)
อพฺพ. พบรูปเดียวแต่ที่เป็น อพฺโพกิณฺณ ซึ่งมีอรรถปฏิเสธ แลคนละความกับ อพฺภุกกิร จะเป็นรูป อพฺพุกกิร, อพฺโพกิร หรือ อพฺโพกฺกิร (ที่ถูกต้อง) เป็นต้น ยังไม่พบเลย.
อพฺภ. พบแต่ที่เป็นรูป อพฺภุกฺกิร, อพฺโภกิร หรือ อพฺโภกฺกิร เป็นต้น ซึ่งมีอรรถไม่ปฏิเสธ แลคนละความกับ อพฺโพกิณฺณ ที่เป็นรูป อพฺโภกิณฺณ (ที่ถูกต้อง) ยังไม่พบเลย.
อพฺโพกิณฺณ [อ+วิ+อว+กิร] กค. ไม่เกลื่อนกล่น, ไม่คละ, ไม่เจือปน, ไม่มีอะไรคั่น-สลับ, ล้วน. (ที่แยกเช่นนั้น เทียบ อพฺโพหาริก=อ+วิ+อว+หร. หรือ อพฺโพจฺฉินน=อ+วิ-อว+ฉิท)
วจฉสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ปญฺจ ชาติสตานิ อพฺโพกิณฺณานิ พฺราหฺมณกุเล ปจฺจาชาตานิ … ห้าร้อยชาติ ของวัจฉะไม่เจือปนแล้ว เกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์โดยลำดับ ขุ. 1/95 ฉบับไทยเป็น อพฺโภ. แต่อรรถกถาเป็น อพฺโพ. ดังนี้ อพฺโพกิณฺณานีติ ขตฺติยาทิชาติอนฺตเรหิ อโวมิสฺสานิ อนนฺทริตานิ ปญฺจ ชาติสตานิ อุทานอ. 243. เรื่องพระวัจฉะนี้ชักไปพูดใน ธมฺอ. 8/579 อีก (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ สองเป็น อพฺโพกิณฺณานิ แต่ทำไมพิมพ์ครั้งที่สามจึงเป็น อพฺโภกิณฺณานิ ซึ่งผิด). เอกจฺโจ กุกฺกุรวตฺตํ ภาเวติ ปริปุณฺณํ อพฺโพกิณฺณํ คนบางคนบำเพ็ญวัตรแห่งลูกสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่เจือปน - เป็นนิจ มชฺ. 2/83. อพฺโพกิณฺณนฺติ นิรนฺตรํ มชฺอ. 3/96.
…อพฺโพกิณฺโณ ปาเฏกฺโก อาเวณิโก ไม่เจือปนแล้ว เป็นแพนกหนึ่งต่างหาก วินอ. 1/486.
อพฺโพกิณฺณ อรรถกถาวางคำไข มักใช้ว่า อโวมิสฺส อสมฺมิสฺส เป็นต้น เช่น อพฺโพกฺกิณฺณนฺติ อญฺเญน อสมฺมิสฺสํ นิทฺเทสอ. 1/95. อพฺโพกิณฺณนฺติ นิรนฺตรํ อญฺเญน เจตสา อสมฺมิสฺสํ องฺอ. 3/181.
[อพฺโพจฺฉินฺน ที่ชักมาเทียบ แปลว่า ไม่ขาด, ไม่เป็นท่อน, เสมอ, เป็นนิจ. ธุวกาลนฺติ อพฺโพจฉินฺนกาลํ นิทฺเทสอ. 1/95. มีบ้างที่เป็น อพฺโภจฺ. เช่น ถิเรน อพฺโภจฺจฉินฺนนิรนฺตรวิริเยน ชาอ. 2/353 ในที่นี้จะแปล อพฺโภจฺ. ว่า 'ขาดเฉพาะ' โดยเอา อภิ เป็น อพฺภ ไม่ได้เป็นอันขาด ต้องเป็น อ+วิ+อว อย่างเดิม แต่หากกลายมา-เพี้ยนมา จึงเป็น อพฺโภจฺ. หรือจะถือว่าผิดก็ควร ดุจคำ อพฺโพหาริก ถ้าเป็น อพฺโภ. ก็ต้องว่าผิด.
โวกิณฺณ [วิ+อว+กิร] กค. เกลื่อนกล่น, คละ, เจือ, ฯลฯ อเนกาการโวกิณฺโณ=อเนกาการสมฺมิสฺโส… วินอ. 1/480.
(คำ โวกิณฺณ นี้แล ถ้าให้เป็นปฏิเสธ ก็เป็น อพฺโพกิณณ).
อพฺโภกิรติ [อภิ+โอ+กิร ] ก. โปรยลง, โรยลง, เรี่ยราย. อพฺโภกิริสฺสํ ปตฺเตหิ วิมานวตฺถุ หน้า 4 ฉบับยุโรป. อพฺโภกิริสฺสนฺติ อภิโอกิรึ อภิปฺปกิรึ วิมานวตฺถุอ. หน้า 38 ฉบับยุโรป (ยังไม่มีฉบับไทยเทียบ).
โอกิรติ [โอ+กิร] ก. โปรยลง, หล่นลง ฯลฯ.
อชฺโฌกิรติ [อธิ+โอ+กิร] ก. โปรยลงทับ, หล่นลงทับ ฯลฯ.
อภิปฺปกิรติ [อภิ+ป+กิร] ก. โปรยปรายยิ่ง, โปรยปรายเนืองๆ ฯลฯ.
ตานิ (มณฺฑารวปุปฺผานิ*) ตถาคตสฺส สรีรํ โอกิรนฺติ อชฺโฌกิรนฺติ อภิปฺปกิรนฺติ ดอกมณฑารพ ท. หล่นลง โปรยลงทับ โปรยปรายเนืองๆ ยังพระสรีระของพระตถาคต ที. 2/172.
โอกิรนฺติ=อวกิรนฺติ=วิกิรนฺติ. อชฺโฌกิรนฺติ=อชฺโฌตฺถรนฺตา วิย กิรนฺติ. อภิปฺปกิรนฺติ=อภิณฺหํ ปกิรนฺติ ทีอ. 2/ 232
* เป็น มนฺทารว… ก็มี.
Comments