หมวด 2 | หมวด 3 | หมวด 4 | หมวด 5 | หมวด 6 | หมวด 7 | หมวด 8 | หมวด 9 | หมวด 10 | ปกิณณกะ
ทุกะ หมวด 2 ติกะ หมวด 3
จตุกกะ หมวด 4 |
ปัญจกะ หมวด 5
ฉักกะ หมวด 6 |
สัตตกะ หมวด 7 อัฏฐกะ หมวด 8 นวกะ หมวด 9 ทสกะ หมวด 10
ปกิณณกะ หมวดเบ็ดเตล็ด |
กตเม เทฺว ธมฺมา พหุการา.
(1) สติ จ (2) สมฺปชญฺญญฺจ.
อิเม เทฺว ธมฺมา พหุการา.
ธรรม 2 อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน.
คือ (1) สติ และ (2) สัมปชัญญะ.
ธรรม 2 อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก.
(องฺ. ทุก. 20/119. ที. ปาฏิ. 11/290)
ฐาน คือ มุทฺธา แปลว่า ยอด, ศีรษะ หมายถึง ยอด/ศีรษะ ของเหงือก (บริเวณโคนฟันบน)
เรียกว่า ปุ่มเหงือก (gum ridge ส่วนที่นูนของเหงือก) ไม่ใช่ทั้งศีรษะ (ที่มีตา จมูก ปาก)
(ในรูปคือ มุทฺธา ฐานที่ 3 ซึ่งมีกรณ์ คือ ชิวฺโหปคฺค ลิ้นส่วนใกล้ปลายลิ้น เคลื่อนไปยังจุดนี้)
แนวทางการท่องกฎ/ศัพท์สนธิ โดยใช้ชีทสรุปย่อ
ท่องโดยใช้วิธีนี้ จนจบชีท
ท่องจบชีทแล้ว จะกลับมาทบทวนเมื่อใด ก็ดูจาก ชีท สรุปย่อกฎสนธิ นี้ (หากจำกฎเต็มไม่ได้ ก็ย้อนกลับไปดู)
ส่วนศัพท์ตัวอย่างสนธิ (ศัพท์สนธิในแบบ) ดูจากชีท สรุปกฎสนธิ โดยต้องจำให้ได้ว่า แต่ละศัพท์
แต่อย่างน้อยที่สุด ควรพยายามจำให้ได้ก่อนว่า ศัพท์สนธิ(ในแบบ)นั้น ตัดเป็นอะไร
ส่วนวิธีการต่อ ก็ค่อยๆ ศึกษาทำความเข้าใจตามไป
มหานิกาย
ธรรมยุต
* วัดที่ไม่ระบุชื่อจังหวัด คือ อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวนพระภิกษุสามเณร
การท่อง:
ธาตุ 8 หมวด
หมวด ภู ธาตุ ลง อ เอ ปัจจัย
หมวด รุธ ธาตุ ลง อ เอ ปัจจัย และนิคคหิตอาคม หน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ
หมวด ทิว ธาตุ ลง ย ปัจจัย
หมวด สุ ธาตุ ลง ณุ ณา ปัจจัย
หมวด กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย
หมวด คห ธาตุ ลง ณฺหา ปัจจัย
หมวด ตน ธาตุ ลง โอ ปัจจัย
หมวด จุร ธาตุ ลง เณ ณย ปัจจัย
ภู ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น ภว | แปลว่า มี, เป็น | เช่น ภวติ ย่อมมี, ย่อมเป็น |
หุ ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น โห | แปลว่า มี, เป็น | เช่น โหติ ย่อมมี, ย่อมเป็น |
สี ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น เส, สย | แปลว่า นอน | เช่น เสติ สยติ ย่อมนอน |
ชิ ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น เช, ชย | แปลว่า ชนะ | เช่น เชติ ชยติ ย่อมชนะ |
มร ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น มร | แปลว่า ตาย | เช่น มรติ ย่อมตาย |
ปจ ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น ปจ | แปลว่า หุงต้ม, เผา | เช่น ปจติ ย่อมหุงต้ม, ย่อมเผา |
อิกฺข ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น อิกฺข | แปลว่า เห็น | เช่น อิกฺขติ ย่อมเห็น |
ลภ ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น ลภ | แปลว่า ได้ | เช่น ลภติ ย่อมได้ |
คม ธาตุ | ลง อ ปัจจัย | เป็น คจฺฉ | แปลว่า ไป, ถึง | เช่น คจฺฉติ ย่อมไป, ย่อมถึง |
การท่อง:
สาธนะ ที่มีรูปวิเคราะห์เป็น กัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก เป็น กัตตุรูป
สาธนะ ที่มีรูปวิเคราะห์เป็น กัมมวาจก เหตุกัมมวาจก เป็น กัมมรูป
สาธนะ ที่มีรูปวิเคราะห์เป็น รูปวิเคราะห์ เป็น ภาววาจก เป็น ภาวรูป
การท่อง:
ปัจจัยกิริยากิตก์ 10 ตัว เป็นเครื่องหมายวาจก ดังนี้
กิตปัจจัย: อนฺต ตวนฺตุ ตาวี เป็นเครื่องหมาย กัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก
กิจจปัจจัย: อนีย ตพฺพ เป็นเครื่องหมาย กัมมวาจก เหตุกัมมวาจก และภาววาจก
กิตกิจจปัจจัย: มาน ต ตูน-ตฺวา-ตฺวาน เป็นเครื่องหมายวาจกทั้ง 5
ปัจจัยกิริยากิตก์ เป็นเครื่องหมายกาล ดังนี้
อนฺต มาน บอกปัจจุบันกาล แปลว่า อยู่, เมื่อ
ตวนฺตุ ตาวี ต ตูน-ตฺวา-ตฺวาน บอกอดีตกาล แปลว่า แล้ว; ครั้น...แล้ว
อนีย ตพฺพ บอกความจำเป็น แปลว่า พึง
กาลในกิริยากิตก์
ปัจจุบันกาล (ใช้ อนฺต มาน ปัจจัย)
1. ปัจจุบันแท้ แปลว่า …อยู่
2. ปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่า เมื่อ…
อดีตกาล (ใช้ ตวนฺตุ ตาวี ต ตูน-ตฺวา-ตฺวาน ปัจจัย)
1. ล่วงแล้ว แปลว่า …แล้ว
2. ล่วงแล้วเสร็จ แปลว่า ครั้น…แล้ว
ความจำเป็น (ใช้ อนีย ตพฺพ ปัจจัย) แปลว่า พึง…
บันทึกแก้คำผิด และหมายเหตุบางคำที่ไม่แน่ใจว่าผิดหรือไม่ และอื่่นๆ เท่าที่พบ ประมาณร้อยกว่าแห่ง
ใน หนังสือพจนานุกรมไทย-บาลี ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 (2559)
(เป็นการบันทึกเท่าที่พบ ไม่ได้ไล่ตรวจทีละหน้าๆ)
หมายเหตุ การแยกจำนวน 1-4 ที่เป็นสัพพนามออกจากตารางสังขยา
สังขยานั้นใช้ขยายนามนามเพื่อบอกจำนวน/ลำดับ ฉะนั้น สังขยาทั้งหมดจึงเป็นคุณนามโดยธรรมชาติ แม้แต่สังขยาจำนวน 99 ขึ้นไป (เอกูนสตํ) ที่ท่านกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นนามนาม ก็ยัง(กลับไป)ใช้เป็นคุณนาม(ตามธรรมชาติเดิม)ได้
ในหนังสือบาลีไวยากรณ์ ท่านได้ระบุไว้อีกว่า จำนวน 1-4 เป็นสัพพนาม โดยอ้างคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ดังนี้
“ปกติสังขยานี้ ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ท่านแบ่งเป็น ๒ พวก
ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ จัดเป็น สัพพนาม
ตั้งแต่ ปญฺจ ไป เป็น คุณนาม.”
ในการใช้งานจริง เอก-จตุ สังขยาคุุณนาม หรือ เอก-จตุ สัพพนาม นับ/แทน/ประกอบ นามนามได้ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ไม่มีการระบุว่าเมื่อ เอก-จตุ สัพพนาม ไปนับ/แทน/ประกอบ นามนาม จะมีการใช้พิเศษไปกว่า เอก-จตุ สังขยาคุณนาม อย่างไร (ยกเว้น เอก สัพพนาม เท่านั้น ที่แจกวิภัตติต่างกัน) ทั้งเมื่อนำสังขยาไปนับนามนาม ก็พิจารณาแต่เพียงว่า เป็นสังขยาคุณนาม (1-98) หรือสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) เท่านั้น ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นสัพพนามหรือไม่
ฉะนั้น ในตารางการจัดปกติสังขยา ได้แยกเรื่อง เอก-จตุ สัพพนาม ออกจากตารางสังขยา โดยระบุการแจก เอก สัพพนาม ไว้ในชีทเรื่องสัพพนาม ส่วนท้ายตาราง ในชีทเรื่องสังขยานี้ กล่าวให้ทราบแต่เพียงว่า เอก-จตุ ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ตารางอ่านง่ายดูง่ายสำหรับนักเรียน ไม่เพิ่มความซับซ้อนความลำบากแก่นักเรียนโดยไม่จำเป็น เพราะใส่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงเข้ามา