ตัทธิต

สารบัญ

ความหมาย

ประเภท

1. สามัญญตัทธิต

1. โคตตตัทธิต   
2. ตรัตยาทิตัทธิต  
3. ราคาทิตัทธิต  
4. ชาตาทิตัทธิต  
5. สมุหตัทธิต
6. ฐานตัทธิต  
7. พหุลตัทธิต  
8. เสฏฐตัทธิต  
9. ตทัสสัตถิตัทธิต
10. ปกติตัทธิต  
11. สังขยาตัทธิต  
12. ปูรณตัทธิต  
13. วิภาคตัทธิต

2. ภาวตัทธิต  
3. อัพยยตัทธิต


ชีทประกอบการศึกษา: • รูปวิเคราะห์ตัทธิตทำตัวศัพท์ตัทธิต ตามขั้นตอน อย่างง่าย

 

ตัทธิต หมายถึง ปัจจัยประเภทหนึ่ง ใช้ลงท้ายนามศัพท์หรืออัพยยศัพท์ เพื่อแทนเนื้อความของศัพท์อื่น  
ทั้งเป็นการย่อศัพท์ให้สั้นลง และหมายถึงศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิตนั้นๆ ด้วย  
(แบบ: ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อ สำหรับใช้แทนศัพท์ ย่อคำพูดลงให้สั้น ชื่อว่า ตัทธิต)

สหาย  
(สหาย/เพื่อน)
+ตา  
(แทน ภาว ศัพท์)
+สิ  
 
=  สหายตา (ความเป็นแห่งสหาย/เพื่อน)
นามศัพท์/อัพยยศัพท์ ปัจจัยตัทธิต วิภัตตินาม* 

* ถ้าลงปัจจัยตัทธิตที่เป็นอัพยยะ ก็ไม่ต้องลงวิภัตตินาม

 

เปรียบเทียบสมาส-ตัทธิต           

สมาส:สหายสฺส  ภาโว  สหายภาโวความเป็นแห่งสหาย
ตัทธิต:สหายสฺส  ภาโว  สหายตา   
(ใช้ ตา ปัจจัย แทน ภาว ศัพท์)
ความเป็นแห่งสหาย


เปรียบเทียบสมาส-สนธิ-ตัทธิต-นามกิตก์

สมาส  ต่อคำ (เกิดเป็นคำใหม่)สนธิ  ต่ออักขระตัทธิต  นาม/อัพยยศัพท์-ปัจจัยนามกิตก์  ธาตุ-ปัจจัย
  "ตัทธิต" เป็นชื่อของปัจจัยตัทธิต  
และศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิต
"(นาม)กิตก์" เป็นชื่อของปัจจัย(นาม)กิตก์  
และศัพท์ที่ลงปัจจัย(นาม)กิตก์
ต่อศัพท์ (ทุกประเภท  
ยกเว้นอาขยาต*)
ต่ออักขระของศัพท์ลงปัจจัยท้าย นามศัพท์ บ้าง  
อัพยยศัพท์ บ้าง  
เพื่อแทนศัพท์ต่างๆ
ลงปัจจัยท้าย ธาตุ  
แสดงหน้าที่ (สาธนะ) ของคำ
คำที่ต่อมีความหมายเกี่ยวเนื่องกันคำที่ต่อไม่จำเป็นต้องมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน**  
เกิดเป็นคำใหม่ไม่เกิดเป็นคำใหม่เกิดเป็นคำใหม่เกิดเป็นคำใหม่
สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม-สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม อัพยยศัพท์สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม
เข้าสมาสแล้ว ทำสนธิได้อีกการแปลต้องตัดบท (ปทจฺเฉท)  
คือแยกศัพท์ออก ก่อนแปล
  

* อตฺถิ นตฺถิ ในบทสมาส  เช่น อตฺถิภาโว นตฺถิภาโว  ถือเป็นนิบาต  
** คือไม่ต้องคำนึงถึงว่าศัพท์ที่นำมาต่อ มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่  
 

ตัทธิตว่าโดยย่อ มี 3 อย่าง (จัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท) คือ

  1. สามัญญตัทธิต
  2. ภาวตัทธิต
  3. อัพยยตัทธิต

 

1. สามัญญตัทธิต  แบ่งออกเป็น 13  คือ
 แทนศัพท์จำนวนปัจจัย 
1) โคตตตัทธิตอปจฺจ โคตฺต ปุตฺต8 ณายน ณาน เณยฺย  ณิ ณิก ณว เณร (ณฺย)
2) ตรัตยาทิตัทธิตตรติ ศัพท์เป็นต้น1ณิก
3) ราคาทิตัทธิตรตฺต ศัพท์เป็นต้น1
4) ชาตาทิตัทธิตชาต ศัพท์เป็นต้น3อิม  อิย  กิย (ย)
5) สมุหตัทธิตสมุห ศัพท์3กณฺ    ตา
6) ฐานตัทธิตฐาน ศัพท์1อีย (อีย เอยฺย)
7) พหุลตัทธิตปกติ พหุล ศัพท์1อาลุ
8) เสฏฐตัทธิตวิเสส อติวิเสส ศัพท์5ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺฐ
9) ตทัสสัตถิตัทธิตอตฺถิ ศัพท์9วี สี อิก อี  วนฺตุ มนฺตุ (อิมนฺตุ)
10) ปกติตัทธิตปกต วิการ ศัพท์1มย
11) สังขยาตัทธิตปริมาณ ศัพท์1  (ตฺตก อาวตก)
12) ปูรณตัทธิตปูรณ ศัพท์5ติย        อี
13) วิภาคตัทธิตวิภาค ศัพท์2ธา  โส
    
2. ภาวตัทธิตภาว ศัพท์6ตฺต  ณฺย  ตฺตน  ตา    กณฺ  (ณิย เณยฺย พฺย)
3. อัพยยตัทธิตปการ ศัพท์2ถา  ถํ  (กฺขตฺตุํ)

ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย กล่าวว่าสามัญญตัทธิต มี 15   โดยเพิ่ม อุปมาตัทธิต และ นิสสิตตัทธิต เข้ามา

 

1. สามัญญตัทธิต

1) โคตตตัทธิตมีปัจจัย 8 ตัว คือ  ณ ณายน ณาน เณยฺย  ณิ ณิก ณว เณร    
ใช้แทน อปจฺจ โคตฺต ปุตฺต (เหล่ากอ เชื้อสาย ลูก ลูกหลาน วงศ์ โคตร บุตรธิดา)

ปุ. แจกอย่าง ชน (โคตโม)  
อิต. ลง อี ปัจ. แจกอย่าง นารี (โคตมี)  
นปุ. แจกอย่าง กุล (โคตมํ)

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
วสิฏฺโฐ1วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํวาสิฏฺโฐ วาเสฏฺโฐ2เหล่ากอ/ลูก/เชื้อสาย แห่งวสิฏฐะ
วสิฏฺโฐวสิฏฺฐสฺส ปุตฺโตวาสิฏฺโฐบุตรแห่งวสิฏฐะ
วสิฏฺโฐวสิฏฺฐสฺส ธีตาวาสิฏฺฐี*ธิดาแห่งวสิฏฐะ
วสิฏฺโฐวสิฏฺฐสฺส กุลํวาสิฏฺฐํตระกูลแห่งวสิฏฐะ
โคตโม โคตมะ, ชื่อโคตรโคตมสฺส อปจฺจํโคตโม โคตมี* โคตมํเหล่ากอแห่งโคตมะ
วสุเทโววสุเทวสฺส อปจฺจํวาสุเทโว วาสุเทวีวาสุเทวํเหล่ากอแห่งวสุเทวะ
วสโววสวสฺส อปจฺจํวาสโวเหล่ากอแห่งวสวะ
เวสามิตฺโตเวสามิตฺตสฺส ปุตฺโตเวสามิตฺโตบุตรแห่งเวสามิตตะ
ภารทฺวาโชภารทฺวาชสฺส อปจฺจํภารทฺวาโชเหล่ากอแห่งภารัทวาชะ
มนุ3มนุโน อปจฺจํมานุโสเหล่ากอของพระมนู; คน, มนุษย์. (สฺ อาคม)

1  เป็นชื่อโคตรของเหล่าพราหมณ์

2  แปลง อิ เป็น เอ (ใน ไตร. มีทั้งสองแบบ)

3  มนู เทพผู้สร้างมนุษย์

* ลง อี ปัจ. อิต

 

ณายน

กจฺโจกจฺจสฺส อปจฺจํกจฺจายโนเหล่ากอแห่งกัจจะ
วจฺโฉวจฺฉสฺส อปจฺจํวจฺฉายโนเหล่ากอแห่งวัจฉะ
โมคฺคลฺลีโมคฺคลฺลิยา อปจฺจํโมคฺคลฺลายโนเหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี

ณาน

กจฺโจกจฺจสฺส อปจฺจํกจฺจาโนเหล่ากอแห่งกัจจะ
วจฺโฉวจฺฉสฺส อปจฺจํวจฺฉาโนเหล่ากอแห่งวัจฉะ
โมคฺคลฺลีโมคฺคลฺลิยา อปจฺจํโมคฺคลฺลาโนเหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี

เณยฺย

ภคินีภคินิยา อปจฺจํภาคิเนยฺโย ภาคิเนยฺยาเหล่ากอแห่งพี่น้องหญิง, หลานชาย หลานสาว
วินตาวินตาย อปจฺจํเวนเตยฺโยเหล่ากอแห่งนางวินตา
โรหิณีโรหิณิยา อปจฺจํโรหิเณยฺโยเหล่ากอแห่งนางโรหิณี
กตฺติกากตฺติกาย ปุตฺโตกตฺติเกยฺโยบุตรแห่งนางกัตติกา
นที (อิต.)นทิยา ปุตฺโตนาเทยฺโยบุตรแห่งแม่น้ำ
คงฺคาคงฺคาย อปจฺจํคงฺเคยฺโยเหล่ากอแห่งแม่น้ำคงคา
สุจิสุจิยา ปุตฺโตโสเจยฺโยบุตรแห่งคนสะอาด

ณิ

ทกฺโขทกฺขสฺส อปจฺจํทกฺขิเหล่ากอแห่งทักขะ
วสโววสวสฺส อปจฺจํวาสวิเหล่ากอแห่งวสวะ
วรุโณวรุณสฺส อปจฺจํวารุณิเหล่ากอแห่งวรุณะ

ณิก

สกฺยปุตฺโต1สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํสกฺยปุตฺติโก สกฺยปุตฺติโย2เหล่ากอแห่งบุตรแห่งสักยะ
นาฏปุตฺโตนาฏปุตฺตสฺส อปจฺจํนาฏปุตฺติโก นาฏปุตฺติโย2เหล่ากอแห่งบุตรแห่งชนรำ/นักฟ้อน
ชินทตฺโตชินทตฺตสฺส อปจฺจํเชนทตฺติโกเหล่ากอแห่งชินทัตตะ

1  บุตรแห่งสักยะ, ศากยบุตร.  ใน ไตร. ธอ. พบแต่ ‘สกฺย-’ โดยมาก   ส่วน ‘สากฺย-’ พบบ้างเล็กน้อย  (สันสกฤต: ศากฺย- shakya)

2  แปลง ก เป็น ย.  สกฺยปุตฺติโย ใช้มากกว่า สกฺยปุตฺติโก

 

ณว

อุปกุอุปกุสฺส อปจฺจํโอปกโวเหล่ากอแห่งอุปกุ
มนุ1มนุโน อปจฺจํมานโว มานวิกาเหล่ากอแห่งมนุ, คน (ชาย, หญิง)
ภคฺคุภคฺคุโน อปจฺจํภคฺคโวเหล่ากอแห่งภัคคุ

1 มนู เทพผู้สร้างมนุษย์

 

เณร

วิธวาวิธวาย อปจฺจํเวธเวโรเหล่ากอแห่งแม่ม่าย
วิธโววิธวสฺส อปจฺจํเวธเวโรเหล่ากอแห่งพ่อม่าย
สมโณสมณสฺส อปจฺจํสามเณโร สามเณรีเหล่ากอแห่งสมณะ, สามเณร

ณฺย

กุณฺฑนีกุณฺฑนิยา ปุตฺโต โกณฺฑญฺโญบุตรแห่งนางกุณฑนี
กุรุกุรุโน ปุตฺโตโกรพฺโยพระโอรสแห่งพระเจ้ากุรุ
ภาตาภาตุโน ปุตฺโตภาตพฺโยบุตรแห่งพี่น้องชาย
อทิติอทิติยา ปุตฺโตอาทิจฺโจบุตรแห่งพระมารดาอทิติ

 

2) ตรัตยาทิตัทธิต    ลง ณิก ปัจจัย  ใช้แทน ตรติ (ย่อมข้าม) เป็นต้น

ณิก

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
นาวานาวาย ตรตีตินาวิโก นาวิกี นาวิกํผู้ข้าม(ไปสู่ฝั่ง)ด้วยเรือ
อุลุมฺโป อุฬุมฺโปอุลุมฺเปน ตรตีติอุลุมฺปิโก* โอลุมฺปิโก  
(อุฬุมฺปิโก* โอฬุมฺปิโก)
ผู้ข้ามด้วยแพ (ไม่พฤทธิ์)
ติลํติเลน/ติเลหิ สํสฏฺฐํเตลิกํ (โภชนํ)อันระคนแล้วด้วยงา, คลุกงา
  เตลิโก (อาหาโร), เตลิกี (ยาคุ) 
โลณํโลเณน สํสฏฺฐํ โลณิกํ (โภชนํ)อันระคนแล้วด้วยเกลือ, เค็ม
ปูโวปูโว อสฺส ภณฺฑนฺติปูวิโกมีขนมเป็นสินค้า, พ่อค้าขนม
ทณฺโฑทณฺเฑน จรตีติทณฺฑิโกผู้เที่ยวไปด้วยไม้เท้า, คนแก่
ปาโทปาเทน/ปทสา จรตีติปาทิโกผู้เที่ยวไปด้วยเท้า, คนเดินเท้า
สกฏํสกเฏน จรตีติสากฏิโกผู้เที่ยวไปด้วยเกวียน, พ่อค้า(ขนสินค้าด้วย)เกวียน
กาโยกาเยน กตํกายิกํ (กมฺมํ)อันเขาทำแล้วด้วยกาย, กายกรรม
 กาเยน กโตกายิโก (ปโยโค)(ความพยายาม) (อันเขา) ทำแล้วด้วยกาย/ทางกาย, ความพยายามทางกาย
 กาเย วตฺตตีติกายิกํ (กมฺมํ)อันเป็นไปในกาย
วโจวจสา กตํวาจสิกํ (กมฺมํ)(อันเขา)ทำแล้วด้วยวาจา/ทางวาจา, วจีกรรม  (ลง สฺ อาคม)
ปญฺจสตานิปญฺจสเตหิ กตาปญฺจสติกา (สงฺคีติ)(สังคายนา) อันพระเถระ 500 ทำแล้ว
อกฺโขอกฺเขน ทิพฺพตีติอกฺขิโกผู้เล่นด้วยสะกา, นักเล่นสะกา
ธมฺโมธมฺเมน (ป)วตฺตตีติธมฺมิโกผู้เป็นไปด้วยธรรม, ~โดยธรรม
 ธมฺเม ติฏฺฐตีติธมฺมิโกผู้ตั้งอยู่ในธรรม
 ธมฺเมน นิยุตฺโตธมฺมิโกผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม
ปรทาโรปรทารํ คจฺฉตีติปารทาริโกผู้ถึงซึ่งภรรยาของคนอื่น, คนเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน
ปโถปถํ คจฺฉตีติปถิโกผู้ไปสู่หนทาง, คนเดินทาง
อภิธมฺโมอภิธมฺมํ อธีเตติอาภิธมฺมิโกผู้เล่าเรียนซึ่งพระอภิธรรม, ผู้สาธยาย~
วฺยากรณํวฺยากรณํ อธีเตติเวยฺยากรณิโกผู้สาธยายซึ่งพยากรณ์
สรีรสรีเร สนฺนิธานาสารีริกา (เวทนา)(เวทนา) อันนับเนื่องในสรีระ
 สรีเร สนฺนิธานํสารีริกํ (ทุกฺขํ),(ทุกข์) อันนับเนื่องในสรีระ
 สรีเร สนฺนิธานาสารีริกา (ธาตุ)(ธาตุ) อันนับเนื่องในสรีระ
มโน/มนํมนสิ สนฺนิธานามานสิกา (เวทนา)(เวทนา) อันนับเนื่องในใจ
 มนสา กตํมานสิกํ (กมฺมํ)(อันเขา) ทำแล้วด้วยใจ/ทางใจ, มโนกรรม
พุทฺโธพุทฺเธ ปสนฺโนพุทฺธิโกผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า, ชาวพุทธ
  ธมฺมิโก สงฺฆิโก พุทฺธสาสนิโก
ทิฏฺฐธมฺโม ทิฏฺฐธมฺเม วตฺตตีติธมฺมิโก (อตฺโถ)(ประโยชน์) อันเป็นไปในปัจจุบัน

*  ทิฏฺฐธมฺโม ธรรมอันบุคคลเห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม, ‘ในปัจจุบัน’.   • ประโยชน์ในปัจจุบัน(ชาติ) ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง ปัจจัย 4 ที่เพียงพอ ชื่อเสียง ชีวิตครอบครัวที่เป็นสุข อันจะสําเร็จด้วยหลักธรรม 4 ประการ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถธรรม ได้แก่ 1) อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียรหาทรัพย์ 2) อารักขสัมปทา รักษาทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยความขยันและโดยสุจริตนั้น) 3) กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคนชั่ว 4) สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียงแก่ฐานะของตน 

ทฺวารํทฺวาเร นิยุตฺโตทฺวาริโก โทวาริโก*ผู้ประกอบแล้วในประตู, คนเฝ้าประตู (* ลง โอ อาคม)
ฉทฺวารานิฉทฺวาเรสุ วตฺตตีติฉทฺวาริกา (ตณฺหา)อันเป็นไปในทวาร 6 (ตา หู …)
 ฉทฺวาเรสุ วตฺตนฺตีติฉทฺวาริกานิ (อารมฺมณานิ)อันเป็นไปในทวาร 6 (ตา หู …)
ภณฺฑาคาโร-รํภณฺฑาคาเร นิยุตฺโตภณฺฑาคาริโกผู้ประกอบแล้วในภัณฑาคาร/โรงคลัง, ผู้ประจำใน~
อาทิกมฺมํอาทิกมฺเม นิยุตฺโตอาทิกมฺมิโกผู้ประกอบแล้วในกรรมอันเป็นต้น, อาทิกัมมิกะ (พระผู้ต้องอาบัติรูปแรก)
นวกมฺมํนวกมฺเม นิยุตฺโตนวกมฺมิโกผู้ประกอบแล้วในนวกรรม, ~งานใหม่ (การก่อสร้าง(อาคารใหม่))
อุปาโยอุปาเย นิยุตฺโตโอปายิโกผู้ประกอบแล้วในอุบายวิธี, ผู้ฉลาดในวิธีทำการ(งาน)
อาพาโธอาพาเธน นิยุตฺโตอาพาธิโกผู้ประกอบแล้วด้วยอาพาธ, ผู้เจ็บป่วย
รโถรเถ นิยุตฺโตรถิโกผู้ประกอบแล้วในรถ, ผู้ประจำที่รถ, คนขับรถ
หิรญฺญํเหรญฺเญสุ นิยุตฺโตเหรญฺญิโกผู้ประกอบแล้วในเงิน, ผู้เกี่ยวข้องกับ(การ)เงิน
เจโตเจตสิ นิยุตฺตาเจตสิกา (ธมฺมา)(ธรรม ท.) อันประกอบแล้วในจิต, เจตสิก
 เจตสา กตํ กมฺมํเจตสิกํอันทำแล้วทางจิต
 เจตสิ สํวตฺตตีติเจตสิกํอันเป็นไปในจิต
 เจตสิ ภวํเจตสิกํอันมีในจิต
วีณาวีณา อสฺส สิปฺปํเวณิโกผู้มีพิณเป็นศิลปะ, นักดีดพิณ
คนฺโธคนฺโธ อสฺส ภณฺฑํคนฺธิโกผู้มีของหอมเป็นสินค้า, พ่อค้าของหอม
สกุโณสกุเณ หนฺตวา ชีวตีติสากุณิโกผู้ฆ่าซึ่งนกเป็นอยู่, ผู้ฆ่านกเลี้ยงชีวิต, พรานนก
สูกโร สุกโรสูกเร หนฺตฺวา ชีวตีติสูกริโก โสกริโกผู้ฆ่าซึ่งสุกรเป็นอยู่, คนฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต
 มจฺเฉ หนฺตฺวา ชีวตีติมจฺฉิโกผู้ฆ่าซึ่งปลาเป็นอยู่, คนฆ่าปลาเลี้ยงชีวิต, ชาวประมง
มิโคมิเค หนฺตฺวา ชีวตีติมาควิโกผู้ฆ่าซึ่งเนื้อเป็นอยู่, พรานเนื้อ
อุรพฺโภอุรพฺเภ หนฺตฺวา ชีวตีติโอรพฺภิโกผู้ฆ่าซึ่งแกะเป็นอยู่, คนฆ่าแกะเลี้ยงชีวิต
ปํสุกูลํ ผ้า~ปํสุกูลํ ธาเรตีติปํสุกูลิโกผู้ทรงซึ่งผ้าบังสุกุล
ปํสุกูลํ การ~ปํสุกูลํ สีลมสฺสาติปํสุกูลิโกมีการทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ
 ปํสุกูลสฺส ธารณสีโลปํสุกูลิโกมีการทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ

*  ปํสุกูลํ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล ในอรรถปกติ (สีลตฺถ)  
วิ. ปํสุกุลสฺส ธารณํ ปํสุกูลํ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล  ฉ. ตัป. อุตตรโลป – ลบบทหลังคือ ธารณ

ติจีวรํ ผ้า~ติจีวรํ ธาเรตีติเตจีวริโกผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าไตรจีวร
ติจีวรํ การ~ติจีวรํ สีลมสฺสาติเตจีวริโกผู้มีการทรงไว้ซึ่งผ้าไตรจีวรเป็นปกติ
พลิโส พฬิโสพลิเสน/พฬิเสน มจฺเฉ คณฺหาตีติพาลิสิโก พาฬิสิโกผู้จับซึ่งปลาด้วยเบ็ด; พรานเบ็ด
อรญฺญํอรญฺเญ วสตีติอารญฺญิโกผู้อยู่ในป่า
อรญฺญวสนํอรญฺญวสนํ/อรญฺญวสิตุํ สีลมสฺสาติอารญฺญิโกผู้มีการอยู่ในป่าเป็นปกติ
 อรญฺเญ วสนสีโลอารญฺญิโกผู้มีการอยู่ในป่าเป็นปกติ
กาโลกาเลน นิยุตฺโตกาลิโก (ธมฺโม)อันประกอบด้วยกาล
 

วิ. น กาลิโก อกาลิโก (ธมฺโม) อันไม่ประกอบด้วยกาล  นบุพ. กัม.

สนฺทิฏฺฐํสนฺทิฏฺฐํ อรหตีติสนฺทิฏฺฐิโก (ธมฺโม)อันควรซึ่งการเห็นเอง
เอหิ ปสฺสาติ‘เอหิ ปสฺสาติ อรหตีติเอหิปสฺสิโก (ธมฺโม)อันควรซึ่งวิธีว่า ‘ท่านจงมาดู’
อุปนโยอุปนยํ อรหตีติโอปนยิโก (ธมฺโม)อันควรซึ่งการน้อมเข้ามา(ในตน)
สงฺโฆสงฺฆสฺส สนฺตกํ*สงฺฆิกํ (วตฺถุ/จีวรํ)อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์; สมบัติ/สิ่งของของสงฆ์; ของสงฆ์ 
 สงฺฆสฺส สนฺตโกสงฺฆิโก (วิหาโร/อาวาโส)อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์, วิหาร/อาวาสของสงฆ์
 สงฺฆสฺส สนฺตกาสงฺฆิกา (ภูมิ)อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์, ที่ดินของสงฆ์ 
 

*  สนฺตก ของมีอยู่, สิ่งของ, ข้าวของ, สมบัติ  
สนฺตก อส ธาตุ อนฺต ปัจจัย  ลง ก ปัจจัย สกัตถะ เพื่อทําให้เป็นคุณนาม  ลบ อ ต้นธาตุ

ปุคฺคโลปุคฺคลสฺส สนฺตกํปุคฺคลิกํ (วตฺถุ)อันเป็นของมีอยู่แห่งบุคคล, ของบุคคล
มคโธมคเธ ชาโตมาคธิโกผู้เกิดในแคว้นมคธ, ชาวแคว้นมคธ
ราชคหํราชคเห ชาโตราชคหิโกผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์
 ราชคเห วสตีติราชคหิโกผู้อยู่ในเมืองราชคฤห์, ชาวเมืองราชคฤห์
นครํนคเร วสตีตินาคริโกผู้อยู่ในเมือง, ชาวเมือง, ชาวนคร
โกสมฺพีโกสมฺพิยํ ชาโตโกสมฺพิโกผู้เกิดแล้วในเมืองโกสัมพี, ชาวเมืองโกสัมพี
ปิตาปิติโต อาคโตเปตฺติโก (ชโน)ผู้มาแล้วข้างบิดา; ฝ่ายพ่อ (ซ้อน ตฺ)
 ปิตุโน สนฺตกํเปตฺติกํ (ธนํ)อันเป็นของบิดา (ซ้อน ตฺ)
มาตามาติโต อาคตํมาติโก (ชโน)ผู้มาแล้วข้างมารดา; ฝ่ายแม่
ปสาโท-ทํปสาทํ ชเนตีติปาสาทิโกผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิด; น่าเลื่อมใส
 ปสาทํ อาหรตีติปาสาทิโกผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส; น่าเลื่อมใส
  ปาสาทิกํ (รูปํ) 
จตุภูมิจตุภูมีสุ วตฺตนฺตีติจตุภูมิกา (ธมฺมา)(ธรรม) อันเป็นไปในภูมิ 4
สุสานํสุสาเน วสตีติโสสานิโก (ภิกฺขุ)(ภิกษุ) ผู้อยู่ในป่าช้า
 สุสาเน วสนํ/วสิตุํ สีลมสฺสาติโสสานิโก (ภิกฺขุ)(ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ
 สุสาเน วสนสีโล(ติ)โสสานิโก (ภิกฺขุ)(ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ
เอกาสนํเอกาสเน ภุญฺชตีติเอกาสนิโก (ภิกฺขุ)ผู้บริโภคในอาสนะเดียว
 เอกาสเน ภุญฺชิตุํ/โภชนํ สีลมสฺสาติเอกาสนิโก (ภิกฺขุ)ผู้มีการบริโภคในอาสนะเดียวเป็นปกติ
 เอกาสเน โภชนสีโลเอกาสนิโก (ภิกฺขุ)ผู้มีการบริโภคในอาสนะเดียวเป็นปกติ

*  เอกาสนํ การบริโภคในอาสนะเดียว ในอรรถปกติ (สีลตฺถ)    
วิ. เอกาสเน โภชนํ เอกาสนํ การบริโภคในอาสนะเดียว ส. ตัป. อุตตรโลป – ลบบทหลังคือ โภชน

สมฺมาทิฏฺฐิสมฺมาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโตสมฺมาทิฏฺฐิโกผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบ
มิจฺฉาทิฏฺฐิมิจฺฉาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโตมิจฺฉาทิฏฺฐิโกผู้ประกอบด้วยความเห็นผิด
อปาโยอปาเย นิพฺพตฺโต/ชาโตอาปายิโกผู้เกิดแล้วในอบาย
นิรโยนิรเย ชาโตเนรยิโกผู้เกิดแล้วในนรก, สัตว์นรก
รุกฺขมูลํรุกฺขมูเล วสนฺตีติรุกฺขมูลิกา (ภิกฺขู)   ผู้อยู่ที่โคนต้นไม้, ผู้อยู่โคนไม้
  รุกฺขมูลิโกผู้(มีการ)อยู่ที่โคนต้นไม้(เป็นปกติ)
อุโปสถอุโปสถํ สมาทิยตีติอุโปสถิโกผู้สมาทานซึ่งอุโบสถ
อทฺธา ปุ.อทฺธานํ ปฏิปชฺชตีติอทฺธิโกผู้เดินทางสู่ทางไกล, คนเดินทางไกล
มหากรุณามหากรุณาย นิยุตฺโตมหาการุณิโกผู้ประกอบด้วยกรุณาใหญ่

ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน)
ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
สสงฺขาโรสสงฺขาโร เอวสสงฺขาริกํ(สสังขารนั่นเอง ชื่อว่า) สสังขาริก
จาตุมฺมหาราชา  
มหาราช 4 ท.
จาตุมฺมหาราชาโน เอวจาตุมฺมหาราชิกา(จาตุมมหาราช ท. นั่นเอง ชื่อว่า) จาตุมมหาราชิกะ

 

3) ราคาทิตัทธิต   ลง ปัจจัย   ใช้แทน รตฺต (ย้อมแล้ว) เป็นต้น

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
กสาโวกสาเวน รตฺตํกาสาวํ (วตฺถํ)(ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยรสฝาด, กาสาวพัสตร์
กสาโยกสาเยน รตฺตํกาสายํ (วตฺถํ)(ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยรสฝาด, กาสาวพัสตร์
หลิทฺทา-ทีหลิทฺทิยา รตฺตํหาลิทฺทํ (วตฺถํ)(ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยขมิ้น
นีโล นีเลน รตฺตํนีลํ (วตฺถํ)(ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยสีเขียว
ปีโตปีเตน รตฺตํปีตํ (วตฺถํ)(ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยสีเหลือง
 

*  นีโล นีลวณฺโณ สีเขียว, สีน้ำเงิน;   ปีโต ปีตวณฺโณ สีเหลือง

มหิโสมหิสสฺสมาหิสํ (อิทํ มํสํ)(เนื้อ) นี้ของกระบือ, เนื้อนี้ของกระบือ, เนื้อกระบือ
สูกโรสูกรสฺสสูกรํ (อิทํ มํสํ)(เนื้อ) นี้ของสุกร, เนื้อนี้ของสุกร, เนื้อสุกร
กจฺจายโนกจฺจายนสฺส อิทํกจฺจายนํ (เวยฺยากรณํ)(ไวยากรณ์) นี้ของอาจารย์กัจจายนะ
วฺยากรณํวฺยากรณํ อธิเตติเวยฺยากรโณผู้เรียนซึ่งพยากรณ์ (ลง เอ อาคม, ซ้อน ยฺ)
มโน มนํมนสิ ภวํมานสํ (สุขํ)มีในใจ  (ลง สฺ อาคม)
อุโร อุรํอุรสิ ภโวโอรโส (ปุตฺโต)มีในอก  (ลง สฺ อาคม)
 อุรสิ ชาโตโอรโส (ปุตฺโต)เกิดแล้วในอก
มิตฺโตมิตฺเต ภวาเมตฺตา (ธมฺมชาติ)มีในมิตร
นครํนคเร วสนฺตีตินาครา (ชนา)ผู้อยู่ในเมือง
ราชคหํราชคเห ชาโตราชคโหผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์
มคโธมคเธ ชาโตมาคโธผู้เกิดแล้วในแคว้นมคธ
 มคเธ วสตีติมาคโธผู้อยู่ในแคว้นมคธ
 มคเธ อิสฺสโรมาคโธผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ
อรญฺญํอรญฺเญ วสตีติอารญฺญโกผู้อยู่ในป่า  (ก ปัจจัย สกัตถะ)
ปโยปยสา นิพฺพตฺโตปายาโส (โอทโน)อันเกิดแล้วจากน้ำนม (ลง สฺ อาคม, ทีฆะ อ ที่ ย เป็น อา)
กตฺติกากตฺติกาย นิยุตฺโตกตฺติโก (มาโส)(เดือน) อันประกอบแล้วด้วยฤกษ์กัตติกา
ชนปโทชนปเท วสนฺตีติชานปทา (ภิกฺขู)ผู้อยู่ในชนบท
เตปิฏกํเตปิฏกํ ธาเรตีติเตปิฏโกผู้ทรงไว้ซึ่งปิฎก 3
คพฺโภคพฺเภ นิพฺพตฺโตคพฺโภ (สตฺโต)ผู้เกิดแล้วในครรภ์; เด็กในท้อง

 

4) ชาตาทิตัทธิต   ลงปัจจัย 3 ตัว คือ  อิม  อิย  กิย  ใช้แทน ชาต (เกิดแล้ว) เป็นต้น

อิม

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
อุปริ (นิ.)อุปริ ชาโตอุปริโมผู้เกิดแล้วในเบื้องบน
 อุปริ ภโวอุปริโมมีในเบื้องบน
 อุปริ ภวาอุปริมา (ทิสา)ทิศมีในเบื้องบน, ทิศเบื้องบน
เหฏฺฐา (นิ.)เหฏฺฐา ชาโตเหฏฺฐิโมผู้เกิดแล้วในภายใต้/ภายหลัง
 เหฏฺฐา ภโวเหฏฺฐิโมมีในเบื้องต่ำ
ปุรปุเร ชาโตปุริโมผู้เกิดแล้วในกาลก่อน
 ปุเร ภโวปุริโมมีในก่อน
มชฺฌํมชฺเฌ ชาโตมชฺฌิโมผู้เกิดแล้วในท่ามกลาง
ปจฺฉา (นิ.)ปจฺฉา ชาโตปจฺฉิโมผู้เกิดแล้วในภายหลัง
ปจฺจนฺโตปจฺจนฺเต ภโวปจฺจนฺติโม (ปเทโส)มีในที่สุดเฉพาะ, ประเทศชายแดน
อนฺโตอนฺเต ภวํอนฺติมํ (วตฺถุ)มีในที่สุด
 อนฺเต นิยุตฺโตอนฺติโมผู้ประกอบในที่สุด, คนสุดท้าย
ปุตฺโตปุตฺโต อสฺส อตฺถีติปุตฺติโมมีบุตร

อิย

มนุสฺสชาติ (อิต.)มนุสฺสชาติยา ชาโตมนุสฺสชาติโยผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งมนุษย์
อสฺสชาติ (อิต.)อสฺสชาติยา ชาโตอสฺสชาติโยผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งม้า
ปณฺฑิตชาติ (อิต.)ปณฺฑิตชาติยา ชาโตปณฺฑิตชาติโยผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งบัณฑิต
 ปณฺฑิตชาติ อสฺส อตฺถีติปณฺฑิตชาติโยมีชาติแห่งบัณฑิต
ปญฺจวคฺโคปญฺจวคฺเค ภวาปญฺจวคฺคิยา (ชนา)มีในพวก 5, ปัญจวัคคีย์
ฉพฺพคฺโคฉพฺพคฺเค ภวาฉพฺพคฺคิยา (ชนา)มีในพวก 6, ฉัพพัคคีย์
อุทรํอุทเร ภวํอุทริยํ (อาหารวตฺถุ)มีในท้อง; อาหารใหม่
อตฺตาอตฺตโน อิทนฺติอตฺตนิยํอันเป็นของแห่งตน (ลง นฺ อาคม)
 อตฺตนิ ชาโตอตฺตนิโยเกิดแล้วในตน  (ลง นฺ อาคม)
หานภาโคหานภาโค อสฺส อตฺถีติหานภาคิโย (ธมฺโม)มีส่วนแห่งความเสื่อม
 หานภาเค สํวตฺตตีติหานภาคิโย (ธมฺโม)เป็นไปในส่วนอันเสื่อม

กิย

อนฺโธอนฺเธ นิยุตฺโตอนฺธกิโยผู้ประกอบแล้วในความมืด, ~ความบอด
ชาติชาติยา นิยุตฺโตชาติกิโยผู้ประกอบแล้วด้วยชาติ

(ย)

ในคัมภีร์ไวยากรณ์  ในเนื้อความของ สาธุ หิต ภว และ ชาต เป็นต้น  ลง ปัจจัยได้ด้วย
กมฺมํกมฺมนิ สาธุกมฺมญฺญํควรในการงาน (กมฺมนิ+ย ลบ อิ, แปลง นฺย เป็น ญฺญ)
เมธาเมธาย หิตํเมชฺฌํเกื้อกูลแก่ปัญญา  (ลบ อา, แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ)
ถนํถนโต ชาตํถญฺญํอันเกิดจาก(เต้า)นม, (น้ำ)นม  (แปลง นฺย เป็น ญฺญ)
ธนํธนาย สํวตฺตตีติธญฺญํอันเป็นไปเพื่อทรัพย์, ข้าวเปลือก (แปลง นฺย เป็น ญฺญ)

 

5) สมุหตัทธิต   ลงปัจจัย 3 ตัว คือ  กณฺ  ณ  ตา   ใช้แทน สมุห ศัพท์ (ประชุม, หมู่, ฝูง ฯลฯ) 

กณฺ

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
มนุสฺโสมนุสฺสานํ สมุโหมานุสฺสโกประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~
มานุโสมานุสานํ สมุโหมานุสโกประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~
ปุริโสปุริสานํ สมุโหโปริสโกประชุมแห่งบุรุษ
ราชปุตฺโตราชปุตฺตานํ สมุโหราชปุตฺตโกประชุมแห่งพระราชโอรส
มยุโรมยุรานํ สมุโหมายุรโกประชุมแห่งนกยูง, หมู่~, ฝูง~
กโปโตกโปตานํ สมุโหกาโปตโกประชุมแห่งนกพิราบ, หมู่~, ฝูง~
มหิโสมหิสานํ สมุโหมาหิสโกประชุมแห่งควาย/กระบือ, หมู่~, ฝูง~

มนุสฺโสมนุสฺสานํ สมุโหมานุโสประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~ (ลบ สฺ)
มยุโรมยุรานํ สมุโหมายุโรประชุมแห่งนกยูง, หมู่~, ฝูง~
กโปโตกโปตานํ สมุโหกาโปโตประชุมแห่งนกพิราบ, หมู่~, ฝูง~
ปุริโสปุริสานํ สมุโหโปริโสประชุมแห่งบุรุษ
ทฺวิทฺวินฺนํ สมุโหทฺวยํประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สอง; หมวดสอง (แปลง อิ เป็น อย)
ติติณฺณํ สมุโหตยํประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สาม; หมวดสาม (แปลง อิ เป็น อย)
ติปิฏกํ1ติปิฏกสฺส สมูโหเตปิฏกํประชุม/หมวด แห่งปิฎกสาม
ติมาสํ2ติมาสสฺส สมุโหเตมาสํประชุม/หมวด แห่งเดือนสาม

1  วิ. ตีณิ ปิฏกานิ ติปิฏกํ ปิฎก 3  สมา. ทิคุ

2  วิ. ตโย มาสา ติมาสํ เดือน 3  สมา. ทิคุ

 

ตา

คาโมคามานํ สมุโหคามตาประชุมแห่งชาวบ้าน
ชโนชนานํ สมุโหชนตาประชุมแห่งชน
สหาโยสหายานํ สมุโหสหายตาประชุมแห่งสหาย
เทโวเทวานํ สมุโหเทวตาประชุมแห่งเทพ

 

6) ฐานตัทธิต   ลง อีย ปัจจัย   ใช้แทน ฐาน (ที่ตั้ง),  หิต (เกื้อกูล),  อรห (ควร)

อีย

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
มทนํมทนสฺส ฐานํมทนียํที่ตั้งแห่งความเมา
พนฺธนํพนฺธนสฺส ฐานํพนฺธนียํที่ตั้งแห่งความผูก
โมจนํโมจนสฺส ฐานํโมจนียํที่ตั้งแห่งความแก้/ความหลุดพ้น
รชนํรชนสฺส ฐานํรชนียํที่ตั้งแห่งความย้อม/ความกำหนัด
ปสาทนํปสาทนสฺส ฐานํปสาทนียํที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
(ในสัททนีติ)   อีย แทน หิต (เกื้อกูล)  ภว (มี)
อุปาทานอุปาทานานํ หิตํอุปาทานียํอันเกื้อกูลแก่ความยึดมั่น
อุทรํอุทเร ภวํอุทรียํ (โภชนํ)มีในท้อง

อีย-เอยฺย แทน อรห (ควร)

ทสฺสนํทสฺสนํ อรหตีติทสฺสนีโย ทสฺสนียาผู้ควรซึ่งการเห็น; น่าดูน่าชม
ปูชนํปูชนํ อรหตีติปูชนีโย ปูชเนยฺโยผู้ควรซึ่งการบูชา
ทกฺขิณาทกฺขิณํ อรหตีติทกฺขิเณยฺโยผู้ควรซึ่งทักษิณา
 ทกฺขิณํ ปฏิคฺคณฺหิตุํ อรหตีติทกฺขิเณยฺโยผู้ควรเพื่ออันรับซึ่งทักษิณา, ผู้ควรรับทักษิณา

 

7) พหุลตัทธิต   ลง อาลุ ปัจจัย   ใช้แทน ปกติ (ปกติ),  พหุล (มาก)

อาลุ

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
อภิชฺฌาอภิชฺฌา อสฺส ปกติอภิชฺฌาลุมีความเพ่งเล็งเป็นปกติ
 อภิชฺฌา อสฺส พหุลาอภิชฺฌาลุมีความเพ่งเล็งมาก
สีตํสีตํ อสฺส ปกติสีตาลุ (ปเทโส)มีความหนาวเป็นปกติ
 สีตํ อสฺส พหุลํสีตาลุ (ปเทโส)มีความหนาวมาก
ทยาทยา อสฺส ปกติทยาลุมีความเอ็นดูเป็นปกติ
 ทยา อสฺส พหุลาทยาลุมีความเอ็นดูมาก
ธโชธชา อสฺส พหุลาธชาลุ (ปาสาโท)มีธงมาก
    

 

8) เสฏฐตัทธิต ลงปัจจัย 5 ตัว คือ  ตร  ตม  อิยิสฺสก  อิย  อิฏฺฐ  เป็นเครื่องหมายคุณนามขั้น วิเสส และ อติวิเสส

ตร

วิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติปาปตโรเป็นบาปกว่า
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ วิเสเสน หีโนติหีนตโรเลวกว่า
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณฺฑิโตติปณฺฑิตตโรเป็นบัณฑิตกว่า
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณีโตติปณีตตโรประณีตกว่า

ตม

สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติปาปตโมเป็นบาปที่สุด 
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน หีโนติหีนตโมเลวที่สุด 
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณฺฑิโตติปณฺฑิตตโมเป็นบัณฑิตที่สุด 
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณีโตติปณีตตโมประณีตที่สุด 

อิยิสฺสก

สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติปาปิยิสฺสโกเป็นบาปกว่า 

อิย

สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติปาปิโยเป็นบาปกว่า 
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ วิเสเสน อปฺโปติกนิโยน้อยกว่า (แปลง อปฺป เป็น กน) 
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติเสยฺโยประเสริฐกว่า, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วกว่า  
(แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ)
 
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ วิเสเสน วุฑฺโฒติเชยฺโยเจริญกว่า (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ) 

อิฏฺฐ

สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติปาปิฏฺโฐเป็นบาปที่สุด 
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน อปฺโปติกนิฏฺโฐน้อยที่สุด (แปลง อปฺป เป็น กน) 
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปสตฺโถติเสฏฺโฐประเสริฐที่สุด, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วที่สุด 
  (แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ) 
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน วุฑฺโฒติเชฏฺโฐเจริญที่สุด (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ) 

ตั้งวิเคราะห์ แบบรวมทั้งวิเสส และ อติวิเสส
   
สพฺเพ  อิเม  ปาปา,  อยมิเมสํ  วิเสเสน  ปาโปติปาปตโร  ปาปตโมชน ท. เหล่านี้ ทั้งปวง เป็นบาป,  
ชนนี้ เป็นบาป โดยวิเสส กว่าชน ท. เหล่านี้   
เหตุนั้น ชนนี้ ชื่อว่า เป็นบาปกว่า เป็นบาปที่สุด
 
    

 

9) ตทัสสัตถิตัทธิต   ลงปัจจัย 9 ตัว คือ  วี  ส  สี  อิก  อี  ร  วนฺตุ  มนฺตุ  ณ  แทน อตฺถิ (มีอยู่)

วี

(ปุ. -วี,  อิต. -วินี, นปุ. -วิ)

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
เมธาเมธา อสฺส อตฺถีติเมธาวีมีเมธา
มายามายา อสฺส อตฺถีติมายาวีมีมายา

(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว)

สุเมธาสุเมธา อสฺส อตฺถีติสุเมธโสมีเมธาดี (รัสสะ อา เป็น อ)
โลโม/โลมํโลมา อสฺส อตฺถีติโลมโสมีขน

สี

(ปุ. -สี,  อิต. -สินี, นปุ. -สิ) ใช้กับมโนคณะศัพท์ โดยมาก

ตโปตโป อสฺส อตฺถีติตปสีมีตบะ
เตโชเตโช อสฺส อตฺถีติเตชสีมีเดช
ยโสยโส อสฺส อตฺถีติยสสีมียศ

อิก

(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว)

ทณฺโฑทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติทณฺฑิโกมีไม้เท้า
อตฺโถอตฺโถ อสฺส อตฺถีติอตฺถิโกมีความต้องการ
มาลามาลา อสฺส อตฺถีติมาลิโกมีมาลัย, มีระเบียบ(ดอกไม้)
ฉตฺตํฉตฺตํ อสฺส อตฺถีติฉตฺติโกมีร่ม
กุฏุมฺพํกุฏุมฺพํ อสฺส อตฺถีติกุฏุมฺพิโกมีทรัพย์
ปํสุกูลํปํสุกูลธารณํ สีลมสฺสาติปํสุกูลิโกมีการทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติ
สมฺมาทิฏฺฐิสมฺมาทิฏฺฐิ อสฺส อตฺถีติสมฺมาทิฏฺฐิโกมีความเห็นชอบ

อี

(ปุ. - ี,   อิต. - ินี)

ทณฺโฑทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติทณฺฑีมีไม้เท้า
สุขํสุขํ อสฺส อตฺถีติสุขีมีความสุข
 สุขํ อสฺสา อตฺถีติสุขินีมีความสุข
ลชฺชาลชฺชา อสฺส อตฺถีติลชฺชีมีความละอาย
 ลชฺชา อสฺส นตฺถีติอลชฺชีมีความละอายหามิได้, ไม่มีความละอาย
โภโคโภโค อสฺส อตฺถีติโภคีมีโภคะ
ลาโภลาโภ อสฺส อตฺถีติลาภีมีลาภ
หตฺโถหตฺโถ อสฺส อตฺถีติหตฺถีมีมือ, มีงวง; ช้าง
พลํพลมสฺส อตฺถีติพลีมีกำลัง
เวรํเวรํ อสฺส อตฺถีติเวรีมีเวร
 เวรํ เตสํ อตฺถีติเวริโน (ชนา)มีเวร
วโสวโส อสฺส อตฺถีติวสีมีอำนาจ
คพฺโภคพฺโภ อสฺสา อตฺถีติคพฺภินี (เทวี)(เทวี) มีครรภ์
ชาลํชาลมสฺสา อตฺถีติชาลินี (ตณฺหา)(ตัณหา) มีข่าย (แปลง อี เป็น อินี)
ภาโคภาโค อสฺสา อตฺถีติภาคินี (อิตฺถี)มีส่วน  (แปลง อี เป็น อินี)

มธุมธุ อสฺส อตฺถีติมธุโรมีน้ำผึ้ง (มีรสหวาน, มีรสอร่อย, อร่อย)
 มธุ อสฺมึ วิชฺชตีติมธุโร 
มุขํมุขํ อสฺส อตฺถีติมุขโรมีปาก (มีปากกล้า- พูดไม่เกรงกลัวใคร)
รุจิรุจิ อสฺส อตฺถีติรุจิรํ (ปุปฺผํ)มีความงาม
นโค นคา อสฺส อตฺถีตินครํ (ฐานํ)มีปราสาท, เมือง, นคร (รัสสะ อา เป็น อ)
กุญฺโช/กุญฺชากุญฺชา หนุ อสฺส อตฺถีติกุญฺชโร (สตฺโต)มีคาง (รัสสะ อา เป็น อ)

วนฺตุ

ลงท้ายศัพท์ที่เป็น อ อา การันต์  
(ปุ. -วนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ, อิต. -วนฺตี -วตี แจกอย่าง นารี,  นปุ. -วนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ เว้น ป. ทุ.)

คุโณคุโณ อสฺส อตฺถีติคุณวา [คุณวนฺตุ]มีคุณ (ป. คุณวา, อิต. คุณวตี คุณวนฺตี, นปุ. คุณวํ คุณวนฺตํ)
ธนํธนํ อสฺส อตฺถีติธนวา [ธนวนฺตุ]มีทรัพย์
ปญฺญาปญฺญา อสฺส อตฺถีติปญฺญวา [ปญฺญวนฺตุ]มีปัญญา
ปุญฺญํปุญฺญํ อสฺส อตฺถีติปุญฺญวา [ปุญฺญวนฺตุ]มีบุญ
สีลํสีลํ อสฺส อตฺถีติสีลวา [สีลวนฺตุ]มีศีล
อุฏฺฐานํอุฏฺฐานํ อสฺส อตฺถีติอุฏฺฐานวา [อุฏฺฐานวนฺตุ]มีการลุกขึ้น, มีความขยัน
ภโคภคา อสฺส อตฺถีติภควา [ภควนฺตุ]มีโชค
ภาโคภาโค อสฺส อตฺถีติภาควา [ภาควนฺตุ]มีส่วน
พลํพลํ อสฺส อตฺถีติพลวา [พลวนฺตุ]มีกำลัง
 พลํ อสฺสา อตฺถีติพลวตี [พลวนฺตุ] (ตณฺหา)(ตัณหา) มีกำลัง

มนฺตุ

ลงท้ายศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์  
(ปุ. -มนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ, อิต. -มนฺตี -มตี แจกอย่าง นารี,  นปุ. -มนฺตุ แจกอย่าง ภควนฺตุ เว้น ป. ทุ.)

สติสติ อสฺส อตฺถีติสติมา [สติมนฺตุ]มีสติ (ป. สติมา, อิต. สติมตี สติมนฺตี, นปุ. สติมํ สติมนฺตํ)
ชุติชุติ อสฺส อตฺถีติชุติมา [ชุติมนฺตุ]มีความโพลง
อายุอายุ อสฺส อตฺถีติอายสฺมา [อายสฺมนฺตุ]มีอายุ (แปลง อุ เป็น อสฺ)
จกฺขุจกฺขุ อสฺส อตฺถีติจกฺขุมา [จกฺขุมนฺตุ]มีจักษุ
ธิติธิติ  อสฺส  อตฺถีติธิติมา [ธิติมนฺตุ]มีปัญญา

อิมนฺตุ

ปุตฺโตปุตฺโต อสฺส อตฺถีติปุตฺติมา [ปุตฺติมนฺตุ]มีบุตร
ปาปํปาปํ อสฺส อตฺถีติปาปิมา [ปาปิมนฺตุ] (มาโร)มีบาป

สทฺธาสทฺธา อสฺส อตฺถีติสทฺโธมีศรัทธา (ปุ. สทฺโธ, อิต. สทฺธา, นปุ. สทฺธํ)
มจฺเฉรํมจฺเฉรํ อสฺส อตฺถีติมจฺเฉโรมีความตระหนี่
ปญฺญาปญฺญา อสฺส อตฺถีติปญฺโญมีปัญญา (ลบ อา)
พุทฺธิ (อิต.)พุทฺธิ อสฺส อตฺถีติพุทฺโธมีความรู้ (ลบ อิ)

 

10) ปกติตัทธิต  ลง มย ปัจจัย   ใช้แทน ปกต (อันบุคคลทำแล้ว, สำเร็จแล้ว)  และ วิการ (เป็นวิการ)

มย

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
สุวณฺณํสุวณฺเณน ปกตํสุ-โสวณฺณมยํ (ภาชนํ)*อันบุคคลทำแล้วด้วยทอง, สำเร็จแล้วด้วยทอง
 สุวณฺณสฺส วิกาโรสุ-โสวณฺณมโย (ปาสาโท)อันเป็นวิการแห่งทอง
มตฺติกามตฺติกาย ปกตํมตฺติกามยํ (ภาชนํ)อันบุคคลทำแล้วด้วยดิน
 มตฺติกาย วิกาโรมตฺติกามยํ (ภาชนํ)อันเป็นวิการแห่งดิน
อโยอยสา ปกตํอโยมยํ (ภาชนํ)อันสำเร็จแล้วด้วยเหล็ก
 อยโส วิกาโรอโยมยํ (ภาชนํ)อันเป็นวิการแห่งเหล็ก
ทารุ (นปุ.)ทารุนา ปกตํทารุมยํ (วตฺถุ)อันบุคคลทำแล้วด้วยไม้
อิทฺธิ (อิต.)อิทฺธิยา ปกตํอิทฺธิมยํ (วตฺถุ)อันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์
มโน/มนํมนสา ปกตามโนมยา (ธมฺมา)อันสำเร็จแล้วด้วยใจ

* สุวณฺณมยํ ภาชนํ  ปกติตัท.  
สุวณฺณมยภาชนํ  วิ. บุพ. กัม.  
สุวณฺณ(กต)ภาชนํ  มัชเฌโลป. ตติยาตัป.

11) สังขยาตัทธิต   ลงปัจจัย   ใช้แทน ปริมาณ (ประมาณ, ปริมาณ) ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ ทฺวิ

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
ทฺวิเทฺว ปริมาณานิ อสฺสาติทฺวิกํ ทุกํ (วตฺถุ)มีประมาณ 2
ติตีณิ ปริมาณานิ อสฺสาติติกํ (วตฺถุ)มีประมาณ 3

ตฺตก

เอตเอตํ ปริมาณมสฺสาติเอตฺตกํ (วตฺถุ)มีประมาณเท่านี้   (แปลง เอต เป็น เอ)

อาวตก

เอตเอตํ ปริมาณมสฺสาติเอตฺตาวตกํ (วตฺถุ)มีประมาณเท่านี้   (ซ้อน ตฺ)
    

 

12) ปูรณตัทธิต  ลงปัจจัย 5 ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี ใช้แทน ปูรณ (เป็นที่เต็ม)  ลงท้ายปกติสังขยา ทำให้เป็นปูรณสังขยา

ติย

(ลงท้าย ทฺวิ ติ)

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
ทฺวิทฺวินฺนํ ปูรโณทุติโย (ชโน)(ชน) เป็นที่เต็มแห่งชน 2, (ชน) ที่ 2 (แปลง ทฺวิ เป็น ทุ)
 ทฺวินฺนํ ปูรณีทุติยา (นารี)(นารี) เป็นที่เต็มแห่งนารี 2, (นารี) ที่ 2
 ทฺวินฺนํ ปูรณํทุติยํ (กุลํ)(ตระกูล) เป็นที่เต็มแห่งตระกูล 2, (ตระกูล) ที่ 2
ติติณฺณํ ปูรโณตติโย (ชโน)เป็นที่เต็มแห่งชน 3, ที่ 3 (แปลง ติ เป็น ต) (ตติโย, ตติยา, ตติยํ)

(ลงท้าย จตุ)

จตุจตุนฺนํ ปูรโณจตุตฺโถ (ชโน)เป็นที่เต็มแห่งชน 4, ที่ 4 (ซ้อน ตฺ) (จตุตฺโถ, จตุตฺถี, จตุตฺถํ)

(ลงท้าย ฉ)

ฉนฺนํ ปูรโณฉฏฺโฐ (ชโน)เป็นที่เต็มแห่งชน 6, ที่ 6 (ซ้อน ฏฺ) (ฉฏฺโฐ, ฉฏฺฐี, ฉฏฺฐํ)

(ลงท้ายปกติสังขยาได้ทั่วไป ยกเว้นจำนวน 2, 3, 4, 6)

ปญฺจปญฺจนฺนํ ปูรโณ ปญฺจโม (ชโน)เป็นที่เต็มแห่งชน 5, ที่ 5  (ปญฺจโม, ปญฺจมี ปญฺจมา, ปญฺจมํ)
สตฺตสตฺตนฺนํ ปูรโณ สตฺตโม (ชโน)เป็นที่เต็มแห่งชน 7, ที่ 7  (สตฺตโม, สตฺตมี สตฺตมา, สตฺตมํ)

อี

(ลงท้ายปกติสังขยา ตั้งแต่ 12-18  ในอิตถีลิงค์)

เอกาทสเอกาทสนฺนํ ปูรณีเอกาทสี (นารี) เป็นที่เต็มแห่งนารี 11, ที่ 11
ทฺวาทสทฺวาทสนฺนํ ปูรณีทฺวาทสี (นารี) เป็นที่เต็มแห่งนารี 12, ที่ 12
จตุทฺทสจตุทฺทสนฺนํ ปูรณีจาตุทฺทสี (ติถิ)(วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 14, (วัน) ที่ 14 (ค่ำ)
ปณฺณรสปณฺณรสนฺนํ ปูรณีปณฺณรสี (ติถิ)(วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 15, (วัน) ที่ 15 (ค่ำ) (ติถิ ติถี ปุ. อิต. วัน ทางจันทรคติ, ดิถี)

 

การใช้ อฑฺฒ ศัพท์  
อฑฺฒ แปลว่า ครึ่ง กึ่ง  เมื่อใช้ร่วมกับปูรณสังขยา แสดงจำนวนที่เป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เต็มนั้น  
เพื่อนับปริมาณ/จำนวน ที่มีเศษครึ่งหนึ่ง เช่น 1 ครึ่ง, 2 ครึ่ง, ... 150, 350, 7,500 เป็นต้น

อฑฺเฒน ทุติโย ทิวฑฺโฒ ทิยฑฺโฒที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ ทุติย และเรียง อฑฺฒ ไว้หลัง)
อฑฺเฒน ตติโย อฑฺฒติโย อฑฺฒเตยฺโยที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ ตติย)
อฑฺเฒน จตุตฺโถ อฑฺฒุฑฺโฒที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5)  (แปลง อฑฺฒ กับ จตุตฺถ)
อฑฺเฒน ปญฺจโม อฑฺฒปญฺจโมที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5)
อฑฺเฒน ฉฏฺโฐ อฑฺฒฉฏฺโฐที่ 6 ด้วยทั้งกึ่ง (= 5.5)


ทิยฑฺฒํ สตํ = ทิยฑฺฒสตํร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5 x 100 = 150)
อฑฺฒติยํ สหสฺสํ = อฑฺฒติยสหสฺสํพันที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5 x 1,000 = 2,500)
อฑฺฒุฑฺฒํ ทสสหสฺสํ = อฑฺฒุฑฺฒทสสหสฺสํหมื่นที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5 x 10,000 = 35,000)
อฑฺฒปญฺจมํ สตสหสฺสํ = อฑฺฒปญฺจมสตสหสฺสํแสนที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5 x 100,000 = 450,000)


การต่อ อฑฺฒ ศัพท์ กับปูรณสังขยา

เรียง อฑฺฒ ไว้ข้างหน้าปูรณสังขยา (ยกเว้นเมื่อต่อกับ ทุติย)  เฉพาะ ทุติย ตติย จตุตฺถ มีแปลงรูปด้วย

  1. อฑฺฒ ต่อกับ ทุติย     แปลงเป็น ทิวฑฺฒ ทิยฑฺฒ  (เรียง อฑฺฒ ไว้หลัง)
  2. อฑฺฒ ต่อกับ ตติย     แปลงเป็น อฑฺฒติย อฑฺฒเตยฺย
  3. อฑฺฒ ต่อกับ จตุตฺถ   แปลงเป็น อฑฺฒุฑฺฒ
  4. อฑฺฒ ต่อกับปูรณสังขยาที่เหลือ

อฑฺฒปญฺจมที่ห้าด้วยทั้งกึ่ง        อฑฺฒฉฏฺฐ    ที่หกด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒสตฺตม ที่เจ็ดด้วยทั้งกึ่ง             
อฑฺฒอฏฺฐม ที่แปดด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒนวม    ที่เก้าด้วยทั้งกึ่ง      อฑฺฒทสม   ที่สิบด้วยทั้งกึ่ง

ใช้ อฑฺฒ กับปูรณสังขยา นับนามนาม

ชนานํ ทิยฑฺฒสตํ  ร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง แห่งชน ท. (ชน 150)

ทิยฑฺฒํ ชนสตํ   ร้อยแห่งชน ที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (ชน 150)   
ทิยฑฺฒชนสตํ  

 

13) วิภาคตัทธิต ลง ธา โส ปัจจัย  ใช้แทน วิภาค (ส่วน, การจำแนก)

ธา

ใช้ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ เอก  และลงท้ายศัพท์อื่นบ้าง  แปลว่า โดยส่วน

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
เอกเอเกน วิภาเคนเอกธาโดยส่วนเดียว
น-เอกอเนเกน วิภาเคนอเนกธาโดยส่วนมิใช่หนึ่ง, โดยอเนก
ทฺวิทฺวีหิ วิภาเคหิทฺวิธา เทฺวธา ทุธาโดยส่วนสอง
ติตีหิ วิภาเคหิติธา เตธาโดยส่วนสาม
สตฺตสตฺตหิ วิภาเคหิสตฺตธาโดยส่วนเจ็ด
กติกตีหิ วิภาเคหิกติธาโดยส่วนเท่าไร
พหุพหูหิ วิภาเคหิพหุธาโดยส่วนมาก

โส

ใช้ลงท้ายนามศัพท์ แปลว่า โดยการจำแนก

พฺยญฺชนํพยญฺชเนน วิภาเคนพฺยญฺชนโสโดยการจำแนกโดยพยัญชนะ
สุตฺตํสุตฺเตน วิภาเคนสุตฺตโสโดยการจำแนกโดยสูตร
ปทํปเทน วิภาเคนปทโสโดยการจำแนกโดยบท
อตฺโถอตฺเถน วิภาเคนอตฺถโสโดยการจำแนกโดยเนื้อความ
อุปาโยอุปาเยน วิภาเคนอุปายโสโดยการจำแนกโดยอุบาย
พหุพหุนา วิภาเคนพหุโสโดยการจำแนกโดยมาก
สพฺพสพฺเพน วิภาเคนสพฺพโสโดยการจำแนกทั้งปวง
มานํมาเนน วิภาเคนมานโสโดยการจำแนกโดยการนับ
โยนิ (ปุ. อิต.)โยนินา วิภาเคนโยนิโสโดยการจำแนกโดยเหตุเป็นที่เกิด
อนฺติมอนฺติเมน ปริจฺเฉเทนอนฺตมโสโดยกำหนดมีในที่สุด, อย่างน้อยที่สุด

 

2) ภาวตัทธิต มีปัจจัย 6 ตัว คือ  ตฺต ณฺย ตฺตน ตา ณ กณฺ   ใช้แทน ภาว ความเป็น)  
เฉพาะ ตา ปัจจัยลงแล้วสำเร็จเป็นอิตถีลิงค์   ปัจจัยที่เหลือเป็นนปุงสกลิงค์

ตฺต

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
จนฺโทจนฺทสฺส ภาโวจนฺทตฺตํความเป็นแห่งพระจันทร์
มนุสฺโสมนุสฺสสฺส ภาโวมนุสฺสตฺตํความเป็นแห่งมนุษย์
ทณฺฑีทณฺฑิโน ภาโวทณฺฑิตฺตํความเป็นแห่งคนมีไม้เท้า/คนแก่
วสีวสิสฺส ภาโววสิตฺตํความเป็นแห่งบุคคลผู้มีอำนาจ
ปาจโกปาจกสฺส ภาโวปาจกตฺตํความเป็นแห่งคนหุง/พ่อครัว
นีลํนีลสฺส ภาโวนีลตฺตํความเป็นแห่งของเขียว  
(นีโล สีเขียว/ดำ, นีล มีสีเขียว/ดำ, นีลํ ของเขียว)
กาโฬกาฬสฺส ภาโวกาฬตฺตํความเป็นแห่งของดำ (กาโฬ สีดำ; ข้างแรม, กาฬก มีสีดำ)

ณฺย

• ลบ ณฺ แล้ว ย มีอำนาจให้ลบสระ อ ที่สุดศัพท์ได้
อโรคอโรคสฺส ภาโวอาโรคฺยํความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีโรค (ลบ อ ที่ ค)
ทุพฺพลทุพฺพลสฺส ภาโวทุพฺพลฺยํความเป็นแห่งบุคคลผู้มีกำลังอันโทษประทุษร้ายแล้ว
อลสอลสสฺส ภาโวอาลสฺยํความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
อณณอณณสฺส ภาโวอาณณฺยํความเป็นแห่งคนไม่มีหนี้

• ลบ ณฺ  ลบสระ อ แล้ว ลง อิ อาคมได้บ้าง
วิยตฺตวิยตฺตสฺส ภาโวเวยฺยตฺติยํความเป็นแห่งคนฉลาด
มจฺฉรมจฺฉรสฺส ภาโวมจฺฉริยํความเป็นแห่งคนตระหนี่
อิสฺสรอิสฺสรสฺส ภาโวอิสฺสริยํความเป็นแห่งคนผู้เป็นใหญ่
อลสอลสสฺส ภาโวอาลสิยํความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน

• ลบ ณฺ  แล้วแปลง ย กับที่สุดศัพท์เป็นต่างๆ
ปณฺฑิตปณฺฑิตสฺส ภาโวปณฺฑิจฺจํความเป็นแห่งบัณฑิต
อธิปติอธิปติสฺส ภาโวอาธิปจฺจํความเป็นแห่งคนเป็นใหญ่
พหุสุตพหุสุตสฺส ภาโวพาหุสจฺจํความเป็นแห่งบุคคลผู้มีการฟังมาก
มุฏฺฐสฺสติมุฏฺฐสฺสติสฺส ภาโวมุฏฺฐสจฺจํความเป็นแห่งคนมีสติหลงแล้ว
กุสลกุสลสฺส ภาโวโกสลฺลํความเป็นแห่งคนฉลาด
วิปุลวิปุลสฺส ภาโวเวปุลฺลํความเป็นแห่งที่อันไพบูลย์
คิลานคิลานสฺส ภาโวเคลญฺญํความเป็นแห่งคนไข้
สมานสมานานํ ภาโวสามญฺญํความเป็นแห่งของเสมอกัน
กุสีโทกุสีทสฺส ภาโวโกสชฺชํความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน
สุหทสุหทสฺส ภาโวโสหชฺชํความเป็นแห่งคนมีใจดี
สมโณสมณสฺส ภาโวสามญฺญํความเป็นแห่งสมณะ
พฺราหฺมโณพฺราหฺมณสฺส ภาโวพฺราหฺมญฺญํความเป็นแห่งพราหมณ์
สุมนสุมนสฺส ภาโวโสมนสฺสํความเป็นแห่งคนมีใจดี
ทุมนทุมนสฺส ภาโวโทมนสฺสํความเป็นแห่งคนมีใจชั่ว
นิปกนิปกสฺส ภาโวเนปกฺกํความเป็นแห่งคนมีปัญญา (เครื่องรักษาตน)
ราชารญฺโญ ภาโวรชฺชํความเป็นแห่งพระราชา
ปุริโสปุริสสฺส ภาโวโปริสฺสํความเป็นแห่งบุรุษ
อุปมาอุปมาย ภาโวโอปมฺมํความเป็นแห่งอุปมา

• ณฺย ใช้แทน กมฺม (การกระทำ, ผลการกระทำ)
ภิสโชภิสชสฺส กมฺมํเภสชฺชํการกระทำของหมอ
พฺยาวโฏพฺยาวฏสฺส กมฺมํเวยฺยาวจฺจํการกระทำของผู้ขวนขวาย

• ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน)
ยถาภูตํยถาภูตเมวยถาภุจฺจํตามความเป็นจริง
กรุณากรุณา เอวการุญฺญํความกรุณา

ตฺตน

ปุถุชฺชโนปุถุชฺชนสฺส ภาโวปุถุชฺชนตฺตนํความเป็นแห่งปุถุชน
เวทโนเวทนสฺส ภาโวเวทนตฺตนํความเป็นแห่งคนมีเวทนา
ชายาชายาย ภาโวชายตฺตนํความเป็นแห่งเมีย
ชาโรชารสฺส ภาโวชารตฺตนํความเป็นแห่งชู้

ตา

มุทุมุทุโน ภาโวมุทุตาความเป็นแห่งคนอ่อนโยน
นิทฺทาราโมนิทฺทารามสฺส ภาโวนิทฺทารามตาความเป็นแห่งคนมีความหลับเป็นที่มายินดี
สหาโยสหายสฺส ภาโวสหายตาความเป็นแห่งสหาย
ปารมีปารมิยา ภาโวปารมิตาความเป็นแห่งบารมี
กตญฺญูกตญฺญุโน ภาโวกตญฺญุตาความเป็นแห่งผู้กตัญญู
ลหุลหุโน ภาโวลหุตาความเป็นแห่งคนเบา

วิสมวิสมสฺส ภาโวเวสมํความเป็นแห่งของไม่เสมอ
สุจิสุจิโน ภาโวโสจํความเป็นแห่งของสะอาด
มุทุมุทุโน ภาโวมทฺทวํความเป็นแห่งคนอ่อน
คุรุคุรุโน ภาโวคารโวความเป็นแห่งคนหนักแน่น
ยุวายุวสฺส ภาโวโยพฺพนํความเป็นแห่งคนหนุ่ม
สมคฺคสมคฺคานํ ภาโวสามคฺคีความเป็นแห่งคนพร้อมเพรียง (ลง อี ปัจจัย)

กณฺ

รมณียรมณียสฺส ภาโวรามณียกํความเป็นแห่งของอันบุคคลพึงยินดี
มนุญฺญมนุญฺญสฺส ภาโวมานุญฺญกํความเป็นแห่งของอันยังใจให้ยินดียิ่ง

   
• ปัจจัยอีก 3 ตัวในสัททนีติ คือ  ณิย  เณยฺย  พฺย

ณิย

วีโรวีรสฺส ภาโววิริยํความเป็นแห่งคนกล้า
อลโสอลสสฺส ภาโวอาลสิยํความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน

เณยฺย

สุจิสุจิโน ภาโวโสเจยฺยํความเป็นแห่งของสะอาด

พฺย

ทาโสทาสสฺส ภาโวทาสพฺยํความเป็นแห่งทาส
    

 

3) อัพยยตัทธิต มีปัจจัย 2 ตัว คือ ถา ถํ ใช้แทน ปการ (ประการ)

ถา

ศัพท์ฐานวิเคราะห์ศัพท์ตัทธิตคำแปล
เยน ปกาเรนยถาโดยประการใด
เตน ปกาเรนตถาโดยประการนั้น
สพฺพสพฺเพน ปกาเรนสพฺพถาโดยประการทั้งปวง

ถํ

กึเกน ปกาเรนกถํโดยประการไร, อย่างไร (แปลง กึ เป็น ก)
อิมอิมินา ปกาเรนอิตฺถํโดยประการนี้, อย่างนี้ (แปลง อิม เป็น อิ และซ้อน ตฺ)

 

กฺขตฺตุํ

คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า กฺขตฺตุํ  ใช้แทน วาร ศัพท์ (ครั้ง คราว วาระ)   ลงหลังปกติสังขยา และ สกิ พหุ กติ ศัพท์ 

เอกเอกํ วารํเอกกฺขตฺตุํครั้งหนึ่ง, วาระหนึ่ง, คราวเดียว
ทฺวิเทฺว วาเรทฺวิกฺขตฺตุํ2 ครั้ง, 2 วาระ
ติตโย วาเรติกฺขตฺตุํ3 ครั้ง, 3 วาระ
สตฺตสตฺต วาเรสตฺตกฺขตฺตุํ7 ครั้ง, 7 วาระ

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.