หมายเหตุ การแยกจำนวน 1-4 ที่เป็นสัพพนามออกจากตารางสังขยา
สังขยานั้นใช้ขยายนามนามเพื่อบอกจำนวน/ลำดับ ฉะนั้น สังขยาทั้งหมดจึงเป็นคุณนามโดยธรรมชาติ แม้แต่สังขยาจำนวน 99 ขึ้นไป (เอกูนสตํ) ที่ท่านกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นนามนาม ก็ยัง(กลับไป)ใช้เป็นคุณนาม(ตามธรรมชาติเดิม)ได้
ในหนังสือบาลีไวยากรณ์ ท่านได้ระบุไว้อีกว่า จำนวน 1-4 เป็นสัพพนาม โดยอ้างคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ดังนี้
“ปกติสังขยานี้ ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ท่านแบ่งเป็น ๒ พวก
ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ จัดเป็น สัพพนาม
ตั้งแต่ ปญฺจ ไป เป็น คุณนาม.”
ในการใช้งานจริง เอก-จตุ สังขยาคุุณนาม หรือ เอก-จตุ สัพพนาม นับ/แทน/ประกอบ นามนามได้ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ไม่มีการระบุว่าเมื่อ เอก-จตุ สัพพนาม ไปนับ/แทน/ประกอบ นามนาม จะมีการใช้พิเศษไปกว่า เอก-จตุ สังขยาคุณนาม อย่างไร (ยกเว้น เอก สัพพนาม เท่านั้น ที่แจกวิภัตติต่างกัน) ทั้งเมื่อนำสังขยาไปนับนามนาม ก็พิจารณาแต่เพียงว่า เป็นสังขยาคุณนาม (1-98) หรือสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) เท่านั้น ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นสัพพนามหรือไม่
ฉะนั้น ในตารางการจัดปกติสังขยา ได้แยกเรื่อง เอก-จตุ สัพพนาม ออกจากตารางสังขยา โดยระบุการแจก เอก สัพพนาม ไว้ในชีทเรื่องสัพพนาม ส่วนท้ายตาราง ในชีทเรื่องสังขยานี้ กล่าวให้ทราบแต่เพียงว่า เอก-จตุ ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ตารางอ่านง่ายดูง่ายสำหรับนักเรียน ไม่เพิ่มความซับซ้อนความลำบากแก่นักเรียนโดยไม่จำเป็น เพราะใส่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงเข้ามา
การท่อง หน้า 1: (ไม่ต้องท่องส่วนที่เป็นพื้นสีเทา)
ปกติสังขยา (นับจำนวน)
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต อฏฺฐ นว ทส เอกาทส … เอกูนจตฺตาฬีส อูนจตฺตาฬีส [39] …
เอกูนปญฺญาส อูนปญฺญาส [49] ปญฺญาส ปณฺณาส [50]
ท่องโดยไม่ต้องว่าคำแปลไทยหรือตัวเลข. (เหมือนว่า one two three four five … fifty)
และนับนิ้วไปด้วย โดยดูให้นิ้วตรงกับจำนวนที่กำลังนับ
(เช่น ไม่ใช่ออกเสียงว่า "ปญฺจ" แต่นิ้วอยู่ที่ 6, หรือออกเสียงว่า "เตรส" แต่นิ้วอยู่ที่ 14)
ตัังแต่ 10 20 30 40 … ให้ว่าดังนี้
ทส, วีส, ตึส, จตฺตาฬีส, ปญฺญาส, สฏฺฐี, สตฺตติ, อสีติ, นวุติ,
สตํ, สหสฺสํ, ทสสหสฺสํ, นหุตํ; สตสหสฺสํ, ลกฺขํ; ทสสตสหสฺสํ, โกฏิ
แล้วท่อง:
การแจกปกติสังขยา
เอก (1) คุณนาม เอกวจนะ
ปุงลิงค์ เอโก เอกํ เอเกน …
อิตถีลิงค์ เอกา เอกํ …
นปุงกลิงค์ เอกํ เอกํ …
[เอก (1) สัพพนาม ดูในเรื่องสัพพนาม: ศัพท์ที่แจกเหมือน ย ศัพท์]
ทฺวิ (2) ในไตรลิงค์ เทฺว* เทฺว ทฺวีหิ … ทฺวีสุ
อุภ (ทั้ง 2) ในไตรลิงค์ อุโภ อุโภ … อุโภสุ
ปญฺจ (5) ในไตรลิงค์ ปญฺจ ปญฺจ … ปญฺจสุ ตั้งแต่ ปญฺจ (5) ถึง อฏฺฐารส (18) แจกอย่างนี้.
* อ่านว่า ทฺเว (ทฺ ออกครึ่งเสียง) ไม่ใช่ เทวะ
ติ (3) ปุงลิงค์ ตโย ตโย … อิตถีลิงค์ ติสฺโส ติสฺโส … นปุงกลิงค์ ตีณิ ตีณิ …
จตุ (4) ปุงลิงค์ … …
เอกูนวีส (19) อิตถีลิงค์ เอกวจนะ เอกูนวีส เอกูนวีสํ เอกูนวีสํ เอกูนวีสาย …
ตั้งแต่ เอกูนวีส (19) ถึง อฏฺฐนวุติ (98)
ถ้าเป็น อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส
ถ้าเป็น อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ
ถ้าเป็น อี การันต์ แจกอย่าง นารี
การท่อง หน้า 2: (ไม่ต้องท่องส่วนที่เป็นพื้นสีเทา ยกเว้นในตาราง)
การจัดปกติสังขยา จัดปกติสังขยาตาม "ลิงค์" จัดปกติสังขยาตาม "วจนะ" จัดปกติสังขยาตาม "การแจกวิภัตติ" * 1-4 ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย ในตาราง พอคล่องแล้ว ให้ว่าตัวเลขเป็นบาลีด้วย เช่น | ปูรณสังขยา (นับลำดับ) ปฐโม ปฐมา ปฐมํ ทุติโย ทุติยา ทุติยํ … เอกาทสโม เอกาทสมี เอกาทสี-เอกาทสึ เอกาทสมํ ทฺวาทสโม ทฺวาทสมี [ทฺวาทสี ไม่พบที่ใช้] ทฺวาทสมํ [พารสโม พารสี พารสมํ ไม่พบที่ใช้] เตรสโม เตรสมี เตรสี เตรสมํ จตุทฺทสโม จุทฺทสมี จาตุทฺทสี-จาตุทฺทสึ จตุทฺทสมํ ปญฺจทสโม ปญฺจทสี-ปญฺจทสึ ปณฺณรสี-ปณฺณรสึ ปญฺจทสมํ [ปณฺณรสโม … ปณฺณรสมํ ไม่พบที่ใช้] … ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ เป็นเอกวจนะอย่างเดียว |
ความคิดเห็น1
จำง่ายครับ
จำง่ายครับ