ไหว, สะเทือน
อรรถของธาตุ
กมฺปเน
ตัวอย่าง
- อิญฺชติ
โลมมฺปิ น ตตฺถ อิญฺชเย แม้ขน ไม่พึงไหว-ชัน ในเพราะอันตรายเหล่านั้น สํ. 1/164.
เสโล … น อิญฺชติ เขาหินย่อมไม่ไหว ธมฺอ. 4/510. - อนิญฺชมาน [น เป็น อน+อิญฺช] กค. ไม่ไหว, ไม่สะเทือน, มั่นคง.
อนิญฺชมาเนน … ฌายสิ ท่านมีกายมิได้สะเทือนเพ่งใจอยู่ สํ. 1/240.
… อนิญฺชมาโน กาเยน อภาสมาโน วาจํ … มช. 1/175. - อิญฺชิต กค. ไหว-สั่น-เคลื่อนแล้ว.
- อิญฺชิต นป. ความไหว-สะเทือน.
เนว … พุทฺธานํ อตฺถิ อิญฺชิตํ ความสะเทือน มิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทีเดียว สํ. 1/149. - อิญฺชนา อิ. อิญฺชน นป. ความไหว-สะเทือน.
เอสา กายสฺส อิญฺชนา นี้ ความไหวกาย ขุ. 1/294. - อิญฺชิตตฺต [อิญฺชิต+ตฺต] นป. ภน. ความเป็นแห่งอันไหว-สะเทือน, อาการแห่ง-.
กายสฺส อิญฺชิตตฺตํ วา … จิตฺตสฺส อิญฺชิตตฺตํ วา สํ. 5/308.
อิญฺช ธาตุนี้ ถ้ามี สํ นำ มีรูปแลอรรถเป็นดังต่อไปนี้
- สมิญฺชติ [สํ+อิญฺช] ก. 'ไหวพร้อม,' หวั่นไหว.
นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลาย มิได้หวั่นไหว เพราะนินทาแลสรรเสริญ ท. ธมฺอ. 4/510. - สมฺมิญฺเชติ, สมฺมิญฺชติ [สํ+อิญฺช] ก. งอ, พับ, ไหวพร้อม.
สมฺมิญฺชิตํ วา พาหํ ปสาเรยฺย, ปสาริตํ วา พาหํ สมฺมิญฺเชยฺย พึงเหยียดแขนที่พับแล้ว หรือพึงพับแขนที่เหยียดแล้ว วิน. 5/85. มหาสมยสุตฺต สวดมนต์หน้า 68.
รูปนี้ ฉบับยุโรปยังมีที่เป็น สมิญฺ- อยู่บ้าง แต่ไทยไม่มีเลย. - สมฺมิญฺชิต [จากข้างบน] กค. พับแล้ว, งอแล้ว [ที่มาข้างบน].
- สมฺมิญฺชน นป. ความพับ, ความงอ [ตรงข้ามกับ ปสารณ ความเหยียดออก].
หตฺถปาทานํ สมฺมิญฺชน ปสารณ ปจฺจยา เพราะเหตุแห่งอันงอเข้าแลเหยียดออก ซึ่งมือแลเท้าทั้งหลาย ทือ. 1/243-4.
รูปนี้ก็เหมือนกัน ฉบับยุโรปยังมีที่เป็น สมิญฺ- อยู่บ้าง.
หมวดธาตุ
ภู (อ)
ที่มา
ธป
Comments