ไป, เคลื่อน: รู้, ตรัสรู้; เป็นอยู่, เป็นไป; บรรลุ, ถึง, ประสบ.
อิติ อิจฺจ อิตฺวา อิตฺวาน อีติ
ธาตุใดมี คติ เป็นอรรถ พึงทราบว่ามี พุทฺธิ-ปวตฺติ-ปาปุณน เป็นอรรถด้วย - ส.
- อิติ ในที่นี้เป็นกิริยา ไม่ใช่นิบาต.
อิติ เป็นกิริยานับว่ามีน้อยที่สุด เป็นนิบาตเสียเป็นพื้น ในที่มาต่างๆ
ถึงเช่นนั้น มีบาลีอังคุตตรนิกายแห่งหนึ่ง (23/100) ว่า อิตายํ โกธรูเปน (บ่วงมัจจุ) นี้ เป็นไปด้วยรูปโกรธ (อิติ+อยํ) - ส. - อีติ น จัญไร, อุบาทว์, 'มาเพื่อฉิบหาย' วิ. อนตฺถาย เอตีติ อีติ - ส.
อิ ธาตุนี้ เมื่อประกอบอุปสัคนิบาตเข้า ส. แสดงดังนี้:-
- เอติ (ก.) มา [อา+อิ] เอนฺโต มาอยู่ (อนฺต ปัจ.).
- อุเทติ (ก.) ขึ้น, ขึ้นไป, โผล่ขึ้น, ผุดขึ้น [อุ+ท (อาคม) +อิ]
รูปอื่น - อุทิ เช่น เอโกทิ อันเดียวผุดขึ้น หรือ โผล่ขึ้นอันเดียว อุทิโต (ดูต่อไป) การิต-อุทายติ - อุเปติ (ก.) เข้าถึง, ประกอบ [อุป+อิ] รูปอื่น - อุเปโต อุเปตุํ อุเปตฺวา อุเปจฺจ ฯเปฯ.
- สมุเปติ (ก.) เข้าถึงพร้อม, ประกอบ (สํ+อุป+อิ] รูปอื่น - สมุเปโต สมุเปจฺจ.
- เวติ (ก.) เสื่อมไป, สิ้นไป [วิ+อิ].
- อเปติ (ก.) ไปปราศ, ปราศจาก [อป+อิ] รูปอื่น - อเปโต อเปจฺจ.
- อเวติ (ก.) ลงไป, ไปต่ำ [อว+อิ].
- อนฺเวติ (ก.) ไปตาม, ติดตาม, ติดไป [อนุ+อิติ ส. บังคับว่า ไม่ใช่ เอติ] รูปอื่น - อนฺวิโต อนฺเวตุํ.
- สเมติ (ก.) ไปพร้อม หรือไปเสมอ [สํ หรือ สม+อิ รูปอื่น - สเมโต สเมตุํ สมโย (ดู อย).
- อภิสเมติ (ก.) 'ถึงพร้อมเฉพาะ,' บรรลุ, ได้, ได้รับ [อภิ+สํ+อิ] รูปอื่น - อภิสมโย อภิสเมจฺจ.
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ธีร กล่าวว่าเป็นบัณฑิต เพราะได้รับประโยชน์ (ทั้งสอง) (ดู สมโย). - ปจฺจโย (น.) ปัจจัย, เหตุ, การณ์ [ปฏิ+อิ] รูปอื่น - ปฏิยมาโน ปจฺเจตพฺโพ ปฏิจฺจ … 'ถึงเฉพาะ,' อาศัย (ยักแปลตามความ).
- อธิปปาโย (น.) อธิบาย, ความประสงค์ แสดงความประสงค์ [อธิ+ป+อิ] รูปอื่น - อธิปฺเปโต.
ส. แสดง บทมาลา ไว้ 3 รูป คือ อิติ เอติ อุทติ ดังนี้:-
อิติ.
วตฺตมานา - อิติ อินฺติ, อิสิ อิถ, อิมิ อิม.
ปญฺจมี - อิตุ อินตุ, อิหิ อิถ, อิมิ อิม.
สตฺตมี ปโรกฺขา หิยตฺตนี -ไม่มีที่ใช้.
ภวิสฺสติ - อิสฺสติ อิสฺสนฺติ, อิสฺสสิ อิสฺสถ, อิสฺสามิ อิสฺสาม, ฯเปฯ
กาลาติปตฺติ - อิสฺสา อิสฺสํสุ, อิสฺเส อิสฺสถ, อิสฺสํ อิสฺสามฺหา ฯเปฯ.
เอติ.
วตฺ. - เอติ เอนฺติ, เอสิ เอถ, เอมิ เอม.
ปญฺ. - เอตุ เอนฺตุ, เอหิ เอถ, เอมิ เอม.
สตฺ. - เอยฺย เอยยุํ, เอยฺยาสิ เอยฺยาถ, เอยฺยามิ เอยฺยาม.
อา. วิสฺสาสํ เอยฺย ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงถึงความคุ้นเคย. ตทา เอยฺยาสิ ขตฺติย ข้าแต่กษัตริย์ พระองค์พึงเสด็จมาเมื่อนั้น - ส.
ปโร. หีย. อช. - ไม่มีที่ใช้.
ภวิ. - เอสฺสติ เอสสนฺติ, เอสฺสสิ เอสฺสถ, เอสฺสามิ เอสสาม; ฯเปฯ.
อีกนัยหนึ่ง-เอหิติ เอหินฺติ, เอหิสิ เอหิถ, เอหิมิ เอหิม; ฯเปฯ.
อา. ตทา เอหินฺติ เม วสํ (มัน ท.) จักมาสู่อำนาจ ของข้าพเจ้าเมื่อนั้น - ส.
กาลา. - เอสฺสา เอสฺสํสุ, เอสฺเส เอสฺสถ, เอสฺสํ เอสสมฺหา; ฯ เป ฯ
อุเทติ.
วตฺ.- อุเทติ อุเทนฺติ, ฯเปฯ.
ปญฺ.- อุเทตุ อุเทนฺตุ, ฯเปฯ.
ฯเปฯ
Comments