เขียว, สด (?)
ธาตุนี้ อยู่ใน ธม. (ธป. ไม่มี) คาถาที่ 39 ว่า
"สิท=สิงฺคารปาเกสุ
สทฺทุ=หริตเส สิยา"
แต่มีโนตว่า ฉบับอื่นเป็น หริตโฆสิยา ฉบับหนึ่งเป็น ฆริตโฆสเน เฉพาะฉบับหลังนี้ สารบาญเป็น-โสสเน.
ที่แปลไว้ข้างบน นับว่าเป็นนัยหนึ่ง โดยหมายว่า เส เป็น นิบาต เท่ากับ หริเต เส เพื่อฉันทานุรักษ์ จึงเป็น หริตเส.
อีกนัยหนึ่งแยกเป็น 2 ศัพท์ คือ หริ+ตส. หริ ว่า เหลือง ดังคำ หริจนฺทน จันทน์เหลือง (ธมฺอ. 1/26. ธาตุปฺ. เล่มก่อน หน้า 109) แล หริสฺสวณฺโณ มีพรรณดุจทอง, พรรณเหลือง (สวดมนต์ โมรปริตฺต หน้า 22), ตส ว่า สะดุ้ง; ระหาย (ดู ตส ในธาตุปฺ. เล่มก่อน แลเล่มนี้).
ถ้าเป็น หริต; โฆสิยา หรือ-โฆสเน ก็ว่า เขียว, สด; ป่าว, ประกาศ.
ถ้าเป็น -โสสเน ก็ว่า เขียว, สด; แห้ง, ผาก.
ธม. ฉบับสีหล เป็น -โสสเน แต่ในการที่ทำมาทั้งหมดนี้ ได้ใช้ฉบับยุโรปที่อ้างมาตลอด จึงคงตามฉบับนั้นทุกอย่าง แลเท่าที่สังเกต เห็นว่าฉบับยุโรปมั่นคงกว่าฉบับสีหล แลการแปลธาตุซึ่งมีคำไขนิดหน่อย ไม่มีถ้อยความอะไรประกอบ จึงเป็นการยาก การทึกทักว่าอักษรวิบัติแล้วแก้เอาตามอำเภอใจ มีทางเสียมากกว่าได้ หรือร้ายมากกว่าดี ฉะนั้นจึงคงไว้ตามเดิมทุกอย่าง สำหรับผู้รู้ได้วิจารต่อไป.
Comments