'เป็นไป,' ควร, สมควร, ชอบ, ถูกต้อง; วน, วนเวียน, หมุน
อรรถของธาตุ
วตฺตเน; อาวตฺตเน
ตัวอย่าง
- วฏฺฏติ เอวํ โกธํ ชินิตุํ วฏฺฏติ ความชนะโกรธเช่นนั้น ย่อมควร ธมฺอ. 6/277.
วิหารมชฺเฌ นิสีทิตุํ น วฏฺฏติ การนั่งในท่ามกลางวิหาร ย่อมไม่ควร ธมฺอ. 1/35 (มีใช้มากที่สุด). - วฏฺเฏติ [จาก วฏฺฏ] ก. การิต. ให้เวียนไปเวียนมา, ให้วนเวียน. ให้หมุนไป.
สุชาตา ตสรํ วฏฺเฏติ ธมฺอ. 2/371.
อุทาหรณ์ที่ชักมานี้ ยังยากที่จะแปลลงไปโดยส่วนเดียว ก่อนแต่จะแปลต้องวินิจฉัยว่า ตสร ได้แก่อะไรก่อน.
ตสร อช. 773 ว่า "ความพัดหลอด, กระสวยทอผ้า ก็ว่า" ตามโบราณที่แปลๆ กันมาตามวัด ตสรํ วฏเฏติ ว่า กรอหลอด อีกโวหารหนึ่งว่า พัฏหลอด (คำว่า พัฏ น่าจะเขียนรูปนี้ จึงจะได้รูปบาลีเพราะเป็นคำพิเศษสำหรับเรื่องทอผ้ากระมัง?) คือ ให้หลอดด้ายหมุนไป.
ตามมตินักปราชญ์ชาวตะวันตก ทั้งชิลเดอรส แลดิกชันนารีของ ปี. ที. เอส. ว่า ตสร ได้แก่ กระสวย (shuttle) สก. ก็เป็น ตสร กระสวย เหมือนกัน ตามนัยนี้ สุชาตา ตสรํ วฏฺเฏติ ต้องแปลว่า นางสุชาดายังกระสวยให้เวียนไปเวียนมา หรือ พัฏกระสวย หรือพุ่งกระสวย หรือทอผ้าอยู่. ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่าแปลตามนัยที่สองจะสนิทดี เพราะความในที่นั้นมีว่า ท้าวสักกะพร้อมทั้งสุชาดา จำแลงเป็นช่างหูก กำลังทอผ้าอยู่ โดยประโยคว่า สกฺโก ตนฺตํ ปสาเรติ, สุชาตา ตสรํ วฏฺเฏติ* ท้าวสักกะขึงด้ายอยู่ นาง … ดูเป็นใจความสำคัญของเรื่องทอผ้า. ถ้าแปลว่า กรอหลอดด้าย ดูเหมือนจะเป็นเพียงกิจเอกเทศของเรื่องทอผ้า ไม่ใช่กระทงความ หรือคำว่า กรอหลอดด้าย นั้น จะกินความถึง "ทอผ้า" ได้ด้วย ยังสงสัยอยู่ ขอให้ท่านผู้รู้ภาษาบาลีแลภาษาไทยดี วินิจฉัยต่อไป การแปลบาลีเป็นไทยของเราจะได้สนิทดีขึ้น.
* แต่บาล็อุทาน 25/115 เป็น … ตนฺติ วินาติ … ตสรํ ปูเรติ. อรรถกถาว่า ตนฺตํ วินาตีติ ปสาริตตนฺตํ วินนฺโต วิย โหติ. ตสรํ ปูเรตีติ ตสรวฏฺฏึ วฑฺเฒนฺตี วิย.
- วฏฺฏ [จาก วฏฺฏ] นป. ป. 'วัฏฏ,' ความวนเวียน หรือเป็นที่วนเวียน. ได้แก่ สํสาร ความเวียนเกิดเวียนตาย, หรือ ภว ความมีความเป็น. (ดูที่ สํสาโร ใน ธาตุปฺ, เล่มก่อน). วิเคราะห์ว่า วตฺตติ เอตฺถ กมฺมํ ตพฺพิปาโก วาติ วฏฺฏํ (อภิธมฺมตถวิภาวินี 231).
ภวํ วา สํสารํ วา วฏฺฏํ วา นาสึสติ มิได้หวังภพ หรือสงสาร หรือวัฏฏะ (ทั้ง 3 ศัพท์ มีนัยเป็นสำเนาเดียวกัน) มหานิทฺเทส 56.
วัฏฏะมี 3 คือ กิเลสวฏฺฏํ วัฏฏะคือกิเลส-'เครื่องชั่ว', กมฺมวฏฺฏํ วัฏฏะคือกรรม-'ความทำ', วิปากวฏฺฏํ วัฏฏะคือวิบาก-'ผล' (อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ 46).
ทั้ง 3 นี้ เรียกว่า ติวฏฺฏ ไตรวัฏฏ์ ก็ได้ -กิเลสกมฺมวิปากวเสน วฏฺฏํ ติวฏฺฏภูตํ (อภิธมฺมตฺถวิภาวินี 240). - วฏฺฏ ป. รายจ่าย, ค่าใช้สอย อช. 1018.
- วฏฺฏ ค. กลม, กลมกล่อม.
วิจิตฺรวฏฺฏงฺคุลิกสฺส โสภเร (หตฺถา มือ ท.) ของเขา มีนิ้วกลมวิจิตร ย่อมงาม,
แล วฏฺฏงฺคุลีหิ สมนฺนาคตา มาตามพร้อมด้วยนิ้วมืออันกลมกล่อม ท. ชาอ. 8/16-20. - วฏฺฏุล [จาก วฏฺฏ] ค. กลม, กลมกล่อม. อช. 707
วฏฺฏวิวฏฺฏ [วฏฺฏ+วิ+วฏฺฏ] น. เวียนไปเวียนมา, รอบไปรอบมา. ศัพท์นี้พอเทียบได้กับ จุณฺณวิจุณฺณ (จุณฺณ+วิ+จุณฺณ) จุรณวิจุรณ, 'แหลกไปแหลกมา' คือแหลกละเอียดจนป่นปี้หาชิ้นไม่ได้.
ทวาทสงฺคิกํ ปจฺจยาการํ วฏฺฏวิวฏฺฏวเสน อนุโลมปฏิโลมโต สมฺมสนฺตสฺส เมื่อพระมหาบุรุษพิจารณาปัจจยาการ มีองค์ 12 (มีอวิชชาเป็นอาทิ) โดยอนุโลมแลปฏิโลม ด้วยอำนาจแห่งอันเวียนไปเวียนมา หรือ รอบไปรอบมา คือเวลาพิจารโดยอนุโลม ก็รอบไปรอบมา เวลาพิจารโดยปฏิโลม ก็รอบไปรอบมา เป็นอันว่าละเอียดถ้วนถี่จนที่สุด มิได้มีช่องว่างเว้นเลย เมื่อจะหมายอรรถเช่นนี้ สำนวนบาลีจึงใช้ว่า วฏฺฏวิวฏฺฏวเสน อนุโลมปฏิโลมโต* ชาอ. 1/119.
คำ วฏฺฏวิวฏฺฏ ที่มีอรรถเช่นนี้ เฉพาะต้องสนธิกัน แลมาในที่เช่นนี้ ถ้าแยกกัน มีอรรถไปอีกอย่าง ดูต่อไป.
อนุโลม 'ตามขน' คือตามลำดับ ได้แก่พิจารจับเหตุไปหาผล หรือจับต้นไปหาปลาย.
ปฏิโลม 'ย้อนขน' คือ ย้อนขึ้นมา ทวนขึ้นมา ได้แก่ วิจารจับผลไปหาเหตุ หรือจับปลายไปหาต้น.
* พิจารณาอนุโลม – อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ. อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ. ปฏิโลม – อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ. อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ. นัยบาลีอุทาน 25/73.
- วิวฏฺฏ [วิ ไม่, วฏฺฏ วน, เวียน, หมุน. ดูข้างต้น] นป. 'ไม่หมุน, หยุด' พระนิพพาน. อช. 8.
วฏฺเฏ ชนกปิตา บิดาผู้ให้กำเนิดทางวัฏฏะ (สงสาร) วิวฏฺเฏ ชนกปิตา บิดาผู้ให้กำเนิดทางวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ธมฺอ. 1/275-6. - วิวฏฺฏ [วิ+วฏฺฏ] นป. ผ้าวิวัฏ เป็นชื่อผ้าท่อนหนึ่ง ในผืนไตรจีวรของภิกษุ. =มณฺฑลญฺจ อฑฺฒมณฺฑลญฺจ เอกโต กตฺวา สิพฺพิตํ มชฺฌิมกฺขนฺธํ, มงฺคลตฺถทีปนี ฉบับแรก 133. อนุวิวฏฺฏ [อนุ+วิวฏฺฏ] นป. ผ้าอนุวิวัฏ เป็นชื่อท่อนผ้าในผืนไตรจีวรของภิกษุเหมือนกัน ดูแก้แห่งเดียวกับคำบน.
- วฏฺฏูปจฺเฉโท [วฏฺฏ+อุป+เฉท] ป. 'เป็นที่ขาดแห่งความหมุน-ไม่หมุน-หยุด', พระนิพพาน.
ยสมา ปน ตํ อาคมฺม เตภูมิกวฏฺฏํ อุปจฺฉิชฺชติ; ตสฺมา วฏฺฏูปจฺเฉโทติ วุจฺจติ วินอ. 1/251.
อาวฏฺฏ [อา+วฏฺฏ] ป. น้ำวน, วังวน. อช. 660. - อาวฏฺฏ [อา+วฏฺฏ] ค. วนเวียน-งวยงง-ถูกดลใจ.
เวรญฺโช พฺราหฺมโณ มาราวฏฺฏเนน อาวฏฺโฏ เวรัญชพราหมณ์ เป็นผู้วนเวียนไปเพราะมาร หรือถูกมารดลใจ ธมฺอ. 4/514. - อาวฏฺฏ [อา+วฏฺฏ] นป. โรงกลม, สถานกลม. มณฑล.
อนฺโตอาวฏฺเฏ นิสีทนมณฺฑปํ กาเรหิ จงให้ทำมณฑปเป็นที่นั่ง ในภายในแห่งโรงกลม ธมฺอ. 1/165. - อาวฏฺฏ [อา-อฏฺฏ] นป. ความวนเวียน, ความดลใจ.
มาราวฏฺฏนํ ความดลใจแห่งมาร ดูข้างบน.
(ธาตุนี้ มีที่ใช้มากมายนัก ชักมาพอควร)
หมวดธาตุ
ภู (อ)
ที่มา
ธป
Comments