สนธิ

สารบัญ
ความหมาย  

1. สรสนธิ

2. พยัญชนสนธิ

3. นิคคหิตสนธิ


ชีทประกอบการศึกษา:

 

สนธิ คือ วิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อ 
  1) ย่ออักขระให้น้อยลง 2) เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ และ 3) ทำคำพูดให้สละสลวย 

สนธิ ต่ออักขระ  สมาส ต่อคำ (เกิดเป็นคำใหม่)

 

การต่อ มี 2 อย่าง คือ

  1. ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติ เช่น   
    จตฺตาโร–อิเม  ต่อเป็น จตฺตาโรเม 
    อิธ–ปโมทติ ต่อเป็น อิธปฺปโมทติ  (ต่อศัพท์ที่ไม่มีวิภัตติก็ได้)
  2. ต่อบทสมาส (ที่โดยมากลบวิภัตติแล้ว) ย่ออักขระให้น้อยลง (อีก)  เช่น  
    กต–อุปกาโร  ต่อเป็น  กโตปกาโร (ไม่ลบวิภัตติ)  
    พุทฺธานํสาสนํ ต่อเป็น พุทฺธานสาสนํ  (ไม่ลบวิภัตติ)

ลักษณะของศัพท์ที่นำมาสนธิ/ต่อ  มี 2 อย่าง คือ

  1. ศัพท์ใดๆ ก็ได้ ที่มิได้เข้าสมาส
  2. ศัพท์ที่เข้าสมาสแล้ว

การต่ออักขระด้วยอักขระ  จัดเป็น 3  คือ

  1. สรสนธิ ต่อสระ 
  2. พยัญชนสนธิ ต่อพยัญชนะ 
  3. นิคคหิตสนธิ ต่อนิคคหิต
สนธิ (การต่อ) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ …

 

สนธิกิริโยปกรณ์ คือ วิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิ  มี 8 อย่าง ได้แก่วิธีทำสนธิ (สนธิกิริโยปกรณ์)  มี 8 ได้แก่ …
 คำแปลไทย อักขระ
1. โลป/ลบลบ-ลด
2. อาเทสแปลง*~เปลี่ยนรูป
3. อาคมลงตัวอักษรใหม่+เพิ่ม
5. ปกติปกติ=เท่าเดิม
4. วิการทำให้ผิดจากของเดิม*~เปลี่ยนรูป
6. ทีฆะทำให้ยาว~เปลี่ยนรูป
7. รัสสะทำให้สั้น~เปลี่ยนรูป
8. สัญโญคซ้อนตัว+เพิ่ม

อาเทส แปลงให้เป็นพยัญชนะ   วิการ แปลงสระเป็นสระ

 

สนธิกิริโยปกรณ์ที่ใช้ในสนธิทั้ง 3

  1. สรสนธิ ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 7  คือ เว้นสัญโญค
  2. พยัญชนสนธิ ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 5  คือ  ลบ อาเทส อาคม ปกติ สัญโญค
  3. นิคคหิตสนธิ ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 4  คือ  ลบ อาเทส อาคม ปกติ
สรสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 7

คือ

ลบอาเทสอาคมปกติวิการทีฆะรัสสะ-
พยัญชนสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 5คือลบอาเทสอาคมปกติ---สัญโญค
นิคคหิตสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 4คือลบอาเทสอาคมปกติ----
ลบ อาเทส อาคม ปกติใช้ได้ทุกสนธิ
วิการ ทีฆะ รัสสะใช้เฉพาะสรสนธิ
สัญโญคใช้เฉพาะพยัญชนสนธิ

*  สรสนธิ  ไม่เขียน สระสนธิ  เพราะไม่ประวิสรรชนีย์ (คือเขียนสระอะ) ในคำไทยที่มาจากคำสมาสในบาลีสันสกฤต  เช่น 
"สรสนธิ"  สนธิที่เกี่ยวกับสระ     เป็นคำสมาส (แปลจากหลังไปหน้า) 
"พยัญชนะวรรค" พยัญชนะที่อยู่จัดอยู่ในวรรค     เป็นคำประสม (แปลจากหน้ามาหลัง)

 

1. สรสนธิ

สรสนธิใช้กิริโยปกรณ์ 7 อย่าง  คือ เว้นสัญโญโค 

1.1 โลปสรสนธิ

มี 2 อย่าง คือ ลบสระหน้า และลบสระหลัง  

สระที่สุดของศัพท์หน้า เรียกว่า  สระหน้า 

สระหน้าของศัพท์หลัง เรียก สระเบื้องปลาย หรือ สระหลัง

มีกฎว่า เมื่อสระทั้ง 2 นี้ไม่มีพยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง ให้ลบได้ตัวหนึ่ง   ถ้ามีพยัญชนะคั่น ลบไม่ได้

วิธีลบสระหน้า

1. สระหน้าเป็นรัสสะ   สระหลังเป็นทีฆะหรือมีพยัญชนะสังโยค  ลบสระหน้าอย่างเดียว  เช่น

ยสฺส–อินฺทฺริยานิ สนธิเป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ,  
โนหิ–เอตํ สนธิเป็น โนเหตํ, 
สเมตุ–อายสฺมา สนธิเป็น สเมายสฺมา

2. สระทั้งสองเป็นรัสสะ มีรูปเสมอกัน (คือเป็น อ อิ อุ เหมือนกัน) ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง   เช่น 

ตตฺร–อยํ เป็น ตตฺรยํ

3. สระทั้งสองเป็นรัสสะ มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง*  เช่น 

ตตฺร-อิเม เป็น ตตฺรีเม  (อ-อิ สระทั้ง 2 เป็นรัสสะ รูปไม่เสมอกัน ก็ทีฆะได้) 
วิ-อติกฺกโม เป็น วีติกฺกโม  (อิ-อ สระทั้ง 2 เป็นรัสสะ รูปไม่เสมอกัน ก็ทีฆะได้)

ไม่ทีฆะบ้าง เช่น จตูหิ–อปาเยหิ เป็น จตูปาเยหิ

* โลปสรสนธิ เมื่อลบสระตัวหนึ่งแล้ว ทีฆะสระที่เหลือ

 

4. สระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง  เช่น 

สทฺธา–อิธ เป็น สทฺธี

วิธีลบสระหลัง 
1. สระทั้งสอง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหลัง  เช่น  
    จตฺตาโร–อิเม เป็น จตฺตาโรเม 
    กินฺนุ–อิมา เป็น กินฺนุมา 
2. นิคคหิตอยู่หน้า ลบสระหลัง  เช่น  
    อภินนฺทุํ–อิติ เป็น อภินนฺทุนฺติ

1.2 อาเทสสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ  แปลงสระหน้า และ แปลงสระหลัง

วิธีแปลงสระหน้า

ถ้า อิ เอ,  อุ โอ  อยู่หน้า  มีสระอยู่หลัง  ให้แปลง  อิ เอ เป็น ยฺ,  แปลง  อุ โอ เป็น วฺ 
(เฉพาะ อิ ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกัน 3 ตัว ให้ลบพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันได้ตัวหนึ่ง  เช่น  
ปฏิสนฺฐารวุตฺติ–อสฺส เป็น  ปฏิสนฺฐารวุตฺยสฺส,  อคฺคิ–อาคารํ เป็น อคฺยาคารํ)

เอา เอ เป็น ยฺ  เช่น  
    เต–อสฺส เป็น ตฺสฺส,  
    เม–อยํ เป็น มฺยายํ,  
    เต–อหํ เป็น ตฺยาหํ 
เอา โอ เป็น วฺ  เช่น  
    อถโข–อสฺส เป็น อถขฺสฺส 
เอา อุ เป็น วฺ  เช่น  
    พหุ–อาพาโธ เป็น พหฺาพาโธ,  
    จกฺขุ–อาปาถํ เป็น จกฺขฺาปาถํ

วิธีแปลงสระหลัง

สระอยู่หน้า   สระหลังเป็น เอ แห่ง เอว ศัพท์   แปลง เอ เป็น ริ  แล้วรัสสะสระหน้า  เช่น  
    ยถา–เอว เป็น ยถริว,  ตถา–เอว เป็น ตถริ

1.3 อาคมสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ

  1. โอ อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง ให้ลบ โอ แล้วลง อ อาคม  เช่น 
    โส–สีลวา  เป็น  สีลวา    (ศัพท์สนธิ ไม่จำเป็นต้องเขียนติดกันเสมอไป) 
    โส ปญฺญวา  เป็น  ปญฺญวา 
    เอโส ธมฺโม  เป็น  เอ ธมฺโม
  2. อ อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง  ลบ อ  แล้วลง โอ อาคม  เช่น 
    ปร–สหสฺสํ เป็น ปโรสหสฺสํ 
    สรท–สตํ เป็น สรโทสตํ

1.4 วิการสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ

  1. วิการสระหน้า  ลบสระหลังแล้ว  วิการ อิ เป็น  เอ,  วิการ อุ เป็น โอ  เช่น 
    มุนิ–อาลโย เป็น มุเนลโย,  สุอตฺถี เป็น โสตฺถี
  2. วิการสระหลัง 
    ลบสระหน้าแล้ว  วิการ อิ เป็น  เอ,  วิการ อุ เป็น โอ  เช่น  
    มาลุต–อิริตํ  เป็น มาลุเตริตํ, 
    พนฺธุสฺส-อิว เป็น พนฺธุสฺเสว, 
    น–อุเปติ เป็น โนเปติ, 
    อุทกํ อุมิกชาตํ เป็น  อุทโกมิกชาตํ

1.5 ปกติสรสนธิ

ปกติสรสนธินั้นไม่มีพิเศษอันใด คือ เมื่อสระเรียงกันอยู่ 2 ตัว ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด  เช่น 
โก–อิมํ คงเป็น โกอิมํ

1.6 ทีฆสรสนธิ   มี 2 อย่าง คือ ทีฆะสระหน้า และ ทีฆะสระหลัง

  1. ทีฆะสระหน้า 
    ลบสระหลัง แล้วทีฆะสระหน้า  เช่น  
    กึสุ–อิธ เป็น กึสูธ 
    สาธุ–อิติ เป็น สาธูติ,   
    พยัญชนะอยู่หลัง ทีฆะสระหน้า  เช่น  
    มุนิ–จเร เป็น มุนี จเร 
  2. ทีฆะสระหลัง 
    ลบสระหน้า แล้วทีฆะสระหลัง  เช่น  
    สทฺธา–อิธ เป็น สทฺธีธ,  
    จ–อุภยํ เป็น จูภยํ

1.7 รัสสสรสนธิ 
    พยัญชนะ หรือ  เอ แห่ง เอว ศัพท์ อยู่หลัง   รัสสะสระหน้า  เช่น  
        โภวาที–นาม เป็น โภวาทิ นาม,   
        ยถา–เอว เป็น ยถริ

 

2. พยัญชนสนธิ

พยัญชนสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 5 อย่าง คือ  โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สญฺโญโค

2.1 โลปพยัญชนสนธิ

นิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง ลบสระหลังแล้ว ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกัน 2 ตัว ต้องลบเสียตัวหนึ่ง  เช่น  เอวํ–อสฺส เป็น เอวํส,  ปุปฺผํ–อสฺสา เป็น ปุปฺผํสา

2.2 อาเทสพยัญชนสนธิ

สระอยู่หลัง  แปลง ติ ที่ทำเป็น ตฺยฺ แล้ว  ให้เป็น จฺจฺ  เช่น 

อิติ-เอวํ เป็น อิจฺเจวํ 
ปติ–อุตฺตริตฺวา เป็น ปจฺจุตฺตริตฺวา

แปลง ค เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  กุลุปโค เป็น กุลุปโ 
แปลง ช เป็น    ย ได้บ้าง    เช่น   นิชํ เป็น นิยํ 
แปลง ต เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  นิยโต เป็น นิยโ 
แปลง ต เป็น    จ ได้บ้าง    เช่น  ภโต เป็น ภจฺโจ 
แปลง ต เป็น    ฏ ได้บ้าง    เช่น  ทุกฺกตํ เป็น ทุกฺกฏํ 
แปลง ต เป็น    ธ ได้บ้าง    เช่น  คนฺตพฺพํ เป็น คนฺพฺพํ 
แปลง ตฺต เป็น  ตฺร ได้บ้าง    เช่น  อตฺตโช เป็น อตฺรโช 
แปลง ท เป็น    ต ได้บ้าง    เช่น  สุคโท เป็น สุคโ 
แปลง ธ เป็น    ท ได้บ้าง    เช่น  เอกํ–อิธ–อหํ เป็น เอกมิาหํ  (เอก อยู่หน้า) 
แปลง ธ เป็น    ห ได้บ้าง    เช่น  สาธุ–ทสฺสนํ เป็น สาหุทสฺสนํ 
แปลง ป เป็น    ผ ได้บ้าง    เช่น  นิปฺปตฺติ เป็น นิปฺตฺติ 
แปลง ย เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  สยํ เป็น สกํ 
แปลง ย เป็น    ช ได้บ้าง    เช่น  ควโย เป็น  ควโ 
แปลง ร เป็น    ล ได้บ้าง    เช่น  มหาสาโร เป็น มหาสาโ 
แปลง ว เป็น    พ ได้บ้าง    เช่น  กุวโต เป็น กุพฺพโต 

แปลงอุปสัคให้เป็นรูปต่างๆได้อีก  เช่น 
อภิ อยู่หน้า  สระอยู่หลัง แปลง อภิ เป็น อพฺภ  เช่น  อภิ–อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ 
อธิ อยู่หน้า  สระอยู่หลัง แปลง อธิ เป็น อชฺฌ  เช่น  อธิ–โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส,  อธิ–อคมา เป็น อชฺฌคมา 
อว อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง แปลง อว เป็น โอ  เช่น  อว–นทฺธา เป็น โอนทฺธา 
ติ ของ อติ ปติ อิติ อยู่หน้า  สระอยู่หลัง แปลง ติ เป็น จฺ (ซ้อน จฺ)  เช่น  ปติ–อาคมิ เป็น ปจฺจาคมิ

2.3 อาคมพยัญชนสนธิ

สระอยู่หลัง  ลงพยัญชนะอาคม 8 ตัว คือ  ยฺ  วฺ  มฺ  ทฺ  นฺ  ตฺ  รฺ  ฬฺ

ย อาคม    เช่น    ยถา–อิทํ        เป็น ยถายิทํ 
ว อาคม    เช่น    อุทิกฺขติ        เป็น วุทิกฺขติ 
ม อาคม    เช่น    ครุ–เอสฺสติ      เป็น ครุเมสฺสติ 
ท อาคม    เช่น    อตฺต–อตฺโถ     เป็น อตฺตทตฺโถ 
น อาคม    เช่น    อิโต–อายติ     เป็น อิโตนายติ 
ต อาคม    เช่น    ตสฺมา–อิห      เป็น ตสฺมาติห 
ร อาคม    เช่น    สพฺภิ–เอว       เป็น สพฺภิเรว 
ฬ อาคม    เช่น    ฉ–อายตนํ      เป็น ฉฬายตนํ

ในสัททนีติปกรณ์ว่า ลง ห อาคม ก็ได้  เช่น  สุ–อุชุ เป็น สุหุชุ,  สุ–อุฏฺฐิตํ เป็น สุหุฏฺฐิตํ

2.4 ปกติพยัญชนสนธิ

ปกติพยัญชนสนธิก็ไม่มีพิเศษอันใด คือคงรูปไว้ตามเดิม  เช่น สาธุ คงเป็น สาธุ ไม่เปลี่ยนเป็น สาหุ  หรืออย่างอื่น

2.5 สัญโญคพยัญชนสนธิ   มี 2 คือ  ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน และ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน

  1. ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน  เช่น  อิธ–ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ,  จาตุ–ทสี เป็น จาตุทฺทสี
  2. ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน  เช่น  จตฺตาริ–ฐานานิ เป็น จตฺตาริฏฺฐานานิ,  เอโสว–จ–ฌานผโล เป็น เอโสวจชฺฌานผโล

 

3.  นิคคหิตสนธิ

นิคคหิตสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 4 อย่าง คือ  โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ

3.1 โลปนิคคหิตสนธิ

นิคคหิตอยู่หน้า สระหรือพยัญชนะอยู่หลัง* ลบนิคคหิต เช่น  
ตาสํ–อหํ เป็น ตาสาหํ, 
วิทูนํ–อคฺคํ เป็น วิทูนคฺคํ,  
อริยสจฺจานํ–ทสฺสนํ เป็น อริยสจฺจานทสฺสนํ,  
พุทฺธานํ–สาสนํ เป็น พุทฺธานสาสนํ

* ศัพท์ทุกศัพท์ ย่อมขึ้นต้นด้วยสระหรือพยัญชนะอยู่แล้ว [=ต้องมีคำอื่นอยู่หลัง]

 

3.2 อาเทสนิคคหิตสนธิ

นิคคหิตอยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะตัวนั้น  เช่น

แปลงนิคคหิต เป็น ง    เช่น  เอวํ-โข    เป็น    เอวงฺโข 
แปลงนิคคหิต เป็น ญ    เช่น  ธมฺมํ-จเร    เป็น    ธมฺมญฺจเร 
แปลงนิคคหิต เป็น ณ    เช่น  สํ-ฐิติ    เป็น    สณฺฐิติ 
แปลงนิคคหิต เป็น น    เช่น  ตํ-นิพฺพุตํ    เป็น    ตนฺนิพฺพุตํ 
แปลงนิคคหิต เป็น ม    เช่น  จิรํ-ปวาสึ    เป็น    จิรมฺปวาสึ

ถ้า เอ และ ห อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิต เป็น ญ  เช่น 

ปจฺจตฺตํ-เอว เป็น ปจฺจตฺตญฺเว, 
ตํ-เอว เป็น ตญฺเว 
เอวํ-หิ เป็น เอวญฺหิ,  
ตํ-หิ เป็น ตญฺหิ

ถ้า ย อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิตกับ ย เป็น ญฺญ  เช่น  สํ-โยโค เป็น สญฺโญโค

ในสัททนีติปกรณ์ว่า

ล อยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ล  เช่น  ปุํ-ลิงฺคํ เป็น ปุลฺลิงฺคํ,  สํ-ลกฺขณา เป็น สลฺลกฺขณา 
สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ม และ ท  เช่น  ตํ–อหํ เป็น ตหํ, เอตํ–อโวจ เป็น เอตโวจ

3.2 อาคมนิคคหิตสนธิ

[รัสสสระอยู่หน้า] สระหรือพยัญชนะอยู่หลัง* ลงนิคคหิตได้  เช่น 

จกฺขุ อุทปาทิ เป็น จกฺขุํ อุทปาทิ    (ศัพท์สนธิ ไม่จำเป็นต้องเขียนติดกันเสมอไป) 
อว–สิโร เป็น อวํสิโร

*  ศัพท์ทุกศัพท์ ย่อมขึ้นต้นด้วยสระหรือพยัญชนะอยู่แล้ว (=ต้องมีคำอื่นอยู่หลัง)

 

3.2 ปกตินิคคหิตสนธิ

ไม่มีพิเศษอันใด ควรจะลบหรือแปลงหรือลงนิคคหิตอาคมได้ ก็ไม่ทำอย่างนั้น คงไว้ตามรูปเดิม เช่น ธมฺมํ–จเร  ก็ไม่แปลงให้เป็น ธมฺมญฺจเร

ความคิดเห็น2

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.

Anonymous (not verified)

8 months ago

กราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่กรุณาแจกจ่ายวิทยาทาน