สารบัญ
ชีทประกอบการศึกษา: • รูปวิเคราะห์สมาส • รูปวิเคราะห์สมาส 2 ไม่มีคำแปลวิเคราะห์ • ข้อสังเกตลักษณะของสมาสแต่ละประเภท และตัวอย่างสมาส • เปรียบเทียบสมาส-สนธิ-ตัทธิต-นามกิตก์
สมาส
สมาส หมายถึง นามศัพท์* ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน
(เทียบกับภาษาไทย เช่น อย่าทำซึ่งบาป ย่อเป็น อย่าทำบาป, สัตว์เกิดในน้ำ ย่อเป็น สัตว์น้ำ)
* ศัพท์ประเภทอื่นก็เข้าสมาสได้. อัพยยศัพท์ เช่น สมมาทิฏฺฐิ, อุปนครํ, กิริยากิตก์ (ใช้เป็นคุณนาม) เช่น กตปุญฺโญ, อาขยาต (แต่จัดเป็นนิบาต) เช่น อตฺถิภาโว-นตฺถิภาโว, อโหสิกมฺมํ.
เมื่อนำศัพท์มาต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ เรียกว่า สมาส มักลบวิภัตติของบทหน้า อันเป็นกิจที่ทำเมื่อเข้าสมาส
สมาส ว่าโดยกิจ
ฉะนั้น สมาส ว่าโดยกิจ มี 2 อย่าง คือ
1. ลุตตสมาส คือ สมาสที่ลบวิภัตติของบทหน้า เช่น
กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํ | ผ้าเพื่อกฐิน |
รญฺโญ ธนํ ราชธนํ | ทรัพย์ของพระราชา |
2. อลุตตสมาส คือ สมาสที่ไม่ได้ลบวิภัตติของบทหน้า เช่น
ทูเร นิทานํ ยสฺส, ตํ ทูเรนิทานํ (วตฺถุ) | (เรื่อง) มีนิทานในที่ไกล |
อุรสิ โลโม ยสฺส, โส อุรสิโลโม (พฺราหฺมโณ) | (พราหมณ์) มีขนที่อก |
กาเมสุ มิจฺฉาจาโร กาเมสุมิจฺฉาจาโร | การประพฤติผิดในกาม |
เทวานํ อินฺโท เทวานมินฺโท | จอมแห่งเทพ |
เมื่อเข้าสมาสสำเร็จแล้ว (โดยลบวิภัตติ/ไม่ลบวิภัตติ) จะทำสนธิอีกก็ได้ เช่น
อานนฺโท เถโร | อานนฺทเถโร | พระเถระชื่อว่าอานนท์ | สนธิ - สมาส |
อานนฺทตฺเถโร | สนธิ - สนธิ - ซ้อน ตฺ | ||
พุทฺโธ อาทิจฺโจ อิว | พุทฺธอาทิจฺโจ | พระพุทธเจ้าเพียงดังพระอาทิตย์ | สนธิ - สมาส |
พุทฺธาทิจฺโจ | สนธิ - ลบสระหน้า |
สมาส ว่าโดยชื่อ
สมาส ว่าโดยชื่อ มี 6 อย่าง (สมาสมี 6 ประเภท) คือ
1. กัมมธารยะ | - นบุพพบท กัมมธารยะ |
2. ทิคุ | |
3. ตัปปุริสะ | |
4. ทวันทวะ | |
5. อัพยยีภาวะ | |
6. พหุพพิหิ | - ภินนาธิกรณพหุพพิหิ - ฉัฏฐีอุปมาบุพบทพหุพพิหิ - นบุพบทพหุพพิหิ - สหบุพบทพหุพพิหิ |
1. กัมมธารยสมาส
นามศัพท์ 2 บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน
บทหนึ่งเป็นประธาน คือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม
หรือเป็นวิเสสนะทั้ง 2 บท มีบทอื่นเป็นประธาน ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อว่า กัมมธารยสมาส มี 6 คือ
- วิเสสนบุพบท
- วิเสสนุตตรบท
- วิเสสโนภยบท
- วิเสสโนปมบท
- สัมภาวนบุพบท
- อวธารณบุพบท
1) วิเสสนบุพบท มีบทวิเสสนะอยู่หน้า บทประธานอยู่หลัง เช่น
มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโส | บุรุษใหญ่ |
ขตฺติยา กญฺญา ขตฺติยกญฺญา | นางผู้กษัตริย์ |
นีลํ อุปฺปลํ นีลุปฺปลํ | ดอกอุบลเขียว |
นหานํ ติตฺถํ นหานติตฺถํ | ท่าเป็นที่อาบ |
อุปฏฺฐานา สาลา อุปฏฺฐานสาลา | ศาลาเป็นที่บำรุง |
พลวา โกโธ พลวโกโธ | ความโกรธมีกำลัง |
โก สทฺโท กึสทฺโท | เสียงอะไร |
#กึโอภาโส กึพนฺธนานิ |
สมาสที่เอา มหนฺต ศัพท์ เป็น มหา เช่น
มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโส | บุรุษใหญ่ |
มหตี ธานี มหาธานี | เมืองใหญ่ |
มหนฺตํ นครํ มหานครํ | นครใหญ่ |
มหนฺตํ ภยํ มหพฺภยํ | ภัยใหญ่ (รัสสะ เป็น มห, ซ้อน พฺ) |
ลบอักษรตัวหลังของบทวิเสสนะ เหลือไว้แต่อักษรตัวหน้า เช่น
สนฺโต ปุริโส สปฺปุริโส | บุรุษผู้สงบแล้ว, สัตบุรุษ, คนดี |
สปฺปุริสสฺส ธมฺโม สทฺธมฺโม | ธรรมของสัตบุรุษ, สัทธรรม (เป็น ฉ. ตัป.) |
ปธานํ วจนํ ปาวจนํ | คำอันเป็นประธาน, ปาพจน์ |
กุจฺฉิตา ทิฏฺฐิ กุทิฏฺฐิ | ทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียดแล้ว, ทิฏฐิชั่ว |
กุจฺฉิโต ปุริโส กาปุริโส | บุรุษอันบัณฑิตเกลียดแล้ว, บุรุษชั่ว |
วิสิฏฺโฐ กปฺโป วิกปฺโป | กัปวิเศษ |
วิวิธา มติ วิมติ | ความคิดอย่างต่างๆ, ความสงสัย |
#กุปุตฺโต, กุทาโส, กุพฺราหฺมโณ, กุนฺนที, กาปุปฺผํ, กาลวณํ, กทนฺนํ, กทสนํ, กทริโย |
ศัพท์ที่ทำหน้าที่เป็นวิเสสนะได้ เช่น คุณนามแท้; ปกติสังขยา, ปูรณสังขยา …
คุณนามแท้ | พหุ ชโน พหุชโน | ชนมาก |
เสตํ ฉตฺตํ เสตฉตฺตํ | ร่มขาว, เศวตฉัตร | |
ปกติสังขยา | ตีณิ ปิฏกานิ ติปิฏกํ | ปิฎก 3 (เป็น ทิคุสมาส) |
ปูรณสังขยา | ทุติโย วาโร ทุติยวาโร | วาระที่ 2 |
วิเสสนสัพพนาม | อญฺญตโร ปุริโส อญฺญตรปุริโส | บุรุษคนใดคนหนึ่ง |
อุปสัค | อธิกํ สีลํ อธิสีลํ | ศีลยิ่ง |
นิบาต | สมฺมา ทิฏฐิ สมฺมาทิฏฐิ | ความเห็นชอบ |
กิริยากิตก์ | นิสินฺโน สามเณโร นิสินฺนสามเณโร | สามเณรผู้นั่งแล้ว |
กตํ กมฺมํ กตกมฺมํ | กรรมอันบุคคลทำแล้ว | |
นามกิตก์ | ทายโก ปุคฺคโล ทายกปุคฺคโล | บุคคลผู้ให้ |
กรโณ กาโล กรณกาโล | กาลเป็นที่ทำ | |
ตัทธิต | พลวา ปุริโส พลวปุริโส | บุรุษมีกำลัง |
สมาส | สลฺลวิทฺโธ สตฺโต สลฺลวิทฺธสตฺโต | สัตว์อันลูกศรแทงแล้ว |
2) วิเสสนุตตรบท มีบทวิเสสนะอยู่หลัง บทประธานอยู่หน้า เช่น
สตฺโต วิเสโส สตฺตวิเสโส | สัตว์วิเศษ |
นโร วโร นรวโร | นระประเสริฐ |
มนุสฺโส ทลิทฺโท มนุสฺสทลิทฺโท | มนุษย์ผู้ขัดสน |
สารีปุตฺโต เถโร สารีปุตฺตตฺเถโร | พระสารีบุตร ผู้(เป็น)เถระ (ซ้อน ตฺ) |
เทโว ราชา เทวราชา | เทพผู้พระราชา |
อมฺพํ ปกฺกํ อมฺพปกฺกํ | มะม่วงสุก |
ลาโภ อคฺโค ลาภคฺโค | ลาภอันเลิศ |
3) วิเสสโนภยบท มีบททั้ง 2 เป็นวิเสสนะ มีบทอื่นเป็นประธาน เช่น
สีตญฺจ สมฏฺฐญฺจ สีตสมฏฺฐํ (ฐานํ) | (ที่) ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง |
อนฺโธ จ พธิโร จ อนฺธพธิโร (ปุริโส)* | (บุรุษ) ทั้งบอดทั้งหนวก |
สิตฺตญฺจ สมฺมฏฺฐญฺจ สิตฺตสมฺมฏฺฐํ (ฐานํ) | (ที่) (อันเขา) ทั้งราดแล้วทั้งกวาดแล้ว |
ขญฺโช จ ขุชฺโช จ ขญฺชขุชฺโช (ปุริโส) | (บุรุษ) ทั้งกระจอกทั้งค่อม |
สีตญฺจ อุณฺหญฺจ สีตุณฺหํ (ฐานํ) | (ที่) ทั้งเย็นทั้งร้อน |
อุจฺจญฺจ อวจญฺจ อุจฺจาวจํ (กมฺมํ) | (กรรม) ทั้งสูงทั้งต่ำ |
คิลาโน จ วุฏฺฐิโต จ คิลานวุฏฺฐิโต (ปุริโส) | (บุรุษ) ทั้งเป็นไข้ทั้งหายแล้ว |
กตญฺจ อกตญฺจ กตากตํ (กิจฺจํ) | (กิจ) อัน(อันตน)ทั้งทำแล้วทั้งไม่ทำแล้ว (กิจ) อัน (อันตน) ทำแล้วด้วย ไม่ทำแล้วด้วย ชื่อว่า อัน(อันตน)ทั้งทำแล้วทั้งไม่ทำแล้ว |
คตญฺจ ปจฺจาคตญฺจ คตปจฺจาคตํ (ยานํ/วาหนํ) | (ยาน/พาหนะ) ทั้งไปแล้วทั้งกลับมาแล้ว (ยาน/พาหนะ) ไปแล้วด้วย กลับมาแล้วด้วย ชื่อว่า ทั้งไปแล้วทั้งกลับมาแล้ว |
* ไม่พบ วธิร พบแต่ พธิร |
4) วิเสสโนปมบท มีบทวิเสสนะเป็นอุปมา จัดเป็น 2 ตามที่บทวิเสสนะอยู่หน้าหรืออยู่หลัง
ก. อุปมาอยู่หน้า เรียกว่า อุปมาบุพบท เช่น
สงฺขํ อิว ปณฺฑรํ สงฺขปณฺฑรํ (ขีรํ) | (น้ำนม) ขาวเพียงดังสังข์ |
กาโก อิว สูโร กากสูโร (นโร) | (คน) กล้าเพียงดังกา |
ทิพฺพํ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ * | จักษุเพียงดังทิพย์ |
* เขียนเต็มว่า ทิพฺพํ จกฺขุ อิว จกฺขุ ทิพฺพจกฺขุ จักษุเพียงดังจักษุอันเป็นทิพย์
ตาที่สามารถมองเห็นได้เหมือนตาของเหล่าเทวดา
ข. อุปมาอยู่หลัง เรียกว่า อุปมานุตตรบท เช่น
นโร สีโห อิว นรสีโห | นระเพียงดังสีหะ |
ญาณํ จกฺขุ อิว ญาณจกฺขุ | ญาณเพียงดังจักษุ |
ปญฺญา ปาสาโท อิว ปญฺญาปาสาโท | ปัญญาเพียงดังปราสาท |
พุทฺโธ อาทิจฺโจ อิว พุทฺธาทิจฺโจ | พระพุทธเจ้าเพียงดังพระอาทิตย์ |
มุขํ จนฺโท อิว มุขจนฺโท | หน้าเพียงดังพระจันทร์ |
# มุนิวสโภ, มุนิปุงฺคโว, มุนิสีโห, มุนิกุญฺชโร, พุทฺธนาโค, สทฺธมฺมรํสิ |
5) สัมภาวนบุพบท มีบทหน้าประกอบด้วย อิติ ศัพท์ บทหลังเป็นประธาน เช่น
ขตฺติโย (อหํ) อิติ มาโน ขตฺติยมาโน | มานะว่า (เรา) เป็นกษัตริย์ |
สตฺโต อิติ สญฺญา สตฺตสญฺญา | ความสำคัญว่าเป็นสัตว์ |
สมโณ (อหํ) อิติ ปฏิญฺญา สมณปฏิญฺญา | ปฏิญญาว่า(เรา)เป็นสมณะ |
สมโณ (อหํ) อิติ สญฺญา สมณสญฺญา | ความสำคัญว่า(เรา)เป็นสมณะ |
อตฺตา อิติ ทิฏฺฐิ อตฺตทิฏฺฐิ | ความเห็นว่าเป็นตัวตน |
สตฺโต อิติ สงฺขาโต สตฺตสงฺขาโต | อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าสัตว์ |
6) อวธารณบุพบท มีบทหน้าประกอบด้วย เอว ศัพท์ (เพื่อห้ามเสียซึ่งเนื้อความอื่น) บทหลังเป็นประธาน เช่น
ปญฺญา เอว ปโชโต ปญฺญาปโชโต (ปทีโป) | (ประทีป) อันโพลงทั่วคือปัญญา |
พุทฺโธ เอว รตนํ พุทฺธรตนํ | รัตนะคือพระพุทธเจ้า |
สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํ | ทรัพย์คือศรัทธา |
จกฺขุ เอว อินฺทฺริยํ จกฺขุนฺทฺริยํ | อินทรีย์คือจักษุ |
รูปํ เอว อารมฺมณํ รูปารมฺมณํ | อารมณ์คือรูป |
วสนํ เอว ภาโว วสนภาโว | ความเป็นคืออันอยู่ |
อิทฺธิ เอว ปาฏิหาริยํ อิทฺธิปาฏิหาริยํ | ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์ |
น บุพบท กัมมธารยสมาส (หรือ อุภยตัปปุริสสมาส)
สมาสนี้มีคำแปลว่า มิใช่..., ไม่ใช่...; เป็น...หามิได้, ไม่เป็น...
เมื่อ น อยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง ให้แปลง น เป็น อ เช่น
น พฺราหฺมโณ อพฺราหฺมโณ (อยํ ชโน) | (ชนนี้) มิใช่พราหมณ์ |
น วสโล อวสโล (อยํ ชโน) | (ชนนี้) มิใช่คนถ่อย |
น กุสลํ อกุสลํ (อิทํ กมฺมํ) | (กรรมนี้) มิใช่กุศล |
น มนุสฺโส อมนุสฺโส (อยํ สตฺโต) | (สัตว์นี้) มิใช่มนุษย์ |
น สมโณ อสฺสมโณ (อยํ ชโน) | (ชนนี้) มิใช่สมณะ |
น การณํ อการณํ (อิทํ ธมฺมชาตํ) | (ธรรมชาตนี้) มิใช่เหตุ |
เมื่อ น อยู่หน้า สระอยู่หลัง ให้แปลง น เป็น อน เช่น
น อสฺโส อนสฺโส (อยํ สตฺโต) | (สัตว์นี้) มิใช่ม้า |
น อริโย อนริโย (อยํ ชโน) | (ชนนี้) มิใช่พระอริยะ |
หมายเหตุกัมมธารยสมาส
1) การตั้งวิเคราะห์กัมมธารยสมาส ให้แยกออกมาลงปฐมาวิภัตติ และให้มีวจนะตรงกัน
เฉพาะ วิเสสนบุพบท วิเสสนุตตรบท วิเสสโนภยบท ต้องให้มีลิงค์ตรงกันด้วย
2) การแปลวิเคราะห์ ให้แปลบทนามนามก่อน แล้วจึงแปลบทคุณนาม
แต่ถ้าเป็นคุณนามทั้งสองบท ให้แปลอัญญบทเป็นตัวประธาน
- การแปลวิเสสนบุพบท และ วิเสสนุตตรบท มีคำว่า “ผู้...” (บางครั้งก็ไม่มี)
- วิเสสโนภยบท แปลว่า “ทั้ง...ทั้ง...” มาจาก จ ศัพท์ ในวิเคราะห์
- วิเสสโนปมบท แปลว่า “...เพียงดัง...” มาจาก อิว ศัพท์ ในรูปวิเคราะห์
- สัมภาวนบุพบท แปลว่า “ว่า...” มาจาก อิติ ศัพท์ ในวิเคราะห์
- อวธารณบุพบท แปลว่า “คือ...” มาจาก เอว ศัพท์ ในวิเคราะห์
วิธีตั้งวิเคราะห์ในกัมมธารยสมาสทั้ง 6 นั้น เป็นแบบที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคิดย่อให้สั้นเข้า เพื่อสะดวกในการท่องจำและการแปล
ส่วนในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ทั้งหลาย ท่านตั้งวิเคราะห์ ดังนี้
วิเสสนบุพบท | |
มหนฺโต จ โส ปุริโส จาติ มหาปุริโส | บุรุษนั้นด้วย ใหญ่ด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า บุรุษใหญ่ |
วิเสสนุตตรบท | |
สตฺโต จ โส วิเสโส จาติ สตฺตวิเสโส | สัตว์นั้นด้วย วิเศษด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า สัตว์วิเศษ |
วิเสสโนภยบท | |
สีตญฺจ ตํ สมฏฺฐญฺจาติ สีตสมฏฺฐํ (ฐานํ) | ที่นั้น เย็นด้วย เกลี้ยงด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง |
ส่วนอีก 3 สมาส ตั้งวิเคราะห์เหมือนแบบข้างต้น
2. ทิคุสมาส
กัมมธารยสมาส มีปกติสังขยานำหน้า ชื่อว่า ทิคุสมาส มี 2 คือ
1. สมาหารทิคุ คือ ทิคุที่รวมนามศัพท์มีเนื้อความเป็นพหุวจนะ ทำให้เป็นเอกวจนะ นปุงสกลิงค์ เช่น
ตโย โลกา ติโลกํ | โลก 3 |
จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสํ | ทิศ 4 |
ปญฺจ อินฺทฺริยานิ ปญฺจินฺทฺริยํ | อินทรีย์ 5 |
ฉ อายตนานิ สฬายตนํ | อายตนะ 6 (แปลง ฉฺ เป็น สฺ, ลง รฺ อาคม, ใช้ ฬฺ แทน รฺ) |
เทฺว องฺคุลิโย ทฺวงฺคุลํ | นิ้ว 2 (แปลง อิ ที่ ลฺ เป็น อ) |
ตีณิ ปิฏกานิ ติปิฏกํ | ปิฎก 3 |
ตีณิ รตนานิ ติรตนํ | รตนะ 3, ไตรรัตน์ |
2. อสมาหารทิคุ คือ ทิคุที่ไม่ได้ทำให้เป็นเอกวจนะ นปุงสกลิงค์ เช่น
เอโก ปุคฺคโล เอกปุคฺคโล | บุคคลผู้เดียว |
จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสา | ทิศ 4 ท. |
ปญฺจ พลานิ ปญฺจพลานิ | กำลัง 5 ท. |
ตีณิ รตนานิ ติรตนานิ | รตนะ 3 ท. |
หมายเหตุทิคุสมาส
ก. ปกติสังขยาคุณนาม (1 ถึง 98) นำหน้านาม เป็น ทิคุสมาส
ข. ปกติสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) นำหน้านามนาม ไม่เป็นทิคุสมาส แต่เป็น วิเสสนบุพบท กัมมธารยสมาส (ที่มีฉัฏฐีพหุพพิหิสมาสเป็นท้อง) เช่น
ปญฺจสตภิกฺขู (=ปญฺจสตปมาณภิกฺขู) | ภิกษุมีร้อยห้าเป็นประมาณ ท. |
สหสฺสปุริสา (=สหสฺสปมาณปุริสา) | บุรุษมีพันเป็นประมาณ ท. |
ค. ปกติสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) ตามหลัง มีนามนามอยู่หน้า เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสเท่านั้น เช่น
ภิกฺขูนํ สตํ ภิกฺขุสตํ | ร้อยแห่งภิกษุ |
ปุริสานํ สหสฺสานิ ปุริสสหสฺสานิ | พันแห่งบุรุษ ท. |
ง. ปูรณสังขยานำหน้านามนาม เป็นวิเสสนบุพบท กัมมธารยสมาส เช่น
ทุติโย วาโร ทุติยวาโร | วาระที่ 2 |
แต่ถ้ามีบทอื่นเป็นประธาน เป็น ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ เช่น
นวมสามเณโร (สงฺโฆ) (สงฆ์) มีสามเณรเป็นที่ 9
สมาสที่รูปเดียว แต่เป็นได้หลายประเภท เช่น
อาคตสมโณ | สมณะผู้มาแล้ว | วิ. บุพ. กัม. |
อาคตสมโณ (อาราโม) | (อาราม) มีสมณะมาแล้ว | ทุ. พหุพ. |
เตวิชฺชา | วิชชา 3 ท. | อสมา. ทิคุ. |
เตวิชฺชา (ภิกฺขุนี) | (ภิกษุณี) ผู้มีวิชชา 3 | จตุ. พหุพ. |
กลฺยาณธมฺโม | ธรรมอันงาม | วิ. บุพ. กัม. |
กลฺยาณธมฺโม (อุปาสโก) | (อุบาสก) ผู้มีธรรมอันงาม | จตุ. พหุพ. |
3. ตัปปุริสสมาส
นามศัพท์มี อํ วิภัตติ เป็นต้น ในที่สุด ท่านย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลาย ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส
(ศัพท์นามนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ สมาสเข้ากับบทหลัง ชื่อว่า ตัปปุริสสมาส)
ตัปปุริสสมาส บทหน้าที่เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติใด ให้แยกออกมาประกอบวิภัตตินั้น
1) ทุติยาตัปปุริส
สุขํ ปตฺโต สุขปฺปตฺโต (ปุริโส) | (บุรุษ) ถึงแล้วซึ่งสุข |
คามํ คโต คามคโต (ปุริโส) | (บุรุษ) ไปแล้วสู่บ้าน |
สพฺพรตฺตึ โสภโณ สพฺพรตฺติโสภโณ (จนฺโท) | (พระจันทร์) งามตลอดราตรีทั้งปวง |
โสตํ อาปนฺโน โสตาปนฺโน (ชโน) | (ชน) ผู้ถึงทั่วแล้วซึ่งกระแส (แห่งพระนิพพาน) |
ธมฺมํ นิสฺสิตํ ธมฺมนิสฺสิตํ (คีตํ) | (เพลงขับ) อันอาศัยแล้วซึ่งธรรม |
อตฺถํ นิสฺสิโต อตฺถนิสฺสิโต (ธมฺโม) | (ธรรม) อันอาศัยแล้วซึ่งอรรถ |
นิโรธํ สมาปนฺโน นิโรธสมาปนฺโน (ชโน) | (ชน) ผู้เข้าถึงแล้วซึ่งนิโรธ |
คพฺภสฺส ปาตนํ คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ) | (เภสัช) เป็นเครื่องยังครรภ์ให้ตกไป |
มิคํ มารณํ มิคมารณํ | การยังเนื้อให้ตาย |
2) ตติยาตัปปุริส
อสฺเสน (ยุตฺโต) รโถ อสฺสรโถ | รถเทียมแล้วด้วยม้า |
สลฺเลน วิทฺโธ สลฺลวิทฺโธ (ชนฺตุ) | (สัตว์) อันลูกศรแทงแล้ว |
อสินา กลโห อสิกลโห | ความทะเลาะเพราะดาบ |
สีเลน สมฺปนโน สีลสมฺปนฺโน (ภิกฺขุ) | ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล |
ปุญฺเญน อตฺถิโก ปุญฺญตฺถิโก (ชโน) | ผู้มีความต้องการด้วยบุญ |
โรเคน ปีฬิโต โรคปีฬิโต (ชโน) | อันโรคเบียดเบียนแล้ว |
อิจฺฉาย อปกโต อิจฺฉาปกโต (ชโน) | อันความอยากครอบงำแล้ว |
ญาเณน สมฺปยุตฺตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ (จิตฺตํ) | อันสัมปยุตแล้วด้วยญาณ |
อคฺคินา ทฑฺโฒ อคฺคิทฑฺโฒ (ชโน) | อันไฟไหม้แล้ว |
วิญฺญูหิ ครหิโต วิญฺญุครหิโต (ธมฺโม) | (ธรรม) อันวิญญูชนติเตียนตรัสแล้ว (รัสสะ อู เป็น อุ) |
พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโต (ธมฺโม) | (ธรรม) อันพระพุทธเจ้าตรัสแล้ว |
พุทฺเธน ทินฺโน พุทฺธทตฺโต (ภิกฺขุ) | (ภิกษุ) อันพระพุทธเจ้าให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต) |
เทเวน ทินฺโน เทวทตฺโต (ปุตฺโต) | (บุตร) อันเทวดาให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต) |
ปเรหิ ทินฺนํ ปรทตฺตํ (ทานํ) | (ทาน) อันบุคคลอื่นให้แล้ว (แปลง ทินฺน เป็น ทตฺต เช่น ปรทตฺตูปชีวี เปรตผู้อาศัยทานอันบุคคลอื่นให้แล้วเป็นอยู่) |
เอเกน (อุตฺตรํ) สตํ เอกสตํ | ร้อยเกินด้วยหนึ่ง, 101 (ถ้า 100 เขียนว่า สตํ ไม่มี เอก ข้างหน้า) |
3) จตุตถีตัปปุริส
กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํ | ผ้าเพื่อกฐิน |
อาคนฺตุกสฺส ภตฺตํ อาคนฺตุกภตฺตํ | ภัตรเพื่อผู้(จร)มา |
คมิกสฺส ภตฺตํ คมิกภตฺตํ | ภัตรเพื่อผู้(จะเดินทาง)ไป |
ยาคุยา ตณฺฑุลา ยาคุตณฺฑุลา | ข้าวสารเพื่อข้าวต้ม |
คิลานสฺส เภสชฺชํ คิลานเภสชฺชํ | ยาเพื่อคนไข้ |
โลกสฺส หิโต โลกหิโต (อตฺโถ) | ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก |
พุทฺธสฺส เทยฺยํ พุทฺธเทยฺยํ (วตฺถุ) | อันบุคคลพึงถวายแด่พระพุทธเจ้า |
ทาตุํ กาโม ทาตุกาโม (ชโน)* | (ชน) ผู้ใคร่เพื่ออันให้ (ลบนิคคหิต) |
* หรือตั้งเป็นนามกิตก์ วิ. ทาตุํ กาเมตีติ ทาตุกาโม ณ ปัจ.
4) ปัญจมีตัปปุริส
โจรมฺหา ภยํ โจรภยํ | ภัยแต่โจร |
ราชโต ภยํ ราชภยํ | ภัยแต่พระราชา |
มรณสฺมา ภยํ มรณภยํ | ความกลัวแต่ความตาย |
ปาปโต ภีรุโก ปาปภีรุโก (ชโน) | ผู้กลัวแต่บาป |
สาสนา จุโต สาสนจุโต (ภิกฺขุ) | ผู้เคลื่อนแล้วจากศาสนา |
เมถุนสฺมา อเปโต เมถุนาเปโต (ภิกฺขุ) | ผู้ไปปราศแล้วจากเมถุนธรรม |
พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต (สตฺโต) | (สัตว์) พ้นแล้วจากเครื่องผูก |
5) ฉัฏฐีตัปปุริส
รญฺโญ ปุตฺโต ราชปุตฺโต | บุตรแห่งพระราชา |
รญฺโญ ปุริโส ราชปุริโส | บุรุษแห่งพระราชา |
ธญฺญานํ ราสิ ธญฺญราสิ | กองแห่งข้าวเปลือก |
รุกฺขสฺส สาขา รุกฺขสาขา | กิ่งแห่งต้นไม้ |
เทวานํ ราชา เทวราชา | ราชาแห่งเทพ |
ชินสฺส วจนํ ชินวจนํ | พระดำรัสแห่งพระชินเจ้า |
พุทธสฺส รูปํ พุทธรูปํ | พระรูปแห่งพระพุทธเจ้า |
กายสฺส ลหุตา กายลหุตา | ความเบาแห่งกาย |
ภิกฺขูนํ สตํ ภิกฺขุสตํ | ร้อยแห่งภิกษุ |
ปุริสานํ สหสฺสานิ ปุริสสหสฺสานิ | พันแห่งบุรุษ ท. |
ปรสฺส ทาโร ปรทาโร | เมียของบุคคลอื่น |
วนสฺส ปติ วนปฺปติ (รุกฺโข) | (ต้นไม้) อันเป็นเจ้าแห่งป่า (ซ้อน ปฺ) |
กหาปณานํ คพฺโภ กหาปณคพฺโภ | ห้องแห่งกหาปณะ |
รตนานํ ตยํ รตนตฺตยํ | หมวดสามแห่งรตนะ, รัตนตรัย (ซ้อน ตฺ) |
แม้แปลหักฉัฏฐีวิภัตติเป็นทุติยาวิภัตติ (คือแปลเป็นกรรม ว่า ‘ซึ่ง’) ด้วยอำนาจปัจจัยนามกิตก์ (คือ ณ ณฺวุ ตุ ยุ) ก็ยังเรียกว่า ฉัฏฐีตัปปุริส (เรียกตามวิภัตติที่ลง ไม่ได้เรียกตามคำแปล)
ธมฺมสฺส เทสนา ธมฺมเทสนา | การแสดงซึ่งธรรม |
ธมฺมสฺส สวนํ ธมฺมสฺสวนํ | การฟังซึ่งธรรม |
อาจริยสฺส ปูชโก อาจริยปูชโก (ชโน) | (ชน) ผู้บูชาซึ่งอาจารย์ |
มรณสฺส สติ มรณสฺสติ | การระลึกถึงซึ่งความตาย (ซ้อน สฺ) |
กหาปณานํ (อุคฺคหโณ) คพฺโภ กหาปณคพฺโภ | ห้องเป็นที่เก็บซึ่งกหาปนะ |
6) สัตตมีตัปปุริส
รูเป สญฺญา รูปสญฺญา | ความสำคัญในรูป |
สํสาเร ทุกฺขํ สํสารทุกฺขํ | ทุกข์ในสงสาร |
วเน จรตีติ วนจโร วเนจโร (ชโน) | ผู้เที่ยวไปในป่า |
วเน ปุปฺผํ วนปุปฺผํ | ดอกไม้ในป่า |
อรญฺเญ วาโส อรญฺญวาโส | การอยู่ในป่า |
ธมฺเมสุ คารโว ธมฺมคารโว | ความเคารพในธรรม |
ธมฺเม รโต ธมฺมรโต (ภิกฺขุ) | ผู้ยินดีแล้วในธรรม |
ธมฺเม รุจิ ธมฺมรุจิ | ความยินดีในธรรม |
ถเล ติฏฺฐตีติ ถลฏฺโฐ | ผู้ยืนบนบก |
อิตฺถีสุ ธุตฺโต อิตฺถีธุตฺโต | นักเลงในหญิง |
วิกาเล โภชนํ วิกาลโภชนํ | การบริโภคในสมัยมีกาลไปปราศ |
ปุพฺเพ (กาเล) กมฺมํ ปุพฺพกมฺมํ | กรรมในกาลก่อน |
กาเมสุ อวจรํ กามาวจรํ (จิตฺตํ) | (จิต) อันเที่ยวลงในกาม |
อุภยตัปปุริส
อุภยตัปปุริสสมาส ก็คือ น บุพบท กัมมธารยสมาส ที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น
โลปตัปปุริส
1) มัชเฌโลปตัปปุริส
มัชเฌโลปะ แปลว่า ลบในท่ามกลาง (มชฺเฌ-โลโป - อลุตตสมาส)
ตัปปุริสสมาสบางสมาส ในรูปวิเคราะห์ มี 3 ศัพท์ แต่เมื่อเข้าสมาสแล้ว ลบศัพท์ที่อยู่ตรงกลางศัพท์หนึ่งออก (จึงเรียกว่า “มัชเฌโลปะ”)
ดังนั้นเมื่อจะแปลบทสมาสประเภทนี้ ก็ให้เพิ่มศัพท์ที่ลบไปนั้นเข้ามาแปล เพื่อให้ได้ใจความ
ศัพท์ที่ใช้ในมัชเฌโลปตัปปุริส และตัวอย่าง เช่น
ยุตฺต นิยุตฺต ประกอบแล้ว | อสฺเสน (นิยุตฺโต) รโถ อสฺสรโถ รถเทียมแล้วด้วยม้า |
มคฺเคน (ยุตฺตํ) จิตฺตํ มคฺคจิตฺตํ จิตอันประกอบแล้วด้วยมรรค | |
สงฺขต ปรุงแล้ว | มุทฺทิกาย (สงฺขตํ) ปานํ มุทฺทิกปานํ น้ำเป็นเครื่องดื่มอันบุคคลปรุงแล้วด้วยผลจันทน์ มธุนา (สงฺขโต) ปายาโส มธุปายาโส ข้าวปายาสอันบุคคลปรุงแล้วด้วยน้ำผึ้ง |
สนฺนิสฺสิต อาศัยแล้ว | จกฺขุมฺหิ (นิสฺสิตํ) วิญฺญาณํ จกฺขุวิญฺญาณํ วิญญาณอันอาศัยแล้วในจักษุ |
มิสฺสก เจือ, ระคน, ผสม | มธุนา (มิสฺสโก) ปายาโส มธุปายาโส ข้าวปายาสอันเจือด้วยน้ำผึ้ง |
สํสฏฺฐ ระคน | คุเฬน (สํสฏฺโฐ) โอทโน คุโฬทโน ข้าวสุกอันระคนแล้วด้วยน้ำอ้อย |
ชาต เกิดแล้ว | ฌานสฺมา (ชาตํ) สุขํ ฌานสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากฌาน กาเมหิ (ชาตํ) สุขํ กามสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากกาม รชฺชสฺมา (ชาตํ) สุขํ รชฺชสุขํ สุขอันเกิดแล้วจากความเป็นแห่งพระราชา |
กต (อันบุคคล) ทำแล้ว ปกต (อันบุคคล) ทำทั่วแล้ว | สุวณฺเณน (กตา) ปาติ สุวณฺณปาติ ถาดอันบุคคลทำแล้วด้วยทอง, ถาดทอง กาเยน (กตํ) กมฺมํ กายกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางกาย วาจาย (กตํ) กมฺมํ วจีกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางวาจา มนสา (กตํ) กมฺมํ มโนกมฺมํ กรรมอันบุคคลทำแล้วทางใจ |
วิการ เป็นวิการ | สุวณฺณสฺส (วิการา) ปาติ สุวณฺณปาติ ถาดอันเป็นวิการแห่งทอง, ถาดทอง |
กาตพฺพ (อันบุคคล) พึงทำ | อาจริยสฺส (กาตพฺพํ) วตฺตํ อาจริยวตฺตํ วัตรอันศิษย์พึงทำแก่อาจารย์ อุปชฺฌายวตฺตํ วัตรอันสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌาย์ อาคนฺตุกวตฺตํ วัตรอันบุคคลพึงทำแก่ผู้(จร)มา หตฺเถน (กาตพฺพํ) กมฺมํ หตฺถกมฺมํ กรรมอันบุคคลพึงทำด้วยมือ |
ทาตพฺพ (อันบุคคล) พึงให้ | สงฺฆสฺส (ทาตพฺพํ) ทานํ สงฺฆทานํ ทานอันบุคคลพึงถวายแก่สงฆ์ |
ทินฺน (อันบุคคล) ให้แล้ว | |
โธวน เป็นเครื่องชำระ | มุขสฺส (โธวนํ) อุทกํ มุโขทกํ น้ำเป็นเครื่องล้างซึ่งหน้า ทนฺตกฏฺฐํ ไม้เป็นเครื่องชำระซึ่งฟัน |
อาหรณ เป็นเครื่องนำมา | สุขสฺส (อาหรณา) กถา สุขกถา ถ้อยคำอันเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุข |
2) อาทิโลปตัปปุริส ลบศัพท์ต้น เช่น
เทเวน ทตฺโต ทตฺโต (ชโน) | (ชน) อันเทวดาให้แล้ว |
3) อันตโลปตัปปุริส ลบศัพท์ท้าย เช่น
รูปสฺส ภโว รูปํ | รูปภพ |
อรูปสฺส ภโว อรูปํ | อรูปภพ |
กัมมธารยะ กับ ตัปปุริสะ ต่างกันดังนี้
- กัมมธารยะ ในรูปวิเคราะห์ บททั้งสองประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ บทหนึ่งเป็นประธาน บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ หรือเป็นวิเสสนะทั้งสองบท มีวิภัตติ วจนะ เสมอกัน
ตัปปุริสะ ในรูปวิเคราะห์ บทหน้าลงวิภัตติตั้งแต่ ทุติยา ถึง สัตตมี ส่วนบทหลังนิยมลงปฐมาวิภัตติ - ตัปปุริสะ แปลบทหลังก่อนจึงแปลบทหน้า ส่วน กัมมธารยะ แปลบทหลังก่อนก็มี แปลบทหน้าก่อนก็มี
4. ทวันทวสมาส
นามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อ ทวันทวสมาส มี 2 คือ
1) สมาหารทวันทวะ
สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ | สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ชื่อ สมถะและวิปัสสนา |
สงฺโข จ ปณโว จ สงฺขปณวํ | สังข์ด้วย บัณเฑาะว์ด้วย ชื่อ สังข์และบัณเฑาะว์ |
ปตฺโต จ จีวรญฺจ ปตฺตจีวรํ | บาตรด้วย จีวรด้วย ชื่อ บาตรและจีวร |
หตฺถี จ อสฺโส จ รโถ จ ปตฺติโก จ หตฺถีอสฺสรถปตฺติกํ | ช้างด้วย ม้าด้วย รถด้วย คนเดินด้วย ชื่อ ช้างและม้าและรถและคนเดิน |
จกฺขุญฺจ โสตญฺจ จกฺขุโสตํ | จักษุด้วย โสตด้วย ชื่อ จักษุและโสต, ตาและหู |
ปุตฺโต จ ทาโร จ ปุตฺตทารํ | บุตรด้วย เมียด้วย ชื่อ บุตรและเมีย |
ธมฺโม จ วินโย จ ธมฺมวินโย | ธรรมและวินัย (ไม่เป็น นปุ.) |
ลาโภ จ สกฺกาโร จ ลาภสกฺกาโร | ลาภและสักการะ (ไม่เป็น นปุ.) |
2)อสมาหารทวันทวะ
จนฺทิมา จ สุริโย จ จนฺทิมสุริยา | พระจันทร์ด้วย พระอาทิตย์ด้วย ชื่อ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ท. |
สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา | สมณะด้วย พราหมณ์ด้วย ชื่อ สมณะและพราหมณ์ ท. |
ปณฺณญฺจ ปุปฺผญฺจ ผลญฺจ ปณฺณปุปฺผผลานิ | ใบไม้ด้วย ดอกไม้ด้วย ผลด้วย ชื่อ ใบไม้และดอกไม้และผล ท. |
สารีปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานา | พระสารีบุตรด้วย พระโมคคัลลานะด้วย ชื่อ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท. |
ปุตฺโต จ ทาโร จ ปุตฺตทารา | บุตรด้วย เมียด้วย ชื่อ บุตรและเมีย ท. |
ทวันทวสมาส กับ วิเสสโนภยบท กัมมธารยะ ต่างกันดังนี้
วิเสสโนภยบท เป็นบทวิเสสนะทั้งสองบท ส่วน ทวันทวสมาส เป็นบทประธานทั้งสิ้น
เอกเสสทวันทวะ
ทวันทวสมาส ที่ลบบางศัพท์ทิ้ง เหลือแต่ศัพท์หน้าหรือศัพท์หลัง เพียงศัพท์เดียว มี 2 คือ
1) ปุพเพกเสส ลบศัพท์หลัง เหลือศัพท์หน้า เช่น
สารีปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สารีปุตฺตา | พระสารีบุตรด้วย พระโมคคัลลานะด้วย ชื่อว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท. |
อุปาสโก จ อุปาสิกา จ อุปาสกา | อุบาสกด้วย อุบาสิกาด้วย ชื่อว่า อุบาสกและอุบาสิกา ท. |
วาเสฏฺโฐ จ ภารทฺวาโช จ วาเสฏฺฐา | วาเสฏฐะด้วย ภารัทวาชะด้วย ชื่อว่า วาเสฏฐะและภารัทวาชะ ท. |
2) ปเรกเสส ลบศัพท์หน้า เหลือศัพท์หลัง เช่น
มาตา จ ปิตา จ ปิตโร | มารดาด้วย บิดาด้วย ชื่อว่า มารดาและบิดา ท. |
5. อัพยยีภาวสมาส
สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่หน้า เรียกว่า อัพยยีภาวสมาส
อัพยยีภาวสมาส มีนิบาตหรืออุปสัคเป็นบทหน้า และเป็นประธาน (และแปลก่อนนามนามที่อยู่ข้างหลัง เพราะมุ่งแสดงเนื้อความของอัพยยศัพท์นั้นๆ) บทหลังเป็นนามนาม
อัพยยีภาวสมาส เป็นนามนาม นปุงสกลิงค์* เอกวจนะ
รูปสำเร็จเป็นปฐมาวิภัตติ ในประโยคต่างๆ ใช้ทุติยาวิภัตติ (สู่) ปัญจมีวิภัตติ (จาก) สัตตมีวิภัตติ (ใน) โดยมาก แจกวิภัตติดังนี้
เอก.
ป. อนฺโตนครํ
ทุ. อนฺโตนครํ
ต. อนฺโตนครํ, อนฺโตนคเรน
จ. อนฺโตนครํ
ป. อนฺโตนครา
ฉ. อนฺโตนครํ, อนฺโตนครสฺส
ส. อนฺโตนครํ, อนฺโตนครสฺมึ, อนฺโตนคเร
* เป็นลิงค์อื่นบ้าง มีในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
อิตถีลิงค์: ยถาสตฺติยา พหิสาณิยํ อนฺตรวีถิยํ อนฺโตนทิยํ อนฺโตนาวาย
ปุงลิงค์: อนฺโตอาราโม อนฺโตอาวสโถ
อัพยยีภาวสมาส มี 2 คือ
1. อุปสัคคปุพพกะ มีอุปสัคเป็นบทหน้า บทหลังเป็นนามนาม เวลาตั้งวิเคราะห์ ให้เอานามนามมาเรียงไว้หน้า
แล้วลงวิภัตติตามคำแปล ส่วนอุปสัค มักใช้ศัพท์อื่นแทน โดยให้มีคำแปล เหมือนหรือใกล้เคียงกับอุปสัคนั้น เช่น
สมีปํ อ.ที่ใกล้ | แทน อุป |
อภาโว อ.ความไม่มี | แทน นิ |
อนุวตฺตติ ย่อมเป็นไปตาม | แทน อนุ |
อธิวตตฺติ ย่อมเป็นไปทับ | แทน อธิ |
อติวตฺตติ ย่อมเป็นไป | แทน อติ |
ปฏิวตฺตติ ย่อมเป็นไปทวนตอบ | แทน ปฏิ |
อุป: | นครสฺส สมีปํ อุปนครํ | ที่ใกล้ แห่งเมือง ชื่อว่า ใกล้เมือง |
คงฺคาย สมีปํ อุปคงฺคํ | ที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา | |
กุมฺภสฺส สมีปํ อุปกุมฺภํ | ที่ใกล้ แห่งหม้อ ชื่อว่า ใกล้หม้อ | |
คงฺคาย สมีปํ อุปคงฺคํ | ที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา | |
คงฺคาย สมีเป วตฺตตีติ อุปคงฺคํ | วัตถุใด ย่อมเป็นไป ในที่ใกล้ แห่งแม่น้ำคงคา เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ใกล้แม่น้ำคงคา | |
อนุ: | วนสฺส อนุ อนุวนํ | ที่ใกล้ แห่งป่า ชื่อว่า ใกล้ป่า (อนุ=สมีป) |
คงฺคํ อนุคตา อนุคงฺคํ | ไปตาม ซึ่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า ตามแม่น้ำคงคา | |
ตีรํ อนุคตา อนุตีรํ | ไปตาม ซึ่งฝั่ง ชื่อว่า ตามฝั่ง | |
รูปสฺส โยคฺคํ อนุรูปํ | ความสมควร แก่รูป ชื่อว่า สมควรแก่รูป | |
รถสฺส อนุ อนุรถํ | เบื้องหลัง แห่งรถ ชื่อว่า หลังรถ (อนุ=ปจฺฉา) | |
วาตํ อนุวตฺตตีติ อนุวาตํ | วัตถุใด ย่อมเป็นไปตาม ซึ่งลม เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ตามซึ่งลม, ตามลม | |
อฑฺฒมาสํ อนุวตฺตตีติ อนฺวฑฺฒมาสํ | วัตถุใด ย่อมเป็นไปตาม ซึ่งเดือนด้วยทั้งกึ่ง เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ทุกกึ่งเดือน | |
อทฺธมาสํ อนุวตฺตตีติ อนฺวทฺธมาสํ | ทุกกึ่งเดือน | |
เชฏฺฐานํ อนุปุพฺโพ อนุเชฏฺฐํ | ลำดับ แห่งผู้เจริญ ท. ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ | |
นิ: | ทรถานํ อภาโว นิทฺทรถํ | ความไม่มี แห่งความกระวนกระวาย ท. ชื่อว่า ความไม่มีแห่งความกระวนกระวาย |
มกฺขิกานํ อภาโว นิมฺมกฺขิกํ | ความไม่มี แห่งแมลงวัน ชื่อว่า ความไม่มีแห่งแมลงวัน | |
มกสานํ อภาโว นิมฺมกสํ | ความไม่มี แห่งยุง ชื่อว่า ความไม่มีแห่งยุง | |
มสกานํ อภาโว นิมฺมสกํ | ความไม่มี แห่งยุง ชื่อว่า ความไม่มีแห่งยุง | |
ติณานํ อภาโว นิตฺติณํ | ความไม่มี แห่งหญ้า ชื่อว่า ความไม่มีแห่งหญ้า | |
อธิ: | อตฺตานํ อธิวตฺตตีติ อชฺฌตฺตํ | สิ่งใด ย่อมเป็นไปทับ ซึ่งตน เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า เป็นไปทับซึ่งตน, เป็นไปในภายใน |
อตฺตานํ อธิกิจฺจ ปวตฺตา อชฺฌตฺตํ | ธรรม ท. อันอาศัยแล้ว ซึ่งตน เป็นไป ชื่อว่า อาศัยตนเป็นไป, เป็นไปภายในตน | |
ปฏิ: | วาตสฺส ปฏิวตฺตตีติ ปฏิวาตํ | วัตถุใด ย่อมเป็นไปทวนตอบ แก่ลม เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ทวนตอบแก่ลม |
อตฺตานํ ปฏิวตฺตตีติ ปจฺจตฺตํ | สิ่งใด ย่อมเป็นไปเฉพาะ ซึ่งตน เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า เป็นไปเฉพาะซึ่งตน, เฉพาะตน | |
อตฺตานมตฺตานํ ปติ ปจฺจตฺตํ | เฉพาะ ซึ่งตนๆ ชื่อว่า เฉพาะซึ่งตน, เฉพาะตน | |
วาตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิวาตํ | ทวนลำดับ แห่งลม ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งลม, ทวนลม | |
โสตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิโสตํ | ทวนลำดับ แห่งกระแส ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งกระแส, ทวนกระแส | |
ปถสฺส ปฏิโลมํ ปฏิปถํ | ทวนลำดับ แห่งทาง ชื่อว่า ทวนลำดับแห่งทาง, สวนทาง | |
ปริ: | ปพฺพตสฺส ปริ ปริปพฺพตํ | รอบ แห่งเขา ชื่อว่า รอบแห่งเขา, รอบเขา |
2. นิปาตปุพพกะ มีนิบาตเป็นบทหน้า เรียงนามนามไว้หลัง เวลาตั้งวิเคราะห์ ให้เอานามนามมาเรียงไว้หน้า แล้วลงวิภัตติตามคำแปล ส่วนนิบาต (หรือศัพท์ที่แทนนิบาต) ให้เรียงไว้หลัง เช่น
ปรภาโค ส่วนอื่น | แทน ติโร |
ปฏิปาฏิ ลำดับ | แทน ยถา |
เย เย ใด ใด | แทน ยถา |
ยตฺตโก ปริจฺเฉโท กำหนดมีประมาณเท่าใด | แทน ยาว |
ติโร: | ปพฺพตสฺส ติโร ติโรปพฺพตํ | ภายนอก แห่งภูเขา ชื่อว่า ภายนอกแห่งภูเขา, นอกภูเขา |
ปพฺพตสฺส ปรภาโค ติโรปพฺพตํ | ส่วนอื่น แห่งภูเขา ชื่อว่า ภายนอกแห่งภูเขา, นอกภูเขา | |
ปาการสฺส ติโร ติโรปาการํ | ภายนอก แห่งกำแพง ชื่อว่า ภายนอกแห่งกำแพง, นอกกำแพง | |
กุฑฺฑสฺส ติโร ติโรกุฑฺฑํ | ภายนอก แห่งฝา ชื่อว่า ภายนอกแห่งฝา(เรือน), นอกฝา(เรือน) | |
พหิ: | นครสฺส พหิ พหินครํ | ภายนอก แห่งเมือง ชื่อว่า ภายนอกแห่งเมือง, นอกเมือง |
คามสฺส พหิ พหิคามํ | ภายนอก แห่งหมู่บ้าน ชื่อว่า ภายนอกแห่งหมู่บ้าน, นอกหมู่บ้าน | |
สาณิยา พหิ พหิสาณิ | ภายนอก แห่งม่าน ชื่อว่า ภายนอกแห่งม่าน, นอกม่าน | |
อนฺโต: | นครสฺส อนฺโต อนฺโตนครํ | ภายใน แห่งเมือง ชื่อว่า ภายในแห่งเมือง, ในเมือง |
วสฺสสฺส อนฺโต อนฺโตวสฺสํ | ภายใน แห่งกาลฝน ชื่อว่า ภายในแห่งกาลฝน, ภายในพรรษา | |
ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ | ภายใน แห่งปราสาท ชื่อว่า ภายในแห่งปราสาท, ในปราสาท | |
วสฺสสฺส อนฺโต อนฺโตวสฺสํ | ภายใน แห่งฤดูฝน ชื่อว่า ภายในแห่งฤดูฝน, ในฤดูฝน | |
อวีจิโน อนฺโต อนฺโตอวีจิ | ภายใน แห่งอเวจี ชื่อว่า ภายในแห่งอเวจี, ในอเวจี | |
ยถา: | สตฺติยา ปฏิปาฏิ ยถาสตฺติ | ลำดับ แห่งความสามารถ ชื่อว่า ตามความสามารถ (ปฏิปาฏิ อิต. ลำดับ) |
พลสฺส ปฏิปาฏิ ยถาพลํ | ลำดับ แห่งกำลัง ชื่อว่า ตามกำลัง (ไตร. ใช้คู่กันเสมอ เช่น ยถาสตฺติ ยถาพลํ) | |
กมสฺส ปฏิปาฏิ ยถากฺกมํ | ลำดับ แห่งการดำเนินไป ชื่อว่า ตามลำดับ | |
สุขสฺส ปฏิปาฏิ ยถาสุขํ | ลำดับ แห่งความสบาย/สุข ชื่อว่า ตามความสบาย, ตามสบาย | |
อภิรนฺตสฺส ปฏิปาฏิ ยถาภิรนฺตํ | ลำดับ แห่งความพอใจ ชื่อว่า ตามความพอใจ | |
วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ ยถาวุฑฺฒํ | ลำดับแห่งผู้เจริญ ท. ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ | |
เย เย วุฑฺฒา ยถาวุฑฺฒํ | ผู้เจริญ ท. ใด ใด ชื่อว่า ลำดับแห่งผู้เจริญ | |
สตฺตึ อนติกฺกมิตฺวา ยถาสตฺติ | ไม่เกินแล้ว ซึ่งความสามารถ ชื่อว่า ตามความสามารถ | |
พลํ อนติกฺกมิตฺวา ยถาพลํ | ไม่เกินแล้ว ซึ่งกำลัง ชื่อว่า ตามกำลัง | |
กมํ อนติกฺกมิตฺวา ยถากฺกมํ | ไม่ข้ามแล้ว ซึ่งลำดับ ชื่อว่า ตามลำดับ | |
ยาว: | ชีวสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวชีวํ | การกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งชีวิต ชื่อว่า กำหนดเพียงไรแห่งชีวิต, ตลอดชีวิต |
ตติยวารสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวตติยํ | การกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งวาระที่สาม ชื่อว่า การกำหนดเพียงไรแห่งวาระที่สาม, จนถึงสามครั้ง | |
ยตฺตเกน อตฺโถ ยาวทตฺถํ | ความต้องการ (ด้วยวัตถุ) มีประมาณเพียงไร ชื่อว่า ตามความต้องการ | |
ยาวตา: | อายุสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวตายุกํ | การกำหนด มีประมาณเพียงไร แห่งอายุ ชื่อว่า กำหนดเพียงไรแห่งอายุ, ตลอดอายุ |
อุปริ: | ปาสาทสฺส อุปริ อุปริปาสาทํ | เบื้องบน แห่งปราสาท ชื่อว่า เบื้องบนแห่งปราสาท |
มญฺจสฺส อุปริ อุปริมญฺจํ | เบื้องบน แห่งเตียง ชื่อว่า เบื้องบนแห่งเตียง | |
เหฏฺฐา: | มญฺจสฺส เหฏฺฐา เหฏฺฐามญฺจํ | ภายใต้ แห่งเตียง ชื่อว่า ภายใต้แห่งเตียง, เบื้องล่างแห่งเตียง |
ปาสาทสฺส เหฏฺฐา เหฏฺฐาปาสาทํ | ภายใต้ แห่งปราสาท ชื่อว่า ภายใต้แห่งปราสาท, เบื้องล่างแห่งปราสาท | |
ปจฺฉา: | ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ | ภายหลัง แห่งภัตร ชื่อว่า ภายหลังแห่งภัตร (เวลาหลังภัตร, หลังอาหาร) |
ปุเร: | ภตฺตสฺส ปุเร ปุเรภตฺตํ | ก่อน แห่งภัตร ชื่อว่า ก่อนแห่งภัตร (ก่อนภัตร, เวลาก่อนภัตร, ก่อนอาหาร) |
ภตฺตา ปุเร ปุเรภตฺตํ | ก่อน แต่ภัตร ชื่อว่า ก่อนแต่ภัตร (ก่อนภัตร, เวลาก่อนภัตร, ก่อนอาหาร) | |
อรุณา ปุเร ปุรารุณํ | ก่อน แต่อรุณ ชื่อว่า ก่อนแต่อรุณ (ก่อนอรุณ, เวลาก่อนอรุณ) | |
อนฺตรา: | มคฺคสฺส อนฺตรา อนฺตรามคฺคํ | ระหว่าง แห่งหนทาง ชื่อว่า ระหว่างแห่งหนทาง, ระหว่างทาง |
วีถิยา อนฺตรา อนฺตรวีถิ | ระหว่าง แห่งวิถี ชื่อว่า ระหว่างแห่งวิถี, ระหว่างถนน | |
ฆรานํ อนฺตรา อนฺตรฆรํ | ระหว่าง แห่งบ้าน ท. ชื่อว่า ระหว่างแห่งบ้าน, ระหว่างบ้าน |
6. พหุพพิหิสมาส
สมาสอย่างหนึ่งมีบทอื่นเป็นประธาน ชื่อ พหุพพิหิ
(สมาสอื่นๆ เมื่อจำแนกแยกย่อยแล้ว เป็นสมาสนามอย่างเดียวบ้าง เป็นได้ทั้งสมาสนามและสมาสคุณบ้าง แต่พหุพพิหินี้เป็นสมาสคุณอย่างเดียวเท่านั้น)
ตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
สมาสนี้ ในรูปวิเคราะห์ บทแรกเป็นคุณนาม บทที่สองเป็นนามนาม (หรือกลับกันบ้าง)
เพราะบททั้ง 2 นี้มีลิงค์ วิภัตติ วจนะ เสมอกัน (ตุลฺย) จึงเรียกว่า “ตุลยาธิกรณ”
เมื่อสำเร็จเป็นบทสมาสแล้วเป็นสมาสคุณนามอย่างเดียว โดยมีนามนามอื่น (อัญญบท) มาเป็นประธานของสมาส
มี 6 ชนิด (ตามวิภัตติที่เชื่อมกับอัญญบท) คือ
1) ทุติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
อาคตา สมณา ยํ, โส อาคตสมโณ (อาราโม) สมณา อาคตา ยํ, โส สมณอาคโต (อาราโม) | สมณะ ท. มาแล้วสู่อารามใด อารามนั้น ชื่อว่า มีสมณะมาแล้ว |
ตัวอย่างลิงค์อื่นๆ เช่น อาคตสมณา (สาวตฺถี), อาคตสมณํ (เชตวนํ) | |
รุฬฺหา ลตา ยํ, โส รุฬฺหลโต (รุกฺโข) | เครือวัลย์ ขึ้นแล้ว สู่ต้นไม้ ใด ต้นไม้นั้น ชื่อว่า มีเครือวัลย์ขึ้นแล้ว |
สมฺปตฺตา ภิกฺขู ยํ, โส สมฺปตฺตภิกฺขุ (อาวาโส) | ภิกษุ ท. ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งอาวาสใด อาวาสนั้น ชื่อว่า มีภิกษุถึงพร้อมแล้ว |
ปฏิปนฺนา อทฺธิกา ยํ, โส ปฏิปนฺนทฺธิโก (ปโถ) | คนเดินทางไกล ท. ดำเนินแล้ว สู่ทางใด ทางนั้น ชื่อว่า มีคนเดินทางไกลดำเนินแล้ว |
อภิรุฬฺหา วาณิชา ยํ, สา อภิรุฬฺหวาณิชา (นาวา) | พ่อค้า ท. ขึ้นแล้ว สู่เรือใด เรือนั้น ชื่อว่า มีพ่อค้าขึ้นแล้ว |
2) ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
ชิตานิ อินฺทฺริยานิ เยน, โส ชิตินฺทฺริโย (สมโณ) | อินทรีย์ ท. อันสมณะใด ชนะแล้ว สมณะนั้น ชื่อว่า มีอินทรีย์ชนะแล้ว |
กตํ ปุญฺญํ เยน, โส กตปุญฺโญ (ปุริโส) | บุญ อันบุรุษใด ทำแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีบุญอันทำแล้ว |
อาหิโต อคฺคิ เยน, โส อาหิตคฺคิ (พฺราหฺมโณ) อคฺคิ อาหิโต เยน, โส อคฺยาหิโต* (พฺราหฺมโณ) | ไฟ อันพราหมณ์ใด บูชาแล้ว พราหมณ์นั้น ชื่อว่า มีไฟอันบูชาแล้ว (เอา อิ เป็น ยฺ, พยัญชนะซ้อนกัน 3 ตัว ลบพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันได้ 1 ตัว) |
วิสํ ปีตํ เยน, โส วิสปีโต (สโร) | ยาพิษ อันลูกศรใด ดื่มแล้ว ลูกศรนั้น ชื่อว่า มียาพิษอันดื่มแล้ว |
วิชิตา มารา เยน, โส วิชิตมาโร (ภควา) | มาร ท. อันพระผู้มีพระภาคใด ชนะแล้ว พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีมารอันชนะแล้ว |
ทิฏฺโฐ ธมฺโม เยน, โส ทิฏฺฐธมฺโม (ภิกฺขุ) | ธรรม อันภิกษุใด เห็นแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว |
กตํ กิจฺจํ เยน, โส กตกิจฺโจ (ปุริโส) | กิจ อันบุรุษใด ทำแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีกิจอันทำแล้ว |
ปฏิวิทฺโธ ธมฺโม เยน, โส ปฏิวิทฺธธมฺโม (สมโณ) | ธรรม อันสมณะใด แทงตลอดแล้ว สมณะนั้น ชื่อว่า มีธรรมอันแทงตลอดแล้ว |
3) จตุตถีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
ทินฺโน สุงฺโก ยสฺส, โส ทินฺนสุงฺโก (ราชา) | ส่วย (อันชาวเมือง ท.) ถวายแล้ว แก่พระราชาใด พระราชานั้น ชื่อว่า มีส่วยอันชาวเมืองถวายแล้ว |
กตํ ทณฺฑกมฺมํ ยสฺส, โส กตทณฺฑกมฺโม (สิสฺโส) | ทัณฑกรรม (อันอาจารย์) ทำแล้ว แก่ศิษย์ใด ศิษย์นั้น ชื่อว่า มีทัณฑกรรมอันอาจารย์ทำแล้ว |
สญฺชาโต สํเวโค ยสฺส, โส สญฺชาตสํเวโค (ชโน) | ความสังเวชเกิดพร้อมแล้ว แก่ชนใด ชนนั้น ชื่อว่า มีความสังเวชเกิดพร้อมแล้ว |
อุปนีตํ โภชนํ ยสฺส, โส อุปนีตโภชโน (สมโณ) | โภชนะ อันบุคคลน้อมเข้าใกล้แล้ว แก่สมณะใด สมณะนั้น ชื่อว่า มีโภชนะอันบุคคลน้อมเข้าใกล้แล้ว |
อุปหโฏ พลิ ยสฺส, โส อุปหฏพลิ (ยกฺโข) | พลี อันบุคคลนำเข้าใกล้แล้ว แก่ยักษ์ใด ยักษ์นั้น ชื่อว่า มีพลีอันบุคคลนำเข้าใกล้แล้ว |
ฉนฺโท ชาโต ยสฺส, โส ฉนฺทชาโต (ภิกฺขุ) | ฉันทะ เกิดแล้ว แก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีฉันทะเกิดแล้ว |
ชาโต ฉนฺโท ยสฺส, โส ชาตจฺฉนฺโท (ภิกฺขุ) |
4) ปัญจมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
นิคฺคตา ชนา ยสฺมา, โส นิคฺคตชโน (คาโม) | ชน ท. ออกไปแล้ว จากบ้านใด บ้านนั้น ชื่อว่า มีชนออกไปแล้ว |
ปติตานิ ผลานิ ยสฺมา, โส ปติตผโล (รุกฺโข) | ผล ท. หล่นแล้ว จากต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น ชื่อว่า มีผลหล่นแล้ว |
วีโต ราโค ยสฺมา, โส วีตราโค (ภิกฺขุ) | ราคะ ไปปราศแล้ว จากภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีราคะไปปราศแล้ว |
วิคตํ สมํ ยสฺมา, ตํ วิสมํ (ฐานํ) | ความเสมอ ไปปราศแล้ว จากที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า มีความเสมอไปปราศแล้ว |
อเปตํ วิญฺญาณํ ยสฺมา, โส อเปตวิญฺญาโณ (มตกาโย) | วิญญาณ ไปปราศแล้ว จากกายอันตายแล้วใด กายอันตายแล้วนั้น ชื่อว่า มีวิญญาณไปปราศแล้ว |
อปคตํ ภยเภรวํ ยสฺมา, โส อปคตภยเภรโว (อรหา) | ความสะดุ้งเพราะความกลัว ไปปราศแล้ว จากพระอรหันต์ใด พระอรหันต์นั้น ชื่อว่า มีความสะดุ้งเพราะความกลัวไปปราศแล้ว |
นิคฺคโต อโย ยสฺมา, โส นิรโย (โลโก) | ความเจริญ ออกไปแล้ว จากโลกใด โลกนั้น ชื่อว่า มีความเจริญออกไปแล้ว |
นิคฺคโต อโย อสฺมาติ นิรโย (โลโก) | ความเจริญ ออกไปแล้ว จากโลกนั้น เหตุนั้น โลกนั้น ชื่อว่า มีความเจริญออกไปแล้ว |
นิคฺคตา กิเลสา ยสฺมา, โส นิกฺกิเลโส (ภิกฺขุ) | กิเลส ท. ออกไปแล้ว จากภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีกิเลสออกไปแล้ว |
นิคฺคโต กิเลโส เอตสฺมาติ นิกฺกิเลโส (ภิกฺขุ) | กิเลส ออกไปแล้ว จากภิกฺขุนั้น เหตุนั้น ภิกฺขุนั้น ชื่อว่า มีกิเลสออกไปแล้ว |
5) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
ขีณา อาสวา ยสฺส, โส ขีณาสโว (ภิกฺขุ) | อาสวะ ท. ของภิกษุใด สิ้นแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว |
สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส, โส สนฺตจิตฺโต (ภิกฺขุ) | จิต ของภิกษุใด ระงับแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีจิตระงับแล้ว |
ฉินฺนา หตฺถา ยสฺส, โส ฉินฺนหตฺโถ (ปุริโส) หตฺถา ฉินฺนา ยสฺส, โส หตฺถจฺฉินฺโน (ปุริโส) | มือ ท. ของบุรุษใด ขาดแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีมือขาดแล้ว |
ปริปุณฺโณ สงฺกปฺโป ยสฺส, โส ปริปุณฺณสงฺกปฺโป (ปุริโส) | ความดำริ ของบุรุษใด เต็มรอบแล้ว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีความดำริเต็มรอบแล้ว |
วีโต ราโค ยสฺส, โส วีตราโค (ภิกฺขุ) | ราคะ ของภิกษุใด ไปปราศแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีราคะไปปราศแล้ว |
จตฺตาริ ปทานิ ยสฺส, โส จตุปฺปโท (สตฺโต) | เท้า ท. 4 ของสัตว์ใด (มีอยู่) สัตว์นั้น ชื่อว่า มีเท้า 4 (ปโท ปทํ เท้า) |
เทฺว ปทา ยสฺส, โส ทฺวิปโท (สตฺโต) | เท้า ท. 2 ของสัตว์ใด (มีอยู่) สัตว์นั้น ชื่อว่า มีเท้า 2 (ปโท ปทํ เท้า) |
กึ นามํ ยสฺส, โส กึนาโม/กินฺนาโม (ปุริโส) | ชื่อ ของบุรุษใด อะไร บุรุษนั้น ชื่อว่า มีชื่ออะไร #กึนามา/กินฺนามา (อิตฺถี) |
กึ มูลํ ยสฺส, ตํ กึมูลํ (ภณฺฑํ) | มูลค่า/ราคา ของสิ่งของใด อย่างไร สิ่งของนั้น ชื่อว่า มีค่าอย่างไร |
สมฺปนฺนํ สีลํ, ยสฺส โส สมฺปนฺนสีโล (ภิกฺขุ) | ศีล ของภิกษุใด ถึงพร้อมแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลถึงพร้อมแล้ว #สีลสมฺปนฺโน |
นว องฺคานิ ยสฺส, ตํ นวงฺคํ (สตฺถุสาสนํ) | องค์ ท. 9 ของสัตถุศาสน์ใด (มีอยู่) สัตถุศาสน์นั้น ชื่อว่า มีองค์ 9 |
วิคตํ มลํ ยสฺส, โส วิมโล (กาโย) | มลทิน ของกายใด ไปปราศแล้ว กายนั้น ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว |
ทุฏฺโฐ มโน ยสฺส, โส ทุมฺมโน (ชโน) | ใจ ของชนใด อันโทษประทุษร้ายแล้ว ชนนั้น ชื่อว่า มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว |
ทุฏฺฐํ สีลํ ยสฺส, โส ทุสฺสีโล (ชโน) | ศีล ของชนใด อันโทษประทุษร้ายแล้ว ชนนั้น ชื่อว่า มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว |
มหตี ปญฺญา ยสฺส, โส มหาปญฺโญ (ปุริโส) | ปัญญา ของบุรุษใด มาก บุรุษนั้น ชื่อว่า มีปัญญามาก |
ทีฆา ชงฺฆา ยสฺส, โส ทีฆชงฺโฆ (ปุริโส) | แข้ง ท. ของบุรุษใด ยาว บุรุษนั้น ชื่อว่า มีแข้งยาว |
ตโจ ปญฺจโก ยสฺส, ตํ ตจปญฺจกํ (กมฺมฏฺฐานํ) | หนัง เป็นที่ 5 ของกัมมัฏฐานใด กัมมัฏฐานนั้น ชื่อว่า มีหนังเป็นที่ 5 |
ฉนฺโท ชาโต ยสฺส, โส ฉนฺทชาโต (ภิกฺขุ) ชาโต ฉนฺโท ยสฺส, โส ชาตจฺฉนฺโท (ภิกฺขุ) | ฉันทะ ของภิกษุใด เกิดแล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีฉันทะเกิดแล้ว |
อันตโลปพหุพพิหิ ลบศัพท์ท้าย เช่น
ปญฺจสตานิ ปมาณานิ เยสํ, เต ปญฺจสตา (ภิกฺขู) | มีร้อย 5 เป็นประมาณ (=ปญฺจสตปมาณา) |
ร้อย 5 ท. เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีร้อย 5 เป็นประมาณ | |
สหสฺสํ ปมาณํ เยสํ, เต สหสฺสา (ภิกฺขู) | มีพันเป็นประมาณ (=สหสฺสปฺปมาณา) |
พัน เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ | |
สหสฺสํ มตฺตํ ยสฺส, ตํ สหสฺสํ (ธนํ) | มีพันเป็นประมาณ (=สหสฺสมตฺตํ) |
พัน เป็นประมาณ แห่งทรัพย์ ใด ทรัพย์นั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ | |
ปมาณ มตฺต มักลบทิ้ง |
สมาสที่มีศัพท์เหล่านี้คือ อาทิ เภท ปริวาร ปมาณ มตฺต ปมุข มักเป็นฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
สีลํ อาทิ เยสํ, โส สีลาทโย (คุณา) | ศีล เป็นต้น แห่งคุณ ท. เหล่าใด คุณ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีศีลเป็นต้น |
ขนฺธาทิ เภโท ยสฺส, โส ขนฺธาทิเภโท (ธมฺโม) | ธรรมมีขันธ์เป็นต้น เป็นประเภท แห่งธรรม ใด ธรรมนั้น ชื่อว่า มีธรรมมีขันธ์เป็นต้นเป็นประเภท |
ภิกฺขู ปริวารา ยสฺส, โส ภิกฺขุปริวาโร (ภควา) | ภิกษุ ท. เป็นบริวาร แห่งพระผู้มีพระภาค ใด พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีภิกษุเป็นบริวาร |
สหสฺสํ ปมาณํ เยสํ, เต สหสฺสปฺปมาณา (ภิกฺขู) | พัน เป็นประมาณ ของภิกษุ ท. เหล่าใด ภิกษุ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ |
พุทฺโธ ปมุโข ยสฺส, โส พุทฺธปฺปมุโข (สงฺโฆ) | พระพุทธเจ้า เป็นประมุข แห่งสงฆ์ ใด สงฆ์นั้น ชื่อว่า มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข |
สหสฺสํ มตฺตํ ยสฺส, ตํ สหสฺสมตฺตํ (ธนํ) | พัน เป็นประมาณ แห่งทรัพย์ ใด ทรัพย์นั้น ชื่อว่า มีพันเป็นประมาณ |
มตฺต ถ้าแปลว่า สักว่า เป็น สัมภาวนบุพบท กัมมธารยสมาส
ยาปนํ อิติ มตฺตํ ยาปนมตฺตํ (วตฺถุ) (วัตถุ) สักว่าเครื่องยังอัตตภาพให้เป็นไป
ยาปนํ อิติ มตฺตํ ยาปนมตฺตํ (วตฺถุ) | (วัตถุ) สักว่าเครื่องยังอัตตภาพให้เป็นไป |
เภท ถ้าแปลว่า ต่าง เป็น ตติยาตัปปุริสสมาส
สีลาทิคุเณน เภโท สีลาทิคุณเภโท (ธมฺโม) | (ธรรม) อันต่างด้วยคุณมีศีลเป็นต้น |
6) สัตตมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ
สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺมึ, โส สมฺปนฺนสสฺโส (ชนปโท) | ข้าวกล้า ท. ในชนบทใด ถึงพร้อมแล้ว ชนบทนั้น ชื่อว่า มีข้าวกล้าถึงพร้อมแล้ว |
พหู นทิโย ยสฺมึ, โส พหุนทิโก (ชนปโท) | แม่น้ำ ท. ในชนบทใด มาก ชนบทนั้น ชื่อว่า มีแม่น้ำมาก |
ฐิตา สิริ ยสฺมึ, โส ฐิตสิริ (ชโน) | ศรี ตั้งอยู่แล้ว ในชนใด ชนนั้น ชื่อว่า มีศรีตั้งอยู่แล้ว |
สุลโภ ปิณฺโฑ ยสฺมึ, โส สุลภปิณฺโฑ (ปเทโส) | ก้อนข้าว อันบุคคลหาได้โดยง่าย ในประเทศใด ประเทศนั้น ชื่อว่า มีก้อนข้าวหาได้โดยง่าย |
อากิณฺณา มนุสฺสา ยสฺสํ, สา อากิณฺณมนุสฺสา (ราชธานี) | มนุษย์ ท. เกลื่อนกล่นแล้ว ในราชธานีใด ราชธานีนั้น ชื่อว่า มีมนุษย์เกลื่อนกล่นแล้ว |
พหโว ตาปสา ยสฺมึ, โส พหุตาปโส (อสฺสโม) | ดาบส ท. มากในอาศรมใด อาศรมนั้น ชื่อว่า มีดาบสมาก |
อุปจิตํ มํสโลหิตํ ยสฺมึ, ตํ อุปจิตมํสโลหิตํ (สรีรํ) | เนื้อและเลือด สะสมแล้ว ในสรีระใด สรีระนั้น ชื่อว่า มีเนื้อและเลือดสะสมแล้ว |
ภินนาธิกรณพหุพพิหิ
ในรูปวิเคราะห์แห่งสมาสนี้ บททั้ง 2 เป็นนามนาม และมีวิภัตติต่างกัน (ภินฺน) จึงเรียกสมาสนี้ว่า “ภินนาธิกรณ”
มีประเภทเดียว คือ ฉัฏฐีภินนาธิกรณ เช่น
เอกรตฺตึ วาโส อสฺสาติ เอกรตฺติวาโส (ชโน) | การอยู่ สิ้นราตรีหนึ่ง ของชนนั้น เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า มีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง |
อุรสิ โลมานิ ยสฺส, โส อุรสิโลโม (พฺราหฺมโณ) | ขน ท. ที่อก ของพราหมณ์ใด (มีอยู่) พราหมณ์นั้น ชื่อว่า มีขนที่อก |
วชิรํ ปาณิมฺหิ ยสฺส, โส วชิรปาณิ (อินฺโท) | วชิระ ในมือ ของพระอินทร์ใด (มีอยู่) พระอินทร์นั้น ชื่อว่า มีวชิระในมือ |
มณิ กณฺเฐ ยสฺส, โส มณิกณฺโฐ (นาคราชา) | แก้ว ที่คอ ของนาคราชใด (มีอยู่) นาคราชนั้น ชื่อว่า มีแก้วที่คอ |
ทณฺโฑ หตฺเถ ยสฺส, โส ทณฺฑหตฺโถ (ราชา) | อาชญา ในพระหัตถ์ ของพระราชาใด (มีอยู่) พระราชานั้น ชื่อว่า มีอาชญาในพระหัตถ์ |
สทฺธมฺเม คารโว ยสฺส, โส สทฺธมฺมคารโว (ภิกฺขุ) | ความเคารพ ในพระสัทธรรม ของภิกษุใด (มีอยู่) ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีความเคารพในพระสัทธรรม |
สมาเนน ชเนน สทฺธึ วาโส ยสฺส, โส สมานวาโส (ปุริโส) | การอยู่ กับ ด้วย ชนผู้เสมอกัน ของบุรุษใด (มีอยู่) บุรุษนั้น ชื่อว่า มีการอยู่กับด้วยชนผู้เสมอกัน |
อสิ หตฺเถ ยสฺส, โส อสิหตฺโถ (โยโธ) | ดาบ ในมือ ของทหารใด (มีอยู่) ทหารนั้น ชื่อว่า มีดาบในมือ |
ฉตฺตํ ปาณิมฺหิ ยสฺส, โส ฉตฺตปาณิ (ปุริโส) | ร่ม ในมือ ของบุรุษใด (มีอยู่) บุรุษนั้น ชื่อว่า มีร่มในมือ |
ทาเน อชฺฌาสโย ยสฺส, โส ทานชฺฌาสโย (ชโน) | อัธยาศัย ในทาน ของชนใด (มีอยู่) ชนนั้น ชื่อว่า มีอัธยาศัยในทาน |
อุภโต (ปกฺขโต) พฺยญฺชนํ ยสฺส, โส อุภโตพยญฺชนโก (ปุคฺคโล) (ก สกตฺถ) | เพศ (แต่ข้าง) ทั้งสอง ของบุคคลใด (มีอยู่) บุคคลนั้น ชื่อว่า มีเพศ(แต่ข้าง)ทั้งสอง |
อุภโต (ปกฺขโต) ปวตฺตํ พฺยญฺชนํ ยสฺส อตฺถีติ อุภโตพยญฺชนโก (ปุคฺคโล) | เพศ เป็นไปแล้ว แต่ข้างทั้งสอง ของบุคคลใด (มีอยู่) บุคคลนั้น ชื่อว่า มีเพศ(เป็นไปแล้วแต่ข้าง)ทั้งสอง |
ตั้งวิเคราะห์เป็นรูปพหุวจนะบ้างก็ได้ เช่น
กตํ กุสลํ เยหิ, เต กตกุสลา (ชนา) | กุศล อันชน ท. เหล่าใด ทำแล้ว ชน ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีกุศลอันทำแล้ว |
อาวุธา หตฺเถสุ เยสํ, เต อาวุธหตฺถา (โยธา) | อาวุธ ท. ย่อมมี ในมือ ท. ของทหาร ท. เหล่าใด ทหาร ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีอาวุธในมือ |
ฉัฏฐีอุปมาบุพบทพหุพพิหิ
ในรูปวิเคราะห์แห่งสมาสนี้ บททั้ง 2 เป็นนามนาม (และมีวิภัตติต่างกัน) บทหน้าลงฉัฏฐีวิภัตติ บทหลังเป็นอุปมา
สุวณฺณสฺส วณฺโณ อิว วณฺโณ ยสฺส, โส สุวณฺณวณฺโณ (ภควา) | วรรณะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง วรรณะ แห่งทอง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง |
พฺรหฺมุโน สโร อิว สโร ยสฺส, โส พฺรหฺมสฺสโร (ภควา) | เสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง เสียง แห่งพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม |
สีหสฺส คติ อิว คติ ยสฺส, โส สีหคติ (ภควา) | การไป ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใด เพียงดัง การไป แห่งสีหะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า มีการไปเพียงดังการไปแห่งสีหะ |
สีหสฺส หนุ อิว หนุ ยสฺส, โส สีหหนุ (ภิกฺขุ) | คาง ของภิกษุใด เพียงดัง คาง แห่งสีหะ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีคางเพียงดังคางแห่งสีหะ |
สีหสฺส วิย อสฺส หนูติ สีหหนุ (ภิกฺขุ) | คาง ของภิกษุนั้น ดุจ คางแห่งสีหะ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีคางเพียงดังคางแห่งสีหะ |
สีหสฺส วิกฺกโม อิว วิกฺกโม ยสฺส, โส สีหวิกฺกโม (ภิกฺขุ) | ความแกล้วกล้า ของภิกษุใด เพียงดัง ความแกล้วกล้า แห่งสีหะ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีความแกล้วกล้าเพียงดังความแกล้วกล้าแห่งสีหะ |
นิโคฺรธสฺส ปริมณฺฑโล อิว ปริมณฺฑโล ยสฺส, โส นิโคฺรธปริมณฺฑโล (ภควา) | ปริมณฑล ของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดัง ปริมณฑล ของต้นนิโครธ พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า มีปริมณฑลเพียงดังปริมณฑลของต้นนิโครธ |
หตฺถิโน ลิงฺคํ อิว ลิงฺคํ ยสฺส, โส หตฺถิลิงฺโค (สกุโณ) | เพศ แห่งนกใด เพียงดัง เพศ แห่งช้าง นกนั้น ชื่อว่า มีเพศเพียงดังเพศแห่งช้าง |
นบุพบท พหุพพิหิ
มีคำแปลว่า “มี...หามิได้” หรือ “ไม่มี...” (ต่างกับ นบุพบท กัมมธารยสมาส ที่แปลว่า มิใช่..., ไม่ใช่...; เป็น...หามิได้, ไม่เป็น...)
(นบุพบทพหุพพิหิ ปฏิเสธว่า ไม่มีสิ่งนั้น นบุพบทกัมมธารยะ ปฏิเสธว่า ไม่ใช่สิ่งนั้น หรือ ไม่ได้เป็นสิ่งนั้น) เช่น
นตฺถิ ตสฺส ปุตฺโตติ อปุตฺตโก (ปุริโส) | บุตร ของบุรุษนั้น ไม่มี เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า มีบุตรหามิได้, ไม่มีบุตร (ลง ก ปัจจัย) |
นตฺถิ ตสฺส สโมติ อสโม (ภควา) | (พระผู้มีพระภาค) มีผู้เสมอหามิได้, ไม่มีผู้เสมอ |
นตฺถิ ตสฺส อุตฺตโรติ อนุตฺตโร (ภควา) | (พระผู้มีพระภาค) มีผู้ยิ่งกว่าหามิได้, ไม่มีผู้ยิ่งกว่า |
นตฺถิ ตสฺส อาลโยติ อนาลโย (ภิกฺขุ) นตฺถิ อาลโย ตสฺสาติ อนาลโย (ภิกฺขุ) | (ภิกษุ) มีอาลัยหามิได้, ไม่มีอาลัย |
นตฺถิ อนฺโต ตสฺสาติ อนนฺโต (จกฺกวาโฬ) | (จักรวาล) มีที่สุดหามิได้, ไม่มีที่สุด |
นตฺถิ ตสฺส เหตูติ อเหตุโก (ธมฺโม) | (ธรรม) มีเหตุหามิได้, ไม่มีเหตุ (ลง ก ปัจจัย สกัตถะ) |
นตฺถิ วุฏฺฐิ เอตฺถาติ อวุฏฺฐิโก (ชนปโท) | (ชนบท) มีฝนหามิได้, ไม่มีฝน (ลง ก ปัจจัย) |
นตฺถิ ภิกฺขู เอตฺถาติ อภิกฺขุโก (วิหาโร) | (วิหาร) มีภิกษุหามิได้, ไม่มีภิกษุ (ลง ก ปัจจัย) |
เปรียบเทียบ นบุพบท พหุพพิหิ กับ นบุพบท กัมมธารยะ
นตฺถิ ตสฺส อสฺโส อนสฺโส (ชโน) | ม้า ของชนนั้น ไม่มี เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ไม่มีม้า, มีม้าหามิได้ |
น อสฺโส อนสฺโส (อยํ สตฺโต) | สัตว์นี้ มิใช่ม้า, เป็นม้าหามิได้ |
สหบุพบท พหุพพิหิ
สมาสที่มี สห เป็นบทหน้า เรียกว่า สหบุพบทพหุพพิหิสมาส มีคำแปลว่า “เป็นไปกับด้วย...”
(แปลโดยอรรถว่า "พร้อมด้วย..., พร้อมทั้ง..., มี...")
สห ปุตฺเตน โย วตฺตตีติ สปุตฺโต (ปุริโส – ปิตา) | เป็นไปกับด้วยบุตร บุรุษ ใด ย่อมเป็นไป กับ ด้วยบุตร เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า เป็นไปกับด้วยบุตร คือ บิดา |
สห รญฺญา ยา วตฺตตีติ สราชิกา (ปริสา) | เป็นไปกับด้วยพระราชา (ลง ก ปัจจัย สกัตถะ) |
สห มจฺเฉเรน ยํ วตฺตตีติ สมจฺเฉรํ (จิตฺตํ) | เป็นไปกับด้วยความตระหนี่ |
สห ปริวาเรน โย วตฺตตีติ สปริวาโร, สหปริวาโร (ภิกฺขุ) | เป็นไปกับด้วยบริวาร (บทหลังไม่ลบ ห) |
สห ปิติยา เย วตฺตนฺตีติ สปฺปิติกา (ธมฺมา) | เป็นไปกับด้วยปีติ (ลง ก ปัจจัย, ซ้อน ปฺ) |
สห เหตุนา โย วตฺตตีติ สเหตุ, สเหตุโก (ธมฺโม) | เป็นไปกับด้วยเหตุ (บทหลังลง ก ปัจจัย) |
สห กมฺมุนา ยา วตฺตตีติ สกมฺมา, สกมฺมกา (ธาตุ) | เป็นไปกับด้วยกรรม, สกัมมธาตุ (บทหลังลง ก ปัจจัย) |
สห กมฺมุนา ยา วตฺตตีติ สกมฺมา, สกมฺมกา (กิริยา) | เป็นไปกับด้วยกรรม, สกัมมกิริยา (บทหลังลง ก ปัจจัย) |
สห เทเวหิ โย วตฺตตีติ สเทวโก (โลโก) | เป็นไปกับด้วยเทวดา, พร้อมทั้งเทวโลก (ลง ก ปัจจัย) #สมารโก สพฺรหฺมโก |
สมาสซ้อน/สมาสท้อง
หมายถึง สมาสตั้งแต่ 2 สมาส ขึ้นไป ย่อเป็นบทเดียวกัน
ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก (ภควา) (พระผู้มีพระภาค) ผู้มีจักรคือธรรมอันบวรอันให้เป็นไปแล้ว
เป็น (1) ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
มี (2) อวบุพพบท กัมมธารยสมาส และ (3) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน
วิ. ธมฺโม เอว จกฺกํ ธมฺมจกฺกํ | จักรคือธรรม | อว. บุพ. | (2) |
วิ. ปวรํ ธมฺมจกฺกํ ปวรธมฺมจกฺกํ | จักรคือธรรมอันบวร | วิ. บุพ. กัม. | (3) |
วิ. ปวตฺติตํ ปวรธมฺมจกฺกํ เยน, โส ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก (ภควา) | ผู้มีจักรคือธรรมอันบวร อันให้เป็นไปแล้ว | ตติ. ตุล. | (1) |
คนฺธมาลาทิหตฺถา (มนุสฺสา)
เป็น (1) ฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพพิหิสมาส
มี (2) อสมาหาร ทวันทวสมาส (3) วิเสสนบุพบท กัมธารยสมาส และ (4) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส เป็นภายใน
วิ. คนฺโธ จ มาลา จ คนฺธมาลา | ของหอมและระเบียบ ท. | อส. ทวัน. | (2) |
วิ. คนฺธมาลา อาทโย เยสํ, ตานิ คนฺธมาลาทีนิ (วตฺถูนิ) | (วัตถุ ท.) มีของหอมและระเบียบเป็นต้น (ของหอมและระเบียบ ท. เป็นต้น ของวัตถุ ท. เหล่าใด วัตถุ ท. นั้น ชื่อว่า มีของหอมและระเบียบเป็นต้น) | ฉ. ตุล. พหุพ. | (3) |
วิ. คนฺธมาลาทีนิ วตฺถูนิ คนฺธมาลาทิวตฺถูนิ | วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น ท. | วิ. บุพ. กัม. | (4) |
วิ. คนฺธมาลาทิวตฺถูนิ หตฺเถสุ เยสํ, เต คนฺธมาลาทิหตฺถา (มนุสฺสา) (ลบ วตฺถุ) | (มนุษย์ ท.) มีวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้นในมือ (วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น ท. มี ในมือ ท. ของมนุษย์ ท. เหล่าใด มนุษย์ ท. เหล่านั้น ชื่อว่า มีวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้นในมือ) | ฉ. ภินน. พหุพ. | (1) |
อสีติโกฏิธนํ ทรัพย์มีโกฏิ 80 เป็นประมาณ
เป็น (1) อสมาหาร ทิคุสมาส
มี (2) ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส และ (3) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน
วิ. อสีติ โกฏิโย อสีติโกฏิโย | โกฏิ 80 ท. | อส. ทิคุ. | (2) |
วิ. อสีติโกฏิโย ปมาณา ยสฺส, ตํ อสีติโกฏิปมาณํ อสีติโกฏิ (ธนํ) | (ทรัพย์) มีโกฏิ 80 เป็นประมาณ | ฉ. ตุล. พหุพ. | (3) |
วิ. อสีติโกฏิ ธนํ อสีติโกฏิธนํ | ทรัพย์มีโกฏิ 80 เป็นประมาณ | วิ. บุพ. กัม. | (1) |
เตภูมิกวฏฺฏํ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3
เป็น (1) วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส อสมาหาร ทิคุสมาส
มี (2) อสมาหาร ทิคุสมาส และ (3) ณิก ปัจจัย ตรัตยาทิตัทธิต เป็นภายใน
วิ. ติสฺโส ภูมิโย ติภูมิโย | ภูมิ 3 ท. | อส. ทิคุ. | (2) |
วิ. ติภูมีสุ ปวตฺตํ เตภูมิกํ (วฏฺฏํ) | (วัฏฏะ) อันเป็นไปในภูมิ 3 | ณิก ตรัต. ตัท. | (3) |
วิ. เตภูมิกํ วฏฺฏํ เตภูมิกวฏฺฏํ | วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 | วิ. บุพ. กัม. | (1) |
ความคิดเห็น2
อทุกฺขมสขํ
1)เกิดจากสมาสหรือสนธิ ครับ
สมาสใช้วิธีใด
สนธิใช้วิธีใด
2) ทำไม ไม่เป็น อสุขมทุขํ ครับ
1) ประมาณนีัวิ. น ทุกฺขา…
1) ประมาณนีั
วิ. น ทุกฺขา อทุกฺขา (เวทนา) นบุพ. กัม.
วิ. น สุขา อสุขา (เวทนา) นบุพ. กัม.
วิ. อทุกฺขา จ อสุขา จ อทุกฺขมสุขา (เวทนา) วิเสสโนภย. กัม.
อทุกฺขาอสุขา (เวทนา) สมาส
อทุกฺขอสุขา รัสสสรสนธิ
อทุกฺข ํอสุขา อาคมนิคคหิตสนธิ
อทุกฺขมฺอสุขา แปลงนิคคหิตเป็น มฺ เพราะสระอยู่หลัง อาเทสนิคคหิตสนธิ
อทุกฺขมสุขา
2) ความเห็น: ท่านคงเห็นว่าทุกข์เป็นของจริง ส่วนสุขเป็นเพียงทุกข์ที่ลดลง จึงวาง ทุกฺข ไว้ก่อน