อล

อรรถของธาตุ
ภูสเน

ประดับ, ตกแต่ง

ตัวอย่าง

อลติ อลงฺกาโร อลงฺกโต อลงฺกํ กมลํ กมลาสโน

อล ธาตุนี้ เกจิอาจารย์อยากให้มีอรรถเป็น 3 คือ (1) ภูสน=ประดับ (2) ปริยาปน=พอ (3) วารณ=ห้าม แต่เรา (ส.) ไม่เห็นด้วย เพราะไม่เห็นที่มา  ที่แปลว่า พอ และห้าม นั้น เป็น อลํ ศัพท์ ซึ่งเป็นนิบาตต่างหาก  
อา. อลเมตํ สพฺพํ ทั้งหมดนี้ พอละ  อลํ เม เตน รชฺเชน ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยราชย์นั่น - ส.

  • อลงฺกาโร ป. อลังการ, เครื่องประดับ [อลํ+การ 'ทำการประดับ'].
  • อลงฺกโต กค. อลงกต, ประดับแล้ว [อลํ+กต].
  • อลงฺกํ นป. เครื่องประดับพิเศษ '-ภูสนวิเสโส' ได้ในกาพย์ของกวีว่า "สาลงฺกานนโยเคปิ สาลงฺกานนวชฺชิตา" - ส.
  • กมลํ นป. กมล, บัว, ดอกบัว, 'ประดับน้ำ' [กํ=น้ำ, อล - สูจิ]
  • กมลาสโน ป. กมลาสน์, พรหม, 'มีดอกบัวเป็นที่นั่ง ' [กมล+อาสน - สูจิ].
หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
188
ที่มา
ธป

Comments

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.