อญฺช

คู่ธาตุ
อญฺช อญฺชุ
อรรถของธาตุ
วฺยตฺติ; มกฺขณ; คติ; กนฺตีสุ

แจ้ง, ชัด; ทา, ไล้; ไป; รัก, ใคร่

ตัวอย่าง
  • อญฺชติ การิต-อญฺชาเปติ
    อกฺขีนิ อญฺเชตวา ทาดวงตา ท. แล้ว ชาอ. 5/172.  
    ภทฺเท อิมํ เภสชฺชํ อญฺชาหีติ อญฺชาเปสิ (กล่าว) ว่า แม่มหาจำเริญ จงทา (หรือหยอด) ยานี้ แล้ว ให้ทา (หรือ ให้หยอด) แล้ว ธมฺอ. 1/19.
  • อญฺชน นป. ยาทาตา (มี 5 อย่าง คือ กาฬญฺชน รสญฺชน โสตญฺชน เครุก กปลฺล) วิน. 5/44. ดู วินอ. 3/189.
    อช. 306 ว่า อญฺชน เป็นชื่อของแร่พลวง. ชรอยยาทาตานั้น จะทำด้วยแร่พลวงนี้กระมัง ถ้าเช่นนั้นก็เป็นไปกันได้
    แลได้เนื้อความของ อญฺชน เป็น 2 คือ ยาทาตา 1 แร่พลวง 1 (ข้าพเจ้าขอสารภาพ เรื่องยาทาตานั้น ยังมีความรู้ไม่พอ).
  • อญชนี อิ. กระบอก หรือ หีบยาทาตา วิน. 5/44.
    อญฺชนิสลากา [อญฺชนิ+สลากา] อิ. ไม้ป้าย หรือ บ้ายยา ทาตา โบราณเรียกว่า ไม้ดามยาตา: วิน. 5/44.
  • อญฺชิต กค. ทาแล้ว. 
    สุอญฺชิตานิ อกฺขีนิ ตา ท. อันทาดีแล้ว ชาอ. 1/121. 
    อญฺชิตกฺขา มีตาอันทาแล้ว ชาอ. 7/63.
  • อพฺภญฺชติ [อภิ เป็น อพฺภ+อญฺช หรือ -ชุ] ก. ทา, ทาเฉพาะ. 
    อุณฺโหทเกน นหาเปตวา สตปากเตเลน อพฺภญฺชิ ให้อาบด้วยน้ำอุ่นแล้ว ทาด้วยสตปากเตละ แล้ว ธมฺอ. 6/275.
      (คำ สตปากเตล นั้น ยากที่จะแปลลงไปโดยส่วนเดียว  โบราณท่านแปลกันมาว่า "น้ำมันหุง 100 ครั้ง" ที่แปลเช่นนี้ ขอสารภาพด้วยความเคารพแด่ท่านโบราณเหล่านั้นว่า เฉพาะตัวข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าน้ำมันอะไรหุงตั้ง 100 ครั้ง ยิ่งกว่านั้น ยังมีคำว่า สหสฺสปากเตล น้ำมันหุง 1000 ครั้ง (ชาอ. 5/192) ทำให้นึกในใจไม่เห็น เข้าใจว่า "เป็นไปไม่ได้" มากกว่า "เป็นไปได้" แลถ้าแปลเช่นนี้เป็นถูกแล้ว ก็ต้องนับว่าเกี่ยวด้วยวิทยาศาสตร์อย่างสูง แลเป็นศัพท์เฉพาะวิชา ซึ่งข้าพเจ้าแลอีกหลายคนด้วยกันไม่สามารถจะรู้จะเข้าใจ แต่อยากจะลองชักชวนท่านนักบาลีทั้งหลาย ให้ลองแปลเป็นเค้าอื่นไปบ้าง เช่นว่า น้ำมันหุงมีราคา 100 มีราคา 1000 (เอา สต. สหสฺส เป็นแสดงราคา จะ 100 อะไร 1000 อะไร เอาไว้อีกปัญหาหนึ่ง แต่คงไม่ใช่แสดงวาระ) ดังนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง (ขอหารือ)  เรื่องใน ธมฺอ. ที่อ้างนั้น เป็นเรื่องในเรือนเศรษฐี ใช้น้ำมันหุงราคาตั้ง 100 ทา แลเรื่องใน ชาอ. นั้น เป็นเรื่องของพระราชา รับสั่งให้ใช้น้ำมันหุงราคาตั้ง 1000 ทา ซึ่งเป็นทำนองยออย่างหรูๆ ตามความคิดของคนชั้นเก่า แต่ยังมีทางที่พอจะเป็นไปได้มากกว่าแปลอย่างเดิม ทั้งนี้เพื่อว่าการแปลบาลีเป็นไทยของเรา จักได้เป็นเชิงวิชามากขึ้นกว่าความเดา หรือความตามกันไปโดยไม่รู้ว่าไปเหนือไปใต้). *
    * ทราบมาว่า น้ำมันที่เคี่ยวมากครั้งนั้นยิ่งใส ทาแล้วอาจจะซึมแทรกหรือจับผิวเป็นเงางาม เป็นความนิยมแต่โบราณกาลทางอินเดีย.
  • อพฺภญฺชาเปติ [เหมือนคำบน] ก. การิต ให้ทา, ให้ทาเฉพาะ. 
    สหสฺสปากเตเลน อพฺภญฺชาเปตวา ให้ทาด้วย … ชาอ. 5/192.
  • อพฺภญฺชน [จาก อพฺภญฺชติ] นป. ความทา. 
    อพฺภญฺชนาทีสุ อุปเนตพฺพํ (น้ำมัน) พึงนำเข้าไปในกิจมีอันทาเป็นต้น วินอ. 1/252.
หมวดธาตุ
ภู (อ)
ที่มา
ธป

Comments

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.