คิด, นึก, ดำริ
อรรถของธาตุ
จินฺตายํ
ตัวอย่าง
- หทย [จาก หท. สก. หฤทฺ, หฺฤทย ] นป. หทัย, หฤทัย, หัวใจ. ว่าตามสำนวนบาลี มีความหมายเป็น 2 นัย :-
(1) ความคิด อันเป็นนามธรรม ดังบาลีว่า จิตฺตํ มโน มานสํ, หทยํ ปณฺฑรํ, มโน มนายตนํ มนินฺทฺริยํ, วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ, ตชฺชา จกฺขุวิญฺญาณธาตุ; อยํ วุจฺจติ จกฺขุวิญฺญาณธาตุ (วิภงฺคปปกรณ 104-5-6 มีหลายแห่ง) หมายว่า จิตฺต มน มานส หทย ปณฺฑร มนายตน มนินฺทริย วิญฺญาณ วิญฺญาณกฺขนฺธ วิญฺญาณธาตุ เป็น เววจนะ คือไวพจน์แห่งกันแลกัน เป็นชื่อแห่งความคิดนามธรรมทั้งนั้น (เฉพาะในที่เช่นนี้).
(2) เนื้อหัวใจ อันเป็นรูปธรรม ดังบาลีในอาการ 31 ว่า เกสา … หทยํ … มุตฺติ (รูปารูปกมฺมฎูฐาน สวดมนต์ 328) แลตามความคิดความเห็นครั้งยุคอรรถกถา (100 ปีที่ 10 แต่พุทธปรินิพพาน) ว่า ตัวความคิด (นามธรรม) นั้น เกิดที่ภายในก้อนเนื้อหัวใจนี้แล โดยคำว่า หทยนฺติ หทยมํสํ *… ยตฺถ อฑฺฒปสตมตฺตํ โลหิตํ สณฺฐาติ, ยํ นิสฺสาย มโนธาตุ จ มโนวิญฺญาณธาตุ จ วตฺตนฺติ (วิสุทฺธิมคฺค 2/37).
* โดยนัยดั่งกล่าวมา โบราณจึงแปลว่า "เนื้อเป็นฝักแห่งหทัย" ก็มี.
หมวดธาตุ
ภู (อ)
ที่มา
ธป
Comments