ธรรมวิภาค และบาลีพระไตรปิฎก

หมวด 2 | หมวด 3 | หมวด 4 | หมวด 5 | หมวด 6 | หมวด 7 | หมวด 8 | หมวด 9 | หมวด 10 | ปกิณณกะ 

ทุกะ หมวด 2

ติกะ หมวด 3

จตุกกะ หมวด 4

ปัญจกะ หมวด 5

ฉักกะ หมวด 6

สัตตกะ หมวด 7

อัฏฐกะ หมวด 8

นวกะ หมวด 9

ทสกะ หมวด 10

ปกิณณกะ หมวดเบ็ดเตล็ด

 

ทุกะ หมวด 2

ธรรมมีอุปการะมาก  2 อย่าง

  1. สติ ความระลึกได้.
  2. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว.

กตเม เทฺว ธมฺมา พหุการา. 
(1) สติ จ  (2) สมฺปชญฺญญฺจ. 
อิเม เทฺว ธมฺมา พหุการา.

ธรรม 2 อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน.
คือ (1) สติ และ (2) สัมปชัญญะ.
ธรรม 2 อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก.
(องฺ. ทุก. 20/119. ที. ปาฏิ. 11/290)


 

ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก  2 อย่าง

  1. หิริ ความละอายแก่ใจ.
  2. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว.

เทฺวเม ภิกฺขเว สุกฺกา ธมฺมา โลกํ ปาเลนฺติ.
กตเม เทฺว.  (1) หิรี จ  (2) โอตฺตปฺปญฺจ.
อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว สุกฺกา ธมฺมา โลกํ น ปาเลยฺยย, นยิธ ปญฺญาเยถ มาตาติ วา มาตุจฺฉาติ วา มาตุลานีติ วา อาจริยภริยาติ วา ครูนํ ทาราติ วา
สมฺเภทํ โลโก อคมิสฺส. ยถา อเชฬกา กุกฺกุฏสูกรา โสณสิคาลา.
ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อิเม เทฺว สุกฺกา ธมฺมา โลกํ ปาเลนฺติ,
ตสฺมา ปญฺญายติ มาตาติ วา มาตุจฺฉาติ วา มาตุลานีติ วา อาจริยภริยาติ วา ครูนํ ทาราติ วาติ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว 2 อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก. 2 อย่างเป็นไฉน. คือ
(1) หิริ และ (2) โอตตัปปะ.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว 2 อย่างนี้แล.
ถ้าธรรมฝ่ายขาว 2 อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู
โลกจักถึงความสำส่อนกัน เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหมู พวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมฝ่ายขาว 2 อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่.
(องฺ. ทุก. 20/65. ขุ. อิติ. 25/257)


 

ธรรมอันทำให้งาม 2 อย่าง

  1. ขันติ ความอดทน.
  2. โสรัจจะ ความเสงี่ยม.

เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา.  กตเม เทฺว. 
(1) ขนฺติ จ  (2) โสรจฺจํ จ.
อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว ธมฺมาติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้.  2 อย่างเป็นไฉน คือ  ขันติ และ โสรัจจะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้แล.
(องฺ. ทุก. 20/118. วิ. มหา. 5/335)


 

บุคคลหาได้ยาก 2 อย่าง
ปุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน.
กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และ ตอบแทน.

เทฺวเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ทุลฺลภา โลกสฺมึ. กตเม เทฺว. 
(1) โย จ ปุพฺพการี  (2) โย จ กตญฺญู กตเวที.
อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว ปุคฺคลา ทุลฺลภา โลกสฺมินฺติ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 2 จำพวกนี้หาได้ยากในโลก.  2 จำพวกเป็นไฉน. คือ
(1) บุพพการีบุคคล และ (2) กตัญญูกตเวทีบุคคล.
ภิกษุทั้งหลายบุคคล 2 จำพวกนี้แลหาได้ ยากในโลก.
(องฺ ทุก. 20/109)

 

ติกะ หมวด 3

รตนะ 3 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์.

  1. ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่าพระพุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า.
  2. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อพระธรรม.
  3. หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อพระสงฆ์.

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งที่ระลึก.
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรม เป็นที่พึ่งที่ระลึก.
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก.
(ขุ. ขุ. 25/1)


 

คุณของรตนะ 3 อย่าง

  1. พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย.
  2. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว.
  3. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย.

(1) สมฺมา สามํ พุชฺฌตีติ สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
(2) อปาเยสฺวปตมาเน อธิคตมคฺคาทิเก สตฺเต ธาเรตีติ ธมฺโม.
(3) สุปฏิปนฺโน … อุชุปฏิปนฺโน … ญายปฏิปนฺโน … สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ.

(1) ชื่อว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง
(2) ชื่อว่า พระธรรม เพราะรักษาผู้ได้บรรลุมรรคผลเป็นต้น ไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย
(3) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง ปฏิบัติสมควรแก่สามีจิกรรม
(ที. มหา. 10/89 เฉพาะข้อ 3)


 

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง

  1. ทรงสั่งสอน เพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น.
  2. ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้.
  3. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ.

(1) อภิญฺญายาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญาย.
(2) สนิทานาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อนิทานํ.
(3) สปฺปาฏิหาริยาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อปฺปาฏิหาริยํ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้ว ไม่แสดงธรรม.
(2) ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ.
(3) ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์.

(องฺ. ติก. 20/356)


 

โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง

  1. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ.
  2. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ.
  3. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น.

(1) สพฺพปาปสฺส อกรณํ     (2) กุสลสฺสูปสมฺปทา
(3) สจิตฺตปริโยทปนํ     เอตํ พุทฺธานสาสนํ.

(1) การไม่ทำบาปทั้งปวง  (2) การทำกุศลให้ถึงพร้อม  (3) การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
(ที. มหา. 10/57)


 

ทุจริต 3 อย่าง
ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียกกายทุจริต.
ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียกวจีทุจริต.
ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกมโนทุจริต.

กายทุจริต 3 อย่าง: ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม.
วจีทุจริต 4 อย่าง: พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
มโนทุจริต 3 อย่าง: โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม.
ทุจริต 3 อย่างนี้ เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย.

ทสหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ปุคฺคโล น เสวิตพฺโพ.  กตเมหิ ทสหิ.
(1) ปาณาติปาตี โหติ  (2) อทินฺนาทายี โหติ  (3) กาเมสุ มิจฺฉาจารี โหติ.
(4) มุสาวาที โหติ  (5) ปิสุณวาโจ โหติ   (6) ผรุสวาโจ โหติ   (7) สมฺผปฺปลาปี โหติ.
(8) อภิชฺฌาลุ โหติ   (9) พฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ  (10) มิจฺฉาทิฏฺฐิโก โหติ.
อิเมหิ โข ภิกฺขเว ทสหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ปุคฺคโล น เสวิตพฺโพ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการไม่ควรเสพ
ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลเป็นผู้ (1) ฆ่าสัตว์  (2) ลักทรัพย์  (3) ประพฤติผิดในกาม
(4) พูดเท็จ  (5) พูดส่อเสียด  (6) พูดหยาบ  (7) พูดเพ้อเจ้อ
(8) มีความอยากได้ของผู้อื่น  (9) มีจิตปองร้าย  (10) มีความเห็นผิด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ไม่ควรเสพ.
(องฺ. ทสก. 24/188)


 

สุจริต 3 อย่าง
ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกกายสุจริต.
ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต.
ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต.

กายสุจริต 3 อย่าง: เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
วจีสุจริต 4 อย่าง: เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ.
มโนสุจริต 3 อย่าง: ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม.
สุจริต 3 อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ.

ทสหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ปุคฺคโล เสวิตพฺโพ. กตเมหิ ทสหิ.
(1) ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ  (2) อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ  (3) กาเมสุ มิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ  
(4) มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ  (5) ปิสุณาย วาจาย ปฏิวิรโต โหติ  (6) ผรุสาย วาจาย ปฏิวิรโต โหติ  (7) สมฺผปฺปลาปา ปฏิวิรโต โหติ
(8) อนภิชฺฌาลุ โหติ  (9) อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ  (10) สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ
อิเมหิ โข ภิกฺขเว ทสหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต เสวิตพฺโพติ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการควรเสพ
ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลเป็นผู้ (1) งดเว้นจากการฆ่าสัตว์  (2) จากการลักทรัพย์  (3) จากการประพฤติผิดในกาม
(4) จากการพูดเท็จ  (5) จากการพูดส่อเสียด  (6) จากการพูดหยาบ  (7) จากการพูดเพ้อเจ้อ
(8) ไม่ความอยากได้ของผู้อื่น  (9) มีจิตไม่คิดปองร้าย  (10) มีความเห็นชอบ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ควรเสพ.
(องฺ. ทสก. 24/188)


 

อกุศลมูล 3 อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี 3 อย่าง คือ
โลภะ อยากได้  โทสะ คิดประทุษร้ายเขา  โมหะ หลงไม่รู้จริง.
เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ มีอยู่  อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย.

กตเม ตโย ธมุมา หานภาคิยา.
ตีณิ อกุสลมูลานิ  (1) โลโภ อกุสลมูลํ  (2) โทโส อกุสลมูลํ  (3) โมโห อกุสลมูลํ.
อิเม ตโย ธมฺมา หานภาคิยา.

ธรรม 3 อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน
คือ อกุศลมูล 3 ได้แก่  (1) อกุศลมูลคือโลภะ  (2) อกุศลมูลคือโทสะ  (3) อกุศลมูลคือโมหะ.
ธรรม 3 อย่าง เหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
(ที. ปาฏิ. 11/393. ขุ. อิติ. 25/264)


 

กุศลมูล 3 อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล  มี 3 อย่าง คือ
อโลภะ ไม่อยากได้  อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา  อโมหะ ไม่หลง
ถ้ากุศลมูลเหล่านี้ มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน.

กตเม ตโย ธมฺมา วิเสสภาคิยา.
ตีณิ กุสลมูลานิ  (1) อโลโภ กุสลมูลํ  (2) อโทโส กุสลมูลํ  (3) อโมโห กุสลมูลํ.
อิเม ตโย ธมฺมา วิเสสภาคิยา.

ธรรม 3 ที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน
คือกุศลมูล 3 อย่าง ได้แก่  (1) กุศลมูลคืออโลภะ  (2) กุศลมูลคืออโทสะ  (3) กุศลมูลคืออโมหะ
ธรรม 3 อย่าง เหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเจริญ.
(ที. ปาฏิ. 11/394)


 

สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้  3 อย่าง

  1. ทาน สละสิ่งของของตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น.
  2. ปัพพัชชา คือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน.
  3. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข.

ตีณีมานิ ภิกฺขเว ปณฺฑิตปญฺญตฺตานิ สปฺปุริสปญฺญตฺตานิ.  กตมานิ ตีณิ.
(1) ทานํ ภิกฺขเว ปณฺฑิตปญฺญตฺตํ สปฺปุริสปญฺญตฺตํ
(2) ปพฺพชฺชา ภิกฺขเว ปณฺฑิตปญฺญตฺตา สปฺปุริสปญฺญตฺตา
(3) มาตาปิตุนฺนํ ภิกฺขเว อุปฏฺฐานํ ปณฺฑิตปญฺญตฺตํ สปฺปุริสปญฺญตฺตํ
อิมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ ปณฺฑิตปญฺญตฺตานิ สปฺปุริสปญฺญตฺตานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ บัณฑิตได้บัญญัติไว้ สัตบุรุษได้บัญญัติไว้.
ธรรม 3 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ทาน การให้ (2) บรรพชา การบวช  (3) มาตาปิตุอุปัฏฐาน การเลี้ยงดูบิดามารดา
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้.
(องฺ. ติก. 20/191)


 

อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติไม่ผิด 3 อย่าง

  1. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ.
  2. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย.
  3. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก.

ตีหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อปณฺณกปฏิปทํ ปฏิปนฺโน โหติ, โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ อาสวานํ ขยาย.
กตเมหิ ตีหิ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ (1) อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โหติ  (2) โภชเน มตฺตญฺญู โหติ  (3) ชาคริยํ อนุยุตฺโต โหติ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
ธรรม 3 ประการเป็นไฉน.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (1) เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (2) เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ (3) เป็นผู้ประกอบความเพียร.
(องฺ. ติก. 20/142)


 

บุญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี 3 อย่าง

  1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน.
  2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล.
  3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.

ตีณิ ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ.
(1) ทานมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ  (2) สีลมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ  (3) ภาวนามยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ.

ปุญญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง
(1) ทานมัย  (2) สีลมัย  (3)  ภาวนามัย.
(ขุ. อิติ. 25/270. องฺ. อฏฺฐก. 23/145)


 

สามัญญลักษณะ 3 อย่าง
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น 3 อย่าง

  1. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง.
  2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์.
  3. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน.

(1) รูปํ ภิกฺขเว อนิจฺจํ,  (2) ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ,  (3) ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา,
ยทนตฺตา ตํ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ, น เมโส อตฺตาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ.

ภิกษุทั้งหลาย  (1) รูปไม่เที่ยง,  (2) สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,  (3) สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.
(สํ. สฬ. 18/1)

 

จตุกกะ หมวด 4

วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ [แห่งปัญญา] 4 อย่าง

  1. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ.
  2. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ.
  3. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ.
  4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว.

จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ธมฺมา ปญฺญาวุฑฺฒิยา สํวตฺตนฺติ. กตเม จตฺตาโร.
(1) สปฺปุริสสํเสโว  (2) สทฺธมฺมสฺสวนํ  (3) โยนิโสมนสิกาโร  (4) ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ.
อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร ธมฺมา ปญฺญาวุฑฺฒิยา สํวตฺตนฺตีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.
ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
(1) การคบสัตบุรุษ  (2) ฟังคำสั่งสอนของท่าน  (3) ทำไว้ในใจโดยแยบคาย  (4) ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.
(องฺ. จตุกฺก. 21/332)


 

จักร 4

  1. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร.
  2. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ.
  3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ.
  4. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน.

ธรรม 4 อย่างนี้ ดุจล้อรถนำไปสู่[ความเป็นใหญ่ และ]ความเจริญ[แห่งโภคะ].

จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ, เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ จตุจกฺกํ ปวตฺตติ, เยหิ สมนฺนาคตา เทวมนุสฺสา นจิรสฺเสว มหนฺตตฺตํ เวปุลฺลตฺตํ ปาปุณนฺติ โภเคสุ.
กตมานิ จตฺตาริ  (1) ปฏิรูปเทสวาโส  (2) สปฺปุริสูปสฺสโย  (3) อตฺตสมฺมาปณิธิ  (4) ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา.
อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ จกฺกานิ, เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ จตุจกฺกํ ปวตฺตติ, เยหิ สมนฺนาคตา เทวมนุสฺสา นจิรสฺเสว มหนฺตตฺตํ เวปุลฺลตฺตํ ปาปุณนฺติ โภเคสูติ.

ภิกษุทั้งหลาย จักร 4 ประการนี้ เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ) ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก.
จักร 4 ประการเป็นไฉน คือ (1) ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ  (2) สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ  (3) อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ  (4) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักร 4 ประการนี้แล เป็นเครื่องเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบ เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ) ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก.
(องฺ. จตุกฺก. 21/40)


 


อคติ 4

  1. ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ.
  2. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ.
  3. ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ.
  4. ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ.

อคติ 4 ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ.

จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อคติคมนานิ.  กตมานิ จตฺตาริ.
(1) ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ  (2) โทสาคตึ คจฺฉติ  (3) โมหาคตึ คจฺฉติ  (4) ภยาคตึ คจฺฉติ.
อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อคติคมนานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ 4 ประการนี้. อคติ 4 ประการเป็นไฉน.
บุคคล (1) ย่อมถึงฉันทาคติ  (2) ย่อมถึงโทสาคติ  (3) ย่อมถึงโมหาคติ  (4) ย่อมถึงภยาคติ.
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ 4 ประการนี้แล.
(องฺ. จตุกฺก. 21/23)


 

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 อย่าง

  1. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม.
  2. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้.
  3. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป.
  4. รักผู้หญิง

ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน ควรระวังอย่าให้อันตราย 4 อย่างนี้ย่ำยีได้.

จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ภยานิ อุทโกโรหนฺตสฺส ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ.
กตมานิ จตฺตาริ.  (1) อูมิภยํ  (2) กุมฺภีลภยํ  (3) อาวฏฺฏภยํ  (4) สุสุกาภยํ.
อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ ภยานิ อุทโกโรหนฺตสฺส ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ.
เอวเมว โข ภิกฺขเว จตฺตารีมานิ ภยานิ อิเธกจฺจสฺส กุลปุตฺตสฺส อิมสฺมึ ธมฺมวินเย สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ.
กตมานิ จตฺตาริ. (1) อูมิภยํ  (2) กุมฺภีลภยํ  (3) อาวฏฺฏภยํ  (4) สุสุกาภยํ.

ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้ คนผู้ลงน้ำจะพึงหวังได้. 
4 ประการ เป็นไฉน คือ
(1) ภัยคือคลื่น  (2) ภัยคือจระเข้  (3) ภัยคือน้ำวน  (4) ภัยคือปลาฉลาม.
ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้แล คนผู้ลงน้ำพึงหวังได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
4 ประการเป็นไฉน คือ
(1) ภัยคือคลื่น  (2) ภัยคือจระเข้  (3) ภัยคือน้ำวน  (4) ภัยคือปลาฉลาม.

[(1) ภัยคือคลื่น เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ  (2) ภัยคือจระเข้ เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง
(3) ภัยคือน้ำวน เป็นชื่อของกามคุณ 5   (4) ภัยคือปลาฉลาม เป็นชื่อของมาตุคาม (ผู้หญิง)]

กตมญฺจ ภิกฺขเว อูมิภยํ.
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ "โอติณฺโณมฺหิ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ทุกฺโขติณฺโณ ทุกฺขปเรโต อปฺเปวนาม อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ
ตเมนํ ตถาปพฺพชิตํ สมานํ สพฺรหฺมจารี โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ "เอวนฺเต อภิกฺกมิตพฺพํ, เอวนฺเต ปฏิกฺกมิตพฺพํ, เอวนฺเต อาโลเกตพฺพํ, เอวนฺเต วิโลเกตพฺพํ, เอวนฺเต สมฺมิญฺชิตพฺพํ, เอวนฺเต ปสาเรตพฺพํ, เอวนฺเต สงฺฆาฏิปตฺตจีวรํ ธาเรตพฺพนฺติ
ตสฺส เอวํ โหติ "มยํ โข ปุพฺเพ อคาริยภูตา สมานา อญฺเญ โอวทามปิ อนุสาสามปิ, อิเม ปน อมฺหากํ ปุตฺตมตฺตา มญฺเญ นตฺตมตฺตา มญฺเญ โอวทิตพฺพํ อนุสาสิตพฺพํ มญฺญนฺตีติ
โส กุปิโต อนตฺตมโน สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺตติ.
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อูมิภยสฺส ภีโต สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺโต.
"อูมิภยนฺติ โข ภิกฺขเว โกธูปายาสสฺเสตํ อธิวจนํ.  อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อูมิภยํ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือคลื่นเป็นไฉน.
กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า "เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ"
เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารีตักเตือนสั่งสอนว่า "ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้พึงแลดูอย่างนี้ พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้"
เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า "เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์มีแต่จะตักเตือนสั่งสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้คราวหลานของเรา สำคัญเราว่าควรตักเตือนสั่งสอน"
เธอโกรธเคืองแค้นใจ บอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้กลัวต่อภัยคือคลื่น บอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยคือคลื่นนี้ เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ. นี้เรียกว่าภัยคือคลื่น.

กตมญฺจ ภิกฺขเว กุมฺภีลภยํ.
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ "โอติณฺโณมฺหิ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ทุกฺโขติณฺโณ ทุกฺขปเรโต อปฺเปวนาม อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ.
ตเมนํ ตถาปพฺพชิตํ สมานํ สพฺรหฺมจารี โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ "อิทนฺเต ขาทิตพฺพํ, อิทนฺเต น ขาทิตพฺพํ, อิทนฺเต ภุญฺชิตพฺพํ, อิทนฺเต น ภุญฺชิตพฺพํ, อิทนฺเต สายิตพฺพํ, อิทนฺเต น สายิตพฺพํ, อิทนฺเต ปาตพฺพํ, อิทนฺเต น ปาตพฺพํ, กปฺปิยนฺเต ขาทิตพฺพํ, อกปฺปิยนฺเต น ขาทิตพฺพํ, กปฺปิยนฺเต ภุญฺชิตพฺพํ, อกปฺปิยนฺเต น ภุญฺชิตพฺพํ, กปฺปิยนฺเต สายิตพฺพํ, อกปฺปิยนฺเต น สายิตพฺพํ, กปฺปิยนฺเต ปาตพฺพํ, อกปฺปิยนฺเต น ปาตพฺพํ, กาเล เต ขาทิตพฺพํ, วิกาเล เต น ขาทิตพฺพํ, กาเล เต ภุญฺชิตพฺพํ, วิกาเล เต น ภุญฺชิตพฺพํ, กาเล เต สายิตพฺพํ, วิกาเล เต น สายิตพฺพํ, กาเล เต ปาตพฺพํ, วิกาเล เต น ปาตพฺพนฺติ.
ตสฺส เอวํ โหติ "มยํ โข ปุพฺเพ อคาริยภูตา สมานา ยํ อิจฺฉาม ตํ ขาทาม, ยํ น อิจฺฉาม น ตํ ขาทาม, ยํ อิจฺฉาม ตํ ภุญฺชาม, ยํ น อิจฺฉาม น ตํ ภุญฺชาม, ยํ อิจฺฉาม ตํ สายาม, ยํ น อิจฺฉาม น ตํ สายาม, ยํ อิจฺฉาม ตํ ปิวาม, ยํ น อิจฺฉาม น ตํ ปิวาม, กปฺปิยํปิ ขาทาม อกปฺปิยํปิ ขาทาม, กปฺปิยํปิ ภุญฺชาม อกปฺปิยํปิ ภุญฺชาม, กปฺปิยํปิ สายาม อกปฺปิยํปิ สายาม, กปฺปิยํปิ ปิวาม อกปฺปิยํปิ ปิวาม, กาเลปิ ขาทาม วิกาเลปิ ขาทาม, กาเลปิ ภุญฺชาม วิกาเลปิ ภุญฺชาม, กาเลปิ สายาม วิกาเลปิ สายาม, กาเลปิ ปิวาม วิกาเลปิ ปิวาม, ยํปิ โน สทฺธา คหปติกา ทิวา วิกาเล ปณีตํ ขาทนียํ วา โภชนียํ วา เทนฺติ ตตฺราปีเม มุขาวรณํ มญฺเญ กโรนฺตีติ.
โส กุปิโต อนตฺตมโน สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺตติ.
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กุมฺภีลภยสฺส ภีโต สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺโต.
"กุมฺภีลภยนฺติ โข ภิกฺขเว โอทริกตฺตสฺเสตํ อธิวจนํ.  อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กุมฺภีลภยํ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือจระเข้เป็นไฉน.
กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า "เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ"
เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารีตักเตือนสั่งสอนว่า "สิ่งนี้เธอควรเคี้ยว สิ่งนี้ไม่ควรเคี้ยว, สิ่งนี้ควรบริโภค สิ่งนี้ไม่ควรบริโภค, สิ่งนี้ควรลิ้ม สิ่งนี้ไม่ควรลิ้ม, สิ่งนี้ควรดื่ม สิ่งนี้ไม่ควรดื่ม, ของเป็นกัปปิยะเธอควรเคี้ยว ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรเคี้ยว, ของเป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค, ของเป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม ของเป็นอกัปปิยะ เธอไม่ควรลิ้ม, ของเป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม, เธอควรเคี้ยวในกาล เธอไม่ควรเคี้ยวในวิกาล, เธอควรบริโภคในกาล เธอไม่ควรบริโภคในวิกาล, เธอควรลิ้มในกาล เธอไม่ควรลิ้มในวิกาล, เธอควรดื่มในกาล เธอไม่ควรดื่มในวิกาล"
เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า "เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาสิ่งใดก็เคี้ยวสิ่งนั้น, ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่เคี้ยวสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใดก็บริโภคสิ่งนั้น, ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่บริโภคสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใดก็ลิ้มสิ่งนั้น, ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใดก็ดื่มสิ่งนั้น, ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ดื่มสิ่งนั้น, ย่อมเคี้ยวสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง, ย่อมบริโภคสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่ไม่เป็นอกัปปิยะบ้าง, ย่อมลิ้มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง, ย่อมดื่มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง, ย่อมเคี้ยวในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง, ย่อมบริโภคในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง, ย่อมลิ้มในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง, ย่อมดื่มในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง,  คฤหบดีผู้มีศรัทธาย่อมถวายของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคแม้ใด อันประณีต ในกลางวัน ในเวลาวิกาลแก่เราทั้งหลายภิกษุเหล่านี้ ย่อมกระทำเสมือนหนึ่งปิดปากแม้ในของเหล่านั้น"
เธอโกรธเคืองแค้นใจ บอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยคือจระเข้นี้แล เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง.  นี้เรียกว่าภัยคือจระเข้.

กตมญฺจ ภิกฺขเว อาวฏฺฏภยํ.
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ "โอติณฺโณมฺหิ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ทุกฺโขติณฺโณ ทุกฺขปเรโต อปฺเปวนาม อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ.
โส เอวํ ปพฺพชิโต สมาโน ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย ปาวิสิ อรกฺขิเตเนว กาเยน อรกฺขิตาย วาจาย อรกฺขิเตน จิตฺเตน อนุปฏฺฐิตาย สติยา อสํวุเตหิ อินฺทฺริเยหิ โส ตตฺถ ปสฺสติ คหปตึ วา คหปติปุตฺตํ วา ปญฺจหิ กามคุเณหิ สมปฺปิตํ สมงฺคิภูตํ ปริจารยมานํ
ตสฺส เอวํ โหติ "มยํ โข ปุพฺเพ อคาริยภูตา สมานา ปญฺจหิ กามคุเณหิ สมปฺปิตา สมงฺคิภูตา ปริจารยิมฺหา, สํวิชฺชนฺเต โข ปน เม กุเล โภคา สกฺกา โภเค จ ภุญฺชิตุํ ปุญฺญานิ จ กาตุํ, ยนฺนูนาหํ สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺติตฺวา โภเค จ ภุญฺเชยฺยํ ปุญฺญานิ จ กเรยฺยนฺติ.
โส สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺตติ.
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อาวฏฺฏภยสฺส ภีโต สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺโต.
"อาวฏฺฏภยนฺติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺนํ กามคุณานํ อธิวจนํ.   อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อาวฏฺฏภยํ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือน้ำวนเป็นไฉน.
กุลบุตรบางคนในโลกนี้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ"
เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคฤหบดีในบ้านหรือนิคมนั้นเพียบพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5
เธอคิดอย่างนี้ว่า "เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์เพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5, ก็โภคสมบัติในสกุลของเรามีพร้อม เราอาจเพื่อจะบริโภคโภคะทั้งหลายและทำบุญได้ ถ้ากระไรเราพึงบอกคืนสิกขาลาเพศ แล้วบริโภคโภคะทั้งหลายและทำบุญเถิด"
เธอย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือน้ำวน บอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยคือน้ำวนนี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5.  นี้เรียกว่า ภัยคือน้ำวน.

กตมญฺจ ภิกฺขเว สุสุกาภยํ.
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ "โอติณฺโณมฺหิ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ ทุกฺโขติณฺโณ ทุกฺขปเรโต อปฺเปวนาม อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ.
โส เอวํ ปพฺพชิโต สมาโน ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย ปาวิสิ อรกฺขิเตเนว กาเยน อรกฺขิตาย วาจาย อรกฺขิเตน จิตฺเตน อนุปฏฺฐิตาย สติยา อสํวุเตหิ อินฺทฺริเยหิ
โส ตตฺถ ปสฺสติ มาตุคามํ ทุนฺนิวตฺถํ วา ทุปฺปารุตํ วา ตสฺส มาตุคามํ ทิสฺวา ทุนฺนิวตฺถํ วา ทุปฺปารุตํ วา ราโค จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ.
โส ราคานุทฺธํเสน จิตฺเตน สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺตติ.
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุสุกาภยสฺส ภีโต สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย หีนายาวตฺโต.
"สุสุกาภยนฺติ โข ภิกฺขเว มาตุคามสฺเสตํ อธิวจนํ. อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สุสุกาภยํ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือปลาฉลามเป็นไฉน.
กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.
เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามในบ้านหรือนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะย่อมรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตอันราคะรบกวน ย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุนี้เรียกว่ากลัวต่อภัยคือปลาฉลาม บอกคืนสิกขาลาเพศ.
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือปลาฉลามนี้เป็นชื่อของมาตุคาม.  นี้เรียกว่า ภัยคือปลาฉลาม.

อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ ภยานิ อิเธกจฺจสฺส กุลปุตฺตสฺส อิมสฺมึ ธมฺมวินเย สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต ปาฏิกงฺขิตพฺพานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้แล กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้ จะพึงหวังได้.
(องฺ. จตุกฺก. 21/165)


 

ปธาน คือความเพียร 4 อย่าง

  1. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน.
  2. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.
  3. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน.
  4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม.

ความเพียร 4 อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบ ควรประกอบให้มีในตน.

จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ปธานานิ.  กตมานิ จตฺตาริ.
(1) สํวรปฺปธานํ  (2) ปหานปฺปธานํ  (3) ภาวนาปฺปธานํ  (4) อนุรกฺขนาปฺปธานํ.

กตมญฺจ ภิกฺขเว สํวรปฺปธานํ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหี ยตฺวาธิกรณเมนํ จกฺขุนฺทฺริยํ อสํวุตํ วิหรนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา อนฺวาสฺสเวยฺยุํ ตสฺส สํวราย ปฏิปชฺชติ รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริยํ จกฺขุนฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ โสเตน สทฺทํ สุตฺวา … ฆาเนน คนฺธํ ฆายิตฺวา … ชิวฺหาย รสํ สายิตฺวา … กาเยน โผฏฺฐพฺพํ ผุสิตฺวา … มนสา ธมฺมํ  วิญฺญาย น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหี ยตฺวาธิกรณเมนํ มนินฺทฺริยํ อสํวุตํ วิหรนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา อนฺวาสฺสเวยฺยุํ ตสฺส สํวราย ปฏิปชฺชติ รกฺขติ มนินฺทฺริยํ มนินฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ.  อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สํวรปฺปธานํ.

กตมญฺจ ภิกฺขเว ปหานปฺปธานํ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ ปชหติ วิโนเทติ พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ คเมติ อุปฺปนฺนํ พฺยาปาทวิตกฺกํ … อุปฺปนฺนํ วิหึสาวิตกฺกํ … อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม นาธิวาเสติ ปชหติ วิโนเทติ พฺยนฺตีกโรติ อนภาวํ คเมติ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปหานปฺปธานํ.

กตมญฺจ ภิกฺขเว ภาวนาปฺปธานํ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามึ ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ … วิริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ … ปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ … ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ … สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ … อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามึ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภาวนาปฺปธานํ.

กตมญฺจ ภิกฺขเว อนุรกฺขนาปฺปธานํ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อุปฺปนฺนํ ภทฺทกํ สมาธินิมิตฺตํ อนุรกฺขติ อฏฺฐิกสญฺญํ ปุฬวกสญฺญํ วินีลกสญฺญํ วิปุพฺพกสญฺญํ วิจฺฉิทฺทกสญฺญํ อุทฺธุมาตกสญฺญํ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อนุรกฺขนาปฺปธานํ.

อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ ปธานานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ความเพียร 4 ประการนี้. 4 ประการนี้เป็นไฉน คือ
(1) สังวรปธาน  (2) ปหานปธาน  (3) ภาวนาปธาน  (4) อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู… ดมกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น …ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย… รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เราเรียกว่าสังวรปธาน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี  ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว … ซึ่งพยาบาทวิตกเกิดขึ้นแล้ว … ซึ่งวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแล้ว … ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่าปหานปธาน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ นี้เราเรียกว่าภาวนาปธาน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญาวิจฉิทกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เราเรียกว่าอนุรักขนาปธาน.

ภิกษุทั้งหลายความเพียร 4 ประการนี้แล.
(องฺ. จตุกฺก. 21/20.)


 

อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ 4 อย่าง

  1. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้.
  2. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง.
  3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ.
  4. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบ.

จตุราธิฏฺฐาโน  … ปญฺญาธิฏฺฐาโน สจฺจาธิฏฺฐาโน จาคาธิฏฺฐาโน อุปสมาธิฏฺฐาโน.

บุคคลมีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ 4 … 
(1) มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ (2) มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ (3) มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ (4) มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ.
(ม. อุป. 14/437)


 

อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ 4 อย่าง

  1. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น.
  2. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น.
  3. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ.
  4. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น.

คุณ 4 อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย.

จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อิธ ภิกฺขุ
(1) ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ ภาเวติ  (2) วิริยสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ ภาเวติ 
(3) จิตฺตสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ ภาเวติ  (4) วีมํสาสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ ภาเวติ.

อิทธิบาท 4 คือ ภิกษุในศาสนานี้
(1) เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร  (2) เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
(3) เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร  (4) เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
(อภิ. วิภงฺค. 35/292)



 

ควรทำความไม่ประมาทในที่ 4 สถาน

  1. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต.
  2. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต.
  3. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต.
  4. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก.

อีกอย่างหนึ่ง

  1. ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
  2. ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง.
  3. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง.
  4. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา.

จตูหิ ภิกฺขเว ฐาเนหิ อปฺปมาโท กรณีโย. กตเมหิ จตูหิ.
กายทุจฺจริตํ ภิกฺขเว ปชหถ กายสุจริตํ ภาเวถ ตตฺถ จ มา ปมาทตฺถ.
วจีทุจฺจริตํ ภิกฺขเว ปชหถ วจีสุจริตํ ภาเวถ ตตฺถ จ มา ปมาทตฺถ.
มโนทุจฺจริตํ ภิกฺขเว ปชหถ มโนสุจริตํ ภาเวถ ตตฺถ จ มา ปมาทตฺถ.
มิจฺฉาทิฏฺฐึ ภิกฺขเว ปชหถ สมฺมาทิฏฺฐึ ภาเวถ ตตฺถ จ มา ปมาทตฺถ.
ยโต โข ภิกฺขเว ภิกฺขุโน กายทุจฺจริตํ ปหีนํ โหติ กายสุจริตํ ภาวิตํ วจีทุจฺจริตํ ปหีนํ โหติ วจีสุจริตํ ภาวิตํ มโนทุจฺจริตํ ปหีนํ โหติ มโนสุจริตํ ภาวิตํ มิจฺฉาทิฏฺฐิ ปหีนา โหติ สมฺมาทิฏฺฐิ ภาวิตา โส น ภายติ สมฺปรายิกสฺส มรณสฺสาติ.

ภิกษุทั้งหลาย ควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ 4 ประการ.  4 ประการเป็นไฉน.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกายทุจริต จงเจริญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละกายทุจริตและการเจริญกายสุจริตนั้น
จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละวจีทุจริตและการเจริญวจีสุจริตนั้น
จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และอย่าประมาทในการละมโนทุจริตและการเจริญมโนสุจริตนั้น
จงละมิจฉาทิฐิ จงเจริญสัมมาทิฐิ และอย่าประมาทในการละมิจฉาทิฐิและการเจริญสัมมาทิฐินั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฐิ เจริญสัมมาทิฐิได้แล้ว
ในกาลนั้น เธอย่อมไม่กลัวต่อความตาย อันจะมีในภายหน้า.

จตูสุ ภิกฺขเว ฐาเนสุ อตฺตรูเปน อปฺปมาโท สติเจตโสอารกฺโข กรณีโย.  กตเมสุ จตูสุ.
มา เม รชนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ รชฺชีติ อตฺตรูเปน อปฺปมาโท สติเจตโสอารกฺโข กรณีโย.
มา เม โทสนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ ทุสฺสีติ อตฺตรูเปน อปฺปมาโท สติเจตโสอารกฺโข กรณีโย.
มา เม โมหนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ มุยฺหีติ อตฺตรูเปน อปฺปมาโท สติเจตโสอารกฺโข กรณีโย.
มา เม มทนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ มชฺชีติ อตฺตรูเปน อปฺปมาโท สติเจตโสอารกฺโข กรณีโย.
ยโต โข ภิกฺขเว ภิกฺขุโน รชนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ น รชฺชติ วีตราคตฺตา
โทสนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ น ทุสฺสติ วีตโทสตฺตา
โมหนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ น มุยฺหติ วีตโมหตฺตา
มทนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ น มชฺชติ วีตมทตฺตา
โส นจฺฉมฺภติ น กมฺปติ น เวธติ น สนฺตาสํ อาปชฺชติ  น จ ปน สมณวจนเหตุปิ คจฺฉตีติ.


ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงกระทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่ตน ในฐานะ 4 ประการ. 4 ประการเป็นไฉน. คือ
ภิกษุพึงกระทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่ตนว่า
จิตของเราอย่ากำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
จิตของเราอย่าขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
จิตของเราอย่าหลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
จิตของเราอย่ามัวเมาในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเพราะปราศจากความกำหนัด
จิตของภิกษุไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เพราะปราศจากความขัดเคือง
จิตของภิกษุไม่หลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เพราะปราศจากความหลง
จิตของภิกษุไม่มัวเมาในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เพราะปราศจากความมัวเมา
ในกาลนั้น เธอย่อมไม่หวาดเสียวไม่หวั่นไม่ไหว ไม่ถึงความสะดุ้ง และย่อมไม่ไปแม้เพราะเหตุแห่งถ้อยคำของสมณะ.
(องฺ. จตุกฺก. 21/161)


 

ปาริสุทธิศีล 4

  1. ปาติโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต.
  2. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏัฐพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ.
  3. ปาชีวปาริสุทธิ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต.
  4. ปัจจยปัจจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา.

ยํ ภควตา. อิธ ภิกฺขุ
(1) ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ เอวํ วุตฺตํ สีลมิทํ ปาฏิโมกฺขสํวรสีลํ นาม.
(2) ยํ ปน โส จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหี ยตฺวาธิกรณเมนํ จกฺขุนฺทฺริยํ อสํวุตํ วิหรนฺตํ  อภิชฺฌาโทมนสฺสา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา อนฺวาสฺสเวยฺยุํ ตสฺส สํวราย ปฏิปชฺชติ รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริยํ จกฺขุนฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ. โสเตน สทฺทํ สุตฺวา … ฆาเนน คนฺธํ ฆายิตฺวา … ชิวฺหาย  รสํ สายิตฺวา … กฺาเยน โผฏฺฐพฺพํ ผุสิตฺวา … มนสา ธมฺมํ วิญฺญาย น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ … มนินฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชตีติ วุตฺตํ อิทํ อินฺทฺริยสํวรสีลํ นาม.
(3) ยา ปน อาชีวเหตุ อาชีวการณา ปญฺญตฺตานํ ฉนฺนํ สิกฺขาปทานํ วีติกฺกมสฺส กุหนา ลปนา เนมิตฺติกตา นิปฺเปสิกตา ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตาติ เอวมาทีนญฺจ ปาปธมฺมานํ วเสน ปวตฺตา มิจฺฉาชีวา วิรติ อิทํ อาชีวปาริสุทฺธิสีลํ นาม.
(4) ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฏิเสวติ ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตายาติอาทินา นเยน วุตฺโต ปฏิสงฺขานปริสุทฺโธ จตุปจฺจยปริโภโค อิทํ ปจฺจยสนฺนิสฺสิตสีลํ นาม.

(1) ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ภิกษุใดในศาสนานี้เป็นผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษมาตรว่าเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย” ดังนี้  ศีลนี้ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล.
(2) ส่วนศีลใดที่ตรัสไว้ว่า "ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอานิมิต ไม่ถือเอาอนุพยัญชนะ อภิชฌาโทมนัสทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปเป็นกุศล จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะเหตุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อันใด ย่อมปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์  เธอฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว … ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว … ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว … ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว … รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว ไม่ถือเอานิมิต ไม่ถือเอาอนุพยัญชนะ … ถึงความสำรวมในมนินทรีย์” ดังนี้  ศีลนี้ชื่อว่า อินทริยสังวรศีล.
(3) ส่วนการงดเว้นจากมิจฉาชีวะ อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการละเมิดสิกขาบท  ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเพราะอาชีพเป็นเหตุเพราะอาชีพเป็นตัวการณ์ และ (ด้วยอำนาจ) แห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้ คือ "การล่อลวง การป้อยอ การทำใบ้ การบีบบังคับ การแสวงหาลาภด้วยลาภ" ดังนี้เป็นต้น ศีลนี้ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล.
(4) การบริโภคปัจจัย 4 อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ที่พระศาสดาตรัสไว้โดยนัยว่า "ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร ว่าเพียงเพื่อบำบัดความหนาว” ดังนี้เป็นต้น นี้ชื่อว่า ปัจจยสันนิสิตศีล.
(วิ. สีล. ปฐม. 19)


 

อารักขกัมมัฏฐาน 4

  1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น.
  2. เมตตา แผ่ไม่ตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า.
  3. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม.
  4. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน.

กัมมัฏฐาน 4 อย่างนี้ ควรเจริญเป็นนิตย์.
(ร.4)

(1) พุทธานุสสติ - ธรรมข้อหนึ่ง ใน อนุสสติ 10
(2) เมตตา - ธรรมข้อหนึ่ง ใน พรหมวิหาร 4
(3) อสุภะ - อสุภะ 10
(4) มรณัสสติ - ธรรมข้อหนึ่ง ใน อนุสสติ 10


 

พรหมวิหาร 4

  1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข.
  2. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.
  3. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี.
  4. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ.

4 อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่.

(1) … ตตฺถ กตมา เมตฺตา. ยา สตฺเตสุ เมตฺติ เมตฺตายนา เมตฺตายิตตฺตํ เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ อยํ วุจฺจติ เมตฺตา. …
(2) … ตตฺถ กตมา กรุณา. ยา สตฺเตสุ กรุณา กรุณายนา กรุณายิตตฺตํ กรุณา เจโตวิมุตฺติ อยํ วุจฺจติ กรุณา. …
(3) … ตตฺถ กตมา มุทิตา. ยา สตฺเตสุ มุทิตา มุทิตายนา มุทิตายิตตฺตํ มุทิตา เจโตวิมุตฺติ อยํ วุจฺจติ มุทิตา. …
(4) … ตตฺถ กตมา อุเปกฺขา. ยา สตฺเตสุ อุเปกฺขา อุเปกฺขายนา อุเปกฺขายิตตฺตํ อุเปกฺขา เจโตวิมุตฺติ อยํ วุจฺจติ อุเปกฺขา. …

(1) … ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่าเมตตา. …
(2) … ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. …
(3) … ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. …
(4) … ในบทเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา. …

(อภิ. วิภงฺค. 35/369)


 

สติปัฏฐาน 4
1. กายานุปัสสนา 2. เวทนานุปัสสนา 3. จิตตานุปัสสนา 4. ธัมมานุปัสสนา.

  1. สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียก กายานุปัสสนา.
  2. สติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียก เวทนานุปัสสนา.
  3. สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแล้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียก จิตตานุปัสสนา.
  4. สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล ที่บังเกิดกับใจ เป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียก ธัมมานุปัสสนา.

เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย.
ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา.  กตเม จตฺตาโร.  อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
(1) กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.
(2) เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.
(3) จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.
(4) ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.

ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ.  4 ประการ เป็นไฉน.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
(2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
(3) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้
(4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
(ที. มหา. 10/325)


 

ธาตุกัมมัฏฐาน 4
ธาตุ 4 คือ

  1. ธาตุดิน เรียก ปฐวีธาตุ
  2. ธาตุน้ำ เรียก อาโปธาตุ
  3. ธาตุไฟ เรียก เตโชธาตุ
  4. ธาตุลม เรียก วาโยธาตุ.
  1. ธาตุอันใดมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า.
  2. ธาตุอันใดมีลักษณะเอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุ อาโปธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร.
  3. ธาตุอันใดมีลักษณะร้อน ธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุ เตโชธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย.
  4. ธาตุอันใดมีลักษณะพัดไปมา ธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุ วาโยธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ.

ความกำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่าธาตุกัมมัฏฐาน.

(1) … กตมา จ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา ปฐวีธาตุ.  ยํ อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ กกฺขลํ ขริคตํ อุปาทินฺนํ. เสยฺยถีทํ. เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ … อยํ วุจฺจติ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา ปฐวีธาตุ  …
(2) … กตมา จ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา อาโปธาตุ.  ยํ อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ อาโป อาโปคตํ อุปาทินฺนํ เสยฺยถีทํ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตํ … อยํ วุจฺจติ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา อาโปธาตุ …
(3) … กตมา จ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา เตโชธาตุ … ยํ อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ เตโช เตโชคตํ อุปาทินฺนํ เสยฺยถีทํ เยน จ สนฺตปฺปติ เยน จ ชิริยติ เยน จ ปริฑยฺหติ เยน จ อสิตปีตขายิตสายิตํ สมฺมาปริณามํ คจฺฉติ … อยํ วุจฺจติ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา เตโชธาตุ  …
(4) … กตมา จ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา วาโยธาตุ … ยํ อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ วาโย วาโยคตํ อุปาทินฺนํ เสยฺยถีทํ อุทฺธงฺคมา วาตา อโธคมา วาตา กุจฺฉิสยา วาตา โกฏฺฐสยา วาตา องฺคมงฺคานุสาริโน วาตา อสฺสาโส ปสฺสาโส …  อยํ วุจฺจติ ภิกฺขุ อชฺฌตฺติกา วาโยธาตุ …

ตํ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ. เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทิสฺวา ปฐวีธาตุยา … อาโปธาตุยา … เตโชธาตุยา … วาโยธาตุยา นิพฺพินฺทติ ปฐวีธาตุยา … อาโปธาตุยา … เตโชธาตุยา … วาโยธาตุยา จิตฺตํ วิราเชติ.

(1) … ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แข้นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แข้นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน … นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน …
(2) … ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน … นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน …
(3) … ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน … นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน …
(4) … ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน … นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน …
… พึงเห็นปฐวีธาตุ … อาโปธาตุ … เตโชธาตุ … วาโยธาตุ  นั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุ … อาโปธาตุ … เตโชธาตุ … วาโยธาตุได้
(ม. อุป. 14/437)



อริยสัจ 4

  1. ทุกข์
  2. สมุทัย คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
  3. นิโรธ คือความดับทุกข์
  4. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
  1. ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นของทานได้ยาก.
  2. ตัณหาคือความทะยานอยาก ได้ชื่อว่าสมุทัย เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด.
    ตัณหานั้น มีประเภทเป็น 3 คือ (1) ตัณหาความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ เรียกว่า กามตัณหา 
    (2) ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่า ภวตัณหา  (3) ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่า วิภวตัณหา.
  3. ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้ชื่อว่านิโรธ เพราะเป็นความดับทุกข์.
  4. ปัญญาอันชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
    มรรคนั้นมีองค์ 8 ประการ คือ (1) ปัญญาอันเห็นชอบ  (2) ดำริชอบ (3) เจรจาชอบ (4) ทำการงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ทำความเพียรชอบ (7) ตั้งสติชอบ (8) ตั้งใจชอบ.

จตฺตาริ อริยสจฺจานิ. (1) ทุกฺขํ อริยสจฺจํ  (2) ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ  (3) ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ  (4) ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ.
(1) ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ. ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปี ทุกฺขํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา … อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ.
(2) ตตฺถ กตมํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ. ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา ตตฺรตตฺราภินนฺทินี เสยฺยถีทํ กามตณฺหา ภวตณฺหา วิภวตณฺหา … อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ.
(3) ตตฺถ กตมํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ. โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย … อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ.
(4) ตตฺถ กตมํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ. อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. เสยฺยถีทํ. สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ … อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ.

อริยสัจ 4 คือ  (1) ทุกขอริยสัจ  (2) ทุกขสมุทยอริยสัจ  (3) ทุกขนิโรธอริยสัจ  (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ในอริยสัจ 4 นั้น
(1) ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน. ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ … นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.
(2) ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน. ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดีเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา … นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
(3) ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน. ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว … นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
(4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ … นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ.
(อภิ. วิภงฺค. 35/127)

ปัญจกะ หมวด 5

อนันตริยกรรม 5

  1. มาตุฆาต ฆ่ามารดา.
  2. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา.
  3. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์.
  4. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป.
  5. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน.

กรรม 5 อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด.

ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาปายิกา เนรยิกา ปริกุปฺปา อเตกิจฺฉา. กตเม ปญฺจ.
(1) มาตา ชีวิตา โวโรปิตา โหติ.
(2) ปิตา ชีวิตา โวโรปิโต โหติ.
(3) อรหา ชีวิตา โวโรปิโต โหติ.
(4) ตถาคตสฺส ทุฏฺเฐน จิตฺเตน โลหิตํ อุปฺปาทิตํ โหติ.
(5) สงฺโฆ ภินฺโน โหติ.
อิเม โข ภิกฺขเว ปญฺจ อาปายิกา เนรยิกา ปริกุปฺปา อเตกิจฺฉาติ.


ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 5 จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้.  5 จำพวกเป็นไฉน. คือ
(1) บุคคลผู้ฆ่ามารดา
(2) ผู้ฆ่าบิดา
(3) ผู้ฆ่าพระอรหันต์
(4) ผู้มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ
(5) ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 5 จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้.
(องฺ. ปญฺจก. 22/165)


 

อภิณหปัจจเวกขณ์ 5

  1. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.
  2. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.
  3. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.
  4. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.
  5. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว.

ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ฐานานิ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพานิ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา. กตมานิ ปญฺจ.
(1) ชราธมฺโมมฺหิ ชรํ อนตีโตติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา.
(2) พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พฺยาธึ อนตีโตติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา.
(3) มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโตติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา.
(4) สพฺเพหิ เม ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา.
(5) กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามีติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา.

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์  หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ. 5 ประการเป็นไฉน. คือ
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
(1) เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
(2) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
(3) เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
(4) เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
(5) เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น .
(องฺ. ปญฺจก. 22/81)


 

เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง

  1. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ.
  2. สีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
  3. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก.
  4. วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร.
  5. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้.

ปญฺจิเม ภิกฺขเว เสขเวสารชฺชกรณา ธมฺมา.  กตเม ปญฺจ.
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
(1) สทฺโธ โหติ
(2) สีลวา โหติ
(3) พหุสฺสุโต โหติ
(4) อารทฺธวิริโย โหติ
(5) ปญฺญวา โหติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) เป็นผู้มีศรัทธา
(2) เป็นผู้มีศีล
(3) เป็นพหูสูต
(4) เป็นผู้ปรารภความเพียร
(5) เป็นผู้มีปัญญา.
(องฺ. ปญฺจก. 22/144)


 

องค์แห่งภิกษุใหม่ 5 อย่าง

  1. สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต.
  2. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาที่เห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น.
  3. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา.
  4. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด.
  5. มีความเห็นชอบ.

ภิกษุใหม่ควรตั้งอยู่ในธรรม 5 อย่างนี้.

เย เต อานนฺท ภิกฺขู นวา อจิรปพฺพชิตา อธุนาคตา อิมํ ธมฺมวินยํ เต โว อานนฺท ภิกฺขู ปญฺจสุ ธมฺเมสุ สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา. กตเมสุ ปญฺจสุ.
(1) เอถ ตุเมฺห อาวุโส สีลวา โหถ ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา วิหรถ อาจารโคจรสมฺปนฺนา อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวิโน สมาทาย สิกฺขถ สิกฺขาปเทสูติ อิติ ปาติโมกฺขสํวเร  สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา.
(2) เอถ ตุเมฺห อาวุโส อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารา วิหรถ อารกฺขสติโน นิปกฺกสติโน สารกฺขิตมานสา สตารกฺเขน เจตสา สมนฺนาคตาติ อิติ อินฺทฺริยสํวเร สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา.
(3) เอถ ตุเมฺห อาวุโส อปฺปภสฺสา โหถ ภสฺสปริยนฺตการิโนติ อิติ ภสฺสปริยนฺเต สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา.
(4) เอถ ตุเมฺห อาวุโส อารญฺญกา โหถ อรญฺญวนปตฺถานิ ปนฺตานิ เสนาสนานิ ปฏิเสวถาติ อิติ กายวูปกาเส สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา.
(5) เอถ ตุเมฺห อาวุโส สมฺมาทิฏฺฐิกา โหถ สมฺมาทสฺสเนน สมนฺนาคตาติ อิติ สมฺมาทสฺสเน สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา ปติฏฺฐาเปตพฺพา.
เย เต อานนฺท ภิกฺขู นวา อจิรปพฺพชิตา อธุนาคตา อิมํ ธมฺมวินยํ เต โว อานนฺท ภิกฺขู อิเมสุ ปญฺจสุ ธมฺเมสุ สมาทเปตพฺพา นิเวเสตพฺพา.


อานนท์ พวกภิกษุใหม่บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ๆ เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม 5 ประการ. ธรรม 5 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในปาติโมกขสังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีศีล จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์สังวร จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
(2) ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในอินทรีย์สังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสติเครื่องรักษาทวาร รักษาตน มีใจที่รักษาดีแล้วประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา.
(3) ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการทำที่สุดแห่งคำพูดดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีคำพูดน้อย จงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งคำพูด [อย่าพูดมาก].
(4) ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการทำความสงบแห่งกายดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จงเสพ อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว.
(5) ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในความเห็นชอบดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้มีสัมมาทิฐิประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ.
อานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ๆ เธอทั้งหลาย พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม 5 ประการนี้แล.
(องฺ. ปญฺจก. 22/155)


 

องค์แห่งธรรมกถิกะ คือ นักเทศก์ 5 อย่าง

  1. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ.
  2. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ.
  3. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง.
  4. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ.
  5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่า ไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น.

ภิกษุผู้เป็นธรรมกถิกะ พึงตั้งองค์ 5 อย่างนี้ไว้ในตน.

น โข อานนฺท สุกรํ ปเรสํ ธมฺมํ เทเสตุํ.
ปเรสํ อานนฺท ธมฺมํ เทเสนฺเตน ปญฺจ ธมฺเม อชฺฌตฺตํ อุปฏฺฐาเปตฺวา ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.  กตเม ปญฺจ.
(1) อนุปุพฺพิกถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.
(2) ปริยายทสฺสาวี กถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.
(3) อนุทยตํ ปฏิจฺจ กถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.
(4) น อามิสนฺตโร กถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.
(5) อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ กถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ.
น โข อานนฺท สุกรํ ปเรสํ ธมฺมํ เทเสตุํ. ปเรสํ อานนฺท ธมฺมํ เทเสนฺเตน อิเม ปญฺจ ธมฺเม อชฺฌตฺตํ อุปฏฺฐาเปตฺวา ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพติ.

อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย.
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น. 5 ประการเป็นไฉน. คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
(1) เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ
(2) เราจักแสดงอ้างเหตุผล
(3) เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
(4) เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม
(5) เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.
(องฺ. ปญฺจก. 22/206)


 

ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 อย่าง

  1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
  2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด.
  3. บรรเทาความสงสัยเสียได้.
  4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้.
  5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส.

ปญฺจิเม ภิกฺขเว อานิสํสา ธมฺมสฺสวเน. กตเม ปญฺจ.
(1) อสฺสุตํ สุณาติ
(2) สุตํ ปริโยทเปติ
(3) กงฺขํ วิหนติ
(4) ทิฏฺฐึ อุชุํ กโรติ
(5) จิตฺตมสฺส ปสีทติ
อิเม โข ภิกฺขเว ปญฺจ อานิสํสา ธมฺมสฺสวเนติ.

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
(2) ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
(3) ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้
(4) ย่อมทำความเห็นให้ตรง
(5) จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้แล.
(องฺ. ปญฺจก. 22/276)



พละ คือธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง

  1. สัทธา ความเชื่อ.
  2. วิริยะ ความเพียร.
  3. สติ ความระลึกได้.
  4. สมาธิ ความตั้งใจมั่น.
  5. ปัญญา ความรอบรู้.

อินทรีย์ 5 ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน.

ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว พลานิ. กตมานิ ปญฺจ.
(1) สทฺธาพลํ (2) วิริยพลํ (3) สติพลํ (4) สมาธิพลํ (5) ปญฺญาพลํ.
อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจ พลานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) กำลังคือศรัทธา (2) กำลังคือวิริยะ (3) กำลังคือสติ (4) กำลังคือสมาธิ (5) กำลังคือปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้แล.
(องฺ. ปญฺจก. 22/11)



นิวรณ์ 5
ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี 5 อย่าง

  1. กามฉันท์  พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
  2. พยาบาท  ปองร้ายผู้อื่น
  3. ถีนมิทธะ  ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
  4. อุทธัจจกุกกุจจะ  ฟุ้งซ่านและรำคาญ
  5. วิจิกิจฉา  ลังเลไม่ตกลงได้

ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาวรณา นีวรณา เจตโส อชฺฌารุหา ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณา. กตเม ปญฺจ.
(1) กามจฺฉนฺโท ภิกฺขเว อาวรโณ นีวรโณ เจตโส อชฺฌารุโห ปญฺญาย ทุพฺพลีกรโณ.
(2) พฺยาปาโท ภิกฺขเว อาวรโณ นีวรโณ เจตโส อชฺฌารุโห ปญฺญาย ทุพฺพลีกรโณ.
(3) ถีนมิทฺธํ ภิกฺขเว อาวรณํ นีวรณํ เจตโส อชฺฌารุหํ ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณํ.
(4) อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ ภิกฺขเว อาวรณํ นีวรณํ เจตโส อชฺฌารุหํ ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณํ.
(5) วิจิกิจฺฉา ภิกฺขเว อาวรณา นีวรณา เจตโส อชฺฌารุหา ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณา.
อิเม โข ภิกฺขเว ปญฺจ อาวรณา นีวรณา เจตโส อชฺฌารุหา ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณา.


ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม 5 อย่างเหล่านี้ ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม. 5 อย่างเป็นไฉน. คือ
(1) กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
(2) พยาบาท เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
(3) ถีนมิทธะ เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
(4) อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
(5) วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม 5 อย่างเหล่านี้แล.
(องฺ. ปญฺจก. 22/72)


 

ขันธ์ 5
กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น 5 กอง เรียกว่าขันธ์ 5

  1. รูป
  2. เวทนา
  3. สัญญา
  4. สังขาร
  5. วิญญาณ
  1. ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่า รูป.
  2. ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข คือ สบายกายสบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือเฉยๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า เวทนา.
  3. ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่า สัญญา.
  4. เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ* เป็นส่วนดี เรียกกุศล เป็นส่วนชั่ว เรียกอกุศล เป็นส่วนกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกอัพยากฤต เรียกว่า สังขาร.
  5. ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ.

ขันธ์ 5 นี้ ย่นเรียกว่า นาม รูป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเข้าเป็นนาม  รูปคงเป็นรูป.
* ความคิด หรือเรื่องราวที่เรียกว่าธรรมะหรือธรรมารมณ์ เรียกว่า สังขาร

ปญฺจกฺขนฺธา: (1) รูปกฺขนฺโธ (2) เวทนากฺขนฺโธ (3) สญฺญากฺขนฺโธ (4) สงฺขารกฺขนฺโธ (5) วิญฺญาณกฺขนฺโธ.
(อภิ. วิภงฺค. 35/1)

 

ฉักกะ หมวด 6

คารวะ 6 อย่าง
ความเอื้อเฟื้อ ใน

  1. พระพุทธเจ้า
  2. ในพระธรรม
  3. ในพระสงฆ์
  4. ในความศึกษา
  5. ในความไม่ประมาท
  6. ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย.

ภิกษุควรทำคารวะ 6 ประการนี้.

ฉยิเม ภนฺเต ธมฺมา ภิกฺขุโน อปริหานาย สํวตฺตนฺติ.  กตเม ฉ.
(1) สตฺถุคารวตา (2) ธมฺมคารวตา (3) สงฺฆคารวตา (4) สิกฺขาคารวตา (5) อปฺปมาทคารวตา (6) ปฏิสนฺถารคารวตา.
อิเม โข ภนฺเต ฉ ธมฺมา ภิกฺขุโน อปริหานาย สํวตฺตนฺตีติ.
อิทมโวจ ภิกฺขเว สา เทวตา อิทํ วตฺวา มํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ. ธรรม 6 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา
(2) ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม
(3) ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์
(4) ความเป็นผู้เคารพในสิกขา
(5) ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท
(6) ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ.
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาตนนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทเราทำประทักษิณแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น.
(องฺ. ฉกฺก. 22/369)



สาราณิยธรรม 6 อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี 6 อย่าง คือ :-

  1. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
  2. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
  3. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.
  4. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว.
  5. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น.
  6. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน.

ธรรม 6 อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ฉยิเม ภิกฺขเว ธมฺมา สาราณียา. กตเม ฉ.
(1) อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน เมตฺตํ กายกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ อาวิ เจว รโห จ.  อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
(2) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน เมตฺตํ วจีกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ อาวิ เจว รโห จ. อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
(3) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน เมตฺตํ มโนกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ อาวิ เจว รโห จ. อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
(4) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เย เต ลาภา ธมฺมิกา ธมฺมลทฺธา อนฺตมโส ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ ตถารูเปหิ ลาเภหิ อปฺปฏิวิภตฺตโภคี โหติ สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ สาธารณโภคี. อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
(5) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยานิ ตานิ สีลานิ อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ ภุชิสฺสานิ วิญฺญูปสฏฺฐานิ อปรามฏฺฐานิ สมาธิสํวตฺตนิกานิ ตถารูเปหิ สีเลหิ สีลสามญฺญคโต วิหรติ สพฺรหฺมจารีหิ อาวิ เจว รโห จ.  อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
(6) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยายํ ทิฏฺฐิ อริยา นิยฺยานิกา นิยฺยาติ ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย ตถารูปาย ทิฏฺฐิยา ทิฏฺฐิสามญฺญคโต วิหรติ สพฺรหฺมจารีหิ อาวิ เจว รโห จ.  อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย.
อิเม โข ภิกฺขเว ฉ ธมฺมา สาราณียาติ.

ภิกษุทั้งหลาย สาราณิยธรรม 6 ประการนี้. 6 ประการเป็นไฉน คือ
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
(2) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
(3) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
(4) อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้มีศีล แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
(5) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย  เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
(6) อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม.
ภิกษุทั้งหลาย สาราณิยธรรม 6 ประการนี้แล.
(องฺ. ฉกฺก. 22/322)



อายตนะภายใน 6

  1. ตา
  2. หู
  3. จมูก
  4. ลิ้น
  5. กาย
  6. ใจ.

อินทรีย์ 6 ก็เรียก.

ฉยิมานิ อาวุโส อายตนานิ.
(1) จกฺขฺวายตนํ (2) โสตายตนํ (3) ฆานายตนํ (4) ชิวฺหายตนํ (5) กายายตนํ (6) มนายตนํ.

อายตนะ 6 เหล่านี้ คือ (1) ตา (2) หู (3) จมูก (4) ลิ้น (5) กาย (6) ใจ
(ม.ม.12/96, อภิ.วิภงฺค. 35/85)


 

อายตนะภายนอก 6

  1. รูป
  2. เสียง
  3. กลิ่น
  4. รส
  5. โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย
  6. ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ.

อารมณ์ 6 ก็เรียก.

ฉ พาหิรานิ อายตนานิ (1) รูปายตนํ (2) สทฺทายตนํ (3) คนฺธายตนํ (4) รสายตนํ (5) โผฏฺฐพฺพายตนํ (6) ธมฺมายตนํ.

อายตนะภายนอก 6 อย่าง (1) อายตนะ คือ รูป (2) อายตนะ คือ เสียง (3) อายตนะ คือ กลิ่น (4) อายตนะ คือ รส (5) อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ (6) อายตนะ คือ ธรรม
(ม.อุป.14/401, อภิ.วิภงฺค.35/85)


 

วิญญาณ 6

  1. อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียก จักขุวิญญาณ
  2. อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียก โสตวิญญาณ
  3. อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียก ฆานวิญญาณ
  4. อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียก ชิวหาวิญญาณ
  5. อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียก กายวิญญาณ
  6. อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียก มโนวิญญาณ.

(1) จกฺขุวิญฺญาณํ โลเก …  (2) โสตวิญฺญาณํ โลเก …  (3) ฆานวิญฺญาณํ โลเก … (4) ชิวฺหาวิญฺญาณํ โลเก …  (5) กายวิญฺญาณํ โลเก …  (6) มโนวิญฺญาณํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ.  เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ. เอตฺถ นิวิสมานา นิวิสติ.

(1) จักขุวิญญาณ (2) โสตวิญญาณ (3) ฆานวิญญาณ (4) ชิวหาวิญญาณ (5) กายวิญญาณ (6) มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก.
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ [คือในจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านี้].  เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ [คือในวิญญาณเหล่านี้].
(ที.มหา.10/344, อภิ.วิภงฺค.35/85)


 

สัมผัส 6
(1) อายตนะภายในมีตาเป็นต้น  (2) อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น  (3) วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น  กระทบกัน
เรียก(ว่า) สัมผัส  (สัมผัส) มีชื่อตามอายตนะภายใน เป็น 6 คือ :-

  1. จักขุสัมผัส.
  2. โสตสัมผัส.
  3. ฆานสัมผัส.
  4. ชิวหาสัมผัส.
  5. กายสัมผัส.
  6. มโนสัมผัส.

(1) จกฺขุสมฺผสฺโส โลเก … (2) โสตสมฺผสฺโส โลเก … (3) ฆานสมฺผสฺโส โลเก … (4) ชิวฺหาสมฺผสฺโส โลเก … (5) กายสมฺผสฺโส โลเก … (6) มโนสมฺผสฺโส โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ.  เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ.

(1) จักขุสัมผัส (2) โสตสัมผัส (3) ฆานสัมผัส (4) ชิวหาสัมผัส (5) กายสัมผัส (6) มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก.  ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้.
(ที.มหา.10/344. สํ.นิ.16/4)


 

เวทนา 6
สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ ไม่สุขบ้าง มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น 6 คือ :-

  1. จักขุสัมผัสสชาเวทนา
  2. โสตสัมผัสสชาเวทนา
  3. ฆานสัมผัสสชาเวทนา
  4. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
  5. กายสัมผัสสชาเวทนา
  6. มโนสัมผัสสชาเวทนา

(1) จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก … (2) โสตสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก … (3) ฆานสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก … (4) ชิวฺหาสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก … (5) กายสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก … (6) มโนสมฺผสฺสชา เวทนา โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ. เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ.

(1) จักขุสัมผัสสชาเวทนา (2) โสตสัมผัสสชาเวทนา (3) ฆานสัมผัสสชาเวทนา (4) ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (5) กายสัมผัสสชาเวทนา (6) มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก.  ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้.
(ที.มหา.10/344, สํ.นิ.16/4)


 

ธาตุ 6

  1. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน.
  2. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ.
  3. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ.
  4. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม.
  5. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย.
  6. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้.

ฉยิมา ภิกฺขุ ธาตุโย. (1) ปฐวีธาตุ (2) อาโปธาตุ (3) เตโชธาตุ (4) วาโยธาตุ (5) อากาสธาตุ (6) วิญฺญาณธาตุ.

ภิกษุ ธาตุนี้มี 6. คือ (1) ปฐวีธาตุ (2) อาโปธาตุ (3) เตโชธาตุ (4) วาโยธาตุ (5) อากาสธาตุ (6) วิญญาณธาตุ.
(ม.อุป.14/125, อภิ.วิภงฺค.35/101)

 

สัตตกะ หมวด 7

อปริหานิยธรรม 7 อย่าง

ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อว่า อปริหานิยธรรม มี 7 อย่าง คือ :-

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์.
  2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ.
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้.
  4. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน.
  5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น.
  6. ยินดีในเสนาสนะป่า.
  7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข.

ธรรม 7 อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว.

กตเม จ ภิกฺขเว สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา.
(1) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู อภิณฺหสนฺนิปาตา ภวิสฺสนฺติ สนฺนิปาตพหุลา, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(2) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู สมคฺคา สนฺนิปติสฺสนฺติ สมคฺคา วุฏฺฐหิสฺสนฺติ สมคฺคา สงฺฆกรณียานิ กริสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(3) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู อปฺปญฺญตฺตํ น ปญฺญาเปสฺสนฺติ ปญฺญตฺตํ น สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ ยถาปญฺญตฺเตสุ สิกฺขาปเทสุ สมาทาย วตฺติสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(4) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู เย เต ภิกฺขู เถรา รตฺตญฺญู จิรปพฺพชิตา สงฺฆปิตโร สงฺฆปรินายกา เต สกฺกริสฺสนฺติ ครุกริสฺสนฺติ มาเนสฺสนฺติ ปูเชสฺสนฺติ เตสญฺจ โสตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(5) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู อุปฺปนฺนาย ตณฺหาย โปโนพฺภวิกาย โน วสํ คจฺฉิสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(6) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู อารญฺญเกสุ เสนาสเนสุ สาเปกฺขา ภวิสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
(7) ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู ปจฺจตฺตญฺเญว สตึ อุปฏฺฐเปสฺสนฺติ "กินฺติ อนาคตา จ เปสลา สพฺรหฺมจารี อาคจฺเฉยฺยุํ อาคตา จ เปสลา สพฺรหฺมจารี ผาสุํ วิหเรยฺยุนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.
ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ. วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม 7 ประการเป็นไฉน.
(1) ภิกษุทั้งหลายหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
(2) ภิกษุทั้งหลายเมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก จักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น
(3) ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว จักประพฤติมั่นในสิกขาบทตามที่บัญญัติไว้แล้ว เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
(4) ภิกษุทั้งหลายยังสักการะ เคารพนับถือ บูชา ท่านผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดา เป็นสังฆปริณายก และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
(5) ภิกษุทั้งหลายไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว   อันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่อไป เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
(6) ภิกษุทั้งหลายจักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่าเพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
(7) ภิกษุทั้งหลายจักเข้าไปตั้งความระลึกถึงเฉพาะตนได้ว่า ไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมา และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏในอปริหานิยธรรม 7 ประการนี้เพียงใด  ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น.
(องฺ. สตฺตก. 23/21)


 

อริยทรัพย์ 7

ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียก อริยทรัพย์ มี 7 อย่าง คือ

  1. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ.
  2. สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย.
  3. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต.
  4. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป.
  5. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือจำทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก.
  6. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน.
  7. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.

อริยทรัพย์ 7 ประการนี้ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก มีเงินทองเป็นต้น ควรแสวงหาไว้มีในสันดาน.

สตฺติมานิ ภิกฺขเว ธนานิ. กตมานิ สตฺต.
(1) สทฺธาธนํ (2) สีลธนํ (3) หิรีธนํ (4) โอตฺตปฺปธนํ (5) สุตธนํ (6) จาคธนํ (7) ปญฺญาธนํ.
อิมานิ โข ภิกฺขเว สตฺต ธนานีติ.

ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้. 7 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ทรัพย์คือศรัทธา (2) ทรัพย์คือศีล (3) ทรัพย์คือหิริ (4) ทรัพย์คือโอตตัปปะ (5) ทรัพย์คือสุตะ [พาหุสัจจะ] (6) ทรัพย์คือจาคะ (7) ทรัพย์คือปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้แล.
(องฺ. สตฺตก. 23/5)


 

สัปปุริสธรรม 7 อย่าง
ธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม  มี 7 อย่าง คือ

  1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์.
  2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้.
  3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ และคุณธรรมเพียงเท่านี้ๆ แล้วประพฤติ ตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร.
  4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร.
  5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้นๆ.
  6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้นๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น.
  7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ เป็นต้น.

สตฺตหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อาหุเนยฺโย โหติ อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส. กตเมหิ สตฺตหิ.
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ (1) ธมฺมญฺญู จ โหติ (2) อตฺถญฺญู จ (3) อตฺตญฺญู จ (4) มตฺตญฺญู จ (5) กาลญฺญู จ (6) ปริสญฺญู จ (7) ปุคฺคลปโรปรญฺญู จ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ธรรม 7 ประการเป็นไฉน.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น (1) ธัมมัญญู รู้จักธรรม (2) อัตถัญญู รู้จักอรรถ (3) อัตตัญญู รู้จักตน (4) มัตตัญญู รู้จักประมาณ (5) กาลัญญู รู้จักกาล (6) ปริสัญญู รู้จักบริษัท (7) ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน
(อ่านพุทธาธิบายในพระไตรปิฎก)
(องฺ. สตฺตก. 23/113)


 

สัปปุริสธรรม อีก 7 อย่าง
สัตบุรุษประกอบด้วยธรรม 7 ประการ คือ

  1. มีศรัทธา1 มีความละอายต่อบาป2 มีความกลัวต่อบาป3  เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก4  เป็นคนมีความเพียร5  เป็นคนมีสติมั่นคง6  เป็นคนมีปัญญา7.
  2. จะปรึกษาสิ่งใดกับใคร ๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น.
  3. จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น.
  4. จะพูดสิ่งใดก็ไม่พูดเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น.
  5. จะทำสิ่งใดก็ไม่ทำเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น.
  6. มีความเห็นชอบ มีเห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น.
  7. ให้ทานโดยเคารพ คือเอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้ และผู้รับทานนั้น ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย.

(นัย. ม. อุป. 14/112)

สปฺปุริโส ภิกฺขเว (1) สทฺธมฺมสมนฺนาคโต โหติ  (2) สปฺปุริสภตฺตี โหติ  (3) สปฺปุริสจินฺตี โหติ  (4) สปฺปุริสมนฺตี โหติ  (5) สปฺปุริสวาโจ โหติ  (6) สปฺปุริสกมฺมนฺโต โหติ  (7) สปฺปุริสทิฏฺฐี โหติ  (8) สปฺปุริสทานํ เทติ.

(1) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สทฺธมฺมสมนฺนาคโต โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สทฺโธ โหติ1  หิริมา โหติ2  โอตฺตปฺปี โหติ3  พหุสฺสุโต โหติ4  อารทฺธวิริโย โหติ5  อุปฏฺฐิตสตี โหติ6  ปญฺญวา โหติ7. เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สทฺธมฺมสมนฺนาคโต โหติ.
(2) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสภตฺตี โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริสสฺส เย เต สมณพฺราหฺมณา สทฺธา หิริมนฺโต โอตฺตปฺปิโน พหุสฺสุตา อารทฺธวิริยา อุปฏฺฐิตสติโน ปญฺญวนฺโต ตฺยสฺส มิตฺตา โหนฺติ เต สหายา เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสภตฺตี โหติ.
(3) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสจินฺตี โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส เนวตฺตพฺยาพาธาย เจเตติ น ปรพฺยาพาธาย เจเตติ น อุภยพฺยาพาธาย เจเตติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสจินฺตี โหติ.
(4) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสมนฺตี โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส เนวตฺตพฺยาพาธาย มนฺเตติ น ปรพฺยาพาธาย มนฺเตติ น อุภยพฺยาพาธาย มนฺเตติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสมนฺตี โหติ.
(5) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสวาโจ โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ ปิสุณาย วาจาย ปฏิวิรโต โหติ ผรุสาย วาจาย ปฏิวิรโต โหติ สมฺผปฺปลาปา ปฏิวิรโต โหติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสวาโจ โหติ.
(6) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสกมฺมนฺโต โหติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ กาเมสุมิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสกมฺมนฺโต โหติ.
(7) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสทิฏฺฐี โหติ.  อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส เอวํ ทิฏฺฐิโก โหติ อตฺถิ ทินฺนํ อตฺถิ ยิฏฺฐํ อตฺถิ หุตํ อตฺถิ สุกตทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก อตฺถิ อยํ โลโก อตฺถิ ปโร โลโก อตฺถิ มาตา อตฺถิ ปิตา อตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา อตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสทิฏฺฐี โหติ.
(8) กถญฺจ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสทานํ เทติ. อิธ ภิกฺขเว สปฺปุริโส สกฺกจฺจํ ทานํ เทติ  จิตฺตึ กตฺวา ทานํ เทติ ปริสุทฺธํ ทานํ เทติ อาคมนทิฏฺฐิโก ทานํ เทติ เอวํ โข ภิกฺขเว สปฺปุริโส สปฺปุริสทานํ เทติ.
ส โข โส ภิกฺขเว สปฺปุริโส เอวํ สทฺธมฺมสมนฺนาคโต เอวํ สปฺปุริสภตฺตี เอวํ สปฺปุริสจินฺตี เอวํ สปฺปุริสมนฺตี เอวํ สปฺปุริสวาโจ เอวํ สปฺปุริสกมฺมนฺโต เอวํ สปฺปุริสทิฏฺฐี เอวํ สปฺปุริสทานํ ทตฺวา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา ยา สปฺปุริสานํ คติ ตตฺถ อุปฺปชฺชติ กา จ ภิกฺขเว สปฺปุริสานํ คติ เทวมหตฺตตา วา มนุสฺสมหตฺตตา วาติ.

ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษ (1) ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ  (2) ย่อมเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ (3) ย่อมเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ (4) ย่อมเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ (5) ย่อมเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ (6) ย่อมเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ (7) ย่อมเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (8) ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

(1) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา1 มีหิริ2 มีโอตตัปปะ3 มีสุตะมาก4 มีความเพียรปรารภแล้ว5 มีสติตั้งมั่น6 มีปัญญา7  ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.
(2) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย ภิกษุ ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ.
(3) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.
(4) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่า สัตบุรุษ.
(5) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ.
(6) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงาน อย่างสัตบุรุษ.
(7) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ.
(8) ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มีตนควรบูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์.

(สัปปุริสธรรมหมวดนี้มี 8 ข้อ  แต่ในนวโกวาทเรียกว่า สัปปุริสธรรม 7  ถ้านับเฉพาะสัทธรรม 7 อย่าง มีศรัทธาเป็นต้น ในข้อ 1)
(ม. อุป. 14/112)


 

โพชฌงค์ 7

  1. สติ ความระลึกได้.
  2. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม.
  3. วิริยะ ความเพียร.
  4. ปีติ ความอิ่มใจ.
  5. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์.
  6. สมาธิ ความตั้งใจมั่น.
  7. อุเปกขา ความวางเฉย.

เรียกตามประเภทว่า สติสัมโพชฌงค์ไปโดยลำดับจนถึงอุเปกขาสัมโพชฌงค์.

กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สีลํ นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย สตฺต โพชฺฌงฺเค ภาเวนฺโต สตฺต โพชฺฌงฺเค พหุลีกโรนฺโต มหนฺตตํ เวปุลฺลตํ ปาปุณาติ ธมฺเมสูติ.
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
(1) สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามึ
(2) ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ …
(3) วิริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ …
(4) ปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ …
(5) ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ …
(6) สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ …
(7) อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามึ.
เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ สีลํ นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย สตฺต โพชฺฌงฺเค ภาเวนฺโต สตฺต โพชฺฌงฺเค พหุลีกโรนฺโต มหนฺตตํ เวปุลฺลตํ ปาปุณาติ ธมฺเมสูติ.


ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.
(2) ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ …
(3) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ …
(4) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ …
(5) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …
(6) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ …
(7) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
(สํ. มหา. 19/93)

 

อัฏฐกะ หมวด 8

โลกธรรม 8
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่า โลกธรรม. โลกธรรมนั้น 8 อย่าง คือ

  1. มีลาภ
  2. ไม่มีลาภ
  3. มียศ
  4. ไม่มียศ
  5. นินทา
  6. สรรเสริญ
  7. สุข
  8. ทุกข์.

ในโลกธรรม 8 ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา.

อฏฺฐิเม ภิกฺขเว โลกธมฺมา โลกํ อนุปริวตฺตนฺติ โลโก จ อฏฺฐ โลกธมฺเม อนุปริวตฺตติ. กตเม อฏฺฐ.
(1) ลาโภ จ (2) อลาโภ จ (3) ยโส จ (4) อยโส จ (5) นินฺทา จ (6) ปสํสา จ (7) สุขํ จ (8) ทุกฺขํ จ.
อิเม โข ภิกฺขเว อฏฺฐ โลกธมฺมา โลกํ อนุปริวตฺตนฺติ โลโก จ อิเม อฏฺฐ โลกธมฺเม อนุปริวตฺตตีติ.

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการ. 8 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) ลาภ (2) ความเสื่อมลาภ (3) ยศ (4) ความเสื่อมยศ (5) นินทา (6) สรรเสริญ (7) สุข (8) ทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการนี้.
(องฺ. อฏฺฐก. 23/158)


 

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
ธรรมเหล่าใด

  1. เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
  2. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
  3. เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส
  4. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
  5. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น
  6. เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ.
  7. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
  8. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา.
ธรรมเหล่าใด

  1. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
  2. เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์
  3. เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
  4. เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย
  5. เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่
  6. เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่
  7. เป็นไปเพื่อความเพียร
  8. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของ พระศาสดา.

เย โข ตฺวํ โคตมิ ธมฺเม ชาเนยฺยาสิ อิเม ธมฺมา
(1) สราคาย สํวตฺตนฺติ โน วิราคาย
(2) สํโยคาย สํวตฺตนฺติ โน วิสํโยคาย
(3) อาจยาย สํวตฺตนฺติ โน อปจยาย
(4) มหิจฺฉตาย สํวตฺตนฺติ โน อปฺปิจฺฉตาย
(5) อสนฺตุฏฺฐิยา สํวตฺตนฺติ โน สนฺตุฏฺฐิยา
(6) สงฺคณิกาย สํวตฺตนฺติ โน ปวิเวกาย
(7) โกสชฺชาย สํวตฺตนฺติ โน วิริยารมฺภาย
(8) ทุพฺภรตาย สํวตฺตนฺติ โน สุภรตายาติ
เอกํเสน โคตมิ ธาเรยฺยาสิ เนโส ธมฺโม เนโส วินโย เนตํ สตฺถุสาสนนฺติ.

เย จ โข ตฺวํ โคตมิ ธมฺเม ชาเนยฺยาสิ อิเม ธมฺมา
(1) วิราคาย สํวตฺตนฺติ โน สราคาย
(2) วิสํโยคาย สํวตฺตนฺติ โน สํโยคาย
(3) อปจยาย สํวตฺตนฺติ โน อาจยาย
(4) อปฺปิจฺฉตาย สํวตฺตนฺติ โน มหิจฺฉตาย
(5) สนฺตุฏฺฐิยา สํวตฺตนฺติ โน อสนฺตุฏฺฐิยา
(6) ปวิเวกาย สํวตฺตนฺติ โน สงฺคณิกาย
(7) วิริยารมฺภาย สํวตฺตนฺติ โน โกสชฺชาย
(8) สุภรตาย สํวตฺตนฺติ โน ทุพฺภรตายาติ
เอกํเสน โคตมิ ธาเรยฺยาสิ เอโส ธมฺโม เอโส วินโย เอตํ สตฺถุสาสนนฺติ.


โคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้
(1) เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
(2) เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก
(3) เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
(4) เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
(5) เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
(6) เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
(7) เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
(8) เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย
โคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา.

โคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้
(1) เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
(2) เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้
(3) เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
(4) เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
(5) เป็นไปเพื่อสันโดษไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด
(6) ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
(7) เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
(8) เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.
(องฺ. อฏฺฐก. 23/288)


 

มรรค มีองค์ 8

  1. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ 4
  2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม  ดำริในอันไม่พยาบาท  และ ดำริในอันไม่เบียดเบียน
  3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต 4
  4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต 3
  5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด
  6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ 4 สถาน
  7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง 4
  8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง 4

ในองค์มรรคทั้ง 8 นั้น
เห็นชอบ ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา.
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา.
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา.

กตมา จ สา อาวุโส มชฺฌิมา ปฏิปทา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.
อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เสยฺยถีทํ
(1) สมฺมาทิฏฺฐิ (2) สมฺมาสงฺกปฺโป (3) สมฺมาวาจา (4) สมฺมากมฺมนฺโต (5) สมฺมาอาชีโว (6) สมฺมาวายาโม (7) สมฺมาสติ (8) สมฺมาสมาธิ.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิทาปนั้น ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน?
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ
(1) เห็นชอบ (2) ดำริชอบ (3) เจรจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีพชอบ (6) พยายามชอบ (7) ระลึกชอบ (8) ตั้งใจชอบ.
(ม. มู. 12/26. อภิ. วิภงฺค. 35/317)

 

นวกะ หมวด 9

มละ คือ มลทิน 9 อย่าง

  1. โกรธ
  2. ลบหลู่บุญคุณท่าน
  3. ริษยา
  4. ตระหนี่
  5. มายา
  6. มักอวด
  7. พูดปด
  8. มีความปรารถนาลามก
  9. เห็นผิด.

ตตฺถ กตมานิ นว ปุริสมลานิ.
(1) โกโธ (2) มกฺโข (3) อิสฺสา (4) มจฺฉริยํ (5) มายา (6) สาเถยฺยํ (7) มุสาวาโท (8) ปาปิจฺฉา (9) มิจฺฉาทิฏฺฐิ.

ปุริสมละ 9 เป็นไฉน.  ปุริสมละ 9 คือ
(1) โกธะ ความโกรธ (2) มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน (3) อิสสา ความริษยา (4) มัจฉริยะ ความตระหนี่ (5) มายา ความเจ้าเล่ห์ (6) สาเถยยะ ความโอ้อวด (7) มุสาวาท พูดเท็จ (8) ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก (9) มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
(อภิ. วิภงฺค. 35/526)

 

ทสกะ หมวด 10

อกุศลกรรมบถ 10
จัดเป็นกายกรรม คือทำด้วยกาย 3 อย่าง

  1. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์.
  2. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
  3. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.

จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา 4 อย่าง

  1. มุสาวาท พูดเท็จ.
  2. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด.
  3. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ.
  4. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ.

จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ 3 อย่าง

  1. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา.
  2. พยาบาท ปองร้ายเขา.
  3. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม.

กรรม 10 อย่างนี้ เป็นทางบาป ไม่ควรดำเนิน.

ทส อกุสลกมฺมปถา (1) ปาณาติปาโต (2) อทินฺนาทานํ (3) กาเมสุ มิจฺฉาจาโร (4) มุสาวาโท (5) ปิสุณา วาจา (6) ผรุสา วาจา (7) สมฺผปฺปลาโป (8) อภิชฺฌา (9) พฺยาปาโท (10) มิจฺฉาทิฏฺฐิ.

อกุศลกรรมบถ 10 อย่าง
(1) ปาณาติบาต การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
(2) อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
(3) กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม
(4) มุสาวาท พูดเท็จ
(5) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
(6) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
(7) สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
(8) อภิชฌา ความโลภอยากได้ของเขา
(9) พยาบาท ความปองร้ายเขา
(10) มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
(ที. มหา. 10/356. ที.ปาฏิ. 11/284. ม.มู. 12/521)


 

กุศลกรรมบถ 10
จัดเป็นกายกรรม 3 อย่าง

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
  2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
  3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.

จัดเป็นวจีกรรม 4 อย่าง

  1. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
  2. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด.
  3. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ.
  4. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ.

จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง

  1. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา.
  2. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา.
  3. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม.

กรรม 10 อย่างนี้เป็นทางบุญ ควรดำเนิน.

ทส กุสลกมฺมปถา
(1) ปาณาติปาตา เวรมณี (2) อทินฺนาทานา เวรมณี (3) กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี (4) มุสาวาทา เวรมณี (5) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (6) ผรุสาย วาจาย เวรมณี (7) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี (8) อนภิชฺฌา (9) อพฺยาปาโท (10) สมฺมาทิฏฺฐิ.


กุศลกรรมบถ 10 อย่าง
(1) ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
(2) อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
(3) กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม
(4) มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
(5) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
(6) ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
(7) สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
(8) อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา
(9) อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
(10) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
(ที. มหา. 10/359. ที ปาฏิ. 11/284. ม. มู. 12/523)


 

บุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง

  1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน.
  2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล.
  3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.
  4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่.
  5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ.
  6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ.
  7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ.
  8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม.
  9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
  10. ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง.

(1) ทาน (2) สีล (3) ภาวนา (4) อปจายน (5) เวยยาวจฺจ (6) ปตฺติทาน (7) ปตฺตานุโมทนา (8) ธมฺมสฺสวน (9) ธมฺมเทสนา (10) ทิฏฺฐุชุกมฺมวเสน ทสวิธํ โหติ.
(สุ.วิ. 3/256. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ. 29. ตฏฺฏีกา.171)


 

ปัพพชิตปัจจเวกขณะ ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ 10 อย่าง

  1. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ.
  2. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย.
  3. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้.
  4. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่.
  5. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่.
  6. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น.
  7. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว.
  8. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่.
  9. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่.
  10. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง.

ทสยิเม ภิกฺขเว ธมฺมา ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพา. กตเม ทส.
(1) "เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโตติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(2) "ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกาติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(3) "อญฺโญ เม อากปฺโป กรณีโยติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(4) "กจฺจิ นุ โข เม อตฺตา สีลโต น อุปวทตีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(5) "กจฺจิ นุ โข มํ อนุวิจฺจ วิญฺญู สพฺรหฺมจารี สีลโต น อุปวทนฺตีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(6) "สพฺเพหิ เม ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(7) "กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(8) "กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา วีติปตนฺตีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(9) "กจฺจิ นุ โขหํ สุญฺญาคาเร อภิรมามีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
(10) "อตฺถิ นุ โข เม อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา อลมริยญาณทสฺสนวิเสโส อธิคโต โสหํ ปจฺฉิเม กาเล สพฺรหฺมจารีหิ ปุฏฺโฐ น มงฺกุ ภวิสฺสามีติ ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ
อิเม โข ภิกฺขเว ทส ธมฺมา ปพฺพชิเตน อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพาติ.


ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ. 10 ประการเป็นไฉน. คือ
(1) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์
(2) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
(3) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่
(4) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่
(5) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่
(6) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
(7) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
(8) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
(9) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่
(10) บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตริมนุสธรรมอันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้วจักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ.
(องฺ. ทสก. 24/91)


 

นาถกรณธรรม คือ ธรรมทำที่พึ่ง 10 อย่าง

  1. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
  2. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมาก.
  3. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม.
  4. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย.
  5. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
  6. ธัมมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ.
  7. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี.
  8. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยา ตามมีตามได้.
  9. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้.
  10. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร.

สนาถา ภิกฺขเว วิหรถ, มา อนาถา ทุกฺขํ ภิกฺขเว อนาโถ วิหรติ.  ทสยิเม ภิกฺขเว นาถกรณา ธมฺมา. กตเม ทส.
(1) อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สีลวา โหติ.เปฯ สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(2) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ พหุสฺสุโต โหติ สุตธโร สุตสนฺนิจโย เย เต ธมฺมา อาทิกลฺยาณา มชฺเฌกลฺยาณา ปริโยสานกลฺยาณา สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ อภิวทนฺติ ตถารูปาสฺส ธมฺมา พหุสฺสุตา โหนฺติ ธตา วจสา ปริจิตา มนสานุเปกฺขิตา ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ พหุสฺสุโต โหติ.เปฯ ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(3) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กลฺยาณมิตฺโต โหติ กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กลฺยาณมิตฺโต โหติ กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(4) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุวโจ โหติ โสวจสฺสกรเณหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ขโม ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนึ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุวโจ โหติ โสวจสฺสกรเณหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ขโม ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนึ อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(5) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยานิ ตานิ สพฺรหฺมจารีนํ อุจฺจาวจานิ กึกรณียานิ ตตฺถ ทกฺโข โหติ อนลโส ตตฺรุปายาย วีมํสาย สมนฺนาคโต อลํ กาตุํ อลํ สํวิธาตุํ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยานิ ตานิ สพฺรหฺมจารีนํ อุจฺจาวจานิ กึกรณียานิ.เปฯ อลํ กาตุํ อลํ สํวิธาตุํ อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(6) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺมกาโม โหติ ปิยสมุทาหาโร อภิธมฺเม อภิวินเย อุฬารปามุชฺโช ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺมกาโม โหติ ปิยสมุทาหาโร อภิธมฺเม อภิวินเย อุฬารปามุชฺโช อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(7) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อารทฺธวิริโย วิหรติ อกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย กุสลานํ ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย ถามวา ทฬฺหปรกฺกโม อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อารทฺธวิริโย วิหรติ อกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย กุสลานํ ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย ถา มวา ทฬฺหปรกฺกโม อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(8) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สนฺตุฏฺโฐ โหติ อิตรีตรจีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาเรน ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สนฺตุฏฺโฐ โหติ อิตรีตรจีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาเรน อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(9) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สติมา โหติ ปรเมน สติเนปกฺเกน สมนฺนาคโต จิรกตมฺปิ จิรภาสิตมฺปิ สริตา อนุสฺสริตา ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สติมา โหติ ปรเมน สติเนปกฺเกน สมนฺนาคโต จิรกตมฺปิ จิรภาสิตมฺปิ สริตา อนุสฺสริตา อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
(10) ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา อยมฺปิ ธมฺโม นาถกรโณ.
สนาถา ภิกฺขเว วิหรถ มา อนาถา ทุกฺขํ ภิกฺขเว อนาโถ วิหรติ อิเม โข ภิกฺขเว ทส นาถกรณา ธมฺมาติ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลายธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการนี้.  10 ประการเป็นไฉน.
(1) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล.ลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(2) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต.ลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(3) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(4) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(5) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไรทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.ลฯ อาจทำ อาจจัดได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(6) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(7) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลายเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(8) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(9) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่งระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
(10) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมกระทำที่พึ่ง 10 ประการนี้แล.
(องฺ. ทสก. 24/ 27)


 

กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำที่ควรพูด 10 อย่าง

  1. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย.
  2. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
  3. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ.
  4. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่.
  5. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร.
  6. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล.
  7. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ.
  8. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา.
  9. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส.
  10. วิมุตติญาณทัสสนากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส.

ทสยิมานิ ภิกฺขเว กถาวตฺถูนิ.  กตมานิ ทส.  
(1) อปฺปิจฺฉกถา (2) สนฺตุฏฺฐิกถา (3) ปวิเวกกถา (4) อสํสคฺคกถา (5) วิริยารมฺภกถา (6) สีลกถา (7) สมาธิกถา (8) ปญฺญากถา (9) วิมุตฺติกถา (10) วิมุตฺติญาณทสฺสนกถาติ.

ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ 10 ประการนี้ 10 ประการเป็นไฉน คือ
(1) อัปปิจฉกถา (2) สันตุฏฐิกถา (3) ปวิเวกกถา (4) อสังสัคคกถา (5) วิริยารัมภกถา (6) สีลกถา (7) สมาธิกถา (8) ปัญญากถา (9) วิมุตติกถา (10) วิมุตติญาณทัสสนกถา
(องฺ. ทสก. 24/138)


 

อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก 10 ประการ

  1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า.
  2. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม.
  3. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์.
  4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน.
  5. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว.
  6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา.
  7. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน.
  8. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียดโสโครก.
  9. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก.
  10. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์.

ปุนปฺปุนํ อุปฺปชฺชนโต สติเยว อนุสฺสติ.
ปวตฺติตพฺพฏฺฐานมฺหิเยว ปวตฺตตฺตา สทฺธาปพฺพชิตสฺส กุลปุตฺตสฺส อนุรูปา สตีติปิ อนุสฺสติ.
(1) พุทฺธํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ พุทฺธานุสฺสติ. พุทฺธคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(2) ธมฺมํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ ธมฺมานุสฺสติ. สฺวากฺขาตตาทิธมฺมคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(3) สงฺฆํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ สงฺฆานุสฺสติ. สุปฏิปนฺนตาทิสงฺฆคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(4) สีลํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ สีลานุสฺสติ. อขณฺฑตาทิสีลคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(5) จาคํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ จาคานุสฺสติ. มุตฺตจาคตาทิจาคคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(6) เทวตา อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ เทวตานุสฺสติ. เทวตา สกฺขิฏฺฐาเน ฐเปตฺวา อตฺตโน สทฺธาทิคุณารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(7) มรณํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ มรณานุสฺสติ. ชีวิตินฺทฺริยุปจฺเฉทารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(8) เกสาทิเภทํ รูปกายํ คตา กาเย วา คตาติ กายคตา. กายคตา จ สา สติ จาติ กายคตสฺสตีติ วตฺตพฺเพ รสฺสํ อกตฺวา กายคตาสตีติ วุตฺตา. เกสาทิกายโกฏฺฐาสนิมิตฺตารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(9) อานาปาเน อารพฺภ อุปฺปนฺนา สติ อานาปานสฺสติ. อสฺสาสปสฺสาสนิมิตฺตารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.
(10) อุปสมํ อารพฺภ อุปฺปนฺนา อนุสฺสติ อุปสมานุสฺสติ. สพฺพทุกฺขุปสมารมฺมณาย สติยา เอตํ อธิวจนํ.

ชื่อว่าอนุสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ. อนึ่ง สติ ชื่อว่าอนุสติ เหตุเป็นความระลึกอันนับว่าสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะให้เป็นไปในฐานะอันควรให้เป็นไปเท่านั้น ดังนี้ก็ได้
(1) อนุสติอันปรารภพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ชื่อพุทธานุสติ  คำว่า พุทธานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
(2) อนุสติอันปรารภพระธรรมเกิดขึ้น ชื่อธรรมานุสติ คำว่าธรรมานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระธรรมคุณมีความเป็นสวากขาตธรรมเป็นต้นเป็นอารมณ์
(3) อนุสติอันปรารภพระสงฆ์เกิดขึ้น ชื่อว่า สังฆานุสติ คำว่า สังฆานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระสังฆคุณมีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์
(4) อนุสติอันปรารภศีลเกิดขึ้น ชื่อสีลานุสติ คำว่า สีลานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีศีลคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์
(5) อนุสติอันปรารภความสละเกิดขึ้น ชื่อ จาคานุสติ คำว่า จาคานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีจาคคุณมีความเป็นผู้สละปล่อยเลยเป็นต้นเป็นอารมณ์
(6) อนุสติอันปรารภเทวดาเกิดขึ้น ชื่อเทวตานุสติ คำว่า เทวตานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีคุณมีศรัทธาเป็นต้นของตน ตั้งเทวดาไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์
(7) สติอันปรารภความตายเกิดขึ้น ชื่อ มรณานุสติ คำว่า มรณานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์
(8) สติชื่อกายคตา เพราะไปสู่รูปกายอันต่างโดยโกฏฐาสมีผมเป็นต้น หรือว่า เพราะไปในกาย เมื่อควรจะกล่าว(วิเคราะห์)ว่า กายคตา จ สา สติ จาติ กายคตสฺสติ (สตินั้นด้วย ไปในกายด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่ากายคตสติ) แต่ท่านไม่ทำรัสสะ กล่าวว่า กายคตาสติคำว่า กายคตาสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมี (ปฏิกูล) นิมิตในโกฏฐาสแห่งกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์
(9) สติอันปรารภลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเกิดขึ้น ชื่ออานาปานสติ คำว่า อานาปานสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีนิมิตในลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นอารมณ์
(10) อนุสติอันปรารภอุปสมะเกิดขึ้น ชื่อว่าอุปสมานุสติ คำว่าอุปสมานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมระงับแห่งสรรพทุกข์เป็นอารมณ์
(วิ. ฉอนุสฺสติ. ปฐม. 250)

ปกิณณกะ หมวดเบ็ดเตล็ด

อุปกิเลส คือ โทษเครื่องเศร้าหมอง 16 อย่าง

  1. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง.
  2. โทสะ. ร้ายกาจ.
  3. โกธะ โกรธ.
  4. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้.
  5. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน.
  6. ปลาสะ ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน.
  7. อิสสา ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้.
  8. มัจฉริยะ ตระหนี่.
  9. มายา มารยา คือเจ้าเล่ห์.
  10. สาเถยยะ โอ้อวด.
  11. ถัมภะ หัวดื้อ.
  12. สารัมภะ แข่งดี.
  13. มานะ ถือตัว.
  14. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน.
  15. มทะ มัวเมา.
  16. ปมาทะ เลินเล่อ.

กตเม จ ภิกฺขเว จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลสา.
(1) อภิชฺฌาวิสมโลโภ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (2) พฺยาปาโท จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (3) โกโธ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (4) อุปนาโห จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส
(5) มกฺโข จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (6) ปฬาโส จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (7) อิสฺสา จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (8) มจฺฉริยํ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส
(9) มายา จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (10) สาเฐยฺยํ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (11) ถมฺโภ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (12) สารมฺโภ จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส
(13) มาโน จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (14) อติมาโน จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (15) มโท จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส  (16) ปมาโท จิตฺตสฺส อุปกฺกิเลโส.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต คือ
(1) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง  (2) พยาบาท ปองร้ายเขา  (3) โกธะ โกรธ  (4) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้  (5) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน 
(6) ปลาสะ ยกตนเทียบเท่า  (7) อิสสา ริษยา  (8) มัจฉริยะ ตระหนี่  (9) มายา มารยา  (10) สาเฐยยะ โอ้อวด 
(11) ถัมถะ หัวดื้อ  (12) สารัมภะ แข่งดี  (13) มานะ ถือตัว  (14) อติมานะ ดูหมิ่นท่าน  (15) มทะ มัวเมา
(16) ปมาทะ เลินเล่อ
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.

(ม. มู. 12/26-27,65)
(ในธัมมทายาทสูตร (ม. มู. 12/26-27) ข้อ 1 ว่า โลภะ ข้อ 2 ว่า โทสะ ในวัตถุปมสูตร (ม. มู. 12/65) ข้อ 1 ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ข้อ 2 ว่า พยาปาทะ. นอกนั้นเหมือนกัน.)


 

โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

  1. สติปัฏฐาน 4
  2. สัมมัปปธาน 4 (ปธาน 4).
  3. อิทธิบาท 4
  4. อินทรีย์ 5
  5. พละ 5
  6. โพชฌงค์ 7
  7. มรรคมีองค์ 8

(ดูตามข้อธรรมที่กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้)

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.