การอ้างที่มาผิด
ธรรมภาษิต คือ ภาษิตธรรมะ
พุทธสาสนสุภาษิต คือ สุภาษิตในพระพุทธศาสนา
พุทธภาษิต คือ ภาษิต คำพูดของพระพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ พระพุทธวจนะ พระพุทธดำรัส
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ. (สตึ สพฺพตฺถิกํ วทามิ.) ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง. (สํ. ม. 19/572/158) | พระพุทธพจน์ |
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา. สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา. เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก. มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ. ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ. นิสฺสมฺม กรณํ เสยฺโย. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า. | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ว.ว.) |
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา. ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา. พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม. | สมเด็จพระสังฆราช (สา) (ส.ส.) |
ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร. ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์. | สวดมนต์ฉบับหลวง (ส.ม.) |
การเขียนสะกดผิด
คำที่ถูกต้อง | มักเขียนผิดเป็น |
---|---|
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ. (ปัญจมีตัปปุริสสมาส) สุข อื่นจากความสงบ ไม่มี. (พยัญชนะ) สุขอื่นนอกจากความสงบ ไม่มี. (อรรถ) ไม่มีความสุข [อันแท้จริง] อื่น นอกจากความสงบ. (อรรถ) | นตฺถิ สนฺติ ปรํสุขํ. นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ. |
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา. (ตติยาตัปปุริสสมาส) แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี. | นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา. |
นิพฺพานปจฺจโย โหตุ. (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส) ขอ (กุศลกรรมนี้) จงเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน เถิด. (ไม่พบที่มา) | นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ. |
อาโรคฺยปรมา ลาภา. (ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาส) ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง. - แปลตามตัวอักษร (พยัญชนะ) ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง. - แปลเอาความหมาย (อรรถ) | อาโรคฺยา ปรมา ลาภา. อโรคฺยา ปรมา ลาภา. |
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ. ตนนั่นแหละ เป็นที่พึ่ง ของตน. | อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ. |
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ. ธรรม ย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรม. | ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี. |
การใช้ราชาศัพท์
การเขียนที่ถูก
ตรัส:
พูด
- พระพุทธองค์ตรัส (=พูด)
เสด็จ:
ไป; ใช้นำหน้ากริยาที่แสดงการเคลื่อนไหวได้ ทั้งสามัญและราชาศัพท์ ได้)
- พระพุทธองค์เสด็จแต่พระองค์เดียว (=ไป)
- พระพุทธองค์เสด็จไป/เสด็จมา/เสด็จกลับ/เสด็จดำเนิน/เสด็จเดินทาง/เสด็จขึ้น/เสด็จลง/เสด็จจาริก/
ประทับ:
นั่ง; อยู่ (ที่…)
- พระพุทธองค์(เสด็จ)ประทับ ณ พระคันธกุฎี (=อยู่ (ที่…))
- พระพุทธองค์(เสด็จ)ประทับ บนอาสนะ (=นั่ง)
= ทรงนั่งบนอาสนะ (ใช้ ทรง นำหน้ากริยาสามัญ)
ทรง:
ใช้ นำหน้ากริยาสามัญ
- พระพุทธองค์ทรงยืนใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ (
ประทับยืนยืนและนั่งพร้อมกันไม่ได้) - พระราชาทรงรับสั่ง ให้อำมาตย์เข้าเฝ้า (สั่ง / ไม่ใช่รับคำสั่ง)
อื่นๆ:
- พระพุทธองค์ประชวร (ป่วย)
- พระพุทธองค์บรรทม (นอน)
- พระพุทธองค์เสวย (กิน)
(คำว่า เสวย ที่ไม่ใช่ราชาศัพท์ แปลว่า ได้รับ, ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, เสวยสิทธิ์ (ได้รับประโยชน์),
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหากบิลวานร, พระเทวทัตเสวยกรรมอย่างสาหัส) - เจ้าชายนันทะประสูติ (เกิด)
- พระราชาโปรด (รัก, ชอบ)
กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส เสด็จ ประทับ เสวย กริ้ว โปรด ประสูติ ฯลฯ ไม่ต้องใช้คำว่า ทรง นำหน้าอีก
ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช
การเขียนที่ผิด
- พระพุทธองค์ทรงตรัส / ทรงเสด็จ / ทรงประทับ / ประทับนั่ง/ประทับยืน / ทรงเสวย
ความคิดเห็น