นามกิตก์

สารบัญ

วิธีลงปัจจัยนามกิตก์

ปัจจัยนอกแบบ

 


ชีทประกอบการศึกษา:

 

กิตก์ที่เป็นนามนามหรือคุณนาม เรียกว่า นามกิตก์

กิริยากิตก์ จัดเป็น วาจก   มีปัจจัยเป็นเครื่องบอกวาจก (และกาล)    
นามกิตก์ จัดเป็น สาธนะ   มีปัจจัยเป็นเครื่องบอกสาธนะ

เมื่อนำธาตุ มาลงปัจจัยนามกิตก์ และลงวิภัตตินาม  ก็สำเร็จเป็นนามกิตก์ได้ 

กร (ทำ)    
ธาตุ    
|    
อรรถ
+ณฺวุ    
ปัจจัยนามกิตก์    
|    
สาธนะ
+สิ    
วิภัตตินาม*    
|    
ลิงค์ วจนะ
=  การโก (ผู้ทำ)    
นามกิตก์

* ถ้าลงปัจจัยนามกิตก์ที่เป็นอัพยยะ (ตเว ตุํ)  ก็ไม่ต้องลงวิภัตตินาม

 

แต่ศัพท์นามกิตก์นี้จะเป็นสาธนะอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าลงปัจจัยพวกไหน เช่น 

ถ้าลง กิตปัจจัย (กฺวิ ณี ณฺวุ ตุ รู)เป็น กัตตุสาธนะ อย่างเดียว
ลง กิจจปัจจัย (ข ณฺย)เป็น กัมมสาธนะ และ ภาวสาธนะ
ลง กิตกิจจปัจจัย (อ อิ ณ ตเว ติ ตุํ ยุ)เป็นได้ทั้ง 7 สาธนะ

 

  เป็นเครื่องหมาย
1. กิตปัจจัย 5:กฺวิ ณี ณฺวุ ตุ รูกัตตุรูป
2. กิจจปัจจัย 2:ข ณฺยกัมมรูป และ ภาวรูป
3. กิตกิจจปัจจัย 7:อ อิ ณ ตเว ติ ตุํ กัตตุรูป กัมมรูป และ ภาวรูป

 

สาธนะ แปลว่า ศัพท์ที่สำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์*   หมายถึง ศัพท์นามกิตก์นั้นเอง   แบ่งเป็น 7 คือ

      วิภัตติที่
1.กัตตุสาธนะเป็นชื่อของผู้ทำเช่น  ทายโก (ชโน)ผู้ให้ให้1
2.กัมมสาธนะเป็นชื่อของผู้ถูกทำเช่น  ทานํ (วตฺถุ)วัตถุที่ให้ให้ ‘ซึ่ง’2
3.ภาวสาธนะบอกกิริยาอาการเช่น  ทานํการให้‘การ’ ให้ 
4.กรณสาธนะเป็นชื่อของเครื่องทำเช่น  ทานา (เจตนา)เครื่องให้ให้ ‘ด้วย’3
5.สัมปทานสาธนะเป็นชื่อของผู้รับมอบเช่น  สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)ผู้รับมอบให้ ‘แก่’4
6.อปาทานสาธนะเป็นชื่อของที่ที่จากไปเช่น  ปภโว (ปพฺพโต)ที่เกิดก่อนไป ‘จาก’5
7.อธิกรณสาธนะเป็นชื่อของสถานที่ เวลา ที่ทำเช่น  ทานา (สาลา)สถานที่ให้ให้ ‘ใน’7

นามกิตก์ที่เป็น ภาวสาธนะ  เป็นนามนาม  แปลออกสำเนียงอายตนิบาตได้    
นามกิตก์อีก 6 สาธนะที่เหลือ เป็นคุณนาม  ใช้เป็นบทวิเสสนะของนามนามอื่น  (บทนามนามอื่น เรียกว่า อัญญบท)    
  (ถ้าใช้เป็นนามนาม ก็แปลออกสำเนียงอายตนิบาตได้เช่นกัน)

[สาธนะนั้น สำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์  และ รูปวิเคราะห์ ก็คือการเอาสาธนะมาแยก (วิคฺคห) ธาตุ ปัจจัย บทหน้า มาประกอบเป็นรูปประโยคตามวาจกต่างๆ       
วิคฺคห (วิคฺรห)= วิเคราะห์ แปลว่า แยก   สงฺคห (สมฺคฺรห) = สงเคราะห์ หรือ สังเคราะห์ แปลว่า รวม]

 

รูปวิเคราะห์นามกิตก์ คือ ข้อความที่บอกความหมายของศัพท์นามกิตก์นั้น     
โดยการนำธาตุ (รวมทั้งปัจจัย บทหน้า) ของศัพท์นามกิตก์ (สาธนะ) นั้นเอง มาประกอบเป็นกิริยาหลัก* ของข้อความ    
* เป็นกิริยาอาขยาต กิริยากิตก์ หรือเป็นนามกิตก์เช่นเดิมบ้าง

 

รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ จัดเป็น 3 คือ

  1. วิเคราะห์เป็น กัตตุวาจก และ เหตุกัตตุวาจก    เรียกว่า กัตตุรูป
  2. วิเคราะห์เป็น กัมมวาจก และ เหตุกัมมวาจก    เรียกว่า กัมมรูป
  3. วิเคราะห์เป็น ภาววาจก                              เรียกว่า ภาวรูป

ปัจจัยนามกิตก์  เป็นรูปและสาธนะ ดังนี้

 ปัจจัยรูปวิเคราะห์ เป็นสาธนะ เป็น
กิตปัจจัย:กฺวิ ณี ณฺวุ ตุ รูกัตตุรูป  (กัตตุวาจก-เหตุกัตตุวาจก)กัตตุสาธนะ
กิจจปัจจัย:ข ณฺยกัมมรูป และภาวรูป (กัมมวาจก-เหตุกัมมวาจก-ภาววาจก)กัมมสาธนะ และภาวสาธนะ
กิตกิจจปัจจัย:อ อิ ณ ตเว ติ ตุํ ยุกัตตุรูป กัมมรูป และภาวรูป (ทั้ง 5 วาจก)ทั้ง 7 สาธนะ

   

ตัวอย่าง   ทายโก ผู้ให้      ตั้งวิเคราะห์  ว่า  เทตีติ  ทายโก  (ชโน)  ชน ใด ย่อมให้  เหตุนั้น ชน นั้น ชื่อว่า ผู้ให้    
        เทติ   อิติ  ทายโก    (ชโน)    
           |              |          |    
     รูปวิเคราะห์    สาธนะ   อัญญบท

เทติ อิติ  เป็นรูปวิเคราะห์   ทายโก  เป็นสาธนะ    
สาธนะ คือ ทายโก  สำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์ คือ เทติ อิติ    
ทายโก มาจาก ทา ธาตุ ในความให้  ย ปัจจัย  ณฺวุ ปัจจัยนามกิตก์  นำมาประกอบเป็นกิริยาอาขยาตในรูปวิเคราะห์ คือ เทติ    
ชโน เป็นประธานของสาธนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัญญบท   

ศัพท์นามกิตก์ที่เป็นคุณนาม ใช้เป็นบทวิเสสนะของนามนามอื่น เช่น    
  ทายโก  ชโน  อ.ชน  ผู้ให้,    ทายกสฺส  ชนสฺส  แก่ชน  ผู้ให้

ตามตัวอย่างข้างบน  ทายโก, ทายกสฺส เป็นนามกิตก์ที่เป็นคุณนามใช้เป็นบทวิเสสนะของนามนาม  คือ   ชโน และ ชนสฺส    
ดังนั้น ชโน และ ชนสฺส จึงเป็นอัญญบท   กิริยาในรูปวิเคราะห์ คือ เทติ เป็นกัตตุวาจก  ดังนั้นรูปวิเคราะห์นี้จึงเป็นกัตตุรูป

 

สาธนะ แบ่งเป็น 7  คือ

  1. กัตตุสาธนะ  เป็นชื่อของผู้ทำ   มีผู้ทำกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ

1) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ   แปลว่า “ผู้”    
    เทตีติ  ทายโก (ชโน)    : ..........ตีติ ......... (.........)    
    โย  ชโน  เทติ  อิติ  โส  ชโน  ทายโก    
    อ.ชน ใด  ย่อมให้  เหตุนั้น  อ.ชน นั้น  ชื่อว่า ผู้ให้    
    ผู้ทำ (ชน) กิริยา “ให้” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
2) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ*  แปลว่า “ผู้...โดยปกติ”    
    ธมฺมํ  วทติ  สีเลนาติ  ธมฺมวาที (ชโน)    : ..........ติ สีเลนาติ ......... (.........)    
    โย  ชโน  สีเลน  ธมฺมํ  วทติ  อิติ  โส  ชโน  ธมฺมวาที    
    อ.ชน ใด  ย่อมกล่าว  ซึ่งธรรม  โดยปกติ  เหตุนั้น  อ.ชน นั้น  ชื่อว่า ผู้กล่าวซึ่งธรรมโดยปกติ    
    ผู้ทำ (ชน) กิริยา “กล่าว” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์เพิ่ม สีล ศัพท์ (ปกติ) ประกอบเป็นตติยาวิภัตติเข้ามา    
    [* เรียกว่า กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลงในอรรถแห่งตัสสีละ บ้าง  กัตตุรูป สีลสาธนะ บ้าง     
    แต่อย่างหลังไม่นิยม เพราะถือว่าในสาธนะทั้ง 7 ไม่มีสาธนะที่ชือว่า สีลสาธนะ]    
3) สมาสรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ  แปลว่า “ผู้มีการ (ความ, อัน) ...เป็นปกติ”    
    ธมฺมํ  วตฺตุํ  สีลมสฺสาติ  ธมฺมวาที (ชโน)    : ..........ตุํ สีลมสฺสาติ ......... (.........)    
    ธมฺมํ  วตฺตุํ  อสฺส  (ชนสฺส)  สีลํ (โหติ)  อิติ  (โส  ชโน)  ธมฺมวาที    
    การกล่าว ซึ่งธรรม เป็นปกติ ของชน นั้น  เหตุนั้น  ชน นั้น ชื่อว่า ผู้มีการกล่าวซึ่งธรรมเป็นปกติ    
    ผู้ทำ (ชน) กิริยา “กล่าว” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  ธาตุประกอบด้วย ตุํ ปัจจัย ใช้เป็นประธานของประโยค    
    มี สีล ศัพท์ (ปกติ) ประกอบเป็นปฐมาวิภัตติ  เป็นวิกติกัตตา    
    กัตตาผู้ทำกิริยาประกอบเป็นฉัฏฐีวิภัตติเข้ากับ ต ศัพท์    
4) สมาสรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ  แปลว่า “ผู้มีการ (ความ, อัน)...เป็นปกติ”    
    ธมฺมวทนสีโลติ ธมฺมวาที (ชโน)    : ...........-สีโลติ/-สีลาติ/-สีลนฺติ ..... (.....)    
    (โย ชโน) ธมฺมวทนสีโล  อิติ  (โส ชโน)  ธมฺมวาที    
    ชน ใด มีการกล่าวซึ่งธรรมเป็นปกติ  เหตุนั้น  ชน นั้น  ชื่อว่า ผู้มีการกล่าวซึ่งธรรมเป็นปกติ    
    ผู้ทำ (ชน) กิริยา “กล่าว” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  มีบทพหุพพิหิสมาส ประกอบด้วย สีล ศัพท์ (ปกติ)

  1. กัมมสาธนะ เป็นชื่อของสิ่งที่เขาทำ   มีผู้ถูกทำ (กรรม) ของกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ    
    * ใช้สกัมมธาตุอย่างเดียว

1) กัตตุรูป กัมมสาธนะ   แปลว่า “เป็นที่...”    
    ปิยติ  ตนฺติ  ปิโย (ปุตฺโต)    : ..........ติ  ตนฺติ ......... (.........)    
    ปิตา  ตํ  ปุตฺตํ  ปิยติ  อิติ  โส  ปุตฺโต  ปิโย    
    บิดา  ย่อมรัก  ซึ่งบุตร นั้น  เหตุนั้น  บุตร นั้น  ชื่อว่า เป็นที่รัก (แห่งบิดา)    
    ผู้ถูกทำ (บุตร) ของกิริยา “รัก” ในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  มีผู้ถูกทำเป็นทุติยาวิภัตติเข้ากับ ต ศัพท์    
2) กัมมรูป กัมมสาธนะ   แปลว่า  “(เป็นที่)อันเขา...”    
    ปิยิยเตติ  ปิโย (ปุตฺโต)    : ..........-ิยเตติ ......... (.........)    
    โย  ปุตฺโต  เตน  ปิยิยเต  อิติ  โส  ปุตฺโต   ปิโย    
    บุตร ใด  อันบิดา  ย่อมรัก  เหตุนั้น  บุตร นั้น  ชื่อว่า อันเขารัก,  เป็นที่อันเขารัก (แห่งบุตร)    
    ผู้ถูกทำ (บุตร) ของกิริยา “รัก” ในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ    
3) กัมมรูป กัมมสาธนะ  ที่ตั้งวิเคราะห์โดยใช้กิริยากิตก์ ตพฺพ ปัจจัย  แปลว่า “(เป็นที่)อันเขาพึง..”    
    กาตพฺพนฺติ  กิจฺจํ  (กมฺมํ)    : .........ตพฺโพติ/-ตพฺพาติ/-ตพฺพนฺติ ......... (.........)    
    ยํ  กมฺมํ  เตน  กาตพฺพํ  อิติ  ตํ  กมฺมํ  กิจฺจํ    
    กรรม ใด อันเขา พึงทำ  เหตุนั้น  กรรม นั้น  ชื่อว่า อันเขาพึงทำ, เป็นที่อันเขาพึงทำ (แห่งกรรม)

  1. ภาวสาธนะ  บอกกิริยา คือความทำ    
    * เป็น ภาวรูป ภาวสาธนะ เท่านั้น   แปลว่า  “การ/ความ/อัน...”

1) รูปวิเคราะห์เป็นกิริยาอาขยาต ใช้อกัมมธาตุอย่างเดียว    
    คจฺฉยเตติ  คมนํ    : ..........ยเตติ .........    
    เตน  คจฺฉยเต  เหตุนั้น  อิติ  คมนํ    
    อันเขา  ย่อมไป  ชื่อว่า คมนะ (การไป)    
2) รูปวิเคราะห์เป็นกิริยากิตก์ ใช้อกัมมธาตุอย่างเดียว    
    คนฺตพฺพนฺติ  คมนํ    : .........ตพฺพนฺติ .........    
    เตน  คนฺตพฺพํ  อิติ  คมนํ    
    อันเขา  พึงไป  เหตุนั้น  ชื่อว่า คมนะ (การไป)    
3) รูปวิเคราะห์เป็นนามกิตก์ (ลง ยุ ปัจจัย)  ใช้อกัมมธาตุ หรือ สกัมมธาตุก็ได้    
    คมนํ  คมนํ    : .........นํ, ณํ   .........    การไป  ชื่อว่า คมนะ (การไป)    
    ปจนํ  ปาโก  : .........นํ, ณํ   .........    การหุง  ชื่อว่า ปากะ (การหุง)

  1. กรณสาธนะ  เป็นชื่อของเครื่องทำ   มีเครื่องทำ ของกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ

1) กัตตุรูป กรณสาธนะ   แปลว่า  “เป็นเครื่อง/เป็นเหตุ...”    
    พนฺธติ  เตนาติ  พนฺธนํ (วตฺถุ)    : ..........ติ  เตนาติ, ตายาติ ......... (.........)    
    ชโน  เตน  วตฺถุนา  พนฺธติ  อิติ  ตํ  วตฺถุ  พนฺธนํ    
    ชน  ย่อมผูก  ด้วยวัตถุ นั้น  เหตุนั้น  วัตถุ นั้น ชื่อว่า เป็นเครื่องผูก, เป็นเหตุผูก (แห่งชน)    
    เครื่องทำ (วตฺถุ) ของกิริยา “ผูก” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  มีเครื่องทำเป็นตติยาวิภัตติเข้ากับ ต ศัพท์    
2) กัมมรูป กรณสาธนะ   แปลว่า  “เป็นเครื่อง/เป็นเหตุ อันเขา...”    
    พนฺธิยเต  เตนาติ  พนฺธนํ (วตฺถุ)    : ..........-ิยเต  เตนาติ, ตายาติ ......... (.........)    
    (เตน  รุกฺโข)  เตน  วตฺถุนา  พนฺธิยเต   อิติ  ตํ  วตฺถุ  พนฺธนํ    
    ต้นไม้  อันเขา ย่อมผูก ด้วยวัตถุ นั้น  เหตุนั้น วัตถุ นั้น ชื่อว่า เป็นเครื่องอันเขาผูก, เป็นเหตุอันเขาผูก (แห่งต้นไม้)

  1. สัมปทานสาธนะ   เป็นชื่อของผู้รับมอบ   มีผู้รับมอบ ของกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ    
    * ใช้สกัมมธาตุ ทา ธาตุ อย่างเดียว

1) กัตตุรูป สัมปทานสาธนะ   แปลว่า  “เป็นที่...”    
    สมฺปเทติ  ตสฺสาติ  สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)    : ..........ติ  ตสฺสาติ ......... (.........)    
    ชโน  ตสฺส  ปุคฺคลสฺส  สมฺปเทติ  อิติ  โส  ปุคฺคโล  สมฺปทาโน    
    ชน  ย่อมมอบให้  แก่บุคคล นั้น  เหตุนั้น  บุคคล นั้น ชื่อว่า เป็นที่มอบให้ (แห่งชน)    
    ผู้รับมอบ (ปุคฺคล) ของกิริยา “มอบให้” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  มีผู้รับมอบเป็นจตุตถีวิภัตติเข้ากับ ต ศัพท์    
2) กัมมรูป สัมปทานสาธนะ   แปลว่า  “เป็นที่อันเขา...”    
    สมฺปทิยเต  ตสฺสาติ  สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)    : ............-ิยเต  ตสฺสาติ ......... (.........)    
    (เตน  สกฺกาโร)  ตสฺส  ปุคฺคลสฺส  สมฺปทิยเต  อิติ  โส  ปุคฺคโล  สมฺปทาโน    
    สักการะ อันเขา ย่อมมอบให้  แก่บุคคล นั้น  เหตุนั้น  บุคคล นั้น ชื่อว่า เป็นที่อันเขามอบให้ (แห่งสักการะ)

  1. อปาทานสาธนะ  เป็นชื่อของที่ที่จากไป  มีที่ที่จากไป ของกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ    
    * ใช้อกัมมธาตุอย่างเดียว

เป็น กัตตุรูป อปาทานสาธนะ เท่านั้น  แปลว่า  “เป็นแดน...”    
ปภา สรติ  ตสฺมาติ  ปภสฺสโร  (เทวกาโย)     : ..........ติ  ตสฺมาติ, ตายาติ ......... (.........)    
ปภา   ตสฺมา เทวกายสฺมา  สรติ  อิติ   โส เทวกาโย  ปภสฺสโร    
รัศมี  ย่อมซ่านออก  จากกายของเทวดา นั้น   เหตุนั้น กายของเทวดา นั้น  ชื่อว่า เป็นแดนซ่านออกแห่งรัศมี    
ที่ที่จากไป (เทวกาย) ของกิริยา “ซ่านออก” ในรูปวิเคราะห์   เป็นประธานของสาธนะ    
ในรูปวิเคราะห์  มีที่ที่จากไป เป็นปัญจมีวิภัตติเข้ากับ ต ศัพท์

  1. อธิกรณสาธนะ  เป็นชื่อของที่ทำ (สถานที่ทำ เวลาที่ทำ)   มีที่ทำ ของกิริยาในรูปวิเคราะห์ เป็นประธานของสาธนะ

1) กัตตุรูป อธิกรณสาธนะ   แปลว่า  “เป็นที่...”    
    นิสีทติ  เอตฺถาติ  นิสีทนํ  (ฐานํ)    : ............ติ  เอตฺถาติ ......... (.........)    
    ชโน  เอตฺถ  ฐาเน  นิสีทติ  อิติ  เอตํ  ฐานํ  นิสีทนํ    
    ชน  ย่อมนั่ง  ในที่ นั่น  เหตุนั้น   ที่ นั่น  ชื่อว่า เป็นที่นั่ง (แห่งชน)    
    ที่ทำ (ฐาน) ของกิริยา “นั่ง” ในรูปวิเคราะห์  เป็นประธานของสาธนะ    
    ในรูปวิเคราะห์  มีที่ทำ เป็นสัตตมีวิภัตติเข้ากับ เอตฺถ ศัพท์    
2) กัมมรูป อธิกรณสาธนะ   แปลว่า  “เป็นที่อันเขา...”    
    สุณิยเต  เอตฺถาติ  สวโน (กาโล)    : ............-ิยเต  เอตฺถาติ ......... (.........)    
    (ชเนหิ  ธมฺโม)  เอตฺถ  กาเล  สุณิยนฺเต  อิติ  เอโส กาโล  สวโน    
    (ธรรม  อันชน ท.) ย่อมฟัง  ในกาล นั่น  เหตุนั้น  กาล นั่น  ชื่อว่า เป็นที่อันเขาฟัง (แห่งธรรม)    
    ที่ทำ (กาล) ของกิริยา “ฟัง” ในรูปวิเคราะห์  เป็นประธานของสาธนะ

 

ข้อสังเกต

  1. สัมปทานสาธนะ และ อปาทานสาธนะ มีที่ใช้น้อย
  2. สกัมมธาตุเป็นได้ 3 รูป (เฉพาะภาวรูป ใช้ได้แต่รูปวิเคราะห์ที่เป็นนามกิตก์)  6 สาธนะ (เว้นอปาทานสาธนะ)    
    อกัมมธาตุเป็นได้  2 รูป (กัตตุรูป กับ ภาวรูป)  5 สาธนะ  (เว้นกัมมสาธนะ และสัมปทานสาธนะ)
  3. ภาววาจก  ในกิริยาอาขยาต กิริยากิตก์  ใช้ อกัมมธาตุเท่านั้น    
    ภาวสาธนะ    ที่รูปวิเคราะห์เป็นกิริยาอาขยาต กิริยากิตก์  ใช้ อกัมมธาตุ เท่านั้น    
                    ที่รูปวิเคราะห์เป็นนามกิตก์  ใช้ได้ทั้ง สกัมมธาตุ และ อกัมมธาตุ
  4. เวลาแปล  รูปวิเคราะห์ที่ต้องใส่ ย ต สัพพนามเพิ่มเข้ามา  มี 3  คือ    
    กัตตุรูป  กัตตุสาธนะ    
    กัตตุรูป  กัตตุสาธนะ  (ตัสสีละ)    
    กัมมรูป  กัมมสาธนะ    
    ย ใส่ด้านรูปวิเคราะห์   ต ใส่ด้านสาธนะ   และพึงใส่ให้ตรงกับลิงค์ของนามนามด้วย  เช่น    
             ปุงลิงค์       อิตถีลิงค์       นปุงสกลิงค์    
    เอก.   โย  โส          ยา  สา        ยํ      ตํ    
    พหุ.    เย  เต           ยา  ตา        ยานิ  ตานิ    
        นอกนั้น เวลาแปล ให้ใส่เพิ่ม ต ด้านสาธนะอย่างเดียว
  5. นามกิตก์ที่มีศัพท์เกี่ยวกับกาลเวลา สถานที่ เป็นอัญญบท มักเป็นอธิกรณสาธนะ    
      เวลา:  กาโล, เวลา, ทิวโส ทิวสํ, สํวจฺฉโร สํวจฺฉรํ, อุตุ (ปุํ. นปุํ.), วสฺสํ, สมโย, รตฺติ     
      สถานที่:  ฐานํ, ปเทโส, เคหํ
  6. วิธีสังเกตศัพท์นามกิตก์ ว่าเป็นสาธนะใด
    1. สังเกตที่ ปัจจัย    
      กิตปัจจัย เป็นกัตตุสาธนะอย่างเดียว    
      กิจจปัจจัย เป็นได้ 2 สาธนะ  คือ  กัมมสาธนะ และ ภาวสาธนะ    
      กิตปัจจัย  เป็นได้ทั้ง 7 สาธนะ
    2. สังเกตที่ ธาตุ    
      สกัมมธาตุเป็นได้ 6 สาธนะ  คือ เว้นอปาทานสาธนะ    
      อกัมมธาตุเป็นได้ 5 สาธนะ  คือ เว้นกัมมสาธนะ และ สัมปทานสาธนะ
    3. สังเกตที่ อัญญบท    
      โดยนำคำแปลของธาตุ  จากศัพท์นามกิตก์ (สาธนะ) มาแปลเข้ากับอัญญบท     
      ถ้าคำแปลสำเนียงอายตนิบาตใดฟังแล้วเข้ากับกิริยานั้นดี  ก็แสดงว่าเป็นสาธนะนั้นๆ  เช่น    
      สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)    
      สมฺปทาโน  มาจาก สํ  ป บทหน้า  ทา ธาตุ  “ให้”    
      ถ้าแปลว่า “บุคคล ให้”       บุคคล เป็นผู้ทำกิริยาให้  แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นกัตตุสาธนะได้    
      ถ้าแปลว่า “ให้ ซึ่งบุคคล”    บุคคล เป็นผู้ถูกให้ แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นกัมมสาธนะได้    
      ถ้าแปลว่า “ให้ ด้วยบุคคล”  บุคคล เป็นเครื่องให้ แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นกรณสาธนะได้    
      ถ้าแปลว่า “ให้ แก่บุคคล”    บุคคล เป็นผู้รับมอบให้ แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นสัมปทานสาธนะได้    
      ถ้าแปลว่า “ให้ จากบุคคล”  บุคคล เป็นแดนจากไป ของกิริยาให้ แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นอปาทานสาธนะได้    
      ถ้าแปลว่า “ให้ ที่บุคคล”     บุคคล เป็นที่ให้ แสดงว่าศัพท์นามกิตก์นี้เป็นอธิกรณสาธนะได้    
      แต่ถ้าศัพท์นามกิตก์นั้นไม่มีอัญญบท  แสดงว่านามกิตก์นั้นเป็นภาวสาธนะ
    4. สังเกตที่ คำแปลสาธนะ  ว่าคำแปลนั้นๆ เป็นคำแปลของสาธนะอะไร     
      (เฉพาะคำแปลว่า  “เป็นที่” “เป็นที่อันเขา”   มีใน 3 สาธนะ)
    5. สังเกตที่ รูปวิเคราะห์  รูปวิเคราะห์จะเป็นเครื่องบอกได้แน่นอนว่า ศัพท์นามกิตก์ศัพท์นั้นๆ เป็นสาธนะอะไร    
      ตัวอย่าง    สยนํ (มญฺจกํ)  อ.เตียง เป็นที่นอน   สี ธาตุในความนอน  ลง ยุ ปัจจัย    
      - สยนํ  ลง ยุ ปัจจัย เป็นได้ทุกสาธนะ    
      - สี ธาตุในความนอน เป็นอกัมมธาตุ เป็นได้ 5 สาธนะ คือ กัตตุ-กรณ-ภาว-อปาทาน-อธิกรณสาธนะ    
      - คำแปลว่า “เป็นที่” เป็นได้ 3 สาธนะ    
      - ถ้าให้รูปวิเคราะห์มาว่า  สยนฺติ เอตฺถาติ  แสดงว่าเป็นอธิกรณศัพท์สาธนะ (ดูจาก เอตฺถ)    

      –  วิเคราะห์เป็นกัมมรูป   สาธนะมีคำแปลว่า “อันเขา”    
      –  สาธนะที่แปลว่า  “เป็นที่...” (กัตตุรูป) “เป็นที่อันเขา...” (กัมมรูป) มี 3 สาธนะ คือ กัมมสาธนะ สัมปทานสาธนะ และอธิกรณสาธนะ    
      –  วิเสสนสัพพนามในรูปวิเคราะห์ทั้งหลาย จะใช้ ต  เอต  หรือ  อิม ศัพท์ ศัพท์ก็ได้     
           และประกอบเป็นพหุวจนะก็ได้  เช่น  เต, ตานิ, เอเต, เอตานิ  เป็นต้น     
           ในอธิกรณสาธนะนิยมใช้ เอตฺถ แทน (เป็นอัพยยะ ใช้ได้กับทุกลิงค์)    
      –   วิเคราะห์เป็นกัตตุรูป    มีใน 6 สาธนะ (คือเว้นภาวสาธนะ)    
           วิเคราะห์เป็นกัมมรูป    มีใน 4 สาธนะ (คือเว้นกัตตุสาธนะ ภาวสาธนะ และ อปาทานสาธนะ)    
           วิเคราะห์เป็นภาวรูป    มีในภาวสาธนะเท่านั้น

 

รูปแบบการตั้งรูปวิเคราะห์ใน 7 สาธนะ

ดาวน์โหลด PDF

 รูป      สาธนะรูปวิเคราะห์    สาธนะ    อัญญบทคำแปลสาธนะ
1.กัตตุรูปกัตตุสาธนะ......    -ตีติ ......... (.........)“ผู้...”
กัตตุรูปกัตตุสาธนะ ตัสสีละ......    -ติ  สีเลนาติ ......... (.........)“ผู้...โดยปกติ”
สมาสรูปกัตตุสาธนะ ตัสสีละ......    -ตุํ  สีลมสฺสาติ ......... (.........)“ผู้มีการ/ความ/อัน...เป็นปกติ”
......    -สีโลติ/-สีลาติ/-สีลนฺติ ......... (.........)
2.กัตตุรูปกัมมสาธนะ......    -ติ  ตนฺติ ......... (.........)“เป็นที่...”
กัมมรูป......    -อิยเตติ ......... (.........)“(เป็นที่)อันเขา...”
กัมมรูป......    -ตพฺโพติ/-ตพฺพาติ/-ตพฺพนฺติ ... (...)“(เป็นที่)อันเขาพึง...”
3.ภาวรูปภาวสาธนะ......    -ยเตติ .........“ความ/การ/อัน...”
......    -ตพฺพนฺติ .......
......    -นํ, -ณํ   .........
4.กัตตุรูปกรณสาธนะ......    -ติ  เตนาติ, ตายาติ ......... (.....)“เป็นเครื่อง/เป็นเหตุ...”
กัมมรูป......    -อิยเต  เตนาติ, ตายาติ .... (.....)“เป็นเครื่อง/เหตุ อันเขา...”
5.กัตตุรูปสัมปทานสาธนะ......    -ติ  ตสฺสาติ ......... (.........)“เป็นที่...”
กัมมรูป......    -อิยเต  ตสฺสาติ ......... (.........)“เป็นที่อันเขา...”
6.กัตตุรูปอปาทานสาธนะ......    -ติ  ตสฺมาติ, ตายาติ ........ (.........)“เป็นแดน...”
7.กัตตุรูปอธิกรณสาธนะ......    -ติ  เอตฺถาติ ......... (.........)“เป็นที่...”
กัมมรูป......    -อิยเต  เอตฺถาติ ......... (.........)“เป็นที่อันเขา...”

 

ตัวอย่างการตั้งรูปวิเคราะห์ ทุกรูป ทุกสาธนะ

1.กัตตุรูป กัตตุสาธนะเทตีติ  ทายโก (ชโน) 
 กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละธมฺมํ  วทติ  สีเลนาติ  ธมฺมวาที (ชโน) 
 สมาสรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละธมฺมํ  วตฺตุํ  สีลมสฺสาติ  ธมฺมวาที (ชโน) 
  ธมฺมวทนสีโลติ ธมฺมวาที (ชโน) 
2.กัตตุรูป กัมมสาธนะปิยติ  ตนฺติ  ปิโย (ปุตฺโต)สกัมมธาตุ
 กัมมรูป กัมมสาธนะปิยิยเตติ  ปิโย (ปุตฺโต)
 กัมมรูป กัมมสาธนะกาตพฺพนฺติ  กิจฺจํ  (กมฺมํ)
3.ภาวรูป ภาวสาธนะคจฺฉยเตติ  คมนํอกัมมธาตุ
  คนฺตพฺพนฺติ  คมนํ
  คมนํ  คมนํ, ปจนํ  ปาโก 
4.กัตตุรูป กรณสาธนะพนฺธติ  เตนาติ  พนฺธนํ (วตฺถุ) 
 กัมมรูป กรณสาธนะพนฺธิยเต  เตนาติ  พนฺธนํ (วตฺถุ) 
5.กัตตุรูป สัมปทานสาธนะสมฺปเทติ  ตสฺสาติ  สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)สกัมมธาตุ
 กัมมรูป สัมปทานสาธนะสมฺปทิยเต  ตสฺสาติ  สมฺปทาโน (ปุคฺคโล)
6.กัตตุรูป อปาทานสาธนะปภา สรติ  ตสฺมาติ  ปภสฺสโร (เทวกาโย)อกัมมธาตุ
7.กัตตุรูป อธิกรณสาธนะนิสีทติ  เอตฺถาติ  นิสีทนํ  (ฐานํ) 
 กัมมรูป อธิกรณสาธนะสุณิยเต  เอตฺถาติ  สวโน (กาโล) 

วิธีตั้งวิเคราะห์ ใน 7 สาธนะ

  1. ตั้งวิเคราะห์เป็นกัตตุรูป  ให้แยกธาตุของนามกิตก์ มาประกอบเป็นกิริยาอาขยาต กัตตุวาจก หรือเหตุกัตตุวาจก  ลง ติ อนฺติ วิภัตติวัตตมานา
  2. ตั้งวิเคราะห์เป็นกัมมรูป  ให้แยกธาตุของนามกิตก์ มาประกอบเป็นกิริยาอาขยาต กัมมวาจก    
    ถ้านามกิตก์นั้นมีคำแปลว่า “พึง”  ให้ประกอบธาตุเป็นกิริยากิตก์ ตพฺพ ปัจจัย  ลงวิภัตตินามให้ตรงกับลิงค์และวจนะของอัญญบท    
      • ใส่ อิติ ศัพท์ ในระหว่างรูปวิเคราะห์กับสาธนะ เสมอ  (ยกเว้นภาวสาธนะ ที่รูปวิเคราะห์เป็นนามกิตก์ ยุ ปัจจัย)
  3. ตั้งวิเคราะห์เป็นภาวรูป
    1. ถ้าศัพท์นามกิตก์นั้นใช้ อกัมมธาตุ ให้แยกธาตุมาประกอบเป็นกิริยาอาขยาต ภาววาจก หรือ ประกอบเป็นกิริยากิตก์ ตพฺพ ปัจจัย ปฐมา. นปุํ. เอก. (มีรูปเป็น  -ตพฺพํ อย่างเดียว) หรือ ประกอบเป็นนามกิตก์ ยุ ปัจจัย  เป็นนามนาม เอกวจนะ ตามลิงค์ที่ใช้กันอยู่
    2. ถ้าศัพท์นามกิตก์นั้นใช้ สกัมมธาตุ ให้แยกธาตุมาประกอบเป็นนามกิตก์อย่างเดียว ลง ยุ ปัจจัย  เป็นนามนาม เอกวจนะ ตามลิงค์ที่ใช้กันอยู่
  4. ถ้านามกิตก์นั้นมีบทหน้า
    1. บทหน้าเป็นนามนาม สัพพนาม แปลออกสำเนียงวิภัตติใด ให้แยกออกมาประกอบเป็นวิภัตตินั้น     
      ยกเว้นบทหน้าแปลออกสำเนียงฉัฏฐีวิภัตติ   ให้แยกออกมาประกอบเป็นปฐมาวิภัตติ      
      กุมฺภํ  กโรตีติ  กุมฺภกาโร (ชโน)        
      กมฺมํ  กโรตีติ  กมฺมกาโร (ชโน)    
      อุเรน  คจฺฉตีติ  อุรโค (สตฺโต)    
      อรุโณ  อุคฺคจฺฉติ  เอตฺถาติ  อรุณุคฺคมโน (กาโล)    
      สพฺพํ  ชานาตีติ  สพฺพญฺญู (ภควา)
    2. บทหน้าเป็นกิริยาวิเสสนะ  แยกออกมาประกอบเป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ ตามเดิม        
      และกิริยาวิเสสนะนี้แปลไม่ออกสำเนียงวิภัตติ   เช่น    
      ตุรํ  คจฺฉตีติ  ตุรโค (สตฺโต)
    3. บทหน้าเป็นอุปสัค  ให้ประกอบเข้ากับธาตุเลย เช่น  อภิภวตีติ  อภิภู (ภควา)
    4. บทหน้าเป็นนิบาต  ให้แยกออกมาเป็นรูปเดิม  เช่น  สยํ  ภวตีติ  สยมฺภู (ภควา)

 

วิธีลงปัจจัยนามกิตก์

ปัจจัยนามกิตก์ มี 14 ตัว

  1. กิตปัจจัย เป็นเครื่องหมาย กัตตุสาธนะ   มี 5 คือ  กฺวิ  ณี  ณฺวุ  ตุ  รู
  2. กิจจปัจจัย เป็นเครื่องหมาย กัมมสาธนะ และ ภาวสาธนะ  มี 2 คือ  ข  ณฺย
  3. กิตกิจจปัจจัย เป็นเครื่องหมาย สาธนะทั้ง 7   มี 7 คือ  อ  อิ  ณ  ตเว  ติ  ตุํ  ยุ

 

กิตปัจจัย  เป็นเครื่องหมายกัตตุสาธนะ

กฺวิ ปัจจัย เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ แปลว่า “ผู้...”    
กฺวิ ปัจจัย ลงหลังธาตุที่มีบทหน้า (บทหน้าเป็นนามศัพท์บ้าง อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง)  เมื่อลงแล้วลบ กฺวิ เสีย    
เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์  เช่น วาริโช (ปุ.) วาริชา (อิต.) วาริชํ (นปุ.)    
ถ้าใช้เป็นนามนามเลย คงเป็นลิงค์ใดลิงค์หนึ่งเท่านั้น เช่น สยมฺภู  อุรโค ตุรโค เป็นปุงลิงค์   ปภา วิภา เป็นอิตถีลิงค์

1.    ลงหลังธาตุพยางค์เดียว  ลบ กฺวิ  เช่น

สยมฺภูภูสยํ  ภวตีติ  สยมฺภู (ภควา)  ผู้เป็นเอง  สยํ-ภู-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.    
(โย ภควา) สยํ  ภวติ อิติ  (โส ภควา) สยมฺภู    
พระผู้มีพระภาคเจ้า ใด  ย่อมเป็น เอง  เหตุนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น  ชื่อว่า ผู้เป็นเอง
สพฺพาภิภูภูสพฺพํ  อภิภวตีติ  สพฺพาภิภู (ภควา)  ผู้ครอบงำซึ่งสิ่งทั้งปวง  สพฺพ-อภิ-ภู-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
อภิภูภูอภิ  วิสิฏฺเฐน  ภวตีติ  อภิภู (พุทฺโธ)   อภิ ไขความออกเป็น วิสิฏฺเฐน  อภิ-ภู-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.     
พระพุทธเจ้า ใด ย่อมเป็นยิ่ง  คือว่า โดยยิ่ง  เหตุนั้น  พระพุทธเจ้า นั้น  ชื่อว่า  ผู้เป็นยิ่ง
มารชิชิมารํ  ชินาตีติ  มารชิ (ภควา) ผู้ชนะซึ่งมาร  มาร-ชิ-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
ปภาภาปภาตีติ ปภา (ธมฺมชาติ) ผู้ส่องสว่าง, รัศมี  ป-ภา-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.

2. ลงหลังธาตุ 2 พยางค์ ให้ลบที่สุดธาตุ  แล้วลบ กฺวิ

อนฺตโกกรอนฺตํ  กโรตีติ  อนฺตโก (มจฺจุ)  ผู้กระทำซึ่งที่สุด, ความตาย   อนฺต-กร-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
ภติโกกรภตึ กโรตีติ ภติโก (ชโน) ผู้ทำซึ่งการรับจ้าง   ภติ-กร-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
สงฺโขขนสํ สุฏฺฐุ  ขนตีติ  สงฺโข (สตฺโต) ผู้ขุดดี   สํ-ขน-กฺวิ  ลบที่สุดธาตุ  กัตตุ. กัตตุ.    
สัตว์ใด  ย่อมขุด ดี  คือว่า ด้วยดี  เหตุนั้น  สัตว์นั้น  ชื่อว่า ผู้ขุดดี
อุรโคคมอุเรน (อุรสา) คจฺฉตีติ  อุรโค (สตฺโต)  ผู้ไปด้วยอก   อุร-คม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
ภุชโคคมภุเชน คจฺฉตีติ  ภุชโค ภุชงฺโค (สตฺโต) ผู้ไปด้วยขนด, งู  ภุช-คม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.  บทหลังลงนิคคหิตอาคม
ตุรโคคมตุรํ  คจฺฉตีติ  ตุรโค ตุรงฺโค (สตฺโต) ผู้ไปเร็ว, ม้า  ตุร-คม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.  บทหลังลงนิคคหิตอาคม
วิหโคคมวิหายเส คจฺฉตีติ วิหโค (สตฺโต) ผู้ไปในท้องฟ้า, นก  วิหายส-คม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
นโคคมน คจฺฉตีติ  นโค นงฺโค อโค ผู้ไม่ไป (คืออยู่กับที่), ต้นไม้, ภูเขา, ปราสาท  น-คม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
กุญฺชโรรมกุญฺเช  รมตีติ  กุญฺชโร (สตฺโต) ผู้ยินดีในเงื้อมเขา, ช้าง  กุญฺช-รม-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
อตฺรโชชนอตฺตนา ชายตีติ อตฺรโช (ปุตฺโต)  ผู้เกิดจากตน  อตฺต-ชน-กฺวิ  แปลง ต เป็น ร  กัตตุ. กัตตุ.
กมฺมโชชนกมฺเมหิ ชายตีติ กมฺมโช (ชโน)  ผู้เกิดจากกรรม  กมฺม-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
กมฺมโชชนกมฺมโต ชาโตติ  กมฺมโช (วิปาโก) อันเกิดแล้วจากกรรม  กมฺม-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
 ชนกมฺมโต ชาตาติ กมฺมชา (ปฏิสนฺธิ)      
กมฺมโต ชาตนฺติ กมฺมชํ (รูปํ) 
วาริชํชนวาริมฺหิ ชาตํ วาริชํ (อุปฺปลํ) อันเกิดในน้ำ, บัว  วาริ-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
วาริโชชนวาริมฺหิ ชาโต  วาริโช (สตฺโต) อันเกิดในน้ำ, ปลา  วาริ-ชน-กฺวิ
ปงฺกชํชนปงฺเก ชาตํ  ปงฺกชํ (ปุปฺผํ) อันเกิดในตม, ดอกบัว  ปงฺก-ชน-กฺวิ
อณฺฑโชชนอณฺฑโต ชายตีติ  อณฺฑโช ผู้เกิดจากไข่  อณฺฑ-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
ชลโชชนชเล ชาโต ชลโช ผู้เกิดในน้ำ  ชล-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
อนุโชชนปจฺฉา/อนุ ชาโต อนุโช ผู้เกิดภายหลัง  อนุ-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
ทฺวิโชชนทฺวิกฺขตฺตุํ ชายตีติ/ชาโต/ชาโตติ ทฺวิโช ทิโช ผู้เกิดสองหน, นก, พราหมณ์  ทฺวิ-ชน-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.
อีทิโสทิสอิมํ อิว  นํ ปสฺสตีติ อีทิโส (ปุริโส) ผู้เช่นนี้  อิม-ทิส-กฺวิ แปลง อิม เป็น อิ    
(ชน ย่อมเห็น ซึ่งบุรุษนั้น เพียงดัง บุคคลนี้  เหตุนั้น  บุรุษนั้น ชื่อว่า ผู้ถูกเห็นเหมือนบุคคลนี้)
 ทิสอยํ วิย ทิสฺสตีติ อีทิโส (ปุริโส) ผู้เช่นนี้     
(บุรุษใด อันเขา ย่อมเห็น เพียงดัง บุคคลนี้  เหตุนั้น  บุรุษนั้น ชื่อว่า อันเขาเห็นเพียงดังบุคคลนี้)
ปุ.อิต.นปุ.  
อีทิโสอีทิสา อีทิสีอีทิสํผู้/อันเช่นนี้อิม-ทิส-กฺวิ แปลง อิม เป็น อิ
ยาทิโสยาทิสา ยาทิสียาทิสํผู้/อันเช่นใดย-ทิส-กฺวิ  ทีฆะ อ ที่ ย
ตาทิโสตาทิสา ตาทิสีตาทิสํผู้/อันเช่นนั้นต-ทิส-กฺวิ  ทีฆะ อ ที่ ต
ตาทิโสตาทิสา ตาทิสี-ผู้เช่นกับด้วยท่านตุมฺห-ทิส-กฺวิ  แปลง ตุมฺห เป็น ตา
ตุมฺหาทิโสตุมฺหาทิสี-ผู้เช่นกับด้วยท่านตุมฺห-ทิส-กฺวิ  ทีฆะ อ ที่ ห
มาทิโสมาทิสา มาทิสี-ผู้เช่นกับด้วยเราอมฺห-ทิส-กฺวิ  แปลง อมฺห เป็น มา
กีทิโสกีทิสา กีทิสีกีทิสํผู้/อันเช่นไรกึ-ทิส-กฺวิ  ลบนิคคหิต แล้วทีฆะ อิ
เอตาทิโสเอตาทิสา เอตาทิสีเอตาทิสํผู้/อันเช่นนั่นเอต-ทิส-กฺวิ  ทีฆะ อ ที่ ต
สทิโสสทิสา สทิสีสทิสํผู้/อันเช่นกับสมาน-ทิส-กฺวิ  แปลง สมาน เป็น ส

เฉพาะ วิท ธาตุ  ไม่ลบที่สุดธาตุ  แต่ลง อู อาคม (ถ้าลง รู ปัจจัย ต้องลบที่สุดธาตุ)

โลกวิทูวิทโลกํ  วิทตีติ  โลกวิทู (ภควา) ผู้รู้ซึ่งโลก   โลก-วิท-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.  (โลกํ เวทยติ)
สพฺพวิทูวิทสพฺพํ  วิทตีติ  สพฺพวิทู (ภควา)  ผู้รู้ซึ่งธรรมทั้งปวง  สพฺพ-วิท-กฺวิ  กัตตุ. กัตตุ.  (สพฺพํ เวทยติ)

 

ณี ปัจจัย    
เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ แปลว่า “ผู้...โดยปกติ”    
เป็น สมาสรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ แปลว่า “ผู้มีการ (ความ, อัน)...เป็นปกติ”    
ใน ปุงลิงค์ แจกอย่าง เสฏฺฐี,      
อิตถีลิงค์ ลง อินี ปัจจัย แจกอย่าง นารี,     
นปุงสกลิงค์ รัสสะ อี เป็น อิ  แจกอย่าง อกฺขิ      
(ป.เอก.  ธมฺมจารี,  ธมฺมจารินี,  ธมฺมจาริ)

ณี ปัจจัย ลงหลังธาตุที่มีบทหน้าเสมอ  แล้วลบ ณ เสีย เหลือไว้แต่ อี       
เป็นปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นธาตุได้

1. ธาตุพยางค์เดียว

มญฺจสายีสีมญฺเจ  สยติ  สีเลนาติ  มญฺจสายี  ผู้นอนบนเตียงโดยปกติ  มญฺจ-สี-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ธมฺมสฺสาวีสุธมฺมํ  สุณาติ  สีเลนาติ  ธมฺมสฺสาวี  ผู้ฟังซึ่งธรรมโดยปกติ  ธมฺม-สุ-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ 
วิภาวีภูวิภาเวติ  สีเลนาติ  วิภาวี  ผู้ยังอรรถให้เป็นแจ้งโดยปกติ   วิ-ภู-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ

ปัจจัยนามกิตก์ ที่เนื่องด้วย ณ เช่น ณี ณฺวุ ณ ลงท้ายธาตุพยางค์เดียว คือ อา  ให้แปลง อา เป็น อาย

อทินฺนาทายีทาอทินฺนํ อาทิยติ สีเลนาติ อทินฺนาทายี ผู้ถือเอาซึ่งวัตถุอันเขาไม่ให้แล้วโดยปกติ อทินฺน-อา-ทา-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ 
มชฺชปายีปามชฺชํ  ปิวติ  สีเลนาติ  มชฺชปายี  ผู้ดื่มซึ่งน้ำเมาโดยปกติ  มชฺช-ปา-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
อุฏฺฐายีฐาอุฏฺฐาติ  สีเลนาติ  อุฏฺฐายี  ผู้ลุกขึ้นโดยปกติ  อุ-ฐา-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
กปฺปฏฺฐายีฐากปฺปํ ติฏฺฐติ สีเลนาติ กปฺปฏฺฐายี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป  กปฺป-ฐา-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ

2. ธาตุสองพยางค์

ธมฺมวาทีวทธมฺมํ วทติ  สีเลนาติ  ธมฺมวาที ผู้กล่าวซึ่งธรรมโดยปกติ  ธมฺม-วท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
 วทธมฺมํ วทิตุํ  สีลมสฺสาติ ธมฺมวาที ผู้มีการกล่าวซึ่งธรรมเป็นปกติ  ธมฺม-วท-ณี  สมาส. กัตตุ. ตัสสีละ
นิคฺคยฺหวาทีวทนิคฺคยฺห วทติ  สีเลนาติ  นิคฺคยฺหวาที ผู้กล่าวข่มโดยปกติ  นิคฺคยฺห-วท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
มุสาวาทีวทมุสา วทติ  สีเลนาติ  มุสาวาที ผู้กล่าวเท็จโดยปกติ  มุสา-วท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
เอวํวาทีวทเอวํ วทติ  สีเลนาติ  เอวํวาที (มหาสมโณ) ผู้กล่าวอย่างนี้โดยปกติ  เอวํ-วท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
โภวาทีวท‘โภ โภติ วทติ  สีเลนาติ  โภวาที ผู้กล่าวว่าผู้เจริญๆ โดยปกติ  โภ-วท-ณี   กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปุญฺญการีกรปุญฺญํ  กโรติ  สีเลนาติ  ปุญฺญการี  ผู้ทำซึ่งบุญโดยปกติ  ปุญฺญ-กร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปาปการีกรปาปํ  กโรติ  สีเลนาติ  ปาปการี  ผู้ทำซึ่งบาปโดยปกติ  ปาป-กร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
มาลาการีกรมาลํ  กโรติ  สีเลนาติ  มาลาการี  ผู้ทำซึ่งระเบียบโดยปกติ  มาลา-กร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สาตจฺจการีกรสาตจฺเจน กโรติ สีเลนาติ สาตจฺจการี ผู้กระทำโดยติดต่อโดยปกติ  สาตจฺจ-กร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
พฺรหฺมจารีจรพฺรหฺมํ จรติ  สีเลนาติ  พฺรหฺมจารี ผู้ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์โดยปกติ  พฺรหฺม-จร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปมตฺตจารีจรปมตฺตํ จรติ  สีเลนาติ  ปมตฺตจารี ผู้ประพฤติประมาทแล้วโดยปกติ  ปมตฺต-จร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สนฺธิจฺเฉทีฉิทสนฺธึ  ฉินฺทติ  สีเลนาติ สนฺธิจฺเฉที ผู้ตัดซึ่งที่ต่อโดยปกติ  สนฺธิ "ที่ต่อ"-ฉิท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สุภาสิตภาสีภาสสุภาสิตํ ภาสติ สีเลนาติ สุภาสิตภาสี ผู้กล่าวซึ่งคำอันเป็นสุภาษิตโดยปกติ  สุภาสิต-ภาส-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ธมฺมภาณีภณธมฺมํ ภณติ  สีเลนาติ  ธมฺมภาณี ผู้กล่าวซึ่งธรรมโดยปกติ  ธมฺม-ภณ-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
วาจานุรกฺขีรกฺขวาจํ  อนุรกฺขติ  สีเลนาติ วาจานุรกฺขี  ผู้ตามรักษาซึ่งวาจาโดยปกติ  วาจา-อนุ-รกฺข-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ 
กตเวทีวิทกตํ (อุปการํ) เวเทติ สีเลนาติ กตเวที ผู้ยังบุคคลอื่นให้รู้ซึ่งอุปการะอันท่านทำแล้วโดยปกติ  กต-วิท-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปรูปฆาตีหนปเร หนติ  สีเลนาติ  ปรูปฆาตี ผู้เข้าไปฆ่าซึ่งสัตว์อื่นโดยปกติ  ปร-อุป-หน-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปาณาติปาตีปตปาณํ อติปาเตติ สีเลนาติ  ปาณาติปาตี ผู้ยังสัตว์มีปราณให้ตกล่วงไปโดยปกติ  ปาณ-อติ-ปต-เณ-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สาวตฺถีวาสิโนวสสาวตฺถิยํ วสนฺติ สีเลนาติ สาวตฺถีวาสิโน (ชนา) ผู้อยู่ในเมืองสาวัตถีโดยปกติ สาวตฺถี-วส-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ทิสาวาสิโนวสทิสาสุ วสนฺติ สีเลนาติ ทิสาวาสิโน (ภิกฺขู) ผู้อยู่ในทิศโดยปกติ  ทิสา-วส-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ธมฺมชีวีชีวธมฺเมน ชีวติ สีเลนาติ  ธมฺมชีวี ผู้เป็นอยู่โดยธรรมโดยปกติ  ธมฺม-ชีว-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สุขวิหารีหรสุเขน วิหรติ สีเลนาติ สุขวิหารี ผู้อยู่โดยผาสุกโดยปกติ     สุข-วิ-หร-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ 
ปารคามีคมปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ  ปารคามี ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ  ปาร-คม-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปารคเวสีคเวสปารํ คเวสติ สีเลนาติ ปารคเวสี ผู้แสวงหาซึ่งฝั่งโดยปกติ  ปาร-คเวส-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปรทารูปเสวีเสวปรทารํ อุปเสวติ สีเลนาติ ปรทารูปเสวี ผู้เข้าไปเสพซึ่งภรรยาของผู้อื่นโดยปกติ  ปรทาร-อุป-เสว-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สมฺปริวตฺตสายีสีสมฺปริวตฺโต สยติ สีเลนาติ สมฺปริวตฺตสายี ผู้นอนเป็นไปรอบพร้อมแล้วโดยปกติ  สมฺปริวตฺต-สี-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ธมฺมรูจีรุจธมฺมํ  โรเจติ  สีเลนาติ ธมฺมรูจี  ผู้ชอบใจซึ่งธรรมโดยปกติ  ธมฺม-รุจ-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
วุฑฺฒาปจายีจายวุฑฺฒานํ อปจายติ สีเลนาติ วุฑฺฒาปจายี ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญโดยปกติ  วุฑฺฒ-อป-จาย-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปรวชฺชานุปสฺสีทิสปรวชฺชํ อนุปสฺสติ สีเลนาติ ปรวชฺชานุปสฺสี ผู้ตามเห็นซึ่งโทษของผู้อื่นโดยปกติ  ปรวชฺช-อนุ-ทิส-ณี  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ

แปลงตัวธาตุ หรือพยัญชนะที่สุดธาตุได้บ้าง

ภยทสฺสีทิสภยํ  ปสฺสติ  สีเลนาติ  ภยทสฺสี  ผู้เห็นซึ่งภัยโดยปกติ  ภย-ทิส-ณี  แปลง ทิส เป็น ทสฺส  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
ปาณฆาตีหนปาเณ  หนติ  สีเลนาติ  ปาณฆาตี  ผู้ฆ่าซึ่งสัตว์โดยปกติ  ปาณ-หน-ณี  แปลง หน เป็น ฆาต  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
กามโภคีภุชกามํ  ภุญฺชติ  สีเลนาติ  กามโภคี  ผู้บริโภคซึ่งกามโดยปกติ  กาม-ภุช-ณี  แปลง ช เป็น ค  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ

 

ณฺวุ ปัจจัย    
เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ แปลว่า “ผู้...”    
ปุงลิงค์  มีรูปเป็น อก แจกอย่าง ปุริส,    
อิตถีลิงค์ แปลง อ เป็น อิ  แล้วลง อา การันต์ มีรูปเป็น อิกา  แจกอย่าง กญฺญา      
นปุงสกลิงค์ มีรูปเป็น อก  แจกอย่าง กุล     
(ป. เอก.  นายโก,  นายิกา,  นายกํ)

1. ธาตุพยางค์เดียว คือ อา  แปลงเป็น อาย (ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ)

ปายโกปาปิวตีติ  ปายโก  ผู้ดื่ม  ปา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ทายโก ทายิกาทาเทตีติ  ทายโก ทายิกา ผู้ให้   ทา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อนฺนทายิกาทาอนฺนํ เทตีติ  อนฺนทายิกา (นารี) ผู้ถวายซึ่งข้าวและน้ำ  อนฺน-ทา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อุปฏฺฐาโก  
อุปฏฺฐายโก  อุปฏฺฐายิกา
ฐาอุปฏฺฐหตีติ  อุปฏฺฐาโก* อุปฏฺฐายโก อุปฏฺฐายิกา ผู้บำรุง  อุป-ฐา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.   (*ไม่แปลง)
คิลานุปฏฺฐาโกฐาคิลานํ ภิกฺขุํ อุปฏฺฐหตีติ  คิลานุปฏฺฐาโก (ภิกฺขุ) ผู้บำรุงซึ่งภิกษุผู้เป็นไข้   คิลาน-อุป-ฐา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สงฺฆุปฏฺฐาโกฐาสงฺฆํ อุปฏฺฐหตีติ  สงฺฆุปฏฺฐาโก (ภิกฺขุ) ผู้บำรุงซึ่งสงฆ์  สงฺฆ-อุป-ฐา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ขีรปโกปาขีรํ ปิวตีติ  ขีรปโก (วจฺโฉ)  (ลูกวัว) ผู้ดื่มซึ่งน้ำนม  ขีร-ปา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
นายโกนีเนตีติ  นายโก นายิกา  ผู้นำไป  นี-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
โลกนายโกนีโลกํ เนตีติ  โลกนายโก (สตฺถา) ผู้นำไปซึ่ง(สัตว์)โลก  โลก-นี-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กยโกกีกีณาตีติ  กยโก ผู้ซื้อ  กี-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สาวโกสุสุณาตีติ  สาวโก สาวิกา ผู้ฟัง  สุ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ปาวโกปุปาวตีติ  ปาวโก (อคฺคิ)  ผู้ชำระ, ไฟ   ปุ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ภุมฺมฏฺฐกาฐาภุมฺเม ติฏฺฐนฺตีติ  ภุมฺมฏฺฐกา (เทวา) ผู้ดำรงอยู่บนภาคพื้น   ภุมฺม-ฐา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.

2. ลงหลังธาตุทั้งปวง  แปลง ณฺวุ  เป็น อก

การโกกรกโรตีติ  การโก การิกา ผู้ทำ  กร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
วตฺตปฺปฏิวตฺตการโกกรวตฺตญฺจ ปฏิวตฺตญฺจ กโรตีติ  วตฺตปฺปฏิวตฺตการโก ผู้ทำซึ่งวัตรและวัตรอาศัย  วตฺตปฺปฏิวตฺต-กร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อนตฺถการโกกรอนตฺถํ กโรตีติ  อนตฺถการโก ผู้ทำซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์  อนตฺถ-กร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ชาลการิกากรชาลํ กโรตีติ  ชาลการิกา (ตณฺหา) ผู้กระทำซึ่งข่าย  ชาล-กร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
วิหารปฏิชคฺคโกชคฺควิหารํ ปฏิชคฺคตีติ  วิหารปฏิชคฺคโก ผู้ดูแลซึ่งวิหาร  วิหาร-ปฏิ-ชคฺค-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
โภชโกภุชภุญฺชตีติ  โภชโก ผู้กิน, ผู้บริโภค   ภุช-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
วนจรโกจรวเน จรตีติ  วนจรโก ผู้เที่ยวไปในป่า  วน-จร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ธมฺมโฆสโกโฆสธมฺมํ โฆเสตีติ  ธมฺมโฆสโก ผู้ป่าวร้องซึ่งธรรม  ธมฺม-โฆส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อนุสาสโกสาสอนุสาสตีติ  อนุสาสโก  ผู้ตามสอน  อนุ-สาส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สหายโกอิสห อยตีติ  สหายโก ผู้ไปร่วมกัน, สหาย  สห-อิ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
คามโภชโกภุชคามํ ภุญฺชตีติ  คามโภชโก ผู้บริโภคซึ่งบ้าน, ผู้ใหญ่บ้าน  คาม-ภุช-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ยาจโกยาจยาจตีติ  ยาจโก ผู้ขอ  ยาจ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
นาฏกานฏนฏตีติ  นาฏกา (อิตฺถี) ผู้ฟ้อนรำ  นฏ-ณฺวุ  (ไม่แปลงเป็น อิ)  กัตตุ. กัตตุ.
รกฺขโกรกฺขรกฺขตีติ  รกฺขโก รกฺขิกา  ผู้รักษา  รกฺข-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สหปํสุกีฬโกกีฬสห ปํสุํ กีฬตีติ  สหปํสุกีฬโก (ทารโก) ผู้เล่นซึ่งฝุ่นร่วมกัน  สห-ปํสุ-กีฬ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อารกฺขโกรกฺขอารกฺขตีติ  อารกฺขโก ผู้รักษาทั่ว  อา-รกฺข-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
วํสานุรกฺขโกรกฺขวํสํ อนุรกฺขตีติ  วํสานุรกฺขโก ผู้ตามรักษาซึ่งวงศ์  วํส-อนุ-รกฺข-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
คาหโกคหคณฺหาตีติ  คาหโก ผู้จับ  คห-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กสฺสโก  กสโกกสกสฺสตีติ  กสฺสโก กสโก ผู้ไถ, ชาวนา  กส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สุสานโคปิกาคุปสุสานํ โคเปตีติ  สุสานโคปิกา (อิตฺถี) ผู้เฝ้าซึ่งสุสาน  สุสาน-คุป-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ฉวฑาหโกฑหฉวํ ฑหตีติ  ฉวฑาหโก ฉวฑาหิกา ผู้เผาซึ่งซากศพ  ฉว-ฑห-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กุหโกกุหกุเหตีติ  กุหโก ผู้โกหก  กุห-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
คเวสโกคเวสคเวสตีติ  คเวสโก ผู้แสวงหา  คเวส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อนุกมฺปโกกมฺปอนุกมฺเปตีติ  อนุกมฺปโก ผู้อนุเคราะห์, ผู้เอ็นดู  อนุ-กมฺป-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
โลกานุกมฺปโกกมฺปโลกํ อนุกมฺเปตีติ  โลกานุกมฺปโก (พุทฺโธ) ผู้อนุเคราะห์ซึ่งโลก  โลก-อนุ-กมฺป-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อาจริยปูชโกปูชอาจริยํ ปูเชตีติ  อาจริยปูชโก ผู้บูชาซึ่งอาจารย์  อาจริย-ปูช-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ปติปูชิกาปูชปตึ ปูเชตีติ  ปติปูชิกา (อิตฺถี) ผู้บูชาซึ่งผัว  ปติ-ปูช-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ปริจาริกาจรปริจรตีติ  ปริจาริกา (อิตฺถี) ผู้บำเรอ  (ผู้อยู่รอบๆ ตัว คอยรับใช้)  ปริ-จร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สมาทปโกทยสมาทเปตีติ  สมาทปโก ผู้ชักชวน  สํ-อา-ทย-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กุลทูสโกทุสกุลํ ทุสฺสตีติ  กุลทูสโก (ภิกฺขุ) ผู้ประทุษร้ายซึ่งตระกูล  กุล-ทุส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กุฏิทูสโกทุสกุฏึ ทุสฺสตีติ  กุฏิทูสโก (ภิกฺขุ) ผู้ประทุษร้ายซึ่งกุฏิ  กุฏิ-ทุส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ตจฺฉโกตจฺฉตจฺฉตีติ  ตจฺฉโก ผู้ถาก  ตจฺฉ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อหึสโกหึสน หึสตีติ  อหึสโก (มุนิ) ผู้ไม่เบียดเบียน  น-หึส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
เมธคาเมธเมธตีติ  เมธคา (ธมฺมชาติ) ผู้เบียดเบียน  เมธ-ณฺวุ  (ไม่แปลง อ เป็น อิ,  แปลง ก เป็น ค)  กัตตุ. กัตตุ.
มหลฺลโกลามหตฺตํ ลาติ คณฺหาตีติ  มหลฺลโก ผู้ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่, คนแก่  มหนฺต-ลา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
มาตุโปสโกปุสมาตรํ โปเสตีติ  มาตุโปสโก (โพธิสตฺโต) ผู้เลี้ยงซึ่งมารดา  มาตุ-ปุส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
อุปาสโกอาส(รตนตฺตยํ) อุปาสตีติ  อุปาสโก อุปาสิกา ผู้นั่งใกล้ (ซึ่งพระรัตนตรัย) อุป-อาส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
เทสโกทิสเทเสตีติ เทสโก ผู้แสดง  ทิส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ธมฺมเทสโกทิสธมฺมํ เทเสตีติ ธมฺมเทสโก (ภิกฺขุ) ผู้แสดงซึ่งธรรม  ธมฺม-ทิส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ภตฺตุทฺเทสโกทิสภตฺตํ อุทฺเทเสตีติ  ภตฺตุทฺเทสโก (ภิกฺขุ) ผู้แสดงขึ้นซึ่งภัตร, ผู้แจกภัตร ภตฺต-ทิส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
มคฺคุทฺเทสโกทิสมคฺคํ อุทฺเทเสตีติ  มคฺคุทฺเทสโก ผู้แสดงขึ้นซึ่งหนทาง   มคฺค-ทิส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ธนปาลโกปาลธนํ ปาเลตีติ  ธนปาลโก ผู้รักษาซึ่งทรัพย์  ธน-ปาล-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
โคปาลโกปาลคาโว ปาเลตีติ  โคปาลโก ผู้รักษาซึ่งโค  โค-ปาล-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
ปเวณิปาลโกปาลปเวณึ ปาเลตีติ  ปเวณิปาลโก ผู้รักษาซึ่งประเพณี  ปเวณิ-ปาล-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กจวรจฺฉฑฺฑโกฉฑฺฑกจวรํ ฉฑฺเฑตีติ กจวรจฺฉฑฺฑโก กจวรจฺฉฑฺฑิกา (ทาโส ทาสี) ผู้ทิ้งซึ่งหยากเยื่อ  กจวร-ฉฑฺฑ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.

ธาตุเหล่านี้ คือ ญา ชน สม คม ทม วธ ฯลฯ ลงแล้วไม่ต้องพฤทธิ์ต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ

หตฺถิทมโกทมหตฺถึ ทเมตีติ  หตฺถิทมโก ผู้ฝึกซึ่งช้าง, ควาญช้าง  หตฺถี-ทม-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
กุลทมโกทมกุลํ ทเมตีติ  กุลทมโก (เถโร) ผู้ฝึกซึ่งตระกูล  กุล-ทม-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.

เฉพาะ ญา ธาตุ แปลง ณฺวุ เป็น อานนก

ชานนโกญาชานาตีติ  ชานนโก  ผู้รู้   ญา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
เภสชฺชชานนโกญาเภสชฺชํ ชานาตีติ  เภสชฺชชานนโก  ผู้รู้ซึ่งเภสัช  เภสชฺช-ญา-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.

แปลงตัวธาตุ หรือพยัญชนะที่สุดธาตุได้บ้าง

ฆาตโก  วธโกหนหนตีติ  ฆาตโก วธโก ผู้ฆ่า  หน-ณฺวุ  แปลง หน เป็น ฆาต หรือ วธ  กัตตุ. กัตตุ.
โคฆาตโกหนคาโว หนตีติ  โคฆาตโก ผู้ฆ่าซึ่งโค  โค-หน-ณฺวุ  แปลง หน เป็น ฆาต  กัตตุ. กัตตุ.
โจรฆาตโกหนโจรํ หนตีติ  โจรฆาตโก ผู้ฆ่าซึ่งโจร  โจร-หน-ณฺวุ  แปลง หน เป็น ฆาต  กัตตุ. กัตตุ.
หํสฆาตโกหนหํสํ หนตีติ  หํสฆาตโก ผู้ฆ่าซึ่งหงส์  หํส-หน-ณฺวุ   แปลง หน เป็น ฆาต

ในเหตุกัตตุวาจก ลงเหตุปัจจัย 4 ตัว

ชนโกชนชเนตีติ ชนโก ชนิกา ผู้(ยังบุตร)ให้เกิด, พ่อ-แม่  ชน-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ.
สมฺปหํสโกหสสมฺปหํเสตีติ  สมฺปหํสโก  ผู้(ยังชน)ให้ร่าเริง   สํ-ป-หส-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
สมุตฺเตชโกติชสมุตฺเตเชตีติ  สมุตฺเตชโก  ผู้(ยังชน)ให้อาจหาญ  สํ-อุ-ติช-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
การาปโกกรการาเปตีติ  การาปโก  ผู้(ยังชน)ให้ทำ  กร-ณาเป-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
การโกกรการาเปตีติ  การโก  ผู้(ยังชน)ให้ทำ  กร-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
ปติฏฺฐาปโกฐาปติฏฺฐาเปตีติ ปติฏฺฐาปโก ผู้(ยังชน)ให้ดำรงอยู่  ปติ-ฐา-ณาเป-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
หตฺถิมารโกมรหตฺถึ มาเรตีติ หตฺถิมารโก ผู้ยังช้างให้ตาย, พราน(ล่า)ช้าง  หตฺถี-มร-เณ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ
กปฺปวินาสโกนสกปฺปํ วินาเสตีติ  กปฺปวินาสโก (อคฺคิ) ผู้ยังกัปให้พินาศ  กปฺป-วิ-นส-เณ-ณฺวุ  กัตตุ. กัตตุ

ณฺวุ ปัจจัย ให้แปลหักฉัฏฐีวิภัตติ เป็นทุติยาวิภัตติ ได้

  สพฺรหฺมจารีนํ  อนุกมฺปโก  ผู้เอ็นดูซึ่งเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย    
  ธมฺมสฺส เทสโก  ผู้แสดงซึ่งธรรม

 

ตุ ปัจจัย    
เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ   แปลว่า “ผู้...”      
เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ แปลว่า “ผู้...โดยปกติ”    
เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ แจกอย่าง สตฺถุ

1. ธาตุพยางค์เดียว เป็น อา  คง อา ไว้

ทาตาทาททาตีติ ทาตา ผู้ให้   ทา-ตุ (เอา อุ เป็น อา  ลบ สิ)
 ทาเทติ  สีเลนาติ  ทาตา ผู้ให้โดยปกติ  ทา-ตุ
ธาตุ  ธาตาธา ธรธาเรตีติ ธาตุ ธาตา ผู้ทรงไว้   ธา ธร-ตุ (ธาตุ แจกวิภัตติอย่าง รชฺชุ)
ญาตาญาชานาตีติ  ญาตา ผู้รู้   ญา-ตุ
อญฺญาตาญาอาชานาตีติ  อญฺญาตา ผู้รู้ทั่ว   อา-ญา-ตุ
อุฏฺฐาตาฐาอุฏฺฐตีติ  อุฏฺฐาตา ผู้ลุกขึ้น  อุ-ฐา-ตุ

2. ลงหลังธาตุสระอื่นนอกจาก อา  พฤทธิ์ได้

โสตาสุสุณาตีติ  โสตา ผู้ฟัง  สุ-ตุ
เนตานีเนตีติ  เนตา ผู้นำไป  นี-ตุ
ภวิตาภูภวตีติ  ภวิตา ผู้เป็น   ภู-ตุ  (ลง อิ อาคม)
เชตาชิชินาตีติ  เชตา ผู้ชนะ  ชิ-ตุ
อกฺขาตาขาอกฺขายตีติ  อกฺขาตา ผู้บอก  อา-ขา-ตุ

ธาตุมี จ ท ร น เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ แล้วซ้อน ตฺ

วตฺตาวจวจตีติ  วตฺตา  ผู้กล่าว  วจ-ตุ
เภตฺตาภิทภินฺทตีติ  เภตฺตา  ผู้ทำลาย  ภิท-ตุ
ขตฺตาขนขนตีติ  ขตฺตา ผู้ขุด  ขน-ตุ
กตฺตากรกโรตีติ  กตฺตา  ผู้ทำ  กร-ตุ
ภตฺตาภรภรตีติ  ภตฺตา  ผู้เลี้ยง, ผู้เลี้ยงดู, ภัสดา  ภร-ตุ

หมวด ทิว ธาตุ  ลง ย ปัจจัย  แล้วแปลง ย กับที่สุดธาตุ

พุชฺฌิตาพุธพุชฺฌตีติ  พุชฺฌิตา  ผู้รู้  พุธ-ตุ
ยุชฺฌิตายุธยุชฺฌตีติ  ยุชฺฌิตา  ผู้รบ  ยุธ-ตุ
วชฺฌตาหนหนตีติ  วชฺฌตา  ผู้ฆ่า   หน>วธ-ย-ตุ
อุปฺปชฺชตาปทอุปฺปชฺชตีติ  อุปฺปชฺชตา  ผู้เกิดขึ้น   อุ-ปท-ย-ตุ

หมวด จุร ลง เณ ณย ปัจจัย

โจเรตาจุรโจเรตีติ  โจเรตา  ผู้ขโมย   จุร-เณ-ตุ
ปาลยิตาปาลปาลยตีติ  ปาลยิตา  ผู้รักษา   ปาล-ณย-ตุ

หลัง คม หน ชน ธาตุเป็นต้น  ลบที่สุดธาตุ  ซ้อน นฺ

คนฺตาคมคจฺฉตีติ  คนฺตา ผู้ไป  คม-ตุ
หนฺตาหนหนตีติ  หนฺตา ผู้ฆ่า  หน-ตุ
ชนฺตุชนชายตีติ  ชนฺตุ  ผู้เกิด  ชน-ตุ  (แจกอย่าง ครุ)

ถ้าไม่แปลงธาตุ  ให้ลง อิ อาคม เสมอ

สริตาสรสรตีติ  สริตา  ผู้แล่นไป, ผู้ระลึก  สร-ตุ
รกฺขิตารกฺขรกฺขตีติ  รกฺขิตา  ผู้รักษา  รกฺข-ตุ
นิทฺทายิตาทานิทฺทายตีติ  นิทฺทายิตา ผู้หลับ  นิ-ทา-ย-อิ-ตุ

ในเหตุกัตตุวาจก ลงเหตุปัจจัย 4 ตัว

 พุธปโพเธตีติ  ปโพเธตา ผู้ให้รู้  ป-พุธ-เณ-ตุ
 สรสาเรตีติ  สาเรตา ผู้ให้ระลึก  สร-เณ-ตุ

ตุ ปัจจัย  แปลหักฉัฏฐีวิภัตติ เป็นทุติยาวิภัตติได้

  อคฺคสฺส  ทาตา (ชโน)  ชนผู้ให้  ซึ่งสิ่งที่เลิศ    
  ธมฺมสฺส  อญฺญาตาโร (ชนา)  ชน ท. ผู้รู้ทั่ว ซึ่งธรรม

 

รู ปัจจัย    
เป็น กัตตุรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ แปลว่า “ผู้...โดยปกติ”    
เป็น สมาสรูป กัตตุสาธนะ ตัสสีละ แปลว่า “ผู้มีการ (ความ, อัน)...เป็นปกติ”    
เป็นปุงลิงค์   อู การันต์ แจกอย่าง วิญฺญู   หรือ อุ การันต์ แจกอย่าง ครุ

1. ลงหลังธาตุทั้งปวง  ลบ รฺ  แล้วลบที่สุดธาตุ

ปารคูคมปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ  ปารคู ผู้ถึงซึ่งฝั่งโดยปกติ  ปาร-คม-รู
 คมปารํ คนฺตุํ สีลมสฺสาติ  ปารคู ผู้มีการถึงซึ่งฝั่งเป็นปกติ  ปาร-คม-รู
เวทคูคมเวทํ คจฺฉติ สีเลนาติ  เวทคู ผู้ถึงซึ่งเวทโดยปกติ  เวท-คม-รู
อนฺตคูคมอนฺตํ คจฺฉติ สีเลนาติ  อนฺตคู ผู้ถึงซึ่งที่สุดโดยปกติ  อนฺต-คม-รู
อทฺธคูคมอทฺธานํ คจฺฉติ สีเลนาติ  อทฺธคู ผู้ไปสู่ทางยาวไกลโดยปกติ  อทฺธา-คม-รู
ธมฺมญฺญูญาธมฺมํ ชานาติ สีเลนาติ  ธมฺมญฺญู ผู้รู้ซึ่งธรรมโดยปกติ  ธมฺม-ญา-รู  ซ้อน ญฺ
มตฺตญฺญูญามตฺตํ ชานาติ สีเลนาติ  มตฺตญฺญู ผู้รู้ซึ่งประมาณโดยปกติ  มตฺต-ญา-รู
สพฺพญฺญูญาสพฺพํ ชานาติ สีเลนาติ  สพฺพญฺญู ผู้รู้ซึ่งสิ่งทั้งปวงโดยปกติ  สพฺพ-ญา-รู
วรญฺญูญาวรํ ชานาติ สีเลนาติ  วรญฺญู ผู้รู้ซึ่งสิ่งอันประเสริฐโดยปกติ  วร-ญา-รู
วทญฺญูญา(ยาจกานํ) วทํ ชานาติ สีเลนาติ  วทญฺญู ผู้รู้ซึ่งถ้อยคำ(ของยาจก)โดยปกติ  วท-ญา-รู
กตญฺญูญากตํ (อุปการํ) ชานาติ สีเลนาติ  กตญฺญู ผู้รู้ซึ่งอุปการะอันท่านทำแล้วโดยปกติ   กต-ญา-รู
รตฺตญฺญูญารตฺตึ ชานาติ สีเลนาติ  รตฺตญฺญู ผู้รู้ซึ่งราตรีโดยปกติ   รตฺติ-ญา-รู   (เอา อิ เป็น อ)
วิญฺญูญาวิชานาติ สีเลนาติ  วิญฺญู ผู้รู้วิเศษโดยปกติ  วิ-ญา-รู

2. ภิกฺข และ อิกฺข ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ  และรัสสะ อู เป็น อุ  เช่น

ภิกฺขุภิกฺขภิกฺขติ สีเลนาติ  ภิกฺขุ ภิกฺขุนี ผู้ขอโดยปกติ, ภิกษุ, ภิกษุณี  ภิกฺข-รู
 อิกฺข(สํสาเร) ภยํ อิกฺขติ สีเลนาติ  ภิกฺขุ ภิกฺขุนี ผู้เห็นภัยในสังสารโดยปกติ  ภย-อิกฺข-รู  ลบ ย

3. แปลงตัวธาตุ หรือพยัญชนะที่สุดธาตุได้บ้าง

วธูหนหนติ สีเลนาติ  วธู ผู้ฆ่าโดยปกติ, หญิงสาว  หน-รู  แปลง หน เป็น วธ

 

กิจจปัจจัย เป็นเครื่องหมายกัมมสาธนะ และ ภาวสาธนะ

ปัจจัย     
เป็น กัมมรูป กัมมสาธนะ แปลว่า “อันเขา...”, “อันเขาพึง...”    
ปุงลิงค์ แจกอย่าง ปุริส,     
อิตถีลิงค์ ลง อา ปัจจัย แจกอย่าง กญฺญา,     
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล      
(ป.เอก. สุลโภ, สุลภา, สุลภํ)

ข ปัจจัย มีอำนาจให้พฤทธิ์ได้ เหมือนปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ    ลงแล้วลบ ขฺ ลบเสีย    
ลงหลังธาตุที่มีบทหน้า 3 ตัว  คือ  ทุ (ยาก ลำบาก),  สุ (สุข สบาย ง่าย),  อีสํ (หน่อยหนึ่ง)

1. ทุ เป็น บทหน้า

ทุกฺกรํกรทุกฺเขน  กริยตีติ  ทุกฺกรํ (กมฺมํ) อันเขาทำโดยยาก  ทุ-กร-ข  ซ้อน กฺ  กัมมรูป กัมมสาธนะ    
กรรมใด อันเขา ย่อมทำ โดยยาก  เหตุนั้น กรรมนั้น ชื่อว่า อันเขาทำได้โดยยาก
ทุพฺภโรภรทุกฺเขน ภริยตีติ  ทุพฺภโร อันเขาเลี้ยงได้โดยยาก  ทุ-ภร-ข
ทุพฺพโจวจทุกฺเขน วจิยตีติ  ทุพฺพโจ อันเขาว่ากล่าวได้โดยยาก  ทุ-วจ-ข
ทุทฺทสํทิสทุกฺเขน ทสฺสิตพฺพนฺติ  ทุทฺทสํ (จิตฺตํ) อันเขาพึงเห็นได้โดยยาก  ทุ-ทิส-ข  เอา อิ เป็น อ  ซ้อน ทฺ
สุทุทฺทสํทิสสุฏฺฐุ ทุกฺเขน ทสฺสิตพฺพนฺติ  สุทุทฺทสํ (จิตฺตํ) อันเขาพึงเห็นได้โดยยากด้วยดี  สุ-ทุ-ทิส-ข  ลบ อิ  ซ้อน ทฺ
ทุลฺลภาลภทุกฺเขน ลพฺภตีติ ทุลฺลภา (ภิกฺขา) อันเขา(หา)ได้โดยยาก   ทุ-ลภ-ข
ทุรกฺขํรกฺขทุกฺเขน รกฺขิยตีติ  ทุรกฺขํ (จิตฺตํ) อันเขารักษาได้โดยยาก  ทุ-รกฺข-ข
ทุรจฺจยาอิทุกฺเขน อจฺจยิยตีติ  ทุรจฺจยา (ตณฺหา) อันเขาไปล่วงได้โดยยาก  ทุ-รฺ-อติ-อิ-ข  รฺ อาคม
ทุรนุโพโธพุธทุกฺเขน อนุพุชฺฌิตพฺโพติ  ทุรนุโพโธ (ธมฺโม) อันเขาพึงรู้ตามโดยยาก  ทุ-รฺ-อนุ-พุธ-ข  รฺ อาคม
ทุชฺชีวํชีวทุกฺเขน ชีวยเตติ  ทุชฺชีวํ ความเป็นอยู่โดยยาก  ทุ-ชีว-ข   ซ้อน ชฺ  ภาวรูป ภาวสาธนะ    
อันเขา ย่อมเป็นอยู่ โดยยาก เหตุนั้น ชื่อว่า ความเป็นอยู่โดยยาก
ทุชฺชาโนญาทุชฺชานิตพฺโพติ ทุชฺชาโน (ชีวิตนฺตราโย) อันเขาพึงรู้ได้ยาก  ทุ-ญา-นา-ข  กัม. กัม.
 ญาทุกฺเขน ญายตีติ ทุชฺชาโน (ชโน/กมฺมวิปาโก) อันเขาพึงรู้ได้ยาก  ทุ-ญา-นา-ข  กัม. กัม.

2. สุ เป็น บทหน้า

สุกรํกรสุเขน กริยตีติ  สุกรํ (กมฺมํ) อันเขาทำได้โดยง่าย  สุ-กร-ข
สุภโรภรสุเขน ภริยตีติ  สุภโร อันเขาเลี้ยงได้โดยง่าย  สุ-ภร-ข
สุวโจวจสุเขน วจิยตีติ  สุวโจ อันเขาว่ากล่าวได้โดยง่าย  สุ-วจ-ข
สุทสฺสํทิสสุเขน ปสฺสิตพฺพนฺติ  สุทสฺสํ (วชฺชํ) อันเขาพึงเห็นได้โดยง่าย  สุ-ทิส-ข  แปลง ทิส เป็น ทสฺส
สุลภาลภสุเขน ลพฺภตีติ สุลภา (ภิกฺขา) อันเขา(หา)ได้โดยง่าย   สุ-ลภ-ข
สุชีวํชีวสุเขน ชีวยเตติ สุชีวํ  สุ-ชีว-ข    
อันเขา ย่อมเป็นอยู่ โดยง่าย เหตุนั้น ชื่อว่า ความเป็นอยู่ได้โดยง่าย

3. อีสํ เป็น บทหน้า

อีสกฺกรํกรอีสํ กริยตีติ  อีสกฺกรํ (กมฺมํ) อันเขาทำได้นิดหน่อย  อีสํ-กร-ข  ซ้อน กฺ

 

ณฺย ปัจจัย    
เป็น กัมมรูป กัมมสาธนะ แปลว่า “อันเขา...”, “อันเขาพึง...”    
ปุงลิงค์  แจกอย่าง ปุริส,     
อิตถีลิงค์ ลง อา ปัจจัย  แจกอย่าง กญฺญา,     
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล    
(ป.เอก.  เทยฺโย, เทยฺยา, เทยฺยํ)

ณฺย ปัจจัย เป็นปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ  มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นธาตุได้ แล้วลบ ณฺ เสีย เหลือไว้แต่ ย

1. ลงหลังธาตุพยางค์เดียว  ถ้าเป็น อา  แปลง อา กับ ณฺย เป็น เอยฺย

เทยฺยํทาทาตพฺพนฺติ เทยฺยํ (วตฺถุ) อันเขาพึงให้    ทา-ณฺย
เญยฺโยญาญาตพฺโพติ เญยฺโย (ธมฺโม) อันเขาพึงรู้    ญา-ณฺย
วิญฺเญยฺยํญาวิญฺญาตพฺพนฺติ วิญฺเญยฺยํ (อารมฺมณํ) อันเขาพึงรู้แจ้ง  วิ-ญา-ณฺย
สุวิญฺเญยฺโยญาสุเขน วิชานิตพฺโพติ สุวิญฺเญยฺโย (ธมฺโม) อันเขาพึงรู้แจ้งโดยง่าย  สุ-วิ-ญา-ณฺย
มารเธยฺยํธามาเรน ธาเรตพฺพนฺติ มารเธยฺยํ (ฐานํ) อันมารพึงทรงไว้, (บ่วงแห่งมาร)  มาร-ธา-ณฺย
เนยฺยํนีเนตพฺพนฺติ เนยฺยํ (วตฺถุ) อันเขาพึงนำไป  นี-ณฺย  ซ้อน ยฺ
เนยฺโยนีเนตพฺโพติ เนยฺโย (สตฺโต) อันเขาพึงแนะนำ  นี-ณฺย  ซ้อน ยฺ
เวเนยฺโยนีวิเนตพฺโพติ เวเนยฺโย อันเขาพึงแนะนำ  วิ-นี-ณฺย  ซ้อน ยฺ

2. ธาตุ 2 พยางค์ขึ้นไป  ลบ ณฺ แล้วคง ย ไว้

นิวารยํวรนิวาเรตพฺพนฺติ นิวารยํ (กมฺมํ) อันเขาพึงห้าม  นิ-วร-ณฺย
ทุนฺนิวารยํวรทุกฺเขน นิวาริยตีติ ทุนฺนิวารยํ (จิตฺตํ) อันเขาห้ามได้โดยยาก ทุ-นิ-วร-ณฺย

3. ธาตุ 2 พยางค์ขึ้นไป  ลบ ณฺ แล้วคง ย ไว้  ถ้าไม่แปลงเป็นอย่างอื่น  ลง อิ อาคม

การิยํกรกาตพฺพนฺติ การิยํ (กมฺมํ) อันเขาพึงทำ  กร-ณฺย
หาริยํหรหริตพฺพนฺติ หาริยํ (กมฺมํ) อันเขาพึงนำไป  หร-ณฺย
ภาริยํภรภริตพฺพนฺติ ภาริยํ (กมฺมํ) อันเขาพึงนำไป  ภร-ณฺย
จริยาจรจรณํ  จริยา ความประพฤติ  จร-ณฺย  ไม่ทีฆะต้นธาตุ
 จรจริตพฺพนฺติ  จริยา ความประพฤติ  จร-ณฺย  ไม่ทีฆะต้นธาตุ
ธมฺมจริยาจรธมฺมสฺส จรณํ  ธมฺมจริยา ความประพฤติซึ่งธรรม  ธมฺม-จร-ณฺย  ไม่ทีฆะต้นธาตุ
อาจริโยจรอาทเรน จริตพฺโพติ  อาจริโย (เถโร) อันศิษย์พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ  อา-จร-ณฺย ไม่ทีฆะต้นธาตุ

4. ลบ ณฺ แล้วแปลง ย กับพยัญชนะที่สุดธาตุเป็นอย่างอื่น

ลพฺภํลภลภิตพฺพนฺติ ลพฺภํ (วตฺถุ) อันเขาพึงได้  ลภ-ณฺย  แปลง ภย เป็น ภ  ซ้อน พฺ
สิสฺโสสาสสาสิตพฺโพติ สิสฺโส (ชโน) อันอาจารย์พึงสั่งสอน  สาส-ณฺย  แปลง อา เป็น อิ  แปลง สฺย เป็น สฺส
วชฺฌํหน(มคฺเคน) วธิตพฺพนฺติ วชฺฌํ (กิเลสชาตํ)  อันมรรคพึงฆ่า  หน-ณฺย  แปลง หน เป็น วธ  แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ  กัมม. กัมม.
 หนวธิตพฺพาติ วชฺฌา (คาวี)  อันเขาพึงฆ่า, ที่จะถูกเชือด  หน-ณฺย  กัมม. กัมม.
 หนวธนํ วชฺฌํ การฆ่า
อิจฺฉาอีสอิจฺฉนํ อิจฺฉา ความปรารถนา  อีส-ณฺย  แปลง สฺย เป็น จฺฉ 

5. หลังธาตุที่มี จ เป็นที่สุด แปลง จ เป็น ก  ธาตุที่มี ช เป็นที่สุด  แปลง ช เป็น ค  เมื่อลงปัจจัยนามกิตก์ที่เนื่องด้วย ณ (ยกเว้น ณฺวุ)

อติวากฺยํวจอติ วจิตพฺพนฺติ อติวากฺยํ (วจนํ) อันเขาพึงกล่าวล่วงเกิน  อติ-วจ-ณฺย   แปลง จ เป็น ก
ภาคฺยํภชภชิตพฺพนฺติ ภาคฺยํ (วตฺถุ) อันเขาพึงแบ่ง  อติ-ภช-ณฺย

6. ธาตุที่มี ช เป็นที่สุด  แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น คฺค

โยคฺคํยุชยุญฺชิตพฺพนฺติ โยคฺคํ (วตฺถุ) อันเขาพึงประกอบ  ยุช-ณฺย
โภคฺคํภุชภุญฺชิตพฺพนฺติ โภคฺคํ (วตฺถุ) อันเขาพึงกิน  ภุช-ณฺย

7. หลังธาตุที่มี ช ท เป็นที่สุด  แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น ชฺช

ปพฺพชฺชาวชปพฺพชฺชนํ ปพฺพชฺชา  ป-วช-ณฺย แปลง ว เป็น พ  ซ้อน พฺ
 วชปพฺพชิตพฺพนฺติ ปพฺพชฺชา   ป-วช-ณฺย
วิชฺชาวิทวิญฺญาตพฺพาติ/เวทิตพฺพาติ วิชฺชา (ธมฺมชาติ) อันเขาพึงรู้  วิท-ณฺย  แปลง ทฺย เป็น ชฺช
 วิทวิชานนํ  วิชฺชา ความรู้
นิปชฺชาปทนิปชฺชนํ  นิปชฺชา การนอน  นิ-ปท-ณฺย
นิสชฺชาสทนิสีทนํ  นิสชฺชา การนั่ง  นิ-สท-ณฺย
วชฺชํวจวตฺตพฺพนฺติ/วทิตพฺพนฺติ วชฺชํ (วจนํ) อันเขาพึงกล่าว  วท-ณฺย
ขชฺชํขาทขาทิตพฺพนฺติ ขชฺชํ (วตฺถุ) อันเขาเคี้ยวกิน  ขาท-ณฺย  รัสสะ อา เป็น อ
มชฺชํมทมทิตพฺพนฺติ มชฺชํ (ปานํ) อันเขาพึงเมา  มท-ณฺย
โภชฺชํภุชภุญฺชิตพฺพนฺติ โภชฺชํ (วตฺถุ) อันเขาพึงกิน  ภุช-ณฺย  “อนฺนํ ปานํ จ อาทาย   ขชฺชํ โภชฺชํ อนปฺปกํ”
นิโยชฺโชยุชนิยุญฺชิตพฺโพติ นิโยชฺโช (สตฺโต) อันเขาพึงประกอบ  ยุช-ณฺย

8. หลังธาตุที่มี ม เป็นที่สุด  แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น มฺม

ทมฺโมทมทมิตพฺโพติ ทมฺโม อันเขาพึงฝึก/ทรมาน  ทม-ณฺย
คมฺโมคมคนฺตพฺโพติ คมฺโม (คาโม) อันเขาพึงถึง  คม-ณฺย
คมฺมํคมคนฺตพฺพนฺติ คมฺมํ (ฐานํ, ธมฺมชาตํ) อันเขาพึงถึง  คม-ณฺย
 คมคมนํ คมฺมํ การไป, การถึง  คม-ณฺย

9. หลังธาตุที่มี ห เป็นที่สุด  แปลง ย กับที่สุดธาตุ เป็น ยฺห

ปสยฺโหสหปสหิตพฺโพติ  ปสยฺโห อันเขาพึงข่ม  ป-สห "ข่ม ข่มเหง ครอบงำ"-ณฺย
 สหปสหนํ  ปสยฺโห การข่ม  ป-สห "ข่ม ข่มเหง ครอบงำ"-ณฺย
คารยฺหํครหครหิตพฺพนฺติ คารยฺหํ (กมฺมํ)  อันเขาพึงติเตียน  ครห-ณฺย
คยฺหํคหคณฺหิตพฺพนฺติ คยฺหํ (วตฺถุ)  อันเขาพึงถือ  คห-ณฺย

10. อื่นๆ

ปาฏิกงฺขากํขปฏิกงฺขิตพฺพาติ ปาฏิกงฺขา (ทุคฺคติ) อันเขาพึงหวังเฉพาะ  ปฏิ-กํข-ณฺย  เอา อ เป็น อา  นิคคหิตเป็น งฺ  แปลง ย เป็น อา
 กํขปฏิกงฺขนํ ปาฏิกงฺขา ความหวังเฉพาะ


ณฺย ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้ เช่น 

เต จ ภิกฺขู คารยฺหา.    อนึ่ง  ภิกษุ ท. เหล่านั้น อันท่าน  พึงติเตียน.    
วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิ.   ดูก่อนภิกษุ ท.  ความเจริญนั่นเทียว อันภิกษุ ท. พึงหวังเฉพาะ, ความเสื่อมรอบ อันภิกษุ ท. ไม่พึงหวังเฉพาะ,    
นตฺถิ ตุยฺหํ สุคติ, ทุคฺคติเยว ตุยฺหํ ปาฏิกงฺขา.  สุคติ ย่อมไม่มี แก่เจ้า,  ทุคคตินั่นเทียว อันเจ้า พึงหวังเฉพาะ.    
พหู เอเต เอกสฺส มยฺหํ อวิสยฺหา.   ฤาษี ท. เหล่านั่น มาก  อันข้าพระองค์ ผู้เดียว ไม่พึงข่มขี่ได้.

 

กิตกิจจปัจจัย เป็นเครื่องหมายสาธนะทั้ง 7

ปัจจัย    
อ ปัจจัย เป็นได้หลายสาธนะ  มีอำนาจให้พฤทธิ์ได้    
ปุงลิงค์ แจกอย่าง ชน,     
อิตถีลิงค์ เป็น อา การันต์ แจกอย่าง กญฺญา,     
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล    
(ป. เอก.  ธมฺมธโร,  ธมฺมธรา,  ธมฺมธรํ)

การพฤทธิ์ด้วย อ ปัจจัย

  1. ธาตุพยางค์เดียว    
    เป็น อุ อู    พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ    แปลง โอ เป็น อว    
    เป็น อิ อี    พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ    แปลง เอ เป็น อย
  2. ธาตุหลายพยางค์    
    ต้นธาตุเป็น อุ    พฤทธิ์ อุ  เป็น โอ    
    ต้นธาตุเป็น อิ    พฤทธิ์ อิ  เป็น เอ    
    ต้นธาตุเป็น อ    ไม่พฤทธิ์

1. ธาตุพยางค์เดียว

อจฺจโยอิอจฺจยนํ อจฺจโย ความก้าวล่วง  อติ-อิ-อ  ภาว. ภาว.
วินิจฺฉโยจิวินิจฺฉิยเต เตนาติ วินิจฺฉโย (อุปาโย) เป็นเครื่องอันเขาตัดสิน  วิ-นิ-จิ-อ  แปลง จ เป็น ฉ  ซ้อน จฺ  กัมม. กรณ.
 จิวินิจฺฉยนํ วินิจฺฉโย การตัดสิน
สนฺนิจโยจิสนฺนิจยนํ  สนฺนิจโย การสั่งสม  สํ-นิ-จิ
อุจฺจโยจิอุจฺจยนํ อุจฺจโย ความสั่งสม  อุ-จิ-อ
ปริจโยจิปริจยนํ ปริจโย ความสั่งสม  ปริ-จิ-อ
ชโยชิชยนํ  ชโย  ความชนะ  ชิ-อ
วิชโยชิวิชยนํ วิชโย ความชนะ  วิ-ชิ-อ
ปราชโยชิปราชยนํ ปราชโย ความแพ้   ปรา-ชิ-อ
อภิชฺฌาเฌอภิมุขํ ฌายตีติ  อภิชฺฌา (ธมฺมชาติ) ผู้เพ่งเล็ง  อภิ-เฌ-อ   กัตตุ. กัตตุ.
 เฌอภิชฺฌนํ  อภิชฺฌา การเพ่งเล็ง
ปญฺญาญาปชานาตีติ  ปญฺญา (ธมฺมชาติ) ผู้รู้ทั่ว, ปัญญา  ป-ญา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
สญฺญาญาสญฺชานาตีติ  สญฺญา (ธมฺมชาติ) ผู้รู้พร้อม, ผู้จำได้  สํ-ญา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อญฺญาญาอาชานิตพฺพาติ/อญฺญาตพฺพาติ อญฺญา (อรหัตผล) อันเขาพึงรู้ทั่ว  อา-ญา-อ  กัมม. กัมม.
สุวิญฺญาปโยญาสุเขน วิญฺญาเปตพฺโพติ สุวิญฺญาปโย อันเขาพึงให้รู้แจ้งโดยง่าย  สุ-วิ-ญา-ณาปย-อ กัมม. กัมม. #ทุวิญฺญาปโย
ปติฏฺฐาฐาปติฏฺฐานํ  ปติฏฺฐา ความตั้งมั่น, (ที่พึ่ง)  ปติ-ฐา-อ  ภาว. ภาว.  ซ้อน ฏฺ
มคฺคผลฏฺโฐฐามคฺคผเล ติฏฺฐตีติ มคฺคผลฏฺโฐ ผู้ตั้งอยู่ในมรรคและผล  มคฺคผล-ฐา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ธมฺมฏฺโฐฐาธมฺเม ติฏฺฐตีติ ธมฺมฏฺโฐ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ธมฺม-ฐา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ภุมฺมฏฺโฐฐาภุมฺเม ติฏฺฐตีติ ภุมฺมฏฺโฐ (เทโว) ผู้ดำรงอยู่บนภาคพื้น  ภุมฺม-ฐา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ปพฺพตฏฺโฐฐาปพฺพเต ติฏฺฐตีติ ปพฺพตฏฺโฐ (ชโน) ผู้ยืนที่ภูเขา  ปพฺพต-ฐา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อายุโททาอายุํ ททาตีติ อายุโท (ชโน) ผู้ให้ซึ่งอายุ  อายุ-ทา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อุปาทาทาอุปาทียเตติ  อุปาทา (ตณฺหา) อันเขายึดถือ  อุป-อา-ทา-อ  กัมม. กัมม.
ปุรินฺทโททาปุเร อททีติ ปุรินฺทโท (สกฺโก) ผู้ให้ก่อน  ปุร-ทา-อ  กัตตุ. กัตตุ.  แปลง อ ที่ ร เป็น อึ  เอานิคคหิต เป็น นฺ
นโยนีนยนํ  นโย  การนำไป  นี-อ
วินโยนีวิเนติ เอเตนาติ วินโย (อุปาโย) เป็นเครื่องแนะนำ (ของบัณฑิต)  วิ-นี-อ  กัตตุ. กรณ.
ปาทโปปาปาเทน ปิวตีติ ปาทโป (รุกฺโข) ผู้ดื่มด้วยราก, ต้นไม้  ปาท-ปา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
กจฺฉโปปากจฺเฉ ปิวตีติ กจฺฉโป (สตฺโต) ผู้หากินในที่ชื้นแฉะ, เต่า  กจฺฉ-ปา-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ภโวภูภวติ เอตฺถาติ ภโว (ปเทโส) เป็นที่เกิด (แห่งสัตว์)  ภู-อ  กัตตุ. อธิกรณ.
ปภโวภูปฐมํ ภวติ เอตสฺมาติ ปภโว (ปเทโส) เป็นแดนเกิดก่อน (แห่งแม่น้ำ)  ป-ภู-อ  กัตตุ. อปาทาน.
วิภโวภูวิภวิตพฺโพติ วิภโว (โภโค) อันเขาพึงเสวย  วิ-ภู-อ
อนุสโยสีอนุเสตีติ อนุสโย (กิเลโส) อันนอนเนื่อง  อนุ-สี-อ  กัตตุ. กัตตุ.
นิสฺสโยสีนิสฺสยติ นนฺติ นิสฺสโย (อาจริโย) เป็นที่อาศัย (ของศิษย์)   นิ-สี-อ  กัตตุ. กัมม.
 สีนิสฺสาย นํ วสตีติ นิสฺสโย (อาจริโย) เป็นที่อาศัยอยู่ (ของศิษย์)  กัตตุ. กัมม.
อาสโยสีอาคนฺตฺวา สยติ เอตฺถาติ อาสโย (กิเลโส) เป็นที่มานอน, เป็นที่อาศัย (แห่งชน) อา-สี-อ   กัตตุ. อธิกรณ.
อาลโยลีอาลียติ เอตฺถาติ อาลโย (กิเลโส) เป็นที่อันเขาติด  อา-ลี-อ   กัตตุ. อธิกรณ.

2. ธาตุหลายพยางค์

กถากถกเถติ เอตายาติ  กถา (วาจา) เป็นเครื่องกล่าว (แห่งชน)  กถ-อ    กัตตุ. กรณ.
*อตฺถกถา  *อฏฺฐกถากถอตฺถํ กเถติ เอตายาติ  อตฺถกถา อฏฺฐกถา (วาจา) เป็นเครื่องกล่าวซึ่งเนื้อความ (แห่งชน) อตฺถ-กถ-อ กัตตุ. กรณ. ศัพท์หลัง แปลง ตฺถ เป็น ฏฺฐ
 กถอตฺโถ กถิยเต เอตายาติ  อตฺถกถา (วาจา) เป็นเครื่องอันเขากล่าวซึ่งเนื้อความ (แห่งชน)  กัมม. กรณ.
ติกิจฺฉากิตติกิจฺฉนํ ติกิจฺฉา การเยียวยา, การรักษา(โรค)  ภาว. ภาว.
วิจิกิจฺฉากิตวิจิกิจฺฉนํ  วิจิกิจฺฉา  ความลังเลสงสัย  วิ-กิต-ฉ-อ
ชิฆจฺฉาฆสฆสิตุํ อิจฺฉา ชิฆจฺฉา  ความหิว, ความปรารถนาจะกิน   ฆส-ฉ-อ
ชโนชนชายตีติ ชโน ผู้เกิด  ชน-อ
 ชนกุสลากุสลํ ชเนตีติ ชโน ผู้ยังกุศลและอกุศลให้เกิด  ชน-อ
ชราชรชีรณํ ชรา ความแก่  ชร-อ
ติติกฺขาติชติติกฺขนํ  ติติกฺขา ความอดกลั้น  ติช-ข-อ 
นินฺทานินฺทนินฺทนํ นินฺทา การติเตียน  นิทิ-อ
ปฏิปทาปทปฏิปชฺชติ เอตายติ ปฏิปทา (ธมฺมชาติ) เป็นเครื่องปฏิบัติ (แห่งชน)  ปฏิ-ปท-อ   กัตตุ. กรณ.
ปุจฺฉาปุจฺฉปุจฺฉนํ  ปุจฺฉา การถาม  ปุจฺฉ-อ 
ปูชาปูชปูชนํ  ปูชา  การบูชา  ปูช-อ
ปฏิสมฺภิทาภิทปฏิสมฺภิชฺชตีติ ปฏิสมฺภิทา (ปญฺญา) อันแตกฉานดีโดยต่าง  ปฏิ-สํ-ภิท-อ   กัตตุ. กัตตุ.
ลชฺชาลชฺชลชฺชนํ  ลชฺชา ความละอาย  ลชฺช-อ
ปสํสาสํสปสํสนํ  ปสํสา ความสรรเสริญ  ป-สํส-อ
สิกฺขาสิกฺขสิกฺขิยตีติ สิกฺขา (ธมฺมชาติ) อันเขาศึกษา  สิกฺข-อ   กัมม. กัมม.
 สิกฺขสิกฺขนํ สิกฺขา การศึกษา
อุเปกฺขาอิกฺขอุเปกฺขตีติ  อุเปกฺขา (ธมฺมชาติ) ผู้วางเฉย,   อุป-อิกฺข-อ  "เข้าไปดู"   กัตตุ. กัตตุ.
 อิกฺขอุเปกฺขนํ  อุเปกฺขา การวางเฉย  
อติกฺกโมกมอติกฺกมนํ  อติกฺกโม การก้าวล่วง, การล่วงเกิน  อติ-กม-อ 
ทินกโรกรทินํ  กโรตีติ  ทินกโร ผู้ทำซึ่งวัน, พระอาทิตย์, ทินกร  ทิน-กร-อ   กัตตุ. กัตตุ.
หิตกฺกโรกรหิตํ  กโรตีติ  หิตกฺกโร ผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูล  หิต-กร-อ   กัตตุ. กัตตุ.
เวยฺยาวจฺจกโรกรเวยฺยาวจฺจํ กโรตีติ  เวยฺยาวจฺจกโร ผู้ทำซึ่งความขวนขวาย  เวยฺยาวจฺจ-กร-อ   กัตตุ. กัตตุ.
กลโหกลหกลหนฺติ เอตฺถาติ  กลโห (วาโท) เป็นที่โต้เถียง (แห่งชน)  กลห-อ  กัตตุ. อธิกรณ.
โอวาทกฺขโมขมโอวาทสฺส ขมตีติ  โอวาทกฺขโม (สารีปุตฺโต) ผู้อดทนต่อโอวาท  โอวาท-ขม-อ  กัตตุ. กัตตุ.
วจนกฺขโมขมวจนสฺส ขมตีติ  วจนกฺขโม ผู้อดทนต่อถ้อยคำ  วจน-ขม-อ  กัตตุ. กัตตุ.
จิตฺตกฺเขโปขิปจิตฺตสฺส เขปนํ  จิตฺตกฺเขโป ความกระสับกระส่ายแห่งจิต  จิตฺต-ขิป-อ
สมาคโมคมสํ อาคมนํ สมาคโม การมาพร้อมกัน  สํ-อา-คม-อ
เคหํคหคยฺหเตติ เคหํ (วตฺถุ) อันเขาถือเอา-ยึดครอง  คห-อ  แปลง อ ต้นธาตุ เป็น เอ   กัมม. กัมม.
วิคฺคโหคหวิคฺคยฺหนฺติ เอตฺถาติ  วิคฺคโห (เหตุ) เป็นที่ถกเถียง  วิ-คห-อ  กัตตุ. อธิกรณ.
ปคฺคโหคหปคฺคหนํ ปคฺคโห การยกย่อง  ป-คห-อ
สงฺคโหคหสงฺคหนํ สงฺคโห การสงเคราะห์  สํ-คห-อ
 คหสงฺคเหตพฺโพติ สงฺคโห (ชโน) อันเขาพึงสงเคราะห์   กัมม. กัมม.
 คหสงฺคเหตพฺโพ เตนาติ สงฺคโห (อาหาโร) เป็นเครื่องอันเขาพึงสงเคราะห์ (แห่งชน)   กัมม. กรณ.
โคจโรจรคาโว จรนฺติ เอตฺถาติ โคจโร (ปเทโส) เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค  โค-จร-อ  กัตตุ. อธิกรณ.
เอกจโรจรเอโก จรตีติ  เอกจโร (นาโค) ผู้เที่ยวไปผู้เดียว  เอก-จร-อ  กัตตุ. กัตตุ.
สพฺพญฺชโหชหสพฺพธมฺมํ ชหตีติ สพฺพญฺชโห ผู้สละซึ่งธรรมทั้งปวง  สพฺพ-ชห-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ชาคโรชาครชาคโรตีติ  ชาคโร ผู้ตื่น  ชาคร-อ    กัตตุ. กัตตุ.
 ชาครชาครณํ ชาคโร การตื่น  ชาคร-อ  
สนฺถโวถุสํสนฺถวนํ สนฺถโว ความคุ้นเคย  สํ-ถุ-อ 
อาตโปตปอา สมนฺตโต ตปตีติ  อาตโป (สภาโว) อันเร่าร้อน  อา-ตป-อ  กัตตุ. กัตตุ. (สมนฺตโต โดยรอบ)
ทโมทมทมนํ  ทโม การฝึก, การทรมาน  ทม-อ  
เทโวทิวทิพฺพตีติ เทโว (ชโน) ผู้เล่น, เทพ  ทิว-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อุปทฺทโวทุอุปคนฺตฺวา ทวตีติ  อุปทฺทโว (สภาโว) อันเข้าไปเบียดเบียน  อุป-ทุ-อ  กัตตุ. กัตตุ.
วิชฺชาธโรธรวิชฺชํ ธาเรตีติ  วิชฺชาธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้  วิชฺชา-ธร-อ
วินยธโรธรวินยํ ธาเรตีติ  วินยธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งวินัย  วินย-ธร-อ
ธมฺมธโรธรธมฺมํ ธาเรตีติ  ธมฺมธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม  ธมฺม-ธร-อ
กาสาวธโรธรกาสาวํ ธาเรตีติ  กาสาวธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งผ้ากาสาวะ  กาสาว-ธร-อ
ติปิฏกธโรธรติปิฏกานิ ธาเรตีติ  ติปิฏกธโร ผู้ทรงไว้ซึ่งปิฎก 3  ติปิฏก-ธร-อ
ชุตินฺธโรธรชุตึ ธาเรตีติ  ชุตินฺธโร (พุทฺโธ) ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง  ชุติ-ธร-อ
ปํสุกูลธโรธรปํสุกูลํ ธาเรตีติ  ปํสุกูลธโร (ภิกฺขุ) ผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล  ปํสุกูล-ธร-อ
อิทฺธิมยปตฺตจีวรธโรธรอิทฺธิมยํ ปตฺตจีวรํ ธาเรตีติ  อิทฺธิมยปตฺตจีวรธโร (ภิกฺขุ) ผู้ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์  อิทฺธิมยปตฺตจีวร-ธร-อ
อุตฺตมรูปธราธรอุตฺตมํ รูปํ ธาเรตีติ  อุตฺตมรูปธรา (มาคนฺทิยา) ผู้ทรงไว้ซึ่งรูปอันสูงสุด  อุตฺตมรูป-ธร-อ
อานนฺโทนนฺทอา ภุโส นนฺทยตีติ  อานนฺโท ความยินดียิ่ง  อา-นนฺท-อ   (ภุโส โดยยิ่ง)
นิปโกปจนิสฺเสสโต ปาเจติ กุสลธมฺเมติ  นิปโก ผู้ยังกุศลธรรมให้สุกโดยไม่เหลือ  นิ-ปจ-อ    กัตตุ. กัตตุ.
สมฺปทาปทสมฺปชฺชนํ สมฺปทา ความถึงพร้อม  สํ-ปท-อ
 ปทสมฺปชฺชติ เอตายาติ  สมฺปทา (คุณชาติ) เป็นเครื่องถึงพร้อม (แห่งชน)    กัตตุ. กรณ.
ปปญฺโจปจิ(สตฺเต) ปปญฺจาเปติ เตนาติ ปปญฺโจ (ธมฺโม) เป็นเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า  ป-ปจิ-อ  กัตตุ. กรณ.
 ปจิปปญฺจียเตติ  ปปญฺโจ ความเนิ่นช้า 
ปิโยปิยปิยติ นนฺติ  ปิโย (ปุตฺโต) เป็นที่รัก (แห่งบิดา)   ปิย-อ    กัตตุ. กัมม.
อาพาโธพาธอาพาธตีติ  อาพาโธ (โรโค) ผู้เบียดเบียน  อา-พาธ-อ  กัตตุ. กัตตุ.
มาตาเปติภโรภรมาตาปิตโร ภรตีติ  มาตาเปติภโร ผู้เลี้ยงซึ่งมารดาและบิดา  มาตาปิตุ-ภร-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อตฺตภโรภรอตฺตานํ ภรตีติ  อตฺตภโร ผู้เลี้ยงซึ่งตน  อตฺต-ภร-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อตฺตสมฺภวํภูอตฺตนิ สมฺภวตีติ  อตฺตสมฺภวํ (ปาปํ) อันมีพร้อมในตน  อตฺต-สํ-ภู-อ  กัตตุ. กัตตุ.
โมกฺโขมุจมุจฺจนํ โมกฺโข ความหลุดพ้น  มุจ-อ 
 มุจมุจฺจนฺติ ราคาทีหิ เอเตนาติ โมกฺโข (ธมฺโม) เป็นเครื่องหลุดพ้น (แห่งชน)   กัตตุ. กรณ.
 มุจมุจฺจนฺติ เอตฺถาติ โมกฺโข (ธมฺโม) เป็นที่หลุดพ้น (แห่งชน)  กัตตุ. อธิกรณ.
วิโมกฺโขมุจวิมุจฺจนํ วิโมกฺโข ความหลุดพ้นวิเศษ  วิ-มุจ-อ 
สญฺญโมยมุสํยมนํ สญฺญโม ความสำรวม  สํ-ยมุ-อ
มโนรมารมมโน รมติ เอตฺถาติ  มโนรมา (ภาสา) เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ  มน-รม-อ  กัตตุ. อธิกรณ.
รโสรสรสติ ตนฺติ  รโส (วิสโย) เป็นที่ยินดี  รส-อ  กัตตุ. กัมม.
สิโรรุโหรุหสิรสฺมึ/สิรสา รุหตีติ สิโรรุโห (อวยโว) อันงอกขึ้นที่ศีรษะ, ผม  สิร-รุห-อ  กัตตุ. กัตตุ.
วณฺณํวณฺณวณฺณิตพฺพนฺติ วณฺณํ (คุณชาตํ) อันเขาพึงพรรณนา  วณฺณ-อ  กัมม. กัมม.
อวณฺณํวณฺณอวณฺณิตพฺพนฺติ อวณฺณํ (วชฺชํ) อันเขาไม่พึงพรรณนา  น-วณฺณ-อ  กัมม. กัมม.
วโยวยวยติ  ปริหานึ คจฺฉตีติ วโย (สภาโว) ผู้เสื่อมไป  วย-อ  กัตตุ. กัตตุ.
สํวโรวรสํวรณํ สํวโร ความสำรวม  สํ-วร-อ 
วสฺสํวสฺสวสฺสตีติ  วสฺสํ (อุทกํ) ผู้รด, ฝน   วสฺส-อ  กัตตุ. กัตตุ.
 วสฺสวสฺสติ เอตฺถาติ วสฺโส (กาโล) เป็นที่รด, กาลฝน, ฤดูฝน   กัตตุ. อธิกรณ.
สุขาวหํวหสุขํ อาวหตีติ  สุขาวหํ (ทานํ) อันนำมาซึ่งสุข  สุข-อา-วห-อ  กัตตุ. กัตตุ.
หิตาวหํวหหิตํ อาวหตีติ  หิตาวหํ (ทานํ) อันนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล  หิต-อา-วห-อ  กัตตุ. กัตตุ.
สํสคฺโคสชสํ สชฺชนํ สํสคฺโค ความเกี่ยวข้อง  สํ-สช-อ
 สชสํสชฺชติ เตนาติ สํสคฺโค (กิเลโส) เป็นเครื่องข้อง (แห่งชน)   กัมม. กรณ.
นิสฺสนฺโทสนฺทนิสฺสนฺเทติ เตนาติ  นิสฺสนฺโท (วิปาโก) เป็นเครื่องไหลออก (แห่งกรรม) นิ-สนฺท-อ  กัตตุ. กรณ.
หิรินิเสโธสิธุ(อนฺโต อุปฺปนฺนํ อกุสลวิตกฺกํ) หิริยา นิเสเธตีติ  หิรินิเสโธ (ภิกฺขุ) ผู้ห้ามซึ่งอกุศลวิตกด้วยหิริ  หิริ-นิ-สิธุ-อ   กัตตุ. กัตตุ.
กุสีโตสีทกุจฺฉิตํ สีทตีติ  กุสีโต ผู้จมลงสู่อาการอันบัณฑิตเกลียดแล้ว  กุจฺฉิต-สีท-อ  คงไว้แต่ กุ  แปลง ท เป็น ต   กัตตุ. กัตตุ.
 สีทกุจฺฉิเตน อากาเรน สีทตีติ  กุสีโต ผู้จมลงโดยอาการอันบัณฑิตเกลียดแล้ว   กัตตุ. กัตตุ.
วโธหนหนตีติ  วโธ ผู้ฆ่า  หน-อ
 หนหนนํ  วโธ การฆ่า
วาณิโชอชวาณาย อิโต จิโต จ อชตีติ  วาณิโช ผู้ไปเพื่อการค้า, พ่อค้า   วาณ-อช-อ  กัตตุ. กัตตุ.
ปูชารโหอรหปูชํ อรหตีติ  ปูชารโห (ภิกฺขุ) ผู้ควรซึ่งการบูชา  ปูชา-อรห-อ    กัตตุ. กัตตุ.
สมฺปราโยอิสํ ปรํ ยาตพฺโพติ สมฺปราโย (ปรโลโก) อันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้าพร้อม  สํ-ปรํ-อิ-อ  กัมม. กัมม.
ปจฺจูโสอูสปจฺจูเสติ ติมรนฺติ  ปจฺจูโส (กาโล) อันกำจัดเฉพาะซึ่งความมืด  ปฏิ-อูส-อ  กัตตุ. กัตตุ.
อปฺปิจฺโฉอิสอปฺปํ อิจฺฉตีติ  อปฺปิจฺโฉ ผู้ปรารถนาน้อย  อปฺป-อิส-อ  กัตตุ. กัตตุ.
สิรึสโปสปฺปสิเรน สปฺปตีติ  สิรึสโป (สตฺโต) ผู้เสือกไปด้วยศีรษะ  สิร-สปฺป-อ  เอา อ ที่ ร เป็น อึ  ลบ ปฺ  กัตตุ. กัตตุ.
อนฺตลิกฺขจโรจรอนฺตลิกฺเข  จรตีติ  อนฺตลิกฺขจโร ผู้เที่ยวไปในกลางหาว  อนฺตลิกฺข (กลางหาว)-จร-อ   กัตตุ. กัตตุ.

ลงหลังธาตุสำหรับตั้งเป็นชื่อ  ให้ลง นุ อาคม ที่ท้ายบทหน้า แล้วแปลง นุ เป็นนิคคหิต  แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค แล้วใช้เป็นอสาธารณนาม

ทีปงฺกโรกรทีปํ  กโรตีติ  ทีปงฺกโร (พุทฺโธ) ผู้ทำซึ่งที่พึ่ง/แสงสว่าง  ทีป-กร-อ  พระนามของพระพุทธเจ้า
เวสฺสนฺตโรตรเวสฺสสฺส รจฺฉํ ตรตีติ  เวสฺสนฺตโร (ราชา) ผู้ข้ามซึ่งตรอกแห่งพ่อค้า เวสฺส-ตร-อ  พระนามของพระราชา

 

อิ ปัจจัย    
เป็นได้หลายสาธนะ    
เป็นปุงลิงค์  อิ การันต์  แจกอย่าง มุนิ    
สำหรับลงหลัง ทา ธา ธาตุ เป็นต้น

กสิกสกสนํ กสิ  การไถ  กส-อิ 
นิธิธานิธิยเตติ นิธิ (ธนกุมฺโภ, สมฺปตฺติ) อันเขาฝังไว้   นิ-ธา-อิ   กัมม. กัมม.
สนฺธิธาสนฺธิยตีติ สนฺธิ (วาจา) อันเขาต่อ  สํ-ธา-อิ   กัมม. กัมม.
สนฺนิธิธาสนฺนิธานํ สนฺนิธิ การสั่งสม   สํ-นิ-ธา-อิ 
สมาธิธาเอกาลมฺพเน สํ สุฏฺฐุ อาธานํ สมาธิ ความตั้งมั่น  สํ-อา-ธา-อิ 
 ธาสมฺมา สมํ วา จิตฺตํ อาทธาตีติ สมาธิ (ธมฺโม) ผู้ตั้งจิตไว้โดยชอบ   กัตตุ. กัตตุ.
อุปาทิทาอุปาทิยเตติ อุปาทิ (ธมฺโม) อันกรรมกิเลสเข้าไปยึดไว้   อุป-อา-ทา-อิ   กัมม. กัมม.
อุทธิธาอุทกํ ทธาตีติ อุทธิ (ปเทโส) ผู้ทรงไว้ซึ่งน้ำ, ทะเล  อุทก-ธา-อิ   กัตตุ. กัตตุ.
นนฺทินนฺทนนฺทนํ นนฺทิ ความเพลิดเพลิน  นนฺท-อิ 
โพธิพุธพุชฺฌิสฺสตีติ/พุชฺฌตีติ  โพธิ (สตฺโต) ผู้จักตรัสรู้  พุธ-อิ  กัตตุ. กัตตุ.
 พุธพุชฺฌติ เตนาติ โพธิ (ญาณํ) เป็นเครื่องตรัสรู้ (แห่งชน)  กัตตุ. กรณ.
 พุธพุชฺฌติ เอตฺถาติ โพธิ (รุกฺโข) เป็นที่ตรัสรู้ (แห่งชน)  กัตตุ. อธิกรณ.
มุนิมุนมุนาติ  ชานาติ  หิตาหิตํ  ปริจฺฉินฺทตีติ  มุนิ ผู้รู้   มุน-อิ   กัตตุ. กัตตุ.
รุจิรุจโรเจตีติ  รุจิ ผู้รุ่งเรือง   รุจ-อิ  กัตตุ. กัตตุ.
 รุจโรเจติ เอตายาติ  รุจิ (รํสิ) เป็นเหตุรุ่งเรือง  กัตตุ. กรณ.
 รุจรุจนํ รุจิ ความรุ่งเรือง, ความชอบใจ
ธมฺมรุจิรุจโรเจตีติ  ธมฺมรุจิ ผู้ชอบใจซึ่งธรรม  ธมฺม-รุจ-อิ  กัตตุ. กัตตุ.

 

ปัจจัย    
ณ ปัจจัย  มีอำนาจให้พฤทธิ์ธาตุได้  แล้วลบ ณฺ เสีย    
ณ ปัจจัย เป็นได้ทุกรูปทุกสาธนะ     
ปุงลิงค์  แจกอย่าง ชน,     
อิตถีลิงค์  เป็น อา การันต์ แจกอย่าง กญฺญา,    
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล

ธมฺมกาโมกมุธมฺมํ  กาเมตีติ  ธมฺมกาโม ผู้ใคร่ซึ่งธรรม  ธมฺม-กมุ-ณ
หิตกาโมกมุหิตํ กาเมตีติ  หิตกาโม ผู้ใคร่ซึ่งประโยชน์  หิต-กมุ-ณ
กุมฺภกาโรกรกุมฺภํ กโรตีติ กุมฺภกาโร ผู้ทำซึ่งหม้อ  กุมฺภ-กร-ณ
กมฺมกาโรกรกมฺมํ กโรตีติ  กมฺมกาโร  ผู้ทำซึ่งการงาน  กมฺม-กร-ณ
มาลากาโรกรมาลํ กโรตีติ  มาลากาโร ผู้ทำซึ่งระเบียบ  มาลา-กร-ณ
มณิกาโรกรมณึ กโรตีติ  มณิกาโร ผู้ทำซึ่งแก้วมณี  มณิ-กร-ณ
สุวณฺณกาโรกรสุวณฺณํ กโรตีติ  สุวณฺณกาโร ผู้ทำซึ่งทอง  สุวณฺณ-กร-ณ
อุสุกาโรกรอุสุํ กโรตีติ  อุสุกาโร ผู้ทำซึ่งลูกศร  อุสุ-กร-ณ
อุปกาโรกรอุปคนฺตฺวา กโรตีติ  อุปกาโร (สภาโว) อันเข้าไปทำ, อันเข้าไปอุดหนุน  อุป-กร-ณ
โกโธกุธกุชฺฌตีติ  โกโธ ผู้โกรธ  กุธ-ณ
 กุธกุชฺฌติ ตสฺสาติ  โกโธ เป็นที่โกรธ (แห่งชน)
 กุธกุชฺฌนํ โกโธ ความโกรธ
โกโปกุปกุปฺปนํ โกโป ความกำเริบ  กุป-ณ
ขโยขีขียนํ ขโย ความสิ้นไป  ขี-ณ
ปริกฺขโยขีปริ ขียนํ ปริกฺขโย ความสิ้นไปรอบ  ปริ-ขี-ณ
ธนกฺขโยขีธนสฺส ขียนํ ธนกฺขโย ความสิ้นไปแห่งทรัพย์  ธน-ขี-ณ
มาตุคาโมคมมาตุยา (สมภาวํ) คจฺฉตีติ มาตุคาโม (ชโน) ผู้ถึง(ซึ่งความเป็นผู้เสมอ)ด้วยมารดา, มาตุคาม, ผู้หญิง มาตุ-คม-ณ
คาโหคหคณฺหาตีติ  คาโห ผู้ถือ, ผู้จับ  คห-ณ    กัตตุ. กัตตุ.
 คหคหณํ  คาโห การถือ, การจับ
ปตฺตคฺคาโหคหปตฺตํ คณฺหาตีติ ปตฺตคฺคาโห ผู้ถือซึ่งบาตร  ปตฺต-คห-ณ  กัตตุ. กัตตุ.
รชฺชุคฺคาโหคหรชฺชุํ คณฺหาตีติ รชฺชุคฺคาโห ผู้ถือซึ่งเชือก  รชฺชุ-คห-ณ  กัตตุ. กัตตุ.
รสฺมิคาโหคหรสฺมึ คณฺหาตีติ รสฺมิคาโห ผู้ถือซึ่งเชือก  รสฺมิ-คห-ณ  กัตตุ. กัตตุ.
องฺกุสคาโหคหองฺกุสํ คณฺหาตีติ องฺกุสคาโห ผู้ถือซึ่งขอ, ควาญช้าง  องฺกุส-คห-ณ  กัตตุ. กัตตุ.
โคโปคุปโคเปตีติ  โคโป ผู้คุ้มครอง  คุป-ณ
ฆาสํฆสฆสิตพฺพนฺติ  ฆาสํ (มํสํ) อันสัตว์พึงกิน, เหยื่อ  ฆส-ณ
ภิกฺขาจาโรจรภิกฺขาย จรติ เอตฺถาติ ภิกฺขาจาโร (กาโล, ปเทโส) เป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา  ภิกฺขา-จร-ณ
 จรภิกฺขาย จรณํ ภิกฺขาจาโร การเที่ยวไปเพื่อภิกษา
สีฆชโวชุสีเฆน ชวตีติ สีฆชโว (อสฺโส) ผู้วิ่งเร็ว   สีฆ-ชุ-ณ
ปริฬาโหฑหปริฑยฺหนํ ปริฬาโห ความเร่าร้อน   ปริ-ฑห "เผา-ร้อน"-ณ   แปลง ฑ เป็น ฬ
ธมฺมตกฺโกตกฺกธมฺมํ  ตกฺเกตีติ  ธมฺมตกฺโก ผู้ตรึกซึ่งธรรม  ธมฺม-ตกฺก-ณ
อาตปฺโปตปอา ภุโส กายํ จิตฺตญฺจ ตาเปตีติ อาตปฺโป (วายาโม) อันยังกายและจิตให้เร่าร้อนทั่ว, ความเพียร  อา-ตป-ณ
 ตปอา ภุโส กายํ จิตฺตญฺจ อาปนํ อาตปฺโป การยังกายและจิตให้เร่าร้อนทั่ว, ความพยายาม
อาตาโปตปอา สมนฺตโต ตาเปติ เตนาติ อาตาโป (วายาโม) เป็นเครื่องยังกิเลสให้ร้อนทั่ว  อา-ตป-ณ
ปโตโทตุทปตุชฺชเต อเนนาติ ปโตโท (ทพฺโพ) เป็นเครื่องอันเขาแทง  ป-ตุท-ณ   กัมม. กรณ.
ตาโสตุสตสนํ ตาโส ความสะดุ้ง   ตส-ณ
อุทฺทาโมทมอุทฺทเมตีติ อุทฺทาโม (อสฺโส) ผู้คะนอง  อุ-ทม-ณ
โทโสทุสทุสฺสติ เตนาติ โทโส (กิเลโส) เป็นเหตุประทุษร้าย  ทุส-ณ  กัตตุ. กรณ.
 ทุสทุสฺสนํ โทโส การประทุษร้าย
ปโทโสทุสปทุสฺสนํ ปโทโส การประทุษร้าย  ป-ทุส-ณ
วินาโสนสวินสฺสนํ วินาโส ความพินาศ, ความฉิบหาย  วิ-นส-ณ
ปาโทปทปชฺชเต อเนนาติ ปาโท (อวยโว) เป็นเครื่องอันเขาเดินไป, เท้า  ปท-ณ   กัมม. กรณ.
อุปฺปาโทปทอุปฺปชฺชนํ อุปฺปาโท ความเกิดขึ้น  อุ-ปท-ณ
โคโปปาคาโว ปาตีติ  โคโป ผู้เลี้ยงซึ่งโค  โค-ปา-ณ
ทฺวารปาโลปาลทฺวารํ ปาเลตีติ  ทฺวารปาโล ผู้รักษาซึ่งประตู  ทฺวาร-ปาล-ณ
อุยฺยานปาโลปาลอุยฺยานํ ปาเลตีติ  อุยฺยานปาโล ผู้รักษาซึ่งอุทยาน  อุยฺยาน-ปาล-ณ
ผสฺโสผุสผุสนฺติ เตนาติ ผสฺโส (สภาโว) เป็นเครื่องถูกต้อง  ผุส-ณ   กัตตุ. กรณ.
อาพาโธพาธอาพาธตีติ อาพาโธ (สภาโว) ผู้เบียดเบียนยิ่ง   อา-พาธ-ณ
ปลิโพโธพุธิ พธปลิพุนฺธิยเตติ ปลิโพโธ ความกังวล  ปริ-พุธิ พธ-ณ  แปลง ร เป็น ล
สีลเภโทภิทสีลสฺส ภิชฺชนํ สีลเภโท ความแตกแห่งศีล  สีล-ภิท-ณ
ภยํภีภายิตพฺพนฺติ ภยํ (วตฺถุ) อันเขาพึงกลัว  ภี-ณ
 ภีภายนํ ภยํ ความกลัว
เภรโวภีรุภายิตพฺโพติ เภรโว (สทฺโท) อันเขาพึงกลัว  ภีรุ-ณ
ปาฏิโภโคภุชปภุญฺชตีติ ปาฏิโภโค (ภควา) ผู้รับรอง, นายประกัน  ปฏิ-ภุช-ณ
ภาโวภูภวนํ ภาโว ความเป็น  ภู-ณ
ปมาโทมทปมชฺชติ เตนาติ ปมาโท (สภาโว) เป็นเหตุประมาท  ป-มท-ณ
 มทปมชฺชนํ ปมาโท ความประมาท
มาโรมรสตฺตานํ กุสลธมฺเม มาเรตีติ  มาโร (สภาโว) อันยังความดีของสัตว์ให้ตาย  มร-ณ
ปรามาโสมสปรามสนํ ปรามาโส ความยึดมั่น  ป-อา-มส-ณ  ลง ร อาคม
โมโหมุหมุยฺหนฺติ เตนาติ โมโห (กิเลโส) เป็นเหตุหลง  มุห-ณ  กัตตุ. กรณ.
 มุหมุยฺหนํ โมโห ความหลง
ยาโคยชยชติ เตนาติ ยาโค (สกฺกาโร) เป็นเครื่องบูชา  ยช-ณ
 ยชยชิตพฺโพติ ยาโค (ภควา) อันเขาพึงบูชา
โยโคยุชยุญฺชิตพฺโพติ โยโค (วายาโม) อันเขาพึงประกอบ  ยุช-ณ
 ยุชยุญฺชติ เอเตนาติ โยโค (กิเลโส) เป็นเครื่องประกอบ
ราโครนฺชรญฺชนฺติ เอเตนาติ ราโค (กิเลโส) เป็นเหตุกำหนัด  รนฺช-ณ   กัตตุ. กรณ.
 รนฺชรญฺชนํ/รชฺชนํ ราโค ความกำหนัด, ราคะ
อาราโมรมอารมนฺติ เอตฺถาติ อาราโม (ปเทโส) เป็นที่ยินดี (แห่งชน)  อา-รม-ณ   กัตตุ. อธิกรณ.
 รมอาคนฺตฺวา รมนฺติ เอตฺถาติ อาราโม (ปเทโส) เป็นที่มายินดี (แห่งชน)  กัตตุ. อธิกรณ.
รโวรวรวณํ รโว การร้อง, การตะโกน  รุ-ณ
โรโครุชรุชฺชตีติ โรโค (อาพาโธ) ผู้เสียดแทง, โรค  รุช-ณ
สลฺลาโปลปสลฺลปนํ สลฺลาโป การเจรจา  สํ-ลป-ณ
ลาโภลภลพฺภตีติ ลาโภ (ธมฺโม) อันเขาได้  ลภ-ณ  กัมม. กัมม.
 ลภลภนํ ลาโภ  การได้
โลโภลุภลุพฺภนฺติ เอเตนาติ โลโภ (กิเลโส) เป็นเหตุโลภ  ลุภ-ณ   กัตตุ. กรณ.
 ลุภลุพฺภนํ โลโภ ความโลภ
วาจาวจวจติ เอตายาติ วาจา (สทฺทชาติ) เป็นเครื่องกล่าว  วจ-ณ
 วจวจนํ วาจา การกล่าว
วิวาโทวทวิรุทฺธํ กตฺวา วทนํ วิวาโท การกล่าวทำให้ขัดแย้งกัน "กล่าวต่าง" (วิรุทฺธํ กตฺวา ทำให้ขัดแย้งกัน) วิ-วท-ณ
อนูปวาโทวทอนูปวาทนํ  อนูปวาโท การไม่เข้าไปว่า(ร้าย)  น-อนุ-วท-ณ
ปริวาโรวรปริวาเรตีติ  ปริวาโร ผู้แวดล้อม  ปริ-วร "กั้น ปิด" -ณ  (กั้นรอบ = แวดล้อม)
 วรปริวรณํ  ปริวาโร การแวดล้อม
นิวาโสวสนิวสติ เอตฺถาติ นิวาโส (ปเทโส) เป็นที่อยู่อาศัย  นิ-วส-ณ
 วสนิวาสนํ นิวาโส การอยู่อาศัย
อาวาโสวสอาวสนฺติ เอตฺถาติ  อาวาโส (ปเทโส) เป็นที่อาศัยอยู่  อา-วส-ณ
สํวาโสวสสํ วสนํ สํวาโส การอยู่ร่วม, สังวาส  สํ-วส-ณ
วาโหวหวหิตพฺโพติ วาโห (ภาโร) อันเขาพึงนำไป  วห-ณ
อาวาโหวหอาวหนํ อาวาโห การนำมา  อา-วห-ณ
อาวาหํวหอาวหนฺติ นนฺติ อาวาหํ (มงฺคลํ) เป็นที่นำมา, (การแต่งงานแบบหญิงไปขอชาย)  อา-วห-ณ กัตตุ. กัมม.
วิวาหํวหวิวหนฺติ นนฺติ วิวาหํ (มงฺคลํ) เป็นที่นำไปต่าง, (การแต่งงานแบบชายไปขอหญิง)  วิ-วห-ณ กัตตุ. กัมม.
วิเวโกวิจวิเวจนํ วิเวโก ความสงัด  วิจ-ณ  ทำ เทฺวภาวะ วิ ที่ วิจ
สํเวโควิชิสํเวชิตพฺพนฺติ สํเวโค ความสลด, ความสังเวช  สํ-วิชิ-ณ
ตนฺตวาโยเวตนฺตํ วายตีติ ตนฺตวาโย (ชโน) ผู้กรอซึ่งด้าย  ตนฺต-เว-ณ  กัตตุ. กัตตุ. แปลง เอ เป็น อาย
ปสาโทสทปสาทนํ ปสาโท ความเลื่อมใส  ป-สท-ณ
สาโปสปสปนํ สาโป การแช่ง, การสาป  สป-ณ
วิปฺปฏิสาโรสรวิรูเปน ปติ ปุนปฺปุนํ สรติ จิตฺตํ เอเตนาติ วิปฺปฏิสาโร เป็นเครื่องไปผิดรูป (แห่งจิต), เป็นเครื่องเดือดร้อน (แห่งจิต) วิ-ปฏิ-สร-ณ
 สรวิปฺปฏิสรณํ วิปฺปฏิสาโร ความเดือดร้อน (แห่งจิต)
อุสฺสาโหสหทุกฺขลาภํ สหตีติ อุสฺสาโห (สภาโว) อันอดกลั้นซึ่งสิ่งที่พึงได้ยากขึ้นไป, อุสสาหะ  อุ-สห-ณ
 สหอุสฺสหนํ อุสฺสาโห การอดกลั้นยิ่งขึ้นไป, อุสสาหะ
วิสฺสาโสสสวิเสเสน สาสตีติ วิสฺสาโส ผู้คุ้นเคยกัน  วิ-สส-ณ
 สสวิสฺสาสนํ วิสฺสาโส ความคุ้นเคยกัน
ปริสฺสยํสิปริสยตีติ ปริสฺสยํ (ภยํ) อันเบียดเบียนรอบ  ปริ-สิ-ณ
 สิปริสยติ เตนาติ ปริสฺสยํ (ภยํ) เป็นเครื่องเบียดเบียนรอบ (แห่งชน)
นครโสภิณีสุภนครํ โสเภตีติ นครโสภิณี (อิตฺถี) ผู้ยังนครให้งาม  นคร-สุภ-ณ
อนูปฆาโตหนอนูปหนนํ  อนูปฆาโต การไม่เข้าไปฆ่า  น-อนุ-หน-ณ  แปลง หน เป็น ฆาต
วิหาโรหรวิหรติ เตนาติ วิหาโร (ธมฺโม) เป็นเครื่องอยู่ (แห่งภิกษุ)  วิ-หร-ณ  กัตตุ. กรณ.
 หรวิหรนฺติ เอตฺถาติ วิหาโร (อาราโม) เป็นที่อยู่ (แห่งภิกษุ)  กัตตุ. อธิกรณ.
อาหาโรหรอาหรตีติ อาหาโร (สภาโว) ผู้นำมา  อา-หร-ณ
หาโสหสหสนํ หาโส การหัวเราะ  หส-ณ
ปริหาโสหสปริหสนฺติ เอตฺถาติ ปริหาโส (ปเทโส) เป็นที่เล่น, เป็นที่ร่าเริง  ปริ-หส-ณ
 หสปริหสนํ ปริหาโส การเยาะเย้ย, ความร่าเริง
วิฆาสาโทฆสวิฆาสํ อทตีติ  วิฆาสาโท ผู้เคี้ยวกินซึ่งวัตถุอันเป็นเดน  วิฆาส-อท-ณ
อาโสอสอาสิตพฺโพติ  อาโส (อาหาโร) อันเขาพึงกิน  อส-ณ   กัมม. กัมม.
ปาตราโสอสปาโต อาสิตพฺโพติ  ปาตราโส (อาหาโร) อันเขาพึงกินในเวลาเช้า  ปาโต-อส-ณ   กัมม. กัมม.
สายมาโสอสสายํ อาสิตพฺโพติ  สายมาโส (อาหาโร) อันเขาพึงกินในเวลาเย็น   สายํ-อส-ณ   กัมม. กัมม.

ลงหลังธาตุพยางค์เดียว เป็น อา  แปลง อา เป็น อาย

ทายํทาทาตพฺพนฺติ  ทายํ (วตฺถุ) อันเขาพึงให้, รางวัล  ทา-ณ   กัมม. กัมม.
ทาโยทาทานํ  ทาโย  การให้
ทานทาโยทาทานํ ททาตีติ ทานทาโย (ชโน) ผู้ให้ซึ่งทาน  ทาน-ทา-ณ
ธญฺญมาโยมาธญฺญํ มินาตีติ ธญฺญมาโย (ชโน) ผู้นับซึ่งข้าวเปลือก  ธญฺญ-มา-ณ

ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ (ยกเว้น ณฺวุ)  ในนามกิตก์    
ลงหลังธาตุที่มี เป็นที่สุด  แปลง จ เป็น

โอโกอุจ(อุทกํ) อุจตีติ โอโก (ปเทโส) ผู้กักเก็บ (ซึ่งน้ำ), ห้วงน้ำ   อุจ-ณ
โสโกสุจโสจนํ โสโก ความเศร้าโศก  สุจ "แห้ง"-ณ
ปาโกปจปจนํ ปาโก การหุง  ปจ-ณ
วิปาโกปจวิปจตีติ วิปาโก (ภาโว) อันสุกวิเศษ, ผลแห่งกรรม  วิ-ปจ-ณ
 ปจวิปจนํ วิปาโก ความสุกวิเศษ
ปริปาโกปจปริปจนํ ปริปาโก ความแก่รอบ  ปริ-ปจ-ณ

ลงหลังธาตุที่มี เป็นที่สุด  แปลง ช เป็น

จาโคจชจชตีติ  จาโค ผู้สละ  จช-ณ
 จชจชนํ  จาโค  การสละ
อติปริจาโคจชอติปริจชนํ อติปริจาโค การสละอันยิ่งเกิน  อติ-ปริ-จช-ณ
สํวิภาโคภชสํ วิภชนํ สํวิภาโค การจำแนก, การแบ่งแยก  สํ-ภช-ณ
โภโคภุชภุญฺชิยเตติ โภโค (อาหาโร) อันเขาบริโภค  ภุช-ณ   กัมม. กัมม.
 ภุชภุญฺชนํ โภโค  การบริโภค
อุปโยโคยุชอุปยุชฺฌิตพฺพนฺติ อุปโยโค การประกอบเข้า  อุป-ยุช-ณ
อุปสคฺโคสชอุปคนฺตฺวา (อตฺถํ) สชฺเชตีติ อุปสคฺโค (สภาโว) อันเข้าไปขัดขวาง (ซึ่งประโยชน์)  อุป-สช-ณ
สงฺโคสชสชฺชนํ สงฺโค ความข้อง   สญฺช-ณ
รงฺโครนฺชรงฺโค ผู้กำหนัด, เป็นที่กำหนัด (สถานที่เต้นรำ)  รญฺช-ณ  กัตตุ. อธิกรณ.

คห ธาตุ  แปลง คห เป็น ฆร ได้

ฆรํคหคยฺหตีติ ฆรํ (ฐานํ) อันเขาถือครอง  คห-ณ   กัมม. กัมม.

กร ธาตุ มี  ปุร สํ อุ ปริ เป็นบทหน้า  แปลง กร เป็น หรือ ขร ได้

สงฺขาโรกรสงฺกริยเตติ  สงฺขาโร (ธมฺโม) อันปัจจัยกระทำพร้อม  สํ-กร-ณ   กัมม. กัมม.
สงฺขาโรกรปจฺจเยหิ สงฺคมฺม กริยเตติ สงฺขาโร (ธมฺโม) อันปัจจัยประชุมกันแต่งขึ้น   กัมม. กัมม.
อภิสงฺขาโรกรอภิสงฺขาโร ผู้ทำยิ่งดี   อภิ-สํ-กร-ณ
ปริกฺขาโรกรปริกฺขาโร เป็นเครื่องทำรอบ  ปริ-กร-ณ     กัตตุ. กรณ.
ปุเรกฺขาโรกรปุเร กรณํ  ปุเรกฺขาโร การทำก่อน, การทำในเบื้องหน้า, (ความยกย่อง)  ปุเร-กร-ณ


ติ ปัจจัย    
เป็นได้ทุกรูปทุกสาธนะ     
เป็นอิตถีลิงค์  แจกอย่าง รตฺติ

1. ธาตุพยางค์เดียว  คงไว้ตามเดิมบ้าง  แปลงเป็นอย่างอื่นบ้าง

ฐิติฐาฐานํ ฐิติ  ความตั้งอยู่  ฐา-ติ  แปลง อา เป็น อิ  ภาว. ภาว.
วิญฺญตฺติญาวิญฺญาปนํ วิญฺญตฺติ การให้รู้ต่าง, การขอ  วิ-ญา-ติ  รัสสะ อา เป็น อ   ซ้อน ตฺ  ภาว. ภาว.  
ปติปาปาตีติ ปติ ผู้รักษา, เจ้า, ผัว, นาย  ปา-ติ  รัสสะ อา เป็น อ   กัตตุ. กัต.
ปีติปาปิวนํ ปีติ ความดื่ม   ปา-ติ  แปลง อา เป็น อี  (เป็นมติในมูลกัจจายน์)  ภาว. ภาว.
 ปาปีติ (ธมฺมชาติ) ผู้ยังใจให้เอิบอิ่ม  ปิ "ให้เอิบอิ่ม" (อภิธานัปปทีปิกา สูจิ) -ติ  กัตตุ. กัต.
อีติอิอนตฺถาย เอตีติ อีติ (ธมฺมชาติ) อันมาเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์, จัญไร  อา-อิ-ติ  กัตตุ. กัตตุ.
จุติจุจวนํ จุติ ความเคลื่อน  จุ-ติ  ภาว. ภาว.
ถุติถุถวนํ ถุติ ความชมเชย  ถุ-ติ  ภาว. ภาว.
สุติสุสวนํ สุติ การฟัง  สุ-ติ  ภาว. ภาว.
สมฺภูติภูสมฺภวนํ  สมฺภูติ การเกิดขึ้นด้วยดี  สํ-ภู-ติ  ภาว. ภาว.
วิภูติภูวิสิฏฺเฐน/วิเสสโต ภวตีติ  วิภูติ (ธมฺมชาติ) ผู้เป็นโดยวิเศษ   วิ-ภู-ติ  กัตตุ. กัต.
 ภูวิภวนํ วิภูติ ความเป็นโดยวิเศษ  วิ-ภู-ติ  ภาว. ภาว.
ภวเนตฺติภูภวํ เนตีติ ภวเนตฺติ (ธมฺมชาติ) อันนำไปสู่ภพ  ภว-นี-ติ   ซ้อน ตฺ  กัตตุ. กัต.
 ภูภวํ เนติ เอตายาติ ภวเนตฺติ (ตณฺหา) เป็นเครื่องนำไปสู่ภพ  ภว-นี-ติ   ซ้อน ตฺ  กัตตุ. กรณ.
ชานิหาหานํ ชานิ ความเสื่อม  หา-ติ  แปลง หา เป็น ชา   แปลง ติ เป็น นิ  ภาว. ภาว.     
ปริหานิหาปริหานํ/ปริหายนํ ปริหานิ ความเสื่อมรอบ  ปริ-หา-ติ   แปลง ติ เป็น นิ  ภาว. ภาว.

2. ธาตุมี น ม ร เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ

วิกติกรวิวิเธน อากาเรน กรณํ วิกติ การกระทำโดยอาการมีอย่างต่างๆ   วิ-กร-ติ  ภาว. ภาว.
คติคมคมยเตติ/คนฺตพฺพนฺติ/คมนํ คติ การไป  คม-ติ  ภาว. ภาว.
 คมคจฺฉนฺติ เอตฺถาติ คติ (ภูมิ) เป็นที่ไป  คม-ติ  กัตตุ. อธิกรณ.
ทุคฺคติคมทุฏฺฐุ คมนํ ทุคฺคติ การไปชั่ว  ทุ-คม-ติ  ภาว. ภาว.
 คมทุ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ทุคฺคติ (ภูมิ) เป็นที่ไปชั่ว   ทุ-คม-ติ  กัตตุ. อธิกรณ.
สุคติคมสุฏฺฐุ คมนํ สุคติ การไปดี  สุ-คม-ติ  ภาว. ภาว.
 คมสุ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ สุคติ (ภูมิ) เป็นที่ไปดี   สุ-คม-ติ  กัตตุ. อธิกรณ.
สนฺตติตนสนฺตนนํ สนฺตติ ความสืบต่อ  สํ-ตน-ติ  ภาว. ภาว.
ภติภรภรณํ ภติ การเลี้ยงดู  ภร-ติ  ภาว. ภาว.
 ภรภรติ เอตายาติ ภติ (ธนชาติ) เป็นเครื่องเลี้ยงดู, ค่าจ้าง  ภร-ติ  กัตตุ. กรณ.
มติมนมนนํ มติ ความรู้    มน-ติ  ภาว. ภาว.
 มนมญฺญตีติ มติ (ธมฺมชาติ) ผู้รู้    มน-ติ  กัตตุ. กัต.
 มนมญฺญติ เอตายาติ มติ (ธมฺมชาติ) เป็นเครื่องรู้   มน-ติ  กัตตุ. กรณ.
สารมติมนสาเร มญฺญติ สีเลนาติ สารมติ ผู้รู้ในสิ่งอันเป็นสาระโดยปกติ  สาร-มน-ติ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
สมฺมติมนสมฺมนนํ สมฺมติ  ความรู้พร้อม   สํ-มน-ติ  ภาว. ภาว.
 มนสํ สุฏฺฐุ มญฺญตีติ สมฺมติ (ธมฺมชาติ)  ผู้รู้พร้อม  สํ-มน-ติ  กัตตุ. กัต.
 มนสํ สุฏฺฐุ มญฺญติ เอตายติ สมฺมติ (ธมฺมชาติ) เป็นเครื่องรู้พร้อม   สํ-มน-ติ  กัตตุ. กรณ.
รติรมรมณํ รติ ความยินดี  ม-ติ  ภาว. ภาว.
 รมรมนฺติ เอตายาติ รติ (ธมฺมชาติ) เป็นเครื่องยินดี  ม-ติ  กัตตุ. กรณ.
สติสรสรณํ สติ ความระลึก  สร-ติ  ภาว. ภาว.
 สรสรตีติ สติ (ธมฺมชาติ) ผู้ระลึก  สร-ติ  กัตตุ. กัต.
 สรสรติ เอตายาติ สติ (ธมฺมชาติ) เป็นเครื่องระลึก  สร-ติ  กัตตุ. กรณ.

3. หลัง ภุช ยุช ปท เป็นต้น ลบที่สุดธาตุ  ซ้อน ตฺ

คุตฺติคุปคุปนํ คุตฺติ ความคุ้มครอง   คุป-ติ  ภาว. ภาว.
อินฺทฺริยคุตฺติคุปอินฺทฺริยสฺส คุปนํ อินฺทฺริยคุตฺติ ความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์  อินฺทฺริย-คุป-ติ  ภาว. ภาว.
ติตฺติติปติปนํ ติตฺติ ความอิ่ม   ติป-ติ  ภาว. ภาว.
อุปฺปตฺติปทอุปฺปชฺชนํ อุปฺปตฺติ ความเกิดขึ้น, ความอุบัติ   อุ-ปท "ถึง"-ติ  ภาว. ภาว.
อาปตฺติปทอาปชฺชนํ อาปตฺติ ความถึง, ความต้อง, อาบัติ  อา-ปท-ติ  ภาว. ภาว.
สมาปตฺติปทสมาปชฺชนํ สมาปตฺติ การเข้าพร้อม, ฌาน  สํ-อา-ปท-ติ  ภาว. ภาว.
สมฺปตฺติปทสมฺปชฺชิตพฺพาติ สมฺปตฺติ (ธมฺมชาติ) อันเขาพึงถึงพร้อม  สํ-ปท-ติ  กัมม. กัมม.
ภตฺติภชภชนํ ภตฺติ การจำแนก, การคบ  ภช-ติ  ภาว. ภาว.
วิภตฺติภชวิภชนํ วิภตฺติ การจำแนก  วิ-ภช-ติ  ภาว. ภาว.
ภุตฺติภุชภุญฺชนํ ภุตฺติ การกิน  ภุช-ติ  ภาว. ภาว.
วิมุตฺติมุจวิมุจฺจนํ วิมุตฺติ ความพ้นวิเศษ  วิ-มุจ-ติ  ภาว. ภาว.
ยุตฺติยุชยุญฺชนํ ยุตฺติ การประกอบ  ยุช-ติ  ภาว. ภาว.
ปวตฺติวตุปวตฺตนํ ปวตฺติ ความเป็นไปทั่ว  ป-วตุ-ติ  ภาว. ภาว.
วุตฺติวตุวตฺตนํ วุตฺติ ความประพฤติ, ความเป็นไป  วตุ-ติ  ภาว. ภาว.
ชีวิตวุตฺติวตุชีวิตสฺส วตฺตนํ ชีวิตวุตฺติ ความเป็นไปแห่งชีวิต  ชีวิต-วตุ-ติ  ภาว. ภาว.

4. ธาตุมี ธ, ภ เป็นที่สุด ลบที่สุดธาตุ  แปลง ติ เป็น ทฺธิ   เช่น

พุทฺธิพุธพุชฺฌติ เอตายาติ พุทฺธิ (ปญฺญา) เป็นเครื่องตรัสรู้   พุธ-ติ  กัตตุ. กรณ.
 พุธพุชฺฌนํ พุทฺธิ การตรัสรู้  พุธ-ติ  ภาว. ภาว.
ลทฺธิลภลภติ เอตายาติ ลทฺธิ (ธมฺมชาติ) เป็นเหตุได้   ลภ-ติ  กัตตุ. กรณ. 
วิสุทฺธิสุธวิสุชฺฌนํ วิสุทฺธิ ความหมดจดวิเศษ   วิ-สุธ-ติ  ภาว. ภาว.
สมิทฺธิอิธสมิชฺฌนํ สมิทฺธิ ความสำเร็จพร้อม   สํ-อิธ-ติ  ภาว. ภาว.

5. ธาตุมี ม เป็นที่สุด ลบที่สุดธาตุ  แปลง ติ เป็น นฺติ

นิกนฺติกมุนิกมนํ นิกนฺติ ความใคร่, ความปรารถนา  นิ-กมุ-ติ  ภาว. ภาว.
สนฺติสมสมนํ สนฺติ ความสงบ  สม-ติ  ภาว. ภาว.
ขนฺติขมขมนํ ขนฺติ ความอดทน  ขม-ติ  ภาว. ภาว.

6. ธาตุมี ส เป็นที่สุด ลบที่สุดธาตุ   แปลง ติ เป็น ฏฺฐิ

สนฺตุฏฺฐิตุสสนฺตุสฺสนํ สนฺตุฏฺฐิ ความยินดีพร้อม, สันโดษ  สํ-ตุส-ติ  ภาว. ภาว.
ทิฏฺฐิทิสทสฺสนํ ทิฏฺฐิ  ความเห็น   ทิส-ติ  ภาว. ภาว.
วุฏฺฐิวสฺสวสฺสนํ วุฏฺฐิ  การหลั่ง, การตก, การโปรย (แห่งฝน)   วสฺส-ติ  ภาว. ภาว.
อนุสิฏฺฐิสาสอนุสาสนํ อนุสิฏฺฐิ การตามสอน   อนุ-สาส-ติ  แปลง อา เป็น อิ  ภาว. ภาว.

7. แปลงตัวธาตุ

ชาติชนชนนํ ชาติ ความเกิด  ชน-ติ  แปลง ชน เป็น ชา  ภาว. ภาว.
วุฑฺฒิวฑฺฒวฑฺฒนํ วุฑฺฒิ ความเจริญ  วฑฺฒ-ติ  ภาว. ภาว.

 

ยุ ปัจจัย    
เป็นได้ทุกรูปทุกสาธนะ     
ลงแล้วแปลงเป็น อน  เช่น  สยนํ ภวนํ     
 ธาตุที่มี เป็นที่สุด แปลง ยุ เป็น อณ เสมอ   เช่น กรณํ      
 ธาตุที่มี เป็นที่สุด แปลง ยุ เป็น อณ บ้าง   เช่น คหณํ    
 ธาตุบางตัวแปลง ยุ เป็น อณ ได้   เช่น ญาณํ  สมโณ    
 ญา ธาตุ แปลง ญา เป็น ชา   ต้องแปลง ยุ เป็น อานน เสมอ   เช่น วิชานนํ

มีอำนาจให้พฤทธิ์ธาตุได้เช่นเดียวกับ อ ปัจจัย นามกิตก์/อาขยาต

ปุงลิงค์  แจกอย่าง ชน,     
อิตถีลิงค์  ลง อา แจกอย่าง กญฺญา,      
นปุงสกลิงค์ แจกอย่าง กุล    
(ป. เอก.  ทาโน,  ทานา,  ทานํ)

1. ธาตุพยางค์เดียว  เป็น อา

อพฺภกฺขานํขาอสจฺเจน อกฺขานํ  อพฺภกฺขานํ การกล่าวตู่, การกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง  อภิ-อา-ขา-ยุ  ภาว. ภาว.
ฌานํฌาฌายเตติ  ฌานํ การเพ่ง  ฌา-ยุ  ภาว. ภาว.
 ฌา(ปจฺจนีกธมฺเม) ฌาเปตีติ  ฌานํ (คุณชาตํ) อันยังธรรมเป็นข้าศึกให้ไหม้   ฌา-ยุ  กัตตุ. กัต.
 ฌาฌายติ อเนนาติ  ฌานํ (คุณชาตํ) เป็นเครื่องเผา (ซึ่งกิเลส แห่งโยคี)  ฌา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
ญาณํญาชานนํ ญาณํ ความรู้   ญา-ยุ  ภาว. ภาว.
 ญาชานาติ เตนาติ  ญาณํ เป็นเครื่องรู้   ญา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
วิญฺญาณํญาวิชานนํ วิญฺญาณํ  ความรู้ชัด, ความรู้แจ้ง (ซึ่งอารมณ์)  วิ-ญา-ยุ  ภาว. ภาว.
วิญฺญาปนํญาวิชานาเปตีติ วิญฺญาปนํ (วจนํ) อันยังบุคคลให้รู้แจ้ง  วิ-ญา-ณาเป-ยุ  กัตตุ. กัต.
สญฺญาณํญาสญฺชานาเปตีติ สญฺญาณํ การให้รู้  สํ-ญา-เณ-ยุ  ภาว. ภาว.
ฐานํฐาติฏฺฐยเตติ ฐานํ การยืน  ฐา-ยุ  ภาว. ภาว.
 ฐาติฏฺฐติ เอตฺถาติ ฐานํ (ฐานํ) เป็นที่ยืน  ฐา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
วุฏฺฐานํฐาวุฏฺฐหนํ วุฏฺฐานํ การออก อุ-วฺ-ฐา-ยุ  ภาว. ภาว.
อุฏฺฐานํฐาอุฏฺฐาติ เตนาติ อุฏฺฐานํ (วีริยํ) เป็นเครื่องลุกขึ้น, เป็นเครื่องบากบั่น  อุ-ฐา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อุปฏฺฐานํฐาอุปฏฺฐาติ เอตฺถาติ อุปฏฺฐานํ (ฐานํ) เป็นที่เข้าไปยืน/ยืนใกล้ (คอยรับใช้), เป็นที่บำรุง อุป-ฐา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
 ฐาอุปคนฺตฺวา ติฏฺฐติ เอตฺถาติ อุปฏฺฐานํ (ฐานํ) เป็นที่เข้าไปยืน (คอยรับใช้), เป็นที่บำรุง   อุป-ฐา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
 ฐาอุปฏฺฐหนํ อุปฏฺฐานํ การเข้าไปยืน/ยืนใกล้, การบำรุง  อุป-ฐา-ยุ  ภาว. ภาว.
ทานํทาทานํ ทานํ การให้  ทา-ยุ  ภาว. ภาว.
 ทาทาตพฺพนฺติ ทานํ (วตฺถุ) อันเขาพึงให้  ทา-ยุ  กัม. กัม.
 ทาเทติ เอตายาติ ทานา (เจตนา)* เป็นเหตุให้  ทา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
 ทาเทติ เอตฺถาติ ทานา (สาลา) เป็นที่ให้  ทา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
โวทาปนํทาวิทาปนํ โวทาปนํ การ (ยังจิต) ให้ผ่องแผ้ว  วิ-ทา-ณาเป-ยุ  ภาว. ภาว.
ปานํปาปิวนํ ปานํ การดื่ม  ปา-ยุ  ภาว. ภาว.
 ปาปาตพฺพนฺติ ปานํ (อุทกํ) อันเขาพึงดื่ม  ปา-ยุ กัม. กัม.
สโมธานํธาสโมธาตพฺพนฺติ สโมธานํ การประชุมลง, การตั้งลงพร้อม  สํ-โอ-ธา-ยุ  ภาว. ภาว. 
ธาตุนิธานํธาธาตุโน นิธารณํ ธาตุนิธานํ การบรรจุซึ่งพระธาตุ  ธาตุ-นิ-ธา-ยุ  ภาว. ภาว. 
 ธาธาตุํ นิเธติ เอตฺถาติ ธาตุนิธานํ (ฐานํ) เป็นที่บรรจุซึ่งพระธาตุ  ธาตุ-นิ-ธา-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
ยานํยายาติ อเนนาติ ยานํ (วาหนํ) เป็นเครื่องไป  ยา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
ปริโยสาโนสาปริโยสาติ เอตฺถาติ ปริโยสาโน (กาโล) เป็นที่จบลงรอบ (แห่งเทศนา)  เทสนา-ปริ-โอ-สา-ยุ ลง ย อาคม  กัตตุ. อธิกรณ.
นิทฺทายนํทานิทฺทายิตพฺพนฺติ  นิทฺทายนํ การหลับ  นิ-ทา-ย-ยุ   ภาว. ภาว.

2. ธาตุพยางค์เดียว เป็น อิ อี  พฤทธิ์เป็น เอ   แปลง เอ เป็น อย

ปรายโนอิปรํ ยาติ เอตฺถาติ ปรายโน (ภโว) เป็นที่ไปในเบื้องหน้า  ปรํ-อิ-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
สยนํสีสยิตพฺพนฺติ สยนํ การนอน  สี-ยุ   ภาว. ภาว.
 สีสยติ เอตฺถาติ สยนํ (ฐานํ) เป็นที่นอน  สี-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
นิสีทนํสีทนิสีทิตพฺพนฺติ นิสีทนํ การนั่ง  นิ-สี-ยุ   ภาว. ภาว.
 สีทนิสีทติ เอตฺถาติ นิสีทนํ (ฐานํ) เป็นที่นั่ง นิ-สี-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อุจฺจยนํจิอุจฺจยนํ อุจฺจยนํ การสั่งสม  อุ-จิ-ยุ  ภาว. ภาว.
วิชยนํชิวิชยนํ วิชยนํ การชนะโดยวิเศษ  วิ-ชิ-ยุ  ภาว. ภาว.
นยนํนีนยนํ นยนํ การแนะนำ  นี-ยุ  ภาว. ภาว.

3. ธาตุพยางค์เดียว เป็น อุ อู  พฤทธิ์เป็น โอ   แปลง โอ เป็น อว

ภวนํภูภวนํ ภวนํ ความเป็น  ภู-ยุ  ภาว. ภาว.
ลวนํลุลวนํ ลวนํ การตัด  ลุ-ยุ  ภาว. ภาว.
สวนํสุสวนํ สวนํ การฟัง  สุ-ยุ  ภาว. ภาว.
ธมฺมสฺสวนํสุธมฺมสฺส สวนํ ธมฺมสฺสวนํ การฟังซึ่งธรรม  ธมฺม-สุ-ยุ  ภาว. ภาว.
ธมฺมสฺสวโนสุสุณนฺติ เอตฺถาติ ธมฺมสฺสวโน (กาโล) เป็นที่ฟังซึ่งธรรม  ธมฺม-สุ-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
หวนํหุหวนํ หวนํ การบูชา  หุ-ยุ  ภาว. ภาว.
อาหุนํหุอาเนตฺวา หุนิตพฺพนฺติ อาหุนํ (วตฺถุ) อันเขาพึงนำมาบูชา  อา-หุ-ยุ  กัม. กัม.

4. ธาตุหลายพยางค์  ต้นธาตุเป็น อ   ไม่พฤทธิ์

จงฺกมนํกมจงฺกมนํ จงฺกมนํ การจงกรม  กม-ยุ (เทฺวภาวะ) ภาว. ภาว.
 กมจงฺกมติ เอตฺถาติ จงฺกมนํ (ฐานํ) เป็นที่จงกรม  กม-ยุ (เทฺวภาวะ) กัตตุ. อธิกรณ.
นิกฺขมนํกมนิกฺขมนํ นิกฺขมนํ การออกไป  นิ-กม-ยุ  ภาว. ภาว.
 กมนิกฺขมติ เอตฺถาติ นิกฺขมโน (กาโล) เป็นที่ออกไป  นิ-กม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อาคมนํคมอาคนฺตพฺพนฺติ อาคมนํ การมา อา-คม-ยุ  ภาว. ภาว.
อาคมโนคมอาคจฺฉติ เอตฺถาติ อาคมโน (กาโล) เป็นที่มา  อา-คม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อุคฺคมนํคมอุคฺคมนํ อุคฺคมนํ การขึ้นไป  อุ-คม-ยุ  ภาว. ภาว.
ปจฺจุคฺคมนํคมปจฺจุคฺคมนํ ปจฺจุคฺคมนํ การต้อนรับ ‘ขึ้นไปเฉพาะ’ ปฏิ-อุ-คม-ยุ  ภาว. ภาว.
 คมปจฺจุคฺคจฺฉติ เอตฺถาติ ปจฺจุคฺคมโน (มคฺโค) เป็นที่ต้อนรับ ปฏิ-อุ-คม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
สุริยตฺถงฺคคมโนคมสุริโย อตฺถํ คจฺฉติ เอตฺถาติ สุริยตฺถงฺคมโน (กาโล) เป็นที่ถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งพระอาทิตย์ สุริย-อตฺถํ-คม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
สุริยุคฺคมโนคมสุริโย อุคฺคจฺฉติ เอตฺถาติ สุริยุคฺคมโน (กาโล) เป็นที่ขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์ สุริย-อุ-คม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อรุณุคฺคมนาคมอรุโณ อุคฺคจฺฉติ เอตฺถาติ อรุณุคฺคมนา (เวลา) เป็นที่ขึ้นไปแห่งอรุณ อรุณ-อุ-คม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
ปกฺกมนํกมปกฺกมนํ ปกฺกมนํ การหลีกไป ป-กม-ยุ  ภาว. ภาว.
จชนํจชจชนํ จชนํ การสละ จช-ยุ  ภาว. ภาว.
อาฬาหนํทหอาเนตฺวา ทหนฺติ เอตฺถาติ อาฬาหนํ (ฐานํ) เป็นที่นำมาเผา อา-ทห-ยุ แปลง ท เป็น ฬ   กัตตุ. อธิกรณ.
นหานํนหานหายติ เอเตนาติ นหานํ (อุทกํ) เป็นเครื่องอาบ นหา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
อุปฺปตนํปตอุปฺปตติ เอตฺถาติ อุปฺปตนํ (ฐานํ) เป็นที่เหาะขึ้น อุ-ปต-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อุปฺปชฺชนํปทอุปฺปชฺชิตพฺพนฺติ อุปฺปชฺชนํ การเกิดขึ้น อุ-ปท-ยุ  ภาว. ภาว.
อุปปชฺชนํปทอุปปชฺชิตพฺพนฺติ อุปปชฺชนํ การเข้าถึง อุป-ปท-ยุ  ภาว. ภาว.
ภชนํภชภชนํ ภชนํ การแบ่ง  ภช-ยุ  ภาว. ภาว.
ยชนํยชยชนํ ยชนํ การบูชา  ยช-ยุ  ภาว. ภาว.
รชนํรชรชนํ รชนํ การย้อม  รช-ยุ  ภาว. ภาว.
วจนํวจวจิตพฺพนฺติ วจนํ (สทฺทชาตํ) อันเขาพึงกล่าว วจ-ยุ  กัม. กัม.
 วจวจติ เตนาติ วจนํ (สทฺทชาตํ) เป็นเครื่องกล่าว วจ-ยุ  กัตตุ. กรณ.
อาฆาตนํหนอาคนฺตฺวา หนนฺติ เอตฺถาติ อาฆาตนํ (ฐานํ) เป็นที่นำมาฆ่า หน-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.

5. ธาตุหลายพยางค์  ต้นธาตุเป็น อิ   พฤทธิ์ อิ เป็น เอ

เอสนาเอสเอสนา เอสนา การแสวงหา  เอส-ยุ  ภาว. ภาว.
เทสนาทิสเทสนา เทสนา การแสดง  ทิส-ยุ  ภาว. ภาว.
เวทนาวิทเวทนา เวทนา ความรู้ (ซึ่งอารมณ์), ความเสวยอารมณ์  วิท-ยุ  ภาว. ภาว.
เจตนาจิตเจตนา เจตนา ความคิด, ความจงใจ จิต-ยุ  ภาว. ภาว.
 จิตเจตยตีติ เจตนา (ธมฺมชาติ) ผู้คิด, เจตนา จิต-ยุ กัตตุ. กัต.
ทสฺสนํทิสทสฺสนํ ทสฺสนํ การเห็น, การแสดง ทิส-ยุ  ภาว. ภาว.
ธมฺมเทสนาทิสธมฺมํ เทเสตีติ เอตายาติ ธมฺมเทสนา (วาจา) เป็นเครื่องแสดงซึ่งธรรม ธมฺม-ทิส-ยุ  กัตตุ. กรณ.
 ทิสธมฺมสฺส เทสนา ธมฺมเทสนา การแสดงซึ่งธรรม ธมฺม-ทิส-ยุ  ภาว. ภาว.

6. ธาตุหลายพยางค์  ต้นธาตุเป็น อุ   พฤทธิ์ อุ เป็น โอ

โกธโนกุธกุชฺฌติ สีเลนาติ โกธโน ผู้โกรธโดยปกติ กุธ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
อกฺโกธโนกุธน กุชฺฌติ สีเลนาติ อกฺโกธโน (ขีณาสโว) ผู้ไม่โกรธโดยปกติ  น-กุธ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
โชตโนชุตโชเตติ สีเลนาติ โชตโน (ชโน) ผู้รุ่งเรืองโดยปกติ ชุต-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
โภชนํภุชโภชนํ โภชนํ การกิน  ภุช-ยุ  ภาว. ภาว.
 ภุชภุญฺชิตพฺพนฺติ โภชนํ (วตฺถุ) อันเขาพึงกิน  ภุช-ยุ   กัม. กัม.
โรจโนรุจโรเจติ สีเลนาติ โรจโน (ชโน) ผู้รุ่งเรืองโดยปกติ รุจ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
วิโรจโนรุจวิโรเจติ สีเลนาติ วิโรจโน (ชโน) ผู้รุ่งเรืองวิเศษโดยปกติ วิ-รุจ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
เทโวโรหโณรุหเทวโลกโต โอโรหติ เอตฺถาติ เทโวโรหโณ (ทิวโส) เป็นที่ข้ามลงจากเทวโลก เทว-โอ-รุห-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
โสจนํสุจโสจนํ โสจนํ ความเศร้าโศก สุจ-ยุ  ภาว. ภาว.
นครโสภนาสุภนครํ โสเภติ นครโสภนา (อิตฺถี) ผู้ยังพระนครให้งาม นคร-สุภ-ยุ  กัตตุ. กัต.
ปารุปนํรุปปารุปนํ ปารุปนํ การห่ม ปา-รุป-ยุ  ภาว. ภาว.
 รุปปารุปนฺติ เอตฺถาติ ปารุปนํ (ฐานํ) เป็นที่ห่ม ปา-รุป-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.

7. ธาตุหลายพยางค์  ต้นธาตุเป็นรัสสะ มีสังโยค  หรือเป็นทีฆะ  ไม่พฤทธิ์

อาสนํอาสอาสีตพฺพนฺติ อาสนํ การนั่ง  อาส-ยุ  ภาว. ภาว.
 อาสอาสติ เอตฺถาติ อาสนํ (ฐานํ) เป็นที่นั่ง อาส-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
อเนสนํเอสอปฺปฏิรูปํ เอสนํ อเนสนํ การแสวงหาอันไม่สมควร น-เอส-ยุ  ภาว. ภาว.
อเนสนาเอสอปฺปฏิรูปํ เอสติ เอตายติ อเนสนา (กิริยา) เป็นเครื่องแสวงหาอันไม่สมควร  เอส-ยุ  กัตตุ. กรณ.
กิญฺจนํกิจิกิญฺเจตีติ กิญฺจนํ (กิเลสชาตํ) ผู้ย่ำยี (ซึ่งสัตว์) กิจิ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ.
 กิจิกิญฺเจติ เตนาติ กิญฺจนํ (กิเลสชาตํ) เป็นเครื่องกังวล  กิจิ-ยุ  กัตตุ. กรณ.
ภาสโนภาสภาสติ สีเลนาติ ภาสโน (ชโน) ผู้กล่าวโดยปกติ  ภาส-ยุ  กัตตุ. กัตตุ. ตัสสีละ
วิภูสนํภูสวิภูสนํ วิภูสนํ การตกแต่ง  วิ-ภูส-ยุ  ภาว. ภาว.
สํวณฺณนาวณฺณสํวณฺเณติ เอตายาติ สํวณฺณนา (วาจา) เป็นเครื่องพรรณนาพร้อม (แห่งชน) สํ-วณฺณ-ยุ  กัตตุ. กรณ.
 วณฺณสํวณฺณิยติ เอตายาติ สํวณฺณนา (วาจา) เป็นเครื่องอันเขาพรรณนาพร้อม (แห่งเนื้อความ) สํ-วณฺณ-ยุ  กัมม. กรณ.
สาสนํสาสสาสติ เตนาติ สาสนํ (วจนํ) เป็นเครื่องกล่าวสอน สาส-ยุ  กัตตุ. กรณ.
 สาสสาสนํ สาสนํ การกล่าวสอน  สาส-ยุ  ภาว. ภาว.
ปตฺถนาปตฺถปตฺถนา ปตฺถนา ความปรารถนา ปตฺถ-ยุ  ภาว. ภาว.
จินฺตนํจินฺตจินฺตนํ จินฺตนํ  ความคิด  จินฺต-ยุ  ภาว. ภาว.
นนฺทนํนนฺทนนฺทนํ นนฺทนํ ความบันเทิง  นนฺท-ยุ  ภาว. ภาว.
ปุจฺฉนํปุจฺฉปุจฺฉนํ ปุจฺฉนํ การถาม ปุจฺฉ-ยุ  ภาว. ภาว.
พุชฺฌนํพุธพุชฺฌนํ พุชฺฌนํ การตรัสรู้  พุธ-ยุ  ภาว. ภาว.
สิกฺขนํสิกฺขสิกฺขนํ สิกฺขนํ การศึกษา  สิกฺข-ยุ  ภาว. ภาว.
ภุญฺชนํภุชภุญฺชนํ ภุญฺชนํ การบริโภค  ภุช-ยุ  ภาว. ภาว.
สุปนํสุปสุปนํ สุปนํ ความหลับ  สุป-ยุ  ภาว. ภาว.
มณฺฑนํมณฺฑมณฺฑนํ มณฺฑนํ การประดับ  มณฺฑ-ยุ  ภาว. ภาว.
ยุญฺชนํยุชยุญฺชนํ ยุญฺชนํ การประกอบ  ยุช-ยุ  ภาว. ภาว.

8. ธาตุมี เป็นที่สุด   แปลง ยุ เป็น อณ เช่น

กรณํกรกรณํ กรณํ การทำ  กร-ยุ  ภาว. ภาว.
 กรกโรติ เตนาติ กรณํ (วตฺถุ) เป็นเครื่องทำ  กร-ยุ  กัตตุ. กรณ.
นามกรโณกรนามํ กโรติ เอตฺถาติ นามกรโณ (ทิวโส) เป็นที่ทำซึ่งชื่อ, (วันตั้งชื่อ)    นาม-กร-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.
วฺยากรณํกรวฺยากโรติ สีเลนาติ วฺยากรณํ (วจนํ) อันทำให้แจ้งโดยปกติ วิ-อา-กร-ยุ  กัตตุ. กัต.
 กรปาลึ วฺยากโรตีติ ปาลิเวยฺยากรณํ (ปกรณํ) อันทำให้แจ้งซึ่งบาลี  ปาลิ-วิ-อา-กร-ยุ  กัตตุ. กัต.
 กรปาลึ วฺยากโรติ เตนาติ ปาลิเวยฺยากรณํ (ปกรณํ) อันเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งบาลี  ปาลิ-วิ-อา-กร-ยุ  กัตตุ. กรณ.
จรณํจรจรณํ จรณํ การเที่ยวไป, ความประพฤติ จร-ยุ  ภาว. ภาว.
ปคฺฆรณํฆรปคฺฆรณํ ปคฺฆรณํ การไหลออก  ป-ฆร-ยุ  ภาว. ภาว.
โอตรณํตรโอตริตพฺพนฺติ โอตรณํ การข้ามลง โอ-ตร-ยุ  ภาว. ภาว.
ธรณํธรธรณํ ธรณํ การทรงไว้  ธร-ยุ  ภาว. ภาว.
มรณํมรมรณํ มรณํ ความตาย มร-ยุ  ภาว. ภาว.
ปูรณํปูรปูรณํ ปูรณํ ความเต็ม  ปูร-ยุ  ภาว. ภาว.
ภรณํภรภรณํ ภรณํ การเลี้ยงดู  ภร-ยุ  ภาว. ภาว.
สํวรณํวรสํวรณํ สํวรณํ การสำรวมระวัง  สํ-วร-ยุ  ภาว. ภาว.
สรณํสรสรติ นนฺติ สรณํ (รตนตฺตยํ) เป็นที่ระลึก สร-ยุ  กัม. กัม.
รโชหรณํหรรชํ หรติ เตนาติ รโชหรณํ (วตฺถํ) เป็นเครื่องนำไปซึ่งธุลี รช-หร-ยุ  กัตตุ. กรณ.
ทนฺตาวรณํวรทนฺเต อาวาเรติ เตนาติ ทนฺตาวรณํ (องฺคํ) เป็นเครื่องปกปิดซึ่งฟัน, ริมฝีปาก  ทนฺต-อา-วร-ยุ  กัตตุ. กรณ.

หลัง ญา มา รกฺข ลู สม ธาตุ เป็นต้น  แปลง ยุ เป็น อณ เช่น

ญาณํญาชานนํ ญาณํ ความรู้  ญา-ยุ  ภาว. ภาว.
ปมาณํมามาติ เตนาติ ปมาณํ (วตฺถุ) เป็นเครื่องนับ ป-มา-ยุ  กัตตุ. กรณ.
รกฺขณํรกฺขรกฺขณํ การรักษา  รกฺข-ยุ  ภาว. ภาว.
โลณํลูรสํ ลุนาติ เตนาติ โลณํ (วตฺถุ) เป็นเครื่องตัด (ซึ่งรส), เกลือ  ลู-ยุ  กัตตุ. กรณ.
สมโณสมุสมฺมตีติ สมโณ ผู้สงบ  สมุ-ยุ  กัตตุ. กัตตุ.
 สมุปาปธมฺมํ สเมติ เตนาติ สมโณ (ธมฺโม) เป็นเครื่องยังบาปธรรมให้สงบ  สมุ-ยุ  กัตตุ. กรณ.
 สมุกลหํ วูปสมิยเตติ กลหวูปสมนํ การยังความทะเลาะให้เข้าไปสงบวิเศษ  กลห-วิ-อุป-สมุ-ยุ  ภาว. ภาว.
อารมฺมณํรมอาคนฺตวา อาภุโส วา จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา รมนฺติ เอตฺถาติ อารมฺมณํ (ธมฺมชาตํ) เป็นที่มายินดี (แห่งจิต) อา-รม-ยุ  กัตตุ. อธิกรณ.

ธาตุมี เป็นที่สุด  แปลง ยุ เป็น อณ บ้าง  เช่น

วาหนํวหวหติ เตนาติ  วาหนํ (ยานํ) เป็นเครื่องนำไป  วห-ยุ  กัตตุ. กรณ.
คหณํคหคหณํ คหณํ คณฺหณํ การถือเอา  คห-ยุ, คห-ณฺหา-ยุ  ภาว. ภาว.
โรหณํรุหอภิรุหณํ อภิรุหณํ, โรหณํ โรหณํ การงอกขึ้น, การเจริญขึ้น  อภิ-รุห-ยุ, รุห-ยุ  ภาว. ภาว.
นิคฺคหณํคหนิคฺคหณํ นิคฺคหณํ การข่ม  นิ-คห-ยุ  ภาว. ภาว.
ปคฺคหณํคหปคฺคหณํ ปคฺคหณํ การยกย่อง  ป-คห-ยุ  ภาว. ภาว.
สหนํสหสหนํ สหนํ ความอดกลั้น  สห-ยุ  ภาว. ภาว.
วหนํวหวหนํ วหนํ ความนำไป  วห-ยุ  ภาว. ภาว.
อุปนยฺหนํนหอุปนยฺหนํ ความผูก, การเข้าไปผูก อุป-นห-ย-ยุ  ภาว. ภาว.

หลัง ญา ธาตุ แปลง ยุ เป็น อานน บ้าง  เช่น

สญฺชานนํญาสญฺชานนํ การรู้พร้อม  สํ-ญา-ยุ  ภาว. ภาว.
ปชานนํญาปชานนํ การรู้ทั่ว  ป-ญา-ยุ  ภาว. ภาว.

ในเหตุกัตตุวาจก ลง เณ ณาเป ปัจจัย  เช่น  การณํ, การาปนํ, คาหนํ, คาหาปนํ, ภาวนา, ภาวาปนํ    
คพฺภปาตนํ  ปต  คพฺภํ ปาเตติ เตนาติ คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ) เป็นเครื่องยังสัตว์เกิดในครรภ์ให้ตกไป  คพฺภ-ปต-เณ-ยุ  กัตตุ. กรณ.

 

ตุํ ปัจจัย    
ตุํ ปัจจัย  ไม่ใช้ลงในรูป และสาธนะอะไรๆ  ใช้แทนวิภัตตินามคือ ปฐมาวิภัตติ และ จตุตถีวิภัตติ  เป็นอัพยยปัจจัย แจกด้วยวิภัตตินามไม่ได้  เช่น  ทาตุํ การให้, เพื่อการให้

  1. ธาตุพยางค์เดียว  คงไว้บ้าง แปลงบ้าง  เช่น  ปาตุํ เพื่ออันดื่ม, ฐาตุํ เพื่ออันตั้ง, ญาตุํ เพื่ออันรู้, ชิตุํ เพื่ออันชนะ, เนตุํ เพื่ออันนำไป, โสตุํ เพื่ออันฟัง
  2. ธาตุ 2 พยางค์ขึ้นไป    
    ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงอะไร  ให้ลง อิ อาคมหลังธาตุ  เช่น  ภวิตุํ  เพื่ออันเป็น, ปจิตุํ เพื่ออันหุง, มริตุํ เพื่ออันตาย    
    ธาตุมี ม, น, ร, จ เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ แล้วซ้อน ตฺ   เช่น  ปตฺตุํ เพื่ออันถึง,  กตฺตุํ เพื่ออันทำ, วตฺตุํ เพื่ออันกล่าว    
    ธาตุมี ม, น  เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ แล้วซ้อน นฺ   เช่น  คนฺตุํ เพื่ออันไป,  หนฺตุํ เพื่ออันฆ่า    
    ธาตุมี ธ, ภ  เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ แล้วแปลง ตุํ เป็น ทฺธุํ เช่น  ลทฺธุํ เพื่ออันได้, อารทฺธุํ เพื่ออันปรารภ    
    ธาตุมี  เป็นที่สุด  ลบที่สุดธาตุ แล้วแปลง ตุํ เป็น ฏฺฐุํ   เช่น  ทฏฺฐุํ เพื่ออันเห็น, ผุฏฺฐุํ เพื่ออันถูกต้อง    
    แปลงตัวธาตุบ้าง  เช่น  กาตุํ เพื่ออันทำ, ปิวิตุํ เพื่ออันดื่ม

ตเว ปัจจัย

ตเว ปัจจัย  ไม่ใช้ลงในรูปและสาธนะอะไรๆ  ใช้แทนวิภัตตินามคือ จตุตถีวิภัตติ ‘เพื่อ’  เป็นอัพยยปัจจัย แจกด้วยวิภัตตินามไม่ได้  เช่น

กาตเว เพื่ออันทำ   กร-ตเว  แปลง กร เป็น กา  
คนฺตเว เพื่ออันไป คม-ตเว  แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ  
ญาตเว เพื่ออันรู้   ญา-ตเว  
ปหาตเว เพื่ออันละ  ป-หา-ตเว  
เนตเว เพื่ออันนำไป  นี-ตเว

 

ปัจจัยเหล่านี้

  1. กฺวิ  รู  ติ  ลงแล้ว ลบที่สุดธาตุได้
  2. บังคับให้ฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ  มี 4 ตัว  คือ ณ ณฺวุ ตุ ยุ  
    - ณ  ณฺวุ    เช่น  ธมฺมสฺส  เทสโก  
    - ตุ    เช่น  สุขสฺส  ทาตา  
    - ยุ    เช่น  สพฺพปาปสฺส  อกรณํ

 

ปัจจัยนอกแบบ

อาวีภยํ ปสฺสติ สีเลนาติ ภยทสฺสาวี ผู้เห็นซึ่งภัยโดยปกติ  ทิส-อาวี แปลง ทิส เป็น ทิสฺส แล้วลบ อิ
อินชินาตีติ ชิโน, สุปยเตติ สุปินํ
อิกคนฺตุํ ภพฺโพติ คมิโก, คนฺตุํ อิจฺฉตีติ คมิโก, คจฺฉตีติ คมิโก, โอปนยิโก, ทีปิกา
ณุกการุโก, กามุโก
ตยฺยญาตยฺยํ, ปาตยฺยํ, ปตฺตยฺยํ, ทฏฺฐยฺยํ, ลทฺธยฺยํ
ตุกอาคนฺตุโก
ทุโม, ถาโม
อนฺตโก
รตฺถุวตฺถุ, สตฺถุ
รมฺมกมฺมํ, ธมฺโม
ริจฺจกิจฺจํ
ริตุธีตา, ปิตา
ริริยกิริยา
ราตุภาตา, มาตา
ถ อถสมถ, กิลมถ

ความคิดเห็น2

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.