สารบัญ
ชีทประกอบการศึกษา: แบบสังขยา
คุณนาม
คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม (และปุริสสัพพนาม) เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
- ชั้นปกติ แสดงลักษณะของนามนาม อย่างปกติ (ไม่เปรียบเทียบกับอะไร) เช่น ดี, ชั่ว, สูง
ตย. บ้านหลังนี้ใหญ่
อุจฺจ สูง, นีจ ต่ำ, กณฺห ดำ, โอทาต ขาว, กุสล ฉลาด, พาล โง่ เป็นต้น - ชั้นวิเสส แสดงลักษณะของนามนามพิเศษกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ เช่น ดีกว่า, ชั่วกว่า, สูงกว่า
ตย. บ้านหลังนี้ใหญ่กว่า(บ้านหลังนั้น)
ในภาษาบาลี ใช้ อติ นำหน้า หรือใช้ ตร อิย อิยิสฺสก ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ
อติมหนฺโต ใหญ่กว่า, อุจฺจตโร สูงกว่า, ปาปิโย เป็นบาปกว่า - ชั้นอติวิเสส แสดงลักษณะของนามนามพิเศษมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ เช่น ดีที่สุด, ชั่วที่สุด, สูงที่สุด
ตย. บ้านหลังนี้ใหญ่ที่สุด (ในบรรดาบ้านเหล่านั้น)
ในภาษาบาลี ใช้ อติวิย นำหน้า หรือใช้ ตม อิฏฺฐ ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ
อติวิย มหนฺโต ใหญ่ที่สุด, ปาปิฏฺโฐ เป็นบาปที่สุด, อุจฺจตโม สูงที่สุด
การใช้คุณนาม
คุณนาม ต้องประกอบ “ลิงค์ วิภัตติ วจนะ” ให้ตรงกับนามนาม (หรือ ปุริสสัพพนาม) ที่มันไปขยาย และมักอยู่หน้าศัพท์นั้น
"การันต์" ของคุณนาม และนามนาม ไม่จำเป็นต้องตรงกัน
การันต์ | ศัพท์เดิม | ลงวิภัตติ | คำแปล |
---|---|---|---|
อ-อิ | นว สปฺปิ | นวํ สปฺปิ | เนยใส ใหม่ |
อุ-อ | พหุ ชน | พหู ชนา | ชน ท. มาก |
อ-อุ | นวก ภิกฺขุ | นวโก ภิกฺขุ | ภิกษุ ใหม่ |
อี-อุ | อาตาปี ภิกฺขุ | อาตาปี ภิกฺขุ | ภิกษุ ผู้มีความเพียร |
การประกอบคุณนามให้เป็นอิตถีลิงค์
- ถ้าคุณนาม เป็น อ การันต์ ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ แล้วแจกวิภัตติอย่าง กญฺญา
- เฉพาะ 1) มหนฺต 2) อนฺต ปัจจัย กิริยากิตก์ 3) วนฺตุ มนฺตุ ปัจจัย ตัทธิต
ให้ลง อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ แล้วแจกวิภัตติอย่าง นารี
เช่น มหนฺตี/มหตี สาลา (นิยมใช้ มหตี), อุปาสิกา ปสฺสนฺตี, ปญฺญวนฺตี/ปญฺญวตี อิตฺถี
ตัวอย่าง อ การันต์ ลง อา ปัจ. อิต.
ทีฆ รชฺชุ | ทีฆา รชฺชุ | เชือก ยาว |
วิสาล สาลา | วิสาลา สาลา | ศาลา กว้าง |
ตัวอย่าง มหนฺต ลง อี ปัจ. อิต. เป็น มหนฺตี มหตี (นิยมใช้ มหตี)
มหนฺต รุกฺข | มหนฺโต รุกฺโข | ต้นไม้ ใหญ่ |
มหนฺต ชมฺพุ | มหตี ชมฺพุ | ต้นหว้า ใหญ่ |
มหนฺต สาลา | มหตี สาลา | ศาลา ใหญ่ |
มหนฺต ฉตฺต | มหนฺตํ ฉตฺตํ | ร่ม ใหญ่ |
ตัวอย่าง อนฺต ปัจจัย ลง อี ปัจ. อิต. เป็น -นฺตี
เถร ปสฺสนฺต | เถโร ปสฺสนฺโต … | พระเถระ เห็นอยู่ … |
เถรี ปสฺสนฺต | เถรี ปสฺสนฺตี … | พระเถรี เห็นอยู่ … |
อุปาสิกา ปสฺสนฺต | อุปาสิกา ปสฺสนฺตี … | อุบาสิกา เห็นอยู่ … |
ตัวอย่าง วนฺตุ มนฺตุ ปัจจัย ลง อี ปัจ. อิต. เป็น -วนฺตี -วตี, -มนฺตี -มตี
คุณวนฺตุ อุปาสิกา | คุณวนฺตี/คุณวตี อุปาสิกา | อุบาสิกา ผู้มีคุณ |
ปุญฺญวนฺตุ อิตฺถี | ปุญฺญวนฺตี/ปุญฺญวตี อิตฺถี | หญิง ผู้มีบุญ |
สติมนฺตุ เถรี | สติมนฺตี/สติมตี เถรี | พระเถรี ผู้มีสติ |
คุณนาม แปลไม่ต้องออกอายตนิบาต
คุณนาม แปลไม่ต้องออกอายตนิบาต (ซึ่ง, สู่, …) เพราะคุณนามเป็นเพียงคำขยาย ไม่ใช่คำหลัก
การลงวิภัตติท้ายคุณนาม ก็เพื่อให้ตรงกัน/เข้าคู่กัน กับคำที่ถูกขยายเท่านั้น
คุณนาม แปลมีสำเนียงวิเสสนะว่า “ผู้…”, “ตัว…”, “อัน…”, บ้าง ไม่มีบ้าง
(คำแปลสาธนะนามกิตก์ที่เป็นคุณนาม (ยกเว้นกัตตุสาธนะ - ผู้, อัน) ไม่นิยมแปลใส่สำเนียงวิเสสนะเลย (หากจะใส่ก็ไม่ผิด)
เช่น เรือน อันเป็นที่นอน, สติ อันเป็นเครื่องระลึก)
การประกอบรูปคุณนามขั้นกว่า (วิเสสคุณนาม) และขั้นสุด (อติวิเสสคุณนาม)
อติ อติวิย | ตร ตม | อิย อิฏฺฐ | ||||
ปกติ | มหนฺต | ใหญ่ | big | |||
วิเสส - กว่า | อติมหนฺต | มหนฺตตร | มหนฺติย | ใหญ่กว่า | bigger | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย มหนฺต | มหนฺตตม | มหนฺติฏฺฐ มหนฺติยิสฺสก | ใหญ่ที่สุด | biggest | |
ปกติ | ขุทฺทก | เล็ก | small | |||
วิเสส - กว่า | อติขุทฺทก | ขุทฺทกตร | ขุทฺทกิย | เล็กกว่า | smaller | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย ขุทฺทก | ขุทฺทกตม | ขุทฺทกิฏฺฐ ขุทฺทกิยิสฺสก | เล็กที่สุด | smallest | |
ปกติ | อปฺป | น้อย | little | |||
วิเสส - กว่า | อติอปฺป | อปฺปตร | กนิย * | น้อยกว่า | less | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย อปฺป | อปฺปตม | กนิฏฺฐ * อปฺปิยิสฺสก | น้อยที่สุด | least | |
* แปลง อปฺป เป็น กน | ||||||
ปกติ | วุฑฺฒ | เจริญ | old | |||
วิเสส - กว่า | อติวุฑฺฒ | วุฑฺฒตร | เชยฺย * | เจริญกว่า | elder | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย วุฑฺฒ | วุฑฺฒตม | เชฏฺฐ ** วุฑฺฒิยิสฺสก | เจริญที่สุด | eldest | |
* แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ ** แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ | ||||||
ปกติ | ปสตฺถ1 | ดี, ประเสริฐ | good, excellent | |||
วิเสส - กว่า | อติปสตฺถ | ปสตฺถตร | เสยฺย * | ดีกว่า, ประเสริฐกว่า | better, more excellent | |
อติวิเสส - ที่สุด | อติวิย ปสตฺถ | ปสตฺถตม | เสฏฺฐ ** ปสตฺถิยิสฺสก | ดีที่สุด, ประเสริฐที่สุด | best, most excellent | |
1 อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว * แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ ** แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ |
สังขยาคุณนาม
ดู แบบสังขยา
(สังขยา คือ การนับ จัดเป็นคุณนาม เพราะบอกจำนวนหรือลำดับ ของสิ่งต่างๆ)
สังขยา แปลว่า การนับ หรือ ศัพท์ที่เป็นเครื่องนับ แบ่งเป็น 2 คือ
- ปกติสังขยา คือ นับโดยปกติ เพื่อให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีประมาณเท่าใด เช่น หนึ่ง, สอง, สาม, สี่
(เอก 1, ทฺวิ 2, ติ 3, จตุ 4) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หนึ่งวัน, สองวัน, สามวัน, สี่วัน
จตฺตาโร ทิวสา วัน 4 วัน นับจำนวนวันทุกวัน รวมเป็น 4 วัน - ปูรณสังขยา คือ นับหน่วยที่ทำให้เต็มจำนวนนั้นๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในลำดับที่เท่าใด เช่น ที่หนึ่ง, ที่สอง, ที่สาม, ที่สี่
(ปฐม ที่ 1, ทุติย ที่ 2, ตติย ที่ 3, จตุตฺถ ที่ 4) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น วันที่หนึ่ง, วันที่สอง, วันที่สาม, วันที่สี่
จตุตฺโถ ทิวโส วันที่ 4 กล่าวถึงวันสุดท้ายวันเดียวเท่านั้น คือวันที่ 4 มิได้กล่าวถึงวันทั้ง 4 วัน (ดังนั้น ปูรณสังขยาจึงเป็นเอกวจนะเสมอ)
สังขยากับวจนะต่างกัน
สังขยา นับให้รู้ว่ามีจำนวนเท่าใด อย่างชัดเจน เช่น ปญฺจ ปุริสา บุรุษ 5 คน เป็นต้น
วจนะ เช่นพหุวจนะนั้น บอกเพียงจำนวนว่ามากกว่า 1 แต่ไม่อาจบอกจำนวนให้ละเอียดลงไปได้ว่ามีเท่าไร
(บางครั้งของหลายสิ่ง ก็ยังประกอบวิภัตตินามเป็นเอกวจนะได้ เช่น ปตฺตจีวรํ บาตรและจีวร)
ปกติสังขยา
การใช้ เอก ศัพท์
ที่เป็นสังขยา แปลว่า หนึ่ง (1) เช่น เอโก ปุริโส. บุรุษ 1 คน เป็นเอกวจนะอย่างเดียว เป็นได้ 3 ลิงค์ แจกเฉพาะตน
ที่ใช้ในความหมายอื่นๆ เช่น
- ไม่มีที่เปรียบ (อตุลฺย - incomparable) เช่น เอโกมฺหิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ. เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเอก/เป็นหนึ่ง. (ไม่มีใครเทียบเทียมได้)
- ไม่มีเพื่อน (อสหาย-alone) คนเดียว เช่น เอโกว อรญฺญํ ปาวิสิ. บุรุษคนเดียวเท่านั้นได้เข้าไปสู่ป่า. (ไม่มีคนอื่นไปด้วย)
- อื่น (อญฺญ-other) เอเก อาจริยา วทนฺติ. อาจารย์พวกอื่น กล่าว. (=อญฺญ)
ที่เป็นสัพพนาม แปลว่า บาง (some, certain) บางคน บางสิ่ง, บางเหล่า บางพวก, เหล่าหนึ่ง พวกหนึ่ง เช่น
เอเก (อาจริยา) อาจารย์ ท. บางพวก เป็นได้ 2 วจนะ เป็นได้ 3 ลิงค์
แจกแบบ ย ศัพท์ ยกเว้น ในอิตถีลิงค์ เอกวจนะ จ. ฉ. เอกิสฺสา, ส. เอกิสฺสํ เท่านั้น
เอกก ศัพท์
เอก ศัพท์ ลง ก ปัจจัย สกัตถะ เป็น เอกก แปลว่า คนเดียว, สิ่งเดียว เป็นคุณนาม เป็น 3 ลิงค์
(ปุ. เอกโก, อิต. เอกกา-เอกิกา, นปุ. เอกกํ)
เอเกก ศัพท์
เอเกก มาจาก เอก ศัพท์ ที่ว่าซ้ำสองครั้ง เป็น เอกเอก แล้วสนธิเป็น เอเกก
แปลว่า คนหนึ่งๆ สิ่งหนึ่งๆ เมื่อกล่าวถึงจำนวนมากกว่าหนึ่ง เช่น
อุตฺตราสงฺคสเตสุ เอเกโก อุตฺตราสงฺโค ปญฺจสตานิ อคฺฆติ.
ในบรรดาผ้าอุตตราสงค์ 100 ผืน ผ้าอุตตราสงค์ผืนหนึ่งๆ มีค่า 500.
หมายถึง คนแต่ละคน (=ทุกคน), สิ่งแต่ละสิ่ง (=ทุกสิ่ง) เป็นเอกวจนะเท่านั้น
ปุ. เอเกโก, อิต. เอเกกา-เอกิกา, นปุ. เอเกกํ แจกอย่าง เอก สัพพนาม
เปรียบเทียบ
เอกโก ปุคฺคโล บุคคล คนเดียว
เอเกโก ปุคฺคโล บุคคล แต่ละคน (=ทุกคน) เทียบ โย โกจิ คนใดคนหนึ่ง (=ทุกคน)
การใช้ ทฺวิ ศัพท์
ทฺวิ ศัพท์ นี้ แจกเหมือนกันทั้ง 3 ลิงค์ (ป. ทุ. เป็น ทุเว บ้าง จ.-ฉ.เป็น ทุวินฺนํ บ้าง ใช้ในคาถา)
- เมื่อเข้ากับสังขยาคุณนาม
แปลง ทฺวิ เป็น พา- เช่น พารส (12), พาวีสติ (22), พตฺตึส (32)
แปลง ทฺวิ เป็น เทฺว- ทฺวา- เช่น ทฺวาทส (12), เทฺววีสติ ทฺวาวีสติ ทฺวาวีส (22), ทฺวตฺตึส (32), เทฺวจตฺตาฬีส (42),
เทฺวปณฺณาส (52), ทฺวาสฏฺฐี (62), ทฺวาสตฺตติ (72), ทฺวาสีติ (82), เทฺวนวุติ (92) - เมื่อเข้ากับสังขยานาม คง ทฺวิ ไว้ตามเดิม เช่น ทฺวิสตานิ
- เมื่อเข้ากับนามนาม
คง ทฺวิ ไว้บ้าง เช่น ทฺวิปาทา สัตว์ 2 เท้า
แปลงเป็น ทิ บ้าง เช่น ทิโช สัตว์เกิด 2 หน (นก, พราหมณ์)
แปลงเป็น ทุ บ้าง เช่น ทุปฏํ วตฺถํ สงฺฆาฏิ ผ้าสังฆาฏิ 2 ชั้น
การใช้ อุภ ศัพท์ (ทั้งสอง)
ใช้นับนามนามอย่างเดียว ไม่ใช้ต่อกับสังขยา เช่น
- ใช้กับสิ่งที่มีอยู่เป็นคู่ๆ ตามธรรมชาติ เช่น อุโภ อกฺขี ตาทั้งสอง, อุโภ หตฺถา มือทั้งสอง
- ใช้กับสิ่งที่รู้กันทั่วไปว่าอยู่คู่กัน เช่น อุโภ ชายปติกา เมียและผัวทั้งสอง, อุโภ อาจริยสิสฺสา อาจารย์กับศิษย์ ทั้งสอง
อุภย ศัพท์ แปลว่า ทั้งสอง เหมือน อุภ แต่แจกอย่าง ย ศัพท์ เว้น ป. พหุ. เป็น อุภโย อุภเย
การใช้ ติ ศัพท์
- เมื่อเข้ากับสังขยาจำนวนสิบ แปลงเป็น เต เช่น เตรส, เตวีสติ
- เมื่อเข้ากับสังขยานามนาม คง ติ ไว้ เช่น ติสตํ, ติสหสฺสํ
- เมื่อเข้ากับนามนาม คงเป็น ติ หรือแปลงเป็น เต เช่น ติโยชนํ 3 โยชน์, เตวิชฺโช ผู้มีวิชชา 3
การใช้ จตุ ศัพท์
- เมื่อเป็นเศษของสังขยาอื่น แปลงเป็น จุ บ้าง เช่น จุทฺทส
- ใน ปุ. นปุ. ต.-ปัญ. เป็น จตุพฺภิ บ้าง ใช้ในคาถา
การใช้ นว ศัพท์
- นว ศัพท์ ที่เป็นสังขยาคุณนาม แปลว่า 9 เช่น นว ภิกฺขู ภิกษุ ท. 9
- นว ศัพท์ ที่เป็นคุณนาม แปลว่า ใหม่ มักลง ก ต่อท้าย (เพื่อให้ต่างจากสังขยา) เช่น นวก + โอวาท = นวโกวาท แปลว่า โอวาทเพื่อภิกษุใหม่
ชนิดของปกติสังขยา
1) มิสส(ก)สังขยา สังขยาที่นับโดยการบวก (หรือลบ) กัน (สังขยาคุณนาม+สังขยาคุณนาม) | |
ใช้ จ อธิก (+), อูน (-) ศัพท์ เช่น | |
เอกาทส (เอก+ทส 1+10 = 11) | จ ศัพท์: เอกํ จ ทส จ เอกาทส |
อธิก ศัพท์: เอเกน อธิกา ทส เอกาทส (ลบ อธิก) | |
เตตฺตึส (ติ+ตึส 3+30 = 33) | จ ศัพท์: ตโย จ ตึส จ เตตฺตึส |
อธิก ศัพท์: ตีหิ อธิกา ตึส เตตฺตึส (ลบ อธิก) | |
เอกูนวีสติ (วีสติ-เอก 20-1 =19) | เอเกน อูนา วีสติ เอกูนวีสติ |
เอกูนปญฺจสตา โจรา (500-1 =499) | |
2) คุณ/คุณิตสังขยา สังขยาที่นับโดยการคูณกัน (สังขยาคุณนามxสังขยานามนาม) เช่น | |
ทฺวิสตานิ ทฺวิสตํ (ทฺวิxสต 2x100 = 200) | เทฺว สตานิ ทฺวิสตานิ ทฺวิสตํ |
จตุราสีติสหสฺสานิ (จตุราสีติxสหสฺส 84x1,000) | จตุราสีติ สหสฺสานิ จตุราสีติสหสฺสานิ |
ทสสตสหสฺสํ (ทสxสตสหสฺส 10x100,000 = 1,000,000) | ทส สตสหสฺสานิ ทสสตสหสฺสํ |
3) สัมพันธสังขยา สังขยาที่นับโดยการสัมพันธ์กับบทอื่นๆ | |
อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสโก (68xพัน +100xพัน = 168,000) | อฏฺฐสฏฺฐิสหสฺสกํ จ สตสฺส สหสฺสกํ จ อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสกํ สหสฺส สัมพันธ์เข้ากับบทที่อยู่ข้างหน้าทุกบท |
สตฺต มนุสฺสโกฏิโย | โกฏิแห่งมนุษย์ ท. 7 สตฺต สัมพันธ์เข้ากับ -โกฏิโย |
4) สังเกตสังขยา สังขยาที่นับโดยการใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีจำนวนแน่นอนตายตัว มักใช้ในฉันท์ เช่น จำนวน 1 แทนด้วย จนฺท พระจันทร์, สุริย พระอาทิตย์, ภู แผ่นดิน | |
5) อเนกสังขยา สังขยาที่นับโดยการประมาณเอา เพราะมีจำนวนมาก ไม่ต้องการนับให้ละเอียดลงไป เช่น สหสฺสเตโช มีเดชนับพัน, สหสฺสรํสิ มีรัศมีนับพัน |
ศัพท์ปกติสังขยา
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต อฏฺฐ นว ทส | 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 | เอกาทส* ทฺวาทส, พารส เตรส จตุทฺทส, จุทฺทส ปญฺจทส, ปณฺณรส โสฬส สตฺตรส อฏฺฐารส* เอกูนวีสติ, อูนวีส วีส, วีสติ | 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 | เอกวีสติ ทฺวาวีสติ, พาวีสติ เตวีสติ จตุวีสติ ปญฺจวีสติ ฉพฺพีสติ สตฺตวีสติ อฏฺฐวีสติ เอกูนตฺตึส, อูนตฺตึส ตึส, ตึสติ | 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 |
เอกตฺตึส ทฺวตฺตึส, พตฺตึส เตตฺตึส จตุตฺตึส ปญฺจตฺตึส ฉตฺตึส สตฺตตฺตึส อฏฺฐตฺตึส เอกูนจตฺตาฬีส, อูนจตฺตาฬีส จตฺตาฬีส, ตาฬีส | 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 | เอกจตฺตาฬีส เทฺวจตฺตาฬีส เตจตฺตาฬีส จตุจตฺตาฬีส ปญฺจจตฺตาฬีส ฉจตฺตาฬีส สตฺตจตฺตาฬีส อฏฺฐจตฺตาฬีส เอกูนปญฺญาส, อูนปญฺญาส ปญฺญาส, ปณฺณาส | 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 |
* ทีฆะเฉพาะศัพท์: เอกาทส, อฏฺฐารส
ทส วีส(ติ) ตึส(ติ) (จตฺ)ตาฬีส (จตฺตาลีส) ปญฺญาส (ปณฺณาส) สฏฺฐี (สฏฺฐิ) สตฺตติ (สตฺตริ) อสีติ นวุติ สตํ สหสฺสํ ทสสหสฺสํ, นหุตํ สตสหสฺสํ, ลกฺขํ ทสสตสหสฺสํ โกฏิ | 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 1,000 10,000 100,000 1,000,000 10,000,000 | 101 102 103 104 105 106 107 |
ทส วีส(ติ) ตึส(ติ) จตฺตาฬีส ปญฺญาส สฏฺฐี สตฺตติ อสีติ นวุติ | 10 20 30 40 50 60 70 80 90 | สตํ ทฺวิสตานิ ติสตานิ จตุสตานิ ปญฺจสตานิ ฉสตานิ สตฺตสตานิ อฏฺฐสตานิ นวสตานิ | 100 200 300 400 500 600 700 800 900 | สหสฺสํ ทฺวิสหสฺสานิ ติสหสฺสานิ จตุสหสฺสานิ ปญฺจสหสฺสานิ ฉสหสฺสานิ สตฺตสหสฺสานิ อฏฺฐสหสฺสานิ นวสหสฺสานิ ทสสหสฺสํ | 1,000 2,000 3,000 4,000 5,000 6,000 7,000 8,000 9,000 10,000 |
• สตํ 100, เอกสตํ 101 (ลบ อุตฺตร) (เอกสตํ แปลว่า 100 บ้าง)
การแจกปกติสังขยา
เอก (1) สังขยา (คุณนาม) เอกวจนะ
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | เอโก เอกํ เอเกน เอกสฺส เอกสฺมา เอกมฺหา เอกสฺส เอกสฺมึ เอกมฺหิ | เอกา เอกํ เอกาย เอกาย* เอกาย เอกาย* เอกาย* | เอกํ เอกํ เอเกน เอกสฺส เอกสฺมา เอกมฺหา เอกสฺส เอกสฺมึ เอกมฺหิ |
เอก (1) สัพพนาม 2 วจนะ
แจกเหมือน ย ศัพท์ ยกเว้น อิต. เอก. จ. ฉ. เป็น เอกิสฺสา ส. เป็น เอกิสฺสํ *
ทฺวิ (2) ไตรลิงค์ | อุภ (ทั้ง 2) ไตรลิงค์ | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | เทฺว * เทฺว * ทฺวีหิ ทฺวินฺนํ ** ทฺวีหิ ทฺวินฺนํ ** ทฺวีสุ | อุโภ อุโภ อุโภหิ อุภินฺนํ อุโภหิ อุภินฺนํ อุโภสุ |
* เป็น ทุเว บ้าง ใช้ในคาถา
** เป็น ทุวินฺนํ บ้าง ใช้ในคาถา พบ 1 แห่ง
ติ (3)
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | ตโย ตโย ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีสุ | ติสฺโส ติสฺโส ตีหิ ติสฺสนฺนํ ตีหิ ติสฺสนฺนํ ตีสุ | ตีณิ ตีณิ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีหิ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ตีสุ |
จตุ (4)
ปุ. | อิต. | นปุ. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | จตฺตาโร จตุโร จตฺตาโร จตุโร จตูหิ * จตุนฺนํ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูสุ | จตสฺโส จตสฺโส จตูหิ จตสฺสนฺนํ จตูหิ จตสฺสนฺนํ จตูสุ | จตฺตาริ จตฺตาริ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูหิ * จตุนฺนํ จตูสุ |
* เป็น จตุพฺภิ บ้าง ใช้ในคาถา
ปญฺจ (5) ไตรลิงค์
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | ปญฺจ ปญฺจ ปญฺจหิ ปญฺจนฺนํ ปญฺจหิ ปญฺจนฺนํ ปญฺจสุ |
ตั้งแต่ ปญฺจ (5) ถึง อฏฺฐารส (15) แจกอย่างนี้
เอกูนวีส (19) อิตถีลิงค์
เอก. | |
ป. ทุ. ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. | เอกูนวีส เอกูนวีสํ (ลงนิคคหิตอาคมได้) เอกูนวีสํ เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย เอกูนวีสาย |
ตั้งแต่ เอกูนวีส (19) ถึง อฏฺฐนวุติ (98)
ถ้าเป็น อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส
ถ้าเป็น อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ
ถ้าเป็น อี การันต์ แจกอย่าง นารี
เอกูนสตํ (99) ถึง อสงฺเขยฺยํ (10140) แจกอย่าง กุล
โกฏิ (107) ปโกฏิ (1014) โกฏิปฺปโกฏิ (1021) แจกอย่าง รตฺติ
อกฺโขภินี-ณี (1042) แจกอย่าง นารี
จัดปกติสังขยาตาม นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ และการแจกวิภัตติ
นาม | ลิงค์ | วจนะ | การแจกวิภัตติ | ||
---|---|---|---|---|---|
1-18 | คุณนาม | 3 ลิงค์ | 1 เอกวจนะ 2-18 พหุวจนะ | 1-4 แจกเฉพาะตน 5-18 แจกอย่าง ปญฺจ | |
19-98 | อิตถีลิงค์ | เอกวจนะ* | อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ อี การันต์ แจกอย่าง นารี | ||
99 - ∞ | นามนาม | นปุงสกลิงค์ | สองวจนะ | แจกอย่าง กุล | |
โกฏิ | อิตถีลิงค์ | แจกอย่าง รตฺติ |
• 1-4 ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย (ตามนัยในคัมภีร์ศัพทศาสตร์) และ
1 เอกศัพท์ สัพพนาม เป็นได้สองวจนะ แจกอย่าง ย เว้นบางวิภัตติ
* เป็นเอกวจนะเฉพาะสังขยา ส่วนนามนามที่ถูกนับ เป็นพหุวจนะตามปกติ
1. จัดปกติสังขยาลงใน นามศัพท์ | ||
เอก ถึง อฏฺฐนวุติ | (1-98) | เป็นคุณนาม |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99…) | เป็นนามนาม |
* 1-4 ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย | ||
2. จัดปกติสังขยาลงใน ลิงค์ | ||
เอก ถึง อฏฺฐารส | (1-18) | เป็นได้ 3 ลิงค์ |
เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ | (19-98) | เป็นอิตถีลิงค์ |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99…) | เป็นนปุงสกลิงค์ |
เฉพาะ โกฏิ | (10,000,000) | เป็นอิตถีลิงค์ |
3. จัดปกติสังขยาลงใน วจนะ | ||
เอกสังขยา | (1) | เป็นเอกวจนะ |
ทฺวิ ถึง อฏฺฐารส | (2-18) | เป็นพหุวจนะ |
เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ | (19-98) | เป็นเอกวจนะ |
เอกูนสตํ ขึ้นไป | (99…) | เป็นได้ 2 วจนะ |
* 1 เอกศัพท์ สัพพนาม เป็นได้สองวจนะ | ||
4. จัดปกติสังขยา ตามการ แจกวิภัตติ | ||
เอก-จตุ | (1-4) | แจกเฉพาะตัว |
ปญฺจ-อฏฺฐารส | (5-18) | แจกอย่าง ปญฺจ |
เอกูนวีสติ-อฏฺฐนวุติ | (19-98) | อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ อี การันต์ แจกอย่าง นารี |
เอกูนสตํ… | (99…) | แจกอย่าง กุล |
เฉพาะ โกฏิ | (10,000,000) | แจกอย่าง รตฺติ |
* เอกสัพพนาม แจกอย่าง ย เว้นบางวิภัตติ |
ปกติสังขยานับนามนาม
1) สังขยาคุณนาม (1-98) นับนามนาม หลักการทำ เหมือนคุณนามทั่วไป คือ
- สังขยาคุณนาม ประกอบลิงค์ วิภัตติ วจนะ เหมือนนามนามนั้น
- เรียงสังขยาคุณนาม ไว้หน้านามนาม
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||||
1 | เอโก | ปุริโส | เอกา | นารี | เอกํ | นครํ |
2 | เทฺว | ปุริสา | เทฺว | นาริโย | เทฺว | นครานิ |
3 | ตโย | ปุริสา | ติสฺโส | นาริโย | ตีณิ | นครานิ |
4 | จตฺตาโร | ปุริสา | จตสฺโส | นาริโย | จตฺตาริ | นครานิ |
5 | ปญฺจ | ปุริสา | ปญฺจ | นาริโย | ปญฺจ | นครานิ |
5 | ปญฺจหิ | ปุริเสหิ | ปญฺจหิ | นารีหิ | ปญฺจหิ | นคเรหิ |
14 | จตุทฺทสนฺนํ | ปุริสานํ | จตุทฺทสนฺนํ | นารีนํ | จตุทฺทสนฺนํ | นครานํ |
(เฉพาะ ทฺวิ และ ปญฺจ ถึง อฏฺฐารส แต่ละศัพท์ แจกเหมือนกันทั้ง 3 ลิงค์)
ยกเว้นจำนวน เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ (19-98) ให้ประกอบสังขยาเป็น เอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว แล้วเปลี่ยนเฉพาะวิภัตติไปตามนามนามนั้น เช่น
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||
30 | ตึส | ปุริสา | นาริโย | นครานิ |
25 | ปญฺจวีสาย/ปญฺจวีสติยา | ปุริเสหิ | นารีหิ | นคเรหิ |
2) สังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) นับนามนาม
- นามนามที่ถูกนับ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เท่านั้น (ลบวิภัตติ หากเข้าสมาส)
- สังขยานามนาม ประกอบวิภัตติตามเนื้อความที่ต้องการ
บุรุษ 100 | ปุริสานํ สตํ | = ปุริสสตํ |
หญิง 1,000 | อิตฺถีนํ สหสฺสํ | = อิตฺถีสหสฺสํ |
ด้วยช้าง 100 | หตฺถีนํ สเตน | = หตฺถิสเตน |
สังขยานามนามจำนวนหนึ่งร้อย, หนึ่งพัน, หนึ่งหมื่น … เป็นเอกวจนะ โดยทั่วไป ไม่ต้องเขียน เอก ศัพท์ ด้วย เช่น สตํ หนึ่งร้อย, สหสฺสํ หนึ่งพัน
สังขยานามนามจำนวนสองร้อย, สามร้อย, สองพัน ฯลฯ เป็นพหุวจนะ ใช้สังขยาคุณนามร่วมด้วย เช่น
ภิกษุ 200 รูป | ภิกฺขูนํ เทฺว สตานิ |
อุบาสิกา 3,000 คน | อุปาสิกานํ ตีณิ สหสฺสานิ |
แบบที่นิยมใช้ คือ เอานามนามที่ถูกนับไว้ตรงกลาง และสมาสกับบทหลัง
บุรุษ 500 คน | ปญฺจ ปุริสสตานิ |
พระพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ | อเนกานิ พุทฺธสตานิ |
ด้วยเกวียน 500 เล่ม | ปญฺจหิ สกฏสเตหิ |
สังขยานามนามนี้ ทำให้อยู่ในรูปคุณนามได้ โดยต่อ (สมาส - พหุพพิหิสมาส) กับศัพท์บางศัพท์ที่แปลว่า ‘ประมาณ’ เช่น มตฺต ปมาณ ใช้เหมือนคุณนามทั่วไป แปลว่า ‘มี….เป็นประมาณ’ เช่น
บุรุษ 100 | สตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
สตปฺปมาณา ปุริสา | ||
บุรุษ 500 | ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ |
ปญฺจสตปฺปมาณา ปุริสา | ||
บุรุษ 1,000 | สหสฺสมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีพันเป็นประมาณ |
สหสฺสปฺปมาณา ปุริสา | ||
ของบุรุษ 100 | สตมตฺตานํ ปุริสานํ | ของบุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
ในตระกูล 1,000 | สหสฺสมตฺเตสุ กุเลสุ | ในตระกูล ท. มีพันเป็นประมาณ |
ด้วยช้าง 700 | สตฺตสตมตฺเตหิ หตฺถีหิ | ด้วยช้าง ท. มีร้อย 7 เป็นประมาณ |
เทียบกับแบบใช้สังขยานามนามเป็นประธาน
บุรุษ 100 คน | สตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยเป็นประมาณ |
(บุรุษ 100 คน | ปุริสานํ สตํ | ร้อย แห่งบุรุษ ท.) |
บุรุษ 500 คน | ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ |
(บุรุษ 500 คน | ปญฺจ ปุริสสตานิ | ร้อยแห่งบุรุษ ท. 5) |
เมื่อเข้าสมาสแล้ว ลบ มตฺต/ปมาณ ศัพท์ได้อีก และนิยมใช้แบบที่ลบ มากกว่าแบบที่ไม่ลบ
บุรุษ 500 คน | ||
ปญฺจสตมตฺตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ | |
ปญฺจสตา ปุริสา | บุรุษ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ ลบ มตฺต ศัพท์ | |
(ปญฺจ ปุริสสตานิ | ร้อยแห่งบุรุษ ท. 5) |
สรุป
ภิกษุ 100 รูป | ภิกฺขูนํ สตํ | ร้อย แห่งภิกษุ ท. |
ภิกฺขุสตํ | ร้อยแห่งภิกษุ | |
ภิกษุ 500 รูป | ||
เรียงนามนามที่ถูกนับ ไว้หน้า | ||
ภิกฺขูนํ ปญฺจ สตานิ | ร้อย ท. 5 แห่งภิกษุ ท. | |
ภิกฺขูนํ ปญฺจสตานิ | ร้อย 5 ท. แห่งภิกษุ ท. | |
ภิกฺขุปญฺจสตานิ | ร้อย 5 แห่งภิกษุ ท. | |
เรียงนามนามที่ถูกนับไว้กลาง | ||
ปญฺจ ภิกฺขูนํ สตานิ | ร้อย ท. แห่งภิกษุ ท. 5 | |
ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ*1 | ร้อยแห่งภิกษุ ท. 5 | |
ปญฺจภิกฺขุสตานิ | ร้อยแห่งภิกษุ 5 ท. | |
เรียงนามนามที่ถูกนับไว้หลัง | ||
ปญฺจสตมตฺตา ภิกฺขู | ภิกษุ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ | |
ปญฺจสตา ภิกฺขู* | ภิกษุ ท. มีร้อย 5 เป็นประมาณ (ลบ มตฺต) |
* แบบที่นิยมใช้
1 เขียนเป็น ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ ก็มี
การต่อสังขยามีเศษ
สังขยาจำนวนเต็ม เช่น 1-10, 20, 100, 500, 1000 (สังเกตจาก ตัวเลขถัดจากตัวแรกไป จะเป็นเลข 0 ทั้งหมด)
สังขยามีเศษ คือ สังขยาที่เหลือจากจำนวนเต็ม เช่น 21, 110, 5618
21 (20+1) | 20 เป็นจำนวนเต็ม | 1 เป็นเศษของ 20 |
110 (100+10) | 100 เป็นจำนวนเต็ม | 10 เป็นเศษของ 100 |
5,618 (5,000+618) | 5000 เป็นจำนวนเต็ม | 618 เป็นเศษของ 5000 |
การต่อสังขยาด้วย_อุตฺตร_และ_อธิก
- อุตฺตร แปลว่า เกิน ใช้ต่อระหว่างสังขยาคุณนาม (1-98) ต่อกับสังขยานามนาม (99...)
- อธิก แปลว่า ยิ่ง ใช้ต่อระหว่างสังขยานามนาม (99...) ด้วยกัน (อธิ, อธิก = ยิ่ง)
การสนธิด้วย อุตฺตร
อ อา อยู่หน้า | ลบเสีย | เช่น วีส + อุตฺตร = วีสุตฺตร |
อิ อี อยู่หน้า | แปลง อิ อี เป็น อย | เช่น ติ + อุตฺตร = ตยุตฺตร, ทฺวิ + อุตฺตร = ทฺวยุตฺตร |
อุ อู อยู่หน้า | ลบเสีย | เช่น จตุ + อุตฺตร = จตุตฺตร |
130 | = 30 + 100 |
= ตึสาย อุตฺตรํ สตํ | |
= ตึสุตฺตรํ สตํ | |
= ตึสุตฺตรสตํ | |
189 | = -1+90+100 = เอกูนนวุตยุตฺตรสตํ |
263 | = 63+200 = ติสฏฺฐยุตฺตรทฺวิสตานิ |
1,700 | = 700+1000 = สตฺตสตาธิกสหสฺสํ |
1,299 | = -1+100+200 = เอกูนสตาธิกทฺวิสตสหสฺสํ |
6,054 | = 54+6000 = จตุปญฺญาสุตฺตรฉสหสฺสานิ |
84,000 | = 4000+80000 = จตุสหสฺสาธิกอฏฺฐทสสหสฺสานิ = 84x1000 = จตุราสีติสหสฺสานิ (ลง รฺ อาคม) |
999,999 | = -1+1000000 = เอกูนทสสตสหสฺสํ |
1,200,000 | = 12x100000 = ทฺวาทสสตสหสฺสานิ |
12,345 | = 45 + 100 + 2000 + 10000 (เรียงจำนวนน้อยไว้หน้า) |
= ปญฺจจตฺตาฬีสาย อุตฺตรํ ติสเตหิ อธิกํ ทฺวิสหสเสหิ อธิกํ ทสสหสฺสํ | |
= ปญฺจจตฺตาฬีสุตฺตรํ ติสตาธิกํ ทฺวิสหสสาธิกํ ทสสหสฺสํ หมื่น ยิ่ง ด้วยพันสอง ท. ยิ่ง ด้วยร้อยสาม ท. เกิน ด้วย สี่สิบห้า | |
= ปญฺจจตฺตาฬีสุตฺตรติสตาธิกทฺวิสหสสาธิกทสสหสฺสํ หมื่น ยิ่งด้วยพันสอง ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยสี่สิบห้า | |
54,821 | = 21 + 100 + 4000 + 50000 |
= เอกวีสติยา อุตฺตรานิ สเตน อธิกานิ จตุสหสฺเสหิ อธิกานิ ปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ท. ยิ่งด้วยพันสี่ ท. ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยยี่สิบเอ็ด | |
= เอกวีสตยุตฺตรํ สตาธิกํ จตุสหสฺสาธิกํ ปญฺจทสสหสฺสานิ | |
= เอกวีสตยุตฺตรสตาธิกจตุสหสฺสาธิกปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ยิ่งด้วยพันสี่ ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยยี่สิบเอ็ด ท. |
สังขยามีเศษนับนามนาม
1. แบบแยกนามนาม
คือ ไม่เขียนนามนาม ปะปนกับสังขยา โดยการต่อสังขยานามนามให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
แล้วจึงเรียงนามนามที่ประกอบด้วย ฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ ไว้ข้างหน้า ก็เป็นอันเสร็จ
ภิกษุ 7707 = ภิกฺขูนํ สตฺตุตฺตรานิ สตฺตสตาธิกานิ สตฺตสหสฺสานิ
พันเจ็ด ท. ยิ่งด้วยร้อยเจ็ด เกินด้วยเจ็ด แห่งภิกษุ ท.
2. แบบแทรกนามนาม
แบบยืดยาว
- เรียง นามนาม ไว้หน้า อุตฺตร
- เรียง นามนาม ไว้หน้าหลักร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ
ชน 12,345 | = ชน 45 + ชน 100 + ชน 2000 + ชน 10000 |
= ปญฺจจตฺตาฬีสาย ชเนหิ อุตฺตรํ ตีหิ ชนานํ สเตหิ อธิกํ ทฺวีหิ ชนานํ สหสเสหิ อธิกํ ชนานํ ทสสหสฺสํ หมื่นแห่งชน ท. ยิ่งด้วยพันแห่งชน ท. สอง ยิ่งด้วยร้อยแห่งชน ท. สาม เกินด้วย สี่สิบห้า | |
= ปญฺจจตฺตาฬีสชนุตฺตรติสตาธิกทฺวิสหสฺสาธิกชนทสสหสฺสํ หมื่นแห่งชน ยิ่งด้วยพันสอง ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยสี่สิบห้า | |
ชน 54,121 | = ชน 21 + ชน 100 + ชน 4000 + ชน 50000 |
= เอกวีสติยา ชเนหิ อุตฺตรานิ ชนานํ สเตน อธิกานิ ชนานํ จตุสหสฺเสหิ อธิกานิ ชนานํ ปญฺจทสสหสฺสานิ หมื่นห้า ท. แห่งชน ท. ยิ่งด้วยพันสี่ ท. แห่งชน ท. ยิ่งด้วยร้อย แห่งชน ท. เกินด้วยชน ท. ยี่สิบเอ็ด | |
= เอกวีสติชนุตฺตรสตาธิกจตุสหสฺสาธิกปญฺจชนทสสหสฺสานิ หมื่นห้าแห่งชน ยิ่งด้วยพันสี่ ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยชนยี่สิบเอ็ด ท. |
แบบย่อ
ชน 1,345 | = ชน 45 + 100 + ชน 1000 |
= ปญฺจจตฺตาฬีสชนุตฺตรติสตาธิกํ ชนสหสฺสํ พันแห่งชน ยิ่งด้วยร้อยสาม เกินด้วยชนสี่สิบห้า | |
ชน 4,121 | = ชน 21 + 100 + ชน 4000 |
= เอกวีสติชนุตฺตรสตาธิกานิ จตฺตาริ ชนสหสฺสานิ พันแห่งชน ท. 4 ยิ่งด้วยร้อย เกินด้วยชนยี่สิบเอ็ด |
การต่อศักราช
2,557 ปี | = 57 ปี + 500 + 2000 ปี |
= สตฺตปญฺญาสสํวจฺฉรุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺว สํวจฺฉรสหสฺสานิ พันแห่งปี ท. 2 ยิ่งด้วยร้อยห้า เกินด้วยปีห้าสิบเจ็ด | |
บัดนี้ ล่วงแล้ว 2,559 ปี จำเดิมแต่กาลปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า | |
= อิทานิ ภควโต ปรินิพฺพานกาลโต ปฏฺฐาย เอกูนสฏฺฐีสํวจฺฉรุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺว สํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ. ในกาลนี้ พันแห่งปี ท. 2 ยิ่งด้วยร้อยห้า เกินด้วยปีห้าสิบเก้า ล่วงแล้ว จำเดิม แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า |
การต่อสังขยาด้วย_จ_ศัพท์
(ใช้ได้ทั้งสังขยาจำนวนเต็ม และสังขยามีเศษ)
ใช้เฉพาะ จ ศัพท์ โดยใส่ไว้ทุกหลัก | |
กษัตริย์ 7707 | = สตฺต ขตฺติยา จ สตฺต ขตฺติยสตานิ จ สตฺต ขตฺติยสหสฺสานิ จ |
กษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย ร้อยแห่งกษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย | |
พันแห่งกษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย | |
ใช้ จ ศัพท์ ร่วมกับ อธิก | |
กษัตริย์ 7707 | = ขตฺติยานํ สตฺตสตาธิกานิ สตฺตสหสฺสานิ จ สตฺต ขตฺติยา จ |
พันเจ็ด ท. ยิ่งด้วยร้อยเจ็ด แห่งกษัตริย์ ท. ด้วย กษัตริย์ ท. เจ็ด ด้วย |
ปูรณสังขยา
ปูรณสังขยา คือ สังขยาที่ใช้นับลำดับของนาม โดยใช้ปัจจัยตัทธิต 5 ตัว คือ ติย ฐ ถ ม อี ท้ายปกติสังขยา
ปูรณสังขยาเป็นคุณนาม เป็นเอกวจนะอย่างเดียว เป็นได้ 3 ลิงค์ มีวิธีใช้เหมือนคุณนามทั่วไป แจกวิภัตติอย่าง ชน กญฺญา นารี กุล ตามลำดับ
วิธีลงปัจจัยปูรณตัทธิต 5 ตัว
- ติย ปัจจัย ใช้ลงท้าย ทฺวิ ติ แล้วแปลง ทฺวิ เป็น ทุ แปลง ติ เป็น ต เป็น ทุติย ตติย เช่น ทฺวิ+ติย = ทุติย, ติ+ติย = ตติย
- ฐ ปัจจัย ใช้ลงท้าย ฉ แล้วซ้อน ฏฺ หน้า ฐ เป็น ฉฏฺฐ
- ถ ปัจจัย ใช้ลงท้าย จตุ แล้วซ้อน ตฺ หน้า ถ เป็น จตุตฺถ
- ม ปัจจัย ใช้ต่อท้ายได้ทุกตัว (ยกเว้น ทฺวิ ติ จตุ ฉ) เฉพาะ เอก ใช้ ปฐ แทน (เอก+ม=ปฐม)
- อี ปัจจัย ใช้ลงท้ายเฉพาะจำนวน 11-18 ที่เป็นอิตถีลิงค์
* ป ก่อน ฐา ตั้ง
ศัพท์ปูรณสังขยา
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||
ปฐโม | ปฐมา | ปฐมํ | ที่ 1 | |
ทุติโย | ทุติยา | ทุติยํ | ที่ 2 | |
ตติโย | ตติยา | ตติยํ | ที่ 3 | |
จตุตฺโถ | จตุตฺถี | จตุตฺถา | จตุตฺถํ | ที่ 4 |
ปญฺจโม | ปญฺจมี | ปญฺจมา | ปญฺจมํ | ที่ 5 |
ฉฏฺโฐ | ฉฏฺฐี | ฉฏฺฐา | ฉฏฺฐํ | ที่ 6 |
สตฺตโม | สตฺตมี | สตฺตมา | สตฺตมํ | ที่ 7 |
อฏฺฐโม | อฏฺฐมี | อฏฺฐมา | อฏฺฐมํ | ที่ 8 |
นวโม | นวมี | นวมา | นวมํ | ที่ 9 |
ทสโม | ทสมี | ทสมา | ทสมํ | ที่ 10 |
เอกาทสโม | เอกาทสมี เอกาทสี-สึ * | เอกาทสมํ | ที่ 11 | |
ทฺวาทสโม | ทฺวาทสมี | ทฺวาทสมํ | ที่ 12 | |
เตรสโม | เตรสมี เตรสี | เตรสมํ | ที่ 13 | |
จตุทฺทสโม | จุทฺทสมี จาตุทฺทสี-สึ * | จตุทฺทสมํ | ที่ 14 | |
ปญฺจทสโม | ปญฺจทสี-สึ * ปณฺณรสี-สึ * | ปญฺจทสมํ | ที่ 15 | |
โสฬสโม | โสฬสี | โสฬสมํ | ที่ 16 | |
สตฺตรสโม | สตฺตรสี | สตฺตรสมํ | ที่ 17 | |
อฏฺฐารสโม | อฏฺฐารสี | อฏฺฐารสมํ | ที่ 18 | |
เอกูนวีสติโม | เอกูนวีสติมา | เอกูนวีสติมํ | ที่ 19 | |
วีสติโม | วีสติมา | วีสติมํ | ที่ 20 | |
เอกวีสติโม | เอกวีสติมา | เอกวีสติมํ | ที่ 21 | |
... | ... | ... | ... |
• แปลง ฉฏฺฐ เป็น ฉฏฺฐม ได้ (ฉฏฺฐโม, ฉฏฺฐมี, ฉฏฺฐมํ)
* ลงนิคคหิตอาคม; ทีฆะเป็น จาตุทฺทสี จาตุทฺทสึ
ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ความคิดเห็น