การแต่งฉันท์บาลี

การแต่งฉันท์บาลี

เกริ่นนำ

การแต่งฉันท์บาลี เป็นวิชาเรียนในชั้นประโยค ป.ธ.8  อันถือเป็นวิชาสุดยอดวิชาหนึ่ง ในการเรียนบาลี  เป็นการแต่ง เรียบเรียง ร้อยกรองคำบาลีให้มีจำนวนคำ ครุลหุ ตามบังคับฉันท์ ให้ได้ความหมายที่ต้องการ ตามที่โจทย์กำหนด   รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นธรรมเนียมนิยมในการแต่งอีก

ฉะนั้น นักเรียนในชั้นนี้จึงมีความรู้สึกหนักใจในความยากของวิชา  เพราะลำพังการแต่งไทยให้เป็นบาลี ด้วยประโยค ตามสำนวนต่างๆ ตามปกติ ก็มิใช่ของง่ายแล้ว  การต้องมาแต่งให้เป็นฉันท์ดังกล่าว  ก็นับว่ายากยิ่งขึ้นไปอีก

แต่ในความยากนั้น ก็ยังมีส่วนที่ง่ายอยู่ ก็คือ ในเนื้อหาภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษนั้น  นักเรียนไม่จำเป็นต้องแต่งไทยเป็นบาลี ชนิดคำต่อคำ แต่ให้สรุปย่อเนื้อหาที่สำคัญ มาแต่งเป็นฉันท์ ให้ได้ตามกำหนด จำนวน และชนิดของฉันท์ เท่านั้น   (ถึงแม้อาจจะมีนักเรียนที่สามารถแต่งฉันท์แบบถอดมาทุกถ้อยคำ ทุกตัวอักษรได้  แต่ก็คงจะหมดเวลาสอบเสียก่อนที่จะทำเสร็จ)

ความหมายของฉันท์

ฉันท์ แปลว่า ปกปิดโทษ คือ ปกปิดความไม่ไพเราะ (ในการสวดเป็นต้น)

คำประพันธ์ร้อยแก้วต่างๆ ถึงแม้จะมีความหมายดี มีคุณค่า  แต่เมื่อนำมาสวดแบบสรภัญญะ เป็นต้น ฟังแล้วย่อมไม่ไพเราะ  เพราะไม่มีรูปแบบ ลีลา ของถ้อยคำที่แน่นอน เป็นจังหวะจะโคน ผนวกกับท่วงทำนองในการสวด อันจะช่วยโน้มน้อมจิตของผู้รับฟังให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเพิ่มขึ้นได้    ต่อเมื่อกำหนดจำนวนคำของแต่ละบาท แต่ละวรรค ทั้งเสียงสั้นเสียงยาว เสียงหนักเสียงเบา อันเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง แล้ว การสวดสรภัญญะเป็นต้นนั้น ย่อมไพเราะ น่าฟัง ชวนติดตามยิ่งขึ้น

ฉันท์ มีวิเคราะห์ว่า  อวชฺชํ ฉาเทตีติ ฉนฺทํ  ธรรมชาตที่ปกปิดเสียซึ่งโทษ เรียกว่า ฉันท์

ฉันท์ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น พันธะ คาถา วุตติ (พฤติ)*  ซึ่งใช้เป็นไวพจน์ของกันได้ 

ฉันท์ ประกอบด้วย ทีฆะ รัสสะ ครุ ลหุ ศัพท์ บท บาท คาถา

*  คำว่า พฤทธิ์ น่าจะเป็น พฤติ  เช่น บาลี: มตฺตาวุตฺติ, สันสกฤต: มาตฺราวฺฤตฺติ
ส่วนคำว่า พฤทธิ์ ในบาลี: วุทฺธิ, สันสกฤต: วฺฤทฺธิ.  คำที่ใช้บ่อย เช่น ปวุตฺติ/ปฺรวฺฤตฺติ/ประพฤติ 

  • ทีฆะ คือ สระเสียงยาว เช่น  วาจา สีโห เป็นต้น
  • รัสสะ คือ สระเสียงสั้น  เช่น ปติ มุนิ เป็นต้น
  • ครุ คือ เสียงหนัก ได้แก่ สระเสียงยาว  และสระเสียงสั้นที่มีสังโยคคือตัวสะกด  มี 4 ประเภท คือ
    • สังโยคาทิครุ  อักขระ/คำ มีสังโยค  เช่น วํโส ธมฺโม กตฺวา เป็นต้น
    • ทีฆครุ  อักขระเสียงยาว  เช่น โลโป วาจา เป็นต้น
    • ปาทนฺตครุ  อักขระปลายบาท คือ พยางค์สุดท้ายของบาท  แม้จะกำหนดให้เป็นครุ แต่ก็อาจแต่งเป็นลหุได้  เรียกว่า ปาทนฺตครุ   
      เช่น ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ   พยางค์ที่ขีดเส้นใต้ คือปาทนฺตครุ
    • นิคฺคหิตครุ อักขระมีนิคคหิต  เช่น อุทกํ วรํ เป็นต้น
  • ลหุ คือ เสียงเบา  ได้แก่ สระเสียงสั้น ที่ไม่มีสังโยค  เช่น ปติ มุนิ เป็นต้น
  • ศัพท์ คือ คำที่ไม่ได้ประกอบวิภัตติ  เช่น ภนฺเต จ โข เป็นต้น (หรือคำที่ยังไม่ได้ประกอบวิภัตติ เช่น ปุริส เทว เป็นต้น)
  • บท คือ คำที่ประกอบวิภัตติแล้ว  เช่น ปุริสา เทโว เป็นต้น
  • พยางค์ คือ หน่วยเสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง เรียกว่า 1 พยางค์  เช่น คำว่า อาราเม มี 3 พยางค์, คำว่า อาจริยา มี 4 พยางค์ เป็นต้น
  • บาท คือ กลุ่มคำที่มีจำนวนพยางค์ครบตามที่กำหนดในฉันท์นั้นๆ  เช่น ฉันท์ปัฐยาวัตร มีบาทละ 8 พยางค์*, ฉันท์อินทรวิเชียร มีบาทละ 11 พยางค์ เป็นต้น
  • คาถา  คือ จำนวน 4 บาทนั้นเอง เรียกว่า 1 คาถา   ถ้ามี 2 บาท ก็เรียกว่า กึ่งคาถา/ครึ่งคาถา (อฑฺฒคาถา)   6 บาท เรียกว่า 1 คาถากึ่ง เป็นต้น

* บางทีก็พูดกันว่า มีบาทละ 8 "คำ"  แต่ความหมายของคำว่า "คำ" ในภาษาไทย ยังดิ้นได้   ในที่นี้ จึงขอใช้คำว่า "พยางค์" เป็นหลัก เพื่อความชัดเจน

ประเภทของฉันท์

  1. ฉันท์วรรณพฤติ (วณฺณวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดจำนวนพยางค์ (อักษร/คำ) ในบาทหนึ่งๆ  เช่น ปัฐยาวัตร บาทละ 8 พยางค์, อินทรวิเชียร 11 พยางค์ เป็นต้น
  2. ฉันท์มาตราพฤติ (มตฺตาวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดมาตรา คือจำนวนครุลหุ ในบาทหนึ่งๆ

ฉันท์วรรณพฤติ เป็นที่นิยมกว่า เพราะฟังง่าย เข้าใจง่าย 
ส่วนฉันท์มาตราพฤติ ก็เป็นฉันท์ชั้นสูงประณีตยิ่ง  ต้องใช้จังหวะเสียงหนัก-เบาในการว่าจริงๆ 

ฉันท์ที่กำหนดให้เป็นหลักสูตรในการเรียนบาลี ชั้นประโยค ป.ธ.8 นั้น คือ ฉันท์วรรณพฤติ 6 ฉันท์ คือ

  1. ปัฐยาวัตร (ปฐฺยาวตฺตํ)
  2. อินทรวิเชียร (อินฺทวชิรา)
  3. อุเปนทรวิเชียร (อุเปนฺทวชิรา)
  4. อินทรวงศ์ (อินฺทวํโส)
  5. วังสัฏฐะ (วํสฏฺฐา)
  6. วสันตดิลก (วสนฺตติลกา)

คณะฉันท์

คณะ คือ กลุ่มคำที่ประกอบด้วยด้วยครุและลหุ  

  1. คณะฉันท์วรรณพฤติ  มีคณะละ 3 พยางค์   มีทั้งหมด 8 คณะ 
  2. คณะฉันท์มาตราพฤติ  มีคณะละ 4 มาตรา   มีทั้งหมด 5 คณะ

คณะฉันท์วรรณพฤติ

ตัวอักษรเหล่านี้ คือ  ม น ส ช  ต ภ ร ย  แต่ละตัวสมมุติให้เป็นชื่อคณะฉันท์  เช่น  มคณะ นคณะ เป็นต้น  รวมเป็นคณะฉันท์ 8 คณะ

สัญญลักษณ์ที่ใช้แทน ครุ และ ลหุ ที่ใช้กันมา  คือ  " ุ" (สระอุ) แทนลหุ   และ "  ั " (ไม้หันอากาศ) แทนครุ   
(เวลาเขียน จะวางระดับสระอุกับไม้หันอากาศให้เสมอกัน ประมาณกลางบรรทัด)

ในที่นี้ ขอใช้สัญญลักษณ์  •  แทน ลหุ  และ — แทน ครุ  เพื่อให้ดูง่ายและเขียนง่าย (ในหน้าจอคอมพิวเตอร์)

คณะฉันท์วรรณพฤติ  มีคณะละ 3 พยางค์   มีทั้งหมด 8 คณะ ดังนี้ คือ  ม น ส ช   ต ภ ร ย
โดยนำพระนามของพระพุทธเจ้ามาเป็นตัวอย่างคำแสดงครุลหุ

สพฺพญฺญู โม สุมุนิ โน สุคโต โส มุนินฺท โช
มาราชิ โต มารชิ โภ นายโก โร มเหสี โย
       
สพฺพญฺญูโม สุมุนิโน สุโตโส มุนินฺโช
       
มาราชิโต มาชิโภ นาโกโร เหสีโย

 

การเรียกชื่อคณะฉันท์ทั้ง 8 ตามพระนามของพระพุทธเจ้า

สพฺพญฺญู โม     มคณะ
สุมุนิ โน           นคณะ
สุคโต โส          สคณะ
มุนินฺท โช         ชคณะ
มาราชิ โต         ตคณะ
มารชิ โภ          ภคณะ
นายโก โร         รคณะ
มเหสี โย           ยคณะ

คณะฉันท์มาตราพฤติ

คณะฉันท์มาตราพฤติ  นับคำครุเป็น 2 มาตรา  ลหุเป็น 1 มาตรา   มีคณะละ 4 มาตรา   มีทั้งหมด 5 คณะ ดังนี้  คือ  ม น ส ช  ภ

สพฺพญฺญู โม     มคณะ
สุมุนิ โน           นคณะ
สุคโต โส          สคณะ
มุนินฺท โช         ชคณะ
มารชิ โภ          ภคณะ

จำนวนบาทคาถาและรูปแบบในการแต่งฉันท์  มีกฎเกณฑ์ว่า

  1. การแต่งฉันท์ ต้องแต่งอย่างน้อย 1 คาถา จึงจะนับว่าเป็น "ฉันท์"   น้อยกว่านั้นไม่ได้  ถ้าเกิน 1 คาถา แล้วแต่งไม่ครบคาถา บาทที่เกินเป็นเศษมานั้น ก็ต้องแต่งให้มีเป็นจำนวน 2 บาทเสมอ ห้ามแต่งให้มีเศษเพียง 1 หรือ 3 บาท
  2. เมื่อเริ่มแต่งฉันท์ชนิดใด ต้องแต่งฉันท์ชนิดนั้นจนจบอย่างน้อย 1 คาถา  ห้ามแต่งไม่ครบคาถาแล้วไปเริ่มฉันท์ชนิดอื่นต่อ  หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าแต่งฉันท์หลายชนิดรวมกัน ต้องแต่งฉันท์แต่ละชนิดให้ได้อย่างน้อย 1 คาถาเสมอ
  3. ฉันท์แต่ละชนิดมีรูปแบบในการวางบาทคาถาไว้  เช่น วางซ้าย-ขวา-ซ้าย-ขวา หรือ วางจากบนลงล่าง ต้องแต่งให้ถูกต้อง

การเรียงศัพท์ในการแต่งฉันท์

การเรียงศัพท์ในการแต่งฉันท์ ไม่เคร่งครัดเหมือนการแต่งประโยคธรรมดา จะเรียงอย่างไร หากไม่ผิดคณะฉันท์แล้วเป็นอันใช้ได้ (แต่ก็มิใช่เรียงข้ามประโยคจนสับสน จับใจความไม่ได้)    ยกเว้นแต่นิบาตต้นข้อความ และ เต เม โว โน (โน ปุริสสัพพนาม) เท่านั้น ที่จะต้องเรียงไว้หลังบทอื่นเสมอ

ฉันท์ชนิดต่างๆ

ปัฐยาวัตรฉันท์

ปัฐยาวัตร แปลว่า คาถาที่สวดเป็นทำนองจตุราวัตร คือหยุดทุก 4 คำ

อเสวนา จ พาลานํ    ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ      เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

  ห้าม ส-นคณะยคณะ   ห้าม ส-นคณะชคณะ 
พยางค์ที่บังคับครุ-ลหุ [ •• ]    [ •• ]  
พยางค์ที่12345678 12345678
 เสนาพาลานํ ปณฺฑิตานญฺเสนา
 ปูชาปูนียานํ เอตมฺมงฺมุตฺมํ
 เมสุสินฺธุโตเช ปฐฺยาวตฺตํกิตฺติตํ
 

บาทคาถาด้านซ้ายมือ (เรียกว่าบาทขอน)
พยางค์ที่ 2-3 (สีแดง) ห้ามเป็นลหุคู่กัน  
พยางค์ที่ 5-6-7 เป็น ลหุ-ครุ-ครุ (• — —) ตามลำดับ

พยางค์ที่เหลือ ไม่บังคับครุ-ลหุ

บาทด้านขวามือ (เรียกว่าบาทคู่)
พยางค์ที่ 2-3 (สีแดง) ห้ามเป็นลหุคู่กัน  
พยางค์ที่ 5-6-7 เป็น ลหุ-ครุ-ลหุ (• — •) ตามลำดับ

พยางค์ที่เหลือ ไม่บังคับครุ-ลหุ

  •  แทน ลหุ (เสียงเบา  สั้น ไม่มีสังโยค)
 — แทน ครุ (เสียงหนัก  ยาวหรือสั้น มีสังโยค)
  • ปัฐยาวัตร คาถาหนึ่ง มี 4 บาท  บาทละ 8 พยางค์  
  • พยางค์ที่ 2 3 4 ของทุกบาท ห้ามเป็น ส-นคณะ  
    พยางค์ที่ 5 6 7 ของบาทซ้าย ลง ยคณะ     พยางค์ที่ 5 6 7 ของบาทขวา ลง ชคณะ 
  • พยางค์ที่ 1 และ 8 ของทุกบาท จะเป็นครุหรือลหุก็ได้ คือ เรียกกันว่า อักษรลอย/พยางค์ลอย (คือไม่อยู่ในคณะฉันท์)
  • พยางค์สุดท้าย (8)  แม้เป็นลหุ ก็เรียกว่า ครุ (ปาทันตครุ)
  • บางบาท อาจจะมี 9 พยางค์บ้างก็ได้ ไม่ถือว่าผิดเสียทีเดียว ยังใช้ได้อยู่ เรียกว่า นวกฺขริก* (อักษร 9 ตัว)
  • ถัดจากพยางค์ที่ 1 ในบาทขอน (1, 3) นิยม รคณะ    และถัดจากพยางค์ที่ 1 ในบาทคู่ (2, 4) นิยม มคณะ ถือว่าไพเราะดีมาก

* อักษร ในเรื่องฉันท์นี้ หมายถึงพยางค์หนึ่ง ไม่ใช่อักขระตัวหนึ่งๆ

 

อินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวิเชียร แปลว่า สายฟ้า(อาวุธ)ของพระอินทร์ 
หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาของเสียงครุ-ลหุ งดงามดังเพชรของพระอินทร์ บ้าง
ฉันท์มีครุหนักมากเหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมีตคณะ เรียงกัน ๒ คณะ บ้าง

คณะตคณะตคณะชคณะพยางค์ลอย
พยางค์ที่บังคับครุ-ลหุ—/•
พยางค์ที่1234567891011
 อินฺทาทิกาตาชิราคาโค
 โยจกฺขุมาโมลากฏฺโฐ
 สามํพุทฺโธสุโตวิมุตฺโต

 

  • อินทรวิเชียร คาถาหนึ่ง มี 4 บาทๆ ละ 1 บรรทัด  บาทหนึ่งมี 11 พยางค์  
  • พยางค์ที่ 1 2 3 เป็น ตคณะ  พยางค์ที่ 4 5 6 เป็น ตคณะ  พยางค์ที่ 7 8 9 เป็น ชคณะ
  • 2 พยางค์สุดท้าย ของทุกบาท เป็นอักษรลอย/พยางค์ลอย (คือไม่อยู่ในคณะฉันท์)
  • พยางค์เกือบสุดท้าย (10)  แม้เป็นอักษรลอย ไม่กำหนดครุ/ลหุ แต่ก็ไม่พึงเป็นลหุ เพราะถือเป็นครุโทษ
  • พยางค์สุดท้าย (11)  แม้เป็นลหุ ก็เรียกว่า ครุ (ปาทันตครุ)
  • มี ยติ 5 และ 6 คือเวลาสวด ให้หยุดครั้งแรกที่อักษรที่ 5 และหยุดครั้งต่อไปอีก 5 อักษร คือตัวสุดท้ายบาท
     

แนวทางการแต่งฉันท์ 5 ขั้นตอน

  1. อ่านเรื่องที่กำหนด ให้เข้าใจ
  2. ย่อความ จับประเด็นสำคัญของเรื่อง
  3. วางแผนการแต่ง
  4. ดำเนินการแต่ง
  5. ตรวจสอบความถูกต้อง

 

 


บรรณานุกรม

  • พระเมธีปริยัตโยดม ป.ธ.9, สำนวนแต่งฉันท์ภาษามคธ
  • พระมหากัณหา ปิยสีโล ป.ธ.9, แต่งแปลบาลี
  • พระมหาอุทัย ภูริเมธี ป.ธ.9, ฉันทกรณวิธี และตัวอย่างสำนวนวิชาแต่งฉันท์
  • ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ ป.ธ.9, แต่งแปลบาลี 1-2

ความคิดเห็น

Restricted HTML

  • Allowed HTML tags: <a href hreflang> <em> <strong> <cite> <blockquote cite> <code> <ul type> <ol start type> <li> <dl> <dt> <dd> <h2 id> <h3 id> <h4 id> <h5 id> <h6 id>
  • Lines and paragraphs break automatically.
  • Web page addresses and email addresses turn into links automatically.