เต็ม, ให้เต็ม, ครบ, ถ้วน, บริบูรณ์
อรรถของธาตุ
ปูรเณ
ตัวอย่าง
ปพฺพติ ปพฺพํ ปพฺพโต
- ปพฺพํ บัพพะ, 'เต็ม,' ข้อ, ปล้อง เช่น ข้อไม้, ปล้องไม้ หรือ ข้อนิ้วเป็นต้น;
ภาค, หมวด, หมู่, ตอน เช่น แบ่งภาคในหนังสือเป็นต้น;
ดิถีทางจันทรคติ ซึ่งนับเป็นวันไม่ดีในโหราศาสตร์ [ปพฺพ=ปูรเณ - สูจิ]. - ปพฺพโต บรรพต, ภูเขา 'มีข้อ หรือ มีปล้อง' [ปพฺพ-ปูรเณ+ต ปัจ.- สูจิ],
ปพฺพโต นี้ เป็น ป. แต่มีในที่หลายแห่ง เป็น ปพฺพตานิ วนานิ ภูเขา ท. ป่า ท. (เช่นในเขมาเขมสรณคมนทีปิกาคาถา เป็นต้น) ซึ่งเป็นรูป นป.
นี้พึงทราบว่าเป็น ลิงฺควิปลฺลาส ความคลาดเคลื่อนของลิงค์ (ส. 2).
แท้จริง วิปลฺลาส ของไวยากรณ์ท่านจัดไว้ มี 6 คือ- ลิงฺควิปลฺลาโส คลาดลิงค์
- วิภตฺติวิปลฺลาโส คลาดวิภัตติ
- วจนวิปลฺลาโส คลาดวจนะ
- กาลวิปลฺลาโส คลาดกาล
- ปุริสวิปลฺลาโส คลาดบุรุษ
- อกฺขรวิปลฺลาโส คลาดอักษร (ส. 459)
(แต่ที่จะรู้ว่าเป็นวิปัลลาสนั้น ต้องอาศัยสอบสวนหลายแห่งให้ลงรอยกัน บางทีเป็นเขียนผิดเขียนพลาด ซึ่งไปคนละทาง).
หมวดธาตุ
ภู (อ)
คาถา/หน้า
364-384
ที่มา
ธป
Comments