สารบัญ
1. สามัญญตัทธิต
1. โคตตตัทธิต 2. ตรัตยาทิตัทธิต 3. ราคาทิตัทธิต 4. ชาตาทิตัทธิต 5. สมุหตัทธิต | 6. ฐานตัทธิต 7. พหุลตัทธิต 8. เสฏฐตัทธิต 9. ตทัสสัตถิตัทธิต | 10. ปกติตัทธิต 11. สังขยาตัทธิต 12. ปูรณตัทธิต 13. วิภาคตัทธิต |
2. ภาวตัทธิต
3. อัพยยตัทธิต
ชีทประกอบการศึกษา: • รูปวิเคราะห์ตัทธิต • ทำตัวศัพท์ตัทธิต ตามขั้นตอน อย่างง่าย
ตัทธิต หมายถึง ปัจจัยประเภทหนึ่ง ใช้ลงท้ายนามศัพท์หรืออัพยยศัพท์ เพื่อแทนเนื้อความของศัพท์อื่น
ทั้งเป็นการย่อศัพท์ให้สั้นลง และหมายถึงศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิตนั้นๆ ด้วย
(แบบ: ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อ สำหรับใช้แทนศัพท์ ย่อคำพูดลงให้สั้น ชื่อว่า ตัทธิต)
สหาย (สหาย/เพื่อน) | + | ตา (แทน ภาว ศัพท์) | + | สิ | = สหายตา (ความเป็นแห่งสหาย/เพื่อน) |
นามศัพท์/อัพยยศัพท์ | ปัจจัยตัทธิต | วิภัตตินาม* |
* ถ้าลงปัจจัยตัทธิตที่เป็นอัพยยะ ก็ไม่ต้องลงวิภัตตินาม
เปรียบเทียบสมาส-ตัทธิต
สมาส: | สหายสฺส ภาโว สหายภาโว | ความเป็นแห่งสหาย |
ตัทธิต: | สหายสฺส ภาโว สหายตา (ใช้ ตา ปัจจัย แทน ภาว ศัพท์) | ความเป็นแห่งสหาย |
เปรียบเทียบสมาส-สนธิ-ตัทธิต-นามกิตก์
สมาส ต่อคำ (เกิดเป็นคำใหม่) | สนธิ ต่ออักขระ | ตัทธิต นาม/อัพยยศัพท์-ปัจจัย | นามกิตก์ ธาตุ-ปัจจัย |
"ตัทธิต" เป็นชื่อของปัจจัยตัทธิต และศัพท์ที่ลงปัจจัยตัทธิต | "(นาม)กิตก์" เป็นชื่อของปัจจัย(นาม)กิตก์ และศัพท์ที่ลงปัจจัย(นาม)กิตก์ | ||
ต่อศัพท์ (ทุกประเภท ยกเว้นอาขยาต*) | ต่ออักขระของศัพท์ | ลงปัจจัยท้าย นามศัพท์ บ้าง อัพยยศัพท์ บ้าง เพื่อแทนศัพท์ต่างๆ | ลงปัจจัยท้าย ธาตุ แสดงหน้าที่ (สาธนะ) ของคำ |
คำที่ต่อมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน | คำที่ต่อไม่จำเป็นต้องมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน** | ||
เกิดเป็นคำใหม่ | ไม่เกิดเป็นคำใหม่ | เกิดเป็นคำใหม่ | เกิดเป็นคำใหม่ |
สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม | - | สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม อัพยยศัพท์ | สำเร็จเป็นนามนาม คุณนาม |
เข้าสมาสแล้ว ทำสนธิได้อีก | การแปลต้องตัดบท (ปทจฺเฉท) คือแยกศัพท์ออก ก่อนแปล |
* อตฺถิ นตฺถิ ในบทสมาส เช่น อตฺถิภาโว นตฺถิภาโว ถือเป็นนิบาต
** คือไม่ต้องคำนึงถึงว่าศัพท์ที่นำมาต่อ มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่
ตัทธิตว่าโดยย่อ มี 3 อย่าง (จัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท) คือ
- สามัญญตัทธิต
- ภาวตัทธิต
- อัพยยตัทธิต
1. สามัญญตัทธิต แบ่งออกเป็น 13 คือ | |||
แทนศัพท์ | จำนวนปัจจัย | ||
1) โคตตตัทธิต | อปจฺจ โคตฺต ปุตฺต | 8 | ณ ณายน ณาน เณยฺย ณิ ณิก ณว เณร (ณฺย) |
2) ตรัตยาทิตัทธิต | ตรติ ศัพท์เป็นต้น | 1 | ณิก |
3) ราคาทิตัทธิต | รตฺต ศัพท์เป็นต้น | 1 | ณ |
4) ชาตาทิตัทธิต | ชาต ศัพท์เป็นต้น | 3 | อิม อิย กิย (ย) |
5) สมุหตัทธิต | สมุห ศัพท์ | 3 | กณฺ ณ ตา |
6) ฐานตัทธิต | ฐาน ศัพท์ | 1 | อีย (อีย เอยฺย) |
7) พหุลตัทธิต | ปกติ พหุล ศัพท์ | 1 | อาลุ |
8) เสฏฐตัทธิต | วิเสส อติวิเสส ศัพท์ | 5 | ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺฐ |
9) ตทัสสัตถิตัทธิต | อตฺถิ ศัพท์ | 9 | วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ (อิมนฺตุ) ณ |
10) ปกติตัทธิต | ปกต วิการ ศัพท์ | 1 | มย |
11) สังขยาตัทธิต | ปริมาณ ศัพท์ | 1 | ก (ตฺตก อาวตก) |
12) ปูรณตัทธิต | ปูรณ ศัพท์ | 5 | ติย ฐ ถ ม อี |
13) วิภาคตัทธิต | วิภาค ศัพท์ | 2 | ธา โส |
2. ภาวตัทธิต | ภาว ศัพท์ | 6 | ตฺต ณฺย ตฺตน ตา ณ กณฺ (ณิย เณยฺย พฺย) |
3. อัพยยตัทธิต | ปการ ศัพท์ | 2 | ถา ถํ (กฺขตฺตุํ) |
ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย กล่าวว่าสามัญญตัทธิต มี 15 โดยเพิ่ม อุปมาตัทธิต และ นิสสิตตัทธิต เข้ามา
1. สามัญญตัทธิต
1) โคตตตัทธิตมีปัจจัย 8 ตัว คือ ณ ณายน ณาน เณยฺย ณิ ณิก ณว เณร
ใช้แทน อปจฺจ โคตฺต ปุตฺต (เหล่ากอ เชื้อสาย ลูก ลูกหลาน วงศ์ โคตร บุตรธิดา)
ณปุ. แจกอย่าง ชน (โคตโม) | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
วสิฏฺโฐ1 | วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ | วาสิฏฺโฐ วาเสฏฺโฐ2 | เหล่ากอ/ลูก/เชื้อสาย แห่งวสิฏฐะ |
วสิฏฺโฐ | วสิฏฺฐสฺส ปุตฺโต | วาสิฏฺโฐ | บุตรแห่งวสิฏฐะ |
วสิฏฺโฐ | วสิฏฺฐสฺส ธีตา | วาสิฏฺฐี* | ธิดาแห่งวสิฏฐะ |
วสิฏฺโฐ | วสิฏฺฐสฺส กุลํ | วาสิฏฺฐํ | ตระกูลแห่งวสิฏฐะ |
โคตโม โคตมะ, ชื่อโคตร | โคตมสฺส อปจฺจํ | โคตโม โคตมี* โคตมํ | เหล่ากอแห่งโคตมะ |
วสุเทโว | วสุเทวสฺส อปจฺจํ | วาสุเทโว วาสุเทวี* วาสุเทวํ | เหล่ากอแห่งวสุเทวะ |
วสโว | วสวสฺส อปจฺจํ | วาสโว | เหล่ากอแห่งวสวะ |
เวสามิตฺโต | เวสามิตฺตสฺส ปุตฺโต | เวสามิตฺโต | บุตรแห่งเวสามิตตะ |
ภารทฺวาโช | ภารทฺวาชสฺส อปจฺจํ | ภารทฺวาโช | เหล่ากอแห่งภารัทวาชะ |
มนุ3 | มนุโน อปจฺจํ | มานุโส | เหล่ากอของพระมนู; คน, มนุษย์. (สฺ อาคม) |
1 เป็นชื่อโคตรของเหล่าพราหมณ์
2 แปลง อิ เป็น เอ (ใน ไตร. มีทั้งสองแบบ)
3 มนู เทพผู้สร้างมนุษย์
* ลง อี ปัจ. อิต
ณายน | |||
กจฺโจ | กจฺจสฺส อปจฺจํ | กจฺจายโน | เหล่ากอแห่งกัจจะ |
วจฺโฉ | วจฺฉสฺส อปจฺจํ | วจฺฉายโน | เหล่ากอแห่งวัจฉะ |
โมคฺคลฺลี | โมคฺคลฺลิยา อปจฺจํ | โมคฺคลฺลายโน | เหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี |
ณาน | |||
กจฺโจ | กจฺจสฺส อปจฺจํ | กจฺจาโน | เหล่ากอแห่งกัจจะ |
วจฺโฉ | วจฺฉสฺส อปจฺจํ | วจฺฉาโน | เหล่ากอแห่งวัจฉะ |
โมคฺคลฺลี | โมคฺคลฺลิยา อปจฺจํ | โมคฺคลฺลาโน | เหล่ากอแห่งนางโมคคัลลี |
เณยฺย | |||
ภคินี | ภคินิยา อปจฺจํ | ภาคิเนยฺโย ภาคิเนยฺยา | เหล่ากอแห่งพี่น้องหญิง, หลานชาย หลานสาว |
วินตา | วินตาย อปจฺจํ | เวนเตยฺโย | เหล่ากอแห่งนางวินตา |
โรหิณี | โรหิณิยา อปจฺจํ | โรหิเณยฺโย | เหล่ากอแห่งนางโรหิณี |
กตฺติกา | กตฺติกาย ปุตฺโต | กตฺติเกยฺโย | บุตรแห่งนางกัตติกา |
นที (อิต.) | นทิยา ปุตฺโต | นาเทยฺโย | บุตรแห่งแม่น้ำ |
คงฺคา | คงฺคาย อปจฺจํ | คงฺเคยฺโย | เหล่ากอแห่งแม่น้ำคงคา |
สุจิ | สุจิยา ปุตฺโต | โสเจยฺโย | บุตรแห่งคนสะอาด |
ณิ | |||
ทกฺโข | ทกฺขสฺส อปจฺจํ | ทกฺขิ | เหล่ากอแห่งทักขะ |
วสโว | วสวสฺส อปจฺจํ | วาสวิ | เหล่ากอแห่งวสวะ |
วรุโณ | วรุณสฺส อปจฺจํ | วารุณิ | เหล่ากอแห่งวรุณะ |
ณิก | |||
สกฺยปุตฺโต1 | สกฺยปุตฺตสฺส อปจฺจํ | สกฺยปุตฺติโก สกฺยปุตฺติโย2 | เหล่ากอแห่งบุตรแห่งสักยะ |
นาฏปุตฺโต | นาฏปุตฺตสฺส อปจฺจํ | นาฏปุตฺติโก นาฏปุตฺติโย2 | เหล่ากอแห่งบุตรแห่งชนรำ/นักฟ้อน |
ชินทตฺโต | ชินทตฺตสฺส อปจฺจํ | เชนทตฺติโก | เหล่ากอแห่งชินทัตตะ |
1 บุตรแห่งสักยะ, ศากยบุตร. ใน ไตร. ธอ. พบแต่ ‘สกฺย-’ โดยมาก ส่วน ‘สากฺย-’ พบบ้างเล็กน้อย (สันสกฤต: ศากฺย- shakya)
2 แปลง ก เป็น ย. สกฺยปุตฺติโย ใช้มากกว่า สกฺยปุตฺติโก
ณว | |||
อุปกุ | อุปกุสฺส อปจฺจํ | โอปกโว | เหล่ากอแห่งอุปกุ |
มนุ1 | มนุโน อปจฺจํ | มานโว มานวิกา | เหล่ากอแห่งมนุ, คน (ชาย, หญิง) |
ภคฺคุ | ภคฺคุโน อปจฺจํ | ภคฺคโว | เหล่ากอแห่งภัคคุ |
1 มนู เทพผู้สร้างมนุษย์
เณร | |||
วิธวา | วิธวาย อปจฺจํ | เวธเวโร | เหล่ากอแห่งแม่ม่าย |
วิธโว | วิธวสฺส อปจฺจํ | เวธเวโร | เหล่ากอแห่งพ่อม่าย |
สมโณ | สมณสฺส อปจฺจํ | สามเณโร สามเณรี | เหล่ากอแห่งสมณะ, สามเณร |
ณฺย | |||
กุณฺฑนี | กุณฺฑนิยา ปุตฺโต | โกณฺฑญฺโญ | บุตรแห่งนางกุณฑนี |
กุรุ | กุรุโน ปุตฺโต | โกรพฺโย | พระโอรสแห่งพระเจ้ากุรุ |
ภาตา | ภาตุโน ปุตฺโต | ภาตพฺโย | บุตรแห่งพี่น้องชาย |
อทิติ | อทิติยา ปุตฺโต | อาทิจฺโจ | บุตรแห่งพระมารดาอทิติ |
2) ตรัตยาทิตัทธิต ลง ณิก ปัจจัย ใช้แทน ตรติ (ย่อมข้าม) เป็นต้น
ณิก | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
นาวา | นาวาย ตรตีติ | นาวิโก นาวิกี นาวิกํ | ผู้ข้าม(ไปสู่ฝั่ง)ด้วยเรือ |
อุลุมฺโป อุฬุมฺโป | อุลุมฺเปน ตรตีติ | อุลุมฺปิโก* โอลุมฺปิโก (อุฬุมฺปิโก* โอฬุมฺปิโก) | ผู้ข้ามด้วยแพ (ไม่พฤทธิ์) |
ติลํ | ติเลน/ติเลหิ สํสฏฺฐํ | เตลิกํ (โภชนํ) | อันระคนแล้วด้วยงา, คลุกงา |
เตลิโก (อาหาโร), เตลิกี (ยาคุ) | |||
โลณํ | โลเณน สํสฏฺฐํ | โลณิกํ (โภชนํ) | อันระคนแล้วด้วยเกลือ, เค็ม |
ปูโว | ปูโว อสฺส ภณฺฑนฺติ | ปูวิโก | มีขนมเป็นสินค้า, พ่อค้าขนม |
ทณฺโฑ | ทณฺเฑน จรตีติ | ทณฺฑิโก | ผู้เที่ยวไปด้วยไม้เท้า, คนแก่ |
ปาโท | ปาเทน/ปทสา จรตีติ | ปาทิโก | ผู้เที่ยวไปด้วยเท้า, คนเดินเท้า |
สกฏํ | สกเฏน จรตีติ | สากฏิโก | ผู้เที่ยวไปด้วยเกวียน, พ่อค้า(ขนสินค้าด้วย)เกวียน |
กาโย | กาเยน กตํ | กายิกํ (กมฺมํ) | อันเขาทำแล้วด้วยกาย, กายกรรม |
กาเยน กโต | กายิโก (ปโยโค) | (ความพยายาม) (อันเขา) ทำแล้วด้วยกาย/ทางกาย, ความพยายามทางกาย | |
กาเย วตฺตตีติ | กายิกํ (กมฺมํ) | อันเป็นไปในกาย | |
วโจ | วจสา กตํ | วาจสิกํ (กมฺมํ) | (อันเขา)ทำแล้วด้วยวาจา/ทางวาจา, วจีกรรม (ลง สฺ อาคม) |
ปญฺจสตานิ | ปญฺจสเตหิ กตา | ปญฺจสติกา (สงฺคีติ) | (สังคายนา) อันพระเถระ 500 ทำแล้ว |
อกฺโข | อกฺเขน ทิพฺพตีติ | อกฺขิโก | ผู้เล่นด้วยสะกา, นักเล่นสะกา |
ธมฺโม | ธมฺเมน (ป)วตฺตตีติ | ธมฺมิโก | ผู้เป็นไปด้วยธรรม, ~โดยธรรม |
ธมฺเม ติฏฺฐตีติ | ธมฺมิโก | ผู้ตั้งอยู่ในธรรม | |
ธมฺเมน นิยุตฺโต | ธมฺมิโก | ผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม | |
ปรทาโร | ปรทารํ คจฺฉตีติ | ปารทาริโก | ผู้ถึงซึ่งภรรยาของคนอื่น, คนเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน |
ปโถ | ปถํ คจฺฉตีติ | ปถิโก | ผู้ไปสู่หนทาง, คนเดินทาง |
อภิธมฺโม | อภิธมฺมํ อธีเตติ | อาภิธมฺมิโก | ผู้เล่าเรียนซึ่งพระอภิธรรม, ผู้สาธยาย~ |
วฺยากรณํ | วฺยากรณํ อธีเตติ | เวยฺยากรณิโก | ผู้สาธยายซึ่งพยากรณ์ |
สรีรํ | สรีเร สนฺนิธานา | สารีริกา (เวทนา) | (เวทนา) อันนับเนื่องในสรีระ |
สรีเร สนฺนิธานํ | สารีริกํ (ทุกฺขํ), | (ทุกข์) อันนับเนื่องในสรีระ | |
สรีเร สนฺนิธานา | สารีริกา (ธาตุ) | (ธาตุ) อันนับเนื่องในสรีระ | |
มโน/มนํ | มนสิ สนฺนิธานา | มานสิกา (เวทนา) | (เวทนา) อันนับเนื่องในใจ |
มนสา กตํ | มานสิกํ (กมฺมํ) | (อันเขา) ทำแล้วด้วยใจ/ทางใจ, มโนกรรม | |
พุทฺโธ | พุทฺเธ ปสนฺโน | พุทฺธิโก | ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า, ชาวพุทธ |
ธมฺมิโก สงฺฆิโก พุทฺธสาสนิโก | |||
ทิฏฺฐธมฺโม | ทิฏฺฐธมฺเม วตฺตตีติ | ธมฺมิโก (อตฺโถ) | (ประโยชน์) อันเป็นไปในปัจจุบัน |
* ทิฏฺฐธมฺโม ธรรมอันบุคคลเห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม, ‘ในปัจจุบัน’. • ประโยชน์ในปัจจุบัน(ชาติ) ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง ปัจจัย 4 ที่เพียงพอ ชื่อเสียง ชีวิตครอบครัวที่เป็นสุข อันจะสําเร็จด้วยหลักธรรม 4 ประการ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถธรรม ได้แก่ 1) อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียรหาทรัพย์ 2) อารักขสัมปทา รักษาทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยความขยันและโดยสุจริตนั้น) 3) กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคนชั่ว 4) สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียงแก่ฐานะของตน | |||
ทฺวารํ | ทฺวาเร นิยุตฺโต | ทฺวาริโก โทวาริโก* | ผู้ประกอบแล้วในประตู, คนเฝ้าประตู (* ลง โอ อาคม) |
ฉทฺวารานิ | ฉทฺวาเรสุ วตฺตตีติ | ฉทฺวาริกา (ตณฺหา) | อันเป็นไปในทวาร 6 (ตา หู …) |
ฉทฺวาเรสุ วตฺตนฺตีติ | ฉทฺวาริกานิ (อารมฺมณานิ) | อันเป็นไปในทวาร 6 (ตา หู …) | |
ภณฺฑาคาโร-รํ | ภณฺฑาคาเร นิยุตฺโต | ภณฺฑาคาริโก | ผู้ประกอบแล้วในภัณฑาคาร/โรงคลัง, ผู้ประจำใน~ |
อาทิกมฺมํ | อาทิกมฺเม นิยุตฺโต | อาทิกมฺมิโก | ผู้ประกอบแล้วในกรรมอันเป็นต้น, อาทิกัมมิกะ (พระผู้ต้องอาบัติรูปแรก) |
นวกมฺมํ | นวกมฺเม นิยุตฺโต | นวกมฺมิโก | ผู้ประกอบแล้วในนวกรรม, ~งานใหม่ (การก่อสร้าง(อาคารใหม่)) |
อุปาโย | อุปาเย นิยุตฺโต | โอปายิโก | ผู้ประกอบแล้วในอุบายวิธี, ผู้ฉลาดในวิธีทำการ(งาน) |
อาพาโธ | อาพาเธน นิยุตฺโต | อาพาธิโก | ผู้ประกอบแล้วด้วยอาพาธ, ผู้เจ็บป่วย |
รโถ | รเถ นิยุตฺโต | รถิโก | ผู้ประกอบแล้วในรถ, ผู้ประจำที่รถ, คนขับรถ |
หิรญฺญํ | เหรญฺเญสุ นิยุตฺโต | เหรญฺญิโก | ผู้ประกอบแล้วในเงิน, ผู้เกี่ยวข้องกับ(การ)เงิน |
เจโต | เจตสิ นิยุตฺตา | เจตสิกา (ธมฺมา) | (ธรรม ท.) อันประกอบแล้วในจิต, เจตสิก |
เจตสา กตํ กมฺมํ | เจตสิกํ | อันทำแล้วทางจิต | |
เจตสิ สํวตฺตตีติ | เจตสิกํ | อันเป็นไปในจิต | |
เจตสิ ภวํ | เจตสิกํ | อันมีในจิต | |
วีณา | วีณา อสฺส สิปฺปํ | เวณิโก | ผู้มีพิณเป็นศิลปะ, นักดีดพิณ |
คนฺโธ | คนฺโธ อสฺส ภณฺฑํ | คนฺธิโก | ผู้มีของหอมเป็นสินค้า, พ่อค้าของหอม |
สกุโณ | สกุเณ หนฺตวา ชีวตีติ | สากุณิโก | ผู้ฆ่าซึ่งนกเป็นอยู่, ผู้ฆ่านกเลี้ยงชีวิต, พรานนก |
สูกโร สุกโร | สูกเร หนฺตฺวา ชีวตีติ | สูกริโก โสกริโก | ผู้ฆ่าซึ่งสุกรเป็นอยู่, คนฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต |
มจฺเฉ หนฺตฺวา ชีวตีติ | มจฺฉิโก | ผู้ฆ่าซึ่งปลาเป็นอยู่, คนฆ่าปลาเลี้ยงชีวิต, ชาวประมง | |
มิโค | มิเค หนฺตฺวา ชีวตีติ | มาควิโก | ผู้ฆ่าซึ่งเนื้อเป็นอยู่, พรานเนื้อ |
อุรพฺโภ | อุรพฺเภ หนฺตฺวา ชีวตีติ | โอรพฺภิโก | ผู้ฆ่าซึ่งแกะเป็นอยู่, คนฆ่าแกะเลี้ยงชีวิต |
ปํสุกูลํ ผ้า~ | ปํสุกูลํ ธาเรตีติ | ปํสุกูลิโก | ผู้ทรงซึ่งผ้าบังสุกุล |
ปํสุกูลํ การ~ | ปํสุกูลํ สีลมสฺสาติ | ปํสุกูลิโก | มีการทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ |
ปํสุกูลสฺส ธารณสีโล | ปํสุกูลิโก | มีการทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ | |
* ปํสุกูลํ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล ในอรรถปกติ (สีลตฺถ) | |||
ติจีวรํ ผ้า~ | ติจีวรํ ธาเรตีติ | เตจีวริโก | ผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าไตรจีวร |
ติจีวรํ การ~ | ติจีวรํ สีลมสฺสาติ | เตจีวริโก | ผู้มีการทรงไว้ซึ่งผ้าไตรจีวรเป็นปกติ |
พลิโส พฬิโส | พลิเสน/พฬิเสน มจฺเฉ คณฺหาตีติ | พาลิสิโก พาฬิสิโก | ผู้จับซึ่งปลาด้วยเบ็ด; พรานเบ็ด |
อรญฺญํ | อรญฺเญ วสตีติ | อารญฺญิโก | ผู้อยู่ในป่า |
อรญฺญวสนํ | อรญฺญวสนํ/อรญฺญวสิตุํ สีลมสฺสาติ | อารญฺญิโก | ผู้มีการอยู่ในป่าเป็นปกติ |
อรญฺเญ วสนสีโล | อารญฺญิโก | ผู้มีการอยู่ในป่าเป็นปกติ | |
กาโล | กาเลน นิยุตฺโต | กาลิโก (ธมฺโม) | อันประกอบด้วยกาล |
วิ. น กาลิโก อกาลิโก (ธมฺโม) อันไม่ประกอบด้วยกาล นบุพ. กัม. | |||
สนฺทิฏฺฐํ | สนฺทิฏฺฐํ อรหตีติ | สนฺทิฏฺฐิโก (ธมฺโม) | อันควรซึ่งการเห็นเอง |
เอหิ ปสฺสาติ | ‘เอหิ ปสฺสาติ อรหตีติ | เอหิปสฺสิโก (ธมฺโม) | อันควรซึ่งวิธีว่า ‘ท่านจงมาดู’ |
อุปนโย | อุปนยํ อรหตีติ | โอปนยิโก (ธมฺโม) | อันควรซึ่งการน้อมเข้ามา(ในตน) |
สงฺโฆ | สงฺฆสฺส สนฺตกํ* | สงฺฆิกํ (วตฺถุ/จีวรํ) | อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์; สมบัติ/สิ่งของของสงฆ์; ของสงฆ์ |
สงฺฆสฺส สนฺตโก | สงฺฆิโก (วิหาโร/อาวาโส) | อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์, วิหาร/อาวาสของสงฆ์ | |
สงฺฆสฺส สนฺตกา | สงฺฆิกา (ภูมิ) | อันเป็นของมีอยู่แห่งสงฆ์, ที่ดินของสงฆ์ | |
* สนฺตก ของมีอยู่, สิ่งของ, ข้าวของ, สมบัติ | |||
ปุคฺคโล | ปุคฺคลสฺส สนฺตกํ | ปุคฺคลิกํ (วตฺถุ) | อันเป็นของมีอยู่แห่งบุคคล, ของบุคคล |
มคโธ | มคเธ ชาโต | มาคธิโก | ผู้เกิดในแคว้นมคธ, ชาวแคว้นมคธ |
ราชคหํ | ราชคเห ชาโต | ราชคหิโก | ผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์ |
ราชคเห วสตีติ | ราชคหิโก | ผู้อยู่ในเมืองราชคฤห์, ชาวเมืองราชคฤห์ | |
นครํ | นคเร วสตีติ | นาคริโก | ผู้อยู่ในเมือง, ชาวเมือง, ชาวนคร |
โกสมฺพี | โกสมฺพิยํ ชาโต | โกสมฺพิโก | ผู้เกิดแล้วในเมืองโกสัมพี, ชาวเมืองโกสัมพี |
ปิตา | ปิติโต อาคโต | เปตฺติโก (ชโน) | ผู้มาแล้วข้างบิดา; ฝ่ายพ่อ (ซ้อน ตฺ) |
ปิตุโน สนฺตกํ | เปตฺติกํ (ธนํ) | อันเป็นของบิดา (ซ้อน ตฺ) | |
มาตา | มาติโต อาคตํ | มาติโก (ชโน) | ผู้มาแล้วข้างมารดา; ฝ่ายแม่ |
ปสาโท-ทํ | ปสาทํ ชเนตีติ | ปาสาทิโก | ผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิด; น่าเลื่อมใส |
ปสาทํ อาหรตีติ | ปาสาทิโก | ผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส; น่าเลื่อมใส | |
ปาสาทิกํ (รูปํ) | |||
จตุภูมิ | จตุภูมีสุ วตฺตนฺตีติ | จตุภูมิกา (ธมฺมา) | (ธรรม) อันเป็นไปในภูมิ 4 |
สุสานํ | สุสาเน วสตีติ | โสสานิโก (ภิกฺขุ) | (ภิกษุ) ผู้อยู่ในป่าช้า |
สุสาเน วสนํ/วสิตุํ สีลมสฺสาติ | โสสานิโก (ภิกฺขุ) | (ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ | |
สุสาเน วสนสีโล(ติ) | โสสานิโก (ภิกฺขุ) | (ภิกษุ) ผู้มีการอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ | |
เอกาสนํ | เอกาสเน ภุญฺชตีติ | เอกาสนิโก (ภิกฺขุ) | ผู้บริโภคในอาสนะเดียว |
เอกาสเน ภุญฺชิตุํ/โภชนํ สีลมสฺสาติ | เอกาสนิโก (ภิกฺขุ) | ผู้มีการบริโภคในอาสนะเดียวเป็นปกติ | |
เอกาสเน โภชนสีโล | เอกาสนิโก (ภิกฺขุ) | ผู้มีการบริโภคในอาสนะเดียวเป็นปกติ | |
* เอกาสนํ การบริโภคในอาสนะเดียว ในอรรถปกติ (สีลตฺถ) | |||
สมฺมาทิฏฺฐิ | สมฺมาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโต | สมฺมาทิฏฺฐิโก | ผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบ |
มิจฺฉาทิฏฺฐิ | มิจฺฉาทิฏฺฐิยา นิยุตฺโต | มิจฺฉาทิฏฺฐิโก | ผู้ประกอบด้วยความเห็นผิด |
อปาโย | อปาเย นิพฺพตฺโต/ชาโต | อาปายิโก | ผู้เกิดแล้วในอบาย |
นิรโย | นิรเย ชาโต | เนรยิโก | ผู้เกิดแล้วในนรก, สัตว์นรก |
รุกฺขมูลํ | รุกฺขมูเล วสนฺตีติ | รุกฺขมูลิกา (ภิกฺขู) | ผู้อยู่ที่โคนต้นไม้, ผู้อยู่โคนไม้ |
รุกฺขมูลิโก | ผู้(มีการ)อยู่ที่โคนต้นไม้(เป็นปกติ) | ||
อุโปสถ | อุโปสถํ สมาทิยตีติ | อุโปสถิโก | ผู้สมาทานซึ่งอุโบสถ |
อทฺธา ปุ. | อทฺธานํ ปฏิปชฺชตีติ | อทฺธิโก | ผู้เดินทางสู่ทางไกล, คนเดินทางไกล |
มหากรุณา | มหากรุณาย นิยุตฺโต | มหาการุณิโก | ผู้ประกอบด้วยกรุณาใหญ่ |
ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน) | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
สสงฺขาโร | สสงฺขาโร เอว | สสงฺขาริกํ | (สสังขารนั่นเอง ชื่อว่า) สสังขาริก |
จาตุมฺมหาราชา มหาราช 4 ท. | จาตุมฺมหาราชาโน เอว | จาตุมฺมหาราชิกา | (จาตุมมหาราช ท. นั่นเอง ชื่อว่า) จาตุมมหาราชิกะ |
3) ราคาทิตัทธิต ลง ณ ปัจจัย ใช้แทน รตฺต (ย้อมแล้ว) เป็นต้น
ณ | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
กสาโว | กสาเวน รตฺตํ | กาสาวํ (วตฺถํ) | (ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยรสฝาด, กาสาวพัสตร์ |
กสาโย | กสาเยน รตฺตํ | กาสายํ (วตฺถํ) | (ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยรสฝาด, กาสาวพัสตร์ |
หลิทฺทา-ที | หลิทฺทิยา รตฺตํ | หาลิทฺทํ (วตฺถํ) | (ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยขมิ้น |
นีโล | นีเลน รตฺตํ | นีลํ (วตฺถํ) | (ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยสีเขียว |
ปีโต | ปีเตน รตฺตํ | ปีตํ (วตฺถํ) | (ผ้า) (อันเขา) ย้อมแล้วด้วยสีเหลือง |
* นีโล นีลวณฺโณ สีเขียว, สีน้ำเงิน; ปีโต ปีตวณฺโณ สีเหลือง | |||
มหิโส | มหิสสฺส | มาหิสํ (อิทํ มํสํ) | (เนื้อ) นี้ของกระบือ, เนื้อนี้ของกระบือ, เนื้อกระบือ |
สูกโร | สูกรสฺส | สูกรํ (อิทํ มํสํ) | (เนื้อ) นี้ของสุกร, เนื้อนี้ของสุกร, เนื้อสุกร |
กจฺจายโน | กจฺจายนสฺส อิทํ | กจฺจายนํ (เวยฺยากรณํ) | (ไวยากรณ์) นี้ของอาจารย์กัจจายนะ |
วฺยากรณํ | วฺยากรณํ อธิเตติ | เวยฺยากรโณ | ผู้เรียนซึ่งพยากรณ์ (ลง เอ อาคม, ซ้อน ยฺ) |
มโน มนํ | มนสิ ภวํ | มานสํ (สุขํ) | มีในใจ (ลง สฺ อาคม) |
อุโร อุรํ | อุรสิ ภโว | โอรโส (ปุตฺโต) | มีในอก (ลง สฺ อาคม) |
อุรสิ ชาโต | โอรโส (ปุตฺโต) | เกิดแล้วในอก | |
มิตฺโต | มิตฺเต ภวา | เมตฺตา (ธมฺมชาติ) | มีในมิตร |
นครํ | นคเร วสนฺตีติ | นาครา (ชนา) | ผู้อยู่ในเมือง |
ราชคหํ | ราชคเห ชาโต | ราชคโห | ผู้เกิดแล้วในเมืองราชคฤห์ |
มคโธ | มคเธ ชาโต | มาคโธ | ผู้เกิดแล้วในแคว้นมคธ |
มคเธ วสตีติ | มาคโธ | ผู้อยู่ในแคว้นมคธ | |
มคเธ อิสฺสโร | มาคโธ | ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ | |
อรญฺญํ | อรญฺเญ วสตีติ | อารญฺญโก | ผู้อยู่ในป่า (ก ปัจจัย สกัตถะ) |
ปโย | ปยสา นิพฺพตฺโต | ปายาโส (โอทโน) | อันเกิดแล้วจากน้ำนม (ลง สฺ อาคม, ทีฆะ อ ที่ ย เป็น อา) |
กตฺติกา | กตฺติกาย นิยุตฺโต | กตฺติโก (มาโส) | (เดือน) อันประกอบแล้วด้วยฤกษ์กัตติกา |
ชนปโท | ชนปเท วสนฺตีติ | ชานปทา (ภิกฺขู) | ผู้อยู่ในชนบท |
เตปิฏกํ | เตปิฏกํ ธาเรตีติ | เตปิฏโก | ผู้ทรงไว้ซึ่งปิฎก 3 |
คพฺโภ | คพฺเภ นิพฺพตฺโต | คพฺโภ (สตฺโต) | ผู้เกิดแล้วในครรภ์; เด็กในท้อง |
4) ชาตาทิตัทธิต ลงปัจจัย 3 ตัว คือ อิม อิย กิย ใช้แทน ชาต (เกิดแล้ว) เป็นต้น
อิม | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
อุปริ (นิ.) | อุปริ ชาโต | อุปริโม | ผู้เกิดแล้วในเบื้องบน |
อุปริ ภโว | อุปริโม | มีในเบื้องบน | |
อุปริ ภวา | อุปริมา (ทิสา) | ทิศมีในเบื้องบน, ทิศเบื้องบน | |
เหฏฺฐา (นิ.) | เหฏฺฐา ชาโต | เหฏฺฐิโม | ผู้เกิดแล้วในภายใต้/ภายหลัง |
เหฏฺฐา ภโว | เหฏฺฐิโม | มีในเบื้องต่ำ | |
ปุร | ปุเร ชาโต | ปุริโม | ผู้เกิดแล้วในกาลก่อน |
ปุเร ภโว | ปุริโม | มีในก่อน | |
มชฺฌํ | มชฺเฌ ชาโต | มชฺฌิโม | ผู้เกิดแล้วในท่ามกลาง |
ปจฺฉา (นิ.) | ปจฺฉา ชาโต | ปจฺฉิโม | ผู้เกิดแล้วในภายหลัง |
ปจฺจนฺโต | ปจฺจนฺเต ภโว | ปจฺจนฺติโม (ปเทโส) | มีในที่สุดเฉพาะ, ประเทศชายแดน |
อนฺโต | อนฺเต ภวํ | อนฺติมํ (วตฺถุ) | มีในที่สุด |
อนฺเต นิยุตฺโต | อนฺติโม | ผู้ประกอบในที่สุด, คนสุดท้าย | |
ปุตฺโต | ปุตฺโต อสฺส อตฺถีติ | ปุตฺติโม | มีบุตร |
อิย | |||
มนุสฺสชาติ (อิต.) | มนุสฺสชาติยา ชาโต | มนุสฺสชาติโย | ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งมนุษย์ |
อสฺสชาติ (อิต.) | อสฺสชาติยา ชาโต | อสฺสชาติโย | ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งม้า |
ปณฺฑิตชาติ (อิต.) | ปณฺฑิตชาติยา ชาโต | ปณฺฑิตชาติโย | ผู้เกิดแล้วโดยชาติแห่งบัณฑิต |
ปณฺฑิตชาติ อสฺส อตฺถีติ | ปณฺฑิตชาติโย | มีชาติแห่งบัณฑิต | |
ปญฺจวคฺโค | ปญฺจวคฺเค ภวา | ปญฺจวคฺคิยา (ชนา) | มีในพวก 5, ปัญจวัคคีย์ |
ฉพฺพคฺโค | ฉพฺพคฺเค ภวา | ฉพฺพคฺคิยา (ชนา) | มีในพวก 6, ฉัพพัคคีย์ |
อุทรํ | อุทเร ภวํ | อุทริยํ (อาหารวตฺถุ) | มีในท้อง; อาหารใหม่ |
อตฺตา | อตฺตโน อิทนฺติ | อตฺตนิยํ | อันเป็นของแห่งตน (ลง นฺ อาคม) |
อตฺตนิ ชาโต | อตฺตนิโย | เกิดแล้วในตน (ลง นฺ อาคม) | |
หานภาโค | หานภาโค อสฺส อตฺถีติ | หานภาคิโย (ธมฺโม) | มีส่วนแห่งความเสื่อม |
หานภาเค สํวตฺตตีติ | หานภาคิโย (ธมฺโม) | เป็นไปในส่วนอันเสื่อม |
กิย | |||
อนฺโธ | อนฺเธ นิยุตฺโต | อนฺธกิโย | ผู้ประกอบแล้วในความมืด, ~ความบอด |
ชาติ | ชาติยา นิยุตฺโต | ชาติกิโย | ผู้ประกอบแล้วด้วยชาติ |
(ย) | |||
ในคัมภีร์ไวยากรณ์ ในเนื้อความของ สาธุ หิต ภว และ ชาต เป็นต้น ลง ย ปัจจัยได้ด้วย | |||
กมฺมํ | กมฺมนิ สาธุ | กมฺมญฺญํ | ควรในการงาน (กมฺมนิ+ย ลบ อิ, แปลง นฺย เป็น ญฺญ) |
เมธา | เมธาย หิตํ | เมชฺฌํ | เกื้อกูลแก่ปัญญา (ลบ อา, แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ) |
ถนํ | ถนโต ชาตํ | ถญฺญํ | อันเกิดจาก(เต้า)นม, (น้ำ)นม (แปลง นฺย เป็น ญฺญ) |
ธนํ | ธนาย สํวตฺตตีติ | ธญฺญํ | อันเป็นไปเพื่อทรัพย์, ข้าวเปลือก (แปลง นฺย เป็น ญฺญ) |
5) สมุหตัทธิต ลงปัจจัย 3 ตัว คือ กณฺ ณ ตา ใช้แทน สมุห ศัพท์ (ประชุม, หมู่, ฝูง ฯลฯ)
กณฺ | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
มนุสฺโส | มนุสฺสานํ สมุโห | มานุสฺสโก | ประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~ |
มานุโส | มานุสานํ สมุโห | มานุสโก | ประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~ |
ปุริโส | ปุริสานํ สมุโห | โปริสโก | ประชุมแห่งบุรุษ |
ราชปุตฺโต | ราชปุตฺตานํ สมุโห | ราชปุตฺตโก | ประชุมแห่งพระราชโอรส |
มยุโร | มยุรานํ สมุโห | มายุรโก | ประชุมแห่งนกยูง, หมู่~, ฝูง~ |
กโปโต | กโปตานํ สมุโห | กาโปตโก | ประชุมแห่งนกพิราบ, หมู่~, ฝูง~ |
มหิโส | มหิสานํ สมุโห | มาหิสโก | ประชุมแห่งควาย/กระบือ, หมู่~, ฝูง~ |
ณ | |||
มนุสฺโส | มนุสฺสานํ สมุโห | มานุโส | ประชุมแห่งมนุษย์, หมู่~ (ลบ สฺ) |
มยุโร | มยุรานํ สมุโห | มายุโร | ประชุมแห่งนกยูง, หมู่~, ฝูง~ |
กโปโต | กโปตานํ สมุโห | กาโปโต | ประชุมแห่งนกพิราบ, หมู่~, ฝูง~ |
ปุริโส | ปุริสานํ สมุโห | โปริโส | ประชุมแห่งบุรุษ |
ทฺวิ | ทฺวินฺนํ สมุโห | ทฺวยํ | ประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สอง; หมวดสอง (แปลง อิ เป็น อย) |
ติ | ติณฺณํ สมุโห | ตยํ | ประชุม/หมวด (แห่งวัตถุ) สาม; หมวดสาม (แปลง อิ เป็น อย) |
ติปิฏกํ1 | ติปิฏกสฺส สมูโห | เตปิฏกํ | ประชุม/หมวด แห่งปิฎกสาม |
ติมาสํ2 | ติมาสสฺส สมุโห | เตมาสํ | ประชุม/หมวด แห่งเดือนสาม |
1 วิ. ตีณิ ปิฏกานิ ติปิฏกํ ปิฎก 3 สมา. ทิคุ
2 วิ. ตโย มาสา ติมาสํ เดือน 3 สมา. ทิคุ
ตา | |||
คาโม | คามานํ สมุโห | คามตา | ประชุมแห่งชาวบ้าน |
ชโน | ชนานํ สมุโห | ชนตา | ประชุมแห่งชน |
สหาโย | สหายานํ สมุโห | สหายตา | ประชุมแห่งสหาย |
เทโว | เทวานํ สมุโห | เทวตา | ประชุมแห่งเทพ |
6) ฐานตัทธิต ลง อีย ปัจจัย ใช้แทน ฐาน (ที่ตั้ง), หิต (เกื้อกูล), อรห (ควร)
อีย | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
มทนํ | มทนสฺส ฐานํ | มทนียํ | ที่ตั้งแห่งความเมา |
พนฺธนํ | พนฺธนสฺส ฐานํ | พนฺธนียํ | ที่ตั้งแห่งความผูก |
โมจนํ | โมจนสฺส ฐานํ | โมจนียํ | ที่ตั้งแห่งความแก้/ความหลุดพ้น |
รชนํ | รชนสฺส ฐานํ | รชนียํ | ที่ตั้งแห่งความย้อม/ความกำหนัด |
ปสาทนํ | ปสาทนสฺส ฐานํ | ปสาทนียํ | ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส |
(ในสัททนีติ) อีย แทน หิต (เกื้อกูล) ภว (มี) | |||
อุปาทานํ | อุปาทานานํ หิตํ | อุปาทานียํ | อันเกื้อกูลแก่ความยึดมั่น |
อุทรํ | อุทเร ภวํ | อุทรียํ (โภชนํ) | มีในท้อง |
อีย-เอยฺย แทน อรห (ควร) | |||
ทสฺสนํ | ทสฺสนํ อรหตีติ | ทสฺสนีโย ทสฺสนียา | ผู้ควรซึ่งการเห็น; น่าดูน่าชม |
ปูชนํ | ปูชนํ อรหตีติ | ปูชนีโย ปูชเนยฺโย | ผู้ควรซึ่งการบูชา |
ทกฺขิณา | ทกฺขิณํ อรหตีติ | ทกฺขิเณยฺโย | ผู้ควรซึ่งทักษิณา |
ทกฺขิณํ ปฏิคฺคณฺหิตุํ อรหตีติ | ทกฺขิเณยฺโย | ผู้ควรเพื่ออันรับซึ่งทักษิณา, ผู้ควรรับทักษิณา |
7) พหุลตัทธิต ลง อาลุ ปัจจัย ใช้แทน ปกติ (ปกติ), พหุล (มาก)
อาลุ | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
อภิชฺฌา | อภิชฺฌา อสฺส ปกติ | อภิชฺฌาลุ | มีความเพ่งเล็งเป็นปกติ |
อภิชฺฌา อสฺส พหุลา | อภิชฺฌาลุ | มีความเพ่งเล็งมาก | |
สีตํ | สีตํ อสฺส ปกติ | สีตาลุ (ปเทโส) | มีความหนาวเป็นปกติ |
สีตํ อสฺส พหุลํ | สีตาลุ (ปเทโส) | มีความหนาวมาก | |
ทยา | ทยา อสฺส ปกติ | ทยาลุ | มีความเอ็นดูเป็นปกติ |
ทยา อสฺส พหุลา | ทยาลุ | มีความเอ็นดูมาก | |
ธโช | ธชา อสฺส พหุลา | ธชาลุ (ปาสาโท) | มีธงมาก |
8) เสฏฐตัทธิต ลงปัจจัย 5 ตัว คือ ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺฐ เป็นเครื่องหมายคุณนามขั้น วิเสส และ อติวิเสส
ตร | ||
วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ | ปาปตโร | เป็นบาปกว่า |
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ วิเสเสน หีโนติ | หีนตโร | เลวกว่า |
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณฺฑิโตติ | ปณฺฑิตตโร | เป็นบัณฑิตกว่า |
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปณีโตติ | ปณีตตโร | ประณีตกว่า |
ตม | |||
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ | ปาปตโม | เป็นบาปที่สุด | |
สพฺเพ อิเม หีนา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน หีโนติ | หีนตโม | เลวที่สุด | |
สพฺเพ อิเม ปณฺฑิตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณฺฑิโตติ | ปณฺฑิตตโม | เป็นบัณฑิตที่สุด | |
สพฺเพ อิเม ปณีตา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปณีโตติ | ปณีตตโม | ประณีตที่สุด |
อิยิสฺสก | |||
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ | ปาปิยิสฺสโก | เป็นบาปกว่า |
อิย | |||
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ | ปาปิโย | เป็นบาปกว่า | |
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ วิเสเสน อปฺโปติ | กนิโย | น้อยกว่า (แปลง อปฺป เป็น กน) | |
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติ | เสยฺโย | ประเสริฐกว่า, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วกว่า (แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ) | |
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ วิเสเสน วุฑฺโฒติ | เชยฺโย | เจริญกว่า (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ, ซ้อน ยฺ) |
อิฏฺฐ | |||
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปาโปติ | ปาปิฏฺโฐ | เป็นบาปที่สุด | |
สพฺเพ อิเม อปฺปา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน อปฺโปติ | กนิฏฺโฐ | น้อยที่สุด (แปลง อปฺป เป็น กน) | |
สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน ปสตฺโถติ | เสฏฺโฐ | ประเสริฐที่สุด, อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วที่สุด | |
(แปลง ปสตฺถ เป็น ส, แปลง อิ เป็น เอ) | |||
สพฺเพ อิเม วุฑฺฒา, อยมิเมสํ อติวิเสเสน วุฑฺโฒติ | เชฏฺโฐ | เจริญที่สุด (แปลง วุฑฺฒ เป็น ช, แปลง อิ เป็น เอ) | |
ตั้งวิเคราะห์ แบบรวมทั้งวิเสส และ อติวิเสส | |||
สพฺเพ อิเม ปาปา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปาโปติ | ปาปตโร ปาปตโม | ชน ท. เหล่านี้ ทั้งปวง เป็นบาป, ชนนี้ เป็นบาป โดยวิเสส กว่าชน ท. เหล่านี้ เหตุนั้น ชนนี้ ชื่อว่า เป็นบาปกว่า เป็นบาปที่สุด | |
9) ตทัสสัตถิตัทธิต ลงปัจจัย 9 ตัว คือ วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ แทน อตฺถิ (มีอยู่)
วี(ปุ. -วี, อิต. -วินี, นปุ. -วิ) | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
เมธา | เมธา อสฺส อตฺถีติ | เมธาวี | มีเมธา |
มายา | มายา อสฺส อตฺถีติ | มายาวี | มีมายา |
ส(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว) | |||
สุเมธา | สุเมธา อสฺส อตฺถีติ | สุเมธโส | มีเมธาดี (รัสสะ อา เป็น อ) |
โลโม/โลมํ | โลมา อสฺส อตฺถีติ | โลมโส | มีขน |
สี(ปุ. -สี, อิต. -สินี, นปุ. -สิ) ใช้กับมโนคณะศัพท์ โดยมาก | |||
ตโป | ตโป อสฺส อตฺถีติ | ตปสี | มีตบะ |
เตโช | เตโช อสฺส อตฺถีติ | เตชสี | มีเดช |
ยโส | ยโส อสฺส อตฺถีติ | ยสสี | มียศ |
อิก(เป็นปุงลิงค์อย่างเดียว) | |||
ทณฺโฑ | ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ | ทณฺฑิโก | มีไม้เท้า |
อตฺโถ | อตฺโถ อสฺส อตฺถีติ | อตฺถิโก | มีความต้องการ |
มาลา | มาลา อสฺส อตฺถีติ | มาลิโก | มีมาลัย, มีระเบียบ(ดอกไม้) |
ฉตฺตํ | ฉตฺตํ อสฺส อตฺถีติ | ฉตฺติโก | มีร่ม |
กุฏุมฺพํ | กุฏุมฺพํ อสฺส อตฺถีติ | กุฏุมฺพิโก | มีทรัพย์ |
ปํสุกูลํ | ปํสุกูลธารณํ สีลมสฺสาติ | ปํสุกูลิโก | มีการทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติ |
สมฺมาทิฏฺฐิ | สมฺมาทิฏฺฐิ อสฺส อตฺถีติ | สมฺมาทิฏฺฐิโก | มีความเห็นชอบ |
อี(ปุ. - ี, อิต. - ินี) | |||
ทณฺโฑ | ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ | ทณฺฑี | มีไม้เท้า |
สุขํ | สุขํ อสฺส อตฺถีติ | สุขี | มีความสุข |
สุขํ อสฺสา อตฺถีติ | สุขินี | มีความสุข | |
ลชฺชา | ลชฺชา อสฺส อตฺถีติ | ลชฺชี | มีความละอาย |
ลชฺชา อสฺส นตฺถีติ | อลชฺชี | มีความละอายหามิได้, ไม่มีความละอาย | |
โภโค | โภโค อสฺส อตฺถีติ | โภคี | มีโภคะ |
ลาโภ | ลาโภ อสฺส อตฺถีติ | ลาภี | มีลาภ |
หตฺโถ | หตฺโถ อสฺส อตฺถีติ | หตฺถี | มีมือ, มีงวง; ช้าง |
พลํ | พลมสฺส อตฺถีติ | พลี | มีกำลัง |
เวรํ | เวรํ อสฺส อตฺถีติ | เวรี | มีเวร |
เวรํ เตสํ อตฺถีติ | เวริโน (ชนา) | มีเวร | |
วโส | วโส อสฺส อตฺถีติ | วสี | มีอำนาจ |
คพฺโภ | คพฺโภ อสฺสา อตฺถีติ | คพฺภินี (เทวี) | (เทวี) มีครรภ์ |
ชาลํ | ชาลมสฺสา อตฺถีติ | ชาลินี (ตณฺหา) | (ตัณหา) มีข่าย (แปลง อี เป็น อินี) |
ภาโค | ภาโค อสฺสา อตฺถีติ | ภาคินี (อิตฺถี) | มีส่วน (แปลง อี เป็น อินี) |
ร | |||
มธุ | มธุ อสฺส อตฺถีติ | มธุโร | มีน้ำผึ้ง (มีรสหวาน, มีรสอร่อย, อร่อย) |
มธุ อสฺมึ วิชฺชตีติ | มธุโร | ||
มุขํ | มุขํ อสฺส อตฺถีติ | มุขโร | มีปาก (มีปากกล้า- พูดไม่เกรงกลัวใคร) |
รุจิ | รุจิ อสฺส อตฺถีติ | รุจิรํ (ปุปฺผํ) | มีความงาม |
นโค | นคา อสฺส อตฺถีติ | นครํ (ฐานํ) | มีปราสาท, เมือง, นคร (รัสสะ อา เป็น อ) |
กุญฺโช/กุญฺชา | กุญฺชา หนุ อสฺส อตฺถีติ | กุญฺชโร (สตฺโต) | มีคาง (รัสสะ อา เป็น อ) |
วนฺตุลงท้ายศัพท์ที่เป็น อ อา การันต์ | |||
คุโณ | คุโณ อสฺส อตฺถีติ | คุณวา [คุณวนฺตุ] | มีคุณ (ป. คุณวา, อิต. คุณวตี คุณวนฺตี, นปุ. คุณวํ คุณวนฺตํ) |
ธนํ | ธนํ อสฺส อตฺถีติ | ธนวา [ธนวนฺตุ] | มีทรัพย์ |
ปญฺญา | ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ | ปญฺญวา [ปญฺญวนฺตุ] | มีปัญญา |
ปุญฺญํ | ปุญฺญํ อสฺส อตฺถีติ | ปุญฺญวา [ปุญฺญวนฺตุ] | มีบุญ |
สีลํ | สีลํ อสฺส อตฺถีติ | สีลวา [สีลวนฺตุ] | มีศีล |
อุฏฺฐานํ | อุฏฺฐานํ อสฺส อตฺถีติ | อุฏฺฐานวา [อุฏฺฐานวนฺตุ] | มีการลุกขึ้น, มีความขยัน |
ภโค | ภคา อสฺส อตฺถีติ | ภควา [ภควนฺตุ] | มีโชค |
ภาโค | ภาโค อสฺส อตฺถีติ | ภาควา [ภาควนฺตุ] | มีส่วน |
พลํ | พลํ อสฺส อตฺถีติ | พลวา [พลวนฺตุ] | มีกำลัง |
พลํ อสฺสา อตฺถีติ | พลวตี [พลวนฺตุ] (ตณฺหา) | (ตัณหา) มีกำลัง |
มนฺตุลงท้ายศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์ | |||
สติ | สติ อสฺส อตฺถีติ | สติมา [สติมนฺตุ] | มีสติ (ป. สติมา, อิต. สติมตี สติมนฺตี, นปุ. สติมํ สติมนฺตํ) |
ชุติ | ชุติ อสฺส อตฺถีติ | ชุติมา [ชุติมนฺตุ] | มีความโพลง |
อายุ | อายุ อสฺส อตฺถีติ | อายสฺมา [อายสฺมนฺตุ] | มีอายุ (แปลง อุ เป็น อสฺ) |
จกฺขุ | จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ | จกฺขุมา [จกฺขุมนฺตุ] | มีจักษุ |
ธิติ | ธิติ อสฺส อตฺถีติ | ธิติมา [ธิติมนฺตุ] | มีปัญญา |
อิมนฺตุ | |||
ปุตฺโต | ปุตฺโต อสฺส อตฺถีติ | ปุตฺติมา [ปุตฺติมนฺตุ] | มีบุตร |
ปาปํ | ปาปํ อสฺส อตฺถีติ | ปาปิมา [ปาปิมนฺตุ] (มาโร) | มีบาป |
ณ | |||
สทฺธา | สทฺธา อสฺส อตฺถีติ | สทฺโธ | มีศรัทธา (ปุ. สทฺโธ, อิต. สทฺธา, นปุ. สทฺธํ) |
มจฺเฉรํ | มจฺเฉรํ อสฺส อตฺถีติ | มจฺเฉโร | มีความตระหนี่ |
ปญฺญา | ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ | ปญฺโญ | มีปัญญา (ลบ อา) |
พุทฺธิ (อิต.) | พุทฺธิ อสฺส อตฺถีติ | พุทฺโธ | มีความรู้ (ลบ อิ) |
10) ปกติตัทธิต ลง มย ปัจจัย ใช้แทน ปกต (อันบุคคลทำแล้ว, สำเร็จแล้ว) และ วิการ (เป็นวิการ)
มย | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
สุวณฺณํ | สุวณฺเณน ปกตํ | สุ-โสวณฺณมยํ (ภาชนํ)* | อันบุคคลทำแล้วด้วยทอง, สำเร็จแล้วด้วยทอง |
สุวณฺณสฺส วิกาโร | สุ-โสวณฺณมโย (ปาสาโท) | อันเป็นวิการแห่งทอง | |
มตฺติกา | มตฺติกาย ปกตํ | มตฺติกามยํ (ภาชนํ) | อันบุคคลทำแล้วด้วยดิน |
มตฺติกาย วิกาโร | มตฺติกามยํ (ภาชนํ) | อันเป็นวิการแห่งดิน | |
อโย | อยสา ปกตํ | อโยมยํ (ภาชนํ) | อันสำเร็จแล้วด้วยเหล็ก |
อยโส วิกาโร | อโยมยํ (ภาชนํ) | อันเป็นวิการแห่งเหล็ก | |
ทารุ (นปุ.) | ทารุนา ปกตํ | ทารุมยํ (วตฺถุ) | อันบุคคลทำแล้วด้วยไม้ |
อิทฺธิ (อิต.) | อิทฺธิยา ปกตํ | อิทฺธิมยํ (วตฺถุ) | อันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ |
มโน/มนํ | มนสา ปกตา | มโนมยา (ธมฺมา) | อันสำเร็จแล้วด้วยใจ |
* สุวณฺณมยํ ภาชนํ ปกติตัท.
สุวณฺณมยภาชนํ วิ. บุพ. กัม.
สุวณฺณ(กต)ภาชนํ มัชเฌโลป. ตติยาตัป.
11) สังขยาตัทธิต ลง ก ปัจจัย ใช้แทน ปริมาณ (ประมาณ, ปริมาณ) ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ ทฺวิ
ก | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
ทฺวิ | เทฺว ปริมาณานิ อสฺสาติ | ทฺวิกํ ทุกํ (วตฺถุ) | มีประมาณ 2 |
ติ | ตีณิ ปริมาณานิ อสฺสาติ | ติกํ (วตฺถุ) | มีประมาณ 3 |
ตฺตก | |||
เอต | เอตํ ปริมาณมสฺสาติ | เอตฺตกํ (วตฺถุ) | มีประมาณเท่านี้ (แปลง เอต เป็น เอ) |
อาวตก | |||
เอต | เอตํ ปริมาณมสฺสาติ | เอตฺตาวตกํ (วตฺถุ) | มีประมาณเท่านี้ (ซ้อน ตฺ) |
12) ปูรณตัทธิต ลงปัจจัย 5 ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี ใช้แทน ปูรณ (เป็นที่เต็ม) ลงท้ายปกติสังขยา ทำให้เป็นปูรณสังขยา
ติย(ลงท้าย ทฺวิ ติ) | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
ทฺวิ | ทฺวินฺนํ ปูรโณ | ทุติโย (ชโน) | (ชน) เป็นที่เต็มแห่งชน 2, (ชน) ที่ 2 (แปลง ทฺวิ เป็น ทุ) |
ทฺวินฺนํ ปูรณี | ทุติยา (นารี) | (นารี) เป็นที่เต็มแห่งนารี 2, (นารี) ที่ 2 | |
ทฺวินฺนํ ปูรณํ | ทุติยํ (กุลํ) | (ตระกูล) เป็นที่เต็มแห่งตระกูล 2, (ตระกูล) ที่ 2 | |
ติ | ติณฺณํ ปูรโณ | ตติโย (ชโน) | เป็นที่เต็มแห่งชน 3, ที่ 3 (แปลง ติ เป็น ต) (ตติโย, ตติยา, ตติยํ) |
ถ(ลงท้าย จตุ) | |||
จตุ | จตุนฺนํ ปูรโณ | จตุตฺโถ (ชโน) | เป็นที่เต็มแห่งชน 4, ที่ 4 (ซ้อน ตฺ) (จตุตฺโถ, จตุตฺถี, จตุตฺถํ) |
ฐ(ลงท้าย ฉ) | |||
ฉ | ฉนฺนํ ปูรโณ | ฉฏฺโฐ (ชโน) | เป็นที่เต็มแห่งชน 6, ที่ 6 (ซ้อน ฏฺ) (ฉฏฺโฐ, ฉฏฺฐี, ฉฏฺฐํ) |
ม(ลงท้ายปกติสังขยาได้ทั่วไป ยกเว้นจำนวน 2, 3, 4, 6) | |||
ปญฺจ | ปญฺจนฺนํ ปูรโณ | ปญฺจโม (ชโน) | เป็นที่เต็มแห่งชน 5, ที่ 5 (ปญฺจโม, ปญฺจมี ปญฺจมา, ปญฺจมํ) |
สตฺต | สตฺตนฺนํ ปูรโณ | สตฺตโม (ชโน) | เป็นที่เต็มแห่งชน 7, ที่ 7 (สตฺตโม, สตฺตมี สตฺตมา, สตฺตมํ) |
อี(ลงท้ายปกติสังขยา ตั้งแต่ 12-18 ในอิตถีลิงค์) | |||
เอกาทส | เอกาทสนฺนํ ปูรณี | เอกาทสี (นารี) | เป็นที่เต็มแห่งนารี 11, ที่ 11 |
ทฺวาทส | ทฺวาทสนฺนํ ปูรณี | ทฺวาทสี (นารี) | เป็นที่เต็มแห่งนารี 12, ที่ 12 |
จตุทฺทส | จตุทฺทสนฺนํ ปูรณี | จาตุทฺทสี (ติถิ) | (วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 14, (วัน) ที่ 14 (ค่ำ) |
ปณฺณรส | ปณฺณรสนฺนํ ปูรณี | ปณฺณรสี (ติถิ) | (วัน) เป็นที่เต็มแห่งวัน 15, (วัน) ที่ 15 (ค่ำ) (ติถิ ติถี ปุ. อิต. วัน ทางจันทรคติ, ดิถี) |
การใช้ อฑฺฒ ศัพท์
อฑฺฒ แปลว่า ครึ่ง กึ่ง เมื่อใช้ร่วมกับปูรณสังขยา แสดงจำนวนที่เป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เต็มนั้น
เพื่อนับปริมาณ/จำนวน ที่มีเศษครึ่งหนึ่ง เช่น 1 ครึ่ง, 2 ครึ่ง, ... 150, 350, 7,500 เป็นต้น
อฑฺเฒน ทุติโย ทิวฑฺโฒ ทิยฑฺโฒ | ที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5) (แปลง อฑฺฒ กับ ทุติย และเรียง อฑฺฒ ไว้หลัง) |
อฑฺเฒน ตติโย อฑฺฒติโย อฑฺฒเตยฺโย | ที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5) (แปลง อฑฺฒ กับ ตติย) |
อฑฺเฒน จตุตฺโถ อฑฺฒุฑฺโฒ | ที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5) (แปลง อฑฺฒ กับ จตุตฺถ) |
อฑฺเฒน ปญฺจโม อฑฺฒปญฺจโม | ที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5) |
อฑฺเฒน ฉฏฺโฐ อฑฺฒฉฏฺโฐ | ที่ 6 ด้วยทั้งกึ่ง (= 5.5) |
ทิยฑฺฒํ สตํ = ทิยฑฺฒสตํ | ร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (= 1.5 x 100 = 150) |
อฑฺฒติยํ สหสฺสํ = อฑฺฒติยสหสฺสํ | พันที่ 3 ด้วยทั้งกึ่ง (= 2.5 x 1,000 = 2,500) |
อฑฺฒุฑฺฒํ ทสสหสฺสํ = อฑฺฒุฑฺฒทสสหสฺสํ | หมื่นที่ 4 ด้วยทั้งกึ่ง (= 3.5 x 10,000 = 35,000) |
อฑฺฒปญฺจมํ สตสหสฺสํ = อฑฺฒปญฺจมสตสหสฺสํ | แสนที่ 5 ด้วยทั้งกึ่ง (= 4.5 x 100,000 = 450,000) |
การต่อ อฑฺฒ ศัพท์ กับปูรณสังขยา
เรียง อฑฺฒ ไว้ข้างหน้าปูรณสังขยา (ยกเว้นเมื่อต่อกับ ทุติย) เฉพาะ ทุติย ตติย จตุตฺถ มีแปลงรูปด้วย
- อฑฺฒ ต่อกับ ทุติย แปลงเป็น ทิวฑฺฒ ทิยฑฺฒ (เรียง อฑฺฒ ไว้หลัง)
- อฑฺฒ ต่อกับ ตติย แปลงเป็น อฑฺฒติย อฑฺฒเตยฺย
- อฑฺฒ ต่อกับ จตุตฺถ แปลงเป็น อฑฺฒุฑฺฒ
- อฑฺฒ ต่อกับปูรณสังขยาที่เหลือ
อฑฺฒปญฺจมที่ห้าด้วยทั้งกึ่ง อฑฺฒฉฏฺฐ ที่หกด้วยทั้งกึ่ง อฑฺฒสตฺตม ที่เจ็ดด้วยทั้งกึ่ง
อฑฺฒอฏฺฐม ที่แปดด้วยทั้งกึ่ง อฑฺฒนวม ที่เก้าด้วยทั้งกึ่ง อฑฺฒทสม ที่สิบด้วยทั้งกึ่ง
ใช้ อฑฺฒ กับปูรณสังขยา นับนามนาม
ชนานํ ทิยฑฺฒสตํ ร้อยที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง แห่งชน ท. (ชน 150)
ทิยฑฺฒํ ชนสตํ ร้อยแห่งชน ที่ 2 ด้วยทั้งกึ่ง (ชน 150)
ทิยฑฺฒชนสตํ
13) วิภาคตัทธิต ลง ธา โส ปัจจัย ใช้แทน วิภาค (ส่วน, การจำแนก)
ธาใช้ลงท้ายปกติสังขยาตั้งแต่ เอก และลงท้ายศัพท์อื่นบ้าง แปลว่า โดยส่วน | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
เอก | เอเกน วิภาเคน | เอกธา | โดยส่วนเดียว |
น-เอก | อเนเกน วิภาเคน | อเนกธา | โดยส่วนมิใช่หนึ่ง, โดยอเนก |
ทฺวิ | ทฺวีหิ วิภาเคหิ | ทฺวิธา เทฺวธา ทุธา | โดยส่วนสอง |
ติ | ตีหิ วิภาเคหิ | ติธา เตธา | โดยส่วนสาม |
สตฺต | สตฺตหิ วิภาเคหิ | สตฺตธา | โดยส่วนเจ็ด |
กติ | กตีหิ วิภาเคหิ | กติธา | โดยส่วนเท่าไร |
พหุ | พหูหิ วิภาเคหิ | พหุธา | โดยส่วนมาก |
โสใช้ลงท้ายนามศัพท์ แปลว่า โดยการจำแนก | |||
พฺยญฺชนํ | พยญฺชเนน วิภาเคน | พฺยญฺชนโส | โดยการจำแนกโดยพยัญชนะ |
สุตฺตํ | สุตฺเตน วิภาเคน | สุตฺตโส | โดยการจำแนกโดยสูตร |
ปทํ | ปเทน วิภาเคน | ปทโส | โดยการจำแนกโดยบท |
อตฺโถ | อตฺเถน วิภาเคน | อตฺถโส | โดยการจำแนกโดยเนื้อความ |
อุปาโย | อุปาเยน วิภาเคน | อุปายโส | โดยการจำแนกโดยอุบาย |
พหุ | พหุนา วิภาเคน | พหุโส | โดยการจำแนกโดยมาก |
สพฺพ | สพฺเพน วิภาเคน | สพฺพโส | โดยการจำแนกทั้งปวง |
มานํ | มาเนน วิภาเคน | มานโส | โดยการจำแนกโดยการนับ |
โยนิ (ปุ. อิต.) | โยนินา วิภาเคน | โยนิโส | โดยการจำแนกโดยเหตุเป็นที่เกิด |
อนฺติม | อนฺติเมน ปริจฺเฉเทน | อนฺตมโส | โดยกำหนดมีในที่สุด, อย่างน้อยที่สุด |
2) ภาวตัทธิต มีปัจจัย 6 ตัว คือ ตฺต ณฺย ตฺตน ตา ณ กณฺ ใช้แทน ภาว ความเป็น)
เฉพาะ ตา ปัจจัยลงแล้วสำเร็จเป็นอิตถีลิงค์ ปัจจัยที่เหลือเป็นนปุงสกลิงค์
ตฺต | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
จนฺโท | จนฺทสฺส ภาโว | จนฺทตฺตํ | ความเป็นแห่งพระจันทร์ |
มนุสฺโส | มนุสฺสสฺส ภาโว | มนุสฺสตฺตํ | ความเป็นแห่งมนุษย์ |
ทณฺฑี | ทณฺฑิโน ภาโว | ทณฺฑิตฺตํ | ความเป็นแห่งคนมีไม้เท้า/คนแก่ |
วสี | วสิสฺส ภาโว | วสิตฺตํ | ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีอำนาจ |
ปาจโก | ปาจกสฺส ภาโว | ปาจกตฺตํ | ความเป็นแห่งคนหุง/พ่อครัว |
นีลํ | นีลสฺส ภาโว | นีลตฺตํ | ความเป็นแห่งของเขียว (นีโล สีเขียว/ดำ, นีล มีสีเขียว/ดำ, นีลํ ของเขียว) |
กาโฬ | กาฬสฺส ภาโว | กาฬตฺตํ | ความเป็นแห่งของดำ (กาโฬ สีดำ; ข้างแรม, กาฬก มีสีดำ) |
ณฺย | |||
• ลบ ณฺ แล้ว ย มีอำนาจให้ลบสระ อ ที่สุดศัพท์ได้ | |||
อโรค | อโรคสฺส ภาโว | อาโรคฺยํ | ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีโรค (ลบ อ ที่ ค) |
ทุพฺพล | ทุพฺพลสฺส ภาโว | ทุพฺพลฺยํ | ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีกำลังอันโทษประทุษร้ายแล้ว |
อลส | อลสสฺส ภาโว | อาลสฺยํ | ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน |
อณณ | อณณสฺส ภาโว | อาณณฺยํ | ความเป็นแห่งคนไม่มีหนี้ |
• ลบ ณฺ ลบสระ อ แล้ว ลง อิ อาคมได้บ้าง | |||
วิยตฺต | วิยตฺตสฺส ภาโว | เวยฺยตฺติยํ | ความเป็นแห่งคนฉลาด |
มจฺฉร | มจฺฉรสฺส ภาโว | มจฺฉริยํ | ความเป็นแห่งคนตระหนี่ |
อิสฺสร | อิสฺสรสฺส ภาโว | อิสฺสริยํ | ความเป็นแห่งคนผู้เป็นใหญ่ |
อลส | อลสสฺส ภาโว | อาลสิยํ | ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน |
• ลบ ณฺ แล้วแปลง ย กับที่สุดศัพท์เป็นต่างๆ | |||
ปณฺฑิต | ปณฺฑิตสฺส ภาโว | ปณฺฑิจฺจํ | ความเป็นแห่งบัณฑิต |
อธิปติ | อธิปติสฺส ภาโว | อาธิปจฺจํ | ความเป็นแห่งคนเป็นใหญ่ |
พหุสุต | พหุสุตสฺส ภาโว | พาหุสจฺจํ | ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีการฟังมาก |
มุฏฺฐสฺสติ | มุฏฺฐสฺสติสฺส ภาโว | มุฏฺฐสจฺจํ | ความเป็นแห่งคนมีสติหลงแล้ว |
กุสล | กุสลสฺส ภาโว | โกสลฺลํ | ความเป็นแห่งคนฉลาด |
วิปุล | วิปุลสฺส ภาโว | เวปุลฺลํ | ความเป็นแห่งที่อันไพบูลย์ |
คิลาน | คิลานสฺส ภาโว | เคลญฺญํ | ความเป็นแห่งคนไข้ |
สมาน | สมานานํ ภาโว | สามญฺญํ | ความเป็นแห่งของเสมอกัน |
กุสีโท | กุสีทสฺส ภาโว | โกสชฺชํ | ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน |
สุหท | สุหทสฺส ภาโว | โสหชฺชํ | ความเป็นแห่งคนมีใจดี |
สมโณ | สมณสฺส ภาโว | สามญฺญํ | ความเป็นแห่งสมณะ |
พฺราหฺมโณ | พฺราหฺมณสฺส ภาโว | พฺราหฺมญฺญํ | ความเป็นแห่งพราหมณ์ |
สุมน | สุมนสฺส ภาโว | โสมนสฺสํ | ความเป็นแห่งคนมีใจดี |
ทุมน | ทุมนสฺส ภาโว | โทมนสฺสํ | ความเป็นแห่งคนมีใจชั่ว |
นิปก | นิปกสฺส ภาโว | เนปกฺกํ | ความเป็นแห่งคนมีปัญญา (เครื่องรักษาตน) |
ราชา | รญฺโญ ภาโว | รชฺชํ | ความเป็นแห่งพระราชา |
ปุริโส | ปุริสสฺส ภาโว | โปริสฺสํ | ความเป็นแห่งบุรุษ |
อุปมา | อุปมาย ภาโว | โอปมฺมํ | ความเป็นแห่งอุปมา |
• ณฺย ใช้แทน กมฺม (การกระทำ, ผลการกระทำ) | |||
ภิสโช | ภิสชสฺส กมฺมํ | เภสชฺชํ | การกระทำของหมอ |
พฺยาวโฏ | พฺยาวฏสฺส กมฺมํ | เวยฺยาวจฺจํ | การกระทำของผู้ขวนขวาย |
• ณิก ที่ลงในอรรถสกัตถะ (ความหมายเดิมของตน) | |||
ยถาภูตํ | ยถาภูตเมว | ยถาภุจฺจํ | ตามความเป็นจริง |
กรุณา | กรุณา เอว | การุญฺญํ | ความกรุณา |
ตฺตน | |||
ปุถุชฺชโน | ปุถุชฺชนสฺส ภาโว | ปุถุชฺชนตฺตนํ | ความเป็นแห่งปุถุชน |
เวทโน | เวทนสฺส ภาโว | เวทนตฺตนํ | ความเป็นแห่งคนมีเวทนา |
ชายา | ชายาย ภาโว | ชายตฺตนํ | ความเป็นแห่งเมีย |
ชาโร | ชารสฺส ภาโว | ชารตฺตนํ | ความเป็นแห่งชู้ |
ตา | |||
มุทุ | มุทุโน ภาโว | มุทุตา | ความเป็นแห่งคนอ่อนโยน |
นิทฺทาราโม | นิทฺทารามสฺส ภาโว | นิทฺทารามตา | ความเป็นแห่งคนมีความหลับเป็นที่มายินดี |
สหาโย | สหายสฺส ภาโว | สหายตา | ความเป็นแห่งสหาย |
ปารมี | ปารมิยา ภาโว | ปารมิตา | ความเป็นแห่งบารมี |
กตญฺญู | กตญฺญุโน ภาโว | กตญฺญุตา | ความเป็นแห่งผู้กตัญญู |
ลหุ | ลหุโน ภาโว | ลหุตา | ความเป็นแห่งคนเบา |
ณ | |||
วิสม | วิสมสฺส ภาโว | เวสมํ | ความเป็นแห่งของไม่เสมอ |
สุจิ | สุจิโน ภาโว | โสจํ | ความเป็นแห่งของสะอาด |
มุทุ | มุทุโน ภาโว | มทฺทวํ | ความเป็นแห่งคนอ่อน |
คุรุ | คุรุโน ภาโว | คารโว | ความเป็นแห่งคนหนักแน่น |
ยุวา | ยุวสฺส ภาโว | โยพฺพนํ | ความเป็นแห่งคนหนุ่ม |
สมคฺค | สมคฺคานํ ภาโว | สามคฺคี | ความเป็นแห่งคนพร้อมเพรียง (ลง อี ปัจจัย) |
กณฺ | |||
รมณีย | รมณียสฺส ภาโว | รามณียกํ | ความเป็นแห่งของอันบุคคลพึงยินดี |
มนุญฺญ | มนุญฺญสฺส ภาโว | มานุญฺญกํ | ความเป็นแห่งของอันยังใจให้ยินดียิ่ง |
• ปัจจัยอีก 3 ตัวในสัททนีติ คือ ณิย เณยฺย พฺย
ณิย | |||
วีโร | วีรสฺส ภาโว | วิริยํ | ความเป็นแห่งคนกล้า |
อลโส | อลสสฺส ภาโว | อาลสิยํ | ความเป็นแห่งคนเกียจคร้าน |
เณยฺย | |||
สุจิ | สุจิโน ภาโว | โสเจยฺยํ | ความเป็นแห่งของสะอาด |
พฺย | |||
ทาโส | ทาสสฺส ภาโว | ทาสพฺยํ | ความเป็นแห่งทาส |
3) อัพยยตัทธิต มีปัจจัย 2 ตัว คือ ถา ถํ ใช้แทน ปการ (ประการ)
ถา | |||
ศัพท์ฐาน | วิเคราะห์ | ศัพท์ตัทธิต | คำแปล |
ย | เยน ปกาเรน | ยถา | โดยประการใด |
ต | เตน ปกาเรน | ตถา | โดยประการนั้น |
สพฺพ | สพฺเพน ปกาเรน | สพฺพถา | โดยประการทั้งปวง |
ถํ | |||
กึ | เกน ปกาเรน | กถํ | โดยประการไร, อย่างไร (แปลง กึ เป็น ก) |
อิม | อิมินา ปกาเรน | อิตฺถํ | โดยประการนี้, อย่างนี้ (แปลง อิม เป็น อิ และซ้อน ตฺ) |
กฺขตฺตุํคัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า กฺขตฺตุํ ใช้แทน วาร ศัพท์ (ครั้ง คราว วาระ) ลงหลังปกติสังขยา และ สกิ พหุ กติ ศัพท์ | |||
เอก | เอกํ วารํ | เอกกฺขตฺตุํ | ครั้งหนึ่ง, วาระหนึ่ง, คราวเดียว |
ทฺวิ | เทฺว วาเร | ทฺวิกฺขตฺตุํ | 2 ครั้ง, 2 วาระ |
ติ | ตโย วาเร | ติกฺขตฺตุํ | 3 ครั้ง, 3 วาระ |
สตฺต | สตฺต วาเร | สตฺตกฺขตฺตุํ | 7 ครั้ง, 7 วาระ |
ความคิดเห็น1
ดีมาก
ดีมาก